ปิยบุตร แสงกนกกุล เปิดโปงนักกฏหมายแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ได้ สร้างคำอธิบายเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ และพระราชอำนาจที่น่าสนใจและยังคงครอบงำสังคมไทยจนทุกวันนี้ โดยยกตัวอย่าง 3 ประเด็น.....
1. อำนาจอธิปไตยเป็นของกษัตริย์ร่วมกับประชาชน
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ได้สร้างทฤษฎี “อำนาจอธิปไตยเป็นของพระมหากษัตริย์และประชาชน” ไว้ในตำรากฎหมายมหาชนของเขาว่า ในระบอบประชาธิปไตยไทย อำนาจอธิปไตยอยู่ที่พระมหากษัตริย์และประชาชน ซึ่งไม่เหมือนกับประเทศอื่นที่ประชาชนเท่านั้นที่เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ทั้งนี้ด้วยเหตุผลสองประการ ประการแรก เหตุผลทางประเพณีในสังคมวัฒนธรรมไทยอันเกิดจากการสั่งสมความเป็นอันหนึ่งอัน เดียวกันของพระมหากษัตริย์กับประชาชน ประการที่สอง เหตุผลทางนิติศาสตร์ แต่ไหนแต่ไรมา อำนาจอธิปไตยอยู่ที่องค์พระมหากษัตริย์ ครั้นเมื่อคณะราษฎรเปลี่ยนแปลงการปกครอง พระมหากษัตริย์ซึ่งทรงอำนาจอธิปไตยอยู่ก็สละพระราชอำนาจนั้นให้ประชาชนทั้ง ประเทศด้วยการพระราชทานรัฐธรรมนูญ แล้วลดพระองค์ลงอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ แต่ยังทรงใช้อำนาจนั้นแทนประชาชน ด้วยเหตุนี้ ในทางกฎหมาย เมื่อมีการรัฐประหารเลิกรัฐธรรมนูญ ก็ต้องถือว่าอำนาจอธิปไตยที่เคยพระราชทานให้ปวงชนนั้นกลับคืนมายังพระมหา กษัตริย์ผู้ทรงเป็นเจ้าของเดิมมาก่อน 24 มิถุนายน 2475 ดังนั้นในทางกฎหมายระหว่างประเทศ รัฐบาลต่างประเทศก็ไม่ต้องรับรองรัฐบาลไทยใหม่ เพราะการเปลี่ยนแปลงโดยรัฐประหารเป็นเรื่องภายใน แต่ระดับสูงสุดคือสถาบันพระมหากษัตริย์ยังดำรงอยู่ และยังทรงเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยที่กลับคืนมาเป็นของพระองค์ด้วย ส่วนคณะรัฐประหารไม่ใช่เจ้าของอำนาจอธิปไตย หากมีอำนาจปกครองบ้านเมืองในเวลานั้นตามความเป็นจริงเท่านั้น และเมื่อคณะรัฐประหารประสงค์จะจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ เมื่อจัดทำแล้วเสร็จ ต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯถวายเพื่อขอให้ทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อลงพระปรมาภิไธยก็เท่ากับว่าพระมหากษัตริย์สละอำนาจอธิปไตยกลับคืนมาที่ ประชาชนอีกครั้งหนึ่ง
ปิยบุตรระบุว่า สามารถวิจารณ์ความเห็นของบวรศักดิ์ฯ ได้ใน 2 ลักษณะ
ลักษณะแรก คือ วันที่ 24 – 26 มิถุนายน 2475 อำนาจอยู่ที่คณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร เสร็จแล้วก็ปล่อยให้ประชาชน ตามมาตรา 1 ของธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม27มิถุนายน 2475 ที่บัญญัติว่า “อำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย” การที่อ้างกันว่า กษัตริย์มอบให้ แสดงว่ากษัตริย์มีอำนาจสูงสุด และร่วมกับประชาชน ไม่ถูกต้อง เพราะ ไม่ได้มีตรงไหนที่บอกว่าประชาชนมอบอำนาจคืนให้กับกษัตริย์
ในประกาศคณะ ราษฎรเอง ก็เขียนไว้ว่า “ส่วนผู้เป็นประมุขของประเทศนั้น คณะราษฎรไม่ประสงค์ทำการแย่งชิงราชสมบัติ ฉะนั้น จึ่งได้อัญเชิญให้กษัตริย์องค์นี้ดำรงตำแหน่งกษัตริย์ต่อไป แต่จะต้องอยู่ใต้กฎหมายธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน จะทำอะไรโดยลำพังไม่ได้ นอกจากด้วยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร คณะราษฎรได้แจ้งความประสงค์นี้ให้กษัตริย์ทราบแล้ว เวลานี้ยังอยู่ในความรับตอบ ถ้ากษัตริย์ตอบปฏิเสธ หรือไม่ตอบภายในกำหนด โดยเห็นแก่ส่วนตนว่าจะถูกลดอำนาจลงมา ก็จะชื่อว่าทรยศต่อชาติ และก็เป็นการจำเป็นที่ประเทศจะต้องมีการปกครองแบบอย่างประชาธิปไตย กล่าวคือ ประมุขของประเทศจะเป็นบุคคลสามัญซึ่งสภาผู้แทนราษฎรได้เลือกตั้งขึ้น อยู่ในตำแหน่งตามกำหนดเวลา”
และหากจะโต้ว่า แล้วเอามาให้ถวายทำไม ทำไมไม่ทำ รธน เอง คำอธิบายก็มีระบุในประกาศคณะราษฎรแล้ว ว่ายึดไว้ได้ และรอให้ตอบมาเป็นกษัตริย์ การตอบกลับมาเป็นกษัตริย์ และยอมลงนามใน ธรรมนูญ ๒๗ ก็แสดงว่า กษัตริย์นั่นแหละ ยอมตาม ผู้ก่อการแล้ว ยอมเปลี่ยนสภาวะของตนจาก “ล้นพ้น” มาเป็น กษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ แปลงตนเองจากองค์อธิปัตย์ มาเป็น สถาบันการเมืองหนึ่งที่รัฐธรรมนูญอนุญาตให้มี
ส่วนข้อที่ว่า แล้วทำไมคณะราษฎรต้องไปขอ นิรโทษกรรมด้วย ทายาทของพระยาพหลฯเคยเล่าให้ฟังว่า นั่นเป็นการที่ผู้ที่อายุน้อยกว่าขอขมาผู้อาวุโสกว่าที่ได้กล่าววาจาล่วง เกินกันไปเท่านั้น
วิจารณ์ลักษณะที่สอง ในสังคมการเมือง อำนาจเป็นของประชาชนเสมอ เพียงแต่ว่ายุคใดสมัยใด อำนาจนั้นจะถูก “แย่งชิง” ไปหรือไม่ หรือประชาชนจะมอบอำนาจนั้นให้แก่ใคร ดังนั้น หากจะย้อนกลับไปหาความเป็นเจ้าของอำนาจ ในท้ายที่สุดก็จะเจอประชาชนในฐานะเจ้าของอยู่ดี การอ้างว่ากษัตริย์เป็นผู้ทรงอำนาจ เป็นผู้ปกครอง มาตั้งแต่นมนาน ในสังคมการเมืองหนึ่งอาจไม่เคยขาดซึ่งสถาบันกษัตริย์เลย นั่นอาจเป็นการอ้างตามประวัติศาสตร์ของพวกราชาชาตินิยม ประวัติศาสตร์ของเจ้า ไม่จำเป็นต้องเป็นโค้ดของเรา
Saint-Just อธิบายว่า กษัตริย์นั้นเป็นทรราชโดยธรรมชาติและโดยตัวของมันเอง เราไม่ต้องพิจารณาเลยว่าการกระทำของกษัตริย์หรือการบริหารราชการแผ่นดินของ กษัตริย์มีความผิดทางอาญาหรือไม่ ถ้ากษัตริย์เป็นทรราช นั่นไม่ใช่เพราะความผิดจากการบริหารราชการแผ่นดินของเขา แต่เขาเป็นทรราชก็ด้วยลักษณะของความเป็นกษัตริย์นั่นแหละ Saint-Just เสนออย่างชาญฉลาดว่า การที่กษัตริย์ยึดครองอำนาจสูงสุดของประชาชนไปใช้เอง นั่นแสดงให้เห็นว่าลักษณะของความเป็นกษัตริย์เป็นอาชญากรรมนิรันดร (crime éternel) ต่อประชาชน มนุษย์จึงย่อมมีสิทธิสัมบูรณ์ในการลุกขึ้นสู้และติดอาวุธ Saint-Just อธิบายว่า ไม่มีใครสามารถครองราชย์ได้อย่างบริสุทธิ์ผุดผ่อง เพราะ กษัตริย์ทั้งหลายล้วนแล้วแต่เป็นกบฏและเป็นผู้แย่งชิง (usurpateur) อำนาจของประชาชนไป
หรือในประกาศคณะราษฎร “ราษฎรทั้งหลายพึงรู้เถิดว่าประเทศของเรานี้เป็นของราษฎร ไม่ใช่ของกษัตริย์ตามที่เขาหลอกลวง บรรพบุรุษของราษฎรเป็นผู้ช่วยกันกู้ให้ประเทศมีอิสรภาพพ้นมือจากข้าศึก พวกเจ้ามีแต่ชุบมือเปิบ และกวาดรวบทรัพย์สมบัติเข้าไว้ตั้งหลายร้อยล้าน เงินเหล่านี้เอามาจากไหน? ก็เอามาจากราษฎร เพราะวิธีทำนาบนหลังคนนั้นเอง”
หากพิจารณาตามแนวทางนี้ ก็จะไม่มีปัญหาเรื่องอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนหรือไม่ เพราะ อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนเสมอ ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยตลอดกาล เพียงแต่ว่าบางช่วงบางตอน ถูก “ฉกฉวยแย่งชิงขโมย” ไป และสักวันหนึ่ง ประชาชนก็เอากลับคืนมาจนได้
ประเด็นที่ 2. กษัตริย์กับรัฐประหาร ทั้งนี้ รัฐประหารที่กษัตริย์มีบทบาทสนับสนุนสำคัญอย่างยิ่ง มีอยู่ 2 กรณีที่น่าสนใจ
กรณีแรก อิตาลี เมื่อวันที่ 27 ถึง 29 ตุลาคม 1922 กลุ่มชุดดำเดินเท้าสู่กรุงโรมเพื่อสนับสนุนให้มุสโสลินีเป็นนายกรัฐมนตรี ได้ก่อความวุ่นวาย รัฐบาลจะประกาศกฎอัยการศึก แต่กษัตริย์วิคเตอร์ อิมมานูเอล ไม่ยอม กลับตั้งให้ เบนิโต้ มุสโสลินี เป็นนายกรัฐมนตรี ต่อมาในการเลือกตั้ง 1924 มีการลอบสังหารจาโคโม่ มาตเตอ็อตติ ทำให้มุสโสลินีฉวยโอกาส ปกครองแบบเผด็จการฟาสซิสต์โดยอ้างการรักษาความสงบ และพาเข้าสงครามโลกครั้งที่ ๒ หลังอิตาลีแพ้สงคราม ก่อนจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ สภาร่างรัฐธรรมนูญกำหนดให้มีการออกเสียงประชามติว่าจะเป็นสาธารณัฐหรือ กษัตริย์ ในวันที่ 2 มิถุนายน 1946 ผลปรากฏว่า ร้อยละ 54.3 เลือกสาธารณรัฐ ร้อยละ 45.7 เลือกกษัตริย์
กรณีที่สอง สเปน, กษัตริย์อัลฟองโซที่ 13 ได้สนับสนุนให้ปริโม เดอ ริเวร่ารัฐประหารในวันที่ 13 กันยายน 1923 และแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐประหารครั้งนี้เป็นรัฐประหารครั้งสำคัญที่แตกต่างจากรัฐประหารในที่ต่างๆ คือ รัฐประหารแล้วกษัตริย์ยังคงอยู่ เพราะ รัฐประหารครั้งนี้เกิดจากดำริของกษัตริย์นั่นเอง อย่างไรก็ตาม ผ่านไป ๗ ปี กษัตริย์ก็บีบบังคับให้ปริโม เดอ ริเวร่าออกจากตำแหน่งในปี 1930 จากนั้นกระแสสาธารณรัฐนิยมก็เฟื่องฟูอย่างมาก เพราะความนิยมในตัวกษัตริย์ตกลงไป เนื่องจากกษัตริย์เปิดหน้าเล่นการเมืองชัดเจน จนในปี 1931 กองทัพก็ประกาศเลิกสนับสนุนกษัตริย์ กษัตริย์ลี้ภัย สเปนประกาศเป็นสาธารณรัฐ
สำหรับประเทศ ไทย ในรัชสมัยของรัชกาลปัจจุบัน มีรัฐประหารเกิดขึ้น 10 ครั้ง 2490, 2491, 2494, 2500, 2501, 2514, 2519, 2520, 2534, 2549) ปัญหาจึงมีอยู่ว่า จะจัดความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์กับคณะรัฐประหารอย่างไร? เหตุใดจึงต้องมีการลงพระปรมาภิไธย
ปิยบุตรอ้างถึงเกษม ศิริสัมพันธ์ ที่เคยกล่าวไว้วเมื่อวันที่3 ธันวาคม 2530 ณ หอประชุมเล็ก มธ เนื่องในสัปดาห์วิชาการจัดเฉลิมพระเกียรติในการเฉลิมพระชนม์พรรษาครบห้ารอบ ก่อนการพยายามก่อปฏิวัติที่ล้มเหลวไป 2 หน คือ "เมษาฮาวาย" เมื่อปี ๒๕๒๔ ครั้งหนึ่ง และ ความพยายามรัฐประหาร 9 กันยายน 2528 อีกครั้งหนึ่งว่า "มีข้อน่าคิดอีกประการหนึ่งว่าความมั่นคงและความสืบเนื่อง ของระบบรัฐสภาในยุคปัจจุบันสามารถเกิดขึ้นได้ในบ้านเมืองคราวนี้ ก็เป็นด้วยพระบารมีอีกเช่นกัน การพยายามก่อการปฏิวัติรัฐประหารซึ่งล้มเหลวไปถึงสองครั้งสองหน จนในที่สุดมาถึงขณะนี้ก็มีเสียงพูดกันแล้วว่าหมดสมัยของการปฏิวัติรัฐประหาร กันได้แล้ว ความสำนึกเช่นนี้อุบัติขึ้นมาได้ก็คงเป็นเพราะเกิดความตระหนักว่า การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองโดยใช้กำลังฝ่ายทหารนั้นไม่ต้องด้วยพระราชนิยม ฉะนั้นจึงเป็นช่องทางให้ประชาธิปไตยและระบบรัฐสภาได้มีโอกาสเติบโตหยั่งราก ลึกในบ้านเมืองกันได้ในครั้งนี้"
อย่างไรก็ตาม ปิยบุตรกล่าวว่า หลังจากคำอภิปรายนี้ผ่านพ้นไปได้ 2 ปีเศษ ก็เกิดรัฐประหาร23 ก.พ. 2534 และครั้งล่าสุด 19 กันยายน 2549 ดังนั้น "การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองโดยใช้กำลังฝ่ายทหารนั้นไม่ต้องด้วยพระราชนิยม" ที่เกษม ศิริสัมพันธ์ กล่าวไว้เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2530 เป็นความจริงหรือไม่ โปรดพิจารณา และ "ไม่ต้องด้วยราชนิยม" คืออะไร
ทั้งนี้ เขากล่าวถึงคำอธิบายของวิษณุ เครืองาม ที่อธิบายว่า คณะรัฐประหารต้องการขออาศัยพระราชอำนาจทางสังคมของกษัตริย์เพื่อให้ประชาชน เข้าใจว่ากษัตริย์ก็ยอมตาม และให้ต่างประเทศยอมรับรัฐบาลใหม่ และแสดงให้เห็นว่าไม่ได้แตะต้องสถาบันกษัตริย์
ในขณะที่ บวรศักดิ์ อธิบายตรงกันข้ามว่า รัฐประหารแล้ว อำนาอธิปไตยย่อมกลับไปเป็นของกษัตริย์ในฐานะเจ้าของเดิมมาตลอด สังเกตจากคณะรัฐประหารต้องย้อนกลับไปขอพระราชทานรัฐธรรมนูญใหม่ นั่นหมายความว่า ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง อำนาจอธิปไตยเป็นของกษัตริย์, 24 มิถุนายน 2475 อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนโดยมอบให้กษัตริย์ใช้, หลังการปฏิวติ 8 พ.ย. 2490 อำนาจอธิปไตยกลับไปเป็นของกษัตริย์, และในระบอบปกติ อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนโดยมอบให้กษัตริย์ใช้
"การอธิบายแบบบวรศักดิ์ แทนที่จะสนับสนุนบทบาทของกษัตริย์ในประชาธิปไตย กลับอาจเป็นส่งผลร้ายต่อสถาบันกษัตริย์เสียเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การบอกว่า รัฐประหารแล้ว อำนาจกลับไปที่กษัตริย์ ย่อมพิจารณาต่อไปได้ว่า รัฐประหาร เพื่อ กษัตริย์ เอาอำนาจให้กษัตริย์ ถ้าแบบนี้ คนจะคิดอย่างไร? แทนที่จะอธิบายว่า รัฐประหารแล้ว คณะ รปห ยึดหมด แต่ไม่เลิกสถาบันกษัตริย์ ส่วนการลงนาม ก็ให้ลงในฐานะประมุขของรัฐ อธิบายแบบนี้ ยังเป็นผลดีต่อกษัตริย์มากกว่า เพราะ ถือว่า คณะ รปห ทำกันเอง แล้วมาบีบบังคับให้กษัตริย์ลงนาม"
3. ธรรมเนียมปฏิบัติทางรัฐธรรมนูญ
บวรศักดิ์ฯอธิบายเกี่ยวกับธรรมเนียม ปฏิบัติทางรัฐธรรมนูญแบบอังกฤษ ปะปนไปกับ จารีตประเพณีทางรัฐธรรมนูญแบบภาคพื้นยุโรป หากกล่าวอย่างเคร่งครัดแล้วแตกต่างกัน แต่ในตำรากฎหมายมหาชนของบวรศักดิ์ฯนำสองเรื่องนี้มาปะปนกัน เพื่อสร้างคำอธิบายให้กษัตริย์มีพระราชอำนาจบางประกาศที่แตกต่างจากบท บัญญัติในรัฐธรรมนูญ
"บวรศักดิ์ฯบอกว่าธรรมเนียมปฏิบัติทางรัฐ ธรรมนูญเกิดจาก 2 ประการ ประการแรก เกิดจากการปฏิบัติซ้ำแล้วซ้ำเล่าสม่ำเสมอ ประการที่สอง เกิดจากการปฏิบัติโดยรู้สึกว่าเป็นหน้าที่ที่ต้องทำ โดย บวรศักดิ์ฯยกตัวอย่างธรรมเนียมปฏิบัติทางรัฐธรรมนูญของหลายประเทศ เช่น อังกฤษ และประเทศอื่นๆที่มีประมุขของรัฐเป็นกษัตริย์ ว่า กษัตริย์จะไม่ใช้พระราชอำนาจยับยั้งร่างพระราชบัญญัติที่ผ่านความเห็นชอบจาก สภามาแล้ว แต่กรณีของไทย บวรศักดิ์ฯบอกว่าตรงกันข้าม ในกรณีที่กษัตริย์ทรงใช้พระราชอำนาจยับยั้งร่างกฎหมาย รัฐสภาก็ไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญยืนยันกลับไปเพื่อ ประกาศใช้กฎหมายนั้นเสมือนหนึ่งว่าทรงลงพระปรมาภิไธย อย่างไรก็ตาม ธรรมเนียมปฏิบัตินี้อาจเปลี่ยนแปลงได้อีกตามพระบรมเดชานุภาพของพระมหา กษัตริย์แต่ละพระองค์
วิธีคิดเช่นนี้ สืบเนื่องมาจากความคิดที่ว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของกษัตริย์ตลอดกาล และยอมแบ่งให้ประชาชนเมื่อ 24 มิถุนายน 2475
24 มิถุนายน 2475 คือการเปลี่ยนระบอบ พระราชอำนาจใดที่มีมาแต่เดิม พระราชอำนาจใดที่ตกทอดกันมาตามธรรมเนียมโบราณ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องจริง หรือไม่ว่าจะเป็นการสร้าง ย่อมต้องถูกยกเลิกไป และจัดระเบียบใหม่ทั้งหมด เมื่อระบอบใหม่ “อนุญาต” ให้กษัตริย์เป็นประมุขของรัฐต่อไปโดยอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ พระราชอำนาจของกษัตริย์จะมีเพียงใดย่อมเป็นไปตามรัฐธรรมนูญและสอดคล้องกับ ประชาธิปไตยตามระบอบใหม่ ดังนั้น การเพิ่มพระราชอำนาจให้กษัตริย์โดยผ่าน “ประเพณี” ย่อมไม่ถูกต้อง
มีข้อควรสังเกตว่า ธรรมเนียมปฏิบัติทางรัฐธรรมนูญที่ใช้ในอังกฤษนั้น กำเนิดขึ้นมาเพื่อจำกัดอำนาจกษัตริย์ สร้างขึ้นมาเพื่อให้การดำเนินการของระบบพาร์เลียเมนตารี่ โมนาขี้ รัฐสภาเป็นไปอย่างราบรื่น แต่บวรศักดิ์ฯกลับนำข้อความคิดเรื่องธรรมเนียมปฏิบัติทางรัฐธรรมนูญมาเพิ่ม พระราชอำนาจให้กับกษัตริย์ และขัดกับหลักการประชาธิปไตย
ทั้งหมดนี้อาจสรุปได้ 2 ส่วนคือ 1. นักกฎหมายแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ไม่ให้ความสำคัญกับ 24 มิถุนายน 2475 เหตุการณ์ 24 มิถุนายน 2475 ไม่ใช่การอภิวัตน์ ไม่ใช่การเปลี่ยนระบอบ แต่เป็น “การแย่งอำนาจของกษัตริย์ไป” และกษัตริย์ยอมเสียสละพระราชทานอำนาจอธิปไตยแก่ประชาชน ระบบการเมือง-กฎหมายมีความต่อเนื่องจากระบอบเก่า
"นักกฎหมายเหล่านี้เติบโตและ บ่มเพาะภายใต้อุดมการณ์กษัตริย์นิยม ในหลักสูตรการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเหตุการณ์ 24 มิถุนายน 2475 หรือเรียกได้ว่าแทบไม่มี ในวิชาประวัติศาสตร์กฎหมายไทย เราสามารถไล่ไปได้ถึงสุโขทัย อยุธยา รัตนโกสินทร์ กฎหมายตราสามดวง คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ ศาสนาพุทธ พราหมณ์ การปฏิรูประบบราชการในสมัยรัชกาลที่ 5 การปฏิรูปศาลและการจัดทำประมวลกฎหมายในสมัยรัชกาลที่ 5 6และ 7 เพื่อทำให้สยามเป็นอารยะประเทศ และรอดพ้นจากการล่าอาณานิคม พอมาถึงรัชกาลที่ 7 ทุกอย่างก็จบลง ไม่มีการกล่าวถึง 24 มิถุนายน 2475 ในฐานะเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ที่กลับหลักการทุกสิ่งทุกอย่างจากเดิม ให้อำนาจสูงสุดของประเทศนั้น เป็นของราษฎรทั้งหลาย ยกเลิกอำนาจอันล้นพ้นของกษัตริย์ และให้กษัตริย์เป็นสถาบันการเมืองหนึ่งอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ 2475 ทำให้ประชาชนเป็นผู้ทรงสิทธิ ประชาชนเป็นผู้มีอำนาจ ประชาชนไม่ได้ขึ้นกับใคร แต่เป็นผู้มีอัตวินิจฉัยในการตัดสินใจดำเนินชีวิตและสร้างชะตากรรมของตนเอง ฐานคิดของ 2475 จึงมีความจำเป็นต่อนักกฎหมายในสมัยระบอบใหม่ การใช้การตีความกฎหมายในระบอบใหม่ ต้องสอดคล้องกับระบอบใหม่ เมื่อนักกฎหมายที่อยู่ในระบอบปัจจุบัน กลับมีความคิดแบบระบอบเก่า การใช้และตีความกฎหมายจึงบิดเบี้ยงผิดเพี้ยนกับหลักการประชาธิปไตยอย่างที่ เราเห็นกันทุกวันนี้
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ได้สร้างทฤษฎี “อำนาจอธิปไตยเป็นของพระมหากษัตริย์และประชาชน” ไว้ในตำรากฎหมายมหาชนของเขาว่า ในระบอบประชาธิปไตยไทย อำนาจอธิปไตยอยู่ที่พระมหากษัตริย์และประชาชน ซึ่งไม่เหมือนกับประเทศอื่นที่ประชาชนเท่านั้นที่เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ทั้งนี้ด้วยเหตุผลสองประการ ประการแรก เหตุผลทางประเพณีในสังคมวัฒนธรรมไทยอันเกิดจากการสั่งสมความเป็นอันหนึ่งอัน เดียวกันของพระมหากษัตริย์กับประชาชน ประการที่สอง เหตุผลทางนิติศาสตร์ แต่ไหนแต่ไรมา อำนาจอธิปไตยอยู่ที่องค์พระมหากษัตริย์ ครั้นเมื่อคณะราษฎรเปลี่ยนแปลงการปกครอง พระมหากษัตริย์ซึ่งทรงอำนาจอธิปไตยอยู่ก็สละพระราชอำนาจนั้นให้ประชาชนทั้ง ประเทศด้วยการพระราชทานรัฐธรรมนูญ แล้วลดพระองค์ลงอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ แต่ยังทรงใช้อำนาจนั้นแทนประชาชน ด้วยเหตุนี้ ในทางกฎหมาย เมื่อมีการรัฐประหารเลิกรัฐธรรมนูญ ก็ต้องถือว่าอำนาจอธิปไตยที่เคยพระราชทานให้ปวงชนนั้นกลับคืนมายังพระมหา กษัตริย์ผู้ทรงเป็นเจ้าของเดิมมาก่อน 24 มิถุนายน 2475 ดังนั้นในทางกฎหมายระหว่างประเทศ รัฐบาลต่างประเทศก็ไม่ต้องรับรองรัฐบาลไทยใหม่ เพราะการเปลี่ยนแปลงโดยรัฐประหารเป็นเรื่องภายใน แต่ระดับสูงสุดคือสถาบันพระมหากษัตริย์ยังดำรงอยู่ และยังทรงเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยที่กลับคืนมาเป็นของพระองค์ด้วย ส่วนคณะรัฐประหารไม่ใช่เจ้าของอำนาจอธิปไตย หากมีอำนาจปกครองบ้านเมืองในเวลานั้นตามความเป็นจริงเท่านั้น และเมื่อคณะรัฐประหารประสงค์จะจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ เมื่อจัดทำแล้วเสร็จ ต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯถวายเพื่อขอให้ทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อลงพระปรมาภิไธยก็เท่ากับว่าพระมหากษัตริย์สละอำนาจอธิปไตยกลับคืนมาที่ ประชาชนอีกครั้งหนึ่ง
ปิยบุตรระบุว่า สามารถวิจารณ์ความเห็นของบวรศักดิ์ฯ ได้ใน 2 ลักษณะ
ลักษณะแรก คือ วันที่ 24 – 26 มิถุนายน 2475 อำนาจอยู่ที่คณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร เสร็จแล้วก็ปล่อยให้ประชาชน ตามมาตรา 1 ของธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม27มิถุนายน 2475 ที่บัญญัติว่า “อำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย” การที่อ้างกันว่า กษัตริย์มอบให้ แสดงว่ากษัตริย์มีอำนาจสูงสุด และร่วมกับประชาชน ไม่ถูกต้อง เพราะ ไม่ได้มีตรงไหนที่บอกว่าประชาชนมอบอำนาจคืนให้กับกษัตริย์
ในประกาศคณะ ราษฎรเอง ก็เขียนไว้ว่า “ส่วนผู้เป็นประมุขของประเทศนั้น คณะราษฎรไม่ประสงค์ทำการแย่งชิงราชสมบัติ ฉะนั้น จึ่งได้อัญเชิญให้กษัตริย์องค์นี้ดำรงตำแหน่งกษัตริย์ต่อไป แต่จะต้องอยู่ใต้กฎหมายธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน จะทำอะไรโดยลำพังไม่ได้ นอกจากด้วยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร คณะราษฎรได้แจ้งความประสงค์นี้ให้กษัตริย์ทราบแล้ว เวลานี้ยังอยู่ในความรับตอบ ถ้ากษัตริย์ตอบปฏิเสธ หรือไม่ตอบภายในกำหนด โดยเห็นแก่ส่วนตนว่าจะถูกลดอำนาจลงมา ก็จะชื่อว่าทรยศต่อชาติ และก็เป็นการจำเป็นที่ประเทศจะต้องมีการปกครองแบบอย่างประชาธิปไตย กล่าวคือ ประมุขของประเทศจะเป็นบุคคลสามัญซึ่งสภาผู้แทนราษฎรได้เลือกตั้งขึ้น อยู่ในตำแหน่งตามกำหนดเวลา”
และหากจะโต้ว่า แล้วเอามาให้ถวายทำไม ทำไมไม่ทำ รธน เอง คำอธิบายก็มีระบุในประกาศคณะราษฎรแล้ว ว่ายึดไว้ได้ และรอให้ตอบมาเป็นกษัตริย์ การตอบกลับมาเป็นกษัตริย์ และยอมลงนามใน ธรรมนูญ ๒๗ ก็แสดงว่า กษัตริย์นั่นแหละ ยอมตาม ผู้ก่อการแล้ว ยอมเปลี่ยนสภาวะของตนจาก “ล้นพ้น” มาเป็น กษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ แปลงตนเองจากองค์อธิปัตย์ มาเป็น สถาบันการเมืองหนึ่งที่รัฐธรรมนูญอนุญาตให้มี
ส่วนข้อที่ว่า แล้วทำไมคณะราษฎรต้องไปขอ นิรโทษกรรมด้วย ทายาทของพระยาพหลฯเคยเล่าให้ฟังว่า นั่นเป็นการที่ผู้ที่อายุน้อยกว่าขอขมาผู้อาวุโสกว่าที่ได้กล่าววาจาล่วง เกินกันไปเท่านั้น
วิจารณ์ลักษณะที่สอง ในสังคมการเมือง อำนาจเป็นของประชาชนเสมอ เพียงแต่ว่ายุคใดสมัยใด อำนาจนั้นจะถูก “แย่งชิง” ไปหรือไม่ หรือประชาชนจะมอบอำนาจนั้นให้แก่ใคร ดังนั้น หากจะย้อนกลับไปหาความเป็นเจ้าของอำนาจ ในท้ายที่สุดก็จะเจอประชาชนในฐานะเจ้าของอยู่ดี การอ้างว่ากษัตริย์เป็นผู้ทรงอำนาจ เป็นผู้ปกครอง มาตั้งแต่นมนาน ในสังคมการเมืองหนึ่งอาจไม่เคยขาดซึ่งสถาบันกษัตริย์เลย นั่นอาจเป็นการอ้างตามประวัติศาสตร์ของพวกราชาชาตินิยม ประวัติศาสตร์ของเจ้า ไม่จำเป็นต้องเป็นโค้ดของเรา
Saint-Just อธิบายว่า กษัตริย์นั้นเป็นทรราชโดยธรรมชาติและโดยตัวของมันเอง เราไม่ต้องพิจารณาเลยว่าการกระทำของกษัตริย์หรือการบริหารราชการแผ่นดินของ กษัตริย์มีความผิดทางอาญาหรือไม่ ถ้ากษัตริย์เป็นทรราช นั่นไม่ใช่เพราะความผิดจากการบริหารราชการแผ่นดินของเขา แต่เขาเป็นทรราชก็ด้วยลักษณะของความเป็นกษัตริย์นั่นแหละ Saint-Just เสนออย่างชาญฉลาดว่า การที่กษัตริย์ยึดครองอำนาจสูงสุดของประชาชนไปใช้เอง นั่นแสดงให้เห็นว่าลักษณะของความเป็นกษัตริย์เป็นอาชญากรรมนิรันดร (crime éternel) ต่อประชาชน มนุษย์จึงย่อมมีสิทธิสัมบูรณ์ในการลุกขึ้นสู้และติดอาวุธ Saint-Just อธิบายว่า ไม่มีใครสามารถครองราชย์ได้อย่างบริสุทธิ์ผุดผ่อง เพราะ กษัตริย์ทั้งหลายล้วนแล้วแต่เป็นกบฏและเป็นผู้แย่งชิง (usurpateur) อำนาจของประชาชนไป
หรือในประกาศคณะราษฎร “ราษฎรทั้งหลายพึงรู้เถิดว่าประเทศของเรานี้เป็นของราษฎร ไม่ใช่ของกษัตริย์ตามที่เขาหลอกลวง บรรพบุรุษของราษฎรเป็นผู้ช่วยกันกู้ให้ประเทศมีอิสรภาพพ้นมือจากข้าศึก พวกเจ้ามีแต่ชุบมือเปิบ และกวาดรวบทรัพย์สมบัติเข้าไว้ตั้งหลายร้อยล้าน เงินเหล่านี้เอามาจากไหน? ก็เอามาจากราษฎร เพราะวิธีทำนาบนหลังคนนั้นเอง”
หากพิจารณาตามแนวทางนี้ ก็จะไม่มีปัญหาเรื่องอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนหรือไม่ เพราะ อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนเสมอ ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยตลอดกาล เพียงแต่ว่าบางช่วงบางตอน ถูก “ฉกฉวยแย่งชิงขโมย” ไป และสักวันหนึ่ง ประชาชนก็เอากลับคืนมาจนได้
ประเด็นที่ 2. กษัตริย์กับรัฐประหาร ทั้งนี้ รัฐประหารที่กษัตริย์มีบทบาทสนับสนุนสำคัญอย่างยิ่ง มีอยู่ 2 กรณีที่น่าสนใจ
กรณีแรก อิตาลี เมื่อวันที่ 27 ถึง 29 ตุลาคม 1922 กลุ่มชุดดำเดินเท้าสู่กรุงโรมเพื่อสนับสนุนให้มุสโสลินีเป็นนายกรัฐมนตรี ได้ก่อความวุ่นวาย รัฐบาลจะประกาศกฎอัยการศึก แต่กษัตริย์วิคเตอร์ อิมมานูเอล ไม่ยอม กลับตั้งให้ เบนิโต้ มุสโสลินี เป็นนายกรัฐมนตรี ต่อมาในการเลือกตั้ง 1924 มีการลอบสังหารจาโคโม่ มาตเตอ็อตติ ทำให้มุสโสลินีฉวยโอกาส ปกครองแบบเผด็จการฟาสซิสต์โดยอ้างการรักษาความสงบ และพาเข้าสงครามโลกครั้งที่ ๒ หลังอิตาลีแพ้สงคราม ก่อนจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ สภาร่างรัฐธรรมนูญกำหนดให้มีการออกเสียงประชามติว่าจะเป็นสาธารณัฐหรือ กษัตริย์ ในวันที่ 2 มิถุนายน 1946 ผลปรากฏว่า ร้อยละ 54.3 เลือกสาธารณรัฐ ร้อยละ 45.7 เลือกกษัตริย์
กรณีที่สอง สเปน, กษัตริย์อัลฟองโซที่ 13 ได้สนับสนุนให้ปริโม เดอ ริเวร่ารัฐประหารในวันที่ 13 กันยายน 1923 และแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐประหารครั้งนี้เป็นรัฐประหารครั้งสำคัญที่แตกต่างจากรัฐประหารในที่ต่างๆ คือ รัฐประหารแล้วกษัตริย์ยังคงอยู่ เพราะ รัฐประหารครั้งนี้เกิดจากดำริของกษัตริย์นั่นเอง อย่างไรก็ตาม ผ่านไป ๗ ปี กษัตริย์ก็บีบบังคับให้ปริโม เดอ ริเวร่าออกจากตำแหน่งในปี 1930 จากนั้นกระแสสาธารณรัฐนิยมก็เฟื่องฟูอย่างมาก เพราะความนิยมในตัวกษัตริย์ตกลงไป เนื่องจากกษัตริย์เปิดหน้าเล่นการเมืองชัดเจน จนในปี 1931 กองทัพก็ประกาศเลิกสนับสนุนกษัตริย์ กษัตริย์ลี้ภัย สเปนประกาศเป็นสาธารณรัฐ
สำหรับประเทศ ไทย ในรัชสมัยของรัชกาลปัจจุบัน มีรัฐประหารเกิดขึ้น 10 ครั้ง 2490, 2491, 2494, 2500, 2501, 2514, 2519, 2520, 2534, 2549) ปัญหาจึงมีอยู่ว่า จะจัดความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์กับคณะรัฐประหารอย่างไร? เหตุใดจึงต้องมีการลงพระปรมาภิไธย
ปิยบุตรอ้างถึงเกษม ศิริสัมพันธ์ ที่เคยกล่าวไว้วเมื่อวันที่3 ธันวาคม 2530 ณ หอประชุมเล็ก มธ เนื่องในสัปดาห์วิชาการจัดเฉลิมพระเกียรติในการเฉลิมพระชนม์พรรษาครบห้ารอบ ก่อนการพยายามก่อปฏิวัติที่ล้มเหลวไป 2 หน คือ "เมษาฮาวาย" เมื่อปี ๒๕๒๔ ครั้งหนึ่ง และ ความพยายามรัฐประหาร 9 กันยายน 2528 อีกครั้งหนึ่งว่า "มีข้อน่าคิดอีกประการหนึ่งว่าความมั่นคงและความสืบเนื่อง ของระบบรัฐสภาในยุคปัจจุบันสามารถเกิดขึ้นได้ในบ้านเมืองคราวนี้ ก็เป็นด้วยพระบารมีอีกเช่นกัน การพยายามก่อการปฏิวัติรัฐประหารซึ่งล้มเหลวไปถึงสองครั้งสองหน จนในที่สุดมาถึงขณะนี้ก็มีเสียงพูดกันแล้วว่าหมดสมัยของการปฏิวัติรัฐประหาร กันได้แล้ว ความสำนึกเช่นนี้อุบัติขึ้นมาได้ก็คงเป็นเพราะเกิดความตระหนักว่า การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองโดยใช้กำลังฝ่ายทหารนั้นไม่ต้องด้วยพระราชนิยม ฉะนั้นจึงเป็นช่องทางให้ประชาธิปไตยและระบบรัฐสภาได้มีโอกาสเติบโตหยั่งราก ลึกในบ้านเมืองกันได้ในครั้งนี้"
อย่างไรก็ตาม ปิยบุตรกล่าวว่า หลังจากคำอภิปรายนี้ผ่านพ้นไปได้ 2 ปีเศษ ก็เกิดรัฐประหาร23 ก.พ. 2534 และครั้งล่าสุด 19 กันยายน 2549 ดังนั้น "การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองโดยใช้กำลังฝ่ายทหารนั้นไม่ต้องด้วยพระราชนิยม" ที่เกษม ศิริสัมพันธ์ กล่าวไว้เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2530 เป็นความจริงหรือไม่ โปรดพิจารณา และ "ไม่ต้องด้วยราชนิยม" คืออะไร
ทั้งนี้ เขากล่าวถึงคำอธิบายของวิษณุ เครืองาม ที่อธิบายว่า คณะรัฐประหารต้องการขออาศัยพระราชอำนาจทางสังคมของกษัตริย์เพื่อให้ประชาชน เข้าใจว่ากษัตริย์ก็ยอมตาม และให้ต่างประเทศยอมรับรัฐบาลใหม่ และแสดงให้เห็นว่าไม่ได้แตะต้องสถาบันกษัตริย์
ในขณะที่ บวรศักดิ์ อธิบายตรงกันข้ามว่า รัฐประหารแล้ว อำนาอธิปไตยย่อมกลับไปเป็นของกษัตริย์ในฐานะเจ้าของเดิมมาตลอด สังเกตจากคณะรัฐประหารต้องย้อนกลับไปขอพระราชทานรัฐธรรมนูญใหม่ นั่นหมายความว่า ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง อำนาจอธิปไตยเป็นของกษัตริย์, 24 มิถุนายน 2475 อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนโดยมอบให้กษัตริย์ใช้, หลังการปฏิวติ 8 พ.ย. 2490 อำนาจอธิปไตยกลับไปเป็นของกษัตริย์, และในระบอบปกติ อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนโดยมอบให้กษัตริย์ใช้
"การอธิบายแบบบวรศักดิ์ แทนที่จะสนับสนุนบทบาทของกษัตริย์ในประชาธิปไตย กลับอาจเป็นส่งผลร้ายต่อสถาบันกษัตริย์เสียเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การบอกว่า รัฐประหารแล้ว อำนาจกลับไปที่กษัตริย์ ย่อมพิจารณาต่อไปได้ว่า รัฐประหาร เพื่อ กษัตริย์ เอาอำนาจให้กษัตริย์ ถ้าแบบนี้ คนจะคิดอย่างไร? แทนที่จะอธิบายว่า รัฐประหารแล้ว คณะ รปห ยึดหมด แต่ไม่เลิกสถาบันกษัตริย์ ส่วนการลงนาม ก็ให้ลงในฐานะประมุขของรัฐ อธิบายแบบนี้ ยังเป็นผลดีต่อกษัตริย์มากกว่า เพราะ ถือว่า คณะ รปห ทำกันเอง แล้วมาบีบบังคับให้กษัตริย์ลงนาม"
3. ธรรมเนียมปฏิบัติทางรัฐธรรมนูญ
บวรศักดิ์ฯอธิบายเกี่ยวกับธรรมเนียม ปฏิบัติทางรัฐธรรมนูญแบบอังกฤษ ปะปนไปกับ จารีตประเพณีทางรัฐธรรมนูญแบบภาคพื้นยุโรป หากกล่าวอย่างเคร่งครัดแล้วแตกต่างกัน แต่ในตำรากฎหมายมหาชนของบวรศักดิ์ฯนำสองเรื่องนี้มาปะปนกัน เพื่อสร้างคำอธิบายให้กษัตริย์มีพระราชอำนาจบางประกาศที่แตกต่างจากบท บัญญัติในรัฐธรรมนูญ
"บวรศักดิ์ฯบอกว่าธรรมเนียมปฏิบัติทางรัฐ ธรรมนูญเกิดจาก 2 ประการ ประการแรก เกิดจากการปฏิบัติซ้ำแล้วซ้ำเล่าสม่ำเสมอ ประการที่สอง เกิดจากการปฏิบัติโดยรู้สึกว่าเป็นหน้าที่ที่ต้องทำ โดย บวรศักดิ์ฯยกตัวอย่างธรรมเนียมปฏิบัติทางรัฐธรรมนูญของหลายประเทศ เช่น อังกฤษ และประเทศอื่นๆที่มีประมุขของรัฐเป็นกษัตริย์ ว่า กษัตริย์จะไม่ใช้พระราชอำนาจยับยั้งร่างพระราชบัญญัติที่ผ่านความเห็นชอบจาก สภามาแล้ว แต่กรณีของไทย บวรศักดิ์ฯบอกว่าตรงกันข้าม ในกรณีที่กษัตริย์ทรงใช้พระราชอำนาจยับยั้งร่างกฎหมาย รัฐสภาก็ไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญยืนยันกลับไปเพื่อ ประกาศใช้กฎหมายนั้นเสมือนหนึ่งว่าทรงลงพระปรมาภิไธย อย่างไรก็ตาม ธรรมเนียมปฏิบัตินี้อาจเปลี่ยนแปลงได้อีกตามพระบรมเดชานุภาพของพระมหา กษัตริย์แต่ละพระองค์
วิธีคิดเช่นนี้ สืบเนื่องมาจากความคิดที่ว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของกษัตริย์ตลอดกาล และยอมแบ่งให้ประชาชนเมื่อ 24 มิถุนายน 2475
24 มิถุนายน 2475 คือการเปลี่ยนระบอบ พระราชอำนาจใดที่มีมาแต่เดิม พระราชอำนาจใดที่ตกทอดกันมาตามธรรมเนียมโบราณ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องจริง หรือไม่ว่าจะเป็นการสร้าง ย่อมต้องถูกยกเลิกไป และจัดระเบียบใหม่ทั้งหมด เมื่อระบอบใหม่ “อนุญาต” ให้กษัตริย์เป็นประมุขของรัฐต่อไปโดยอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ พระราชอำนาจของกษัตริย์จะมีเพียงใดย่อมเป็นไปตามรัฐธรรมนูญและสอดคล้องกับ ประชาธิปไตยตามระบอบใหม่ ดังนั้น การเพิ่มพระราชอำนาจให้กษัตริย์โดยผ่าน “ประเพณี” ย่อมไม่ถูกต้อง
มีข้อควรสังเกตว่า ธรรมเนียมปฏิบัติทางรัฐธรรมนูญที่ใช้ในอังกฤษนั้น กำเนิดขึ้นมาเพื่อจำกัดอำนาจกษัตริย์ สร้างขึ้นมาเพื่อให้การดำเนินการของระบบพาร์เลียเมนตารี่ โมนาขี้ รัฐสภาเป็นไปอย่างราบรื่น แต่บวรศักดิ์ฯกลับนำข้อความคิดเรื่องธรรมเนียมปฏิบัติทางรัฐธรรมนูญมาเพิ่ม พระราชอำนาจให้กับกษัตริย์ และขัดกับหลักการประชาธิปไตย
ทั้งหมดนี้อาจสรุปได้ 2 ส่วนคือ 1. นักกฎหมายแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ไม่ให้ความสำคัญกับ 24 มิถุนายน 2475 เหตุการณ์ 24 มิถุนายน 2475 ไม่ใช่การอภิวัตน์ ไม่ใช่การเปลี่ยนระบอบ แต่เป็น “การแย่งอำนาจของกษัตริย์ไป” และกษัตริย์ยอมเสียสละพระราชทานอำนาจอธิปไตยแก่ประชาชน ระบบการเมือง-กฎหมายมีความต่อเนื่องจากระบอบเก่า
"นักกฎหมายเหล่านี้เติบโตและ บ่มเพาะภายใต้อุดมการณ์กษัตริย์นิยม ในหลักสูตรการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเหตุการณ์ 24 มิถุนายน 2475 หรือเรียกได้ว่าแทบไม่มี ในวิชาประวัติศาสตร์กฎหมายไทย เราสามารถไล่ไปได้ถึงสุโขทัย อยุธยา รัตนโกสินทร์ กฎหมายตราสามดวง คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ ศาสนาพุทธ พราหมณ์ การปฏิรูประบบราชการในสมัยรัชกาลที่ 5 การปฏิรูปศาลและการจัดทำประมวลกฎหมายในสมัยรัชกาลที่ 5 6และ 7 เพื่อทำให้สยามเป็นอารยะประเทศ และรอดพ้นจากการล่าอาณานิคม พอมาถึงรัชกาลที่ 7 ทุกอย่างก็จบลง ไม่มีการกล่าวถึง 24 มิถุนายน 2475 ในฐานะเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ที่กลับหลักการทุกสิ่งทุกอย่างจากเดิม ให้อำนาจสูงสุดของประเทศนั้น เป็นของราษฎรทั้งหลาย ยกเลิกอำนาจอันล้นพ้นของกษัตริย์ และให้กษัตริย์เป็นสถาบันการเมืองหนึ่งอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ 2475 ทำให้ประชาชนเป็นผู้ทรงสิทธิ ประชาชนเป็นผู้มีอำนาจ ประชาชนไม่ได้ขึ้นกับใคร แต่เป็นผู้มีอัตวินิจฉัยในการตัดสินใจดำเนินชีวิตและสร้างชะตากรรมของตนเอง ฐานคิดของ 2475 จึงมีความจำเป็นต่อนักกฎหมายในสมัยระบอบใหม่ การใช้การตีความกฎหมายในระบอบใหม่ ต้องสอดคล้องกับระบอบใหม่ เมื่อนักกฎหมายที่อยู่ในระบอบปัจจุบัน กลับมีความคิดแบบระบอบเก่า การใช้และตีความกฎหมายจึงบิดเบี้ยงผิดเพี้ยนกับหลักการประชาธิปไตยอย่างที่ เราเห็นกันทุกวันนี้
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar