söndag 15 mars 2015

"แหล่งซ่องสุมทางปัญญา" พลเมืองไทยนักธุรกิจน้ำดี มีความคิดริเริ่มดีๆทันสมัย ไม่เห็นแก่ตัว สร้างสรรค์สิ่งดีๆให้สังคม ไม่กอบโกยแต่กำไร ยังมีให้เห็น ได้คืนกำไรส่วนเกินให้สังคม สร้างสิ่งที่คนในสังคมต้องการและขาดแคลน นับเป็นการช่วยปลูกฝังสิ่งดีๆสร้างทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพให้แก่สังคมไทยทั้งในปัจจุบันและในอนาคต "ขอบคุณ ขอบคุณ จากใจ " ขอยกย่องน้ำใจสิ่งสร้างสรรค์ดีๆที่คุณหยิบยื่นให้สังคมที่ไร้อนาคต.ของสังคมที่เจ็บป่วยเกินจะเยียวยา...

รู้จักเขายัง? ...′เอนก จงเสถียร′ ยอมทิ้งเงินปีละ 3 ล้าน สร้างแหล่งซ่องสุมทางปัญญา

"ทำธุรกิจได้เงิน แต่เราต้องคืนให้สังคมโดยสร้างคนดีกว่าไหม นี่คือการสร้างคนโดยมีที่ให้เด็กดูหนังสือ"


คลิกอ่านทั้งหมด>>http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1426420272
ร้านนี้จึงมีเด็กนักศึกษาหอบหนังสือ หอบผ้าผ่อนมานั่งอ่านหนังสือตลอดค่ำคืน โดยเฉพาะช่วงสอบ ตรงตามความตั้งใจของเอนกที่อยากจะสร้าง "แหล่งซ่องสุมทางปัญญา"วัยเด็กเอนกเริ่มเรียนที่โรงเรียนเปรมฤดีศึกษา แล้วต่อ ปวช.ที่เกริกวิทยาลัย

เขาบอกว่าตัวเองเป็นคนเกเรในเรื่องเรียน ไม่ค่อยอ่านหนังสือสอบ แต่ก็มีจุดเปลี่ยนที่ทำให้เขากลับมาตั้งใจกับการศึกษา

พออายุ 18 พ่อส่งให้เขาไปเรียนต่อด้าน Business Study ในระดับ ปวช. ที่ "Farnborough College of Technology" ฟาร์นโบโรห์ เมืองเล็กๆ ทางตอนใต้ของสหราชอาณาจักร

"ผมเป็นคนไทยคนที่ 2 ที่ไปเรียนที่นั่น คนแรกไปเรียนก่อนผม 50 ปี"

เอนกหัวเราะแล้วเล่าต่อ

"ผมไปเปลี่ยนนิสัยที่อังกฤษ คุณเชื่อไหมอาจารย์สอน 3 ชั่วโมง เขียนกระดาน 3 ตัว ผมก็จดแค่นั้น เพราะไม่รู้เรื่อง ไปถึงเข้าเรียนเลย พูดอะไรไม่รู้เรื่องเลย เลิกเรียนเลยมานั่งดูหนังสือ 6 โมงเย็นถึงเที่ยงคืนทุกวัน 3 ทุ่มดูข่าวภาษาอังกฤษแล้วกลับมาดูหนังสือต่อ ทำอย่างนี้ทุกวัน เสาร์อาทิตย์ก็ไม่เว้น จนเพื่อนอินโดนีเซียที่ไปเรียนด้วยกันบอกว่าเป็นหนอนหนังสือ เก่งมาก ที่จริงไม่ใช่ เพราะพวกนั้นภาษาอังกฤษเขาดี"

ปี 2519 หลังเรียนไปได้ 2 ปี จบหลักสูตรเทียบเท่าระดับ ปวช. เอนกกลับมาเยี่ยมบ้าน ขณะที่ธุรกิจที่บ้านกำลังเผชิญปัญหา หัวหน้างานที่ติดต่อด้านต่างประเทศออกจากงาน พ่อเขาจึงให้กลับมาช่วยงานที่บ้านและทำงานเรื่อยมา โดยไม่ได้กลับไปเรียนที่อังกฤษอีกเลย

หลังทำงานต่อเนื่องมาหลายสิบปี เขากลับมาเรียนปริญญาตรีบริหารธุรกิจในวัย 40 กว่า ที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และปริญญาโท 2 ใบ ด้านกฎหมายเศรษฐกิจ และบริหารธุรกิจ ที่จุฬาฯ
วันนี้ในวัย 60 แม้เขาจะบอกว่าตัวเองเกษียณแล้ว แต่คำบอกเล่าจากปากเอนก เป็นสิ่งยืนยันว่าเขาคงไม่หยุดง่ายๆ เพราะยังมีโปรเจ็กต์ใหม่ๆ อยู่ในหัวนักธุรกิจคนนี้เสมอ
ทำไมถึงให้ความสำคัญกับที่อ่านหนังสือ?วิธีการคิดทำธุรกิจ ต้องมองว่าทำเพื่ออะไร ที่ผมทำตรงนี้เพราะเกิดจากตัวเองไปเรียนหนังสือ หาที่ดูหนังสือยากมากเลย ผมเรียนหนังสือตอนแก่ ปริญญาตรี อายุ 40 กว่า ไม่มีที่ติวหนังสือ ใช้ออฟฟิศเป็นที่ติวหนังสือจนจบปริญญาตรี ปริญญาโท ประเทศไทยไม่มีที่ให้ติวหนังสือ ไปนั่งที่ไหนเดี๋ยวก็ปิด จนคิดว่าต้องทำตรงนี้ ได้ที่ตรงนี้ให้รู้สึกเหมือนอยู่บ้าน นั่งเอกเขนกสบาย นอนสบาย เครียดหลับไป ตื่นมาดูต่อได้ ถ้าอยู่บ้านจะหลับจริง แต่อยู่นี่หลับจริงไม่ได้ อายเขา (หัวเราะ) อยู่บ้านนอนอย่างเดียว

ตอนนี้หลายฝ่ายต้องเปลี่ยน ผู้ใหญ่หลายคนต้องยอมรับในความเป็นจริง ไลฟ์สไตล์คนเปลี่ยน บอกว่าทำอย่างนี้แล้วทำให้เด็กไม่ยอมนอนตอนกลางคืน เด็กสมัยนี้บังคับไม่ได้ ต้องปล่อยไป อยากดูตอนไหนให้ดูไป แล้วเขาหิวเมื่อไหร่จะวิ่งลงหาอะไรกินเอง ที่นี่เหมือนกัน ผมจับประเด็นนี้เลย มีซาลาเปา ขนมปังปิ้ง อยากได้หนักๆ วิ่งลงมากินข้าวมันไก่โก๊ะตี๋ ให้เขาเปิดตลอด 24 ชม. ตอนกลางคืนขายได้ไม่กี่จาน เขาขาดทุน ค่าคนงานยังไม่พอเลย แต่ก็ต้องเปิด เด็กหิวเมื่อไหร่ต้องมีกิน เขาเห็นด้วยกับคอนเซ็ปต์ผม

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar