ศาลรธน.มีไว้ทำไม
คอลัมน์ ใบตองแห้ง
คอลัมน์ ใบตองแห้ง
ศาลรธน.มีไว้ทำไม คอลัมน์ ใบตองแห้ง
ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ มาตรา 61 วรรค 2 พ.ร.บ.ประชามติ ที่บัญญัติว่า ผู้ใดเผยแพร่ข้อความ “ผิดไปจากข้อเท็จจริง หรือมีลักษณะรุนแรง ก้าวร้าว หยาบคาย ปลุกระดม หรือข่มขู่” มีโทษจำคุก 10 ปี ไม่ขัดมาตรา 4 รัฐธรรมนูญชั่วคราวซึ่งคุ้มครอง “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค”
มีอะไรแปลกประหลาดไหม ไม่มีหรอกครับ ก็เป็น คำวินิจฉัยตามมาตรฐาน เรื่องน่าประหลาดใจ อยู่ที่ผู้ตรวจการแผ่นดินส่งตีความทำไม จนทำให้ผู้คนวิเคราะห์วิจารณ์ไปต่างๆ นานา ขนาดวิษณุ เครืองาม ยังบอกว่าถ้าศาลตีความขัดรัฐธรรมนูญจะใช้ ม.44 แทน ฟังแล้วน่าตกใจ แต่สุดท้ายก็ไม่มีอะไรในกอไผ่
ถามว่าทำไมจึงเกิดการวิเคราะห์วิจารณ์ ประการแรก ก็เพราะผู้ตรวจการแผ่นดินส่งวินิจฉัยทีไร เป็นเรื่องทุกที เช่น ส่งวินิจฉัยล้มเลือกตั้ง 2 ก.พ. 57
ประการถัดมา ก็เพราะศาลรัฐธรรมนูญไม่มีเรื่องสำคัญให้วินิจฉัยมา 2 ปี จนคนไทยเกือบลืมแล้วว่ายังมีศาลรัฐธรรมนูญอยู่ ก็เลยเป็นที่ตื่นเต้น อ้าว ยังอยู่เรอะ แล้วจะใช้อำนาจทางไหน
หลังจากวินิจฉัยว่า กปปส.ใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ หลังจากวินิจฉัยว่าพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งขัดรัฐธรรมนูญ เพราะมีม็อบขัดขวางจนไม่สามารถเลือกตั้งวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร หลังเกิดรัฐประหารมา 2 ปี ศาลรัฐธรรมนูญมีงานเพียงยุบพรรคเล็ก 3 พรรค กับวินิจฉัยพ.ร.บ.หนึ่งฉบับ จนเกิดคำถามในหลักวิชากฎหมาย “ศาลรัฐธรรมนูญมีไว้ทำไม”
เพราะนี่เป็นครั้งแรกในโลกนะครับ ที่เกิดรัฐประหารยกเลิกรัฐธรรมนูญแต่ไม่ยุบองค์กรตีความรัฐธรรมนูญ เมื่อไม่มีรัฐธรรมนูญแล้วจะมีศาลไว้ทำไม แม้มีรัฐธรรมนูญชั่วคราว ก็อยู่ใต้รัฏฐาธิปัตย์ ไม่ได้อยู่ในหลักนิติรัฐ ไม่ได้อยู่ในหลักถ่วงดุลอำนาจ 3 ฝ่าย แม้มาตรา 45 ให้อำนาจตีความกฎหมาย แต่สนช.ออกกฎหมายมาเกือบ 200 ฉบับ ไม่ยักเคยมีใครยื่นตีความ
ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ มาตรา 61 วรรค 2 พ.ร.บ.ประชามติ ที่บัญญัติว่า ผู้ใดเผยแพร่ข้อความ “ผิดไปจากข้อเท็จจริง หรือมีลักษณะรุนแรง ก้าวร้าว หยาบคาย ปลุกระดม หรือข่มขู่” มีโทษจำคุก 10 ปี ไม่ขัดมาตรา 4 รัฐธรรมนูญชั่วคราวซึ่งคุ้มครอง “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค”
มีอะไรแปลกประหลาดไหม ไม่มีหรอกครับ ก็เป็น คำวินิจฉัยตามมาตรฐาน เรื่องน่าประหลาดใจ อยู่ที่ผู้ตรวจการแผ่นดินส่งตีความทำไม จนทำให้ผู้คนวิเคราะห์วิจารณ์ไปต่างๆ นานา ขนาดวิษณุ เครืองาม ยังบอกว่าถ้าศาลตีความขัดรัฐธรรมนูญจะใช้ ม.44 แทน ฟังแล้วน่าตกใจ แต่สุดท้ายก็ไม่มีอะไรในกอไผ่
ถามว่าทำไมจึงเกิดการวิเคราะห์วิจารณ์ ประการแรก ก็เพราะผู้ตรวจการแผ่นดินส่งวินิจฉัยทีไร เป็นเรื่องทุกที เช่น ส่งวินิจฉัยล้มเลือกตั้ง 2 ก.พ. 57
ประการถัดมา ก็เพราะศาลรัฐธรรมนูญไม่มีเรื่องสำคัญให้วินิจฉัยมา 2 ปี จนคนไทยเกือบลืมแล้วว่ายังมีศาลรัฐธรรมนูญอยู่ ก็เลยเป็นที่ตื่นเต้น อ้าว ยังอยู่เรอะ แล้วจะใช้อำนาจทางไหน
หลังจากวินิจฉัยว่า กปปส.ใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ หลังจากวินิจฉัยว่าพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งขัดรัฐธรรมนูญ เพราะมีม็อบขัดขวางจนไม่สามารถเลือกตั้งวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร หลังเกิดรัฐประหารมา 2 ปี ศาลรัฐธรรมนูญมีงานเพียงยุบพรรคเล็ก 3 พรรค กับวินิจฉัยพ.ร.บ.หนึ่งฉบับ จนเกิดคำถามในหลักวิชากฎหมาย “ศาลรัฐธรรมนูญมีไว้ทำไม”
เพราะนี่เป็นครั้งแรกในโลกนะครับ ที่เกิดรัฐประหารยกเลิกรัฐธรรมนูญแต่ไม่ยุบองค์กรตีความรัฐธรรมนูญ เมื่อไม่มีรัฐธรรมนูญแล้วจะมีศาลไว้ทำไม แม้มีรัฐธรรมนูญชั่วคราว ก็อยู่ใต้รัฏฐาธิปัตย์ ไม่ได้อยู่ในหลักนิติรัฐ ไม่ได้อยู่ในหลักถ่วงดุลอำนาจ 3 ฝ่าย แม้มาตรา 45 ให้อำนาจตีความกฎหมาย แต่สนช.ออกกฎหมายมาเกือบ 200 ฉบับ ไม่ยักเคยมีใครยื่นตีความ
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar