tisdag 17 mars 2015

พลเรือนขึ้นศาลทหาร : การชี้แจงที่คลาดเคลื่อน "...ในความเป็นจริงผู้ที่กระทำความผิดร้ายแรงไม่ค่อยได้ขึ้นศาลทหาร... ผู้ที่ล้มล้างการปกครองหรือสมคบกันเป็นกบฏก็ไม่ได้ขึ้นศาลทหาร ยังลอยนวลอยู่ทั้งนั้นด้วยซ้ำ".

คลิกดูเพิ่ม-Chaturon Chaisang·

'พลเรือนขึ้นศาลทหาร : การชี้แจงที่คลาดเคลื่อน

"...ในความเป็นจริงผู้ที่กระทำความผิดร้ายแรงไม่ค่อยได้ขึ้นศาลทหาร... ผู้ที่ล้มล้างการปกครองหรือสมคบกันเป็นกบฏก็ไม่ได้ขึ้นศาลทหาร ยังลอยนวลอยู่ทั้งนั้นด้วยซ้ำ".

จาตุรนต์ ฉายแสง
17 มีนาคม 2558

---------------------------------------

พลเรือนขึ้นศาลทหาร : การชี้แจงที่คลาดเคลื่อน

"ในความเป็นจริงผู้ที่กระทำความผิดร้ายแรงไม่ค่อยได้ขึ้นศาลทหาร... ผู้ที่ล้มล้างการปกครองหรือสมคบกันเป็นกบฏก็ไม่ได้ขึ้นศาลทหาร ยังลอยนวลอยู่ทั้งนั้นด้วยซ้ำ

ผู้ที่ต้องขึ้นศาลทหารส่วนใหญ่กลับไม่ได้ทำความผิดในข้อหาร้ายแรง แต่ส่วนใหญ่ถูกตั้งข้อหาจากการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่างจากผู้มีอำนาจเท่านั้น"

การชี้แจงเกี่ยวกับการให้คดีขึ้นศาลทหารคลาดเคลื่อนต่อความเป็นจริงอย่างมากทั้งการชี้แจงของทางคณะผู้แทนประเทศไทยแห่งองค์การสหประชาชาติประจำ ณ นครเจนีวาและการชี้แจงของพล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิดที่อ้างคำชี้แจงของรองเจ้ากรมพระธรรมนูญทหาร

คณะผู้แทนประเทศไทยแห่งองค์การสหประชาชาติประจำ ณ นครเจนีวาว่า “การใช้ศาลทหารนั้น เราใช้ในเฉพาะคดีที่มีข้อหาร้ายแรงเท่านั้น ข้อหาความผิดรวมถึงครอบครองอาวุธและคดีฆาตกรรม จำเลยพลเรือนในคดีศาลทหารได้รับสิทธิในกระบวนการยุติธรรมเหมือนกับในศาลพลเรือน รวมทั้งสิทธิที่จะมีทนายความและได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์”

ส่วนพล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิดชี้แจงโดยอ้างคำชี้แจงของรองเจ้ากรมพระธรรมนูญทหารที่ว่า"...พลเรือนจะขึ้นศาลทหารเฉพาะ ในกรณีความผิดร้ายแรง ตามประกาศ คสช. ฉบับที่ 107-112 ซึ่งเกี่ยวกับความผิดต่อสถาบัน และประกาศฉบับที่ 113-118 เช่น การล้มล้างเปลี่ยนแปลง แบ่งแยกราชอาณาจักร หรือสะสมอาวุธ สมคบกันเป็นกบฏ ซึ่งผู้กระทำผิดในคดีร้ายแรง ภายใต้กฎอัยการศึก ต้องขึ้นศาลทหาร เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับความมั่นคง

พร้อมทั้งชี้แจงว่า กระบวนการยุติธรรมของศาลทหารกับศาลพลเรือนไม่มีความแตกต่างกัน"

เพื่อทำความเข้าใจเรื่องนี้ควรทราบว่าพลเรือนต้องขึ้นศาลทหารในเรื่องใดบ้าง

คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ประกาศให้บรรดาคดีความผิดตามที่กำหนดไว้ดังต่อไปนี้ ซึ่งการกระทำผิดเกิดขึ้นในเขตราชอาณาจักร และในระหว่างที่ประกาศนี้ใช้บังคับอยู่ในอำนาจพิจารณาคดีของศาลทหาร

1. ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา

(1) ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาทและผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตั้งแต่มาตรา 107 ถึงมาตรา 112

(2) ความผิดต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ตั้งแต่มาตรา 113 ถึง มาตรา 118 ยกเว้นซึ่งการกระทำผิดเกิดขึ้นในพื้นที่ที่มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 หรือพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548

2. ความผิดตามประกาศ หรือคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

ที่ว่าคำชี้แจงข้างต้นคลาดเคลื่อนก็เพราะเป็นคำชี้แจงที่ต้องการให้ผู้ฟังคำชี้แจงนี้เข้าใจผิดว่าพลเรือนที่ต้องขึ้นศาลทหารนั้นมีแต่ผู้ที่กระทำความผิดอย่างร้ายแรงเท่านั้น ทั้งๆที่ในความเป็นจริงผู้ที่กระทำความผิดร้ายแรงไม่ค่อยได้ขึ้นศาลทหาร ความผิดข้อหาฆาตกรรมไม่ได้ขึ้นศาลทหารอย่างที่ชี้แจง ส่วนผู้ที่ล้มล้างการปกครองหรือสมคบกันเป็นกบฏก็ไม่ได้ขึ้นศาลทหาร ยังลอยนวลอยู่ทั้งนั้นด้วยซ้ำ

ผู้ที่ต้องขึ้นศาลทหารส่วนใหญ่กลับไม่ได้ทำความผิดในข้อหาร้ายแรง แต่ส่วนใหญ่ถูกตั้งข้อหาจากการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่างจากผู้มีอำนาจเท่านั้น

ที่เห็นได้ชัดเช่นการตั้งข้อหาตามมาตรา 116 ของประมวลกฎหมายอาญาที่ว่า

มาตรา 116 ผู้ใดกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใดอันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือ มิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต
(1) เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายแผ่นดินหรือรัฐบาล โดยใช้กำลังข่มขืนใจหรือใช้กำลังประทุษร้าย
(2) เพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน ถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร หรือ 
(3) เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดินต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินเจ็ดปี

มีการตั้งข้อหาตามมาตรานี้จากการแสดงความเห็นที่ต่างจากคณะคสช.ทั้งๆไม่มีการกระทำตามที่ระบุไว้ในมาตรานี้

ข้อหาอีกประเภทหนึ่งคือการขัดคำสั่งคสช. ซึ่งส่วนใหญ่แล้วไม่เพียงแต่ไม่ใช่การกระทำความผิดที่ร้ายแรงเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการกระทำที่ไม่ได้ผิดกฎหมายบ้านเมืองตามปรกติแม้แต่น้อยเลยด้วยซ้ำไป

ความคลาดเคลื่อนอีกประการที่สำคัญมากคือที่บอกว่ากระบวนการยุติธรรมของศาลทหารกับศาลพลเรือนไม่มีความแตกต่างกัน ถ้าทำผิดก็ถูกลงโทษเหมือนกัน ข้อนี้ผมขออนุญาตไม่ชี้แจงอะไรมาก นอกจากจะชี้ให้เห็นความต่างเพียงประการเดียวเท่านั้นคือพลเรือนที่ขึ้นศาลทหารนี้ไม่มีสิทธิ์อุทธรณ์ ฎีกาเหมือนผู้ที่ขึ้นศาลพลเรือน

ผมเพียงให้ข้อเท็จจริง การให้พลเรือนขึ้นศาลทหารจะถูกผิดอย่างไร ผมขอไม่แสดงความเห็นในโอกาสนี้เนื่องจากอยู่ระหว่างดำเนินคดีในศาลทหารและกำลังร้องเรียนเรื่องนี้อยู่ครับ

-------'

จาตุรนต์ ฉายแสง

17 มีนาคม 2558
 
พลเรือนขึ้นศาลทหาร : การชี้แจงที่คลาดเคลื่อน
"ในความเป็นจริงผู้ที่กระทำความผิดร้ายแรงไม่ค่อยได้ขึ้นศาลทหาร... ผู้ที่ล้มล้างการปกครองหรือสมคบกันเป็นกบฏก็ไม่ได้ขึ้นศาลทหาร ยังลอยนวลอยู่ทั้งนั้นด้วยซ้ำ
ผู้ที่ต้องขึ้นศาลทหารส่วนใหญ่กลับไม่ได้ทำความผิดในข้อหาร้ายแรง แต่ส่วนใหญ่ถูกตั้งข้อหาจากการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่างจากผู้มีอำนาจเท่านั้น"
การชี้แจงเกี่ยวกับการให้คดีขึ้นศาลทหารคลาดเคลื่อนต่อความเป็นจริงอย่างมากทั้งการชี้แจงของทางคณะผู้แทนประเทศไทยแห่งองค์การสหประชาชาติประจำ ณ นครเจนีวาและการชี้แจงของพล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิดที่อ้างคำชี้แจงของรองเจ้ากรมพระธรรมนูญทหาร
คณะผู้แทนประเทศไทยแห่งองค์การสหประชาชาติประจำ ณ นครเจนีวาว่า “การใช้ศาลทหารนั้น เราใช้ในเฉพาะคดีที่มีข้อหาร้ายแรงเท่านั้น ข้อหาความผิดรวมถึงครอบครองอาวุธและคดีฆาตกรรม จำเลยพลเรือนในคดีศาลทหารได้รับสิทธิในกระบวนการยุติธรรมเหมือนกับในศาลพลเรือน รวมทั้งสิทธิที่จะมีทนายความและได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์”
ส่วนพล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิดชี้แจงโดยอ้างคำชี้แจงของรองเจ้ากรมพระธรรมนูญทหารที่ว่า"...พลเรือนจะขึ้นศาลทหารเฉพาะ ในกรณีความผิดร้ายแรง ตามประกาศ คสช. ฉบับที่ 107-112 ซึ่งเกี่ยวกับความผิดต่อสถาบัน และประกาศฉบับที่ 113-118 เช่น การล้มล้างเปลี่ยนแปลง แบ่งแยกราชอาณาจักร หรือสะสมอาวุธ สมคบกันเป็นกบฏ ซึ่งผู้กระทำผิดในคดีร้ายแรง ภายใต้กฎอัยการศึก ต้องขึ้นศาลทหาร เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับความมั่นคง
พร้อมทั้งชี้แจงว่า กระบวนการยุติธรรมของศาลทหารกับศาลพลเรือนไม่มีความแตกต่างกัน"
เพื่อทำความเข้าใจเรื่องนี้ควรทราบว่าพลเรือนต้องขึ้นศาลทหารในเรื่องใดบ้าง
คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ประกาศให้บรรดาคดีความผิดตามที่กำหนดไว้ดังต่อไปนี้ ซึ่งการกระทำผิดเกิดขึ้นในเขตราชอาณาจักร และในระหว่างที่ประกาศนี้ใช้บังคับอยู่ในอำนาจพิจารณาคดีของศาลทหาร
1. ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
(1) ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาทและผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตั้งแต่มาตรา 107 ถึงมาตรา 112
(2) ความผิดต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ตั้งแต่มาตรา 113 ถึง มาตรา 118 ยกเว้นซึ่งการกระทำผิดเกิดขึ้นในพื้นที่ที่มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 หรือพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548
2. ความผิดตามประกาศ หรือคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ที่ว่าคำชี้แจงข้างต้นคลาดเคลื่อนก็เพราะเป็นคำชี้แจงที่ต้องการให้ผู้ฟังคำชี้แจงนี้เข้าใจผิดว่าพลเรือนที่ต้องขึ้นศาลทหารนั้นมีแต่ผู้ที่กระทำความผิดอย่างร้ายแรงเท่านั้น ทั้งๆที่ในความเป็นจริงผู้ที่กระทำความผิดร้ายแรงไม่ค่อยได้ขึ้นศาลทหาร ความผิดข้อหาฆาตกรรมไม่ได้ขึ้นศาลทหารอย่างที่ชี้แจง ส่วนผู้ที่ล้มล้างการปกครองหรือสมคบกันเป็นกบฏก็ไม่ได้ขึ้นศาลทหาร ยังลอยนวลอยู่ทั้งนั้นด้วยซ้ำ
ผู้ที่ต้องขึ้นศาลทหารส่วนใหญ่กลับไม่ได้ทำความผิดในข้อหาร้ายแรง แต่ส่วนใหญ่ถูกตั้งข้อหาจากการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่างจากผู้มีอำนาจเท่านั้น
ที่เห็นได้ชัดเช่นการตั้งข้อหาตามมาตรา 116 ของประมวลกฎหมายอาญาที่ว่า
มาตรา 116 ผู้ใดกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใดอันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือ มิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต
(1) เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายแผ่นดินหรือรัฐบาล โดยใช้กำลังข่มขืนใจหรือใช้กำลังประทุษร้าย
(2) เพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน ถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร หรือ
(3) เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดินต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินเจ็ดปี

มีการตั้งข้อหาตามมาตรานี้จากการแสดงความเห็นที่ต่างจากคณะคสช.ทั้งๆไม่มีการกระทำตามที่ระบุไว้ในมาตรานี้
ข้อหาอีกประเภทหนึ่งคือการขัดคำสั่งคสช. ซึ่งส่วนใหญ่แล้วไม่เพียงแต่ไม่ใช่การกระทำความผิดที่ร้ายแรงเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการกระทำที่ไม่ได้ผิดกฎหมายบ้านเมืองตามปรกติแม้แต่น้อยเลยด้วยซ้ำไป
ความคลาดเคลื่อนอีกประการที่สำคัญมากคือที่บอกว่ากระบวนการยุติธรรมของศาลทหารกับศาลพลเรือนไม่มีความแตกต่างกัน ถ้าทำผิดก็ถูกลงโทษเหมือนกัน ข้อนี้ผมขออนุญาตไม่ชี้แจงอะไรมาก นอกจากจะชี้ให้เห็นความต่างเพียงประการเดียวเท่านั้นคือพลเรือนที่ขึ้นศาลทหารนี้ไม่มีสิทธิ์อุทธรณ์ ฎีกาเหมือนผู้ที่ขึ้นศาลพลเรือน
ผมเพียงให้ข้อเท็จจริง การให้พลเรือนขึ้นศาลทหารจะถูกผิดอย่างไร ผมขอไม่แสดงความเห็นในโอกาสนี้เนื่องจากอยู่ระหว่างดำเนินคดีในศาลทหารและกำลังร้องเรียนเรื่องนี้อยู่ครับ





"...ผู้ที่ต้องขึ้นศาลทหารส่วนใหญ่กลับไม่ได้ทำความผิดในข้อหาร้ายแรง แต่ส่วนใหญ่ถูกตั้งข้อหาจากการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่างจากผู้มีอำนาจเท่านั้น".
จาตุรนต์ ฉายแสง
17 มีนาคม 2558

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar