fredag 20 november 2020

Update อำนาจและสมบัติอยู่ในมือกูคนเดียว ชัดๆ ไม่ต้องอ้อมค้อมอีกต่อไป

Somsak Jeamteerasakul

อำนาจและสมบัติอยู่ในมือกูคนเดียว ชัดๆ ไม่ต้องอ้อมค้อมอีกต่อไป : มาแล้วครับ พรบ.ทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ ฉบับใหม่

(ดาวน์โหลดได้ที่นี่ https://goo.gl/6RveLG)

ผมจะวิเคราะห์โดยละเอียดอีกที โดยคร่าวๆ คือ ก่อนหน้านี้ พรบ.ทรัพย์สินฯที่มีอยู่ (ฉบับปี 2491) ให้อำนาจในทางเป็นจริง ในการควบคุมทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ กับกษัตริย์เต็มที่อยู่แล้ว (รายได้หักค่าใช้จ่ายสามารถ "ใช้สอยตามพระราชอัธยาศัยไม่ว่ากรณีใดๆ") แต่ยังมีลักษณะของการเขียนให้ รัฐมนตรีคลัง มาเป็น "ประธาน" คณะกรรมการทรัพย์สินฯโดยตำแหน่ง ซึ่งในทางเป็นจริง รมต.คลัง หรือ กท.การคลัง หรือ รัฐบาลชุดต่างๆ ไม่เคยมีส่วนเกี่ยวข้องหรืออำนาจในการควบคุม ตรวจสอบ หรือตัดสินใจเรื่องทรัพย์สินฯเลย

แต่คราวนี้ แม้แต่ตำแหน่งประธานคณะกรรมการฯ ก็ไม่ต้องเป็น รมต.คลังโดยตำแหน่งแล้ว คือเป็นใครก็ได้ที่กษัตริย์ตั้ง

ยกเลิกประเภท (category) "ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน" (พวกวังต่างๆ) ให้จัดเป็น "ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์" และดังนั้น ตอนนี้ ทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ ก็เหลือเพียง 2 ประเภท คือ ทรัพย์สินส่วนพระองค์ และ ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ - เดิมการที่มีจัดประเภท "ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติฯ" (วังต่างๆ) ก็เป็นการแยกอำนาจควบคุมออกจากสถาบันกษัตริย์ในระดับหนึ่ง แม้จะไม่ได้มีความหมายอะไรในทางปฏิบัติ คือ เดิมประเภทนี้ อยู่ในการดูแลของ สำนักพระราชวัง ที่ขึ้นต่อนายกฯ (สำนักพระราชวัง ตอนนี้ ก็ไปอยู่ในการควบคุมของกษัตริย์เต็มที่แล้ว ในฐานะ "ราชการในพระองค์")

เรื่องการเสียภาษี เขียนไว้คลุมเครือ ว่า

"ทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ [คือทั้ง ทรัพย์สินส่วนพระองค์ และ ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์] จะต้องเสียภาษีอากรหรือได้รับการยกเวันภาษีอากร ย่อมเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น"

อันนี้ ผมว่า ไม่ใช่ว่า ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ที่เคยได้รับยกเว้นภาษี จะกลายมาเสียภาษี คือยังไงก็คงได้รับยกเว้นต่อไป แต่เป็นการเขียนคลุมเผื่อไว้สำหรับว่า ทรัพย์ส่วนพระองค์ ที่เดิมเคยต้องเสียภาษี จะได้รับการยกเว้นบางส่วน คงจำได้ว่า เคยมีประกาศกระทรวงการคลังเรื่องยกเวันการคำนวนภาษีสำหรับเงินที่ได้รับพระราชจากเจ้ามาแล้ว ผมคิดว่า อีกหน่อยจะมีขยายการยกเว้นภาษีสำหรับทรัพย์สินส่วนพระองค์มากขึ้น

..............

"ข่าวดี" คือ ตอนนี้ ถ้า Forbes หรือใครจะบอกว่า กษัตริย์ไทยรวยที่สุดในโลก โดยเอา "ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์" มาคำนวน ทางการไทยไม่มีทางจะแก้ตัวว่า เป็น "ทรัพย์สินแผ่นดิน" แล้วยกเรื่อง "รมต. คลังเป็นประธานคณะกรรมการทรัพย์สิน" มาอ้างได้อีกต่อไป (ความจริง การแก้ตัวเช่นนี้ในอดีต ก็เป็นการโกหกอยู่แล้ว เพราะอย่างที่กล่าวข้างต้น และที่ผมเคยแสดงให้เห็นในบทความเรื่องนี้โดยละเอียด รมต.คลัง หรือ กท.การคลัง หรือ รัฐบาล ไม่ว่าชุดใด ก็ไม่เคยมีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแล สนง.ทรัพย์สินฯเลย)

แต่ตอนนี้ เอากันชัดๆไปเลย กษัตริย์องค์นี้ รวบอำนาจ เอากลไกรัฐและทรัพย์สิน ส่วนที่เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ มาอยู่ใต้การควบคุมของตัวเองโดยสิ้นเชิง ทั้ง "ราชการในพระองค์" และ "ทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์" - ทุกอย่างเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ หลุดลอยออกจาก ฝ่ายบริหาร-นิติบัญญัติ โดยสิ้นเชิงแล้ว

ไชโยๆๆ ทรงพระเจริญพะยะค่ะ 

Ingen fotobeskrivning tillgänglig.


 
 
ไทยปิด"สถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ นครมิวนิก" เตรียมเปิดเป็น "สถานกงสุลใหญ่" แทน - คือปิด เพื่อ"อัพเกรด" น่าจะ"อัพเกรด"ให้มากกว่านี้ เช่นเปลี่ยนเป็น กท.ต่างปท.(สาขา2) หรือทำเนียบ รบ.ไทย (สาขา2) หรือเจรจาเยอรมัน ขอเอามิวนิคเป็นเมืองหลวงแห่งที่สองของไทย ฮี่ฮี่ goo.gl/6xAhB1

ไทยประกาศปิด "สถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ ณ นครมิวนิก" และเตรียมเปิด "สถานกงสุลใหญ่ ณ นครมิวนิก" แทน

พูดง่ายๆคือปิด เพื่อ "อัพเกรด" สำนักงานตัวแทนประเทศไทยในมิวนิก-รัฐบาวาเรียและรัฐบาเดิน-เวือร์ทเทมแบร์ก

"กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์" ที่ปิดไป นี่คือระดับต่ำสุด มีไว้ออกวีซ่าเท่านั้น ไม่ใช่นักการทูตอาชีพ ไม่ใช่คนไทยด้วยซ้ำ ท่านสุดท้ายก่อนปิด คือ Mrs. Barbara Riepl (กงสุลกิตติมศักดิ์) โดยมี Mrs. Stephanie Reinhart เป็นเลขานุการ

ทุกวันนี้ ประเทศไทยมีสำนักงานตัวแทนประเทศในเยอรมัน คือ สถานเอกอัตรราชทูตไทย ณ กรุงเบอร์ลิน และมีสถานกงสุลใหญ่แห่งเดียวคือ "สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต" ซึ่งเป็นที่เข้าใจได้ เพราะแฟรงก์เฟิร์ต เป็นเมืองศูนย์กลางธุรกิจ ส่วนที่เหลือเป็นเพียง "สถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์" ที่ มิวนิก (ที่ปิดนี้), ฮัมบูร์ก, ชตุทท์การ์ท, และ ดึสเซลดอร์ฟ

ทำไมต้อง "อัพเกรด" ที่มิวนิกเป็น "สถานกงสุลใหญ่"?

ผมว่า ความจริงที่ว่า ทุกวันนี้ ประมุขประเทศไทยอยู่ที่มิวนิก กว่าครึ่งของปี (ตัวเลขปีกลาย 7 เดือนใน 12 เดือน) คงเป็นปัจจัยสำคัญแหละ กฎหมายหลายฉบับของไทย ไป "ออกประกาศเป็นกฎหมาย" ในระหว่างกษัตริย์ไทยอยู่ในมิวนิกนี่แหละ เรียกว่า ทรง "เซ็นชื่อ" หรือ "เอ๊กเซอร์ไซส์อำนาจอธิปไตยของประเทศไทย" ณ นครมิวนิกหลายครั้งหลายหนแล้ว

จะว่าไป อันที่จริง น่าจะ "อัพเกรด" ให้มากกว่านี้ด้วยซ้ำนะ เช่น เปลี่ยนเป็นกระทรวงต่างประเทศไทย (สาขาสอง) หรือ ทำเนียบรัฐบาลไทย (สาขาสอง) - หรือให้สุดๆไปเลย เจรจากับเยอรมัน ขอเอามิวนิกเป็นเมืองหลวงแห่งที่สองของไทยเสียเลย ฮี่ฮี่

Ingen fotobeskrivning tillgänglig.
Ingen fotobeskrivning tillgänglig.

 

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar