tisdag 31 mars 2015

องค์กรสิทธิ์ระบุ ม.44 ทำให้ประชาชนขาดสิทธิเสรีภาพยิ่งกว่ากฎอัยการศึก


'องค์กรสิทธิ์ระบุ ม.44 ทำให้ประชาชนขาดสิทธิเสรีภาพยิ่งกว่ากฎอัยการศึก 

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน และองค์กรสิทธิมนุษยชนหลายแห่ง ออกแถลงการณ์แสดงความกังวลเรื่องการนำมาตรา  44  มาบังคับใช้แทน พ.ร.บ.กฎอัยการศึก  ระบุขัดทั้งหลักการแบ่งแยกอำนาจ หลักนิติรัฐ และพันธกรณีด้วยสิทธิมนุษยชน  ซึ่งจะนำมาซึ่งขาดการตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจรัฐ และอาจก่อให้เกิดการใช้อำนาจโดยอำเภอใจ ด้านนายกรัฐมนตรียืนยันจะใช้อำนาจอย่างสร้างสรรค์

แถลงการณ์ขององค์กรสิทธิมนุษยชนระบุว่า การเรียกร้องให้ยกเลิกประกาศใช้กฎอัยการศึก  เพื่อให้เกิดการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและสิทธิเสรีภาพของประชาชนไม่ให้เกิดการละเมิด เนื่องจาก พ.ร.บ.กฎอัยการศึก ได้ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ทหารอย่างกว้างขวางในการค้น การยึด การเกณฑ์ การห้าม การควบคุมตัวบุคคลได้ไม่เกิน 7 วัน  และทำให้การพิจารณาคดีในศาลทหารไม่สามารถอุทธรณ์หรือฎีกาได้ ซึ่งได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการใช้สิทธิเสรีภาพของประชาชนตลอดมา

อย่างไรก็ดี หากมีการประกาศยกเลิกกฎอัยการศึกโดยนำมาตรา 44 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) มาบังคับใช้  ก็ไม่อาจแก้ปัญหาดังกล่าวได้ แต่จะยิ่งทำให้ประชาชนขาดหลักประกันด้านสิทธิและเสรีภาพมากยิ่งขึ้น เนื่องจากได้ให้อำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดแก่หัวหน้ารักษาความสงบแห่งชาติเหนือฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ โดยให้ถือว่าคำสั่งหรือการกระทำ รวมทั้งการปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว นั้นชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญและเป็นที่สุด ซึ่งหมายความว่าการกระทำหรือคำสั่ง รวมถึงการปฏิบัติการตามคำสั่งดังกล่าวนั้นไม่อาจถูกตรวจสอบโดยองค์กรใดได้เลยแม้กระทั่งองค์กรตุลาการ อาจก่อให้เกิดการใช้อำนาจโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และหากเกิดความเสียหายขึ้นจากการกระทำดังกล่าวประชาชนก็ไม่อาจได้รับการเยียวยา และไม่นำไปสู่การลงโทษผู้กระทำความผิด  

องค์กรสิทธิมนุษยชน ซึ่งรวมถึงศูนย์ข้อมูลชุมชน มูลนิธิผสานวัฒนธรรม สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา มูลนิธิส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม เรียกร้องให้ พล.อ.ประยุทธ์ ทบทวนการบังคับใช้มาตราดังกล่าว เนื่องจากขัดต่อหลักการแบ่งแยกอำนาจ หลักนิติรัฐ และขัดต่อพันธกรณีด้วยสิทธิมนุษยชน  ซึ่งจะนำมาซึ่งขาดการตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจรัฐ และอาจก่อให้เกิดการใช้อำนาจโดยอำเภอใจ และส่งผลประชาชนขาดหลักประกันต่อสิทธิเสรีภาพอย่างร้ายแรงยิ่งไปกว่าการประกาศใช้กฎอัยการศึก และไม่อาจบรรลุเจตนารมณ์ตามที่ประชาคมโลกเรียกร้องให้ยกเลิกกฎอัยการศึกได้ 

ด้าน พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวที่ทำเนียบรัฐบาลวันนี้ว่า จะใช้อำนาจตามมาตรา 44 อย่างสร้างสรรค์ และจะใช้อำนาจเพื่อจัดการกับปัญหาด้านความมั่นคง โดยจะมีการออกประกาศคำสั่ง คสช.ฉบับใหม่ ซึ่งจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับความมั่นคง การอนุญาตให้ใช้กำลังทหารในการปฏิบัติหน้าที่ช่วยงานราชการต่าง ๆ ขณะที่ตำรวจจะยังคงใช้กฎหมายปกติ แต่จะเพิ่มอำนาจในการตรวจค้นจับกุมร่วมกัน และร่วมกันสอบสวนได้ในบางกรณี โดยศาลทหารจะเป็นผู้ดำเนินคดีด้านความมั่นคง และจะเป็นกระบวนการที่มี 3 ศาล ไม่ใช่ศาลเดียว  

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า จะรวบรวมข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจกับต่างประเทศอีกครั้ง และต้องอาศัยสื่อช่วยอธิบาย'
คลิกดูเพิ่ม บีบีซีไทย - BBC Thai


องค์กรสิทธิ์ระบุ ม.44 ทำให้ประชาชนขาดสิทธิเสรีภาพยิ่งกว่ากฎอัยการศึก
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน และองค์กรสิทธิมนุษยชนหลายแห่ง ออกแถลงการณ์แสดงความกังวลเรื่องการนำมาตรา 44 มาบังคับใช้แทน พ.ร.บ.กฎอัยการศึก ระบุขัดทั้งหลักการแบ่งแยกอำนาจ หลักนิติรัฐ และพันธกรณีด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งจะนำมาซึ่งขาดการตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจรัฐ และอาจก่อให้เกิดการใช้อำนาจโดยอำเภอใจ ด้านนายกรัฐมนตรียืนยันจะใช้อำนาจอย่างสร้างสรรค์
แถลงการณ์ขององค์กรสิทธิมนุษยชนระบุว่า การเรียกร้องให้ยกเลิกปร...ะกาศใช้กฎอัยการศึก เพื่อให้เกิดการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและสิทธิเสรีภาพของประชาชนไม่ให้เกิดการละเมิด เนื่องจาก พ.ร.บ.กฎอัยการศึก ได้ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ทหารอย่างกว้างขวางในการค้น การยึด การเกณฑ์ การห้าม การควบคุมตัวบุคคลได้ไม่เกิน 7 วัน และทำให้การพิจารณาคดีในศาลทหารไม่สามารถอุทธรณ์หรือฎีกาได้ ซึ่งได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการใช้สิทธิเสรีภาพของประชาชนตลอดมา
อย่างไรก็ดี หากมีการประกาศยกเลิกกฎอัยการศึกโดยนำมาตรา 44 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) มาบังคับใช้ ก็ไม่อาจแก้ปัญหาดังกล่าวได้ แต่จะยิ่งทำให้ประชาชนขาดหลักประกันด้านสิทธิและเสรีภาพมากยิ่งขึ้น เนื่องจากได้ให้อำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดแก่หัวหน้ารักษาความสงบแห่งชาติเหนือฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ โดยให้ถือว่าคำสั่งหรือการกระทำ รวมทั้งการปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว นั้นชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญและเป็นที่สุด ซึ่งหมายความว่าการกระทำหรือคำสั่ง รวมถึงการปฏิบัติการตามคำสั่งดังกล่าวนั้นไม่อาจถูกตรวจสอบโดยองค์กรใดได้เลยแม้กระทั่งองค์กรตุลาการ อาจก่อให้เกิดการใช้อำนาจโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และหากเกิดความเสียหายขึ้นจากการกระทำดังกล่าวประชาชนก็ไม่อาจได้รับการเยียวยา และไม่นำไปสู่การลงโทษผู้กระทำความผิด
องค์กรสิทธิมนุษยชน ซึ่งรวมถึงศูนย์ข้อมูลชุมชน มูลนิธิผสานวัฒนธรรม สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา มูลนิธิส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม เรียกร้องให้ พล.อ.ประยุทธ์ ทบทวนการบังคับใช้มาตราดังกล่าว เนื่องจากขัดต่อหลักการแบ่งแยกอำนาจ หลักนิติรัฐ และขัดต่อพันธกรณีด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งจะนำมาซึ่งขาดการตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจรัฐ และอาจก่อให้เกิดการใช้อำนาจโดยอำเภอใจ และส่งผลประชาชนขาดหลักประกันต่อสิทธิเสรีภาพอย่างร้ายแรงยิ่งไปกว่าการประกาศใช้กฎอัยการศึก และไม่อาจบรรลุเจตนารมณ์ตามที่ประชาคมโลกเรียกร้องให้ยกเลิกกฎอัยการศึกได้
ด้าน พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวที่ทำเนียบรัฐบาลวันนี้ว่า จะใช้อำนาจตามมาตรา 44 อย่างสร้างสรรค์ และจะใช้อำนาจเพื่อจัดการกับปัญหาด้านความมั่นคง โดยจะมีการออกประกาศคำสั่ง คสช.ฉบับใหม่ ซึ่งจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับความมั่นคง การอนุญาตให้ใช้กำลังทหารในการปฏิบัติหน้าที่ช่วยงานราชการต่าง ๆ ขณะที่ตำรวจจะยังคงใช้กฎหมายปกติ แต่จะเพิ่มอำนาจในการตรวจค้นจับกุมร่วมกัน และร่วมกันสอบสวนได้ในบางกรณี โดยศาลทหารจะเป็นผู้ดำเนินคดีด้านความมั่นคง และจะเป็นกระบวนการที่มี 3 ศาล ไม่ใช่ศาลเดียว
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า จะรวบรวมข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจกับต่างประเทศอีกครั้ง และต้องอาศัยสื่อช่วยอธิบาย



Inga kommentarer:

Skicka en kommentar