ประวัติศาสตร์ของชาติไทยทีพวกชนชั้นศักดินาพยายามปิดบังอนุชนรุ่นหลัง
รายงานเกี่ยวเนื่อง:5 ธันวา 53 ครบรอบ 101 ปีวีรบุรุษภูพาน
'ข้าพเจ้าเป็นราษฎรไทย ทั้งข้าพเจ้าต้องการให้ทุกๆ คนบนพื้นอันเป็นสยามประเทศนี้เป็นราษฎรเสมอหน้ากันหมด ปราศจากความเหลื่อมล้ำต่ำสูง ความเป็นราษฎรจึงเป็นอุดมคติที่ข้าพเจ้าบูชา'-เตียง ศิริขันธ์ ( 5 ธันวาคม 2452-12 ธันวาคม 2495,นสพ.เสรีราษฎร 9 กรกฎาคม 2479 )
โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
5 ธันวาคม 2553
ประวัติศาสตร์-ประวัติศาสตร์เป็นเครื่องมือสำคัญของรัฐ การปลูกสร้างประวัติศาสตร์เพื่อปลูกความทรงจำให้กับพลเมืองในเรื่องที่อยากให้จดจำ แม้กระทั่งการสร้างขึ้นมาใหม่บนความว่างเปล่า กระทั่งเพื่อโฆษณาชวนเชื่อให้พลเมืองเชื่อตามที่รัฐต้องการ ขณะเดียวกันหลายเรื่องรัฐก็ลบทิ้งออกจากความทรงจำของพลเมือง กรณีครูเตียงและวีรกรรมกู้ชาติของขบวนการเสรีไทย และบทบาทในการสามัคคีสู้รบกับมิตรประเทศอินโดจีน เป็นตัวอย่างที่ดีในประการหลังนี้
( สุภาพสตรีที่เห็นในภาพคือ ท่านผู้หญิงพูนสุข พนมยงค์ ขณะที่ถูกคุมตัวขัอหากบฏสันติภาพ )
เตียง-ประธานสันนิบาตเอเชียอาคเนย์สามัคคีพี่น้องอินโดจีน-รากฐานASEAN
เป็นภารกิจบทบาทที่ไทยสมานสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับประชาชาติอินโดจีน เวียดนาม เขมร ลาว ในการต่อต้านเจ้าอาณานิคม ชาติมหาอำนาจผู้กดขี่ที่กลับมาทวงประเทศเหล่านี้กลับไปอยู่ใต้แอกอาณานิคมอีกครั้งหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่2
ดังนั้นไทยที่มีปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้นำจึงมอบภารกิจหลักนี้ให้"ขุนพลภูพาน"เป็นแกนกลางประสานพลังพี่น้องนักต่อสู้กอบกู้เอกราชอินโดจีนขึ้นทัดทานต้านสู้อย่างเด็ดเดี่ยว
ทว่าความผันแปรของสถานการณ์สากล ประกอบกับความพยายามรื้อฟื้น"อำนาจเก่าแก่"ของพวกซากเดนศักดินาจารีตนิยม โดยฉวยโอกาสจากวิกฤตการณ์ครั้งกรณีร.8สวรรคต เข้ายึดอำนาจ สถาปนารัฐเผด็จการทหาร รื้อฟื้นอำนาจเก่าแก่ของซากเดนศักดินาขึ้นมาผงาดอีกครั้ง เดินตามก้นมหาอำนาจอเมริกา และผลักมิตรประเทศอินโดจีนไปเป็นศัตรู
โฉมหน้าของไทย โฉมหน้าของการเมืองการปกครอง ระบอบประชาธิปไตย และความสัมพันธ์กับประเทศอินโดจีนได้พลิกตาลปัตรจากก้าวหน้าเป็นถอยหลังลงคลองมานับแต่นั้น
และมรดกอัปยศยังคงสืบทอดมาถึงวันเวลานี้ที่ไทยถูกมองจากเพื่อนบ้านด้วยความระแวดระแวงแฝงไปด้วยความไม่ไว้วางใจ
กระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลงหลังเสรีไทยกู้เอกราชสำเร็จ
แม้ขบวนการเสรีไทยจะสิ้นสุดลงภายหลังการเดินสวนสนามเฉลิมฉลองเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2488 ภายหลังจากญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงคราม แต่การล่าเมืองขึ้นยังไม่ได้หมดไปจากดินแดนอินโดจีน และอาจมากขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะในลาว กัมพูชา และเวียดนาม
เพราะในภายหลังฝรั่งเศสเจ้าอาณานิคมกลายกลับเป็นประเทศผู้ชนะสงคราม ก็กลับเข้ารุกรานและแสดงตนเป็นเจ้าอาณานิคมอีก ทั้งๆที่เคยหนีหายไปตอนที่ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกเข้ายึดครองประเทศอินโดจีน ดังนั้นอาวุธของเสรีไทย จึงได้ถูกลำเลียงไปสนับสนุนพี่น้องลาว ภายใต้การนำของเจ้าสุภานุวงศ์ และพี่น้องเวียดนามภายใต้การนำของโฮจิมินห์
เพื่อภารกิจการสนับสนุนการต่อสู้เพื่อเอกราชให้กับพี่น้องสองฝั่งโขง นายปรีดี พนมยงค์ นักเรียนเก่าฝรั่งเศส ได้มอบหมายภารกิจสำคัญให้ครูเตียงสนับสนุนและริเริ่มขบวนการเสรีลาวที่สกลนคร รวมไปถึงบนดอนสวรรค์หนองหาร มีทหารขบวนการเวียดมินห์ของโฮจิมินห์มาร่วมฝึกเพื่อไปรบกับฝรั่งเศส ส่วนโฮจิมินห์เข้ามาพำนักลี้ภัยเพื่อกอบกู้เอกราชอยู่ทางภาคอีสานของไทย
อดีตเสรีไทยอีสานบางส่วน ยังข้ามโขงไปช่วยลาวและเวียดนามในการรบ บริเวณเทือกเขาภูพาน รับคนลาวมาฝึกอาวุธในค่ายเสรีไทย เทือกเขาภูพานภายใต้การดูแลของครูครอง จันดาวงศ์
ขณะที่ไทยกำลังทำหน้าที่ประสานสามัคคีพี่น้องผู้รักชาติในอินโดจีนอยู่นั้น การเมืองไทยก็พลิกผันอย่างรุนแรงอีกครั้ง เมื่อเกิดกรณีสวรรคตของในหลวงรัชกาลที่ 8 เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2489 แม้นายปรีดีที่ทรงอำนาจอยู่ในเวลานั้นได้มีส่วนสำคัญในการสนับสนุนพระราชอนุชา ขึ้นครองราชย์เป็นในหลวงรัชกาลที่ 9 แต่ฝ่ายตรงกันข้ามคือพรรคประชาธิปัตย์ก็นำมาเป็นเหตุโค่นล้มรัฐบาลนายปรีดีอย่างต่อเนื่อง
นายปรีดีได้ลาออกจากนายกรัฐมนตรี และสนับสนุนพลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ขึ้นแทนที่ ขณะเดียวกันในเดือนกันยายน 2490 มีการตั้งขบวนการสันนิบาตเอเชียอาคเนย์ ต่อต้านการกลับมาของฝรั่งเศสเพื่อยึดครองอินโดจีน มีนายเตียง ศิริขันธ์ เป็นประธาน เจ้าสุภานุวงศ์ ผู้นำขบวนการต่อสู้เพื่อเอกราชของลาวเป็นเลขาธิการ นายถวิล อุดล ส.ส.ร้อยเอ็ด เป็นประชาสัมพันธ์ นายเลอฮาย ขบวนการกอบกู้เอกราชเวียดนาม เป็นเหรัญญิก โดยมีปรีดีเป็นต้นคิด รับการสนับสนุนจากโฮจิมินห์ และเจ้าเพ็ดชะราช นักชาตินิยมลาว สร้างความไม่พอใจให้ฝรั่งเศส และอเมริกาเป็นอย่างยิ่ง
นายเตียง ได้ให้การช่วยเหลือขบวนการกอบกู้เอกราชของพี่น้องลาว ลาวอิสระ และพี่น้องเวียดนาม เวียดมินห์ ปีละ 5 ล้านบาท มีส่วนสำคัญในการกอบกู้เอกราช ให้พี่น้องอินโดจีน แม้จะไม่มีโอกาสได้อยู่เห็นวันแห่งชัยชนะของลุงโฮ และเจ้าสุภานุวงศ์ ในวันที่สองประเทศเป็นเอกราชในปัจจุบัน ก็ตาม
8 พฤศจิกายน 2490-รัฐประหารพลิกโฉมประเทศไทย
รัฐบาลสหรัฐฯและหน่วยข่าวกรองกลาง หรือซีไอเอได้สนับสนุนนายทหารกองทัพบกทั้งในและนอกประจำการภายใต้การนำของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ซึ่งรอดพ้นการประหารชีวิตจากข้อหาอาชญากรสงคราม และพลโทผิน ชุนหะวัน ทำรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ที่มีนายปรีดีเป็นผู้สนับสนุน
คณะรัฐประหารอาศัยชนวนจากเหตุการณ์กรณีสวรรคต ซึ่งพลพรรคประชาธิปัตย์ให้ร้ายป้ายสีว่าปรีดีมีส่วนพัวพัน ทำการกวาดล้างกลุ่มการเมืองของนายปรีดี รวมไปถึงสมาชิกเสรีไทย จากนั้นได้ตั้งนายควง อภัยวงศ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เป็นนายกรัฐมนตรี
เตียงได้หลบหนีการจับกุมไปอยู่ภูพาน ฐานที่มั่นเก่าของเสรีไทย เตรียมกำลังเสรีไทยเก่าลงจากเขาภูพานเพื่อตอบโต้และยึดอำนาจจากกลุ่มเผด็จการทหารให้กับนายปรีดีและคณะ แต่ได้รับการขอร้องจากปรีดี เพราะไม่อยากให้คนไทยต้องฆ่ากันเอง
เตียงเคารพนายปรีดี จึงไม่จับอาวุธขึ้นสู้ หลบอยู่บนเทือกเขาภูพานโดยได้รับการช่วยเหลือจากชาวบ้านในสกลนคร ต่อมารัฐบาลได้กล่าวหาเตียงว่าเป็นกบฏแบ่งแยกดินแดนอีสาน โดยอ้างการก่อตั้งองค์การสันติบาตอาเชียอาคเนย์ ทั้งๆที่แนวคิดของปรีดีต้องการสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มประเทศอินโดจีนเพื่อต่อรองกับประเทศตะวันตก ปรีดีเดินทางไปลี้ภัยที่จีน และฝรั่งเศส
26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492-กบฎวังหลวงและการสังหาร4รัฐมนตรีอีสาน
เมื่อ26 กุมภาพันธ์ 2492 ปรีดี พนมยงค์ นำกองกำลังที่เรียกตัวเองว่า "ขบวนการประชาธิปไตย 26 กุมภาพันธ์"เข้ายึดอำนาจแต่ล้มเหลว ถูกปราบปรามลงอย่างเด็ดขาดรุนแรง
มีการสังหารฝ่ายปรีดีไปหลายคน คือพันตรีโผน อินทรทัต ผู้อำนวยการโรงงานยาสูบและอดีตเสรีไทย ถูกตำรวจจับกุมและยิงเสียชีวิตระหว่างถูกควบคุมตัวไปสอบสวนที่วังปารุสกวัน ,พ.ต.อ.บรรจงศักดิ์ ชีพเป็นสุข ผู้บังคับการตำรวจสันติบาล ภายในบ้านพัก ก็เกิดเสียงปืนดังหลายนัด ผู้เข้าจับกุมให้การว่า พ.ต.อ.บรรจงศักดิ์ ขัดขืนและกลายเป็นศพ และดร.ทวี ตะเวทิกุล อดีตทูตไทยในญี่ปุ่น อดีตรัฐมนตรี และปัญญาชนคนสำคัญของกลุ่มปรีดี
หลังเหตุการณ์ปราบกบฎวังหลวงแล้ว รัฐบาลจอมพลป. ซึ่งมีพล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ เป็นผู้ทรงอำนาจในเวลานั้นได้ดำเนินมาตรการเฉียบขาดต่อฝ่ายนายปรีดีอย่างถึงเลือดถึงเนื้อ เกิดเหตุการณ์ที่เรียกกันว่า"กรณีสังหาร4รัฐมนตรีอีสาน"ขึ้นในวันที่ 4 มีนาคม 2492
4 รัฐมนตรีนี้ประกอบไปด้วย นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ อดีต ส.ส.อุบลราชธานี พรรคสหชีพ อดีตรัฐมนตรี 6 สมัย ต่อมาเป็นรัฐมนตรีอุตสาหกรรม ในรัฐบาลปรีดี มีคู่สมรสคือเจ้าศิริบังอร ณ จำปาศักดิ์ ประเทศลาว เป็นหัวหน้าขบวนการเสรีไทยเขตอุบลราชธานี ได้รับเลือกเป็นส.ส.อุบลราชธานีทุกสมัยที่ลงสมัคร ปฏิบัติหน้าที่อย่างกล้าหาญโดยเฉพาะแนวคิดการพัฒนา แม่น้ำโขง ชี และมูล
ผลงานเด่นคือ การเสนอร่างพรบ.คุ้มครองค่าใช้จ่ายประชาชนในภาวะคับขัน ที่เรียกว่าพระราชบัญญัติปักป้ายข้าวเหนียว เพื่อป้องกันพ่อค้าเอาเปรียบผู้บริโภค ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ฝ่ายรัฐบาลนายควง อภัยวงศ์ไม่เห็นด้วย อ้างว่าไม่มีมาตรการควบคุมราคา ในที่สุดรัฐบาลแพ้โหวตในสภาฯที่รับหลักการด้วยคะแนน 65 ต่อ 63 เสียง ทำให้รัฐมนตรีลาออกทั้งคณะ นายปรีดีจึงได้เป็นนายกรัฐมนตรีแทน
นายถวิล อุดล ส.ส.ร้อยเอ็ด 2 สมัย พรรคสหชีพ อดีตรัฐมนตรีในสมัยรัฐบาลนายทวี บุณยเกตุ เป็นหัวหน้าเสรีไทย จังหวัดร้อยเอ็ด เคยเดินทางติดต่อขอความร่วมมือจากประเทศจีน มีแนวคิดที่สำคัญ คือภาษีที่เก็บต้องเป็นประโยชน์กลับคืนสู่ประชาชนทั้งหมด
นายจำลอง ดาวเรือง ส.ส.มหาสารคาม 3 สมัย ปี 2480-2490 ต้องการให้มีการกระจายอำนาจลงสู่ชนบท มีแนวคิดเสรีนิยมต่อต้านเผด็จการทหาร โดยรวมกลุ่มกับนายปรีดี พนมยงค์ นายเลียง ไชยกาล พระสารคามคณาภิบาล นายทองม้วน อัตถากร นายทองดี ณ กาฬสินธุ์ ร่วมกันตั้งพรรคพรรคสหชีพ ยึดถือเค้าโครงเศรษฐกิจของนายปรีดี ออกหนังสือพิมพ์ราย 10 วัน ชื่อสยามอุโฆษในปี 2480 นายเตียง ศิริขันธ์เป็นบรรณาธิการ เป็นรัฐมนตรีติดต่อกัน 4 สมัย ตั้งแต่ปี 2480 - 2490 จนกระทั่งเกิดรัฐประหาร ในปี 2490 เป็นผลให้บทบาททางการเมืองของนายจำลอง ดาวเรือง ยุติลง โดยถูกจับกุมในข้อหากบฎ
ดร.ทองเปลว ชลภูมิ ส.ส.พระนคร เลขาธิการพรรคแนวร่วมรัฐธรรมนูญ มีพล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นหัวหน้าพรรค
นักการเมืองฝ่ายของนายปรีดีถูกจับกุมตัวพร้อมกันในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ในสถานที่ที่ต่างกันออกไป เช่น นายถวิลถูกจับที่สโมสรราชนาวี ดร.ทองเปลว ชลภูมิ ถูกจับ 1 มีนาคมโดยร.ต.อ.ต่อศักดิ์ ยมนาค กับตำรวจสันติบาลไปรอรับถึงเชิงบันไดเครื่องบิน ที่สนามบินดอนเมือง โดยตำรวจส่งโทรเลขเป็นรหัสไปลวงว่าการปฏิวัติสำเร็จแล้วให้รีบกลับ เพราะดร.ทองเปลวได้หลบหนีไปอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งบุคคลทั้ง 4 นี้ ล้วนแต่เป็นนักการเมืองสายของนายปรีดี และ พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ทั้งสิ้น และไม่มีชื่อในประกาศจับ มีการเปิดเผยภายหลังว่า บุคคลเหล่านี้ไม่ได้เป็นฝ่ายก่อการกบฎวะงหลวง แต่ถูกวางตัวให้เป็นผู้ร่างกฎหมายและประกาศฉบับต่างๆหากการปฏิวัติสำเร็จ
บรรดาญาติของผู้ต้องหาไม่ได้ระแวงว่าจะเกิดเหตุร้าย เนื่องจากบุคคลทั้ง 4 ได้เข้าๆออกๆ เรือนจำเป็นประจำในข้อหาทางการเมือง
ค่ำวันที่ 3 มีนาคม 2492 ตำรวจได้เคลื่อนย้ายผู้ต้องหาทั้งหมดไปไว้ที่สถานีตำรวจนครบาลบางเขน โดยอ้างเหตุความปลอดภัย ด้วยรถของตำรวจหมายเลขทะเบียน กท. 10371 โดยมี พ.ต.อ.หลวงพิชิตธุรการ เป็นผู้ควบคุม โดยรับ ดร.ทองเปลว ที่สถานีตำรวจนครบาลปทุมวัน นายจำลองที่สถานีตำรวจนครบาลยานนาวา นายถวิลที่สถานีตำรวจนครบาลนางเลิ้ง และนายทองอินทร์ที่สถานีตำรวจนครบาลสามเสน
เมื่อวิ่งมาถึงหลักกิโลเมตรที่ 12 ถนนพหลโยธิน เวลาประมาณ 3.00 น.(ตีสาม) วันที่ 4 มีนาคม 2492 ใกล้มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ บางเขน ผู้ต้องหาทั้งหมดถูกยิงเสียชีวิตด้วยกระสุนร่างละไม่ต่ำกว่า 10 นัด ในสภาพที่ทุกคนยังสวมกุญแจมืออยู่ โดยได้ส่งศพไปชันสูตรที่โรงพยาบาลกลาง ตำรวจแถลงว่า กลุ่มโจรมลายูพร้อมอาวุธครบมือได้ดักซุ่มยิงเพื่อชิงตัวผู้ต้องหา และได้มีการปะทะกับตำรวจ แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า ตำรวจทั้งหมดราว 20 นายไม่มีใครได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตเลย
สังคมทั่วไปเชื่อว่าเป็นการกระทำของตำรวจภายใต้การบัญชาการของ พลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ ซึ่งมีบทบาทอย่างมากในการปราบกบฏและเป็นรองอธิบดีกรมตำรวจในเวลานั้น
คดีสังหาร 4 อดีตรัฐมนตรีได้ถูกรื้อฟื้นและตัดสินหลังการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2500 โดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ศาลดำเนินคดีในปี 2502 มีผู้ต้องหา 5 ราย แต่เชื่อกันว่าเป็น"แพะ"
กบฎแมนฮัตตัน-กบฎสันติภาพ-สังหารโหดเตียง
เตียงไม่ได้ถูกสังหารโหดในครั้งนั้น แต่เมื่อได้ข่าวสหายรักร่วมอุดมการณ์ทั้งสี่ที่ถูกอำนาจสามานย์ทำร้ายปลิดชีวิต ทำให้นายเตียงเจ็บปวดขมขื่นเป็นอย่างมาก ถึงขนาดได้บันทึกไว้ว่า
นายเตียงคงอยู่บนดินเล่นการเมืองลงสมัครส.ส.ในเวลาต่อมา แต่การเมืองก็ยังคงผันผวนต่อเนื่อง เมื่อเกิดกบฎ"แมนฮัตตัน"ที่นำโดยกองทหารเรือ ในปีพ.ศ.2494และถูกทหารบกปราบปรามลงราบคาบ รัฐบาลก็หวาดระแวงว่ายังกวาดล้างฝ่ายปรีดีไม่สิ้นซาก
ในเดือนพฤศจิกายน 2495 รัฐบาลจอมพลป.ได้กวาดล้างจับกุมฝ่ายค้านจำนวนมากในข้อหากบฏ ที่เรียกกันต่อมาว่า "กบฏสันติภาพ" ซึ่งรวมทั้งการจับกุมตัวท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ภริยาของปรีดี
ในเดือนถัดมา ระหว่างที่เตียงดำรงตำแหน่ง ส.ส. เขาไปประชุมคณะกรรมการนิติบัญญัตินัดพิเศษที่บ้านมนังคศิลา ในเวลาราว14.00 น. วันที่ 12 ธันวาคม 2495 พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจให้ตำรวจเชิญตัวไปพบ ตั้งแต่นั้นมาก็หายสาบสูญไป ไม่ปรากฏตัวอีกเลย
ภายหลังรัฐบาลจอมพลป.ถูกสฤษดิ์ยึดอำนาจในปีพ.ศ.2500 และพล.ต.อ.เผ่าสิ้นอำนาจลง หลักฐานต่อมาปรากฏว่า เตียง ศิริขันธ์ ถูกสังหาร เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2495 หรือ 2 วันหลังจากถูกตำรวจเรียกตัวไป โดยถูกสังหารพร้อมด้วย เล็ก บุนนาค, ผ่อง เขียววิจิตร, สง่า ประจักษ์วงศ์ และชาญ บุนนาค โดยการฆ่ารัดคอ แล้วนำศพไปเผาทิ้งยัดเตาถ่านที่เชิงเขาโล้นกาญจนบุรี ห่างจากแยกลาดหญ้าที่ก.ม.9ประมาณ 2 กิโลเมตร ในพื้นที่ ต.แก่งเสี้ยน อ.เมือง จ.กาญจนบุรี
ขณะนั้นเขามีอายุ 43 ปี
101ปีวีรบุรุษสามัญชน
ศรีบูรพา หรือ กุหลาบ สายประดิษฐ์ ได้กล่าวถึงนายเตียง ตอนหนึ่งความว่า "บุคคลที่มีความสุจริต จริงใจ และบากบั่นในการทำหน้าที่ของตนนั้น เป็นบุคคลที่ข้าพเจ้าเห็นว่าสมควรเป็นผู้แทนราษฎรอย่างยิ่ง ข้าพเจ้าแน่ใจว่า ข้าพเจ้าได้พบคุณสมบัติสาระสำคัญนี้ใน เตียง ศิริขันธ์ ผู้แทนของชาวสกลนคร"
สุภา ศิริมานนท์ นักหนังสือพิมพ์อุดมคติ กล่าวถึงครูเตียงว่า "ในจำนวนผู้แทนราษฎรทั้งหมด…เตียง ศิริขันธ์ เป็นบุคคลที่ดี ซึ่งมีอยู่ไม่กี่คน เตียง ศิริขันธ์ เป็นนักรัฐธรรมนูญที่แท้จริง เขาทำหน้าที่ผู้แทนราษฎรชาวสยาม สมหน้าที่โดยสมบูรณ์"
ส่วนเตียงพูดถึงตัวเองในวัยหนุ่มว่า “...ข้าพเจ้าเป็นคนไทย ข้าพเจ้าเป็นไทแก่ตนเอง ข้าพเจ้าเป็นราษฎรไทยราษฎรสยาม ทั้งข้าพเจ้าต้องการให้ทุกๆ คนบนพื้นอันเป็นสยามประเทศนี้เป็นราษฎรเสมอหน้ากันหมด ปราศจากความเหลื่อมล้ำต่ำสูง...จึงเป็นอุดมคติที่ข้าพเจ้าบูชาอีกอันหนึ่ง” (จากบทความ เตียง ศิริขันธ์ เผยแพร่ใน นสพ.เสรีราษฎร 9 ก.ค.2779)
5 ธันวาคม 2553 ครบ 101 ปีชาตกาลของเตียง ดูเหมือนอุดมคติที่เขาบูชายังยิ่งจะห่างไกล แต่ประชาชนชาวไทยยังยืดหยัดสืบสานเจตนารมณ์ให้สมบูรณ์
************
'ข้าพเจ้าเป็นราษฎรไทย ทั้งข้าพเจ้าต้องการให้ทุกๆ คนบนพื้นอันเป็นสยามประเทศนี้เป็นราษฎรเสมอหน้ากันหมด ปราศจากความเหลื่อมล้ำต่ำสูง ความเป็นราษฎรจึงเป็นอุดมคติที่ข้าพเจ้าบูชา'-เตียง ศิริขันธ์ ( 5 ธันวาคม 2452-12 ธันวาคม 2495,นสพ.เสรีราษฎร 9 กรกฎาคม 2479 )
โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
5 ธันวาคม 2553
ประวัติศาสตร์-ประวัติศาสตร์เป็นเครื่องมือสำคัญของรัฐ การปลูกสร้างประวัติศาสตร์เพื่อปลูกความทรงจำให้กับพลเมืองในเรื่องที่อยากให้จดจำ แม้กระทั่งการสร้างขึ้นมาใหม่บนความว่างเปล่า กระทั่งเพื่อโฆษณาชวนเชื่อให้พลเมืองเชื่อตามที่รัฐต้องการ ขณะเดียวกันหลายเรื่องรัฐก็ลบทิ้งออกจากความทรงจำของพลเมือง กรณีครูเตียงและวีรกรรมกู้ชาติของขบวนการเสรีไทย และบทบาทในการสามัคคีสู้รบกับมิตรประเทศอินโดจีน เป็นตัวอย่างที่ดีในประการหลังนี้
( สุภาพสตรีที่เห็นในภาพคือ ท่านผู้หญิงพูนสุข พนมยงค์ ขณะที่ถูกคุมตัวขัอหากบฏสันติภาพ )
จุดเปลี่ยนประเทศไทย-หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ไทยเป็นอิสรภาพจากผลงานของเสรีไทย ทำให้นายปรีดี พนมยงค์ ขึ้นสู่อำนาจ แต่เกิดจุดเปลี่ยนสำคัญในกรณีร.8 สวรรคตในปี 2489
ต่อมาคณะทหารและกลุ่มจารีตนิยมได้รัฐประหารยึดอำนาจในปี 2490 และกวาดล้างอิทธิพลของฝ่ายปรีดี และคณะราษฎรต่อมาอีกหลายปี ในภาพท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ภริยานายปรีดี ถูกอำนาจเผด็จการจับข้อหากบฎสันติภาพเมื่อ 15 พ.ย.2495 ส่วนเตียง ศิริขันธ์ ถูกสังหารโหดในอีก 1 เดือนถัดมา ฝ่ายปรีดีและคณะราษฎร์ถูกขจัดสิ้นซาก โฉมหน้าประเทศไทยเปลี่ยนจากแกนกลางสมานสามัคคีพี่น้องอินโดจีนมาเป็นฐานทัพให้อเมริกาปราบปรามขบวนการต่อสู้เพื่อเอกราชอินโดจีน ดำเนินนโยบายเผด็จการทหาร ฟื้นฟูกากเดนศักดินาจารีตนิยม พลเมืองไทยกลายเป็นไพร่ฟ้า และยังมีผลพวงตกค้างมาจนทุกวันนี้
นอกจากคุณูปการ ในด้านภารกิจเสรีไทยกอบกู้เอกราชของชาติในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ร่วมกับขบวนการเสรีไทยในและต่างประเทศ ให้ไทยยังคงมีอิสรภาพมาตราบเท่าทุกวันนี้(อ่านวีรบุรุษกู้ชาติ )อีกภารกิจหนึ่งที่ไม่เป็นที่รับรู้ในวงกว้างนักของเตียง ศิริขันธ์ ก็คือภารกิจสันนิบาตเอเชียอาคเนย์
เตียง-ประธานสันนิบาตเอเชียอาคเนย์สามัคคีพี่น้องอินโดจีน-รากฐานASEAN
เป็นภารกิจบทบาทที่ไทยสมานสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับประชาชาติอินโดจีน เวียดนาม เขมร ลาว ในการต่อต้านเจ้าอาณานิคม ชาติมหาอำนาจผู้กดขี่ที่กลับมาทวงประเทศเหล่านี้กลับไปอยู่ใต้แอกอาณานิคมอีกครั้งหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่2
ดังนั้นไทยที่มีปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้นำจึงมอบภารกิจหลักนี้ให้"ขุนพลภูพาน"เป็นแกนกลางประสานพลังพี่น้องนักต่อสู้กอบกู้เอกราชอินโดจีนขึ้นทัดทานต้านสู้อย่างเด็ดเดี่ยว
ทว่าความผันแปรของสถานการณ์สากล ประกอบกับความพยายามรื้อฟื้น"อำนาจเก่าแก่"ของพวกซากเดนศักดินาจารีตนิยม โดยฉวยโอกาสจากวิกฤตการณ์ครั้งกรณีร.8สวรรคต เข้ายึดอำนาจ สถาปนารัฐเผด็จการทหาร รื้อฟื้นอำนาจเก่าแก่ของซากเดนศักดินาขึ้นมาผงาดอีกครั้ง เดินตามก้นมหาอำนาจอเมริกา และผลักมิตรประเทศอินโดจีนไปเป็นศัตรู
โฉมหน้าของไทย โฉมหน้าของการเมืองการปกครอง ระบอบประชาธิปไตย และความสัมพันธ์กับประเทศอินโดจีนได้พลิกตาลปัตรจากก้าวหน้าเป็นถอยหลังลงคลองมานับแต่นั้น
และมรดกอัปยศยังคงสืบทอดมาถึงวันเวลานี้ที่ไทยถูกมองจากเพื่อนบ้านด้วยความระแวดระแวงแฝงไปด้วยความไม่ไว้วางใจ
กระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลงหลังเสรีไทยกู้เอกราชสำเร็จ
แม้ขบวนการเสรีไทยจะสิ้นสุดลงภายหลังการเดินสวนสนามเฉลิมฉลองเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2488 ภายหลังจากญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงคราม แต่การล่าเมืองขึ้นยังไม่ได้หมดไปจากดินแดนอินโดจีน และอาจมากขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะในลาว กัมพูชา และเวียดนาม
เพราะในภายหลังฝรั่งเศสเจ้าอาณานิคมกลายกลับเป็นประเทศผู้ชนะสงคราม ก็กลับเข้ารุกรานและแสดงตนเป็นเจ้าอาณานิคมอีก ทั้งๆที่เคยหนีหายไปตอนที่ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกเข้ายึดครองประเทศอินโดจีน ดังนั้นอาวุธของเสรีไทย จึงได้ถูกลำเลียงไปสนับสนุนพี่น้องลาว ภายใต้การนำของเจ้าสุภานุวงศ์ และพี่น้องเวียดนามภายใต้การนำของโฮจิมินห์
เพื่อภารกิจการสนับสนุนการต่อสู้เพื่อเอกราชให้กับพี่น้องสองฝั่งโขง นายปรีดี พนมยงค์ นักเรียนเก่าฝรั่งเศส ได้มอบหมายภารกิจสำคัญให้ครูเตียงสนับสนุนและริเริ่มขบวนการเสรีลาวที่สกลนคร รวมไปถึงบนดอนสวรรค์หนองหาร มีทหารขบวนการเวียดมินห์ของโฮจิมินห์มาร่วมฝึกเพื่อไปรบกับฝรั่งเศส ส่วนโฮจิมินห์เข้ามาพำนักลี้ภัยเพื่อกอบกู้เอกราชอยู่ทางภาคอีสานของไทย
อดีตเสรีไทยอีสานบางส่วน ยังข้ามโขงไปช่วยลาวและเวียดนามในการรบ บริเวณเทือกเขาภูพาน รับคนลาวมาฝึกอาวุธในค่ายเสรีไทย เทือกเขาภูพานภายใต้การดูแลของครูครอง จันดาวงศ์
ขณะที่ไทยกำลังทำหน้าที่ประสานสามัคคีพี่น้องผู้รักชาติในอินโดจีนอยู่นั้น การเมืองไทยก็พลิกผันอย่างรุนแรงอีกครั้ง เมื่อเกิดกรณีสวรรคตของในหลวงรัชกาลที่ 8 เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2489 แม้นายปรีดีที่ทรงอำนาจอยู่ในเวลานั้นได้มีส่วนสำคัญในการสนับสนุนพระราชอนุชา ขึ้นครองราชย์เป็นในหลวงรัชกาลที่ 9 แต่ฝ่ายตรงกันข้ามคือพรรคประชาธิปัตย์ก็นำมาเป็นเหตุโค่นล้มรัฐบาลนายปรีดีอย่างต่อเนื่อง
นายปรีดีได้ลาออกจากนายกรัฐมนตรี และสนับสนุนพลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ขึ้นแทนที่ ขณะเดียวกันในเดือนกันยายน 2490 มีการตั้งขบวนการสันนิบาตเอเชียอาคเนย์ ต่อต้านการกลับมาของฝรั่งเศสเพื่อยึดครองอินโดจีน มีนายเตียง ศิริขันธ์ เป็นประธาน เจ้าสุภานุวงศ์ ผู้นำขบวนการต่อสู้เพื่อเอกราชของลาวเป็นเลขาธิการ นายถวิล อุดล ส.ส.ร้อยเอ็ด เป็นประชาสัมพันธ์ นายเลอฮาย ขบวนการกอบกู้เอกราชเวียดนาม เป็นเหรัญญิก โดยมีปรีดีเป็นต้นคิด รับการสนับสนุนจากโฮจิมินห์ และเจ้าเพ็ดชะราช นักชาตินิยมลาว สร้างความไม่พอใจให้ฝรั่งเศส และอเมริกาเป็นอย่างยิ่ง
นายเตียง ได้ให้การช่วยเหลือขบวนการกอบกู้เอกราชของพี่น้องลาว ลาวอิสระ และพี่น้องเวียดนาม เวียดมินห์ ปีละ 5 ล้านบาท มีส่วนสำคัญในการกอบกู้เอกราช ให้พี่น้องอินโดจีน แม้จะไม่มีโอกาสได้อยู่เห็นวันแห่งชัยชนะของลุงโฮ และเจ้าสุภานุวงศ์ ในวันที่สองประเทศเป็นเอกราชในปัจจุบัน ก็ตาม
8 พฤศจิกายน 2490-รัฐประหารพลิกโฉมประเทศไทย
รัฐบาลสหรัฐฯและหน่วยข่าวกรองกลาง หรือซีไอเอได้สนับสนุนนายทหารกองทัพบกทั้งในและนอกประจำการภายใต้การนำของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ซึ่งรอดพ้นการประหารชีวิตจากข้อหาอาชญากรสงคราม และพลโทผิน ชุนหะวัน ทำรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ที่มีนายปรีดีเป็นผู้สนับสนุน
คณะรัฐประหารอาศัยชนวนจากเหตุการณ์กรณีสวรรคต ซึ่งพลพรรคประชาธิปัตย์ให้ร้ายป้ายสีว่าปรีดีมีส่วนพัวพัน ทำการกวาดล้างกลุ่มการเมืองของนายปรีดี รวมไปถึงสมาชิกเสรีไทย จากนั้นได้ตั้งนายควง อภัยวงศ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เป็นนายกรัฐมนตรี
เตียงได้หลบหนีการจับกุมไปอยู่ภูพาน ฐานที่มั่นเก่าของเสรีไทย เตรียมกำลังเสรีไทยเก่าลงจากเขาภูพานเพื่อตอบโต้และยึดอำนาจจากกลุ่มเผด็จการทหารให้กับนายปรีดีและคณะ แต่ได้รับการขอร้องจากปรีดี เพราะไม่อยากให้คนไทยต้องฆ่ากันเอง
เตียงเคารพนายปรีดี จึงไม่จับอาวุธขึ้นสู้ หลบอยู่บนเทือกเขาภูพานโดยได้รับการช่วยเหลือจากชาวบ้านในสกลนคร ต่อมารัฐบาลได้กล่าวหาเตียงว่าเป็นกบฏแบ่งแยกดินแดนอีสาน โดยอ้างการก่อตั้งองค์การสันติบาตอาเชียอาคเนย์ ทั้งๆที่แนวคิดของปรีดีต้องการสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มประเทศอินโดจีนเพื่อต่อรองกับประเทศตะวันตก ปรีดีเดินทางไปลี้ภัยที่จีน และฝรั่งเศส
26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492-กบฎวังหลวงและการสังหาร4รัฐมนตรีอีสาน
เมื่อ26 กุมภาพันธ์ 2492 ปรีดี พนมยงค์ นำกองกำลังที่เรียกตัวเองว่า "ขบวนการประชาธิปไตย 26 กุมภาพันธ์"เข้ายึดอำนาจแต่ล้มเหลว ถูกปราบปรามลงอย่างเด็ดขาดรุนแรง
มีการสังหารฝ่ายปรีดีไปหลายคน คือพันตรีโผน อินทรทัต ผู้อำนวยการโรงงานยาสูบและอดีตเสรีไทย ถูกตำรวจจับกุมและยิงเสียชีวิตระหว่างถูกควบคุมตัวไปสอบสวนที่วังปารุสกวัน ,พ.ต.อ.บรรจงศักดิ์ ชีพเป็นสุข ผู้บังคับการตำรวจสันติบาล ภายในบ้านพัก ก็เกิดเสียงปืนดังหลายนัด ผู้เข้าจับกุมให้การว่า พ.ต.อ.บรรจงศักดิ์ ขัดขืนและกลายเป็นศพ และดร.ทวี ตะเวทิกุล อดีตทูตไทยในญี่ปุ่น อดีตรัฐมนตรี และปัญญาชนคนสำคัญของกลุ่มปรีดี
หลังเหตุการณ์ปราบกบฎวังหลวงแล้ว รัฐบาลจอมพลป. ซึ่งมีพล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ เป็นผู้ทรงอำนาจในเวลานั้นได้ดำเนินมาตรการเฉียบขาดต่อฝ่ายนายปรีดีอย่างถึงเลือดถึงเนื้อ เกิดเหตุการณ์ที่เรียกกันว่า"กรณีสังหาร4รัฐมนตรีอีสาน"ขึ้นในวันที่ 4 มีนาคม 2492
4 รัฐมนตรีนี้ประกอบไปด้วย นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ อดีต ส.ส.อุบลราชธานี พรรคสหชีพ อดีตรัฐมนตรี 6 สมัย ต่อมาเป็นรัฐมนตรีอุตสาหกรรม ในรัฐบาลปรีดี มีคู่สมรสคือเจ้าศิริบังอร ณ จำปาศักดิ์ ประเทศลาว เป็นหัวหน้าขบวนการเสรีไทยเขตอุบลราชธานี ได้รับเลือกเป็นส.ส.อุบลราชธานีทุกสมัยที่ลงสมัคร ปฏิบัติหน้าที่อย่างกล้าหาญโดยเฉพาะแนวคิดการพัฒนา แม่น้ำโขง ชี และมูล
ผลงานเด่นคือ การเสนอร่างพรบ.คุ้มครองค่าใช้จ่ายประชาชนในภาวะคับขัน ที่เรียกว่าพระราชบัญญัติปักป้ายข้าวเหนียว เพื่อป้องกันพ่อค้าเอาเปรียบผู้บริโภค ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ฝ่ายรัฐบาลนายควง อภัยวงศ์ไม่เห็นด้วย อ้างว่าไม่มีมาตรการควบคุมราคา ในที่สุดรัฐบาลแพ้โหวตในสภาฯที่รับหลักการด้วยคะแนน 65 ต่อ 63 เสียง ทำให้รัฐมนตรีลาออกทั้งคณะ นายปรีดีจึงได้เป็นนายกรัฐมนตรีแทน
นายถวิล อุดล ส.ส.ร้อยเอ็ด 2 สมัย พรรคสหชีพ อดีตรัฐมนตรีในสมัยรัฐบาลนายทวี บุณยเกตุ เป็นหัวหน้าเสรีไทย จังหวัดร้อยเอ็ด เคยเดินทางติดต่อขอความร่วมมือจากประเทศจีน มีแนวคิดที่สำคัญ คือภาษีที่เก็บต้องเป็นประโยชน์กลับคืนสู่ประชาชนทั้งหมด
นายจำลอง ดาวเรือง ส.ส.มหาสารคาม 3 สมัย ปี 2480-2490 ต้องการให้มีการกระจายอำนาจลงสู่ชนบท มีแนวคิดเสรีนิยมต่อต้านเผด็จการทหาร โดยรวมกลุ่มกับนายปรีดี พนมยงค์ นายเลียง ไชยกาล พระสารคามคณาภิบาล นายทองม้วน อัตถากร นายทองดี ณ กาฬสินธุ์ ร่วมกันตั้งพรรคพรรคสหชีพ ยึดถือเค้าโครงเศรษฐกิจของนายปรีดี ออกหนังสือพิมพ์ราย 10 วัน ชื่อสยามอุโฆษในปี 2480 นายเตียง ศิริขันธ์เป็นบรรณาธิการ เป็นรัฐมนตรีติดต่อกัน 4 สมัย ตั้งแต่ปี 2480 - 2490 จนกระทั่งเกิดรัฐประหาร ในปี 2490 เป็นผลให้บทบาททางการเมืองของนายจำลอง ดาวเรือง ยุติลง โดยถูกจับกุมในข้อหากบฎ
ดร.ทองเปลว ชลภูมิ ส.ส.พระนคร เลขาธิการพรรคแนวร่วมรัฐธรรมนูญ มีพล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นหัวหน้าพรรค
นักการเมืองฝ่ายของนายปรีดีถูกจับกุมตัวพร้อมกันในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ในสถานที่ที่ต่างกันออกไป เช่น นายถวิลถูกจับที่สโมสรราชนาวี ดร.ทองเปลว ชลภูมิ ถูกจับ 1 มีนาคมโดยร.ต.อ.ต่อศักดิ์ ยมนาค กับตำรวจสันติบาลไปรอรับถึงเชิงบันไดเครื่องบิน ที่สนามบินดอนเมือง โดยตำรวจส่งโทรเลขเป็นรหัสไปลวงว่าการปฏิวัติสำเร็จแล้วให้รีบกลับ เพราะดร.ทองเปลวได้หลบหนีไปอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งบุคคลทั้ง 4 นี้ ล้วนแต่เป็นนักการเมืองสายของนายปรีดี และ พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ทั้งสิ้น และไม่มีชื่อในประกาศจับ มีการเปิดเผยภายหลังว่า บุคคลเหล่านี้ไม่ได้เป็นฝ่ายก่อการกบฎวะงหลวง แต่ถูกวางตัวให้เป็นผู้ร่างกฎหมายและประกาศฉบับต่างๆหากการปฏิวัติสำเร็จ
บรรดาญาติของผู้ต้องหาไม่ได้ระแวงว่าจะเกิดเหตุร้าย เนื่องจากบุคคลทั้ง 4 ได้เข้าๆออกๆ เรือนจำเป็นประจำในข้อหาทางการเมือง
ค่ำวันที่ 3 มีนาคม 2492 ตำรวจได้เคลื่อนย้ายผู้ต้องหาทั้งหมดไปไว้ที่สถานีตำรวจนครบาลบางเขน โดยอ้างเหตุความปลอดภัย ด้วยรถของตำรวจหมายเลขทะเบียน กท. 10371 โดยมี พ.ต.อ.หลวงพิชิตธุรการ เป็นผู้ควบคุม โดยรับ ดร.ทองเปลว ที่สถานีตำรวจนครบาลปทุมวัน นายจำลองที่สถานีตำรวจนครบาลยานนาวา นายถวิลที่สถานีตำรวจนครบาลนางเลิ้ง และนายทองอินทร์ที่สถานีตำรวจนครบาลสามเสน
เมื่อวิ่งมาถึงหลักกิโลเมตรที่ 12 ถนนพหลโยธิน เวลาประมาณ 3.00 น.(ตีสาม) วันที่ 4 มีนาคม 2492 ใกล้มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ บางเขน ผู้ต้องหาทั้งหมดถูกยิงเสียชีวิตด้วยกระสุนร่างละไม่ต่ำกว่า 10 นัด ในสภาพที่ทุกคนยังสวมกุญแจมืออยู่ โดยได้ส่งศพไปชันสูตรที่โรงพยาบาลกลาง ตำรวจแถลงว่า กลุ่มโจรมลายูพร้อมอาวุธครบมือได้ดักซุ่มยิงเพื่อชิงตัวผู้ต้องหา และได้มีการปะทะกับตำรวจ แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า ตำรวจทั้งหมดราว 20 นายไม่มีใครได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตเลย
สังคมทั่วไปเชื่อว่าเป็นการกระทำของตำรวจภายใต้การบัญชาการของ พลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ ซึ่งมีบทบาทอย่างมากในการปราบกบฏและเป็นรองอธิบดีกรมตำรวจในเวลานั้น
คดีสังหาร 4 อดีตรัฐมนตรีได้ถูกรื้อฟื้นและตัดสินหลังการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2500 โดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ศาลดำเนินคดีในปี 2502 มีผู้ต้องหา 5 ราย แต่เชื่อกันว่าเป็น"แพะ"
กบฎแมนฮัตตัน-กบฎสันติภาพ-สังหารโหดเตียง
เตียงไม่ได้ถูกสังหารโหดในครั้งนั้น แต่เมื่อได้ข่าวสหายรักร่วมอุดมการณ์ทั้งสี่ที่ถูกอำนาจสามานย์ทำร้ายปลิดชีวิต ทำให้นายเตียงเจ็บปวดขมขื่นเป็นอย่างมาก ถึงขนาดได้บันทึกไว้ว่า
“...การตายของพวกนาย ทำให้เราเศร้าใจและว้าเหว่มาก แต่เมื่อนึกถึงการตายในสภาพเดียวกันของนักการเมืองและบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์อีกหลายคนก็พอจะทำให้เราคลายความขมขื่นลงไปบ้าง ส่วนด้านประชาชนแล้วรู้สึกว่าจะเป็นเรื่องทำลายขวัญกันอย่างรุนแรง โดยเฉพาะประชาชนชาวอีสาน การตายของพวกนายมิใช่เป็นการหลู่เกียรติกันอย่างเดียว แต่เป็นการท้าทายประชาชนชาวอีสานทั้งมวล...ถึงแม้พวกนายจากไปแล้วก็ตาม เรายังคงยึดมั่นในอุดมการณ์สละชีพอยู่อย่างเดิมไม่เปลี่ยนแปลง แต่ชีวิตและความเป็นอยู่ของเราขณะนี้ ทั้งในด้านส่วนตัวและการเมือง ตกอยู่ในสภาวะที่เลวร้ายที่สุด มันเป็นอุปสรรคอันสำคัญยิ่งที่เราไม่สามารถปฏิบัติงานใดๆ ได้ดังปรารถนา ถ้าหากว่าเรามีอิทธิพลทางการเมืองขึ้นเมื่อใด เมื่อนั้นเราจะดำเนินงานตามอุดมคติของเราทันที”(จากข้อความปกหลังหนังสือ เตียง ศิริขันธ์ ลับสุดยอดเมื่อข้าพเจ้าเป็นเสรีไทย โดย สวัสดิ์ ตราชู)
นายเตียงคงอยู่บนดินเล่นการเมืองลงสมัครส.ส.ในเวลาต่อมา แต่การเมืองก็ยังคงผันผวนต่อเนื่อง เมื่อเกิดกบฎ"แมนฮัตตัน"ที่นำโดยกองทหารเรือ ในปีพ.ศ.2494และถูกทหารบกปราบปรามลงราบคาบ รัฐบาลก็หวาดระแวงว่ายังกวาดล้างฝ่ายปรีดีไม่สิ้นซาก
ในเดือนพฤศจิกายน 2495 รัฐบาลจอมพลป.ได้กวาดล้างจับกุมฝ่ายค้านจำนวนมากในข้อหากบฏ ที่เรียกกันต่อมาว่า "กบฏสันติภาพ" ซึ่งรวมทั้งการจับกุมตัวท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ภริยาของปรีดี
ในเดือนถัดมา ระหว่างที่เตียงดำรงตำแหน่ง ส.ส. เขาไปประชุมคณะกรรมการนิติบัญญัตินัดพิเศษที่บ้านมนังคศิลา ในเวลาราว14.00 น. วันที่ 12 ธันวาคม 2495 พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจให้ตำรวจเชิญตัวไปพบ ตั้งแต่นั้นมาก็หายสาบสูญไป ไม่ปรากฏตัวอีกเลย
ภายหลังรัฐบาลจอมพลป.ถูกสฤษดิ์ยึดอำนาจในปีพ.ศ.2500 และพล.ต.อ.เผ่าสิ้นอำนาจลง หลักฐานต่อมาปรากฏว่า เตียง ศิริขันธ์ ถูกสังหาร เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2495 หรือ 2 วันหลังจากถูกตำรวจเรียกตัวไป โดยถูกสังหารพร้อมด้วย เล็ก บุนนาค, ผ่อง เขียววิจิตร, สง่า ประจักษ์วงศ์ และชาญ บุนนาค โดยการฆ่ารัดคอ แล้วนำศพไปเผาทิ้งยัดเตาถ่านที่เชิงเขาโล้นกาญจนบุรี ห่างจากแยกลาดหญ้าที่ก.ม.9ประมาณ 2 กิโลเมตร ในพื้นที่ ต.แก่งเสี้ยน อ.เมือง จ.กาญจนบุรี
ขณะนั้นเขามีอายุ 43 ปี
101ปีวีรบุรุษสามัญชน
ศรีบูรพา หรือ กุหลาบ สายประดิษฐ์ ได้กล่าวถึงนายเตียง ตอนหนึ่งความว่า "บุคคลที่มีความสุจริต จริงใจ และบากบั่นในการทำหน้าที่ของตนนั้น เป็นบุคคลที่ข้าพเจ้าเห็นว่าสมควรเป็นผู้แทนราษฎรอย่างยิ่ง ข้าพเจ้าแน่ใจว่า ข้าพเจ้าได้พบคุณสมบัติสาระสำคัญนี้ใน เตียง ศิริขันธ์ ผู้แทนของชาวสกลนคร"
สุภา ศิริมานนท์ นักหนังสือพิมพ์อุดมคติ กล่าวถึงครูเตียงว่า "ในจำนวนผู้แทนราษฎรทั้งหมด…เตียง ศิริขันธ์ เป็นบุคคลที่ดี ซึ่งมีอยู่ไม่กี่คน เตียง ศิริขันธ์ เป็นนักรัฐธรรมนูญที่แท้จริง เขาทำหน้าที่ผู้แทนราษฎรชาวสยาม สมหน้าที่โดยสมบูรณ์"
ส่วนเตียงพูดถึงตัวเองในวัยหนุ่มว่า “...ข้าพเจ้าเป็นคนไทย ข้าพเจ้าเป็นไทแก่ตนเอง ข้าพเจ้าเป็นราษฎรไทยราษฎรสยาม ทั้งข้าพเจ้าต้องการให้ทุกๆ คนบนพื้นอันเป็นสยามประเทศนี้เป็นราษฎรเสมอหน้ากันหมด ปราศจากความเหลื่อมล้ำต่ำสูง...จึงเป็นอุดมคติที่ข้าพเจ้าบูชาอีกอันหนึ่ง” (จากบทความ เตียง ศิริขันธ์ เผยแพร่ใน นสพ.เสรีราษฎร 9 ก.ค.2779)
5 ธันวาคม 2553 ครบ 101 ปีชาตกาลของเตียง ดูเหมือนอุดมคติที่เขาบูชายังยิ่งจะห่างไกล แต่ประชาชนชาวไทยยังยืดหยัดสืบสานเจตนารมณ์ให้สมบูรณ์
************
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar