onsdag 25 november 2020

(ต่อ)บทวิเคราะห์ — กษัตริย์วชิราลงกรณ์รวยแค่ไหน

ราคาที่ดินทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัดพุ่งทะยานขึ้นตั้งแต่บัดนั้น หากประมาณการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 รวมกับมูลค่าที่เพิ่มขึ้นในต่างจังหวัด ปัจจุบันมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมดน่าจะอยู่ที่ 1.5 - 2 ล้านล้านบาท หรือ 49,000 ถึง 66,000 ล้านเหรียญสหรัฐ 26/47

Bild 

ทรัพย์สินส่วนสุดท้ายของสำนักทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ที่กลายเป็นของวชิราลงกรณ์คือผลกำไรประจำปีทั้งหมด หุ้นบรรษัทจะให้ผลกำไรเป็นเงินปันผลประจำปีและอสังหาริมทรัพย์จะสร้างรายได้จากค่าเช่าที่ 27/47

ธ.ไทยพานิชย์จ่ายเงินปันผล 6.25 บาทต่อหุ้นในปี พ.ศ. 2562 ทำให้วชิราลงกรณ์ได้ปันผล 4,990 ล้านบาท หรือ 165 ล้านเหรียญสหรัฐ scb.co.th/en/investor-re ปูนซีเมนต์ไทยจ่ายเงินปันผล 14 บาทต่อหุ้น ทำให้วชิราลงกรณ์ได้ปันผล 5,650 ล้านบาท หรือ 187 ล้านเหรียญสหรัฐ scc.listedcompany.com/financial_over 28/47

ส่วนรายได้จากค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์นั้นประเมินได้ยาก สำนักทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ดูแลสัญญาเช่า 40,000 ราย รวม 17,000 รายในกรุงเทพฯ 29/47

ผู้เช่ามีตั้งแต่สำนักงานราชการ ที่ดินและอาคารย่านธุรกิจสำคัญซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงแรมห้าดาวและห้างสรรพสินค้ายักษ์ใหญ่ ไปจนถึงชุมชนแออัดและอาคารเก่าแก่ตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 30/47

ก่อนหน้านี้สำนักทรัพย์สินพระมหากษัตริย์เก็บค่าเช่าในราคาถูกมาโดยตลอด แต่ไม่กี่ปีที่ผ่านมามีการขึ้นค่าเช่าให้เท่ากับราคาตลาด หากคาดการณ์คร่าวๆ ในช่วงหลายปีมานี้รายได้ที่ได้จากค่าเช่าที่น่าจะหลายล้านดอลลาร์ 31/47

งานวิจัยของพอพันธ์ระบุว่ารายได้ต่อปีของสำนักทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ระหว่างปี พ.ศ. 2552 และ 2554 อยู่ที่ระหว่าง 9,000 และ 11,000 ล้านบาท หรือ 296 ถึง 362 ล้านเหรียญสหรัฐ จนถึงปัจจุบันรายได้ต่อปีน่าจะอยู่ที่ประมาณระหว่าง 500 ล้าน และ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ 32/47

คำถามคือ จะเกิดอะไรขึ้นกับเงินเหล่านี้ เงินเหล่านี้ไม่น่าจะถูกนำไปเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ ของราชวงศ์เพราะพวกเขาได้เงินส่วนนี้จากภาษีของประชาชนอยู่แล้ว ในปีงบประมาณล่าสุดราชวงศ์ได้รับงบประมาณ 29,000 ล้านบาท หรือเกือบ 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ 33/47

ด้วยจำนวนพลเมืองทั้งประเทศ แค่ 69 ล้านคน เมื่อหารกันแล้ว คนไทยแต่ละคนต้องเสียภาษีบำรุงบำเรอสถาบันฯ จำนวน 420 บาท หรือ 13.86 เหรียญสหรัฐ ต่อปี ในขณะที่ประชาชนแต่ละคนในสหราชอาณาจักรจ่ายเงินเลี้ยงราชวงศ์ของพวกเขาเพียง 1.23 เหรียญสหรัฐต่อปีเท่านั้น 34/47

Bild        

เมื่อเทียบเฉพาะอัตราภาษีต่อหัวต่อปีของประชากร ก็มีเพียงประเทศเดียวในโลกที่งบใช้จ่ายของกษัตริย์สูงกว่าของไทยคือ ราชอาณาจักรสวาตีนี่ หรือที่เคยเป็นที่รู้จักกันในชื่อ สวาซีแลนด์ ซึ่งปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช โดย กษัตริย์ อึมสวาติ ที่สาม (Mswati III) 35/47

Bild  

ดังนั้นถึงแม้ว่าวชิราลงกรณ์และครอบครัวจะใช้จ่ายเงินมากมาย เงินส่วนใหญ่นั้นมาจากภาษีประชาชน ซึ่งหมายความว่ารายได้มหาศาลที่มาจากสำนักทรัพย์สินพระมหากษัตริย์อาจจะถูกนำไปลงทุนต่อเพื่อเพิ่มพูนความมั่งคั่ง 36/47

หากประมาณแบบต่ำ รายได้ต่อปีประมาณ 250 ล้านเหรียญสหรัฐที่ได้มาช่วง 20 ปีที่ผ่านมา จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นมาอีก 5 พันล้านเหรียญ หากนำไปลงทุนอย่างเหมาะสม ในปัจจุบันมูลค่าจะเพิ่มขึ้นอีกอย่างต่ำ 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐ 37/47

เมื่อคำนวนทรัพย์สมบัติทั้งหมดในสำนักทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ — ที่ดิน 49,000 - 66,000 ล้านเหรียญ หุ้นบรรษัท 7,500 ล้านเหรียญ และผลกำไรที่ได้ในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมาประมาณ 10,000 ล้านเหรียญ เราก็น่าจะพอประมาณความมั่งคั่งของราชวงศ์ไทยได้ 38/47

มูลค่าทรัพย์สินเหล่านี้ที่คนไทยถูกกรอกหูมาช้านานว่าเป็นของชาติ จนกระทั่งถูกวชิราลงกรณ์มาฮุบไปเป็นของส่วนตัวในปี พ.ศ. 2561 มีทั้งหมดประมาณ 66,000 - 84,000 ล้านเหรียญสหรัฐ 39/47

Bild    

แต่นี่ไม่ใช่ทั้งหมดของทรัพย์สินที่วชิราลงกรณ์มี นอกจากทรัพย์สินในสำนักทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ตระกูลมหิดลยังมีทรัพย์สินส่วนตัวอีกจำนวนมหาศาลที่เกิดขึ้นตอนที่ภูมิพลยังมีชีวิตอยู่ อภิมหาเศรษฐีจำนวนมากบริจาคเงินให้ราชวงศ์เพื่อได้รับการอุปถัมภ์ 40/47

เราไม่สามารถรู้แน่ชัดว่าทรัพย์สินส่วนตัวของภูมิพลมีจำนวนเท่าไร และที่ตกทอดมาถึงวชิราลงกรณ์มีจำนวนเท่าไร แต่คาดว่าน่าจะหลายพันล้านดอลลาร์ 41/47

แม้กระนั้น อภิมหาเศรษฐีนายทุนจำนวนมากก็ยังถวายความมั่งคั่งแก่วชิราลงกรณ์อย่างไม่ขาดสาย ในวันเกิดปีที่ 67 ของเขา ตระกูลที่ร่ำรวยที่สุดพากันต่อคิวคลานเข่าเพื่อมอบเงินสดให้ อันประกอบด้วย: 42/47

กลุ่ม CP Group นำโดยเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ ตระกูลเจียรวนนท์เป็นตระกูลที่ร่ำรวยที่สุดเป็นอันดับสองในประเทศไทยรองจากตระกูลมหิดล มีมูลค่าทรัพย์สินมากกว่า 35,000 ล้านเหรียญสหรัฐ 43/47

Bild  

กลุ่ม ThaiBev นำโดยเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี รวยที่สุดเป็นอันดับ 3 มีมูลค่าทรัพย์สินมากกว่า 14,500 ล้านเหรียญสหรัฐ 44/47

Bild  

เอมอร ศรีวัฒนประภา ภรรยาหม้ายของ เจ้าสัววิชัย ผู้ก่อตั้ง King Power ธุรกิจร้านขายสินค้าปลอดภาษีที่ได้รับสัมปทานผูกขาด รวยที่สุดเป็นอันดับ 4 มีมูลค่าทรัพย์สินมากกว่า 5,900 ล้านเหรียญสหรัฐ 45/47

นี่คือหน้าตาของวงจรคอรัปชั่นซึ่งได้รับผลประโยชน์และสิทธิพิเศษจากราชวงศ์ เพื่อแลกกับความมั่งคั่งที่อภิมหาเศรษฐีเหล่านี้จะให้กลับคืนมา 46/47

Bild   

นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมผู้ชุมนุมจึงจัดการประท้วงที่บริเวณหน้าสำนักงานใหญ่ธนาคารไทยพานิชย์ กษัตริย์ของพวกเขาเป็นหนึ่งในอัครมหาเศรษฐีที่รวยที่สุดในโลก แต่ยังหวังให้คนไทยจ่ายภาษีหล่อเลี้ยงไลฟ์สไตล์สุดหรูหราในเยอรมนี คนไทยส่วนใหญ่หมดความอดทนกับสิ่งเหล่าแล้ว 47/47

Bild 

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar