måndag 27 juli 2020

พวกทหารตำรวจนอกเครื่องแบบ มาถือป้ายโจมตีสถาบันกษัตริย์ปะปนกับการชุมนุมต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย

Andrew MacGregor Marshall@zenjournalist

Bild 
ผมไม่ทราบว่านี่เป็นเรื่องจริงหรือไม่ ก็ไม่แน่ใจอยู่เหมือนกัน แต่มันก็เป็นไปได้ที่จะมีการปฏิบัติการลับมายั่นทอนการชุมนุมแบบนี้ 2/9
แต่เราก็รู้กันดีว่า ผู้ประท้วงหลายคนมีความรู้สึกต่อต้านกษัตริย์วชิราลงกรณ์ และได้เอาป้ายวิจารณ์เขามาแสดงในที่ชุมนุมด้วย แม้ว่า ป้ายเหล่านั้นส่วนมากจะพูดกันแบบอ้อมๆ ใช้นัยยะแอบแฝง เพื่อเลี่ยงการเอ่ยชื่อเขากันตรงๆแบบโจ่งแจ้ง 3/9 
หากมีการปฏิบัติการลับโดยเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบ เพื่อบั่นทอนเครดิตของการเคลื่อนไหวเหล่านี้ โดยเอาป้ายแสดงความเห็นยั่วยุปลุกปั่นมาใช้ มันเป็นการหักล้างความเข้าใจผิดพื้นฐาน ว่าผู้ประท้วงกำลังต่อสู้เพื่ออะไร 4/9 
ในหมู่ผู้ออกมาเคลื่อนไหวต่อสู้ ไม่มีใครอ้างว่า ทุกคนเห็นชอบเหมือนกันหมดทุกประการ แม้ว่าพวกเขาจะมีข้อเรียกร้องสามประการที่คนที่มาร่วมขบวนเห็นพ้องต้องกันหมด แต่ไม่มีข้อเรียกร้องใดๆในสามข้อนี้ ที่มีการเอ่ยถึงสถาบันกษัตริย์แต่อย่างใด 5/9
ข้อเรียกร้องหลักข้อหนึ่งก็คือ ประชาชนไม่ควรถูกข่มขู่คุกคาม เพียงเพราะเห็นต่าง รวมไปทั้งคนที่กล่าวว่า พวกเขาหมดศรัทธาในสถาบันกษัตริย์แล้ว นี่ไม่ได้หมายความว่า ผู้ประท้วงทุกๆคน จะต่อต้านสถาบันกษัตริย์ 6/9
ความพยายามที่จะก่อกระแสปั่นป่วนบ้าคลั่ง เกี่ยวกับการโจมตีสถาบันกษัตริย์ สะท้อนถึงเหตุการณ์ปั่นป่วนก่อนหน้าที่จะเกิดการฆ่าหมู่นักศึกษา ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในวันที่ 6 ตุลาคม พศ 2519 เมื่อพวกคลั่งเจ้าบิดเบือนอ้างว่า นักศึกษาจัดละครจำลองการประหารชีวิตด้วยการแขวนคอวชิราลงกรณ์ 7/9
Bild
คำถามที่ว่า นักศึกษามีเจตนาทำให้ละครชุดนั้นเพื่อส่งสารสื่อตามข้อกล่าวหาหรือไม่นั้น ยังคงเป็นเรื่องให้ถกเถียงกันอย่างมาก และผมเองก็ยังไม่สามารถไขข้อข้องใจให้เด็ดขาดลงไปได้ 8/9
แต่ประเด็นสำคัญที่สุดก็คือ แม้ผู้ประท้วงบางส่วนจะวิจารณ์วชิราลงกรณ์กันอยู่ มันก็ไม่ได้หมายความว่า ผู้ประท้วงทุกๆคนจะเห็นพ้องกันไปหมด พวกเขากำลังต่อสู้ด้วยความเห็นหลากหลาย - เพื่อสิทธิในการยึดถือทัศนะต่างๆกัน โดยไม่มีการเอาผิดลงโทษกัน 9/9
     
 

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar