fredag 17 januari 2020

โปรดเกล้าฯ พ.ร.ฎ.ถอนถอนสภาพการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดิน ที่ราชพัสดุบางส่วนในลพบุรี ใกล้ค่ายพหลโยธิน เหตุกองทัพบกได้เลิกใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะและกระทรวงการคลัง ไม่ประสงค์จะสงวนไว้ใช้เพื่อประโยชน์เช่นนั้นอีกต่อไป
https://prachatai.com/journal/2020/01/85973 
โปรดเกล้าฯ พ.ร.ฎ.ถอนถอนสภาพการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดิน ที่ราชพัสดุบางส่ว....






กมธ.ศึกษาแก้ รธน. มีมติตั้ง 2 อนุ ประชาสัมพันธ์-วิเคราะห์ศึกษาบทบัญญัติ รธน.และกม.เกี่ยวข้อง ประธาน กมธ.ย้ำ ระ.....

 .............................................................. 

อำนาจและสมบัติอยู่ในมือกูคนเดียว ชัดๆ ไม่ต้องอ้อมค้อมอีกต่อไป : มาแล้วครับ พรบ.ทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ ฉบับใหม่
(ดาวน์โหลดได้ที่นี่ https://goo.gl/6RveLG)
ผมจะวิเคราะห์โดยละเอียดอีกที โดยคร่าวๆ คือ ก่อนหน้านี้ พรบ.ทรัพย์สินฯที่มีอยู่ (ฉบับปี 2491) ให้อำนาจในทางเป็นจริง ในการควบคุมทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ กับกษัตริย์เต็มที่อยู่แล้ว (รายได้หักค่าใช้จ่ายสามารถ "ใช้สอยตามพระราชอัธยาศัยไม่ว่ากรณีใดๆ") แต่ยังมีลักษณะของการเขียนให้ รัฐมนตรีคลัง มาเป็น "ประธาน" คณะกรรมการทรัพย์สินฯโดยตำแหน่ง ซึ่งในทางเป็นจริง รมต.คลัง หรือ กท.การคลัง หรือ รัฐบาลชุดต่างๆ ไม่เคยมีส่วนเกี่ยวข้องหรืออำนาจในการควบคุม ตรวจสอบ หรือตัดสินใจเรื่องทรัพย์สินฯเลย
แต่คราวนี้ แม้แต่ตำแหน่งประธานคณะกรรมการฯ ก็ไม่ต้องเป็น รมต.คลังโดยตำแหน่งแล้ว คือเป็นใครก็ได้ที่กษัตริย์ตั้ง
ยกเลิกประเภท (category) "ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน" (พวกวังต่างๆ) ให้จัดเป็น "ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์" และดังนั้น ตอนนี้ ทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ ก็เหลือเพียง 2 ประเภท คือ ทรัพย์สินส่วนพระองค์ และ ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ - เดิมการที่มีจัดประเภท "ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติฯ" (วังต่างๆ) ก็เป็นการแยกอำนาจควบคุมออกจากสถาบันกษัตริย์ในระดับหนึ่ง แม้จะไม่ได้มีความหมายอะไรในทางปฏิบัติ คือ เดิมประเภทนี้ อยู่ในการดูแลของ สำนักพระราชวัง ที่ขึ้นต่อนายกฯ (สำนักพระราชวัง ตอนนี้ ก็ไปอยู่ในการควบคุมของกษัตริย์เต็มที่แล้ว ในฐานะ "ราชการในพระองค์")
เรื่องการเสียภาษี เขียนไว้คลุมเครือ ว่า
"ทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ [คือทั้ง ทรัพย์สินส่วนพระองค์ และ ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์] จะต้องเสียภาษีอากรหรือได้รับการยกเวันภาษีอากร ย่อมเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น"
อันนี้ ผมว่า ไม่ใช่ว่า ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ที่เคยได้รับยกเว้นภาษี จะกลายมาเสียภาษี คือยังไงก็คงได้รับยกเว้นต่อไป แต่เป็นการเขียนคลุมเผื่อไว้สำหรับว่า ทรัพย์ส่วนพระองค์ ที่เดิมเคยต้องเสียภาษี จะได้รับการยกเว้นบางส่วน คงจำได้ว่า เคยมีประกาศกระทรวงการคลังเรื่องยกเวันการคำนวนภาษีสำหรับเงินที่ได้รับพระราชจากเจ้ามาแล้ว ผมคิดว่า อีกหน่อยจะมีขยายการยกเว้นภาษีสำหรับทรัพย์สินส่วนพระองค์มากขึ้น
..............
"ข่าวดี" คือ ตอนนี้ ถ้า Forbes หรือใครจะบอกว่า กษัตริย์ไทยรวยที่สุดในโลก โดยเอา "ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์" มาคำนวน ทางการไทยไม่มีทางจะแก้ตัวว่า เป็น "ทรัพย์สินแผ่นดิน" แล้วยกเรื่อง "รมต. คลังเป็นประธานคณะกรรมการทรัพย์สิน" มาอ้างได้อีกต่อไป (ความจริง การแก้ตัวเช่นนี้ในอดีต ก็เป็นการโกหกอยู่แล้ว เพราะอย่างที่กล่าวข้างต้น และที่ผมเคยแสดงให้เห็นในบทความเรื่องนี้โดยละเอียด รมต.คลัง หรือ กท.การคลัง หรือ รัฐบาล ไม่ว่าชุดใด ก็ไม่เคยมีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแล สนง.ทรัพย์สินฯเลย)
แต่ตอนนี้ เอากันชัดๆไปเลย กษัตริย์องค์นี้ รวบอำนาจ เอากลไกรัฐและทรัพย์สิน ส่วนที่เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ มาอยู่ใต้การควบคุมของตัวเองโดยสิ้นเชิง ทั้ง "ราชการในพระองค์" และ "ทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์" - ทุกอย่างเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ หลุดลอยออกจาก ฝ่ายบริหาร-นิติบัญญัติ โดยสิ้นเชิงแล้ว
ไชโยๆๆ ทรงพระเจริญพะยะค่ะ

No photo description available.

Somsak Jeamteerasakul updated his status.

หลังจากมีข่าวลือมาเป็นเดือน ตกลงยืนยันอย่างเป็นทางการแล้วนะครับว่า กษัตริย์องค์ใหม่ขอให้แก้รัฐธรรมนูญที่ผ่าน "ประชามติ" ไปแล้ว (ซึ่งตามกฎหมายที่มีอยู่ ความจริง แก้ไม่ได้แล้ว) เห็นว่าประยุทธ์อาจจะหาทางออกด้วยการใช้ ม. 44 (นี่เป็นทางออกทางหนึ่ง ที่ผมถก-คาดการณ์กับเพื่อนนักกฎหมายบางคนเหมือนกัน ผมเองคิดว่าเขาคงใช้ทางนี้ แต่ที่มีการพูดๆกันเช่นตามที่ "มติชน" หรือ "ไทยรัฐ" พูดเป็นนัยๆ อาจจะใช้วิธีที่ "สวย" กว่านั้น คือให้ สนช แก้ รธน 57 ให้สามารถแก้ รธน ใหม่ได้หลัง "ประชามติ")
ก็ได้แต่หัวเราะ หุหุ ล่ะครับ - ตั้งแต่วันแรกที่กษัตริย์องค์ก่อนสวรรคต กษัตริย์องค์ใหม่ #ได้ทำอะไรที่ผิดรัฐธรรมนูญและราชประเพณีที่มีอยู่ (แม้ว่ากฎหมายและราชประเพณีนั้น ในที่สุด เป็นประโยชน์หรือมีขึ้นเพื่อประโยชน์ของสถาบันกษัตริย์ และโครงสร้างอำนาจเดิมเอง) ในระดับที่ผมเคยอธิบายไปแล้วว่า ถ้าเป็นประเทศอื่น เขาต้องเรียกเป็น Constitutional Crisis หรือวิกฤติเชิงรัฐธรรมนูญไปแล้ว กรณีล่าสุดนี้ก็เช่นกัน
..........
ใครสนใจรายละเอียดว่า มีมาตราไหนบ้างที่ว่ากันว่ากษัตริย์ขอให้แก้ ขอให้ดูกระทู้ที่ผมโพสต์ก่อนหน้านี้ 2 กระทู้



*** มาตราในรัฐธรรมนูญ ที่ว่ากันว่ากษัตริย์ใหม่ขอให้แก้: มาตรา ๕, ๑๗ และ ๑๘๒ goo.gl/FjhJkE



*** มาตราในรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ที่แก้ตามความต้องการของกษัตริย์ goo.gl/93aG



*** ผมขออธิบายอย่างชัดๆว่า ที่กษัตริย์ "ขอ"(สั่ง)ให้แก้รัฐธรรมนูญ เป็นการกระทำที่ผิดรัฐธรรมนูญ คือผิดกฎหมาย อย่างไร goo.gl/k5XcYU
 

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar