måndag 23 november 2020

ปากว่าตาขยิบ..."ผมเป็นรัฐบาล ผมเป็นนายกฯ ผมไม่อยากให้คนไทยต้องมาฆ่าแกงกันอีก ไม่อยากให้มีการใช้ความรุนแรงกันอีก""

"ผมเป็นรัฐบาล ผมเป็นนายกฯ ผมไม่อยากให้คนไทยต้องมาฆ่าแกงกันอีก ไม่อยากให้มีการใช้ความรุนแรงกันอีก"

ประยุทธ์ ย้อนถามใครประกาศปฏิวัติ ลั่นห้ามมีม็อบชนม็อบ ขอคนไทยอย่าฆ่ากันเองอีก

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยืนยันว่าไม่เคยเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มผู้ชุมนุมทั้งกลุ่ม "ราษฎร" และ "เสื้อเหลือง" ชี้การชุมนุมโดยอ้างสิทธิเสรีภาพไม่ได้สงวนให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่ไม่อยากให้เกิดความรุนแรงจากการนำม็อบชนม็อบ พร้อมย้อนถามข่าวปฏิวัติรัฐประหารเป็นการหวังสร้างข่าวเพื่อระดมคนหรือไม่

"ผมไม่อยากให้เกิดขึ้น ม็อบชนม็อบตั้งเงื่อนไข ผมเป็นรัฐบาล ผมเป็นนายกฯ ผมไม่อยากให้คนไทยต้องมาฆ่าแกงกันอีก ไม่อยากให้มีการใช้ความรุนแรงกันอีก โดยเฉพาะสถานการณ์โควิดในวันนี้ เศรษฐกิจก็มีปัญหาอยู่แล้วหลายอย่างก็พยายามขับเคลื่อนอยู่ คนส่วนใหญ่ก็ยังประกอบอาชีพเขาอยู่ แต่คนส่วนหนึ่งที่จะแก้ปัญหาทางการเมืองก็อีกกลุ่มหนึ่ง คนไทยก็เป็นแบบนี้มีหลายกลุ่ม รัฐบาลก็ต้องดูว่าทำอย่างไรให้ทุกกลุ่ม มีความสงบเรียบร้อยมีความพึงพอใจในการทำงาน รัฐบาลจะคิดเอาเองไม่ได้ ต้องอาศัยกฎหมาย และรัฐธรรมนูญที่มีอยู่ในปัจจุบันว่าจะทำยังไงตามกฎหมายเหล่านี้ คิดเองไม่ได้หรอก" พล.อ.ประยุทธ์กล่าว

เมื่อถามถึงคำสั่งของสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ลงวันที่ 19 พ.ย. ซึ่งระบุว่าเป็น "ผลการประชุมหัวหน้าหน่วยงานด้านข่าวกรองและความมั่นคง" ที่มีการส่งต่อกันอย่างกว้างขวางในโซเชียลมีเดีย ซึ่งมีเนื้อหากำชับให้ระมัดระวังการระดมมวลชนจากพื้นที่ต่างจังหวัดเข้ามาร่วมชุมนุม พล.อ.ประยุทธ์ไม่ได้ยืนยันว่าเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารจริงหรือไม่ แต่กล่าวว่าเขาไม่ต้องสั่งการอะไรเพิ่มเติม และได้สอบถามทาง สมช. แล้วได้ข้อมูลว่าไม่ได้มีการสั่งการอะไรเช่นนั้น แต่เป็นการทำงานปกติอยู่แล้วที่ทุกคนและทุกหน่วยงานต้องมีการประเมินสถานการณ์ด้านความมั่นคง

นายกฯ ชี้ว่าการระดมคนเป็นการใส่ข้อมูลผ่านโซเชียล จึงขอให้พิจารณาว่าควรเชื่อหรือไม่ มีการสร้างความขัดแย้งไปเรื่อย ๆ และสร้างอีกฝ่ายมาต่อสู้กัน ดังนั้น เจ้าหน้าที่ได้มีการติดตามสถานการณ์ตามปกติและหามาตรการไม่ให้ปะทะกัน แต่เห็นว่าบางครั้งเหมือนต้องการให้มีการปะทะทั้งกับเจ้าหน้าที่หรือระหว่างสองฝ่าย จึงไม่อยากเกิดขึ้น ใครเป็นแกนนำก็ต้องรับผิดชอบดูแลให้ได้ ควบคุมกันให้ได้

ป้ายสื่อข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุมที่ ถ.อักษะ เมื่อวันที่ 22 พ.ย.
คำบรรยายภาพ,

ป้ายสื่อข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุมที่ ถ.อักษะ เมื่อวันที่ 22 พ.ย.

สำหรับการชุมนุมของกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า "ราษฎร" ในวันที่ 25 พ.ย. นี้ที่นัดหมายไปที่สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ซึ่งแกนนำประกาศว่าจะ "เข้าไปให้ใกล้ที่สุด" พล.อ. ประยุทธ์ได้ฝากถามกลับไปยังแกนนำว่า ทำไมถึงต้องเข้าไปให้ใกล้ที่สุด จุดประสงค์ทำเพื่ออะไร

นายกฯ ยังตอบคำถามสื่อเกี่ยวกับการประกาศกฎอัยการศึกเพื่อควบคุมการชุมนุมของกลุ่ม "ราษฎร" และการรัฐประหารโดยย้อนถามว่า "เรื่องปฏิวัติ เรื่องกฎอัยการศึก มีใครประกาศได้บ้างไหมตรงนี้ มีไหม หรือใครจะประกาศได้ ในเมื่อผมไม่ประกาศ แล้วใครจะประกาศ หรือคนที่กล่าวอ้างประกาศเองได้" ก่อนชี้ว่าเป็นการหาเรื่องระดมคนเพื่ออกมาชุมนุม

พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงเอกสารของ สมช. ที่ระบุให้กระทรวงมหาดไทยกำชับผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศดูแลการระดมมวลชนจากต่างจังหวัดเข้าร่วมการชุมนุมระหว่างวันที่ 23-25 พ.ย. ว่าขณะนี้ไม่มีการสั่งใด ๆ จากกระทรวงมหาดไทย ทางกระทรวงฯ เพียงแต่ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทำหน้าที่ในการดูแลความสงบเรียบร้อยตามปกติ

เขายืนยันว่ากระทรวงมหาดไทยปฏิบัติต่อผู้ชุมนุมเท่าเทียมกันทุกฝ่าย รัฐมนตรีมหาดไทย ชี้อีกว่าไม่มีความจำเป็นต้องชับเรื่องการนำมวลชนมาร่วมชุมนุม

"ไม่มี ผมบอกแล้วว่าไม่มี ผมทำตามปกติ คือ ทำให้ประเทศชาติสงบเรียบร้อย และไม่เลือกปฏิบัติ และทำตามกฎหมาย" พล.อ.อนุพงษ์กล่าว

..........................................................................

 
สาเหตุที่เกิดการรัฐประหารครั้งหลัง เพื่อควบคุมสถานการณ์เมื่อเกิดการเปลี่ยนผ่าน เมื่อประยุทธ์ขึ้นเป็นนายกฯก็สอดคล้องกับการที่วชิราลงกรณ์ขึ้นเป็นกษัตริย์ ประยุทธ์สามารถใช้งานได้ทุกอย่าง วชิราลงกรณ์ต้องการควบคุมทุกอย่างในมือ การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย สำหรับประเทศไทย มีอยู่ทางเดียว......

กษัตริย์วชิราลงกรณ์ไม่ได้อยู่แม้แต่ในประเทศไทย. เขาปกครองประเทศที่มีประชากร 70 ล้านคนจาก 5,000 ไมล์ออกไปในเยอรมันนี. ผู้รู้เรื่องดีคนนึงกล่าวประเมินกิจกรรมของเขาที่นั่น: "ไบ๊ค์, เอากัน, กิน. เขาเพียงแต่ทำสามอย่างนี้ที่นั่น" (Bike, fuck, eat) รัฐบาลเยอรมันรู้สึกลำบากใจที่เขาอยู่ที่นั่น "เราได้แสดงออกอย่างชัดเจนว่าการเมืองที่เกี่ยวกับเมืองไทยไม่ควรจะดำเนินจากดินแดนเยอรมัน" รัฐมนตรีต่างประเทศเยอรมันไฮโก แมส บอกรัฐสภาเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม

"Thailand’s king seeks to bring back absolute monarchy" The Economist ("กษัตริย์ไทยพยายามนำสมบูรณาญาสิทธิราชกลับมา")
https://www.economist.com/…/thailands-king-seeks-to-bring-b…

Bilden kan innehålla: 1 person, står, text där det står ”Celina Pereira”

 
วันที่ 22 ตุลาคมนี้ วชิราลงกรณ์มีกำหนดการพบกับเจ้าที่ด้านการเงินจำนวนหนึ่งทั้งที่เพิ่งเกษียณอายุและที่เข้ารับตำแหน่งใหม่ ได้แก่ปลัดกระทรวงการคลัง อดีตอธิบดีกรมบัญชีกลาง ฯลฯ จำนวน 14 คน ในระหว่างนี้ เจ้าหน้าที่กรมบัญชีกลางจะทำการถอนเงินจำนวนหนึ่งก้อนใหญ่พอสมควร ให้วชิราลงกรณ์
 
อนาคตข้างหน้า มีอยู่สองทางเท่านั้น ทางหนึ่ง ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ตามแบบที่มีผู้เสนอไว้ อีกทางหนึ่ง ปกครองด้วยการเลือกตั้งประธานาธิบดี ขอให้คนที่กำลัง "เดือด" คิดดูให้ดี คุณจะรักษา "คนที่กำลังจะมาและกำลังจะไป" ในสภาพแบบนี้ได้นานเท่าไร นักศึกษาเขากล้าพอที่จะเตือนตรงๆ
 

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar