måndag 23 november 2020

เรื่อง"พระราชทานโฉนดในพระปรมาภิไธย".หมายถึงว่า การให้ โฉนดที่มีชื่อเจ้าของคือ ร.10 กับหน่วยงานที่ขอใช้พื้นที่เป็นผู้เก็บรักษาไว้ (ไม่ได้โอนให้)

จากที่มีข่าวว่ากษัตริย์วชิราลงกรณ์เตรียมพระราชทานโฉนดที่ดินในพระปรมาภิไธยแก่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาและมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ในเย็นวันพรุ่งนี้ (22 พฤศจิกายน 2563)
.
https://prachatai.com/journal/2020/11/90509
.
และมีบางคนเอาไปประโคมว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณ กล่าวไปในทำนองว่ากษัตริย์ได้มอบที่ดินส่วนตัวให้กับมหาวิทยาลัยนั้น
.
มีผู้ออกมาอธิบายว่า การให้ "โฉนดที่ดิน" นั้นไม่เท่ากับการให้ "ที่ดินให้"
.
ที่มีการให้โฉนดที่ดินในครั้งนี้ เป็นเพียงเพราะกรรมสิทธิ์ในที่ดินได้ถูกเปลี่ยนจากของ "สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์" ไปเป็นของ "กษัตริย์วชิราลงกรณ์" จึงมีการมอบโฉนดใหม่ไว้ให้ผู้ขอใช้ที่ดิน (มหาวิทยาลัยทั้งสอง) เก็บไว้เท่านั้น
.
หากจะมีการให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินแก่มหาวิทยาลัยจริงๆ ตามกฎหมายจะต้องมีการทำเรื่องโอนเปลี่ยนชื่อเจ้าของที่ดินไปเป็นของหน่วยงานนั้นๆ ที่สำนักงานที่ดิน ซึ่งจะต้องมีการเสียค่าธรรมเนียมด้วย
.
ดูรายละเอียดคำอธิบายดังกล่าวได้ที่ https://www.facebook.com/saiseema.p/posts/2723080924674084
.
เมื่อกรรมสิทธิ์ไม่ได้เป็นของมหาวิทยาลัยแล้ว นั่นหมายความว่าหากเจ้าของกรรมสิทธิ์ นั่นคือกษัตริย์วชิราลงกรณ์ รู้สึกอยากเอาที่ดินไปใช้ทำอะไรประการอื่น ก็สามารถเรียกคืนได้เสมอ
.
อนึ่ง การที่กรรมสิทธิ์ในที่ดินได้ถูกเปลี่ยนจากของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ไปเป็นของกษัตริย์วชิราลงกรณ์ หรืออีกนัยหนึ่งคือเปลี่ยนจากของ "ส่วนรวม" ไปเป็นของ "ส่วนตัว" ได้นั้น เป็นผลสืบเนื่องจากการออก พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2560 และ พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2561 ที่กำหนดว่า การจัดการ การดูแลรักษา การจัดหาผลประโยชน์ และการดําเนินการอื่นใดอันเกี่ยวกับทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย

Bilden kan innehålla: text


Saiseema Phutikarn
Yesterday at 1:54 AM ·

<พระราชทานโฉนดที่ดิน =ทรงอนุญาตให้(เช่า)ใช้ที่ดินต่อ ≠ พระราชทานที่ดิน>

เรื่องการ "พระราชทานโฉนดที่ดิน" ที่หลายคนเข้าใจผิดว่าเป็นการ "พระราชทานที่ดิน"
ทั้งที่ตัวประกาศมันเขียนไว้ชัดว่า "พระราชทานโฉนดในพระปรมาภิไธย" ที่หมายถึงว่า การให้ โฉนดที่มีชื่อเจ้าของคือ ร.10 กับหน่วยงานที่ขอใช้พื้นที่เป็นผู้เก็บรักษาไว้
 

การ "พระราชทานโฉนดที่ดิน" จึงไม่เท่ากับ "พระราชทานที่ดิน"
การ"พระราชทานที่ดิน" ควรต้องไปทำเรื่องโอนเปลี่ยนชื่อเจ้าของที่ดินไปเป็นของแต่ละหน่วยงานที่สำนักงานที่ดิน ซึ่งอาจต้องเสียค่าธรรมเนียมต่างๆ ( แม้ว่าตามแนวคำตัดสินของศาลฏีกาจะถือว่าการยกที่ดินให้เป็นสาธารณสมบัติ แค่เอ่ยวาจาแสดงเจตนาก็มีผลแล้ว ไม่จำเป็นต้องไปทำเรื่องโอน แต่การแสดงเจตตาด้วยวาจามักจะทำให้เกิดปัญหาข้อพิพาทเป็นคดีความตามมามากมาย ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมาในทางราชการก็มีการกำหนดแนวปฏิบัติให้มีการทำหนังสือแสดงเจตนาและมีการทำเรื่องโอนสิทธิที่สำนักงานที่ดิน)
//ทำไมถึงต้องมีการพระราชทานโฉนดที่ดินในพระปรมาภิไธย//
ก็ต้องย้อนความไปถึงตั้งแต่ตอน คสช ออก พรบ.จัดระเบียบทรัพย์สินฯ 2560 ในวันที่ 14 กค 2560 ที่ให้กษัตริย์สามารถจัดการกับ ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์รวมถึงสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่เคยอยู่ในความดูแลของสำนักทรัพย์สินฯ ได้ตามพระราชอัธยาศัย
หลายคนทราบว่าหลังจากนั้นมีการโอนเปลี่ยนชื่อผู้ถือหุ้นของบริษัทปูนซีเมนต์ไทย และ ธนาคารไทยพาณิชย์ จากสำนักทรัพย์สินฯ เป็น ร.10 ในวันที่ 17 มิย 2561 แต่หลายคนไม่ทราบว่าจริงๆแล้วเกือบ 1 ปีก่อนหน้านั้น มีการเปลี่ยนชื่อเจ้าของโฉนดที่ดินจากสำนักทรัพย์สินฯ ไปเป็น ร.10 ยกตัวอย่างเช่น โฉนดที่ดินคลอง 6 ซึ่งพระราชทานให้องค์การสวนสัตว มีการออกโฉนดใหม่ที่เป็นชื่อ ร.10 ตั้งแต่วันที่ 25 กค 2560
เมื่อมีการออกโฉนดที่ดินใหม่ข้างต้นเป็นโฉนดที่ดินในพระปรมาภิไธย(มีชื่อ ร.10 เป็นเจ้าของ) ก็เลยมีการเรียกหน่วยงานรัฐต่างๆที่ใช้(เช่า)พื้นที่ของสำนักทรัพย์สินฯเดิมมารับโฉนดใหม่ไปแทนฉบับเดิม
//พระราชทานโฉนดที่ดิน = ทรงอนุญาตให้(เช่า)ใช้ที่ดินต่อ//
ดังเช่นการ "พระราชทานโฉนด" ให้ 3 หน่วยงานที่เป็นข่าววันนี้คือ ม.สวนสุนันทา, ม.สวนดุสิต และ รร.ราชวินิจ จากทีเป็นข่าวนั้นได้รับโฉนดที่ดินใหม่(ที่มีชื่อเจ้าของคือ ร.10) บนที่เดิมที่แต่ละหน่วยงานเคยขอ(เช่า)ใช้พื้นที่อยู่มาหลายสิบปี ตั้งแต่สมัยที่ดินยังเป็นชื่อ "สำนักทรัพย์สินฯ" ซึ่งโดยนัยยะก็คือ ได้รับอนุญาตให้ใช้พื้นที่เดิมต่อไป ที่มีกระแสข่าวลือว่าเมื่อหมดสัญญาเช่าแล้วสำนักทรัพย์สินฯจะขอที่ดินคืนก็พอจะเบาใจได้ไปอีกระยะ แต่นั่นก็ไม่ได้เท่ากับการ "พระราชทานที่ดิน" อย่างที่หลายสื่อสรุปไปพาดหัวผิด
//นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการ “พระราชทานโฉนดที่ดิน”//
จริงๆแล้วหลังมีการออก พรบ.จัดระเบียบทรัพย์สินฯฉบับใหม่ พิธีการ "พระราชทานโฉนด" ให้กับหน่วยงานรัฐที่เช่าใช้ที่ดินของสำนักทรัพย์สินฯเดิม ได้เคยทำมาหลายครั้งแล้ว โดยครั้งแรกคือที่เป็นข่าวคือในวันที่ 30 พย 2560 (ตามภาพประกอบ) มี 9 หน่วยงานรัฐเข้าเฝ้าเพื่อรับพระราชทานโฉนดที่ดินในพระปรมาภิไธย โดย แบ่งเป็น
- 7 หน่วยงานเป็นโฉนดใหม่บนที่ดินเดิมซึ่งแต่ละหน่วยงานตั้งอยู่ในปัจจุบัน
- 2 หน่วยงาน ได้รับโฉนดที่ดินของที่ดินแห่งใหม่ ทดแทนที่ดินเดิมที่ต้องส่งคืน
//พระราชทานโฉนดบนที่ดินแห่งใหม่ ทดแทนที่เดิมที่เรียกคืน//
เป็นที่ทราบกันว่าในช่วง 6 ปีที่ผ่านมามีหลายหน่วยงานที่เคยตั้งอยู่บนที่ดินสำนักทรัพย์สินฯจำเป็นต้องย้ายสถานที่เพราะถูกสำนักทรัพย์สินฯเรียกคืนที่ดิน หรือหมดสัญญาเช่าแล้วไม่ได้รับการต่อสัญญา ที่เป็นที่ทราบกันดีก็เช่น รัฐสภา สนามม้านางเลิ้ง สนามมวยลุมพินี สวนสัตว์ดุสิต(เขาดิน) โครงการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์/หอประชุมกองทัพบกแห่งใหม่ โดย 2 หน่วยงานหลังได้มีการพระราชทานโฉนดที่ดินแห่งใหม่ให้เพื่อใช้ทดแทนที่ดินเดิมที่ถูกเรียกคืน
1. โครงการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์/หอประชุมกองทัพบกแห่งใหม่ ซึ่งมีนัยสำคัญแต่คนไม่ค่อยพูดถึง จากที่ดินเดิมที่อยู่ข้างบ้านสี่เสา ซึ่งได้เริ่มก่อสร้างฐานไป 3 ปี จนทำโครงสร้างรากเกือบเสร็จหมดแล้ว แต่ก็ต้องมาปล่อยโครงสร้างทั้งหมด(รวมทั้งเงินภาษีที่ใช้ไปเป็นพันล้าน) ทิ้งร้างเพื่อรอถมทิ้ง แล้วย้ายไปยังที่ดินแห่งใหม่ที่วังทองหลางแทน
2. สวนสัตว์ดุสิต(เขาดิน) กรณีนี้เป็นที่ทราบกันดีคือพระราชทานโฉนดที่ดินที่คลอง 6 พื้นที่รวม 300ไร่ ให้องค์การสวนสัตว์ไปสร้างสวนสัตว์แห่งใหม่แทนที่ "เขาดิน"ซึ่งมีเนื้อที่เพียง 120 ไร่ที่ได้คืนพื้นที่ให้สำนักทรัพย์สินไปก่อนหน้านี้ การเอาที่ดินใหม่ 300 ไร่ไปแทนที่ดิน 120 ไร่ เหมือนว่าสำนักทรัพย์สินฯจะ"ขาดทุน" แต่จริงๆแล้ว ที่ดิน 120 ไร่นั้นเป็นที่ดินกลางใจเมืองมีมูลค่าสูงกว่ามาก อีกทั้งบริเวณตรงสวนสัตว์คลอง 6 นั้น สำนักทรัพย์สินฯเป็นเจ้าของที่ดินอยู่ทั้งหมดเกือบ 2 พันไร่ แต่เนื่องจากเป็นพื้นที่ห่างไกล ที่ผ่านมาก็เลยไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไรเท่าไหร่เพียงปล่อยให้เช่าทำสนามกอล์ฟบ้าง ให้ชาวบ้านเช่าทำที่อยู่อาศัยถูกๆบ้าง แต่ในอนาคตหลังจากการแบ่งพื้นที่ไป 300 ไร่เพื่อให้สร้างสวนสัตว์ซึ่งเป็น Magnet ขนาดใหญ่ดึงผู้คนมายังบริเวณดังกล่าว น่าจะทำให้ที่ดินที่เหลืออีกพันกว่าไร่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล
------------------
เวอร์ชั่น Blog สำหรับคนไม่ถนัดอ่านยาวๆในเฟสบุ๊ค

https://medium.com/@p.saiseema/พระราชทานโฉนดที่ดิน-พระราชทานที่ดิน-bd9ae5360150

 

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar