torsdag 31 maj 2018

อนาคตประเทศไทย...ใครกำหนด?.

เพื่อเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 66 พรรษา กทม.ชวนประชาชนใส่เสื้อเหลืองตลอดเดือน ก.ค. ทุกหน่วยงานรัฐเอกชนประดับธงประปรมาภิไธย พระบรมฉายาลักษณ์ และเตรียมจัดงานใหญ่ 27-29 ก.ค.

เพื่อเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 66 พรรษา กทม.ชวนประชาชนใส่เสื้อสีเหลืองตลอดเดือน ก.ค. ทุกหน่วยงา.....
หลังมีกระแสกังวลว่าคำนวณไปคำนวณมาอาจได้เลือกตั้งเดือนเมษาแทนกุมภา ผู้สื่อข่าวถาม ประวิตร วงษ์สุวรรณ ได.....
วีดิโอด้านบนนี้เป็นการกล่าวปาฐกถาของบุคคลในชาติต่างๆ ที่ไปร่วมงาน Oslo Freedom Forum ที่จัดขึ้นที่กรุงออสโล ประเทศ.....

‘นิกร’ ชี้ 3 ตัวเร่งกำหนดวันกาบัตร มั่นใจ ไม่เกินเดือนก …
matichon.co.th

รัชกาลที่ ๙... คนบาปในคราบนักบุญ ...

ความเป็นมาของวงค์จักรี ตอน ที่ ๙ ( ตอนสุดท้าย )

แม้รัชกาลที่ ๙ ได้เป็นกษัตริย์แล้วแต่ก็ไม่ได้รับการยอมรับจากจอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีที่มีอำนาจมากที่สุดในช่วงก่อนหน้าปี ๒๕๐๐ ทั้งนี้เพราะจอมพล ป. รู้เช่นเห็นชาติพระองค์เป็นอย่างดี จึงมิได้มีความเคารพนับถือแม้แต่น้อย ยิ่งเป็นเผ่า ศรียานนท์ด้วยแล้ว ถึงกับขู่ว่าจะเปิดโปง “กรณีสวรรคต” โดยการจ้างนายสง่า เนื่องนิยม นักไฮปาร์ก สมญา “ช้างงาแดง” ป่าวประกาศกึกก้องกลางสนามหลวงหน้าพระบรมมหาราชวังที่ประดิษฐานของพระเศวตฉัตรว่า จะเปิดเผยตัวผู้ฆ่ารัชกาลที่ ๘ เมื่อมีประชาชนมารอฟังนายสง่า เนื่องนิยมจำนวนมาก นายสง่าก็ปีนขึ้นไปยืนบนที่สูงกลางท้องสนามหลวง ในวันที่ ๒๔ มิ.ย. ๒๕๐๐ และร้องก้องว่า“ผู้ฆ่ารัชกาลที่ ๘ คือ.”...” แล้วเอาแว่นตาขึ้นมาสวมทำท่าประหลาด เพื่อบอกใบ้ให้คนดูรู้ว่าฆาตกรคือ รัชกาลที่ ๙ โดยไม่พูดอะไรอีก แม้นายสง่าแสดงกิริยาเช่นนี้ ตำรวจของเผ่าก็มิได้จับตัวนายสง่าไปลงโทษแต่อย่างใด (นายสง่าถูกจับตัวไปลงโทษภายหลังในสมัยสฤษดิ์ ธนะรัชต์)
ส่วนจอมพล ป. มีมาดที่สุขุมกว่านี้ ต่อหน้าประชาชนแล้ว จอมพล ป. จะย้ำว่าตนจงรักภักดีกษัตริย์ แต่ในที่ลับนั้นจอมพล ป. ได้เตรียมการที่เปิดโปง รื้อฟื้นการพิจารณาคดีสวรรคตขึ้นมาใหม่(๑) ซึ่งสิ่งนี้รัชกาลที่ ๙ ทนไม่ได้ จึงเปิดตัวออกมาเล่นการเมืองอย่างเปิดเผย ในวันที่ ๒๕ ม.ค. ๒๔๙๘ ทรงเริ่มปราศรัยในวันกองทัพบกว่าทหารไม่ควรเล่นการเมือง รัฐบาลจึงได้นำเอาบทความของ ดร.หยุด แสงอุทัย ออกอากาศทางวิทยุ แสดงความเห็นว่า “องค์พระมหากษัตริย์ไม่พึงตรัสสิ่งใดที่เป็นปัญหาหรือเรื่องราวเกี่ยวกับเศรษฐกิจการเมือง หรือทางสังคมของประเทศโดยไม่มีรัฐมนตรีในคณะรัฐบาลเป็นผู้สนองพระบรมราชโองการ...”  เพื่อเป็นการโต้ตอบ พวกศักดินาเคียดแค้นบทความนี้มาก พากันโจมตีเป็นการใหญ่ รัชกาลที่ ๙ ฉวยโอกาสที่มีประชาชนไม่พอใจนโยบายเผด็จการของจอมพล ป. กันมากเป็นเครื่องมือรุกทางการเมือง โดยไม่ยอมลงพระปรมาภิไธยแต่งตั้งส.ส. ประเภท ๒ ตามที่รัฐบาลจอมพล ป. เสนอไป ในขณะเดียวกันก็พยายามทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสฤษดิ์ ธนะรัชต์กับตนเองกระชับมากขึ้น และแล้วสฤษดิ์ก็ร่วมมือกับรัชกาลที่ ๙ ด้วยการพาเอาพรรคพวกลาออกจากการเป็น ส.ส.ประเภท ๒ เป็นจำนวนมาก และไม่ยอมสนับสนุนจอมพล ป. อีกต่อไป จนกระทั่งทำการรัฐประหารในปี ๒๕๐๐ สฤษดิ์ ยกย่องรัชกาลที่ ๙ ให้ได้รับเกียรติยศมากขึ้นและฟื้นฟูพระราชพิธีที่ล้าหลัง เช่น แรกนาขวัญอันถูกยกเลิกไปในระยะหลังปี ๒๔๗๕ ในอดีตนั้นประเพณีนี้ล้าหลังถึงขั้นที่ว่า ถ้ากษัตริย์ยังไม่ได้ประกาศให้มีการแรกนาขวัญในแต่ละปีแล้ว ประชาชนจะทำไร่ทำนาไม่ได้เป็นอันขาดทีเดียว(๒) มิฉะนั้นจะต้องถูกลงโทษอย่างหนัก ในฐานะที่บังอาจทำอะไรข้ามหน้าข้ามตากษัตริย์
รัชกาลที่ ๙ เองได้พยายามสนับสนุนการปกครองที่บีบคั้นเสรีภาพของประชาชน เขาได้กล่าวสุนทรพจน์สนับสนุนสฤษดิ์อยู่เนืองๆ โดยไม่คำนึงถึงความผิดชอบชั่วดีเลยว่า ผู้ที่ตนสนับสนุนนั้นเป็นจอมเผด็จการที่คอรัปชั้นทรัพย์ของแผ่นดินไปนับพันล้านบาท ส่วนราชินีก็เช่นเดียวกัน คราวหนึ่งราชินีกับรัชกาลที่ ๙ได้รับการสนับสนุนจากสฤษดิ์ให้ไปเยือนออสเตรเลีย ในฐานะตัวแทนแห่งประเทศไทย ขณะที่ทรงประทับอยู่หน้าศาลาเทศบาลเมืองซิดนีย์นั้น มีประชาชนจำนวนหนึ่ง โปรยใบปลิวลงจากหน้าต่างตึกหน้าศาลาเทศบาลนั้น กระจายในหมู่ฝูงชน มีข้อความโจมตีสฤษดิ์ว่าเป็นฆาตกรประหารชีวิตผู้บริสุทธิ์ ราชินีทนอ่านข้อความนี้ไม่ได้เลย เพราะโดยพื้นๆนั้นทรงโปรดอ่านแต่เรื่องภูตผีวิญญาณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านโหราศาสตร์ของไคโรโหรจากอังกฤษ(๓) (ก่อนที่จะสวดมนต์ภาวนาก่อนนอนวันละ ๒ ชม.) (๔) จึงแต่งหนังสือโต้ตอบกับประชาชนที่เกลียดชังเผด็จการดังกล่าวว่า ตนเองได้รู้จากนักเรียนไทยในออสเตรเลียว่าผู้ที่ต่อต้านสฤษดิ์ที่ซิดนี่ย์นั้นเป็น “...องค์การลับของพวกแดงที่มีทุนรอนมาก...” ทรงแสดงความเห็นว่า “ข้าพเจ้าอดที่จะนึกไม่ได้ว่าคงจะต้องเป็นองค์การใหญ่ที่มีเงินมากอย่างแน่นอน จึงมีทุนทรัพย์และหนทางที่จะสืบเรื่องเมืองไทยได้อย่างละเอียดลออ และยังลงทุนพิมพ์ใบปลิวมากมายไว้โปรยเล่นตอนเราได้รับเชิญมาเมืองนี้...” ทรงโต้แทนสฤษดิ์ว่า “...เหตุผลของเขาในการตำหนิรัฐบาลเรา ฟังไม่ค่อยขึ้น คนที่เขาเรียกว่าผู้บริสุทธิ์ในใบปลิว ก็คือพวกที่โดนประหารชีวิตเพราะวางเพลิงกับพวกที่กระทำจารกรรมและอาชญากรรมต่างๆในเมืองเรานั่นเอง...”(๕) ตกลงราชินีก็เช่นเดียวกับผู้ที่นิยมลัทธิเผด็จการเบ็ดเสร็จคนอื่น คือพอเห็นใครต่อต้านโจมตีการใช้อำนาจเผด็จการป่าเถื่อนกดหัวประชาชน โดยไม่คำนึงถึงศีลธรรมเข้า ก็หาว่าผู้นั้นเป็นคอมมิวนิสต์ เป็นแดง เป็นซ้ายและอะไรต่อมิอะไร ที่จะเสกสรรปั้นเรื่องขึ้นเป็นเหตุผลในการปิดปากประชาชนต่อไป โดยพอใจที่จะยกย่องรัฐบาลที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นคนขี้โกงเช่นสฤษดิ์ ว่าเป็น”รัฐบาลของเรา” มากกว่าที่จะเห็นอกเห็นใจประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศที่ถูกคอรัปชั่นจนยากจน สูญเสียโชควาสนาและความหวังในชีวิตไปแทบจะหมดสิ้น
ขณะที่รัชกาลที่ ๙ และราชินีกำลังร่วมมือกับสฤษดิ์ เพื่อรื้อฟื้นฐานะของสถาบันกษัตริย์ให้สูงขึ้นนั้น ในกลุ่มศักดินาด้วยกันเองก็ไม่ละเว้นที่จะแก่งแย่ง ชิงความเป็นใหญ่ในแผ่นดินทุกขณะ ...... ตราบเท่าที่ตำแหน่งกษัตริย์ยังคงมีอยู่ในประเทศไทย จึงขอย้อนกล่าวถึงการแก่งแย่งราชสมบัติระหว่างพวกศักดินา จนกระทั่งฝ่ายมหิดลได้เป็นกษัตริย์
ตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นแล้วนั้น เรื่องนี้ได้สร้างความเคียดแค้นให้ฝ่ายจักรพงษ์มาก จึงมีการวางแผนอย่างลึกซึ้ง โดยให้เครือญาติของตนเข้าไปมีส่วนร่วมในสถาบันกษัตริย์ เพื่อให้ราชสมบัติกลับมายังพวกตนบ้าง ถ้าเอาคนในตระกูลจักรพงษ์เข้าไปสัมพันธ์ทางสายโลหิตกับตระกูลมหิดลโดยตรง ก็เกรงว่าอีกฝ่ายจะรู้ตัว ดังนั้นจึงวางแผนเอาตระกูลที่ใกล้ชิดกับตน คือตระกูลกิติยากรเข้าไปสัมพันธ์กับพระองค์เจ้าภูมิพล (รัชกาลที่ ๙)
รัชกาลที่ ๙ ทรงพระราชสมภพที่รัฐนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา ทรงได้รับการศึกษาที่สวิสเซอร์แลนด์ โดยเริ่มจากวิชาการแพทย์แล้วทรงเปลี่ยนเป็นรัฐศาสตร์ เมื่อพระองค์ได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์องค์ใหม่ของราชวงศ์จักรี การดำเนินชีวิตของพระองค์ในต่างประเทศเต็มไปด้วยความสนุกสนาน ทรงโปรดทั้งดนตรี งานสังคม และทรงโปรดการขับรถเร็วเป็นพิเศษ ด้วยพระองค์ทรงอยู่ในวัยหนุ่มและชอบสนุก จึงเปิดช่องให้ฝ่ายจักรพงษ์ใช้แผนลับดังกล่าวผ่านรัชกาลที่ ๙ ซึ่งจะดูแนบเนียนมาก ฝ่ายจักรพงษ์ได้ร่วมมือกับฝ่ายกิติยากรส่งมรว.สิริกิต กิติยากรธิดาของกรมหมื่นจันทบุรี ซึ่งเป็นทูตไทยในอังกฤษขณะนั้น ให้ไปช่วยรักษาพยาบาลรัชกาลที่ ๙ อย่างใกล้ชิดที่สวิสเซอร์แลนด์ ภายหลังที่พระองค์ทรงเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ จนกระจกทิ่มเอาพระเนตรบอดสนิทไปข้างหนึ่ง จากเสน่ห์ของสาวแรกรุ่นและความใกล้ชิดทำให้รัชกาลที่ ๙ ทรงติดเนื้อต้องใจมรว.สิริกิต ด้วยความประทับพระทัย พระองค์จึงมอบแหวนธรรมดาวงหนึ่งให้เพื่อเป็นการตอบแทนน้ำใจของมรว.สิริกิต ฝ่ายจุลจักรพงษ์และกิติยากรเห็นเป็นนิมิตรหมายที่ดี จึงฉวยโอกาสประโคมข่าวออกมาว่า รัชกาลที่ ๙ ทรงหมั้นมรว.สิริกิต จนทำให้พระองค์ตกกระไดพลอยโจน ต้องทรงประกาศการหมั้นอย่างเป็นทางการในเวลาต่อมา และได้เข้าพิธีอภิเษกสมรสในปี ๒๔๙๓ ขณะนั้นรัชกาลที่ ๙ ทรงมีพระชนมายุได้ ๒๒ พรรษา, มรว.สิริกิตมีอายุได้ ๑๗ ปี
อย่างไรก็ตาม อีกไม่นานต่อมารัชกาลที่ ๙ กับพระชนนีก็ได้เริ่มเข้าพระทัยว่าการแต่งงานครั้งนี้คงจะต้องมีเบื้องหลัง ทรงไม่พอพระทัยมากที่ไปตกหลุมพราง จึงทรงผูกใจเจ็บและพยายามหาทางตอบโต้อีกฝ่ายหนึ่ง
ครั้นแล้วพระวโรกาสก็มาถึง เช้าวันหนึ่งขณะที่กรมหมื่นจันทบุรี พระบิดาของราชินีกำลังวิ่งออกกำลังกายในกิจวัตรปกติ เพื่อเป็นการกระตุ้นเลือดลมให้เดินสะดวกยิ่งขึ้นหลังจากออกกำลังกายเสร็จ รัชกาลที่ ๙ ทรงยกสุราให้ดื่มแก้วหนึ่ง หลังจากที่กรมหมื่นจันทบุรีดื่มแล้วก็ได้เสียชีวิตลงในวันนั้นเอง
แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานอย่างเด่นชัดว่าการตายของกรมหมื่นจันทบุรีมีสาเหตุจากรัชกาลที่ ๙ ตาฝ่ายกิติยากรและญาติวงศ์ต่างไม่พอใจ จึงเก็บความคับแค้นนี้ไว้ในส่วนลึกของหัวใจ เบื้องหลังเหตุการณ์ที่แท้จริงเป็นเช่นไร รัชกาลที่ ๙ และพระชนนีจะทรงเล่าได้ดีที่สุด ความรักใคร่ปรองดองของทั้งสองพระองค์ เริ่มห่างเหินและทรงกินแหนงแคลงใจมากขึ้นเป็นลำดับ หลายๆครั้งที่แสดงออกถึงการพยายามจะชิงความเป็นใหญ่ดังจะได้กล่าวในโอกาสต่อไป
แม้ว่ารัชกาลที่ ๙ และราชินีจะทรงบาดหมางใจกันจนเข้ากันไม่ได้ แต่ในสภาพที่ต่างก็มีผลประโยชน์มหาศาลร่วมกันในสถาบันกษัตริย์ การขัดแย้งจึงเป็นเรื่องภายใน แต่หลังฉากแล้วความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เป็นภาพพจน์ที่สำคัญซึ่งจะดำรงความศรัทธาของปวงชนที่มีต่อสองพระองค์ ยิ่งในภาวการณ์ที่ถูกอิทธิพลทหารบีบ เช่น รัฐบาลถนอม ประภาส การกลมเกลียวเพียงหน้าฉากยังไม่เพียงพอ ทั้งสองพระองค์บ่อยครั้งที่ต้องปรึกษาความกันจนสว่าง มีความร่วมมือกันอย่างจริงจัง เพื่อแสดงบทขอความเห็นใจจากประชาชน ทั้งนี้ก็เพื่อต่อต้านกับพลังใดๆที่บังอาจมาทำลายสถาบันผลประโยชน์อันล้าหลังของตน
ในช่วงที่รัฐบาลถนอม ประภาสเรืองอำนาจอยู่นั้น ประภาสไม่ลงรอยกับศักดินาใหญ่มาตลอด เป็นเพราะต่างก็ต้องการเป็นใหญ่เหนือผู้อื่นในแผ่นดิน อีกทั้งประภาสสามารถกำความลับเรื่องสังหารรัชกาลที่ ๘ อยู่ด้วย จึงเห็นได้ว่าการกระทำของกลุ่มถนอม ประภาสมีลักษณะแข่งขันและไม่ไว้หน้าศักดินาใหญ่มากขึ้นเป็นลำดับ เช่น นางไสว จารุเสถียรชอบแต่งตัวแข่งขันกับราชินีสิริกิตตลอดเวลา ไม่ว่าราชินีสิริกิตจะทรงแต่งกายอย่างฟุ่มเฟือยเพียงใด นางไสวจะต้องแต่งให้ได้เทียมนั้น นับเป็นการพยายามแข่งขันที่น่าสังเวชมาก ณรงค์เองถึงกับประกาศก้องในหมู่เพื่อนทหารขณะมึนสุราอย่างน้อย ๒ ครั้งว่า “กูนี่แหละ จะเป็นประธานาธิบดีคนแรกของเมืองไทย” ครั้งหนึ่งที่เพชรบุรี อีกครั้งหนึ่งที่เพชรบูรณ์
ในวันเฉลิมพระชนมพรรษาของกษัตริย์ภูมิพลหรือราชินีสิริ กิต จะมีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ทั้งนายทหารและพลเรือนเข้าถวายพระพรเป็นประจำทุกปี แต่ในช่วงก่อนเหตุการณ์ ๑๔ ตุลา ๒๕๑๖ จะพบว่าไม่มีชื่อของประภาส-ไสว ณรงค์ กิติขจรและภรรยา เข้าไปถวายพระพรเลย ในช่วงนั้นฝ่ายศักดินาใหญ่พยายามปล่อยข่าวว่า ประภาสส่งคนไปยิงฟ้าชายวชิราลงกรณ์ที่ออสเตรเลีย เพื่อเป็นการปลูกความจงรักภักดีในสถาบันกษัตริย์และเป็นการทำลายประภาสไปใน ตัว ซึ่งวิธีการอันแนบเนียนนี้เป็นวิธีการที่ทั้งสองพระองค์ทรงโปรดปรานมาก นิยมนำมากลั่นแกล้งและทำลายผู้ที่ล่วงรู้ความลับอันเลวร้ายและไม่ยอมอ่อนข้อ ให้พระองค์เป็นประจำ ขณะที่กลุ่มถนอม ประภาสมีอำนาจและมีกำลังทหารในมือพร้อมที่จะโค่นศักดินาใหญ่ได้ ฝ่ายศักดินาใหญ่ก็มีประชาชนจำนวนมากที่ให้การสนับสนุนด้วยความงมงายตาม ประเพณีนิยม ในภาวะขณะนั้นฝ่ายศักดินาใหญ่แม้จะเสียเปรียบอยู่บ้าง แต่ก็ไม่อาจสร้างกำลังใดๆได้เลย นอกจากตำรวจชายแดนจำนวนไม่มากที่ทรงให้ความสนิทสนมโดยส่วนพระองค์ของพระชนนี และกษัตริย์ภูมิพล ปัญหาฐานอำนาจของศักดินาคือกำลังติดอาวุธ นี่เป็นสิ่งที่กลุ่มทหารที่กุมอำนาจตระหนักและกีดกันสถาบันกษัตริย์หลัง ๒๔๗๕ มาตลอด และเป็นความเจ็บปวดของฝ่ายศักดินาที่จดจำได้แม่นยำจนเป็นบทเรียนสำคัญ ดังจะเห็นได้ในระยะหลัง ๑๔ ตุลา ที่ศักดินาใหญ่พยายามแทรกอิทธิพลของตนเข้าไปในหมู่ทหารและข้าราชการสำคัญๆ รวมทั้งการเล่นเล่ห์เพทุบายเพื่อหาคนหัวอ่อนและงมงายในตนขึ้นมาคุมอำนาจต่าง พระกรรณอันจะเป็นฐานอำนาจที่แท้จริงในการค้ำจุนสถาบันกษัตริย์ ซึ่งนับวันจะเสื่อมด้วยความเหลวแหลกของคนในสถาบันเอง
อย่างไรก็ตาม กำลังของทั้งสองฝ่ายก็ไม่อาจทำลายล้างกันได้ในทันทีเช่นกัน ปัญหาของทั้งสองฝ่ายคือ การคอยจ้องหาโอกาสเหมาะๆที่อีกฝ่ายเพลี่ยงพล้ำ เพื่อทำลายอีกฝ่ายลงไปให้ได้
ครั้นแล้วโอกาสก็มาถึง ในวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ในช่วงนั้นอดีตผู้นำนักศึกษาและอาจารย์กลุ่มหนึ่งทำการเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ซึ่งรัฐบาลถนอมร่างมา ๑๐ ปียังไม่เสร็จ ประภาสสั่งจับคนเหล่านี้ โดยตั้งข้อหาฉกรรจ์ว่าเป็นกบฏและคอมมิวนิสต์ ทำให้นักเรียน นักศึกษา ประชาชนลุกขึ้นต่อสู้ทั่วประเทศนับล้านคน เพื่อเรียกร้องให้ปล่อยคนทั้ง ๑๓ และให้รัฐธรรมนูญโดยเร็ว ในขณะที่สถานการณ์ตึงเครียดติดต่อกันหลายวันกำลังเปลี่ยนไปในทางที่ดีแก่ถนอม ประภาสในตอนใกล้รุ่งของวันที่ ๑๔ ตุลาคม ได้มีวิทยุลับจากพระราชวังสั่งให้มนต์ชัย พันธ์คงชื่น ซึ่งเผชิญหน้าฝูงชนอยู่ที่สวนจิตรลดาให้ตะลุมบอนตีนักศึกษา เพื่อหวังก่อคลื่นต่อสู้ในหมู่ประชาชนที่มีต่อ ๓ ทรราชย์ขึ้นมาใหม่ มีการจลาจลกันทั่วไปในกรุงเทพฯ ผู้คนเสียชีวิตเกือบ ๑๐๐ คน ขณะเดียวกันตำรวจชายแดนนอกเครื่องแบบก็ถูกศักดินาใหญ่ส่งตัวออกไปปลุกความเกลียดชัง และรวมทั้งก่อวินาศกรรมเผาตึกหลายแห่ง พร้อมกับเปิดประตูวังต้อนรับนักศึกษา ประชาชนเพื่อคุ้มภัยให้ อันเป็นการฉวยโอกาสสร้างความนิยมในพระองค์ ท่ามกลางความชิงชัง ๓ ทรราชย์ในหมู่นักศึกษา ประชาชน พระองค์โดดเด่นขึ้นมาเป็นเทพบุรุษในดวงใจของประชาชน แต่อีกมือหนึ่งก็ร่วมมือกับกฤษณ์ สีวะรา ใช้อำนาจทางทหารบีบให้ ๓ ทรราชย์บินออกนอกประเทศ โดยหน้าฉากกษัตริย์ให้คำมั่นสัญญาต่อหน้า ๓ ทรราชย์ว่าจะไม่ยึดสมบัติอันมหาศาลของพวกเขา และจะให้กลับเข้าประเทศอย่างแน่นอนเมื่อเรื่องสงบลง แต่หลังเหตุการณ์ไม่นาน กษัตริย์กลับสนับสนุนให้ยึดสมบัติของพวกเขา และแสดงท่าทีเฉยเมยต่อการขอกลับประเทศในระยะ ๒ ปีแรก
การแย่งผลประโยชน์กับการหักหลังเป็นของคู่กัน กษัตริย์ซึ่งถือกันว่าเป็นผู้สูงส่ง ก็หาได้พ้นจากวิถีการแก่งแย่งด้วยการหักหลังผู้อื่นก็หาไม่ โอกาสใคร โอกาสมัน ผู้กำชัยชนะที่แท้จริงในวันมหาวิปโยคหาใช่ประชาชนเราท่านตามที่เข้าใจกัน แท้ที่จริงคือ สถาบันพระมหากษัตริย์หรือกษัตริย์ภูมิพลจอมวางแผน
หลัง ๑๔ ตุลา อำนาจการปกครองจึงหวนกลับมาสู่อ้อมอกของกลุ่มศักดินาอีกครั้งหนึ่ง หลังจากการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่เมื่อ ๒๔๗๕ และต้องอยู่เบื้องล่างกลุ่มทหารมาตลอด นายสัญญา ธรรมศักดิ์ องคมนตรีเป็นคนที่กษัตริย์ทรงไว้วางพระทัยมากที่สุดคนหนึ่ง ได้รับการแต่งตั้งจากพระองค์ให้เป็นนายกรัฐมนตรีหลังเหตุการณ์นองเลือด สัญญา ธรรมศักดิ์ใช้ความเกลียดชังต่อ ๓ ทรราชย์ของปวงชน สร้างความนิยมให้สถาบันกษัตริย์ด้วยการเหยียบ ๓ ทรราชย์ให้จมดิน ซ้ำยังโยกย้ายนายทหาร ตำรวจที่เป็นเส้นสาย ๓ ทรราชย์ออกจากตำแหน่งสำคัญๆทางราชการ ในช่วงนี้อิทธิพลศักดินาใหญ่ค่อยๆเข้าแทนที่อิทธิพลของกลุ่มทหาร โดยสรรหาบุคคลที่จงรักภักดี ไม่ว่าจะจริงใจหรือด้วยความทะเยอทะยาน เข้ามามีบทบาททางราชการเมือง เช่น สมัคร สุนทรเวช(ครั้งสมัยยังอยู่ประชาธิปัตย์) พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์(นายทหารภูธรขณะนั้น) พล.ต.อ.มนต์ชัย พันธ์คงชื่น อธิบดีกรมตำรวจในช่วงนั้น พร้อมกับการปรับปรุงตำรวจชายแดน ฐานกำลังสำคัญของตนให้มีอาวุธทันสมัยขึ้น แต่ก็ไม่อาจเข้าครอบงำทหาร ตำรวจทุกส่วน เพราะทหาร ตำรวจบางคนที่มีอำนาจอยู่แล้ว ไม่คิดที่จะไปเกาะขาหรือชายกระโปรงใครทั้งสิ้น เช่น พวกทหารยังเติร์กและนายตำรวจที่เข้าร่วมกบฏใน ๑ เมษา ๒๕๒๔ ซึ่งพวกเขาเชื่อมั่นในความสามารถของตนมากกว่าการเดินเส้นสายกษัตริย์ เพราะต้องเอาใจและปฏิบัติตามความมักใหญ่ใฝ่สูง รวมทั้งความคิดพิเรนๆของศักดินาใหญ่
นอกจากกำลังทหาร ตำรวจแล้ว ศักดินาใหญ่ยังพยายามหาฐานกำลังสนับสนุนจากชาวบ้านด้วยการตั้งกลุ่มลูกเสือชาวบ้าน นวพล กระทิงแดง ด้วยความบันเทิง ความเชื่องมงาย เพื่อดำรงความภักดีของพวกเขาต่อไปด้วยการพระราชทานผ้าพันคอ ให้เข้าเฝ้าอย่างใกล้ชิด ให้สายสะพายเหรียญตรา รวมทั้งสนับสนุนด้านเงินทอง นับวันกำลังของศักดินาใหญ่จะเข้มแข็งขึ้น แต่ความขัดแย้งภายในระหว่างกษัตริย์และราชินีไม่มีทีท่าจะลดลงเลย
ในช่วงที่คึกฤทธิ์ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานสภาสนามม้า ซึ่งเป็นสภาชุดพระราชทาน แต่งตั้งโดยกษัตริย์ภูมิพล พระองค์ทรงมอบให้คึกฤทธิ์แก้กฎมณเฑียรบาลเสียใหม่ โดยให้สตรีมีสิทธิ์ที่จะเป็นกษัตริย์ได้เช่นกัน ทั้งนี้เพื่อพระองค์จะได้หนุนฟ้าหญิงสิรินธร พระธิดาองค์โปรดของพระองค์ให้มีโอกาสเป็นกษัตริย์ได้และจะได้เป็นตัวแทนของราชวงศ์สายสามี ขณะที่ราชินีสิริกิตติ์พยายามจะทรงดันลูกชายปัญญาอ่อนสุดที่รักขึ้นเป็นกษัตริย์ เพื่อตนจะได้เข้ากุมบังเหียนตามแผนที่ฝ่ายกิติยากรและจักรพงษ์ได้ร่วมวางไว้
การพยายามสร้างชื่อเสียงและปลูกฝังความจงรักภักดีในหมู่นักศึกษาของศักดินาใหญ่ กลับไม่เป็นไปตามที่กษัตริย์ภูมิพลคาดการณ์ พระองค์ทรงเอาใจศูนย์นิสิตด้วยการทรงเสด็จไปพระราชทานเพลิงศพวีรชน พระราชทานโอวาทและให้การสนับสนุนนักศึกษาหลายๆประการ แต่ด้วยความตื่นตัวของภาวะการเมืองในระยะนั้น นักศึกษาหาได้ติดกับสถาบันกษัตริย์ซึ่งสวยหรูแต่ภายนอก พวกเขากลับลุกขึ้นเพื่อต่อสู้เพื่อความเป็นธรรม เพื่อสิทธิเสรีภาพ เพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของผู้คนโดยเฉพาะชาวนา กรรมกรอย่างขนานใหญ่ และส่งผลกระทบกระเทือนผลประโยชน์กลุ่มศักดินาอย่างใหญ่หลวง สุดกำลังของทั้งสองพระองค์จะเหนี่ยวรั้งไว้ได้ ศักดินาใหญ่จึงหันมาวางแผนเพื่อกำจัดคนรุ่นหนุ่มสาวมิให้เป็นเสี้ยนหนามพระองค์ต่อไป
โดยก่อนหน้านี้ไม่นาน ครอบครัวกษัตริย์ได้ไปให้พระหมอดูทำนายอนาคต พระองค์นั้นบอกว่าราชวงศ์จักรีถึงฆาต ชะตาขาดเสียแล้วในรัชกาลนี้ หากจะให้มีรัชกาลที่ ๑๐ ต่อไปแล้ว กษัตริย์ต้องทำการอย่างใดอย่างหนึ่งทางการเมือง ตั้งแต่เดือนสิงหาคมเป็นต้นไป จากนั้นต้องฆ่าประชาชนสัก ๓๐,๐๐๐ คน ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดคือ กันยายน-ตุลาคม โดยให้พวกทหารจัดการให้ นอกจากนั้นพระหมอดูยังได้เสนอให้แก้เคล็ดลางร้ายด้วยการให้พระองค์และฟ้าชายนอนลงในโลงศพ และนำเลือดหญิงสาวพรหมจรรย์ของผู้ที่ไม่หวังดีต่อสถาบันกษัตริย์มาชำระพระบาททั้งสองข้าง ด้วยความงมงายอย่างยิ่งยวดและความหวาดกลัวต่อการเปลี่ยนแปลงสังคมเพื่อคนยากไร้ในยุคนั้น กษัตริย์และราชินีกับราชนิกุลกลับคิดถึงความอยู่รอดของบัลลังก์ เฉกเช่นบรรพบุรุษของตนในทุกยุคที่ผ่านมา เมื่อมีเหตุการณ์แหลมคมใดๆเกิดขึ้นในบ้านเมือง ก็ยินดีที่จะให้ความฉิบหายบังเกิดแก่ไพร่ฟ้าประชาราษฎร์และบ้านเมือง ยิ่งกว่าการเสียผลประโยชน์ ลาภยศ ความสุขและการเสียสละส่วนพระองค์ของสถาบันกษัตริย์เลย เหล่าราชนิกุลของราชวงศ์จักรีสายมหิดลได้ตัดสินพระทัยที่จะปฏิบัติตามคำทำนาย
หลังวันที่ ๑๒ สิงหาคม อันเป็นวันครบรอบวันเกิดของราชินีสิริกิตติ์ไม่นาน ตามแผนการลับขั้นที่ ๑ ให้จัดส่งประภาสให้บินกลับเมืองไทย เพื่อทดสอบการต่อต้านของปวงชน ทั้งสองพระองค์ได้แสดงออกอย่างเด่นชัดในการคัดค้าน การต่อต้านของนักศึกษาและประชาชนด้วยการอนุญาตให้ประภาสเข้าเฝ้า มอบช่อดอกไม้และออกค่าใช้จ่ายจำนวน ๕ แสนบาทเพื่อเป็นค่าเที่ยวบินพิเศษในการนำประภาสกลับไทเป ก่อนจากไปมีการอนุญาตให้ประภาสปรากฏตัวทางโทรทัศน์ เพื่อแสดงบทขอความเห็นใจจากประชาชนโดยอ้างว่าตนเอง ตากำลังใกล้บอดต้องการมารักษาในเมืองไทย เดิมทีถนอมเคยขอสัญญาให้ตนเองกลับประเทศ แต่ศักดินาใหญ่กับทหารบางคนเป็นตัวการอ้างความไม่พอใจของประชาชน โกหกถนอมว่ายังไม่ถึงเวลานั้น แต่เมื่อศักดินาใหญ่ต้องการสร้างสถานการณ์ปราบนักศึกษา กลับแต่งคนไปเชื้อเชิญ ๓ ทรราชย์และให้การต้อนรับอย่างดี โดยได้รับการคุ้มครองอย่างเข้มแข็งจากนายพลทหารบกคนหนึ่งชื่อ ยศ เทพหัสดินทร์ หลานประภาสนั่นเอง
ในช่วงก่อนที่ประภาสจะเข้ามาเมืองไทย ในวงการทหารมีการเปลี่ยนแปลงดุลยอำนาจอย่างมาก เมื่อกฤษณ์ สีวะรา ผู้บัญชาการทหารบก ด่วนตายไปก่อนด้วยการถูกวางยาพิษขณะเข้าโรงพยาบาลมงกุฎด้วยโรคสามัญ แท้จริงกฤษณ์ต้องการใช้โรงพยาบาลเพื่อการประชุมนายทหารคนสนิท วางแผนเตรียมยึดอำนาจมาสู่กลุ่มตน แต่ถูกยศ เทพหัสดินทร์ ลูกน้องที่ไว้ใจได้ของกฤษณ์หักหลัง เพราะกฤษณ์คัดค้านการพยายามกลับเข้ามาของ ๓ ทรราชย์ตั้งแต่หลัง ๑๔ ตุลา กฤษณ์เป็นผู้คุมกำลังทหารมากที่สุดในขณะนั้น ไม่เห็นด้วยกับแผนการขยายอำนาจของกษัตริย์ภูมิพลในกลุ่มทหารและพยายามขัดขวางพระองค์ นี่เป็นสาเหตุการตายที่สำคัญ
เมื่อมามองประวัติศาสตร์ในยุคหลังจากนี้ไม่กี่ปี ได้มีนายทหารหลายคนที่จะได้เป็นผู้บัญชาการทหารระดับสูง แต่ต้องเสียชีวิตในลักษณะที่คล้ายๆกัน ไม่ทราบสาเหตุเด่นชัด เช่น พล.อ.อำนาจ ดำริกาญจน์,พล.อ.อ.คำรณ ลีละศิริ ซึ่งแต่ละคนล้วนแต่ขัดแย้งกับศักดินาใหญ่ทั้งสิ้น และก็มีข่าวลือว่าเป็นเพราะ “คำบัญชาจากเบื้องบน” ทุกครั้งไป เรื่องทำนองนี้เป็นที่กล่าวขวัญกันทั่ว ในบรรดานายทหารชั้นผู้ใหญ่ เช่น ครั้งหนึ่งขณะที่มีการแข่งขันเลือกตั้งที่ร้อยเอ็ด พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์เป็นนายทหารที่มีจิตใจประชาธิปไตย หากได้รับเลือกตั้งจะเป็นกำลังสำคัญของฝ่ายประชาธิปไตย ในการต้านทานอิทธิพลอันแสนจะล้าหลังของกษัตริย์ ในขณะรณรงค์เลือกตั้ง พล.อ.เกรียงศักดิ์เกิดเป็นไข้หวัดและต้องการไปพักผ่อน แต่ผู้ใกล้ชิดทุกคนต่างเตือนไม่ให้ พล.อ.เกรียงศักดิ์เข้าโรงพยาบาล เพราะเกรงว่าจะเสียชีวิตอย่างกะทันหันเช่นนายพลคนที่ตายอย่างมีเลศนัย เพราะบังอาจไปบดบังรัศมีของสถาบันพระมหากษัตริย์ กฤษณ์ก็เช่นกัน การขึ้นเป็นรัฐมนตรีกลาโหมตามที่พรรคประชาธิปัตย์เสนอ จะทำให้กฤษณ์สามารถผนึกกำลังได้เข้มแข็งยิ่งขึ้นและอำนาจอันควรตกแก่กษัตริย์จะยิ่งริบหรี่ลงทุกวัน แน่นอนกษัตริย์และราชินีย่อมทนในสิ่งนี้ไม่ได้ ใครผู้บังอาจขวางทางพระองค์ ก็จะต้องมีอันเป็นไปตามพระบัญชา
แผนร้ายได้เริ่มขึ้นด้วยการปลุกปั่นลูกเสือชาวบ้าน นวพล กระทิงแดงให้จงเกลียดจลชังนักศึกษาเป็นพิเศษ ใช้กลไกราชการขัดขวาง ประณามและใส่ร้าย หาว่านักศึกษาไม่หวังดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็นพวกคอมมิวนิสต์ รวมทั้งใช้ศาสนามาสร้างความขลัง ให้พระเทศน์ ตลอดจนการเข้าทรง ใช้เครื่องรางต่างๆ เช่น ผ่านสำนักปู่สวรรค์ ซึ่งพวกเขาตั้งขึ้นเพื่อทำลายอีกฝ่ายโดยเฉพาะ, พระกิตติวุฒิโฑแห่งจิตภาวัน ฯลฯ รวมทั้งการแต่งเพลงปลุกใจ มอมเมาให้ชาวบ้านรังเกียจพวกนักศึกษาและศูนย์นิสิตอย่างยิ่ง ทั้งที่เด็กรุ่นหนุ่มรุ่นสาวเหล่านี้อยากเห็นสังคมที่มีความยุติธรรม และเปิดโอกาสให้ปัญหาความยากจน ความเน่าเฟะของประเทศได้รับการแก้ไขเท่านั้น ถ้าผู้มีอำนาจในประเทศเข้าใจ และเปิดโอกาสให้พวกเขามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาสังคมบ้างอย่างค่อยเป็นค่อยไป ความรุนแรงและนองเลือดจะต้องลดน้อยลงกว่าภาวะปัจจุบันอย่างแน่นอน และยังให้โอกาสสังคมเปลี่ยนแปลงอย่างสันติได้มากขึ้นด้วย
แผนลับขั้นที่ ๒ ได้เริ่มขึ้นเมื่อ ๑๙ กันยายน ๒๕๑๙ มีการส่งพระถนอมเข้ามาเมืองไทยในรูปของสามเณร เพื่อมาบวชเป็นพระที่วัดบวรนิเวศอันเป็นวัดหลวงที่กษัตริย์เคยบวช สามเณรถนอมเข้ามาทั้งๆที่คณะรัฐมนตรีมีมติห้ามเข้ามา พระถนอมได้รับความคุ้มครองจากตำรวจรอบวัด รวมทั้งการอารักขาจากพล.ท.ยศ เทพหัสดินทร์แม่ทัพภาค ๑ ในช่วงนี้เองที่ฝ่ายสนับสนุนศักดินาใหญ่ได้เผยโฉมออกมาอย่างชัดเจน พระนวพล กิตติวุฒโฑ พูดออกอากาศทางโทรทัศน์ว่า “การกลับเข้ามาและการบวชของพระถนอม ได้รับพระบรมราชานุญาตและพระราชดำริเห็นชอบจากพระเจ้าอยู่หัว ฉะนั้นพระถนอมจึงเป็นผู้บริสุทธิ์” นายสมัคร สุนทรเวชรัฐมนตรีช่วยมหาดไทยในขณะนั้น ได้ให้สัมภาษณ์ในเรื่องนี้ว่า “ผมได้รับพระราชกระแสรับสั่งจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้เป็นผู้ยุติเรื่องนี้” วันต่อมาสมัครก็เดินทางไปนราธิวาสเพื่อเข้าเฝ้ากษัตริย์และราชินี
ทั้งสองพระองค์ซึ่งทำทีว่าไม่รู้เรื่องมาตั้งแต่ต้น โดยได้หลบดูเหตุการณ์อยู่ภาคใต้ ได้รีบเสด็จขึ้นกรุงเทพฯในวันที่ ๒๓ กันยายน และเข้าเยี่ยมพระถนอมทันทีที่ลงจากเครื่องบินที่ท่าอากาศยานดอนเมือง เช่นเดียวกับฟ้าชายวชิราลงกรณ์ ซึ่งกลับจากออสเตรเลียก็ตรงเสด็จเข้าเยี่ยมพระถนอมทันทีในวันที่ ๓ ตุลาคม แทนที่จะเข้านมัสการพระแก้วมรกตตามปกติ การแสดงท่าทีเช่นนี้เป็นการประกาศสนับสนุนพระถนอม และคัดค้านการต่อสู้ของนักศึกษา ประชาชนที่ให้จับฆาตกรมาลงโทษอย่างตรงไปตรงมา
โอกาสอันเหมาะสมที่สุดได้เกิดขึ้น เมื่อนักศึกษากลุ่มหนึ่งได้จัดแสดงละครเลียนแบบการแขวนคอช่างไฟฟ้า ๒ คนที่ออกติดโปสเตอร์ต่อต้านพระถนอม แต่พวกศักดินาได้ฉวยโอกาสตกแต่งฟิล์มที่ถ่ายรูปตัวละครนั้นเสียใหม่ให้เหมือนเจ้าฟ้าชาย จากนั้นก็ใช้วิธีการที่พวกตนถนัดนักหนา โหมปลุกระดมความจงรักภักดีทั้งทางหน้าหนังสือพิมพ์และวิทยุอย่างขนานใหญ่ โดยกล่าวหานักศึกษาว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพด้วยการแสดงละครแขวนคอฟ้าชาย เรื่องนี้สร้างความประหลาดใจแก่ชาวบ้านที่ไม่รู้ต้นสายปลายเหตุในต่างจังหวัดมาก พวกเขาหลงเชื่อคำโฆษณา โดยเฉพาะลูกเสือชาวบ้านถึงกับถูกหลอกให้มาเที่ยวกรุงเทพฯ แต่กลับตาลปัตรได้มาชุมนุมที่พระบรมรูปรัชกาลที่ ๕ เพื่อให้ดูเหมือนว่าชาวไทยโกรธแค้นแทนสถาบันกษัตริย์ ขณะเดียวกันพวกศักดินาได้ร่วมกับทหารบางกลุ่ม ตระเตรียมพวกอันธพาล กระทิงแดง ตำรวจชายแดน รวมทั้งทหารพลร่มป่าหวายติดอาวุธร้ายแรงครบครับ ล้อมทางเข้าออกมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ทุกด้าน
วันแห่งการนองเลือดได้มาถึงเมื่อเช้าตรู่วันที่ ๖ ตุลาคม หนุ่มสาวผู้มีแต่สองมือเปล่าถูกระเบิด กระสุนซัดดังห่าฝน ตายและบาดเจ็บอย่างอเนจอนาถ บางคนถูกจับแขวนคอ เผาทั้งเป็นอย่างสยดสยอง ผู้หญิงบางคนถูกข่มขืนแล้วฆ่าอย่างไร้ความปรานี บางคนถูกทรมานเอาไม้ตอกทั้งเป็น เอาไม้แทงเข้าช่องคลอดของเด็กสาวผู้ไร้เดียงสา และแล้วเลือดบริสุทธิ์จากหญิงสาวพรหมจรรย์ก็ได้ถูกนำไปล้างพระบาททั้งสอง ข้างของพระมหากษัตริย์ไทยผู้สูงส่งตามพิธีกรรมทางไสยศาสตร์อันพิสดาร ชีวิตผู้คนจำนวนนับร้อยนับพัน ผู้ไร้ความผิด ต้องตกเป็นเหยื่อของความโง่เขลาเบาปัญญาและความมัวเมาในอำนาจของกษัตริย์และ ราชินี ทุกครั้งที่มีการเอ่ยถึงเหตุการณ์มหาวิปโยคในวันที่ ๖ ตุลาคม ยากยิ่งที่ชาวไทยจะไม่หวนระลึกถึงกษัตริย์ภูมิพลและราชินีสิริกิตติ์คนบาปใน คราบนักบุญ ผู้บงการและอยู่เบื้องหลังการตายอันน่าขนพองสยองเกล้าของเหล่านักศึกษาผู้ บริสุทธิ์
ในตอนเย็นวันที่ ๖ ตุลาคม กลุ่มทหารก็ประกาศยึดอำนาจโดยมีพลเรือเอกสงัด ชลออยู่(รัฐมนตรีกลาโหมในขณะนั้น)เป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติ ก่อนหน้ามีการประกาศยึดอำนาจในเย็นวันนั้น มีการพบปะระหว่างกษัตริย์ภูมิพลและพล.อ.อรุณ ทวาทสิน เพื่อไปทาบทามพลเรือเอกสงัด ชะลออยู่ให้เป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติ เมื่อพลเรือเอกสงัดทราบว่ากษัตริย์ทรงสนับสนุนการปฏิวัติครั้งนี้อย่างยิ่งจึงได้ยอมรับ หลังจากนั้นได้มีการจัดตั้งรัฐบาลโดยนายธานินทร์ กรัยวิเชียรผู้มีความคิดคับแคบและใช้อำนาจเผด็จการในการบริหารประเทศตามอำเภอใจ ร่วมกับนายสมัคร สุนทรเวช รัฐมนตรีมหาดไทยทั้งสองต่างก็เป็นผู้ใกล้ชิด และวางพระทัยของสถาบันกษัตริย์โดยเฉพาะราชินีสิริกิตติ์ เห็นได้ชัดว่าการได้ดิบได้ดีของนายสมัคร มาจากลักษณะมักใหญ่ใฝ่สูง ถีบตัวขึ้นมาจากการเกาะชายกระโปรงของฝ่ายหญิง พร้อมกับการถีบส่งเพื่อนร่วมงานและผู้มีบุญคุณทุกคน แม้แต่นายธรรมนูญ เทียนเงินและพรรคประชาธิปัตย์ผู้โอบอุ้มทางการเมืองตั้งแต่สมัครยังไม่มีชื่อเสียงใดๆ
ในช่วงหลัง ๖ ตุลา ไม่นาน ราชินีสิริกิตติ์ผู้กำบังเหียนรัฐบาลชุดใหม่ ได้มีบทบาทมากและพยายามสร้างฐานอำนาจของตนให้มั่นคงยิ่งขึ้นในกลุ่มลูกเสือชาวบ้าน โดยเฉพาะในเขตภูธรที่เป็นของกษัตริย์ภูมิพล และในวันที่ ๕ พฤศจิกายน๒๕๑๙ ราชินีและฟ้าชายได้พาประธานลูกเสือชาวบ้านจำนวนหนึ่งไปสาบานตนกลางดึกในวัดพระแก้ว ว่าจะรับใช้และจงรักภักดีต่อราชินีเสมอไป การใช้เล่ห์กลสารพัด เพื่อหลอกล่อ ผูกมัดทางจิตใจชาวบ้านและข้าราชการระดับต่างๆอย่างเช่นตัวอย่างข้างต้นมักจะมีเป็นประจำ บางครั้งถึงกับจัดงานฉลองเลี้ยงอาหารในพระราชวังเป็นการส่วนพระองค์เอง มีการแจกของที่ระลึกเหรียญตราเป็นกรณีพิเศษ พวกทหารเสือราชินีและทหารที่ค่ายนวมินทรชลบุรี เป็นตัวอย่างของขุมกำลังที่ราชินีผู้มักใหญ่ใฝ่สูงได้พยายามสร้างขึ้นมาจากศรัทธา และความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของเหล่าทหาร พวกเขายังหลงคิดว่า การเสียสละให้กับราชินีเป็นคุณอันใหญ่หลวงต่อประเทศชาติ แท้จริงการเสียสละของเขาไม่เพียงแต่ไร้ค่า แต่ยังสร้างความฉิบหายกับประเทศโดยส่วนรวม โดยที่เขาไม่เข้าใจเลย
สมเด็จพระราชินีสิริกิตติ์ เติบโตมาจากพระราชวงศ์ชั้นปลายแถว เป็นเด็กหญิงหม่อมราชวงศ์ตัวเล็กๆ ที่เคยศึกษาในโรงเรียนสามัญเช่นเดียวกับลูกชาวบ้านทั่วไปที่โรงเรียนสายปัญญา ครั้นต่อมาได้เป็นราชินี ด้วยอุบายอันแนบเนียนของพระบิดาและญาติวงศ์ที่ใกล้ชิด เช่น จักรพงษ์และสนิทวงศ์ สมเด็จทรงมีลักษณะทะเยอทะยานใฝ่สูงเป็นพิเศษ ยิ่งมีอำนาจสูงก็ยิ่งหลงระเริง ทรงเป็นสตรีที่เจ้าเล่ห์เพทุบาย มักเป็นผู้บงการอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์สำคัญๆของบ้านเมือง บางครั้งถึงกับออกหน้าอย่างทระนง เช่น การแต่งตั้งโยกย้ายนายทหารหลังเหตุการณ์ ๑๔ ตุลา ๒๕๑๖ เกือบทุกครั้ง แต่ที่โด่งดังคือ การตั้งเปรม ติณสูลานนท์จากผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก เป็นผู้บัญชาการทหารบก พร้อมกับเตะโด่ง เสริม ณ นคร ผู้บัญชาการทหารบกขณะนั้น ไปเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด การต่ออายุเปรมในตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีอิทธิพลยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศ โดยสมเด็จสั่งให้อาทิตย์เล่นเกมส์นี้ร่วมกับพระองค์ แม้คณะรัฐมนตรีหลายท่านจะคัดค้านเพราะไม่ชอบด้วยตัวบทกฎหมาย แต่ในที่สุดคณะรัฐมนตรีต้องอนุมัติอย่างเฝื่อนๆด้วยจำยอมต่อ “ข้อมูลใหม่” ซึ่งก็คือพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จ อีกครั้งหนึ่งที่เด่นมากและมีผลต่อการเปลี่ยนดุลยอำนาจในหมู่ทหารอย่างพลิกหน้ามือเป็นหลังมือคือ กรณีหักหลังกลุ่มยังเติร์กในกบฏวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๒๔ สมเด็จเป็นผู้ดึงดันให้กษัตริย์ภูมิพลและเปรมทรยศต่อยังเติร์ก และพากันหนีไปตั้งกองบัญชาปราบกบฏที่โคราช ทั้งๆที่เปรมและกษัตริย์ภูมิพลเป็นผู้เปิดไฟเขียวให้พวกยังเติร์กและสัณห์ปฏิวัติเอง ช่วงจังหวะอาทิตย์ได้โดดเด่นขึ้นมาเป็นผู้ยิ่งใหญ่ที่แท้จริงคุมทั้งแม่ทัพภาค ๑ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก, ผู้อำนวยการรักษาพระนคร ฐานอำนาจทางทหารจึงตกอยู่ในมือของสมเด็จโดยผ่านอาทิตย์ กำลังเอก, ทหารเสือราชินีที่สมเด็จทรงโปรดปรานเป็นพิเศษ บางครั้งการใช้อำนาจของสมเด็จเป็นไปอย่างมัวเมา โดยไม่เคยคำนึงถึงผลกระทบต่อประเทศชาติเลย เช่น กรณีกลุ่มยังเติร์กอยากขอเข้ารับราชการทหารใหม่ ซึ่งน่าที่จะอนุญาตเพราะจะเป็นการสมานความแตกร้าวในกองทัพมิให้สลายเป็นเสี่ยงๆมากไปกว่านี้ อีกทั้งจะยังเป็นการรักษาสมรรถภาพของกองทัพในการตั้งรับกองทัพเวียดนามที่กำลังจ่อคอหอยประเทศไทยอยู่ขณะนี้ เพราะกลุ่มยังเติร์กเป็นนายทหารที่มีฝีมือ ผ่านการรบเคียงบ่าเคียงไหล่กับพลทหารมาอย่างโชกโชน ขณะที่ผู้บัญชาการระดับกรมและกองพันส่วนใหญ่ในปัจจุบัน มักร่วมรบกับลูกน้องในห้องแอร์ พวกเขา ๒๐ คนเศษจึงเป็นกำลังที่สำคัญของกองทัพไทย แต่สมเด็จไม่ได้มองเห็นคุณค่าของพวกเขาเลย สมเด็จห่วงอำนาจของตนในกองทัพบกมากกว่าห่วงสถานการณ์ทางชายแดน พระองค์จึงใช้สิทธิพิเศษในการวีโต้ทุกครั้ง ไม่ว่าใครจะมาเพียรพยายามขอร้องอย่างใด คำตอบก็คือ “ไม่”
บทบาททางการเมืองทั้งลับและเปิดเผยด้วยลูกไม้อันแพรวพราวของสมเด็จ เป็นที่ลือเลื่องกันไปทั่วในหมู่ข้าราชการทหาร ตำรวจ พลเรือนชั้นผู้ใหญ่ วงการนักการเมืองและนักธุรกิจชั้นสูงต่างยกย่องสมเด็จในนามสมญาต่างๆ และใช้กันอย่างกว้างขวาง บ่อยครั้งที่หนังสือพิมพ์มีการเขียนค่อนแคะด้วยพระสมญานามอย่างครื้นเครง เช่น “พระนางอสรพิษ” “ซูสีไทเฮา” “ผู้บัญชาการผบ.ทบ.” “คำสั่งเบื้องบน” เป็นต้น จนรู้กันทั่ว เดี๋ยวนี้ข้าราชการคนใดอยากเป็นใหญ่เป็นโตในพริบตาก็ต้องผ่านเส้น “สมเด็จ” เพียงแค่กราบใต้เบื้องพระบาทงามๆ และปฏิบัติตามคำบัญชาของพระองค์จนมีผลงานให้ดูเสมือนหนึ่งจงรักภักดี และจะพยายามถวายชีวิตนี้ให้พระองค์เท่านั้น ความยิ่งใหญ่นั้นก็จะมาได้อย่างง่ายดาย จนถึงกับมีนายทหารพูดว่า “อยากเป็นผู้การ ก็ให้ไปกราบท่าน” นี่จึงเปิดช่องให้พวกมักใหญ่ใฝ่สูงแต่ด้อยฝีมือต้องเข้ามาซบอกเกาะขอบชายกระโปรงตามๆกัน เช่น พล.อ.อาทิตย์ กำลังเอก, นายสมัคร สุนทรเวช, นายพลตำรวจเจริญฤทธิ์ จำรัสโรมรัน, นายพิศาล มูลศาสตร์สาทร, นางทมยันตี, อุทาร สนิทวงศ์ เป็นต้น
นอกจากสมเด็จจะเป็นผู้มัวเมาในอำนาจแล้ว ยังทรงใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อในเรื่องฉลองพระองค์(๖) และการรักษาพระสิริโฉมอันเหี่ยวย่น ซึ่งร่วงโรยไปตามสังขารให้กลับเต่งตึงหวานซึ้งราวสาวแรกรุ่น พระองค์ทรงยินดีที่จะเสียพระราชทรัพย์ไม่ว่าสักเพียงใด เพื่อให้ประเทศไทยมีราชินีที่ยังสาวและสวยสง่าเป็นศรีแห่งแว่นแคว้นตลอดไป จนถึงกับมีข่าวเกรียวกราวว่าพระองค์ทรงเสด็จไปอเมริกาเพื่อยกเครื่องใหม่ในปี ๒๕๒๓(๗) แม้จะอ้างว่าไปเพื่อรักษาโรคภูมิแพ้ก็ตามทีแท้จริงพระองค์ก็มีพระชนมายุอีกเพียงปีเดียวก็ครบ ๕๐ พรรษา การมีพระวรกายตามพรรษาจริงก็มิได้ทำให้ประเทศชาติต้องเสื่อมเสียหรือพินาศลงไปเลยแม้แต่น้อย กลับจะทรงเป็นแบบอย่างที่ดีงามของประชาชน แต่การใช้จ่ายเงินภาษีของชาติในภาวะที่เศรษฐกิจฝืดเคืองประชาชนอดอยากไปทั่ว อย่างฟุ้งเฟ้อไร้สติเช่นนี้ รังแต่จะทำผู้คนนินทา ด่ากันไปทั่วทั้งแผ่นดิน
การวางพระองค์และพระท่วงท่าที่แสดงออกก็เป็นสิ่งที่ผู้คนวิพากษ์วิจารณ์กันมาก เช่น การประพาสอเมริกาปลายปี ๒๕๒๔ พระองค์ทรงโอบกอดเต้นรำกับหนุ่มชาวนาอเมริกาอย่างสนิทแน่น และภาพนี้สื่อมวลชนทั่วโลก รวมทั้งภายในประเทศ มีการนำมาตีแผ่กันทั่ว เป็นภาพที่น่าสลดสังเวชมากที่พระราชินีไทย ไม่มีการไว้พระองค์ในฐานะสตรีผู้สูงศักดิ์ที่พึงมีสมบัติกุลสตรีไทยบ้างตามสมควร, อีกครั้งหนึ่งราวปี ๒๕๒๐ พระองค์ทรงนั่งป้อนพระขนมแก่ชายหนุ่มลูกเสือชาวบ้านคนหนึ่ง ด้วยท่วงท่าที่น่าชมเชย ดั่งหญิงสาวแรกแย้มป้อนขนมให้คู่รักของตน ภาพนี้ได้รับการตีพิมพ์ในข่าวสังคมหน้าในของหนังสือพิมพ์ เป็นภาพที่บัดสี ขนาดชาวบ้านนินทาอย่างรุนแรง จนไม่อาจจะเขียนเป็นตัวหนังสือ ปัจจุบันพระเกียรติคุณของสมเด็จในสายตาของปวงชนลดลงจนกลายเป็นเรื่องตลก เรื่องสนุกที่ชาวบ้านจะเล่าสูกันฟังหลังอาหารอย่างครึกครื้นเสียแล้ว
เนื่องจากสมเด็จไม่ได้ทรงศึกษาในมหาวิทยาลัยหรือการศึกษาขั้นสูง ประกอบกับไม่ค่อยเข้าใจกฏเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ สมเด็จจึงเป็นผู้ที่เชื่อคนง่าย ชอบการยกยอปอปั้น คำหวานหอม ตลอดจนเชื่อผีสางโชคลางเป็นอย่างยิ่ง หลายครั้งทีเดียวที่พระองค์เล่าให้นางสนองพระโอษฐ์ฟังว่า พระนเรศวรมาเข้าฝัน บางครั้งถึงกับปรากฏต่อหน้าพระพักตร์ และเมื่อพระองค์ทรงตื่นก็ปลุกกษัตริย์ภูมิพลขึ้นทอดพระเนตร ก็ยังคงทอดพระเนตรเห็นวิญญาณนั้นปรากฏอยู่ (ความเป็นจริงราชินีและกษัตริย์ทรงขัดเคืองจนมิได้บรรทมด้วยกันมานานแล้ว) และหลายครั้งที่ให้คุณหญิงแดง (คุณหญิงสวรี เทพาคำ) เข้าทรง เพื่อพระองค์จะได้ติดต่อกับวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ รวมทั้งการล่วงรู้เหตุการณ์สำคัญๆในอนาคตได้แม่นยำ ดังนั้นสมเด็จจึงนับถือและสนิทสนมกับคุณหญิงแดงมาก ทั้งสองอยู่ด้วยกันดึกๆจนสว่างเพื่อประกอบพิธีกรรมและปรึกษาความเมืองกัน คุณหญิงแดงจึงเป็นเป้าด่านแรกในการเข้าหาสมเด็จ
อาทิตย์ กำลังเอกผู้ต้องการเป็นใหญ่ ได้ใกล้ชิดกับสมเด็จเป็นพิเศษสุดในระยะหลังโดยผ่านคุณหญิงแดงนี่เอง การเข้าทรงและประกอบพิธีกรรมทางไสยศาสตร์ ยิ่งทำให้พระองค์ทรงเชื่ออย่างฝังใจในเรื่องลางสังหรณ์ คำทำนายของโหรใหญ่ การดูโชคชะตาราศีของพระ เรื่องนี้สมเด็จเป็นผู้ให้สัมภาษณ์ยืนยันเรื่องเหล่านี้ด้วยตนเอง เช่น “เรื่องโหราศาสตร์ เชื่อเป็นบางคน เฉพาะที่คิดเลขเก่งจริงๆ พ่อฉันก็ชอบเกี่ยวกับเรื่องโหราศาสตร์ ส่วนเรื่องวิญญาณก็เชื่อ เราเชื่อเรื่องวิญญาณ เพราะว่าตัวเองเคยประสบหลายหน” “เรื่องพระนเรศวรมาเข้าทรงสุบินนั้นเป็นความจริง แต่ฉันอาจแต่งเอาเองในส่วนลึกของหัวใจก็ได้” พระองค์ทรงคลั่งไคล้เรื่องทำนองนี้ มีอยู่ครั้งหนึ่งถึงกับออกประกาศชักชวนให้ปฏิบัติตาม จนเป็นข่าวเกรียวกราวในหน้าหนังสือพิมพ์ เพราะพระองค์ทรงสุบินไปว่า คนที่เกิดปีมะ จะมีอันเป็นไป มีอาเพศแก่ตน ให้ชวนกันไปทำบุญที่โบสถ์พราหมณ์ มีผู้คนมากมายตื่น แล้วบอกต่อๆกันจนโบสถ์พราหมณ์ที่เสาชิงช้าเกือบพัง, อีกเรื่องหนึ่งเกิดขึ้นภายในราชวัง คือ หลังเหตุการณ์ ๖ ตุลาไม่นานนัก สมเด็จทรงรับสั่งให้มีการประกอบพิธีสะเดาะเคราะห์แก่ฟ้าชายวชิราลงกรณ์ ด้วยการปั้นหุ่นขนาดเท่าฟ้าชายและมีลักษณะเหมือนจริงทุกประการ และเอาหุ่นนั้นลงนอนในโลงศพ อันเป็นพิธีสะเดาะเคราะห์ต่ออายุให้ฟ้าชาย เรื่องนี้ความแตกเพราะ ฟ้าชายบังเกิดความเมามันจึงจ้างคน ๔ คน แบกโลงศพซึ่งมีหุ่นของพระองค์อยู่ข้างใน ห่อโลงศพอย่างสวยงาม ส่งไปให้น้าของโสมสวลี บ้านอยู่แถวคลองประปาสามเสน หม่อมน้าทรงแปลกพระทัย และเมื่อแกะกล่องออกมาเห็นในโลงศพมีศพฟ้าชายก็ตกพระทัย ร้องกรี๊ดดังลั่น จึงโทรเรียกตำรวจท้องที่มาจัดการกับชาย ๔ คนนั้น มีชาวบ้านละแวกนั้น แห่กันมามุงดูมืดฟ้ามัวดิน ขณะที่หม่อมน้ายังไม่หายตกพระทัย ก็พอดีมีเสียงโทรศัพท์จากฟ้าชายและโสมสวลี หัวเราะครึกครื้นมาตามสาย ทรงทูลหม่อมน้าว่า “ทรงตกพระทัยมากไหม” น้าของโสมสวลีจึงมาถึงบางอ้อ ด้วยความโกรธจัดจึงพูดไปว่า “อยากถวายผางพะย่ะค่ะ”(อยากเตะ) ทางตำรวจท้องที่หัวปั่นไม่รู้จะทำอย่างไร จึงต้องปล่อยชายผู้ต้องหาไป เรื่องนี้สามารถสอบถามได้จากชาวบ้านละแวกนั้น ซึ่งต่างก็รู้สึกทึ่งในการไม่สมประกอบทางปัญญาของพวกราชนิกุล
ความใฝ่ฝันที่จะให้ราชบัลลังก์ตกอยู่กับตระกูลของตนและญาติวงศ์ที่ใกล้ชิด เป็นความฝันที่ใกล้จริง เมื่อพระองค์ทรงกะเกณฑ์ให้ฟ้าชายวชิราลงกรณ์แต่งงานกับโสมสวลี กิติยากรหลานแท้ๆของพระองค์ เมื่อวันที่ ๓ มกราคม ๒๕๒๐ วชิราลงกรณ์เป็นโอรสที่สนิทสนมและรักทูลกระหม่อมแม่มากกว่าพ่อ ทรงรักและเชื่อฟังแม่มากถึงกับเขียนกลอนสดุดีสมเด็จขณะที่ยังเรียนอยู่ที่ออสเตรเลีย วชิราลงกรณ์นั้นเรียนไม่เก่ง เมื่อครั้งไปเรียนที่อังกฤษ ปรากฏว่าทรงสอบได้วิชาภาษาไทยเพียงวิชาเดียว ต้องย้ายโรงเรียนถึง ๓ ครั้ง ในที่สุดย้ายมาเรียนวิทยาลัยดันทรูนในออสเตรเลีย นักเรียนไทยในออสเตรเลีย มักเล่าสู่กันฟังถึงเรื่องของฟ้าชายเสมอว่า ที่วิทยาลัยนี้มีการศึกษาสองระดับด้วยกัน ผู้ที่มีเกรดดีจึงจะได้เรียนในระดับนายร้อย ส่วนผู้ทำเกรดไม่ได้จะได้เรียนแค่ระดับนายสิบเท่านั้น ฟ้าชายของเราทำคะแนนไม่ได้ จึงได้เรียนแค่นายสิบเท่านั้น เห็นได้จากภาพที่แพร่ในช่วงที่มีการรับปริญญา จะเห็นฟ้าชายแต่งชุดทหารยศแค่สิบโทเท่านั้น แต่มีการอ้างว่าที่วิทยาลัยนี้ เขาก็แต่งกันอย่างนี้ทั้งนั้น มันน่าตลกสิ้นดี ที่เมื่อฟ้าชายกลับถึงเมืองไทย สามเหล่าทัพจำต้องกุลีกุจอถวายพระยศเป็นร้อยเอก, เรือเอกและเรืออากาศอย่างเสียไม่ได้
ฟ้าชายชอบใส่ชุดทหารและติดอาวุธตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า ทั้งๆที่พระองค์รับราชการฝ่ายข่าวของกองทัพ นอกจากพระองค์จะทรงพยายามแสดงออกถึงความสามารถสูงส่งอย่างเบาปัญญาแล้ว บรรดาที่อยู่ใกล้ชิดก็จะช่วยกันโหมข่าว สร้างชื่อเสียงให้ฟ้าชายเพื่อจะได้มีพระเกียรติสมกับสยามมกุฎราชกุมาร เช่น วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ สื่อมวลชนทุกประเภทพากันประโคมข่าวว่า รถเกราะพาหนะของฟ้าชายถูกผกค.ซุ่มโจมตีที่บริเวณเขาค้อ (เพชรบูรณ์) พระองค์ได้แสดงวีรกรรมอย่างอาจหาญ สั่งสละรถตนเอง ได้หลบและเคลื่อนที่เข้าจุดที่มั่น ทรงบัญชาให้หน่วยปืนใหญ่ที่บ้านทุ่งสมอ ระดมยิงไปที่ผกค. จนพวกนั้นล่าถอยกลับไป แต่สำหรับทหารที่อยู่ในเหตุการณ์ต่างทราบดีว่า เฮลิคอปเตอร์ของฟ้าชายถูกยิงตก และก็ไม่มีวีรกรรมใดๆปรากฏขึ้นเลย จะมีก็เพียงข่าวลือและเขาเล่าว่า แต่เมื่อได้พบเห็นฟ้าชายที่ทรงกระทำอะไรแผลงๆแบบไม่ค่อยเต็ม ความที่เคยสงสัยก็กลับกระจ่างอย่างไม่น่าเชื่อ
สำหรับโสมสวลีทรงเรียนหนังสือครั้งแรกที่โรงเรียนจิตรลดา การเรียนอยู่ในระดับต่ำ จนต้องสอบประถม ๓ ตก ๑ ครั้ง เมื่อย้ายมาเรียนที่โรงเรียนราชินีล่าง(ปากคลองตลาด) การเรียนก็ไม่ดีขึ้น ครูถึงกับเอ่ยปากหนักใจแทน เพราะโสมสวลีของเราสอบ ม.ศ. ๒ ตกซ้ำ ๒ ปีติดต่อกันจึงลาออก สมเด็จทรงรับมาชุบเลี้ยงในราชวัง ฝึกทำของคาวหวานจนเก่งงานครัว ทั้งฟ้าชายและโสมสวลีต่างมีสายโลหิตที่ใกล้ชิดกันมาก มีคนเกรงว่าหากแต่งงานกันเช่นนี้ จะทำให้โอรสและธิดาที่ทรงประสูติมาจะมีโอกาสปัญญาอ่อนมาก เพราะเพียงแค่ลำพังสองพระองค์ก็ทรงมีลักษณะอับเฉาทางปัญญามากพออยู่แล้ว เรื่องนี้มีผู้ท้วงติงมาก แม้แต่กษัตริย์ภูมิพลเอง แต่เพราะเป็นความต้องการของฟ้าชายที่ถูกแม่ขอร้องให้แต่งงาน เรื่องจึงต้องว่ากันไปตามเพลง ผลมาปรากฏตอนท้ายมีผู้ที่เสียพระทัยมากที่สุดสองคนคือ โสมสวลีและสมเด็จ เพราะฟ้าชายทรงหนีไปมีนางสนมมากมาย และไม่คิดจะใยดีโสมสวลีต่อไป เพราะโสมสวลีคือลูกสะใภ้ที่แม่ต้องการ ส่วนเมียสุดที่รักของฉันคือ ยุวธิดา
การที่สมเด็จทรงเชิดฟ้าชายผู้อยู่ในโอวาทให้มีบทบาทที่จะรับตำแหน่งกษัตริย์ต่อไป ด้วยการกุมบังเหียนได้ทั้งหลานและลูก นับเป็นความสำเร็จทางการเมืองชิ้นสำคัญ แต่สมเด็จก็ทรงพร่ำเพ้อว่าพระองค์ทรงไม่รู้จักการเมืองและไม่ปรารถนาที่จะยุ่งเกี่ยว นอกจากการช่วยเหลือประชาชนผู้ยากไร้อย่างฉาบฉวย และหากสิ่งนี้คือการเมือง พระองค์ก็อดไม่ได้ที่อุทิศตัว เพื่อช่วยเหลือพวกเขาอย่างสุกเอาเผากินกันต่อไป พระองค์ถึงกับปรารภว่า “คนที่จนที่สุดบวกจนที่สุดคือชาวเขาและชาวไทยอิสลาม จนอย่างชนิดที่เราไม่เคยเห็น อิสานก็ไม่เคยเห็นอย่างนั้น เสื้อผ้ากะรุ่งกะริ่ง ร่างกายซูบซีดขาดเลือด ฉันให้แม่ทัพใต้ ตอนนั้นคุณปิ่น ธรรมศรี คุณเปรมเป็นผู้ช่วยหรือรองผบ.ทบ. ฉันไม่เข้าใจว่ารองหรือผู้ช่วยต่างกันอย่างไร คุณเปรมไปเฝ้าที่นั่น คุณเปรมก็บอก “ปิ่น ทำไมไม่ช่วยราษฎรล่ะ” คุณปิ่นบอก “แหม ก็ไปก้าวก่าย” อันนี้ก็การเมืองอีกใช่ไหม ฉันไม่ทราบจะทำอย่างไร การเมืองนี่เป็นอย่างไร ฉันไม่ทราบจะทำอย่างไร เพราะราษฎรเอามาให้ช่วย ขนาดจุฬาภรณ์และสิรินธรถึงกับเคยแย่งฎีกาชาวบ้านจากมือของตำรวจพระราชวัง โธ่ คุณ ถ้าเผื่อปิดนี่ บ้านเมืองเราจะไปไม่ไหวนะ ราษฎรไม่รู้จะออกทางไหน เราก็มีหน้าที่เอามา แล้วเอาไปให้แก่รัฐบาลเท่านั้น” (๙)
สมเด็จแม้จะรู้ว่าชาวบ้านอดอยากแร้นแค้นมาก แต่พระองค์ไม่เคยทรงทราบเลยว่า เลือดของประชาชนที่ขาดหายไปจนซูบซีดนั้น ใครเป็นผู้สูบไป พระองค์ก็ไม่ต่างจากจอมเผด็จการทั้งหลายในโลกรวมทั้งพระนางซูสีไทเฮา ซึ่งไม่เคยทราบต้นสายปลายเหตุความทุกข์ยากของแผ่นดิน พวกเขาได้แต่สงสาร เห็นใจและสงเคราะห์ช่วยเหลือไปตามความสบายใจของตน พระองค์หารู้ไม่ว่า ก็เพราะอำนาจของสถาบันพระองค์ที่ครอบงำความก้าวหน้าของสังคม และคอยค้ำจุนระบบคนกินคนอันเลวร้ายของสังคม ขณะเดียวกันธุรกิจสมัยใหม่ของทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ก็มีส่วนร่วมสูบเลือดชาวไทยให้หนักหน่วงยิ่งขึ้น อิทธิพลของสถาบันพระมหากษัตริย์ คือ ต้นตอความยากจนทุกข์เข็ญของประชาชนทั่วทั้งประเทศ
ขณะที่สมเด็จทรงใช้กลเม็ดเด็ดพรายแย่งราชบัลลังก์จากกษัตริย์ผู้ฆ่าพี่ชายอย่างเลือดเย็น มาสู่ตระกูลของตนพร้อมกับซ่องสุมกำลังทหารเสือราชินี, ผลักดันอาทิตย์ กำลังเอกขึ้นเป็นผู้บัญชาการทหาร เพื่อหวังกุมอำนาจทั่วทั้งแผ่นดินมาสู่กำมือของตนเช่นนี้แล้ว พระองค์ยังจะกล้าเอ่ยปากว่า พระองค์ไม่รู้จักคำว่าการเมืองอีกหรือ เพราะทุกย่างก้าวของความมักใหญ่ใฝ่สูง ล้วนกระทบกระเทือนต่อชีวิตตัวดำๆของชาวไทยทั่วทั้งประเทศ หากพระองค์มีเจตนาหวังดีต่อประชาชนอย่างแท้จริง ก็จงมาช่วยกันล้มระบบอภิสิทธิ์ของซากเดนศักดินาใหญ่ มาช่วยกันพัฒนาและปลุกความตื่นตัวของประชาชนให้สามารถคุ้มครองและช่วยเหลือตนเอง ในการต่อสู้เพื่อปากท้องในสังคมอย่างยุติธรรมต่อไป เปิดให้มีการกระจายอำนาจการปกครองไปสู่ท้องถิ่นอย่างจริงจัง ทำการปฏิรูปที่ดินและสร้างการชลประทานอย่างต่อเนื่องทั่วประเทศ ก่อตั้งระบบสหกรณ์ที่มีประสิทธิภาพขึ้นมาใหม่ ให้ก่อตั้งสหภาพแรงงานเพื่อต่อรองกับนายจ้างอย่างยุติธรรมตามกฎหมายแรงงาน ให้ช่วยกันสร้างเศรษฐกิจของชาติให้พ้นจากอิทธิพลของต่างชาติที่คอยสูบเลือดเรา หากสมเด็จและกษัตริย์ภูมิพลทรงรักประชาชนและประเทศไทย และต้องการให้ประเทศไทยก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศทั้งหลาย ขอให้พระองค์สละราชสมบัติ ยกเลิกระบบกษัตริย์ซึ่งค้ำจุนความคิดและระบบอันล้าหลัง งมงายลงเสีย เปลี่ยนการปกครองเป็นประเทศสาธารณรัฐมีประธานาธิบดี ควรเป็นประมุขของชาติที่อยู่ใต้กฎหมาย และไม่มีอำนาจบริหารประเทศใดๆทั้งสิ้น และหากพระองค์คิดว่าประชาชนยังคงรักและเห็นความดีงามของพระองค์ พระองค์ก็จะได้เป็นประธานาธิบดีคนแรกที่ประชาชนยกย่องนับถือ และหากองค์รัชทายาทเป็นผู้ที่ดีพอ ตำแหน่งประธานาธิบดีคงไม่แคล้วคลาดจากฟ้าชาย ยุคสมัยแห่งการสืบสันตติวงศ์ เอาเพียงสายโลหิตของกษัตริย์เป็นเครื่องวัดความดีงาม และสืบทอดตำแหน่งประมุขของชาติอย่างงมงายควรจะเลิกกันเสียที ประชาชนผู้ทุกข์ยากจำนวนล้านๆไม่อาจทนหิวโหย ผอมโซอีกต่อไปแล้ว ขอพระองค์จงเร่งตัดสินใจ ก่อนที่จะสายเกินกาล เมื่อวันนั้นมาถึง ชาติตระกูลของพระองค์คงต้องสูญสิ้น ขณะที่ประเทศและประชาชนจะช่วยกันสร้างชาติไทยให้รุ่งโรจน์สืบไป
          ๑. สุพจน์ ด่านตระกูล แถลงการณ์เรื่องความบริสุทธิ์ของนายปรีดี พนมยงค์ ในกรณีสวรรคตของ ร.๘ (ไทยแลนด์การพิมพ์,๒๕๒๒) หน้า ๖๒
๒. ๒. ดูประชุมประกาศในสมัยรัชกาลที่ ๔ ที่คุรุสภาพิมพ์
๓. พระราชเสาวนีย์ต่อสมาคมนักข่าวหญิงแห่งประเทศไทย ดู...มาตุภูมิ วันที่ ๒๗ กค. ๒๔
๔. เรื่องเดิม
๕. สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ “ความทรงจำในการตามเสด็จต่างประเทศ” อนุสรณ์ พล.ต.อ.หลวง วรยุทธวิชัย (วรยุทธ จารุมาศ) (โรงพิมพ์อักษรประเสริฐ,๒๕๑๔ หน้า ๔๓)
๖. พระราชกระแส สัมภาษณ์โดย นางอนงค์ เมษประสาท หนังสือสยามใหม่ ฉบับที่ ๗๑, ๒๒ ส.ค. ๒๕๒๔ หน้า ๑๒ พระองค์ให้สัมภาษณ์ว่า “ทรงโปรดการแต่งพระองค์งาม อันนี้จริง ฉันเป็นคนที่แก้ไม่หาย เพราะชอบสวยงาม อีกประการหนึ่ง ชาวบ้าน นานๆเขาจะเห็นเราสักทีหนึ่ง โดยมากชั่วชีวิตเขาก็เห็นไม่กี่ครั้งเลย คิดว่าพยายามแต่งตัวให้ดี ให้เขาเห็น ให้เขาจำเราได้
๗. หนังสือเสด็จประพาสอเมริกา
๘. พระราชกระแส สัมภาษณ์โดย นางอนงค์ ดมษประสาท หนังสือสยามใหม่ ฉบับที่ ๗๑ หน้า ๔...
๙. เรื่องเดิม หน้า ๑๙
"ปัญหาหลักที่เจอคือพอระบบใหม่มา เด็กเองเกิดควากดดันที่ต้องปรับตัว ส่วนผู้ปกครองก็ต้องทำความเข้าใจใหม่ทั้งหมดกับระบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัยปัจจุบัน ซึ่งแตกต่างจากรุ่นพ่อแม่โดยสิ้นเชิง" นพ. อภิชาติ จริยาวิลาศ จิตแพทย์ กรมสุขภาพจิต
 
คลิกดู-แพทย์แนะนักเรียน-ผู้ปกครอง "Dek61" รับมือความกดดันด้วยสติ
หลังจาก "ธนาธร" นำทีม "พรรคอนาคตใหม่" ประกาศฉีกรัฐธรรมนูญปี 60 ไม่นาน "ประวิตร" ก็ออกมาห้าม ระบุว่าทำไม่ได้เพราะผิดกฏหมาย แล้ว "รัฐธรรมนูญฉบับนี้แก้ไขได้หรือไม่..."

กษัตริย์ เฒ่าหัวงูผู้ไม่อิ่มในกามคุณ

กษัตริย์ เฒ่าหัวงูผู้ไม่อิ่มในกามคุณ

“อยู่มาหมู่ข้าเฝ้า ก็หาเยาวนารี
ที่หน้าตาดีดี ทำมโหรีที่เคหา
ค่ำเช้าเฝ้าสีซอ เข้าแต่หอล่อกามา”

รัชกาลที่ ๔ กษัตริย์ เฒ่าหัวงูผู้ไม่อิ่มในกามคุณ 

รัชกาลที่ ๔ ทวดของรัชกาลที่ ๙ เป็นผู้ที่มีประวัติโลดโผนมาก ก่อนเป็นกษัตริย์เคยบวชมานานและมีสาวกมาก เพราะเป็นผู้ริเริ่มเทศน์แบบปาฐกถา ซึ่งเร้าอารมณ์ ไม่ใช้การแสดงธรรมตามธรรมเนียมแบบเก่าตามคัมภีร์ซึ่งไม่มีชีวิตชีวา(๑) นอกจากนี้ยังเป็นผู้ที่รู้จักหาเสียงด้วยวิธีที่แหวกแนว โดยมีบรรดาสาวกคอยช่วยเหลือ เผยแพร่การโฆษณาอันเป็นเท็จ เช่น กระพือข่าวว่า ขณะที่เป็นสงฆ์นั้นเพียงแค่พระองค์ขอพระธาตุจากพระปฐมเจดีย์ในปี จศ.๑๑๙๓ พระบรมธาตุก็แสดงปาฏิหาริย์ตาม “เสด็จ” ถึงกรุงเทพฯ พอถึงปีจุลศักราช ๑๑๙๕ ภิกษุฟ้ามงกุฏุธุดงค์ไปถึงชัยนาท ก็มี “จระเข้ใหญ่ลอยขึ้นเหนือน้ำชื่นชมบารมี” ครั้นนั่งวอไปสวรรคโลก ก็พบเสือร้ายใหญ่เท่าโค นอนกระดิกหางชื่นชมบารมีห่างจาก “ทางเสด็จ” เพียง ๘ ศอก ครั้นไปถึงแก่งหลวง เมืองสวรรคโลก ซึ่งเป็นหน้าแล้งไม่เคยมีปลามาก่อน ก็บังเกิดมีปลาตะเพียนใหญามากมายเหลือประมาณ กระโดดขึ้นริมตลิ่ง ชื่นชมพระบารมี และพอพระองค์เล่าให้ญาติโยมที่เมืองสุโขทัยฟังว่า เมื่อคืนนี้ได้ฝันว่ามีชาวเมืองสุโขทัยมากมายมาขอให้อยู่ที่สุโขทัยนานๆหน่อยเท่านั้นเอง ก็ปรากฏว่ามีฝนตกใหญ่ จนน้ำท่วมแผ่นดินถึง ๒ วันซ้อนในฤดูแล้ง เป็นปาฏิหาริย์ (๒)

นอกจากนี้ภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎ ยังรู้จักวิธีการที่จะทำให้ประชาชนศรัทธาตนด้วยวิธีการแปลกๆไม่ต่างจากที่กล่าวไปแล้ว พระองค์ถึงกับหลอกลวงให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็น “ภิกษุยิ่งกว่าภิกษุอื่น” ด้วยการบวชซ้ำบวชซากถึง ๖ ครั้ง ทั้งที่ตามพุทธบัญญัตินั้น ทรงอนุญาตให้ทำอุปสมบทกรรมด้วยญัตติจตตุถกรรมวาจาเพียงคราวเดียว (๓) ก็สำเร็จเป็นสงฆ์ ภาษิตไทยที่ว่าชายสามโบสถ์นั้นคบไม่ได้ แต่พระองค์เป็นถึงชาย ๖ โบสถ์จะน่าคบหาสมาคมด้วยเพียงใด ท่านผู้อ่านก็ลองใช้สติปัญญาตรองดูเอาเถิด
โดยพื้นฐานแล้ว ภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎอยากเป็นกษัตริย์มากกว่าเป็นพระ ตามสิทธิแห่งการเป็นโอรสของราชินี และตามความปรารถนาของบิดา ซึ่งพระยาตรังรัตนกวีแห่งรัตนโกสินทร์ตอนต้น บอกให้เรารู้ว่ารัชกาลที่ ๒ นั้นประกาศตั้งแต่ยังไม่สวรรคตว่า จะให้เจ้าฟ้ามงกุฎเป็นกษัตริย์(๔) แต่ด้วยสติปัญญาของเจ้าฟ้ามงกุฎเองก็รู้ว่า ถ้าตนสึกเมื่อใด ก็หัวขาดเมื่อนั้น จึงทนอดเปรี้ยวไว้กินหวานเพื่อสะสมกำลัง โดยหวังที่จะเอาอย่างบุตรของพระเอกาทศรถผู้หนึ่ง ซึ่งบวชจนได้เป็นพระพิมลธรรมและมีญาติโยมมากกระทั่งสามารถยกกำลังเข้าไปในวัง และจับกษัตริย์ศรีเสาวภาคปลงพระชนม์ แล้วสถาปนาตนเองเป็นพระเจ้าทรงธรรมสมัยอยุธยา
การสะสมกำลังของภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎนั้น ใช้วิธีการที่น่าเกลียดไม่แพ้รัชกาลที่ ๑ ปู่ของตนเอง ซึ่งใส่ร้ายป้ายสีพระภิกษุทั่วทั้งแผ่นดิน ดังจะเห็นได้ว่า พอพระองค์บวชอยู่ที่วัดมหาธาตุได้ไม่ถึงปี ก็วิจารณ์พระภิกษุไทยว่า “สมณะเหล่านั้น ไม่เป็นที่นำมาซึ่งความเลื่อมใสศรัทธา เปรียบเหมือนต้นไม้ที่ไม่มีรากเหง้าอันเน่าผุพัง” ครั้นไปถามปัญหาต่างๆกับท่านที่เป็นอาจารย์ “ก็งุบงิบอ้อมแอ้ม ไม่อธิบายให้กระจ่างสว่างได้” จึงต้องไปศึกษาพระธรรมวินัยกับภิกษุมอญ (๕) หลังจากนั้นอีก ๕ ปี ก็ใส่ไคล้ว่าสงฆ์หลายร้อยรูปในวัดมหาธาตุที่สถิตย์ของพระสังฆราช อุปัชฌาย์ของพระองค์เอง เต็มไปด้วยภิกษุลามกอลัชชี (๖) จึงหนีไปตั้งธรรมยุตินิกายที่วัดสมอราย (๗)
การที่ภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎคุยเขื่องถึงเพียงนี้ นับเป็นเรื่องที่น่าตลกมาก เพราะเมื่อพระองค์บวชไม่ถึง ๑๒ เดือน ยังเป็นนวภิกขุ แปลบาลีก็ไม่ได้ กลับเพ้อเจ้อว่าพระมอญรู้วินัยดีกว่าพระไทย และยังมีสติปัญญาแก่กล้าถึงขนาดที่ถามปัญหาธรรม ไล่ต้อนจนอาจารย์จนแต้มได้ พึงทราบว่าอุปัชฌาย์ของพระองค์ สมเด็จพระสังฆราช(ต่วน) ธรรมดานั้น ภิกษุใหม่มีปัญหาอะไร ย่อมต้องศึกษาหาความรู้กับอุปัชฌาย์ ในกรณีของภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎนี้เป็นไปได้หรือที่ พระสังฆราชประมุขของสงฆ์ทั่วราชอาณา ถึงกับจนแต้มศิษย์น้อยจอมกระล่อนที่บวชพระได้ไม่ถึงปี? ถ้าไม่เรียกว่าเป็นการโป้ปดมดเท็จแล้วจะเรียกว่าอะไร?
แน่นอนการที่ภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎ ยกตนข่มครูโดยปราศจากความเคารพด้วยการอุตริมนุสธรรมเช่นนี้ ก็เพื่อเหตุผลประการเดียว คือการโฆษณาหาเสียง สร้างความนิยมในหมู่สาวก เพื่อเตรียมการเป็นกษัตริย์ในวันหน้า

การดึงเอาพระศาสนามาแปดเปื้อนการเมืองของภิกษุมงกุฎนั้น มิใช่จะไม่มีผู้ใดจับได้ไล่ทัน คุณ ส.ธรรมยศ นักปรัชญาคนสำคัญวิจารณ์ว่า ธรรมยุติและมหานิกายมีวัตรปฏิบัติต่างกันเพียงเล็กน้อย เช่น วิธีการครองผ้า วิธีสวดมนต์ และวิธีลงอุโบสถสังฆกรรม ซึ่งเป็นความแตกต่างเพียงเศษหนึ่งแห่งเสี้ยวธุลีดิน ไม่เหมือนกับนิกายแคทอลิคและโปรแตสแตนในคริสต์ศาสนา ซึ่งแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ตั้งแต่ วัด คัมภีร์ ชีวิตของพระและการแต่งกาย จึงไม่มีเหตุผลเพียงพอที่พระองค์จะแยกธรรมยุติเป็นอีกนิกายหนึ่งต่างหากจากมหานิกาย เหมือนกับที่โปรแตสแตนแยกตัวออกจากแคธอลิค(๘)
หากจะกล่าวถึงสาเหตุที่ภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎ แยกตนมาตั้งธรรมยุตินิกาย และรังเกียจไม่ให้คณะมหานิกายซึ่งเป็นสงฆ์ส่วนใหญ่ของประเทศร่วมสังฆกรรมกับตน โดยไม่ยอมรับว่าการอุปสมบถกรรมของฝ่ายมหานิกายบริสุทธิ์พอ คือไม่ถือว่าคณะภิกษุฝ่ายมหานิกายเสื่อมถอยไปเสียจากพระธรรมวินัย จึงยังไม่นับว่ามีเหตุผล เพราะใครจะกล้าอวดอ้างว่า โดยพื้นฐานแล้วมหานิกายตกต่ำกว่าธรรมยุติ ดูเอาแต่ประมุขของแต่ละคณะเถิด ใครจะกล้ายืนยันว่าสมเด็จปาวัดโพธิ์พระสังฆราชองค์ก่อนฝ่ายมหานิกาย มีวัตรปฏิบัติอ่อนด้อยกว่าสมเด็จวัดมงกุฎ สังฆราชองค์ก่อนหน้าท่าน และอ่อนด้อยกว่าสมเด็จวัดราชบพิธ สังฆราชองค์ปัจจุบันซึ่งเป็นฝ่ายธรรมยุตินิกาย หากย้อนไปสู่อดีตใครเลยจะกล้ารับรองว่าภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎ มีศีลบริสุทธิ์และสันโดษเสมอด้วยพระเถระฝ่ายมหานิกาย ซึ่งมีอยู่ในยุคสมัยใกล้เคียงกับพระองค์ เช่น สมเด็จพุฒาจารย์(โต)และสมเด็จพระสังฆราช(สุก) ซึ่งเชี่ยวชาญในวิปัสสนาธุระจนทำให้ไก่ป่าเชื่องได้
ด้วยเหตุนี้ คุณ ส.ธรรมยศ จึงวิจารณ์ว่า การที่ภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎตั้งนิกายธรรมยุตินั้น “ไม่ใช่เนื่องจากแต่ความเสื่อมโทรมของศาสนา กล่าวให้ชัดก็คือ ทรงตั้งธรรมยุติกะขึ้นมาในนามของพระพุทธศาสนา เพื่อการเมือง คือเอาพระพุทธศาสนามาเป็นโล่ เป็นเครื่องมือของพระองค์เพื่อชิงเอาราชสมบัติ” (๙)
ในที่สุดเจ้าฟ้ามงกุฎก็เล่นการเมืองเต็มที่ ด้วยการคบหากับขุนนางตระกูลบุนนาคขณะที่ยังอยู่ในสมณเพศ เพื่อสร้างหนทางทอดไปสู่ความเป็นกษัตริย์ สำหรับจุดเริ่มต้นแห่งสัมพันธภาพดังกล่าวนั้น กรมฯดำรงราชานุภาพเล่าไว้ในหนังสือประวัติเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ว่า เมื่อจวนสิ้นรัชกาลที่ ๓ นั้นพวกบุนนาคอยากให้ภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎเป็นกษัตริย์ จึงปฏิสังขรณ์วัดบุปผารามเป็นวัดธรรมยุติ จนสามารถสนิทสนมกับพระองค์ตั้งแต่คราวนั้น(๑๐)
ในที่สุดพอถึงปลายรัชกาลที่ ๓ ภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎก็กำลังกล้าแข็งมาก ในวันอังคารเดือน ๓ ขึ้น ๑๐ ค่ำ เป็นวันที่รัชกาลที่ ๓ มีอาการทรุดหนัก สุดวิสัยที่จะรักษาได้ ในวันพุธ เดือน ๔ แปดค่ำเจ้าพระยาพระคลัง หัวหน้าพวกบุนนาคจึงเชิญภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎขึ้นเป็นกษัตริย์ ทั้งที่รัชกาลที่ ๓ ยังมาสวรรคต(๑๑)
ในคราวที่รัชกาลที่ ๒ สวรรคตนั้น ภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎเที่ยวถามใครต่อใคร เช่น น้าชายของตนเอง และกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรสว่า ควรสึกเพื่อเรียกร้องสิทธิที่จะได้รับสมบัติหรือไม่ จนได้ข้อสรุปว่าไม่ควรสึก แต่เมื่อเวลาล่วงเลยมาถึงคราวรัชกาลที่ ๓ จะสิ้นแล้ว พระองค์ไม่พักต้องไปถามใครทั้งสิ้น ยินยอมตกลงตามข้อเสนอของเจ้าพระยาพระคลังด้วยความยินดี โดยไม่ได้อาลัยอาวรณ์ผ้ากาสาวพัสตร์และตำแหน่งประมุขแห่งธรรมยุตินิกายแม้แต่น้อย
ในที่สุดภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎก็ได้เป็นกษัตริย์ ทั้งที่รัชกาลที่ ๓ ไม่ได้ปรารถนาที่จะให้เป็นเช่นนี้เลย เซอร์ แฮรี่ ออด เจ้าเมืองสิงคโปร์สมัยรัชกาลที่ ๔ เขียนจดหมายเหตุเล่าว่า รัชกาลที่ ๓ อยากให้ราชสมบัติตกอยู่กับลูกชายตนเอง(๑๒) ซึ่งก็ได้แก่พระองค์เจ้าอรรณพ เพราะพระองค์เคยมอบแหวนและเครื่องประคำของรัชกาลที่ ๑ อันเป็นของสำหรับกษัตริย์ ให้แก่ลูกชายคนนี้ก่อนสวรรคต(๑๓) แต่โชคร้ายที่พระองค์เจ้าอรรณพไม่ได้สิ่งของดังกล่าวตามสิทธิ(๑๔) เพราะถูกกีดกันจากฝ่ายภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎ ซึ่งต่อมาเป็นรัชกาลที่ ๔ และได้มอบประคำและแหวนดังกล่าวให้แก่รัชกาลที่ ๕ ต่อไป(๑๕) ในภายหลังไม่มีใครรู้เรื่องราวของพระองค์เจ้าอรรณพอีกเลย(๑๖)
สำหรับภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎนั้นพอเป็นพระเจ้าแผ่นดิน พระองค์ก็หลงใหลปลาบปลื้มอยู่กับกามารมณ์ไม่รู้สร่าง พวกขุนนางที่รู้ว่ากษัตริย์พอใจในเรื่องพรรค์นี้ ได้กวาดต้อนเอาผู้หญิงมาบำรุงบำเรอเจ้าชีวิตของตนเต็มที่ เหมือนกับที่สุนทรภู่สะท้อนภาพศักดินาใหญ่ไว้ในกาพย์พระไชยสุริยาว่า

“อยู่มาหมู่ข้าเฝ้า ก็หาเยาวนารี
ที่หน้าตาดีดี ทำมโหรีที่เคหา
ค่ำเช้าเฝ้าสีซอ เข้าแต่หอล่อกามา”

บางคนถึงกับฉุดคร่าตัวเด็กสาวๆจากบิดา มารดามา”กราบ”รัชกาลที่ ๔ อดีตสมภารนักการเมือง “ต้นตระกูลกิตติวุฒโท” แห่งจิตตภาวันในปัจจุบัน เช่น ในกรณีของพระยาพิพิธฤทธิเดช เจ้าเมืองตราด คร่ากุมเอาลูกสาวชาวบ้าน ๓ คนไป “ถวายตัวให้กษัตริย์” เมื่อพ่อแม่เด็กยื่นถวายฎีกา รัชกาลที่ ๔ ที่มัวเมาโมหะกลับหาว่าพระยาพิพิธฤทธิเดชไม่ผิด ผู้ที่ผิดคือพ่อแม่เด็กที่ “เป็นคนนอกกรุง ไม่รู้อะไรจะงาม ไม่งาม” แถมยกย่องว่าพระยาพิพิธฤทธิเดช “ถือน้ำพิพัฒน์สัตยา อยู่ในพระนามพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ควรเห็นว่าเป็นอันเหมือนขนทรายเข้าวัด มิใช่เกาะกรองเร่งรัดลงเอาเบี้ยหอยเงินทองอะไรฤา จะเอาไปถวายเจ้าอื่นนายอื่น ประจบประแจงผู้ใดก็หาไม่ ไม่ควรจะเอาโทษ” (๑๗)
การที่รัชกาลที่ ๔ สะสมนางในไว้ในฮาเร็มมากมายนั้น ถึงกับทำให้ข้าราชการฝ่ายในกับวังจน แทบไม่มีที่อยู่ที่กิน พระองค์เองก็หลงๆลืมๆจำชื่อคนเหล่านั้นไม่ได้หมด (๑๘) ภายในระยะเวลาเพียงสิบกว่าปี แม้ว่าพระองค์จะเฒ่าชะแลแก่ชราเต็มที ก็ยังสามารถผลิตลูกได้ถึง ๘๒ คน(๑๙) เพราะหมกมุ่นอยู่กับอิสตรีไม่มีวันหน่าย ซึ่งนับว่าไม่มีกษัตริย์อื่นใดในกรุงรัตนโกสินทร์จะสู้ได้ เพราะรัชกาลที่ ๕ แชมป์ลูกดกอันดับที่ ๒ ก็ยังมีลูกเพียง ๗๖ คน เมื่อกล่าวถึงความมีเมียมากของรัชกาลที่ ๔ แล้ว ก็อดพูดถึงชีวิตของบรรดาเจ้าจอมหม่อมห้ามของกษัตริย์ไม่ได้ว่ามีชีวิตที่น่าเวทนาเพียงใด เพราะนางสนมทั้งหมดเพิ่งจะพ้นจากวัยเด็ก ไม่ทันพบกับความสดชื่นของชีวิตในวัยสาว ก็ต้องตกไปอยู่ในมือของโคแก่กระหายสวาท
ผู้ที่น่าสงสารที่สุดคือ เจ้าจอมทับทิม เด็กสาวที่มีอายุเพียง ๑๕ ปี ถูกพ่อ “กราบ” เป็นนางบำเรอรัชกาลที่ ๔ อายุ ๖๐ ปี ฟันฟางหักหมดปากตั้งแต่ขณะที่เป็นสงฆ์(๒๐) เหมือนโฉมหน้าท้าวสันนุราช(เฒ่าราคะ)ที่ปรากฏอยู่ในเรื่องคาวีที่ว่า
“...หน้าพระทนต์บนล่างห่างหัก ดวงพระพักตร์เหี่ยวเห็นเส้นสาย...”

เจ้าจอมทับทิมนั้นชอบพอกับพระครูปลัดใบฎีกา ฐานานุกรมของสมเด็จพระสังฆราช(สา)อยู่แล้ว ย่อมไม่ยอมทนอยู่กับตาเฒ่าฟันฟางหักหมดปาก จึงหนีไปกับคู่รัก แต่หนีไม่พ้น ถูกรัชกาลที่ ๔ จับฆ่าทั้งคู่ เหตุการณ์นี้นางแอนนา เลียวโนเวนส์เขียนเอาไว้ มีคนจำนวนมากไม่เชื่อว่าจริง แต่ก็ไม่เห็นมีใครยกหลักฐานมาพิสูจน์ว่าไม่จริงอย่างไร ส. ธรรมยศ นักคิดที่สำคัญคนหนึ่งวิจารณ์ว่า นางแอนนาเขียนหนังสือเกี่ยวกับพระจอมเกล้าไว้ ๘๐,๐๐๐ กว่าคำ แต่ผู้คัดค้านทั้งหลายเขียนหนังสือเกี่ยวกับเรื่องนี้ไม่ถึง ๒,๐๐๐ คำ ทั้งไม่มีสาระเพียงพอที่จะลบล้างถ้อยคำของนางเลียวโนแวนส์เลย
ความจริงแล้วมีนางสนมกำนัลเอาใจออกห่างจากกษัตริย์ตลอดมามากมาย ในสมัยก่อนรัชกาลที่ ๔ เอง ก็มีการฆ่าฟันเจ้าจอมที่เป็นชู้ รวมทั้งชายชู้อีกหลายครั้ง เช่น ในกรณีของพระยากลาโหมราชเสนา(ทองอิน) เป็นชู้กับเจ้าจอมวันทา ของวังหน้ารัชกาลที่ ๑ (๒๑) หรือกรณีของบุตรชายเสนาบดีผู้ใหญ่แห่งตระกูลบุนนาคในรัชกาลที่ ๓ และกรณีของพระอินทรอภัย ฯลฯ เป็นต้น
ส่วนในช่วงหลังรัชกาลที่ ๔ นั้น การฆ่าสตรีในวังก็ยังไม่หมดไป เพียงแต่คราวนี้ผู้ตายมิใช่สนม หากเป็นพระองค์หญิงเยาวลักษณ์ธิดาองค์โตของพระองค์ เพราะไปรักใคร่กับสามเณรรูปหนึ่งของวัดราชประดิษฐ์(๒๒) ชื่อโต ทำให้ฝ่ายชายต้องถูกประหารชีวิต และฝ่ายหญิงถูกเผาทั้งที่ยังไม่ทันตายสนิท ก็ถูกเผาทั้งเป็นเสียแล้ว
เหตุที่นางสนมมีชู้กันมากเช่นนี้ ก็เพราะไม่อาจทนมีชีวิตอยู่ในวังหลวงหรือฮาเร็มของกษัตริย์ที่เต็มไปด้วยสิ่งที่กดดัน ไม่มีเสรีภาพ จะไปไหนมาไหนโดยอิสระก็ไม่ได้ แม้กระทั่งนางกำนัลของพระสนม ถ้าหนีออกจากวังจะต้องได้รับโทษอย่างหนัก(๒๓) นอกจากนี้ยังต้องตกอยู่ในภาวะที่เก็บกดในเรื่องเพศ ซึ่งปุถุชนทั่วไปจะต้องมีอีก นางสนมกำนัลจำนวนมากต้อง “เล่นเพื่อน” เพื่อระบายอารมณ์ ดังจะศึกษาได้จากวรรณกรรมเรื่องหม่อมเบ็ดสวรรค์ ที่แต่งโดยคุณสุวรรณ์ กวีหญิงผู้โด่งดังในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ซึ่งได้สะท้อนภาพของราชสำนักแห่งจักรีวงศ์ อันน่าเกลียดออกมาให้ประชาชนเห็นอย่างกะจะแจ้ง
น่าสังเกตว่าการ “เล่นเพื่อน” ในวังมีมากจนรัชกาลที่ ๔ ก็กลัวว่าลูกสาวของตนจะเล่นเพื่อน ทั้งนี้น่าจะเพราะรู้ดีว่า สตรีชั้นสูงในวังมักไม่มีผัว ด้วยสตรีสูงศักดิ์จะแต่งงานกับชายที่ต่ำศักดิ์กว่าไม่ได้ (๒๔) จึงถึงกับอุตส่าห์เขียนจดหมายสั่งลูกสาวทุกคนไม่ให้”เล่นเพื่อน”
เมื่อกล่าวถึงเพียงนี้ ขอย้อนถามผู้ที่ปกป้องรัชกาลที่ ๔ จนเกินขอบเขตว่า ก็ในเมื่อมีการฆ่าเจ้าจอมที่เอาใจออกห่างกษัตริย์แก่ ตลอดมาเช่นนี้แล้ว ทำไมการฆ่าเจ้าจอมทับทิมจะเกิดขึ้นไม่ได้เล่า

เมื่อกล่าวถึงบรรดาสนมนางกำนัลรุ่นเด็กแล้ว ไม่กล่าวถึงบรรดาเจ้าจอมที่มีอายุมากบ้างก็จะมองดูชีวิตแต่งงานของรัชกาลที่ ๔ ไม่ครบทุกด้าน ปกติแล้วเจ้าจอมที่มีอายุมากของพระองค์นั้นจะถูกมองเป็นของเก่าแก่ ที่เขรอะไปด้วยสนิม ต้องถูกทอดทิ้งให้อยู่ตามลำพัง จึงมีความรู้สึกเก็บกดไม่ต่างไปจากเจ้าจอมวัยรุ่นทั้งหลาย ชีวิตของเจ้าจอมมารดาน้อยที่อยู่กินกับรัชกาลที่ ๔ ตั้งแต่ขณะที่มิได้บวชเป็นพระ นับเป็นตัวอย่างของเรื่องนี้ การที่เจ้าจอมมารดาน้อยเห็นรัชกาลที่ ๔ หมกมุ่นอยู่เฉพาะกับเจ้าจอมหม่อมห้ามสาวๆ ทำให้เจ้าจอมมารดาน้อยได้รับความขมขื่นและน้อยอกน้อยใจมาก ดังนั้น วันหนึ่งเจ้าจอมมารดาน้อยจึงลงเรือเก๋งสั่งให้นายท้ายเรือ พายเรือไปเทียบกับเรือพระที่นั่งของรัชกาลที่ ๔ หน้าวัดเขมา นนทบุรี จนได้เห็นพระองค์ห้อมล้อมไปด้วยนางสนมเด็กเสนอหน้าราวดอกเห็ด ก็เลยให้ข้าหลวงที่ไปด้วย หัวเราะฮาๆเย้ยหยัน รัชกาลที่ ๔ กลับโกรธ หาว่าเจ้าจอมมารดาน้อย “ตามมาล้อต่อหน้านางสนมใหม่ๆสาวๆ” (๒๖) จึงให้จับเอาตัวไปขังไว้ในวังหลวง เจ้าจอมมารดาน้อยอ้างว่า “จะตามไปกรุงเก่าด้วย” (๒๗) พระองค์ไม่ฟังเสียง กลับนึก อยากจะใคร่ให้เอาไปตัดหัวเสียตามสกุลพ่อมัน...” (๒๘) (เจ้าจอมมารดาน้อยเป็นหลานพระเจ้าตากสิน) จึงไม่ยอมยกโทษให้ เจ้าจอมมารดาน้อยผู้นั้นต้องติดคุกสนมจนตาย แล้วถูกนำศพไปเผาที่วัดตรีทศเทพ ไม่ได้เข้าเมรุกลางกรุงเหมือนเขา (๒๙) ซึ่งก็นับว่าเป็นเรื่องที่น่าสังเวชใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะขณะที่รัชกาลที่ ๔ บวชอยู่ ไร้อำนาจ เจ้าจอมมารดาน้อยเป็นผู้อุปัฏฐากส่งสำรับเช้าเพลด้วยความซื่อสัตย์ แม้ว่าทั้งตัวเองและลูกๆถูกกลั่นแกล้งรังแกโดยศักดินาที่เป็นศัตรูของรัชกาลที่ ๔ อย่างไรก็ยอมทน (๓๐) พระองค์กลับไม่ยอมคิดถึงคุณงามความดีเลย
ด้วยเหตุนี้คุณกี ฐานิสสร อดีตสมาชิกสภาจังหวัดนครศรีธรรมราช จึงแต่งหนังสือวิจารณ์รัชกาลที่ ๔ ว่า “มิใช่ลักษณะบุรุษอาชาไนยหรือนารายณ์อวตารแบ่งภาคมาเกิด... ความจริงเป็นบุคลิกลักษณะของทศกรรฐ์อวตารแบ่งภาคมาเกิด หรือเป็นพระเจ้าเสือทีเดียว อันที่จริงละม้ายคล้ายจมื่นราชามาตย์ เผาวังทั้งเป็นเพื่อปรุงเป็นอาหาร สุนทรภู่ (ความจริงพระมหามนตรี (ทรัพย์)-ผู้แต่ง) แต่งกลอนเยาะเย้ยว่า มีบุญเหมือนเจ้าคุณราชามาตย์ ร้ายกาจเหมือนยักษ์มักกะสัน ฉะนั้น” (๓๑)
บางท่านอาจเห็นว่าคุณกี ฐานิสสร พูดจารุนแรงเกินไป แต่ข้าพเจ้าเห็นว่าไม่รุนแรงเลย ท่านผู้นี้เคยถูกพนักงานสอบสวนฟ้องในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เนื่องจากการวิจารณ์ดังกล่าว แต่ศาลก็ยกฟ้อง แสดงว่าทัศนะของคุณกี ฐานิสสรถูกเป้า ตรงประเด็น เป็นความจริงทุกอย่าง แม้แต่ศาลก็ไม่เห็นผิด

ผู้ที่มองเห็นเบื้องหลังของรัชกาลที่ ๔ อย่างทะลุปรุโปร่ง ไม่ได้มีเฉพาะคนอย่างคุณกี ฐานิสสร ซึ่งมีชีวิตในยุคหลังเท่านั้น แม้แต่สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) แห่งวัดระฆังยอดสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ในรัชกาลที่ ๔ ที่มีชื่อเสียงในเรื่องความมักน้อย(สมถะ) ก็ยังเคยเดินถือไต้ดวงใหญ่ เข้าวังหลวงในเวลาเที่ยงวัน ปากก็บ่นว่า “...มืดนัก....ในนี้มืดนัก มืดนัก...” (๓๒)
เมื่อพูดถึงรัชกาลที่ ๔ แล้ว ถ้าไม่พูดถึงความขัดแย้งระหว่างพระองค์กับพระปิ่นเกล้าน้องชายเลย ย่อมไม่อาจจะเห็นภาพของราชสำนักที่เต็มไปด้วยการชิงดีชิงเด่นได้ ปรากฏความตามจดหมายของรัชกาลที่ ๕ ถึงเจ้าฟ้าวชิรุณหิศเล่าว่า รัชกาลที่ ๔ กับพระปิ่นเกล้าไม่ค่อยจะกินเส้นกันเท่าใดนัก เพราะพระองค์ระแวงที่พระปิ่นเกล้ามีผู้นิยมมาก ทั้งพระปิ่นเกล้าเองก็มักจะกระทำการที่มองดูเกินเลยมาก(๓๓)
พระปิ่นเกล้าไม่ค่อยยำเกรงรัชกาลที่ ๔ กรมดำรงฯเล่าว่า พระปิ่นเกล้ามักจะล้อรัชกาลที่ ๔ ว่า “พี่หิตบ้าง พี่เถรบ้างและตรัสค่อนว่า แก่วัด” (๓๔) ส่วนรัชกาลที่ ๔ เองแม้ไม่อยากยกน้องชายขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินองค์ที่ ๒ แต่ก็จำเป็นต้องทำ ทั้งนี้เพราะรู้ดีว่า มีผู้ยำเกรงพระปิ่นเกล้ากันมากว่าเป็นผู้มีวิชา มีลิ้นดำเหมือนพระเจ้าหงสาวดีลิ้นดำ มิหนำซ้ำยังเหยียบเรือรบฝรั่งเอียง นอกจากนี้ยังมีทหารในกำมือมาก(๓๕) และพระองค์รู้ดีว่า น้องชายก็อยากเป็นกษัตริย์เพราะว่า ขณะเมื่อรัชกาลที่ ๓ ป่วยหนักนั้น พระปิ่นเกล้าได้เข้าหาพี่ชายถามว่า “พี่เถร จะเอาสมบัติหรือไม่เอา ถ้าเอาก็รีบสึกไปเถอะ ถ้าไม่เอาหม่อมฉันจะเอา...” (๓๖) พระองค์จึงตั้งพระปิ่นเกล้าเป็นกษัตริย์องค์ที่ ๒ เพื่อระงับความทะเยอทะยานของน้องชาย
แต่นานวันความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้องทั้งสองคนก็ห่างเหินกันมากขึ้นทุกที รัชกาลที่ ๔ นั้นไม่พอใจเป็นอย่างยิ่งที่มีเสียงเล่าลือไปในหมู่คนไทย ลาว อังกฤษ ว่าตนเองเป็นผู้ที่ “...ชรา คร่ำเคร่ง ผอมโซ เอาราชการไม่ได้ ไม่แข็งแรง โง่เขลา” (๓๗) จนกษัตริย์ทนฟังไม่ได้ ต้องออกกฎหมาย ห้ามประชาชนวิพากษ์วิจารณ์พระกายของกษัตริย์ว่า อ้วน ว่าผอม ว่าดำ ว่าขาว ห้ามว่างามหรือไม่งาม (๓๘) ในขณะที่มีเสียงเล่าลือเกี่ยวกับพระปิ่นเกล้าในทางตรงข้าม เช่น มีผู้เล่าลือกันทั่วไปว่า “...วังหน้าหนุ่มแข็งแรง.....ชอบการทหารมาก มีวิทยาอาคมดี....” (๓๙) ข้อที่สร้างความชอกช้ำระกำใจให้กับพระองค์ที่สุดคือการที่พระปิ่นเกล้าไปไหนก็ “ได้ลูกสาวเจ้าบ้านผ่านเมืองแลกรมการมาทุกที” แต่พระองค์มิเป็นเช่นนั้นเลย จึงริษยาและบ่นเอากับคนที่ไว้ใจว่า “...ข้าพเจ้าไปไหนมันก็ว่า ชรา ไม่มีใครให้ลูกสาวเลย ต้องกลับมาแพลงรัง....” (๔๐)
ต่อมาพระปิ่นเกล้าก็สวรรคต แต่การสวรรคตของพระปิ่นเกล้ามีเบื้องหลังมาก ส.ธรรมยศ เขียนไว้ว่า
“ที่พระปิ่นเกล้าทรงสวรรคตด้วยยาพิษโดยพระเจ้ากรุงสยาม (รัชกาลที่ ๔) ทรงจ้างหมอให้ทำ..... ส.ธรรมยศอ้างหนังสือ An English Governor and the Siamese Court ที่เขียนโดยมิสซิสแอนนาเลขานุการของรัชกาลที่ ๔ ว่า เป็นพฤติการณ์ที่รู้เห็นกันทั่วไป และนางใช้คำว่า พระเจ้ากรุงสยามเป็นกษัตริย์ที่โหดร้ายชั่วช้ามาก และที่ร้ายแรงกว่าความชั่วช้าคือ ความผูกอาฆาต พยาบาทอย่างรุนแรง และทรงเป็นกษัตริย์ที่มีพระนิสัยอิจฉาริษยาอย่างมาก โดยยกตัวอย่างไว้มากมาย” (พระเจ้ากรุงสยาม, หน้า ๘๑, ๑๗๘)
และหลังจากที่พระปิ่นเกล้าสวรรคต รัชกาลที่ ๔ ก็ได้แก้แค้นคนทั้งปวงที่นิยมพระปิ่นเกล้า ด้วยการบังคับให้พระนางสุนาถวิสมิตรา ลูกสาวของเจ้าชายแห่งเมืองเชียงใหม่มเหสีของพระปิ่นเกล้า ให้มาเป็นเจ้าจอมของตน แต่พระนางสุนาถวิสมิตราไม่ยอม จึงถูกจับกุมขังไว้ในวังหลวง แต่โชคดีที่หนีไปเมืองพม่าได้ในภายหลัง(๔๑)
         ๑. ส. ธรรมยศ พระเจ้ากรุงสยาม (โรงพิมพ์ ส.สง่า,๒๔๙๕) หน้า ๙๖-๙๗
๒. สมเด็จพระมหาสมณะเจ้า กรมพระยาปวเรศอริยาลงกรณ์ “พระราชประวัติในรัชกาลที่ ๔” (สิริ เปรมจิตต์ รวบรวม) พระบรมราชจักรีวงศ์ (โรงพิมพ์เสาวภาค,๒๕๑๔) หน้า ๒๙๓-๓๐๒
๓. กี ฐานิสสร ประวัติคณะสงฆ์ไทยกับธรรมยุติกประหาร (มณีกรวิทยาการพิมพ์, ๒๕๑๘) หน้า ๙๖-๙๗
๔. หนังสือโคลงดั้นเฉลิมพระเกียรติ ร.๒ ของพระยาตรัง พรรณนาพิธีโสกันต์เจ้าฟ้ามงกุฎก่อน ร.๒ตายว่า
“ปางองค์อิศรราชเจ้า จอมกษัตริย์
หวังหน่อนฤบดินทร์ ธเรศท้าว
ให้สืบสิริพัฒว์ ทรราช
เรืองพระยศอกร้าว ครอบครอง”
๕. พระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เรื่องเดิม หน้า ๒๘๔-๒๘๕
๖. เรื่องเดิม หน้า ๒๙๕
๗. เรื่องเดิม หน้า ๒๙๕
๘. ส. ธรรมยศ เรื่องเดิม หน้า ๑๑๐ และ ๑๑๕
๙. เรื่องเดิม หน้า ๑๐๓-๑๐๔
๑๐. ธงไทย หลอมนิกาย (สีหะพันธ์การพิมพ์ ๒๕๑๘) หน้า ๖๖-๖๗
๑๑. สิริ เปรมจิตต์ เรื่องเดิม หน้า ๒๓๖
๑๒. ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม เรื่องเดิม หน้า ๓๕๒-๓๕๓
๑๓. ส. ธรรมยศ เรื่องเดิม หน้า ๑๔๙
๑๔. โสมทัต เทเวศร์ เรื่องเดิม หน้า ๑๓๔
๑๕. เรื่องเดิม หน้า ๑๓๔
๑๖. ส. ธรรมยศ เรื่องเดิม หน้า ๑๕๗
๑๗. ประกาศเรื่องพระยาพิพิธฤทธิเดช ผู้สำเร็จราชการเมืองตราดส่งหญิงเข้ามาถวาย ๓ คน ปีมะเมีย จศ.๑๒๒๐ ในประชุมกฎหมายประจำศกเล่ม ๖
๑๘. พระจอมเกล้า “ประกาศพระราชทานอนุญาตให้ข้าราชการฝ่ายในทูลลาออกนอกราชการได้ ประชุมประกาศ ร.๕ พ.ศ.๒๔๐๕-๒๔๐๘ (คุรุสภา ๒๕๐๕) หน้า ๑๒๕
๑๙. เรื่องเดิม หน้า (ท) ท.ทหาร
๒๐. ส. ธรรมยศ เรื่องเดิม หน้า ๓๖๐
๒๑. พระจุลจอมเกล้า “พระบรมราโชวาทประทานเจ้าฟ้าวชิรุณหิศ” พระราชนิพนธ์ มูลนิธิพิพิธภัณฑ์วังวรดิศ พระญาติและนิกรของมจ.พูนพิสมัย ดิศกุล(รวบรวม) (ชวนพิมพ์, ๒๕๒๓) หน้า ๕
๒๒. ส. ธรรมยศ เรื่องเดิม หน้า ๒๘๗
๒๓. “พระราชกำหนดใหม่ เรื่อง โทษลักพาคนในพระราชวัง” กฎหมายตราสามดวง เล่ม ๕ (คุรุสภา, ๒๕๐๖) หน้า ๒๕๑-๒๕๔
๒๔. พระจอมเกล้า “ประกาศพรบ.ลักษณะลักพาปีฉลูศัปตศก” ประชุมประกาศ ร.๔ พ.ศ.๒๔๐๕-๒๔๐๘ (คุรุสภา ๒๕๐๔) หน้า ๓๐๗
๒๕. พระจอมเกล้า “พระบรมราโชวาท” พระราชทานในพระเจ้าลูกเธอพระราชหัตถเลขา(มงกุฎราชวิทยาลัย, ๒๕๒๑)หน้า ๖
๒๖. พระจอมเกล้า “พระราชหัตถเลขาถึงเจ้าจอมมารดาผึ้ง ปีเถาะ พ.ศ.๒๓๙๘” พระราชหัตถเลขา (มหามงกุฎฯ ๒๕๒๑) หน้า ๒๙๔-๒๙๖
๒๗. เรื่องเดิม หน้า ๒๙๖
๒๘. เรื่องเดิม หน้า ๒๙๕
๒๙. กี ฐานิสสร เรื่องเดิม หน้า (ท)
๓๐. พระจอมเกล้า “จดหมายถึงกรมหมื่นมเหศวรศิววิลาศ” (ลูกหม่อมน้อย-ผู้เขียน) พระราชหัตถเลขา เรื่องเดิม หน้า ๒๐๔
๓๑. กี ฐานิสสร เรื่องเดิม หน้า (น)
๓๒. ส. ธรรมยศ เรื่องเดิม หน้า ๑๒๒ ดู ฉันทิชัย สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) เล่ม ๑ (คุรุสภา, ๒๕๐๗) หน้า ๑๓
๓๓. พระจุลจอมเกล้า “พระบรมราโชวาทถึงเจ้าฟ้าวชิรุณหิศ” เรื่องเดิม หน้า ๒๖
๓๔. โสมทัต เทเวศร์ เรื่องเดิม หน้า ๑๘๓
๓๕. เรื่องเดิม หน้า ๑๖๕
๓๖. เรื่องเดิม หน้า ๑๗๐
๓๗. พระจอมเกล้า “จดหมายถึงพระยามนตรีสุริยวงศ์” พระราชหัตถเลขา เรื่องเดิม หน้า ๕๘๒
๓๘. พระจอมเกล้า “ประกาศห้ามมิให้กราบบังคมทูลทัก อ้วน ผอม ดำ ขาว” ประชุมประกาศ ร.๔ (คุรุสภา, ๒๕๒๔) หน้า ๑๔
๓๙. พระจอมเกล้า “จดหมายถึงพระยามนตรีสุริยวงศ์” พระราชหัตถเลขา เรื่องเดิม หน้า ๕๘๒
๔๐. เรื่องเดิม หน้า ๕๘๒
๔๑. กี ฐานิสสร เรื่องเดิม หน้า (ฌ)

onsdag 30 maj 2018

รายการสหพันธรัฐไท กับ ส.ธงชัย



รายการสหพันธรัฐไท กับ ส.ธงชัย
ตอน : ตอแหลอำมหิตวิตถาร
โดย : ส.ข้าวเหนียว–ส.ยังบลัด-ส.ร้อย-ลุงสนามหลวง
วันพุธ : 30 /05/2018 เวลา 21.00 น. ประเทศไทย
https://youtu.be/LErSeot53P8 ...
See More

รัชกาลที่ ๑๐ กษัตริย์ที่ไม่สมควรเป็นกษัตริย์

ในหลวงรัชกาลที่10, สมเด็จพระบรมฯ

โดย แสงตะวัน

ถ้าอ้างตามความหมายของ Saint-Just ที่อธิบายไว้ว่า " กษัตริย์นั้นเป็นทรราชโดยธรรมชาติและเป็นอาชญากรรมชั่วนิรันดร  นั้น...
"กษัตริย์ใหม่ที่ชื่อวชิราลงกรณ์เหมาะสมที่สุดตรงตามคำอธิบายของ Saint-Just ที่กล่าวไว้ " ...
Saint-Just อธิบายว่า กษัตริย์นั้นเป็นทรราชโดยธรรมชาติและโดยตัวของมันเอง เราไม่ต้องพิจารณาเลยว่าการกระทำของกษัตริย์หรือการบริหารราชการแผ่นดินของ กษัตริย์มีความผิดทางอาญาหรือไม่ ถ้ากษัตริย์เป็นทรราช   นั่นไม่ใช่เพราะความผิดจากการบริหารราชการแผ่นดินของเขา แต่เขาเป็นทรราชก็ด้วยลักษณะของความเป็นกษัตริย์นั่นแหละ 
 
Saint-Just เสนออย่างชาญฉลาดว่า การที่กษัตริย์ยึดครองอำนาจสูงสุดของประชาชนไปใช้เอง นั่นแสดงให้เห็นว่าลักษณะของความเป็นกษัตริย์เป็นอาชญากรรมนิรันดร (crime éternel) ต่อประชาชน มนุษย์จึงย่อมมีสิทธิสมบูรณ์ในการลุกขึ้นสู้และติดอาวุธ   Saint-Just อธิบายว่า ไม่มีใครสามารถครองราชย์ได้อย่างบริสุทธิ์ผุดผ่อง เพราะ กษัตริย์ทั้งหลายล้วนแล้วแต่เป็นกบฏและเป็นผู้แย่งชิง (usurpateur) อำนาจของประชาชนไป "
ยิ่งถ้าเรานึกถึงปริบทของอำนาจและอภิสิทธิ์มหาศาลที่กษัตริย์มีเหนือสังคมไทย ทั้งทางกฎหมายและการเมือง (ทั้งที่เคยมีอยู่นานแล้ว และที่กษัตริย์องค์นี้สร้างเพิ่มขึ้นในรัฐธรรมนูญ และในกฎหมายราชการในพระองค์ล่าสุด) ทางเศรษฐกิจ (ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์และงบประมาณที่รัฐทุ่มเทในการรักษาและโปรโมตสถาบันกษัตริย์) และทางวัฒนธรรมสังคม (การโฆษณาเชิดชูสถาบันกษัตริย์ทุกวันทางสื่อและระบบการศึกษา)ลักษณะสิ้นเปลืองสูญเปล่า การมีอภิสิทธิ์และอำนาจอย่างไร้ความรับผิดชอบ อยู่ในระดับที่เหลือเชื่อและยากจะพบได้ในโลกสมัยใหม่ศตวรรษนี้มากขนาดไหน ก็ลองประเมินกันดู " ( คัดจากบทความ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล )
วชิราลงกรณ์เป็นคนสั่งให้ประยุทธ์ยึดอำนาจจากรัฐบาลยิ่งลักษ์ เมื่อวันที่ 22 พ.ค 2557 ขณะที่ภูมิพลป่วยหนักนอนรอวันตายซึ่งไม่สามารถสั่งการทำอะไรได้     หลังจากภูมิพลตายลง 13 ต.ค. 2559
 
ต่อมาวชิราลงกรณ์ก็ขึ้นเป็นกษัตริย์รัชกาลที่ 10 ได้รวบอำนาจทุกอย่างไว้ในมือและเพิ่มอำนาจทุกอย่างให้แก่ตนเองยิ่งกว่ารัชกาลที่ 9 ผู้เป็นพ่อเสียอีก    เวลานี้เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปในสังคมไทยและทั่วโลกว่าวชิราลงกรณ์คือกษัตริย์จอมเผด็จการที่มีจิตวิตถาร โมโหร้ายเหี้ยมโหดผิดมนุษย์   ประพฤติตัวไม่เหมาะสมที่จะเป็นประมุขของรัฐ เป็นอันตรายต่อชาติ เป็นภัยต่อสังคม  ผลาญเงินภาษีของชาติไปปีละมากมายมหาศาลทำตัวเป็นอันธพาลแห่งชาติ ใช้ชีวิตอย่างเสเพลอยู่ในต่างประเทศ... ฯลฯ
 
ดังนั้นประเทศไทยและประชาชนชาวไทยจึงไม่มีความจำเป็นที่จะมีกษัตริย์เผด็จการทรราชอย่างวชิราลงกรณ์   ระบอบกษัตริย์เผด็จการทรราชได้ถูกโค่นล้มลงไปแล้วตั้งแต่ปี 2475 ประชาชาติไทยและสังคมไทยจะต้องพัฒนาก้าวไปข้างหน้าสู่ประชาธิปไตย  สู่สิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค ความเท่าเทียมกันของการเป็นมนุษย์ ไม่ใช่จะให้อยู่ใต้ตีนของกษัตริย์ทรราช.จึงเป็นสิทธิและหน้าที่โดยชอบธรรมของพี่น้องชาวไทยทุกคนที่จะลุกขึ้นมาโค่นล้มระบอบเผด็จการกษัตริย์นี้ลง แล้วให้การสนับสนุนการก่อตั้งสหพันธ์รัฐไทตามแนวนโยบายที่ทางสหพันธ์รัฐไทได้ก่อตั้งขึ้นโดยอำนาจทุกอย่างมาจากประชาชนเป็นของประชาชน เพื่อประชาชน และประชาชนเป็นผู้ใช้อำนาจนั้น  เมื่อประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจรัฐแล้วก็จะสามารถบริหารประเทศชาติเพื่อผลประโยขน์ของประชาชนในสังคมตามหลักแห่งความเสมอภาค และความเป็นธรรม มีระบบการตรวจสอบได้ มีระบบการเลือกตั้งที่ยุติธรรมตามระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง

Image may contain: 3 people, people standing