fredag 27 mars 2015

" ม.17 สฤษดิ์ใหญ่ -.ม.44 ประยุทธ์สฤษดิ์น้อย? " ปลุกผีทรราชขึ้นจากหลุม อันตรายๆ คิดให้ดีก่อนนำ ม.44 มาใช้ "๑๐เดือน" ผ่านไปสถานการณ์มีแต่เลวลง โปรดยอมรับ"ความจริง" ฝากถึงอำมาตย์ผู้สั่งการหยุดได้หยุดเถอะ อย่าทำลายตัวเองมากไปกว่านี้ไปอีกเลย วันเวลาได้เปลี่ยนไปไม่สามารถหมุนกลับคืนได้เหมือนเดิม วันนี้ประชาชนไทยค่อนประเทศได้รู้ได้เห็นความจริงแล้วว่า"ไม่มีเทวดาบนฟ้า"อีกต่อไปจึงหมดรักเสื่อมศรัทธาต่อสิ่งหลอกลวง.....

THE  SAME  AS....เป้าหมายคือปราบปรามประชาชนเหมือนกัน...


'SAME AS ... 
รธน.ชั่วคราว 2557 มาตรา 44 
กับ ธรรมนูญปี 2502 มาตรา 17 

- - - - - - - - - -

ตามที่มีนักข่าวเขียนว่า ตู่ - ยอมถอย จะยกเลิกกฎอัยการศึกทั่วประเทศ (ยกเว้น 3 จังหวัดใต้) ไปใช้ มาตรา 44 แทน 

มีคนจำนวนมาก ที่ยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรา 44 ว่ามันเป็นอย่างไร กูจึงขอยกตัวอย่าง มาตรา 17 ตามธรรมนูญฯ 2502 ที่มีเนื้อหา ใจความ และหัวใจของมาตรานี้ เพราะว่า ถือเป็นต้นตอ ที่มาขอมาตรา 17 ใน รธน.ชั่วคราว 2557 นี้ก็ว่าได้ 

เมื่อท่านอ่านจบ ท่านจะเกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ ในมาตรา 44 ซึ่งท่านที่คิดเองเป็น ก็คงจะเข้าใจได้ว่า ครั้งนี้ "ตู่ไม่ได้ถอย" แต่ ตู่กำลังจะเดินหน้าทำอะไรบางอย่าง เชิญอ่านจนจบ สละเวลาเอาความรู้เข้าสมองด้วย 

- - - - - - - - - -

มาตรา 44 บัญญัติไว้ว่า

ในกรณีที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเห็นเป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปในด้านต่าง ๆ การส่งเสริมความสามัคคีและความสมานฉันท์ของประชาชนในชาติ หรือเพื่อป้องกัน ระงับ หรือปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความสงบเรียบร้อยหรือความมั่นคงของชาติ ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน ไม่ว่าจะเกิดขึ้นภายในหรือภายนอกราชอาณาจักร ให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ มีอำนาจสั่งการระงับยับยั้ง หรือกระทำการใด ๆ ได้ ไม่ว่าการกระทำนั้นจะมีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ และให้ถือว่าคำสั่งหรือการกระทำ รวมทั้งการปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว เป็นคำสั่งหรือการกระทำ หรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญนี้และเป็นที่สุด ทั้งนี้ เมื่อได้ดำเนินการดังกล่าวแล้ว ให้รายงานประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติและนายกรัฐมนตรีทราบโดยเร็ว

- - - - - - - - - -

‘จอมพลสฤษดิ์’ กับ ‘มาตรา 17’ 

#เป้าหมายคือปราบปรามประชาชน

การใช้อำนาจตาม ม.17 แห่ง ธรรมนูญปกครองฯ ฐานะหัวหน้า คณะรัฐประหาร (ซึ่งเรียกว่าคณะปฏิวัติ) จะใช้ด้วยจุดประสงค์ คือเป็นการ “เชือดไก่ให้ลิงดู” หรือจะโดยเจตนาอื่นใด เพื่อสร้างความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย การตัดสินลงโทษผู้กระทำผิดในคดีอาญา โดยไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรมปกติตามหลักสากลเยี่ยงอารยะประเทศ ส่งผลให้มีการประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าผู้ต้องหา

28 มกราคม 2502 เป็นวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 7 ของประเทศไทย (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 76 ตอน 17  28 มกราคม 2502) ที่มีชื่อเฉพาะว่า 

"ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2502"  

ธรรมนูญการปกครองฯ ฉบับนี้ ผู้คนทั่วไปมักจะรู้จักมาตรา 17 ของธรรมนูญดีกว่าอย่างอื่น เพราะเป็นมาตราที่เขียนให้อำนาจนายกรัฐมนตรีไว้มาก และเด็ดขาดยิ่ง 

จุดประสงค์หลักของการตรามาตรานี้ คือการสร้างอำนาจให้กับฝ่ายบริหารให้ประเทศไทย ตกอยู่ภายใต้การปกครองแบบเผด็จการแบบพ่อขุน โดยอ้างภัยสารพัด โดยเฉพาะคอมมิวนิสต์

วัตถุประสงค์หลักของสฤษดิ์ การที่สฤษดิ์เอามาตรา 17 มาใช้ ทำให้ดูเหมือนรัฐเผด็จการดี แต่อย่าลืมว่า นี่คือการเพิ่มอำนาจให้กับข้าราชการมากจนเกินไป

- - - - - - - - - -

มาตรา17 ธรรมนูญปกครองราชอาณาจักรปี 2502 
สมัยจอมพลสฤษดิ์ ความว่า 

“มาตรา 17 ในระหว่างที่ใช้รัฐธรรมนูญนี้ ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีเห็นสมควรเพื่อประโยชน์ในการระงับหรือปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักรหรือราชบัลลังก์ หรือการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลาย ก่อกวน หรือคุกคามความสงบที่เกิดขึ้นภายใน หรือมาจากภายนอกราชอาณาจักร ให้นายกรัฐมนตรีโดยมติของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งการ หรือกระทำการใดๆได้ และให้ถือว่า คำสั่งหรือการกระทำเช่นว่านั้น เป็นคำสั่งหรือการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อนายกรัฐมนตรีได้สั่งการหรือกระทำการใดไปตามความในวรรคก่อนแล้วให้นายกรัฐมนตรีแจ้งให้สภาทราบ”

มาตรา 17 เป็นบทบัญญัติหนึ่งในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่ให้อำนาจฝ่ายบริหาร โดยนายกรัฐมนตรีอย่างไม่มีการถ่วงดุล ทำให้ฝ่ายบริหารมีความเฉียบขาดในการจัดการเรื่องต่างๆ ด้วยตนเอง ซึ่งอาจทำให้เกิดความฉับไวในการแก้ไขปัญหาเร่งด่วน แต่ก็นำมาซึ่งการใช้อำนาจรัฐในทางที่ผิดโดยมีการสั่งลงโทษประหารชีวิตผู้บริสุทธิ์ไปแล้วเป็นจำนวนมาก

- - - - - - - - - -

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่มีบทบัญญัติดังกล่าวได้แก่

1. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2502 มาตรา 17

2. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2515 มาตรา 17
(ยกเลิกไปโดยการออกใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517)

3. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2519 มาตรา 21

4. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2520 มาตรา 27
(ยกเลิกไปโดยการออกใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2521)

ข้อความในบทบัญญัติดังกล่าว ในธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2520 มีบทบัญญัติดังนี้
         
มาตรา 27 ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีเห็นเป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการป้องกัน ระงับหรือปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักร ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน หรือการกระทำอันเป็นการก่อกวนหรือคุกคามความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี ของประชาชน หรือการกระทำอันเป็นการทำลายทรัพยากรของประเทศ หรือเป็นการบั่นทอนสุขภาพอนามัยของประชาชนทั้งนี้ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นก่อนหรือหลังวันใช้ธรรมนูญการปกครองนี้และไม่ว่าจะเกิดขึ้น ภายในหรือภายนอกราชอาณาจักร ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีและของสภานโยบายแห่งชาติ มีอำนาจสั่งการหรือกระทำการใดๆ ได้ และให้ถือว่าคำสั่งหรือการกระทำของนายกรัฐมนตรีรวมทั้งการปฏิบัติตามคำสั่ง ดังกล่าวเป็นคำสั่งหรือการกระทำหรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมาย

และล่าสุด ที่มี มาตรา 17 ก็คือ รธน.ชั่วคราว 2557 มาตรา 44 ซึ่งประกาศใช้โดย คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็น หัวหน้าคณะรักษาความสงบ และนายกรัฐมนตรี คือ ประยุทธ์ ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ 

- - - - - - - - - -

กรณีตัวอย่างการใช้มาตรา 17

- การปราบปรามคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย
- การสั่งประหารชีวิตบ้านต้นเพลิงที่ตลาดพลู
- การสั่งประหารชีวิต นายทองพันธ์ สุทธมาศ 
- การสั่งประหารชีวิต ครูครอง จันดาวงศ์ 

(อ่านประวัติครูครอง จันดาวงศ์ ได้ที่นี่  
1. ประวัติครูครอง 
https://www.facebook.com/secret100million/photos/a.219472928250911.1073741828.128043194060552/332758126922390/
2. หลังครูครองโดนประหาร 
https://www.facebook.com/secret100million/photos/a.219472928250911.1073741828.128043194060552/333094323555437/) 

- การสั่งยึดทรัพย์จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ โดย จอมพลถนอม กิตติขจร
- การสั่งยึดทรัพย์จอมพลถนอม กิตติขจร โดย นายสัญญา ธรรมศักดิ์

เป็นต้น 

- - - - - - - - - -

การใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2502

         
บทบัญญัติในธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุดคือ มาตรา 17 เพราะความรุนแรงและเด็ดขาดโดยไม่มีขอบเขตของอำนาจที่แน่นอน จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ใช้อำนาจเด็ดขาดในการวินิจฉัยและตัดสินพิจารณาโทษในฐานะหัวหน้าคณะปฏิวัติถึงขั้นประหารชีวิตตามประกาศคณะปฏิวัติจำนวน 5 คน ในข้อหาวางเพลิง และเป็นแผนก่อวินาศกรรมของคอมมิวนิสต์ และได้ใช้อำนาจในฐานะนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 17 ตัดสินประหารชีวิตจำนวน 6 คน ในข้อหาคอมมิวนิสต์ ยาเสพติด และผีบุญ แม้กระทั่งจอมพลสฤษดิ์ถึงแก่อสัญกรรม และจอมพลถนอม กิตติขจรสืบทอดอำนาจต่อ ยังมีการใช้อำนาจตามมาตรา 17 ตัดสินประหารชีวิต จำนวน 13 คน และจำคุก 34 คน 
          
การใช้มาตรา 17 เกิดข้อโต้แย้งขึ้นภายหลังจากที่จอมพลสฤษดิ์ถึงแก่อสัญกรรมและพบว่ามีการใช้จ่ายเงินของทางราชการอย่างไม่ถูกต้องและยักทรัพย์แผ่นดินรวมมูลค่ากว่าหกร้อยล้านบาท จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีจึงได้ใช้อำนาจตามมาตรา 17 ยึดทรัพย์มรกดจอมพลสฤษดิ์และท่านผู้หญิงวิจิตรา ธนะรัชต์ ให้ตกเป็นของรัฐเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2507
         
ก่อนหน้าที่จะใช้มาตรา 17 ยึดทรัพย์มรดกจอมพลสฤษดิ์นั้น จอมพลถนอมได้ขอให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาว่าจะดำเนินการเอาเงินของรัฐคืนมาได้อย่างไร ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกาวินิจฉัยว่า สามารถใช้บทบัญญัติมาตรา 17 ได้ เพราะการกระทำของจอมพลสฤษดิ์ถึงขึ้นบ่อนทำลาย

- - - - - - - - - -

จอมพลถนอมได้เชิญกรรมการร่างกฎหมายและคณะรัฐมนตรีเข้าประชุมร่วมกันในกรณีดังกล่าว มีกรรมการร่างกำหมายเข้าประชุม 35 คนจากจำนวน 47 คน และรัฐมนตรี 15 คนจากจำนวน 19 คน ที่ประชุมมีมติให้ใช้มาตรา 17 ในกรณีของจอมพลสฤษดิ์ ด้วยคะแนนเสียงก้ำกึ่งคือ 25 ต่อ 22 เสียง (สมภพ โหตระกิตย์ 2521 : 93-95) 

เมื่อได้ยึดทรัพย์แล้วได้มีการตราพระราชบัญญัติให้ความคุ้มครองและห้ามฟ้องบุคคลผู้ปฏิบัติการเกี่ยวกับมาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2508 เพื่อคุ้มครองคณะบุคคลที่ได้กระทำการตามมาตรา 17 และคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 66/2507 เรื่องมรดกของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ลงวันที่ 5 มีนาคม 2507 (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 82 ตอน 63  6 สิงหาคม 2508) ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้มิได้เสนอโดยคณะรัฐมนตรี แต่ถูกเสนอโดยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พลโทไสว ดวงมณี ซึ่งถูกต้องข้อสังเกตว่า มีนัยเป็นการถอนอำนาจศาลไปส่วนหนึ่ง อันเนื่องมาจากการห้ามฟ้องร้องการกระทำของนายกรัฐมนตรี (พิพัฒน์ จักรางกูร 2517 : 52-54)
 
- - - - - - - - - -

ท่านผู้หญิงวิจิตรา ธนะรัชต์ ได้ยื่นฟ้องต่อศาลและต่อสู้คดีถึงขั้นศาลฎีกา ในที่สุด ศาลฎีกาได้วินิจฉัยการใช้อำนาจตามมาตรา 17 กับ พ.ร.บ. ให้ความคุ้มครองและห้ามฟ้องบุคคลผู้ปฏิบัติการเกี่ยวแก่มาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2508 มีผลใช้บังคับได้  และไม่มีมูลที่ผู้ใดจะนำมาฟ้องร้องให้รับผิดชอบตามกฎหมายได้

ศาลยังได้วินิจฉัยต่อไปอีกว่า นายกรัฐมนตรีมีอำนาจที่จะวินิจฉัยพฤติการณ์ที่ควรใช้มาตรการที่กำหนดไว้ ส่วนการวินิจฉัยว่า คำสั่งหรือการกระทำชอบด้วยมาตรา 17 หรือไม่ อยู่ที่ความเห็นของนายกรัฐมนตรีโดยมติคณะรัฐมนตรีว่าสมควรต้องมีคำสั่งหรือกระทำ มิได้อยู่ที่มีพฤติการณ์บ่อนทำลายจริงหรือไม่ (พิพัฒน์ จักรางกูร 2517 : 54-58 ; สมภพ โหตระกิตย์ 2521 : 93-101) 

- - - - - - - - - -

และยังมีคดีที่เข้าสู่การวินิจฉัยของศาลฎีกา และศาลฎีกาวินิจฉัยว่า 

"การกระทำที่เข้าข่ายการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักรเป็นดุลพินิจของนายกรัฐมนตรี โดยมติของคณะรัฐมนตรี สั่งการไปตามอำนาจตามกฎหมาย ถือว่ายุติเด็ดขาด 

และไม่มีบทบัญญัติในธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร ที่ให้ศาลรื้อฟื้นแก้ไขการใช้ดุลพินิจของนายกรัฐมนตรีได้ แม้ว่าจะได้เลิกใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรแล้วก็ตาม" (พิพัฒน์ จักรางกูร 2517: 58-60)
        
- - - - - - - - - -

ความเด็ดขาดในมาตรา 17 นั้น แม้ว่าจะได้รับอิทธิพลจากมาตรา 16 ของรัฐธรรมนูญประเทศฝรั่งเศส ค.ศ. 1958 หรือฉบับประธานาธิบดีชาร์ล เดอโกลล์ แต่ในความเป็นจริง ประธานาธิบดีเดอโกลล์ใช้อำนาจตามบทบัญญัตินี้เพียงครั้งเดียว ในกรณีกบฏที่ประเทศอัลจีเรียในช่วงเวลาประมาณ 6 เดือนจึงยกเลิก และประธานาธิบดีเดอโกลล์ก็ถูกตำหนิว่า ใช้อำนาจพิเศษนี้ยาวนานเกินไป (วิษณุ เครืองาม 2523 : 319) 

ในกรณีประเทศไทย ได้ใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2502 ในช่วงเวลาถึง 9 ปีเศษ และนายกรัฐมนตรีได้ใช้อำนาจตามมาตรา 17 หลายครั้ง

- - - - - - - - - -
         
ถึงแม้มาตรา 17 จะมีข้อดีอยู่บ้างตามทัศนะของนักกฎหมายซึ่งเห็นว่าการใช้อำนาจเด็ดขาดเป็นมาตรการสุดท้ายที่จะรักษาไว้ซึ่งความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ ความสงบเรียบร้อย ตลอดจนศีลธรรมอันดีของประชาชน แต่ถ้าใช้อำนาจนี้บ่อยครั้ง และเกินความจำเป็นก็จะกระทบกระเทือนต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน 

ทั้งยังเป็นช่องทางให้ฝ่ายบริหารใช้อำนาจนี้ผิดทำนองคลองธรรมโดยปราศจากความควบคุมได้ (วิษณุ เครืองาม 2523 : 321) นักกฎหมายบางท่านถึงกับกล่าวว่า มาตรา 17 เป็นผลงานชิ้นโบว์ดำของนักกฎหมายและให้อำนาจแก่นายกรัฐมนตรีมากกว่าอำนาจเด็ดขาดของกษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (พิพัฒน์ จักรางกูร 2517 : 60-61) 

- - - - - - - - - -

แม้กระทั่งตัวผู้ร่างก็ก็เคยกล่าวว่า

..... “ไม่นึกเลยว่า มาตรา 17 ที่พวกเราได้ช่วยกันสร้างขึ้นมาจะมีฤทธิ์เดชมากมายถึงเพียงนี้” (สมภพ โหตระกิตย์ 2521 : 101)
          
ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2502 ถูกยกเลิกเนื่องจากการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2511 เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2511

- - - - - - - - - -

เมื่อมีมาตรา 44 ไม่เพียงเป็นเกราะชั้นดีช่วยปิดจุดอ่อนป้องกัน คสช. ไม่ให้ถูกฟ้อง ทั้งยังยกอำนาจของ "หัวหน้า คสช." ให้อยู่เหนืออำนาจตุลาการ บริหาร และนิติบัญญัติ 

ซึ่งแปลว่า ประยุทธ์ กำลังจะมีอำนาจเหนือ 3 สถาบันหลักของชาติ และมีอำนาจมากกว่า พระมหากษัตริย์ เสียด้วยซ้ำ 

รอดูกันว่าประยุทธ์ จะใช้ มาตรา 44 ทำอะไร 
และจะใช้มันไปในทิศทางใด 

- - - - - - - - - -

ข้อมูลอ้างอิง 
1. http://www.thairath.co.th/content/438547
2. https://blogazine.pub/blogs/pandit-chanrochanakit/post/4878
3. http://www.dailynews.co.th/Content/politics/254285
4. http://www.เกร็ดความรู้.net/รัฐธรรมนูญ-2557/
5. http://lawtoknow.blogspot.com/2009/11/17.html'
ด่วน! "บิ๊กตู่" เตรียมออกคำสั่ง หน.คสช. ใช้มาตรา44 แทนกฎอัยการศึก



คลิกดูเพิ่ม กูต้องได้ 100 ล้าน จากทักษิณแน่ๆ

by เพจกู
SAME AS ...
รธน.ชั่วคราว 2557 มาตรา 44
กับ ธรรมนูญปี 2502 มาตรา 17


ตามที่มีนักข่าวเขียนว่า ตู่ - ยอมถอย จะยกเลิกกฎอัยการศึกทั่วประเทศ (ยกเว้น 3 จังหวัดใต้) ไปใช้ มาตรา 44 แทน
มีคนจำนวนมาก ที่ยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรา 44 ว่ามันเป็นอย่างไร กูจึงขอยกตัวอย่าง มาตรา 17 ตามธรรมนูญฯ 2502 ที่มีเนื้อหา ใจความ และหัวใจของมาตรานี้ เพราะว่า ถือเป็นต้นตอ ที่มาขอมาตรา 17 ใน รธน.ชั่วคราว 2557 นี้ก็ว่าได้
เมื่อท่านอ่านจบ ท่านจะเกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ ในมาตรา 44 ซึ่งท่านที่คิดเองเป็น ก็คงจะเข้าใจได้ว่า ครั้งนี้ "ตู่ไม่ได้ถอย" แต่ ตู่กำลังจะเดินหน้าทำอะไรบางอย่าง เชิญอ่านจนจบ สละเวลาเอาความรู้เข้าสมองด้วย

มาตรา 44 บัญญัติไว้ว่า
ในกรณีที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเห็นเป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปในด้านต่าง ๆ การส่งเสริมความสามัคคีและความสมานฉันท์ของประชาชนในชาติ หรือเพื่อป้องกัน ระงับ หรือปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความสงบเรียบร้อยหรือความมั่นคงของชาติ ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน ไม่ว่าจะเกิดขึ้นภายในหรือภายนอกราชอาณาจักร ให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ มีอำนาจสั่งการระงับยับยั้ง หรือกระทำการใด ๆ ได้ ไม่ว่าการกระทำนั้นจะมีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ และให้ถือว่าคำสั่งหรือการกระทำ รวมทั้งการปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว เป็นคำสั่งหรือการกระทำ หรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญนี้และเป็นที่สุด ทั้งนี้ เมื่อได้ดำเนินการดังกล่าวแล้ว ให้รายงานประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติและนายกรัฐมนตรีทราบโดยเร็ว

‘จอมพลสฤษดิ์’ กับ ‘มาตรา 17’
การใช้อำนาจตาม ม.17 แห่ง ธรรมนูญปกครองฯ ฐานะหัวหน้า คณะรัฐประหาร (ซึ่งเรียกว่าคณะปฏิวัติ) จะใช้ด้วยจุดประสงค์ คือเป็นการ “เชือดไก่ให้ลิงดู” หรือจะโดยเจตนาอื่นใด เพื่อสร้างความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย การตัดสินลงโทษผู้กระทำผิดในคดีอาญา โดยไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรมปกติตามหลักสากลเยี่ยงอารยะประเทศ ส่งผลให้มีการประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าผู้ต้องหา
28 มกราคม 2502 เป็นวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 7 ของประเทศไทย (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 76 ตอน 17 28 มกราคม 2502) ที่มีชื่อเฉพาะว่า
"ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2502"
ธรรมนูญการปกครองฯ ฉบับนี้ ผู้คนทั่วไปมักจะรู้จักมาตรา 17 ของธรรมนูญดีกว่าอย่างอื่น เพราะเป็นมาตราที่เขียนให้อำนาจนายกรัฐมนตรีไว้มาก และเด็ดขาดยิ่ง
จุดประสงค์หลักของการตรามาตรานี้ คือการสร้างอำนาจให้กับฝ่ายบริหารให้ประเทศไทย ตกอยู่ภายใต้การปกครองแบบเผด็จการแบบพ่อขุน โดยอ้างภัยสารพัด โดยเฉพาะคอมมิวนิสต์
วัตถุประสงค์หลักของสฤษดิ์ การที่สฤษดิ์เอามาตรา 17 มาใช้ ทำให้ดูเหมือนรัฐเผด็จการดี แต่อย่าลืมว่า นี่คือการเพิ่มอำนาจให้กับข้าราชการมากจนเกินไป

มาตรา17 ธรรมนูญปกครองราชอาณาจักรปี 2502
สมัยจอมพลสฤษดิ์ ความว่า
“มาตรา 17 ในระหว่างที่ใช้รัฐธรรมนูญนี้ ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีเห็นสมควรเพื่อประโยชน์ในการระงับหรือปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักรหรือราชบัลลังก์ หรือการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลาย ก่อกวน หรือคุกคามความสงบที่เกิดขึ้นภายใน หรือมาจากภายนอกราชอาณาจักร ให้นายกรัฐมนตรีโดยมติของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งการ หรือกระทำการใดๆได้ และให้ถือว่า คำสั่งหรือการกระทำเช่นว่านั้น เป็นคำสั่งหรือการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อนายกรัฐมนตรีได้สั่งการหรือกระทำการใดไปตามความในวรรคก่อนแล้วให้นายกรัฐมนตรีแจ้งให้สภาทราบ”
มาตรา 17 เป็นบทบัญญัติหนึ่งในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่ให้อำนาจฝ่ายบริหาร โดยนายกรัฐมนตรีอย่างไม่มีการถ่วงดุล ทำให้ฝ่ายบริหารมีความเฉียบขาดในการจัดการเรื่องต่างๆ ด้วยตนเอง ซึ่งอาจทำให้เกิดความฉับไวในการแก้ไขปัญหาเร่งด่วน แต่ก็นำมาซึ่งการใช้อำนาจรัฐในทางที่ผิดโดยมีการสั่งลงโทษประหารชีวิตผู้บริสุทธิ์
คลิกอ่านต่อ



สื่อโดนอีก คราวนี้ ‘บวรศักดิ์’จวกสื่อ!! วิจารณ์ระบบเยอรมัน ท้าต้องการไทยแท้ต้องระบอบสฤษดิ์(คลิป)



http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1427458358

คลิกอ่าน‘บวรศักดิ์’จวกสื่อ!! วิจารณ์ระบบเยอรมัน ท้าต้องการไทยแท้ต้องระบอบสฤษดิ์(คลิป)
วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2558
ที่มา มติชนออนไลน์

นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่1 กล่าวปาฐกถาพิเศษในเวทีประชาเสวนาหาทางออก "สานพลังประชาชนเพื่อปฏิรูปประเทศไทย"ครั้งที่10 ในพื้นที่ภาคกลาง 6 จังหวัด ถึง กระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญ ช่วงหนึ่งว่า สื่อมวลชนพูดถึงการให้สิทธิเสรีภาพและการยกระดับให้ประชาชนเป็นพลเมืองเต็มขั้นในร่างรัฐธรรมนูญน้อยมาก เพราะ ไปพูดเรื่องการทำให้พรรคการเมืองอ่อนแอ การเลือกนายกรัฐมนตรีคนนอก ระบบการเลือกตั้งแบบเยอรมัน ว่า “เหม็นนม เหม็นเนย แต่ระบบที่เลือกเขตเดียวคนเดียว และที่เลือกสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดละคน ไม่ใช่ระบบของไทย แต่เป็นของอังกฤษ ขอให้เลิกพูดว่า เราเป็นคนกินข้าว ไมได้กินขนมปัง ถามกลับทำไมถึงขับรถ ใช้ไฟฟ้า ทั้งที่ไทยไมได้คิดค้น วิธีพูดที่จะทำลายกันในประเทศไทย สื่อก็ชอบมาก จึงทำให้คนคิดน้อยคล้อยตาม เผยระบบของไทยต้องเป็นแบบจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ระบบพ่อขุนเผด็จการ ที่เป็นไทยแท้ เอาไหม คำตอบคือเราไม่เอา




Inga kommentarer:

Skicka en kommentar