fredag 17 januari 2020

คุ้นๆ...ผุดแคมเปญ ‘ช่วยกรณ์ตั้งชื่อพรรค’ หลังโบกมือลาประชาธิปัตย์
กรณ์ จาติกวณิช ผุดแคมเปญ ช่วยกรณ์ตั้งชื่อพรรค หลังลาออก ส.ส. และสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ให้โจทย์ DNA พรรคใหม่ “พร้อมเปลี่ยนแปลงแต่รอบคอบ-พูดสิ่งที่จะทำ-ไทยเข้าใจ ทัดเทียม เท่าทันโลก”
https://prachatai.com/journal/2020/01/85972




หลายคนคงเห็นแล้วว่า เมื่อ 3 วันก่อน คุณ Korn Chatikavanij ได้โพสต์ถึงกรณีถ้ำหลวง (https://goo.gl/zVau6C) ผมเห็นว่าน่าสนใจมาก และขอนำมาอภิปรายเพิ่มเติม

โดยรวม ผมเห็นด้วยกับนัยยะหรือปมปัญหาที่คุณกรณ์ตั้งขึ้นมา แม้ว่าในแง่รายละเอียดของคำอธิบายของคุณกรณ์ ผมคิดว่า ยังอาจจะยังไม่ครอบคลุมหมด

โดยสรุปคือ คุณกรณ์ตั้งประเด็นว่า ทำไมสื่อต่างชาติ (และสื่อไทยด้วย - อันนี้ผมเพิ่มให้เอง) จึงให้ความสำคัญกับข่าว "หมูป่า ติดถ้ำ" มากมายขนาดนั้น "ทั้งๆที่มีคนต้องการความช่วยเหลืออีกมากมายทั่วไป" (คำของคุณกรณ์) แล้วคุณกรณ์ก็ให้คำอธิบายทำนองว่า เพราะ "ภาพลักษณ์" (คำนี้คุณกรณ์ไม่ได้ใช้ แต่ใช้คำอังกฤษที่ผมเห็นว่ามีความหมายเหมือนกันในที่นี้ คือ presentation หรือ "การนำเสนอภาพ") ออกมาในทางที่ดี (เป็น "เด็กดี" "ดูดี" "นอบน้อม" "เป็นนักสู้" และ "ถ่อมตน" ในคำของคุณกรณ์) ทำให้เกิดความเห็นอกเห็นใจอย่างมากเช่นนั้น

เท่าที่ผมอ่านคนที่มาแสดงความเห็น ซึ่งแทบทุกคนก็บอกว่า "เห็นด้วย" แต่ผมคิดว่าแทบไม่มีใครจับประเด็นที่เป็นปมสำคัญของกระทู้คุณกรณ์ได้ตรงจุด ผมเอาตัวอย่างความเห็นหนึ่งมาให้ดู เพราะคุณกรณ์มาตอบและขยายความกระทู้เอง ท่านผู้แสดงความเห็นบอกว่า "ต่างชาติเค้าให้คุณค่ากับชีวิตมนุษย์ครับ คุณอาจจะมองข้ามเรื่องนี้ไป ไม่เกี่ยวหรอกว่าต้องเด็กดีมั้ย แต่ถ้า 13ชีวิตเยาวชนติดถ้ำแบบนี้ต่อให้เด็กแว๊นก็ยังมีคนต้องการช่วย เพราะชีวิตทุกคนมีค่าไม่ว่ายากดีมีจน ไม่รู้คุณจะเข้าใจข้อนี้มั้ย" (อีกหลายคนก็ยก "เหตุผล" ทำนองนี้ ว่าเป็นเรื่องของมนุษยธรรม เรื่องของการเห็นคุณค่าของชีวิต บางคนบอกว่า ต่อให้เป็นนักท่องเที่ยวหรือ "ชาวบ้านธรรมดาๆ" ก็จะมีปฏิกิริยาจากสื่อต่างๆเช่นเดียวกัน หลายคนก็มาแสดงความเห็นย้ำเรื่องว่า เพราะเด็กเหล่านั้นเป็นเด็กดี ฯลฯ)

คุณกรณ์ได้ตอบความเห็นดังกล่าว ไว้น่าสนใจมาก ดังนี้ (ผมเน้นคำให้เอง)
"ไม่มีใครมองข้ามประเด็นเรื่องชีวิตมนุษย์ดอกครับ ประเด็นอยู่เพียงว่าความสนใจหมูป่าอยู่ในระดับที่สูงมาก #ทั้งๆที่#มนุษย์#ที่อื่นก็มีวิกฤตเดือดร้อนอยู่มากมาย #แต่ไม่ได้รับความสนใจในระดับเดียวกันจากสังคมไทยและสังคมโลก ใครๆก็อยากให้ทุกชีวิตได้รับความสนใจเท่ากัน #แต่ความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น เราจึงมาคุยกันว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้คนสนใจ"

ที่ผมเห็นด้วยเต็มที่กับประเด็นนัยยะของกระทู้และความเห็นคุณกรณ์ นั่นคือ ความสนใจหรืออารมณ์ความรู้สึกต่อความเป็นไป หรือต่อ "ข่าว" ต่างๆ ไม่ได้มาจาก "เนื้อหา" ของสิ่งนั้นหรือข่าวนั้นเอง แต่มันถูกกำหนดจากปัจจัยแวดล้อมอื่นๆอีกมาก โดยเฉพาะในด้านที่เกี่ยวกับ "ภาพที่ออกมา" (หรือ presentation ในคำของคุณกรณ์) เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆด้วย และลำพังคำอธิบายเรื่อง "มนุษยธรรม" เรื่อง "เห็นความสำคัญของชีวิต" อะไรทั้งหลาย ไม่สามารถใช้อธิบายได้ในตัวเอง

ให้ผมยกตัวอย่างขยายให้ดูสัก 2-3 ตัวอย่าง ("ที่อื่นก็มีวิกฤตเดือดร้อนมากมาย" ในคำคุณกรณ์):
ใครที่ติดตามสื่ออเมริกัน คงน่าจะรู้ว่า สื่ออเมริกันให้ความสนใจน้อยมากๆ กับเด็กปาเลสไตน์ที่เสียชีวิต บาดเจ็บ เดือดร้อน จากการกระทำของทหารอิสราเอล (ผมหมายถึงเด็กชาวบ้านธรรมดาๆเลย ไม่ได้หมายถึงเด็กที่เข้าร่วมต่อต้านอิสราเอล)

หรือเอาตัวอย่างใกล้ๆกับที่ผมอยู่ ทุกวันนี้ มีเด็กล่องเรือ เสี่ยงภัย และตาย ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจำนวนไม่น้อย ในฐานะส่วนหนึ่งของผู้พยายามลี้ภัยมายุโรป (ตัวเลขยูเอ็น ปี 2016 มีเด็กตายในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน 600 คน) แน่นอน มีการเสนอข่าวเรื่องนี้เหมือนกัน และนานๆทีถ้ามีภาพศพเด็กที่ชายหาดให้เห็นจะๆ ก็มีผลสะเทือนบ้าง แต่โดยรวม ระดับความสนใจ ก็เรียกว่ายังห่างจากเรื่องแบบ "หมูป่า" มาก ปัญหา "ผู้ลี้ภัย" ที่เป็นกระแสกันในยุโรป เป็นไปในลักษณะอื่นมากกว่า

หรือเอาตัวอย่างบ้านเราเอง ปีกลายเวลาเดียวกันนี้เลย มีน้ำท่วมใหญ่อีสานและภาคกลาง ซึ่งหลายคนคงพอจำได้เลาๆ แต่จะมีสักกี่คนที่จำได้ว่า มีคนตายจากน้ำท่วมครั้งนั้นอย่างต่ำ 28 คน? (ผมเชื่อว่า หลายปีผ่านไป คนจะจำเรื่อง "หมูป่า ติดถ้ำ" ได้มากกว่ามีคนตาย 28 คนจากน้ำท่วมใหญ่เยอะ) แน่นอน ปีกลายก็มีการเสนอข่าวเรื่องน้ำท่วม และความเสียหายต่างๆ แต่ก็ยังห่างจากระดับที่เราเห็นในกรณี "หมูป่า" นี้ และแน่นอนด้วยว่ามีองค์ประกอบที่ต่างกัน ในแง่ที่อาจจะบอกว่า คนตาย 28 คนจากน้ำท่วม เป็นไปอย่างฉับพลัน ในขณะที่กรณี "หมูป่า" เป็นเรื่องของการ "ลุ้น" ช่วยชีวิต นั่นก็เป็นส่วนหนึ่ง แต่เท่าที่ผมจำได้ ก็ไม่มีสื่อไหน ตามไปคอยติดตามหรือสัมภาษณ์ครอบครัวคนตายเหล่านั้น และที่สำคัญ นี่เป็นประเด็นที่ให้เห็นว่า ลำพังเรื่องมนุษยธรรม เรื่องคนเดือดร้อน ไม่ใช่คำอธิบายทั้งหมด ยิ่งถ้าชั่งน้ำหนักกันแบบธรรมดาๆ คงยากจะปฏิเสธว่า ความเสียหายเดือดร้อนทั้งในแง่ชีวิต ทรัพย์สินของกรณีน้ำท่วม จะต้องมากกว่ากรณีหมูป่าแน่ๆ*

ผมตระหนักว่า ตัวอย่างต่างๆที่เพิ่งพูดมานี้ มีความแตกต่างกับกรณีหมูป่าอยู่ แต่ประเด็นก็อย่างที่คุณกรณ์พูด คือในกรณีอื่นๆ "มีวิกฤตเดือดร้อนอยู่มากมายแต่ไม่ได้รับความสนใจในระดับเดียวกันจากสังคมไทยและสังคมโลก" และ "ใครๆก็อยากให้ทุกชีวิตได้รับความสนใจเท่ากัน #แต่ความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น"

ส่วนที่ผมกล่าวข้างต้นว่า ผมคิดว่าคำอธิบายของคุณกรณ์เกี่ยวกับ "ภาพที่ถูกนำเสนอ" ของหมูป่า อาจจะยังไม่ครบถ้วน (ไม่ได้บอกว่าผิด) เพราะผมคิดว่า ปัจจัยหรือองค์ประกอบที่ทำให้ "เรา" และ "สื่อ" สนใจหรือรู้สึกมากกับเรื่องอย่างหมูป่า คงมีมากมายกว่านั้นอีก (อาจจะเรียกว่า มีมากจนอธิบายได้ไม่หมด และหลายอย่างก็คงอธิบายออกมาเป็นข้อๆไม่ได้ คือเป็นเหมือนความรู้สึกเบลอๆที่ไม่ชัดว่าทำไม)
แต่ที่ผมเห็นว่ากระทู้ของคุณกรณ์มีประโยชน์ คือช่วยให้เราเสพย์หรือเผชิญหน้ากับ "ข่าว" หรือ "กระแส" ต่างๆ ที่ไม่ว่าเฉพาะหน้าจะดูสำคัญมากๆขนาดไหน อย่างมีสติ และอย่างมองให้กว้างและยาวออกไปทั้งในอดีตและปัจจุบัน
.................
* เพิ่มเติม ยกมาให้ดูเรื่องน้ำท่วมปีกลาย ซึ่งคิดว่าหลายคนคงจำไม่ค่อยได้แล้ว
"นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สรุปสถานการณ์อุทกภัย จากฝนที่ตกหนักต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 5 -6 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ทำให้เกิดน้ำไหลหลากในหลายพื้นที่รวม 44 จังหวัด ประชาชน ได้รับผลกระทบมากกว่า 6 แสน 5 หมื่นครัวเรือน มากกว่า 2 ล้านคน ผู้เสียชีวิต 28 ราย"
https://www.voicetv.co.th/read/513271
ดูระดับผลกระทบ ความเดือดร้อน ความเสียหาย (6 แสน 5 หมื่นครัวเรือน กว่า 2 ล้านคน ตาย 28) เรียกว่า มโหฬารกว่าอย่างเทียบไม่ได้กับกรณี "13 หมูป่า" แน่ๆ
Image may contain: 1 person, smiling
                        No photo description available.

 
  คลิกดูรายละเอียด-"เรื่องประหลาด"

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar