måndag 30 mars 2015

"ป๋าเปรม" ชี้ไทยขาดธรรมาภิบาลหยั่งรากลึก ทำให้ต้องมีการปฏิรูป ... ถามแล้วใครทำ? พระองค์เปรมขันทีเฒ่าอัลไซเมอร์"ไอ้เฒ่าสารพัดพิษ" ตอบไม่ได้แน่นอน ! เพราะตัวเองเป็นคนสั่งทำลาย"ธรรมาภิบาล" ลืมคำสั่งตัวเองได้อย่างไร? ท่องเป็นนกแก้วนกขุนทองพูดโกหกโยนความผิดโทษคนอื่นไปทั่ว ...เสื่อมสุดๆๆ




"ป๋าเปรม" ชี้ไทยขาดธรรมาภิบาลหยั่งรากลึก ทำให้ต้องมีการปฏิรูป







updated: 30 มี.ค. 2558 เวลา 12:53:58 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน จัดงานสัมนาเชิงวิชาการนานาชาติและเชิงปฏิบัติการนานาชาติ ในโอกาสครบรอบ 15 ปี การก่อตั้งผู้ตรวจการแผ่นดินของไทย ชูแนวคิด "ผู้ตรวจการแผ่นดิน : เพื่อความเป็นธรรมของแผ่นดิน" (Ombudsman : Mechanism for the Fair Nation) โดยได้รับความร่วมมือจากสถาบันผู้ตรวจการแผ่นดินระหว่างประเทศ (Internation Ombudsman Institute IOI) และสมาคมผู้ตรวจการแผ่นดินแห่งเอเชีย (Asian Ombudsman Association : AOA) โดยมีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เป็นประธานเปิดงาน

โดยในงานนี้พลเอกเปรมได้กล่าวเปิดงานเป็นภาษาอังกฤษว่า "ผมขอชื่นชมสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินจากใจจริง ที่ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ย่อท้อตลอดระยะเวลา15ปีที่ผ่านมา เพื่อเสริมสร้างความยุติธรรมและความเป็นธรรมให้แก่ประชาชนรวมทั้งส่งเสริมหลักธรรมาภิบาล

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 หรือที่รู้จักกันในฐานะ "รัฐธรรมนูญฉบับก้าวหน้า" มีบทบัญญัติให้มีองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญเพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลการให้บริการสาธารณะของรัฐบาลและข้าราชการ จุดเปลี่ยนแปลงสำคัญดังกล่าวได้นำไปสู่การจัดตั้งผู้จัดการแผ่นดินขึ้นในปี 2543

ผู้ตรวจการแผ่นดินเกิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศสวีเดน เมื่อประมาณ 200 ปี ที่แล้ว ทำหน้าที่"ตรวจสอบและถ่วงดุล"ภาครัฐ และได้แพร่หลายไปยัวงประเทศต่างๆ ซึ่งมีปรับกฎหมายและรูปแบบรัฐบาลแตกต่างกันในประเทศไทย ผู้ตรวจการแผ่นดินมีอำนาจสืบสวนสอบสวนการร้องเรียนเกี่ยวกับการบริหารงานที่ทุจริต หรือการไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด หรือการใช้อำนาจโดยมิชอบ และการวินิจฉัยที่ไม่เป็นธรรมโดยผู้มีตำแหน่งหน้าที่ทางการ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจ และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

การดำรงไว้ซึ่ง "ธรรมาภิบาล" ประกอบด้วยความสำนึกรับผิดชอบ ความโปร่งใส ภาระการตอบสนอง และความมีประสิทธิภาพ ถือเป็นส่วนสำคัญยิ่งของพันธกิจผู้ตรวจการแผ่นดิน

ช่วงเวลาที่ผ่านมานี้ ประเทศไทยได้ประสบความแตกแยกทางสังคมอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน อันสืบเนื่องมาจากที่ประชาชนได้เห็นเป็นที่ประจักษ์ว่าการขาดธรรมาภิบาลได้ฝั่งตัวหยั่งลึก มีการทุจริตประพฤติมิชอบที่หยั่งรากลึก รวมทั้งการขาดจริยธรรมของผู้มีตำแหน่งหน้าที่ข้าราชการบางส่วน สิ่งเหล่านี้ได้นำไปสู่การเคลื่อนไหวทางสังคมเรียกร้องให้ทำการปฏิรูป โดยเร่งด่วนและครอบคลุมทุกด้าน

จากนั้นเป็นที่ยอมรับกันแล้วว่าธรรมาภิบาลจะเป็นหนทางเดียวที่นำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนของสังคมไทย และการขจัดวงจรอุบาทว์ของการฉ้อราษฎร์บังหลวง

ปัจจัยพื้นฐานของธรรมาภิบาลคือ ความสำนึกในภาระรับผิดชอบ รัฐบาลมีหน้าที่ต้องรายงานและแสดงตัวรับผิดชอบต่อผลทั้งปวงที่ได้ทำไปในนามส่วนรวม บางท่านอาจมองว่าความสำนึกรับผิดชอบยังเป็นเรื่องใหม่ในวัฒนธรรมการใช้อำนาจในสังคมไทย แต่บางท่านก็ยังยืนยันที่จะปฎิเสธด้วยเหตุผลที่ฟังไม่ขึ้น ไม่ยอมรับรู้ว่าความรับผิดชอบมาพร้อมกับการกระทำและการตัดสินใจของท่านด้วย ผมจึงต้องเรียนย้ำ ณ ที่นี้ว่าภาระความรับผิดชอบย่อมตกอยู่กับผู้ใดก็ตามที่มีอำนาจหน้าที่และได้ใช้อำนาจหน้าที่นั้นๆ การปัดความรับผิดชอบโดยผู้ใช้อำนาจเป็นสิ่งที่น่าละอายอย่างยิ่ง ผิดทั้งกฎหมายและศีลธรรม

ความโปร่งใสเป็นส่วนหนึ่งของธรรมาภิบาล หมายถึงการที่ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลและรับรู้ขั้นตอน สามารถตัดสินใจในการบริหาร ผู้บริหาร จะต้องอธิบายได้ว่าการกระทำนั้นๆ ทำไปด้วยเหตุผลใดและอยู่ในกรอบของกฎหมายและระเบียบต่างๆอย่างไรบ้าง ระบบบริหารยิ่งมีความโปร่งใสมากเท่าใด ย่อมลดโอกาสที่จะเกิดการฉ้อราษฎร์บังหลวงให้น้อยลงไปด้วย



ที่มา : มติชนออนไลน์



Inga kommentarer:

Skicka en kommentar