‘ปวิน’ โวยกงสุลไทยในเยอรมัน อ้างตัดทุนมหาวิทยาลัย บล็อคบรรยายการเมือง

15 ก.ค.2558  ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ รองศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยเกียวโต และนักวิจัยรับเชิญมหาวิทยาลัย Freiburg เยอรมนี โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวระบุสถานทูตไทยในเยอรมนีแทรกแซงมหาวิทยาลัยในเยอรมนีให้งดจัดกิจกรรมทางวิชาการหลังปวินเข้าร่วม
สำหรับรายละเอียดในเรื่องนี้ ปวินเล่าถึงสองกรณีที่เกิดขึ้น กรณีหนึ่งคือการที่สถานทูตไทยติดต่อมหาวิทยาลัยเพื่อส่งคนเข้าร่วมงานวิชาการเรื่องสถานการณ์การเมืองไทยที่เขาบรรยาย ส่วนอีกกรณีเป็นเรื่องที่ทำให้เขาไม่พอใจอย่างมากคือ กรณีที่กงสุลไทยสั่งให้มหาวิทยาลัยยกเลิกงานที่เชิญเขาไปบรรยายโดยขู่จะตัดเงินสนับสนุนและทางมหาวิทยาลัยก็ยินยอม
ปวินเท้าความว่า เขากำลังอยู่ในระหว่างการเป็นนักวิจัยรับเชิญ ณ มหาวิทยาลัย Freiburg ของเยอรมนี เริ่มต้นการรับตำแหน่งดังกล่าวเมื่อวันที่ 21 มิ.ย.ที่ผ่านมา หน้าที่สำคัญคือการได้รับเชิญไปบรรยายหัวข้อที่เขากำลังทำวิจัยอยู่คือเรื่องสถานการณ์การเมืองปัจจุบันของไทย
เขากล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมา สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเบอร์ลิน ได้พยายามแทรกแซงกิจกรรมทางวิชาการที่เขาเกี่ยวข้อง เมื่อครั้งที่ได้รับเชิญให้เล็คเชอร์ ณ มหาวิทยาลัย Freiburg เมื่อวันที่ 6 ก.ค. นางนงนุช เพ็ชรรัตน์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน ได้ขอให้เจ้าหน้าโทรศัพท์มาสอบถามมหาวิทยาลัยเกี่ยวกับการบรรยายและขอส่งเจ้าหน้าที่มาเข้าร่วม ทางมหาวิทยาลัยได้ตอบปฏิเสธไปทันที เนื่องจากเป็นกิจกรรมทางวิชาการที่ไม่ควรมีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง จากนั้นทางมหาวิทยาลัยได้แจ้งเรื่องดังกล่าวแก่เขา ซึ่งเขาเห็นว่าเป็นความพยายามของสถานเอกอัครราขทูตในการข่มขู่การประกอบวิชาชีพของเขา
“หากใครตามเฟซบุ๊คผมก็จะทราบว่า ผมได้เขียนเรื่องความอึดอัดนี้โดยทันที โดยย้ำว่า คสช ลงโทษผมทางกฏหมายอย่างไม่ชอบธรรมแล้ว ผมจะไม่ยอมอย่างเด็ดขาดที่จะให้สถานเอกอัครราขทูต ณ กรุงเบอร์ลิน มาสร้างความกดดันต่อผม ผมขอสู้ตาย” ปวินกล่าว
เขากล่าวต่อว่า เขาตอบโต้โดยการเดินทางไปยังสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลินวันรุ่งขึ้น (7 ก.ค.) เพื่อร่วมประท้วงกับกลุ่มส่งเสริมประชาธิปไตยเรียกร้องให้ คสช. ปล่อยตัวนักศึกษาทั้ง 14 คนซึ่งขณะนั้นยังถูกจำคุกอยู่ และเขายังเรียกร้องขอพบนงนุชแต่ไม่มีตัวแทนจากสถานเอกอัครราชทูตคนใดออกมาพบ
“ผมเห็นว่า เป็นความขลาดของคนจากสถานเอกอัครราชทูตที่จะออกมาเผชิญหน้าผมอย่างตรงไปตรงมา” ปวินกล่าว
ปวินกล่าวต่อว่า หลายวันต่อมาเขาได้รับการติดต่อจากนักศึกษาของมหาวิทยาลัย Goethe-Universität Frankfurt am Main เพื่อเชิญบรรยายเกี่ยวกับพัฒนาการทางการเมืองของไทย ในอีเมลเชิญนักศึกษาที่เป็นผู้ติดต่อได้เขียนอย่างตรงไปตรงมาว่าไม่อาจเชิญปวินอย่างเป็นทางการได้ เพราะเกรงว่าอาจทำให้สถานกงสุลไทย ณ นครแฟรงค์เฟิรต์ขุ่นเคือง และอาจนำไปสู่การตัดเงินช่วยเหลือแก่สถาบันได้ เขาตอบรับการบรรยายอย่างไม่เป็นทางการที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 14 ก.ค.
“ผมเดินทางออกจาก Freiburg ไปยังแฟรงค์เฟิรต์แต่เช้า แต่เพียงไม่กี่นาทีก่อนที่เล็คเชอร์จะมีขึ้น ผมได้รับแจ้งว่า ทางผู้จัดขอยกเลิกงานเล็คเชอร์ของผม เพราะสถานกงสุลฯ ได้โทรศัพท์มาขอให้ยกเลิก และได้มีการพูดถึงการขู่ว่าจะมีการตัดเงินช่วยเหลือจากสถานกงสุลฯ หากผู้จัดยังดื้อที่จะให้มีเล็คเชอร์ของผมต่อไป”
“เมื่อผมทราบข่าว ผมรู้สึกไม่พอใจอย่างมาก เพราะนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่หน่วยงานราชการของไทยในเยอรมนีพยายามแทรกแซงงานวิชาการ และในส่วนตัว มันยังเป็นความพยายามสร้างแรงกดดันต่อผม ปฏิกิริยาตอบโต้จากผมคือการกล่าวตำหนิผู้จัดอย่างรุนแรงที่ยอมให้เงินบริจาคของสถานกงสุลฯ เข้ามามีอิทธิพลเหนือชุมชนวิชาการในเยอรมนี จากนั้น ผมได้เรียกร้องให้นักศึกษาที่ไม่เกี่ยวข้องกับผู้จัด ได้ช่วยผมในการรักษาพื้นที่ทางวิชาการ โดยขอให้ช่วยสนับสนุนให้งานเล็คเชอร์ผมมีต่อไป แม้ว่าจะถูกทางมหาวิทยาลัยสั่งยกเลิกไปแล้ว ซึ่งนักศึกษาจำนวนหนึ่งเห็นด้วย และยังกล่าวต่อว่า จะไม่ยอมให้หน่วยงานของไทยมามีอิทธิพลต่อมหาวิทยาลัย และพร้อมส่งเสริมเสรีภาพทางวิชาการ จนในที่สุด เล็คเชอร์ของผมก็มีขึ้น และได้จบลงไปด้วยดี”
ปวินกล่าวว่า จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นปรากฏให้เห็นชัดว่าตัวแทนทางการทูตของไทยยินดีทำตามนโยบายของ คสช ในการกำจัดพื้นที่แสดงความเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองของไทย โดยใช้อิทธิพลทางการเงินเป็นเครื่องมือต่อรองสถาบันการศึกษาต่างๆ ในเยอรมนี
“นางนงนุชแม้ว่าจะเป็นที่รู้กันดีในกระทรวงการต่างประเทศถึงความใกล้ชิดที่เคยมีกับอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แต่ท่าทีล่าสุดของนางนงนุชชี้ถึงความพร้อมที่จะสนองต่อนโยบายของ คสช แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่ขัดต่อหลักปฏิบัติทั่วไปที่ประเทศอื่นๆ มีต่อแวดวงวิชาการ สถานกงสุลใหญ่ที่แฟรงค์เฟิรต์ ก็ดำเนินนโยบายใกล้เคียงกัน โดยใช้วิธีการปิดกั้นผู้ที่มีความเห็นต่างทางการเมือง แทนที่จะใช้วิธีการเดินทางมาเข้าร่วมงานเล็คเชอร์และแสดงความเห็นที่ต่างไป หรืออธิบายจุดยืนของสถานกงสุลฯ ในวิถีทางที่ไม่สกปรกและซิวิไลซ์” ปวินกล่าว
นอกจากนี้ปวินยังแสดงความไม่พอใจต่อท่าทีของมหาวิทยาลัย Goethe-Universität Frankfurt am Main โดยระบุว่าคณาจารย์ต่างปฏิเสธการปกป้องเสรีภาพทางวิชาการ และไปให้ความชอบธรรมต่อท่าทีของสถานกงสุลฯ ไม่มีอาจารย์คนใดของมหาวิทยาลัยออกมาอธิบายถึงเรื่องที่เกิดขึ้น ต่างกลับพร้อมใจที่จะไม่ปรากฏตัวในระหว่างเล็คเชอร์ของเขา เพื่อแสดงให้สถานกงสุลฯ เห็นว่าตัวเองไม่มีส่วนรู้เห็นการการเชิญปวินมาบรรยาย
“เป็นเรื่องน่าเศร้าที่ประเทศอย่างเยอรมนี ที่มีความเป็นเลิศด้านการศึกษา ได้ผลิตนักวิชาการที่มีอิทธิพลในสาขาต่างๆ จำนวนมากตั้งแต่อดีต แต่วันนี้ กลับตกเป็นทาสทางการเงินของหน่วยงานไทย จนทำให้ละทิ้งหน้าที่การส่งเสริมเสรีภาพทางวิชาการ พวกคุณควรต้องละอายใจต่อตัวเองเป็นอย่างยิ่ง”
ปวินกล่าว
http://www.asiasentinel.com/politics/thailand-junta-threatens-german-university/

Thai Junta Threatens German University
Posted on July 15, 2015

[​IMG]

Pavin Chachavalpongpun
Thai embassy in Berlin tries to stop speech by dissident exile academic

The long arm of Thailand’s junta apparently reaches to Germany, where Thai officials attempted to block a speech by dissident academician Pavin Chachavalpongpun to students at the Southeast Asian Department at Goethe University in Frankfurt by threatening to cut off funds to the program.

Pavin has been a target of the National Council Peace and Order almost since the May 22 coup that ended representative democracy in Thailand. Frankfurt, where he now is on a study program, is the overseas home of Thai Prince Maha Vajiralongkorn, the heir to the Thai throne, which could or could not be important.

Pavin’s Thai passport has been revoked and the Thai foreign ministry has attempted to pressure Japan, where he normally teaches at the Center for Southeast Asian Studies at Kyoto University, to extradite him back to Thailand. He is one of hundreds of dissidents who have gone into exile, but is one of a relatively small number of high-value targets that the government would particularly like to retrieve.

Prayuth Chan-ocha, the coup leader who appointed himself prime minister, has ordered ambassadors from a number of countries hosting the exiles in an attempt to force them to send them back. No country has done so.

Pavin was forced to apply for refugee status in Japan because he rejected the junta’s call to have his “attitude adjusted,” a euphemism that has affected hundreds of people in Thailand who have been forced to appear before junta officials to be warned they could be punished if they caused any more trouble. Refugee status has enabled him to travel, taking a one-month research fellowship with the Freiburg Institute for Advanced Studies temporarily at Albert Ludwigs University in Freiburg, Germany

In open letter of complaint to Goethe University, he said he was scheduled to give a lecture on the Thai political situation at the Freiberg Institute on July 6. The Thai embassy in Berlin telephoned the institute and asked if it could send a representative to attend the lecture. The institute rebuffed the embassy, informing it that the lecture was strictly academic activity and therefore would not allow it to be “politicized.”

“To me, this was another step of the Thai Embassy to put extra pressure on me, in order to prevent me from performing as an academic,” Pavin wrote. “The next day, on 7 July 2015, as I traveled to Berlin to give a briefing on the Thai political situation at the invitation of the Friedrich Ebert Stiftung, I participated in a protest organized by Thais in Berlin in front of the Royal Thai Embassy in Berlin, personally in order to call for the cessation of intervention of the Embassy in my academic activities in Germany. Nobody from the Embassy was willing to meet me on that day.”

On the same day, he said he received an email invitation from Kim Wehner, a student worker at the Southeast Asian Department at Goethe University and a member of the student council, inviting him to give a talk on the Thai political situation on a mutually agreed date.

In her email, Wehner told Pavin that “As your current situation appears to be a bit complicated, we cannot invite you officially in the name of the Department as we fear that the consulate will cut the money they donate to us. But still, the student council thinks that your talk will be very interesting, therefore we would like to try to manage it.”

Pavin agreed to speak on July 14 on political developments since the coup, only to be told minutes before the lecture that the organizers had canceled it under pressure from the Thai Consulate in Frankfurt because of a threat by the consulate to cut all the donations should the event take place.

“Reacting with anger and frustration, I condemned the organizers and called upon other students to help me protect academic freedom. Eventually, I defied the cancellation and insisted on giving a lecture. It was, eventually, a successful lecture.”

In his letter, he told the university he was writing “to alert you of a possibility that the department may compromise its duty to defend academic freedom in exchange for financial rewards from the Thai Consulate in Frankfurt. I would therefore kindly request you to look into and investigate this case, as I believe this will damage the reputation of Germany as a place for academic freedom and the integrity of the university itself.”

He has not yet received a response, he told Asia Sentinel.

.....................

[​IMG]
หยุดดัดจริตประเทศไทย

เมื่อวานนี้ ·

[​IMG]

งามหน้า!! กงศุลไทยเล่นสกปรกขู่ตัดเงินและเงินบริจาคให้มหาวิทยาลัยถ้าให้อาจารย์ปวินไปแล็คเชอร์!!

อาจารย์ปวินได้รับเชิญจากนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยแฟรงค์เฟิรต์
ให้ไปบรรยายแต่ว่าถูกยกเลิกในนาทีสุดท้ายเพราะมีการขู่ว่าทางมหาวิทยาลัยจะถูกตัดเงินจากสถานกงศุลไทย

เป็นเรื่องตลกและทุเรศมากที่เงินของกงศุลไทยไปขู่เนี่ยก็เป็นเงินจากภาษีประชาชนแต่กงศุลไทยกลับเอาเงินก้อนนี้ไปข่มขู่มหาวิทยาลัยเพื่อหวังผลในทางการเมือง!!

สกปรกมากที่เอาเงินภาษีคนไทยเอามาปิดปากการแสดงความเห็นทางวิชาการจนเรื่องนี้เริ่มถูกกระจายส่งต่อในต่างประเทศแล้วถึงเรื่องที่เกิดขึ้น

เล่นงานลับหลังโดยใช้เงินฟาดหัวแบบนี้ ตกลงเรียกกงศุลหรือว่ากุ๊ยดีล่ะเนี่ย