สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า
กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ทรงฉลองพระองค์คอจีนแขนยาวสีแดงสด
กระเป๋าพระอุระด้านซ้ายปักลายฝีพระหัตถ์รูปหนูสีทอง พร้อมตัวอักษรจีนคำว่า
“ฉู่ เจ้า เฟิง เหมียน” มีความหมายว่า หนูนำพืชผลเจริญ
...............................................
Somsak Jeamteerasakul
ความรู้สึกจงรักภักดีของชนชั้นกลางในเมืองต่อในหลวงภูมิพล ส่วนสำคัญมากส่วนหนึ่งมาจาก need หรือ "ความต้องการ" ของการมีความรู้สึกเชิงคุณธรรม ความรู้สึกเชิง "อัตลักษณ์" ให้กับตัวเอง (อันที่จริง ผมอยากทับศัพท์ need เพราะในภาษาอังกฤษ มีเซ้นซ์ที่ต่างและเข้มข้นกว่าคำว่า "ต้องการ" ในภาษาไทยอยู่) เรื่องนี้ค่อนข้างอธิบายให้เข้าใจยากสักหน่อย แต่ลองนึกแบบง่ายๆว่า เราทุกคนมี need ที่จะ "รู้สึกดี" ต่อตัวเอง และต่อชุมชน สังคม และประเทศที่ตัวเองอยู่
วิธีการ (ที่ทำโดยไม่รู้ตัว) สำคัญอย่างหนึ่งคือ การที่เรา identify หรือ "โยง" ตัวเองเข้ากับอะไรบางอย่างที่ดูสูง pure (บริสุทธิ์) มีความดี ความงาม ยิ่งกว่าสิ่งที่เราเจอในชีวิตปกติประจำวัน (ซึ่งเต็มไปด้วยความอัปลักษณ์ ความยุ่งเหยิง ฯลฯ) โดยที่สิ่งนั้น ไม่ได้จำเป็นว่าต้องมีคุณสมบัติที่ว่าอยู่จริงๆ - นั่นคือเป็นอะไรที่บางอย่างที่เรา "สร้าง" หรือ "สมมุติ" ขึ้นมาเองให้มีคุณสมบัติสูงส่ง ฯลฯ แล้ว "โยง" ตัวเราเข้ากับสิ่งที่มีความสูงส่ง ฯลฯ ที่เราสร้างเองนั้น
นี่เป็น need หรือแรงผลักดันอย่างเดียวกับที่ทำให้เกิดไอเดียทำนองเรื่อง nation (ชาติ) และ God (พระเจ้า)
และด้วยความที่
(ก) ชนชั้นกลางในเมืองของไทย มี "ราก" จากคนจีนเสียเยอะ หลังจากผ่านเวลายาวนานหลายทศวรรษ ความเป็น "จีน" ก็หายไป และมาถึงระดับลูกหลาน ก็กลาย "เป็นคนไทยไปหมด" แต่ขณะเดียวกัน ปัญหาที่ตามมาคือ การขาด "เอกลักษณ์" ของตัวเอง จะโยงกับความเป็นจีนก็ไม่ได้ เพราะไกลเกิน (ทั้งในแง่เวลาและระยะทาง)
(ข) ระบบทางคุณธรรมในสังคมไทย คือ ศาสนาพุทธ ความจริงก็อ่อนแอในแง่คำสอนและในแง่ความเป็นองค์กร ("สังฆะ") มาก
นี่คือ "ฐาน" ของการชูในหลวงภูมิพล อย่างที่เราเห็นในปัจจุบัน ซึี่งเป็นอะไรที่ใหม่ เพิ่งเกิดขึ้นในช่วงตั้งแต่ประมาณครึ่งหลังของทศวรรษ 2530 เป็นต้นมา ก่อนหน้านั้น แค่ย้อนไปที่ทศวรรษ 2520 ก็ยังไม่มีกระแสชูในหลวงภูมิพลในชนชั้นกลางในเมืองแบบนี้
need หรือ ความต้องการจะ "รู้สึกดี" ต้องการมี "เอกลักษณ์" หรือ identify ตัวเอง เข้ากับบางอย่างที่ใหญ่กว่า สูงส่งกว่า บริสุทธิ์กว่า ดังกล่าว ทำให้เกิดการ projection - ผมหาคำแปลไทยที่ถูกใจไม่ได้ ประมาณว่า "ฉาย" บางสิ่งบางอย่างที่ทำให้ "รู้สึกดี" #จากความรู้สึกส่วนลึกของตัวเอง #ไปหาสิ่งอื่น - ในกรณีนี้ คือในหลวงภูมิพล - คือการ "สร้าง" "ภาพปฏิมา" บางอย่างขึ้นมา แล้ว identify หรือ "โยง" ตัวเอง เข้ากับ "ภาพปฏิมา" นั้น
(เรื่อง "ในหลวงทรงงานหนัก" ฯลฯ จริงๆแล้วก็เป็น "ตีม" ที่ "เพิ่งสร้าง" และเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการที่ว่านี้)
ปรากฏการณ์สำคัญที่มีให้เห็นอย่างกว้างขวางในยุคนี้ คือการ "เขียนเรื่อง" ในหลวงภูมิพลที่ไม่ได้มีอยู่จริง แต่เป็นเรื่องที่ทำให้ "รู้สึกดี" และเมื่อเรา "โยง" หรือ identify ตัวเองเข้ากับเรื่องดังกล่าว - เข้ากับ "ในหลวงภูมิพล" ในฐานะ "ข้ารองพระบาท" - ก็ทำให้เรารู้สึกดีกับตัวเอง
สารพัดเรื่องตั้งแต่ "36 ขั้นบันไดชีวิต" "ในหลวงทรงขับรถ ยอมติดไฟแดง แวะซื้อโอเลี้ยง" "ในหลวงทรงร้องไห้" ฯลฯ
และ กรณี "จดหมายจากในหลวงถึงพระเทพ"
ซึ่งคุณ Piracha Krewkrajang นำมาเผยแพร่อีกไม่กี่วันนี้ - ดูภาพประกอบแรก ตัวกระทู้จริงอยู่ที่นี่ ขณะนี้มีคนไลค์กว่า 3 หมื่น 2 พัน และแชร์กว่า 5 หมื่น 3 พัน https://www.facebook.com/jajar16666/posts/1528759347172006
ใครที่เคยติดตามที่ผมเขียนตั้งแต่สมัยเว็บบอร์ดเมื่อสิบปีก่อน อาจจะจำได้ว่า "จดหมาย" ที่ว่า ไม่ใช่พระราชหัตถเลขาจริงๆ แต่มีผู้เขียนขึ้นในปี 2547 (ผู้เขียนใช้นามว่า "ว.แหวน" - ดูภาพประกอบที่สอง) แล้วมีการนำไปเผยแพร่กันต่อๆไป โดยเข้าใจผิดว่าเป็นพระราชหัตถเลขา ซึ่งเรื่องนี้ก็มีคนเคยไปสืบค้น และแจ้งให้ทราบกันทางบอร์ดพันทิพ ตั้งแต่เมื่อปี 2549 แล้ว (ดูภาพประกอบที่สาม)
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar