คลิกดูเพิ่ม Chaturon Chaisang
#ร่างรัฐธรรมนูญ #ประชาชน
"...ร่างรัฐธรรมนูญแบบนี้จะทำให้ประเทศชาติล้าหลัง ไม่สามารถแก้ปัญหาประเทศ ไม่สามารถตอบสนองความต้องการประชาชนได้ และไม่มีเสถียรภาพ".
คลิกอ่าน http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1427624883...
จาตุรนต์ ฉายแสง29 มีนาคม 2558
เมื่อวันที่ 29 มี.ค. นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรมว.ศึกษาธิการ กล่าวกรณีนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ระบุนักการเมืองวิจารณ์การร่างรัฐธรรมนูญ เฉพาะอำนาจนักการเมืองและพรรคการเมืองว่า ความจริงคนที่วิจารณ์รัฐธรรมนูญมีหลากหลาย มีการทำโพลมาจะเห็นว่า ประชาชน ผู้ที่ออกเสียงในโพลส่วนใหญ่เห็นว่านายกรัฐมนตรี และสมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.)ควรออกมาจากการเลือกตั้ง แต่นายบวรศักดิ์ไม่ยอมฟังให้ไปทำโพลใหม่ สิ่งที่นักการเมืองและพรรคการเมืองวิจารณ์อยู่นั้น ไม่ใช่เรื่องของอำนาจนักการเมืองเท่านั้น ประเด็นสำคัญร่างรัฐธรมนูญที่กำลังร่างอยู่นี้ อธิปไตยไม่ได้เป็นของประชาชน ไม่ได้มีอำนาจโดยเฉพาะกำหนดการปกครองและบริหารประเทศ ที่นายบวรศักดิ์คุยนักคุยหนาจะเพิ่มอำนาจพลเมืองในรูปแบบใหม่ๆ ความจริงเป็นเพียงการทำให้ข้างนอกสุกสดใส ข้างในเป็นโพรงกำลังจะให้อำนาจที่สำคัญๆ กลับเป็นขององค์กรต่างๆที่ไม่ได้มาจากประชาชน ทั้งองค์กรอิสระเดิม องค์กรอิสระใหม่ๆ และส.ว.ลากตั้ง
นายจาตุรนต์ กล่าวอีกว่า ร่างรัฐธรรมนูญแบบนี้จะทำให้ประเทศชาติล้าหลัง ไม่สามารถแก้ปัญหาประเทศ ไม่สามารถตอบสนองความต้องการประชาชนได้ และไม่มีเสถียรภาพ ส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจและการแข่งขัน เรื่องที่เขียนให้คนนอกเป็นนายกฯ จริงๆแล้วกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญเขียน เพื่อเปิดทางให้คนนอกเป็นนายกฯได้ นายบวรศักดิ์รู้ดีอยู่แล้วว่า จะทำให้อำนาจนอกระบบเข้ามาแทรกแซง จนในที่สุดคนนอกได้เป็นนายกฯ นายบวรศักดิ์อาจจะหงุดหงิดที่มีเสียงไม่เห็นด้วยมากกว่า เพราะเห็นว่านายบวรศักดิ์กำลังทำให้ประเทศล้าหลังไปอีก 30-40 ปี เศรษฐกิจเสียหายไม่มีวันโงหัวขึ้นได้ ในขณะนี้ประชาชนเปลี่ยนไปมาก ประเทศพัฒนามากขึ้น ประชาชนเข้าใจประชาธิปไตยมากขึ้น แต่นายบวรศักดิ์กำลังสนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญล้าหลัง จึงไม่แปลกเลยที่ประชาชนจำนวนมากและหลายฝ่ายไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญนี้
“ถ้านายบวรศักดิ์จะได้ประโยชน์จากผู้มีอำนาจในขณะนี้ แต่กลายเป็นโทษ เป็นความเสียหายต่อประเทศชาติและประชาชน นายบวรศักดิ์เป็นคนชอบทำตามกระแส เมื่อปี 40 ประชาชนส่วนใหญ่ต้องการรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยก็ตามกระแส และได้ดีจากรัฐธรรมนูญนั้น แต่มาตอนนี้นายบวรศักดิ์อาจหลงกระแสคิดว่าประชาชนอยากได้รัฐธรรมนูญอย่างที่กำลังร่างอยู่ ไม่ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงความคิดเห็น และไม่ได้ฟังความเห็นประชาชน ถ้าจะให้ดีว่าประชาชนเห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญที่กำลังร่างอยู่นี้ สิ่งที่นายบวรศักดิ์ ควรทำ คือ ผลักดันให้มีการทำประชามติ จะได้เป็นการพิสูจน์กันใคร คือ เสียงส่วนใหญ่ เสียงส่วนน้อยกันแน่” นายจาตุรนต์ กล่าว
นายจาตุรนต์ กล่าวถึงแนวคิดพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคสช. เตรียมยกเลิกประกาศใช้กฎอัยการศึก มาใช้มาตรา 44 ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี 57 ว่า การใช้มาตรา 44 ส่วนหนึ่งขึ้นกับ ว่า จะใช้มาสั่งว่าอย่างไร กฎหมายและคำสั่งที่ออกมามีเนื้อหาอย่างไร ถ้ามีเนื้อหาเบากว่ากฎอัยการศึกอาจเป็นเรื่องที่สามารถใช้กฎหมายอื่นได้อยู่แล้ว แต่ถ้ามีเนื้อหาเข้มข้นเหมือนกฎอัยการศึกก็จะไม่ต่างไปจากเดิมหรือแย่กว่าเดิม ที่ว่าแย่กว่าเดิม เนื่องจากตัวมาตรา 44 เป็นอำนาจเผด็จการเบ็ดเสร็จที่ร้ายแรงยิ่งกว่าธรรมนูญการปกครองสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เพราะหัวหน้าคสช.และคณะคสช.มีอำนาจเหนือฝ่ายตุลาการ บริหาร นิติบัญญัติ และถ้าเนื้อหาใกล้เคียงกฎอัยการศึก จะมีผลเสีย คือ สร้างความยอมรับล้มเหลวในสังคมโลก
"เพราะฉะนั้นทางที่ดีต้องมาตั้งหลักว่า สภาพเศรษฐกิจที่ตกต่ำอยู่ในปัจจุบัน การคงกฎอัยการศึกไว้มีแต่จะมีผลเสีย แต่ขณะเดียวกันการร่างรัฐธรรมนูญต้องการรับฟังความคิดเห็นมากขึ้น การคงกฎอัยการศึกไว้อย่างเข้มงวดจะเป็นการปิดกั้นการแสดงความคิดเห็น ซึ่งไม่เป็นผลดี ถ้าจะมีการยกเลิกกฎอัยการศึก นั้นหมายความต้องช่วยลดความเสียหายเศรษฐกิจ และส่งเสริมให้แสดงความคิดเห็น ไม่ใช่เปลี่ยนแค่ชื่อกฎหมายที่ใช้ แต่ถ้าเนื้อหาของกฎหมายยังเป็นอยู่อย่างเดิม ความจริงถ้าจะทำควรให้เปิดให้หลายๆฝ่ายวิพากษ์วิจารณ์ก่อน ดีกว่าออกมาเลย เพราะไม่อย่างนั้นอาจเกิดปัญหาได้ว่ามีเนติบริกรช่วยทำพังอีกแล้ว" นายจาตุรนต์ กล่าว
เมื่อวันที่ 29 มี.ค. นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรมว.ศึกษาธิการ กล่าวกรณีนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ระบุนักการเมืองวิจารณ์การร่างรัฐธรรมนูญ เฉพาะอำนาจนักการเมืองและพรรคการเมืองว่า ความจริงคนที่วิจารณ์รัฐธรรมนูญมีหลากหลาย มีการทำโพลมาจะเห็นว่า ประชาชน ผู้ที่ออกเสียงในโพลส่วนใหญ่เห็นว่านายกรัฐมนตรี และสมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.)ควรออกมาจากการเลือกตั้ง แต่นายบวรศักดิ์ไม่ยอมฟังให้ไปทำโพลใหม่ สิ่งที่นักการเมืองและพรรคการเมืองวิจารณ์อยู่นั้น ไม่ใช่เรื่องของอำนาจนักการเมืองเท่านั้น ประเด็นสำคัญร่างรัฐธรมนูญที่กำลังร่างอยู่นี้ อธิปไตยไม่ได้เป็นของประชาชน ไม่ได้มีอำนาจโดยเฉพาะกำหนดการปกครองและบริหารประเทศ ที่นายบวรศักดิ์คุยนักคุยหนาจะเพิ่มอำนาจพลเมืองในรูปแบบใหม่ๆ ความจริงเป็นเพียงการทำให้ข้างนอกสุกสดใส ข้างในเป็นโพรงกำลังจะให้อำนาจที่สำคัญๆ กลับเป็นขององค์กรต่างๆที่ไม่ได้มาจากประชาชน ทั้งองค์กรอิสระเดิม องค์กรอิสระใหม่ๆ และส.ว.ลากตั้ง
นายจาตุรนต์ กล่าวอีกว่า ร่างรัฐธรรมนูญแบบนี้จะทำให้ประเทศชาติล้าหลัง ไม่สามารถแก้ปัญหาประเทศ ไม่สามารถตอบสนองความต้องการประชาชนได้ และไม่มีเสถียรภาพ ส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจและการแข่งขัน เรื่องที่เขียนให้คนนอกเป็นนายกฯ จริงๆแล้วกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญเขียน เพื่อเปิดทางให้คนนอกเป็นนายกฯได้ นายบวรศักดิ์รู้ดีอยู่แล้วว่า จะทำให้อำนาจนอกระบบเข้ามาแทรกแซง จนในที่สุดคนนอกได้เป็นนายกฯ นายบวรศักดิ์อาจจะหงุดหงิดที่มีเสียงไม่เห็นด้วยมากกว่า เพราะเห็นว่านายบวรศักดิ์กำลังทำให้ประเทศล้าหลังไปอีก 30-40 ปี เศรษฐกิจเสียหายไม่มีวันโงหัวขึ้นได้ ในขณะนี้ประชาชนเปลี่ยนไปมาก ประเทศพัฒนามากขึ้น ประชาชนเข้าใจประชาธิปไตยมากขึ้น แต่นายบวรศักดิ์กำลังสนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญล้าหลัง จึงไม่แปลกเลยที่ประชาชนจำนวนมากและหลายฝ่ายไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญนี้
“ถ้านายบวรศักดิ์จะได้ประโยชน์จากผู้มีอำนาจในขณะนี้ แต่กลายเป็นโทษ เป็นความเสียหายต่อประเทศชาติและประชาชน นายบวรศักดิ์เป็นคนชอบทำตามกระแส เมื่อปี 40 ประชาชนส่วนใหญ่ต้องการรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยก็ตามกระแส และได้ดีจากรัฐธรรมนูญนั้น แต่มาตอนนี้นายบวรศักดิ์อาจหลงกระแสคิดว่าประชาชนอยากได้รัฐธรรมนูญอย่างที่กำลังร่างอยู่ ไม่ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงความคิดเห็น และไม่ได้ฟังความเห็นประชาชน ถ้าจะให้ดีว่าประชาชนเห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญที่กำลังร่างอยู่นี้ สิ่งที่นายบวรศักดิ์ ควรทำ คือ ผลักดันให้มีการทำประชามติ จะได้เป็นการพิสูจน์กันใคร คือ เสียงส่วนใหญ่ เสียงส่วนน้อยกันแน่” นายจาตุรนต์ กล่าว
นายจาตุรนต์ กล่าวถึงแนวคิดพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคสช. เตรียมยกเลิกประกาศใช้กฎอัยการศึก มาใช้มาตรา 44 ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี 57 ว่า การใช้มาตรา 44 ส่วนหนึ่งขึ้นกับ ว่า จะใช้มาสั่งว่าอย่างไร กฎหมายและคำสั่งที่ออกมามีเนื้อหาอย่างไร ถ้ามีเนื้อหาเบากว่ากฎอัยการศึกอาจเป็นเรื่องที่สามารถใช้กฎหมายอื่นได้อยู่แล้ว แต่ถ้ามีเนื้อหาเข้มข้นเหมือนกฎอัยการศึกก็จะไม่ต่างไปจากเดิมหรือแย่กว่าเดิม ที่ว่าแย่กว่าเดิม เนื่องจากตัวมาตรา 44 เป็นอำนาจเผด็จการเบ็ดเสร็จที่ร้ายแรงยิ่งกว่าธรรมนูญการปกครองสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เพราะหัวหน้าคสช.และคณะคสช.มีอำนาจเหนือฝ่ายตุลาการ บริหาร นิติบัญญัติ และถ้าเนื้อหาใกล้เคียงกฎอัยการศึก จะมีผลเสีย คือ สร้างความยอมรับล้มเหลวในสังคมโลก
"เพราะฉะนั้นทางที่ดีต้องมาตั้งหลักว่า สภาพเศรษฐกิจที่ตกต่ำอยู่ในปัจจุบัน การคงกฎอัยการศึกไว้มีแต่จะมีผลเสีย แต่ขณะเดียวกันการร่างรัฐธรรมนูญต้องการรับฟังความคิดเห็นมากขึ้น การคงกฎอัยการศึกไว้อย่างเข้มงวดจะเป็นการปิดกั้นการแสดงความคิดเห็น ซึ่งไม่เป็นผลดี ถ้าจะมีการยกเลิกกฎอัยการศึก นั้นหมายความต้องช่วยลดความเสียหายเศรษฐกิจ และส่งเสริมให้แสดงความคิดเห็น ไม่ใช่เปลี่ยนแค่ชื่อกฎหมายที่ใช้ แต่ถ้าเนื้อหาของกฎหมายยังเป็นอยู่อย่างเดิม ความจริงถ้าจะทำควรให้เปิดให้หลายๆฝ่ายวิพากษ์วิจารณ์ก่อน ดีกว่าออกมาเลย เพราะไม่อย่างนั้นอาจเกิดปัญหาได้ว่ามีเนติบริกรช่วยทำพังอีกแล้ว" นายจาตุรนต์ กล่าว
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar