tisdag 30 juli 2013

......"เชื่อมภาค เชื่อมชีวิต บูรณาการทุกทิศสู่ความเจริญ".....

วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

http://www.youtube.com/watch?v=WUUgpjsxBY4&feature=player_embedded

คนล้นแห่ฟัง "ชัชชาติ สิทธิพันธุ์" บรรยายโครงการ "เชื่อมภาค เชื่อมชีวิต บูรณาการทุกทิศสู่ความเจริญ"

 
 
เวลา 14.15 น. วันที่ 30 กรกฎาคม นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมกล่าวปาฐกถาพิเศษหัวข้อ "เชื่อมภาค เชื่อมชีวิตบูรณาการทุกทิศสู่ความเจริญ" ดังนี้

ไม่อยากพูดว่าพ.ร.บ.นี้่คือพ.ร.บ.เงินกู้ 2ล้านล้าน แต่นี่คือพ.ร.บ.พลิกโฉมประเทศขั้นพื้นฐานภายใน 7 ปีสำหรับผม 2 ล้านล้านไม่สำคัญ แต่คีย์เวิร์ดคือ 7 ปี และโครงการทั้งหมด 53โครงการที่มีรายละเอียดชัดเจน ซึ่งต้องดำเนินไปตามกฎหมายและหากไม่ผ่านก็ไม่สามารถนำเงินกู้ออกมาใช้ได้

ช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เราสูญเสียโอกาส เรียกว่านี่คือ "ทศวรรษที่สูญหาย" จากตัวเลขการแข่งขันหลายสาขาประเทศไทยแย่ลงทุกสาขา ไม่ว่าจะเป็นด้านถนน รถไฟ เรือ หรือ อากาศ ที่และที่ผ่านเราไม่มีการลงทุนโครงสร้างขนาดใหญ่ ดังนั้นอนาคตเรามอง 4 ที่สำคัญ คือ Growth Engine ได้แก่ 1.ธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ 2.การเชื่อมโยงเออีซี ตลาดแหล่งทรัพยากร พลังงาน 3.การพัฒนาสู่สังคมเมืองกระจายความเจริญไปต่างจังหวัดและเมืองชายแดน และ 4.การอุปโภคบริโภคภายในประเทศซึ่งทั้ง 4 ตัวนี้ ขึ้นอยู่กับโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม


ถ้าถามว่าเราได้อะไรจากการลงทุนโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศอาจจะมองว่าเราเน้นรถไฟความเร็วสูงแต่ความจริงไม่ใช่แค่รถไฟโครงการรถไฟลงทุนเพียง39.2%เท่านั้น เรายังจะมีมอเตอร์เวย์ 3 สายทำถนนเส้นหลักจาก 2 เลนเป็นถนน 4 เลนสร้างสะพานข้ามจุดตัดรถไฟ มีสถานีขนส่งสินค้า 15 แห่งกระจายตามหัวเมืองใหญ่มีท่าเรือใหม่ ส่งเสริมการขนส่งทางแม่น้ำ มีด่านศุลกากร 40กว่าแห่ง

 นี่คือโครงการยุทธศาสตร์ประเทศไทยจริงๆซึ่งไม่เกี่ยวกับเรื่องการเมือง มีการวางแผนการใช้งบประมาณตามยุทธศาสตร์แห่งชาติในพ.ร.บ.งบประมาณเน้นไปทำเรื่องหลักที่เป็นกระดูกสันหลังและเส้นเลือดใหญ่ของประเทศส่วนเรื่องย่อยๆเช่นถนนสายย่อยนั้นจะอยู่ในงบประมาณประจำปีตามปกติซึ่งเมื่อรวมกันแล้วจะเป็นภาพรวมทั้งประเทศ


สำคัญที่สุดคือพ.ร.บ.งบประมาณ 2 ล้านล้านบาทไม่ได้ใช้ทีเดียวทั้งหมด หากกฎหมายผ่านปีแรกเราจะทยอยใช้ตามความจำเป็น กฎหมายทุกฉบับต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเข้มงวดไม่ว่าจะเป็น EIA EHIA ประชาพิจารณ์หากอันไหนไม่ผ่านเราก็ยังทำไม่ได้ ไม่มีการชอร์ตคัท หรือ หลีกเลี่ยงและทุกอย่างทยอยทำในระยะเวลา 7 ปี

         
ประเทศไต้หวัน ที่มีรถไฟความเร็งสูง ลดความแออัดในเมือง เกิดเมืองใหม่กระจายคนออกไปซึ่งประเทศไทยทำได้ อาทิใช้ปากช่อง หัวหิน นครปฐม สร้างเมืองใหม่ตามเส้นทางได้ โดยจากจุดเหล่านี้สามารถทะลุเข้าไปในเมืองต่อที่สถานีบางซื่อขึ้นรถไฟฟ้าซึ่งเปลี่ยนชีวิตคนได้ ทั้งมิติทางสังคมและมิติทางเศรษฐกิจ เช่น รถไฟชินคังเซ็นในญี่ปุ่นก่อสร้างเสร็จมีเศรษฐกิจที่ตามขึ้นมา รถไฟความเร็วสูงไม่ใช่แค่เรื่องซื้อตั๋วแต่ได้ความเจริญที่ตามมาด้วย เป็น GrowthEngine ซึ่งเป็นการสร้างเศรษฐกิจและมูลค่าเพิ่มที่มากับ (รถไฟ) ความเร็วสูง

ขณะที่ในเวลาเดียวกัน ร่างพ.ร.บ.2 ล้านล้านยังดำเนินการอยู่เราได้ทำอีไอเอ เอชไอเอควบคู่กันไปด้วย เพื่อให้เตรียมพร้อมต่อการดำเนินการได้ทันที

รัฐบาลยืนยันว่าควรทำโครงการ2 ล้านล้านเป็นตัวผลักดันเศรษฐกิจและกระจายความเจริญโดยให้ความสำคัญกับมูลค่าของเวลาที่เสียไปถามว่าสร้างหนี้2ล้านล้าน จะสร้างวันนี้หรือในอนาคตที่มีค่าเสียเวลา ต้นทุนเพิ่มขึ้นและน้ำมันที่เสียไปปีละแสนล้าน ต้องคิดต้นทุนของการไม่ทำเท่าไหร่ด้วยแต่ต้นทุนของการทำ 2 ล้านล้าน รถไฟรางคู่ถ้าไม่ทำวันนี้ต้นทุนอนาคตเพิ่มขึ้น 2 เท่า ดังนั้นหัวใจของ พ.ร.บ. 2ล้านล้านนี้คือเรื่องเวลา ไม่ใช่เรื่องเงิน เราต้องทำเวลาให้พร้อมต่อการพัฒนาของโลก

โครงการเมกะโปรเจ็กต์ส่วนใหญ่เราใช้เงินกู้ทำ ส่วนงบประมาณแผ่นดินไม่ได้จ่ายตรงโครงการ เป็นการจ่ายคืนเงินกู้ แนวปฏิบัติของพ.ร.บ.นี้ไม่ต่างกัน ใช้เงินกู้เป็นการจ่ายโครงการ ซึ่งที่ผ่านมาไปเข้าใจผิดว่า เอางบประมาณไปจ่ายค่าโครงการโดยตรง แต่เรากู้เงิน แล้วนำงบฯรายปีไปจ่ายเงินกู้

ที่ผ่านมา งบฯรายปีไม่สามารถทำได้สะดวกเพราะไม่สามารถวางแผนต่อเนื่องได้ แต่การวางแผนงบฯ 7 ปี ทุกคนเห็นนักลงทุนเห็นว่า 7 ปีเราจะดำเนินการอย่างไร แต่กรอบ 7 ปีเราจะเห็นวงเงินและหนี้สาธารณะ ถ้าใช้งบฯ ปกติวิธีการคือต้องตั้งงบฯ ผูกพันจะเป็นภาระรัฐบาลต่อไปมาก แต่แยกต่างหากจะบริหารได้ชัดเจนลงไปในโครงสร้างพื้นฐาน ผ่านการตรวจสอบที่เข้มข้นและชัดเจน

คนคิดว่า 2 ล้านล้านจะโกงเป็นเรื่องที่เรากังวลเหมือนกัน แต่ต้องแยกจากกันระหว่างการโกงกับความจำเป็นของโครงการพอเอาความโกงไปติดกับโครงการว่าอย่าทำเพราะจะโกงเป็นเหตุผลที่ผิดดังนั้นต้องมาร่วมมือกันตรวจสอบให้เข้มข้นทั้งภาครัฐและเอกชนและแยกความจำเป็นของโครงการที่มองว่าถ้าเหมาะสมต้องทำทางกระทรวงคมนาคมพยายามทำให้โปร่งใสนำข้อมูลขึ้นเว็บไซต์ออกระเบียบตั้งราคาประมูลกลางร่วมมือกับภาคเอกชนและตั้งผู้สังเกตการณ์มาร่วม ซึ่งค่อยๆเริ่มพัฒนาระบบตรวจสอบไปถ้าเราผ่านจุดนี้ได้ ความโปร่งใสทั้งระบบจะดีขึ้น ยืนยันว่าคนที่ยังไม่เชื่อมั่นขอให้มาร่วมกันช่วยให้คำแนะนำเพราะเราพร้อมให้ตรวจสอบ


โครงการผ่านการคิดมาระยะหนึ่งแล้ว และหลายโครงการมีการทำการศึกษาระยะหนึ่งขณะที่บางโครงการเป็นโครงการเก่าที่มีการศึกษาไว้แล้วสามารถทำได้เลยเรามีชัดเจนว่าโครงการใดทำโครงการใดไม่ทำ

        
โดยความคืบหน้าการลงทุนรถไฟความเร็วสูงเรามองผลประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมเราคำนวณโดยใช้หลักวิทยาศาสตร์ว่าคนจะเปลี่ยนจากรถเครื่องบินมาโดยสารรถไฟความเร็วสูงกี่เปอร์เซ็นต์ซึ่งเรามีตัวเลขทั้งหมดและยืนยันว่าไม่มั่ว ทุกอย่างเป็นหลักวิชาการที่ต้องทำ ถ้าไม่ทำก็จะแย่



รถไฟความเร็วสูงมีส่วนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานกับการทำธุรกิจเดินรถทั้งสองส่วนนี้ถ้าการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.)ทำได้ก็จะให้ทำแต่ต้องดูเข้มแข็งแค่ไหนถ้ายังไม่ได้ให้บริษัทลูกของ ร.ฟ.ท.ดำเนินการ

(ข่าวจากประชาชาติธุรกิจออนไลน์)

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar