คลิกดูเพิ่ม-Chaturon Chaisang
โดย จาตุรนต์ ฉายแสง
ประชาธิปไตยแบบไทยๆ ไม่เหมือนใครเลยได้หรือไม่ ?
เมื่อพูดถึง ‘ประชาธิปไตย’ มักมีข้อโต้แย้งกันมาโดยตลอดว่า ประชาธิปไตยเป็นเรื่องที่เป็นสากลหรือเป็นเรื่องที่แต่ละประเทศไม่จำเป็นต้องมีอะไรเหมือนกันเลย
ข้อโต้แย้งนี้นำไปสู่ข้อเสนอเป็น 2 แบบใหญ่ๆ
แบบหนึ่ง คือ ประชาธิปไตยอย่างแท้จริงบ้าง ประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์บ้าง หรือประชาธิปไตยที่เป็นสากลบ้าง
อีกแบบหนึ่งที่ออกจะเป็นในทางตรงกันข้ามกับแบบแรกก็คือ ‘ประชาธิปไตยแบบไทยๆ’
เป็นความจริงที่ว่า การปกครองในประเทศที่เป็นประชาธิปไตยทั้งหลาย ก็ไม่ได้เหมือนกันเสียทีเดียว คือ มีสาระ เนื้อหาหรือแม้แต่รูปแบบที่ต่างๆกันไป แต่หลักใหญ่ที่เป็นหลักการพื้นฐานที่สำคัญๆของระบอบประชาธิปไตย ก็มักจะมีอยู่ร่วมกัน เช่น อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน มีการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยเป็น 3 ส่วน ที่ต้องมีการถ่วงดุลซึ่งกันและกัน การใช้อำนาจต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย ที่มาและเนื้อหาที่เป็นธรรม เป็นต้น
แต่ถึงแม้หลักการสำคัญๆเหล่านี้ จะเป็นที่ยอมรับในหมู่ผู้ที่นิยมชมชอบในระบอบประชาธิปไตย ทว่าสำหรับผู้ที่ไม่เชื่อถือในระบอบประชาธิปไตย แต่ไม่อาจประกาศตนเช่นนั้น ก็มักเบี่ยงเบนจากหลักการดังกล่าวไปได้ไกลๆ โดยอ้างว่า สิ่งที่พวกตนนิยมชมชอบนั้นไม่ใช่ประชาธิปไตยที่เป็นสากล แต่เป็น ‘ประชาธิปไตยแบบไทยๆ’
วิธีหนึ่งที่อาจใช้ในการวัดว่า การปกครองของประเทศหนึ่งๆเป็นประชาธิปไตยหรือไม่ ซึ่งสำหรับประเทศไทยก็คือ การจะวัดว่า ‘ประชาธิปไตยแบบไทยๆ’ ที่มักอ้างกันนั้น ถือว่าเป็นประชาธิปไตยได้หรือไม่ ก็คือการดูจากสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่ไทยเป็นภาคีอยู่ เช่น สนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชน เป็นต้น
ในปัจจุบันประเทศไทยเป็นภาคีสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งสหประชาชาติถือเป็นสนธิสัญญาหลัก จำนวน 7 ฉบับ ได้แก่
1. อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child - CRC)
2. อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination Against Woman - CEDAW)
3. กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights - ICCPR)
4. กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (International Covenant on Economics, Social and Cultural Rights - ICESCR)
5. อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกประติบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination - CERD)
6. อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี (Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment - CAT)
7. อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ (Convention on the Rights of Persons with Disabilities - CRPD)
ฉบับที่จะตรงประเด็นที่สุด เวลาพูดถึงความเป็นประชาธิปไตยทางการเมืองการปกครอง ก็คือ ฉบับที่ 3 : กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights - ICCPR) ซึ่งในข้อที่ 25 ระบุว่า
พลเมืองทุกคนย่อมมีสิทธิและโอกาส โดยปราศจากความแตกต่าง ดังกล่าว......และโดยปราศจากข้อจำกัดอันไม่สมควร
(ก) ในการที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารรัฐกิจโดยตรง หรือผ่านทางผู้แทนซึ่งไดรับเลือกมาอย่างเสรี
(ข) ในการที่จะออกเสียงหรือได้รับเลือกตั้ง ในการเลือกตั้งอันแท้จริงตามวาระซึ่งมีการออกเสียงโดยทั่วไปและเสมอภาคและโดยการลงคะแนนลับเพื่อประกันการแสดงเจตนาโดยเสรีของผู้เลือก
(ค) ในการที่จะเข้าถึงการบริการสาธารณะในประเทศของตนตามหลักเกณฑ์ทั่วไปแห่งความเสมอภาค
(คัดมาจากคำแปลของสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ)
จะเห็นได้ว่า หาก ‘ประชาธิปไตยแบบไทยๆ’ จะหมายถึงระบบการปกครองที่สักแต่ให้มีการเลือกตั้ง แต่กลับเป็นการเลือกตั้งที่ไม่มีความหมาย คือ ไม่ใช่การเลือกตั้งอันแท้จริง ไม่ได้ประกันเจตนาโดยเสรีของผู้เลือกและไม่ได้ให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารบ้านเมืองแล้ว ก็ไม่อาจถือได้ว่าเป็นประชาธิปไตยเหมือนอย่างประเทศอื่นๆเขา
การตรวจสอบกับสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องฉบับต่างๆ ที่ประเทศไทยเราเองก็เป็นภาคีอยู่ สามารถช่วยให้เราเข้าใจได้ว่า คำว่า ‘ประชาธิปไตย’ ที่เป็นสากลนั้น มีความหมายอย่างไร และถ้าหากระบบการปกครองของเราแตกต่างจากสาระสำคัญของสนธิสัญญาเหล่านั้น เรายังจะเรียกระบบการปกครองอย่างใช้อยู่หรือที่กำลังออกแบบกันอยู่ว่า เป็นประชาธิปไตยได้หรือไม่
โดยสรุป ‘ประชาธิปไตยแบบไทยๆ’ ที่กำลังออกแบบกันอยู่ ไม่อาจเรียกได้ว่าเป็น ‘ประชาธิปไตย’ และนี่คือเรื่องเดียวกันกับที่ผมบอกว่า เราอาจใส่เสื้อต่างจากคนอื่นได้ แต่จะนุ่งห่มด้วยใบไม้เหมือนสมัยดึกดำบรรพ์ไม่ได้แล้ว
.คลิก..อ่านต่อ
ประชาธิปไตยแบบไทยๆ ไม่เหมือนใครเลยได้หรือไม่ ?
เมื่อพูดถึง ‘ประชาธิปไตย’ มักมีข้อโต้แย้งกันมาโดยตลอดว่า ประชาธิปไตยเป็นเรื่องที่เป็นสากลหรือเป็นเรื่องที่แต่ละประเทศไม่จำเป็นต้องมีอะไรเหมือนกันเลย
ข้อโต้แย้งนี้นำไปสู่ข้อเสนอเป็น 2 แบบใหญ่ๆ
แบบหนึ่ง คือ ประชาธิปไตยอย่างแท้จริงบ้าง ประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์บ้าง หรือประชาธิปไตยที่เป็นสากลบ้าง
อีกแบบหนึ่งที่ออกจะเป็นในทางตรงกันข้ามกับแบบแรกก็คือ ‘ประชาธิปไตยแบบไทยๆ’
เป็นความจริงที่ว่า การปกครองในประเทศที่เป็นประชาธิปไตยทั้งหลาย ก็ไม่ได้เหมือนกันเสียทีเดียว คือ มีสาระ เนื้อหาหรือแม้แต่รูปแบบที่ต่างๆกันไป แต่หลักใหญ่ที่เป็นหลักการพื้นฐานที่สำคัญๆของระบอบประชาธิปไตย ก็มักจะมีอยู่ร่วมกัน เช่น อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน มีการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยเป็น 3 ส่วน ที่ต้องมีการถ่วงดุลซึ่งกันและกัน การใช้อำนาจต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย ที่มาและเนื้อหาที่เป็นธรรม เป็นต้น
แต่ถึงแม้หลักการสำคัญๆเหล่านี้ จะเป็นที่ยอมรับในหมู่ผู้ที่นิยมชมชอบในระบอบประชาธิปไตย ทว่าสำหรับผู้ที่ไม่เชื่อถือในระบอบประชาธิปไตย แต่ไม่อาจประกาศตนเช่นนั้น ก็มักเบี่ยงเบนจากหลักการดังกล่าวไปได้ไกลๆ โดยอ้างว่า สิ่งที่พวกตนนิยมชมชอบนั้นไม่ใช่ประชาธิปไตยที่เป็นสากล แต่เป็น ‘ประชาธิปไตยแบบไทยๆ’
วิธีหนึ่งที่อาจใช้ในการวัดว่า การปกครองของประเทศหนึ่งๆเป็นประชาธิปไตยหรือไม่ ซึ่งสำหรับประเทศไทยก็คือ การจะวัดว่า ‘ประชาธิปไตยแบบไทยๆ’ ที่มักอ้างกันนั้น ถือว่าเป็นประชาธิปไตยได้หรือไม่ ก็คือการดูจากสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่ไทยเป็นภาคีอยู่ เช่น สนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชน เป็นต้น
ในปัจจุบันประเทศไทยเป็นภาคีสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งสหประชาชาติถือเป็นสนธิสัญญาหลัก จำนวน 7 ฉบับ ได้แก่
1. อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child - CRC)
2. อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination Against Woman - CEDAW)
3. กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights - ICCPR)
4. กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (International Covenant on Economics, Social and Cultural Rights - ICESCR)
5. อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกประติบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination - CERD)
6. อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี (Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment - CAT)
7. อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ (Convention on the Rights of Persons with Disabilities - CRPD)
ฉบับที่จะตรงประเด็นที่สุด เวลาพูดถึงความเป็นประชาธิปไตยทางการเมืองการปกครอง ก็คือ ฉบับที่ 3 : กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights - ICCPR) ซึ่งในข้อที่ 25 ระบุว่า
พลเมืองทุกคนย่อมมีสิทธิและโอกาส โดยปราศจากความแตกต่าง ดังกล่าว......และโดยปราศจากข้อจำกัดอันไม่สมควร
(ก) ในการที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารรัฐกิจโดยตรง หรือผ่านทางผู้แทนซึ่งไดรับเลือกมาอย่างเสรี
(ข) ในการที่จะออกเสียงหรือได้รับเลือกตั้ง ในการเลือกตั้งอันแท้จริงตามวาระซึ่งมีการออกเสียงโดยทั่วไปและเสมอภาคและโดยการลงคะแนนลับเพื่อประกันการแสดงเจตนาโดยเสรีของผู้เลือก
(ค) ในการที่จะเข้าถึงการบริการสาธารณะในประเทศของตนตามหลักเกณฑ์ทั่วไปแห่งความเสมอภาค
(คัดมาจากคำแปลของสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ)
จะเห็นได้ว่า หาก ‘ประชาธิปไตยแบบไทยๆ’ จะหมายถึงระบบการปกครองที่สักแต่ให้มีการเลือกตั้ง แต่กลับเป็นการเลือกตั้งที่ไม่มีความหมาย คือ ไม่ใช่การเลือกตั้งอันแท้จริง ไม่ได้ประกันเจตนาโดยเสรีของผู้เลือกและไม่ได้ให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารบ้านเมืองแล้ว ก็ไม่อาจถือได้ว่าเป็นประชาธิปไตยเหมือนอย่างประเทศอื่นๆเขา
การตรวจสอบกับสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องฉบับต่างๆ ที่ประเทศไทยเราเองก็เป็นภาคีอยู่ สามารถช่วยให้เราเข้าใจได้ว่า คำว่า ‘ประชาธิปไตย’ ที่เป็นสากลนั้น มีความหมายอย่างไร และถ้าหากระบบการปกครองของเราแตกต่างจากสาระสำคัญของสนธิสัญญาเหล่านั้น เรายังจะเรียกระบบการปกครองอย่างใช้อยู่หรือที่กำลังออกแบบกันอยู่ว่า เป็นประชาธิปไตยได้หรือไม่
โดยสรุป ‘ประชาธิปไตยแบบไทยๆ’ ที่กำลังออกแบบกันอยู่ ไม่อาจเรียกได้ว่าเป็น ‘ประชาธิปไตย’ และนี่คือเรื่องเดียวกันกับที่ผมบอกว่า เราอาจใส่เสื้อต่างจากคนอื่นได้ แต่จะนุ่งห่มด้วยใบไม้เหมือนสมัยดึกดำบรรพ์ไม่ได้แล้ว
.คลิก..อ่านต่อ
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar