fredag 24 juli 2015

"หนองโบสถ์" โมเดล...ป้องกันภัยแล้ง......ตัวอย่างดีๆยังมีให้เห็นในสังคม ที่ควรเอาเป็นตัวอย่าง

ข่าวสดออนไลน์


วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เวลา 00:01 น.
เมืองไทย 25 น.
ทวี มีเงิน

คง รู้ๆ กันว่า พิษสง "ภัยแล้ง" ส่งผลกระทบทั้งวิถีชีวิตและเศรษฐกิจอย่างคาดไม่ถึง ตอนนี้เริ่มมีการพูดถึงทฤษฎี "ถาดขนมครก" คือให้แต่ละหมู่บ้านขุดบ่อขนาดใหญ่เก็บน้ำไว้ใช้เองไม่ต้องพึ่งพาเขื่อนที่ นับวันจะสร้างลำบาก

ทำให้นึกถึงตำบลหนองโบสถ์ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ ที่ไม่ได้รับผลกระทบแม้ฝนทิ้งช่วงนานๆ ยังทำนา ปลูกพืช เลี้ยงปลาได้ปกติ ทั้งที่บุรีรัมย์แล้งหนักที่สุดในรอบหลายสิบปี

เนื่อง จากที่หนองโบสถ์มีโครงการ "สร้างคลอง สร้างคน" เพื่อเศรษฐกิจพอเพียง เริ่มตั้งแต่ปี "55 ด้วยความร่วมมือระหว่างชาวบ้าน มูลนิธิเพื่อการศึกษาและประชาสงเคราะห์ และบริษัทไทยออยล์

โครงการ จะเน้นพัฒนาคน ยกระดับผู้นำชุมชนให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็น ระบบ โดย "วิศวกรจิตอาสา" จากไทยออยล์นำความรู้ด้านวิศวกรรมมาถ่ายทอด



เริ่ม แห่งแรกที่หมู่บ้านหนองตะเคียน การทำงานจะเริ่มตั้งแต่วิศวกรลงพื้นที่สำรวจ ออกแบบตามหลักวิชาการ พร้อมทั้งให้ความรู้การใช้เครื่องมือวัดระดับน้ำและเครื่องมืออื่นๆ ในการขุดคลองและทำถนน ให้กรรมการหมู่บ้านและชาวบ้านได้เรียนรู้

ที่ สำคัญเนื่องจากสภาพพื้นที่คลองที่นี่สูงๆ ต่ำๆ เวลาขุดจึงต้องใช้ความรู้ทางวิศวกรรมเข้ามาช่วยนอกจากนี้ยังได้ขุดสระน้ำ ป้อนนาข้าวจำนวน 800 ไร่ ขนาดตั้งแต่ 300-900 ลูกบาศก์เมตรใช้เลี้ยงปลา ปลูกพืช เป็นแหล่งอาหารของชุมชน

 ตอนนี้โครงการขยายไปยังบ้าน โชคชัย บ้านไทยทอง และบ้านทองลิ่ม ลักษณะโครงการก็คล้ายกัน เช่น ขุดลอกคลอง ทำทางข้าม ทางลอด ทำรางระบายน้ำล้น ปรับปรุงถนนเลียบคลองป้องกันการพังทลายของทำนบกั้นน้ำ และเพิ่มประสิทธิภาพการกักเก็บน้ำได้ถึง 157% หรือเป็นปริมาณน้ำกว่า 4 หมื่นลูกบาศก์เมตร

 หัวใจของโครงการไม่ได้อยู่ที่งบประมาณ แต่อยู่ที่การใช้ความรู้เชิงวิศวกรเข้าไปบริหารจัดการ หลังจากโครงการเสร็จแล้วก็ไม่ได้ทอดทิ้งให้ชาวบ้านจัดการกันเอง ทีมวิศวกรยังให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด ถึงวันเสาร์อาทิตย์เมื่อไหร่ต้องลงไปขลุกกับชาวบ้านตลอด จนแยกไม่ออกว่าคนไหนเป็นชาวบ้านคนไหนเป็นวิศวกร

องค์กรต่างๆ ที่จะทำซีเอสอาร์หลังหน้าแล้งนี้ ลองมาช่วยกันขุดบ่อ ขุดคลองเอาน้ำไว้ใช้จะได้ไม่ต้องง้อเขื่อนอีกต่อไป

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar