ประชามติแพ้ไม่ได้
คอลัมน์ ใบตองแห้ง
และแล้ว “ศูนย์ปราบโกงประชามติ” นอกจากถูกปิด ยังมีความผิดฐานชุมนุมเกิน 5 คน ใครชูป้าย “ปราบโกง” ยุคนี้มีความผิด สงวนสิทธิ์ปราบโกงจำนำข้าวเท่านั้น
คสช.ยืนยันว่าท่านดูแลประชามติโปร่งใสยุติธรรม ไม่ต้องให้ใครมาสังเกตการณ์ แม้แต่ EU หรือ UN อ้าว งั้นโทร.ไปหาเลขาฯ UN ทำไม แถมเป็นฝ่ายพูดตั้ง 25 นาที บัน คีมุน ได้พูด 5 นาที ผลที่ออกมาท่านบอกว่าเขาสนับสนุนให้สร้างประชาธิปไตยยั่งยืน แต่ไม่รู้ทำไม พอโฆษก UN แถลงกลับกลายเป็น “บัน คีมุน ออกโรง ขอบิ๊กตู่เปิดเสรีประชามติ”
ที่กปปส.เย้ย นปช.ว่ามุขแป้ก เอาเข้าจริง นปช.น่าจะ รู้ว่าตั้งมาก็เจออย่างนี้ แต่นี่แหละ “เข้าเป้า” แล้ว
ลำพังพ.ร.บ.ประชามติ ก็ถูกวิจารณ์ว่าปิดกั้นเสรีภาพ กระทั่งผู้ตรวจการแผ่นดินมีมติเอกฉันท์ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย แต่นปช.ตั้งศูนย์ปราบโกง ไม่ผิดพ.ร.บ.ประชามติ คสช.ใช้อำนาจรัฐประหารห้าม นี่ไม่ยิ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์ไปใหญ่หรือ
17 แกนนำพรรคเพื่อไทยประกาศ “ไม่รับ”กกต.ยอมรับว่าไม่ผิดพ.ร.บ.ประชามติ แต่ท่านยังจะเอาผิด ซ้ำวิษณุ เครืองาม ก็บอกใช้ ม.44 ยุบพรรคได้
นี่ถ้าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า มาตรา 61 วรรค 2 ขัดรัฐธรรมนูญ จะทำอย่างไร คสช.จะใช้อำนาจมากขึ้นไหม แล้วการทำประชามติจะเหลือความชอบธรรมสักเพียงไร
หรือถ้าศาลวินิจฉัยว่าไม่ขัด แล้วกรธ. กกต. และกลไกรัฐฉวยโอกาสแจ้งจับขนานใหญ่ ทำให้คนหวาดกลัวทั่วไป ประชามติจะชอบธรรมได้ไง
เพราะตอนนี้ในสายตากรธ.ใครก็มีความผิดไปหมด ส่งครู ค.ไปชี้แจง ถ้าตั้งกล้องถ่ายวิดีโอก็หาว่าข่มขู่ เป็นอันธพาล รับจ้าง ไม่มีความเป็นมนุษย์ แค่ถ่ายวิดีโอเลวร้ายปานนั้น? ถ้าไม่ได้ทำผิดแล้วกลัวอะไร?
นับถอยหลัง 40 กว่าวัน สถานการณ์จะเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ การวิพากษ์วิจารณ์ การท้าทายอำนาจ จะร้อนแรงขึ้นทุกวัน ถ้ายอมผ่อน ท่านก็คงวิตกว่ากระแสไม่รับจะขยายกว้าง แต่ถ้ายิ่งใช้อำนาจปิดกั้น การทำประชามติก็ยิ่งสูญเสียความชอบธรรม
ระวังนะครับ อย่าให้ผลประชามติออกมา 2 อย่าง คือชนะแต่ไม่ชอบธรรม หรือแพ้ ซึ่งแค่คะแนนเดียวก็ยับเยิน
ณ วันนี้ถ้าดูโพลต่างๆ ก็ดูเหมือนฝ่ายรับชนะ คนไม่รับมีนิดเดียว แต่ถามจริง ถ้าคุณตั้งใจ “ไม่รับ” มีใครแปลกหน้ามาถาม คุณตอบตามตรงไหม จำนวนคนไม่รับจึงเป็นตัวเลขใต้น้ำที่ประเมินไม่ได้ คสช. กรธ.ก็รู้แก่ใจ จึงวิตกกังวลอย่างปิดไม่มิด
ถ้าดูคะแนนเลือกตั้งปี ?54 ผู้มาใช้สิทธิ 35 ล้าน เลือกเพื่อไทยเกือบ 16 ล้าน ประชาธิปัตย์ 11.5 ล้าน เพื่อไทยประกาศไม่รับ ปชป.ฟากกปปส.ประกาศรับ แต่พรรคยังแทงกั๊ก ที่แน่ๆ ไม่รับคำถามพ่วง ซึ่งถ้าร่างรัฐธรรมนูญผ่าน คำถามพ่วงไม่ผ่าน ก็ยุ่งนะครับ อุตส่าห์ตั้ง 6 ผบ.เหล่าทัพใน 250 ส.ว.แต่งตั้ง กลับมานั่งตบยุงเลือกนายกฯ ไม่ได้ จะทำไง
นี่ยังไม่พูดถึงเครือข่าย NGO ที่ประกาศไม่รับ ยังไม่พูดถึงคนได้รับผลกระทบจากการใช้อำนาจของคสช.อีกจำนวนไม่น้อย จะตัดสินใจอย่างไร
การลงประชามติในความเป็นจริงไม่ได้ขึ้นกับเห็นด้วย ไม่เห็นด้วยอย่างเดียว แต่ขึ้นกับปัจจัยทางการเมืองหลากหลาย เอาง่ายๆ เช่น เกลียดทักษิณ เกลียดนปช.ก็รับร่าง ไม่ชอบ คสช.ก็ไม่รับร่าง หรือบางคนไม่เข้าข้างใครแต่กลัวไม่สงบ ก็รับร่าง ฯลฯ
ถ้าย้อนดูประชามติ 2550 เราจะเห็นความแตกต่าง คมช.และรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ไม่ได้เอาตัวเข้ามาผูกกับร่างรัฐธรรมนูญมากเท่าคสช. ซึ่งตั้งกรธ.เองกับมือ ร่างไม่ถูกใจยังส่งจดหมายน้อย 5 ข้อ พอได้ไม่ครบ สนช.ก็ไปตั้งคำถามพ่วง แล้วแสดงท่าทีโดยเปิดเผยว่าอยากให้ผ่าน กระทั่งใช้อำนาจเข้ามาจัดการ
ถามว่าถ้าประชามติแพ้ คสช.ยังออกตัวได้ไหม ว่าไม่เกี่ยวกับท่าน เป็นเรื่องของกรธ. สนช. เหมือนเมื่อครั้งบวรศักดิ์
ท่านก็รู้แก่ใจนะครับว่าประชามติครั้งนี้ กลายเป็น “แพ้ไม่ได้” ถึงแม้แพ้แล้วไม่มีใครล้ม คสช.ได้หรอก เพราะกองทัพยังเป็นปึกแผ่น แต่ก็จะอยู่ในสถานะที่ทำอะไรลำบาก พลังอำนาจไม่เข้มขลังดังเดิม ต้องหาทางถอยโดยเร็ว
จุดนี้แหละที่ควรระวัง เพราะถ้าขั้วอำนาจต่างๆ พลังกลุ่มต่างๆ ไม่ว่าประชาชนหรือนักการเมือง หรือกระทั่งชนชั้นนำด้วยกัน มองเห็นว่าถ้าร่างไม่ผ่าน แล้วพวกเขาจะมีอำนาจต่อรองกับกองทัพสูงขึ้น ก็อาจรวมหัวกันโดยไม่ต้องนัดหมาย เสียสละปู่มีชัยเป็นเครื่องบูชายัญ
คอลัมน์ ใบตองแห้ง
และแล้ว “ศูนย์ปราบโกงประชามติ” นอกจากถูกปิด ยังมีความผิดฐานชุมนุมเกิน 5 คน ใครชูป้าย “ปราบโกง” ยุคนี้มีความผิด สงวนสิทธิ์ปราบโกงจำนำข้าวเท่านั้น
คสช.ยืนยันว่าท่านดูแลประชามติโปร่งใสยุติธรรม ไม่ต้องให้ใครมาสังเกตการณ์ แม้แต่ EU หรือ UN อ้าว งั้นโทร.ไปหาเลขาฯ UN ทำไม แถมเป็นฝ่ายพูดตั้ง 25 นาที บัน คีมุน ได้พูด 5 นาที ผลที่ออกมาท่านบอกว่าเขาสนับสนุนให้สร้างประชาธิปไตยยั่งยืน แต่ไม่รู้ทำไม พอโฆษก UN แถลงกลับกลายเป็น “บัน คีมุน ออกโรง ขอบิ๊กตู่เปิดเสรีประชามติ”
ที่กปปส.เย้ย นปช.ว่ามุขแป้ก เอาเข้าจริง นปช.น่าจะ รู้ว่าตั้งมาก็เจออย่างนี้ แต่นี่แหละ “เข้าเป้า” แล้ว
ลำพังพ.ร.บ.ประชามติ ก็ถูกวิจารณ์ว่าปิดกั้นเสรีภาพ กระทั่งผู้ตรวจการแผ่นดินมีมติเอกฉันท์ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย แต่นปช.ตั้งศูนย์ปราบโกง ไม่ผิดพ.ร.บ.ประชามติ คสช.ใช้อำนาจรัฐประหารห้าม นี่ไม่ยิ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์ไปใหญ่หรือ
17 แกนนำพรรคเพื่อไทยประกาศ “ไม่รับ”กกต.ยอมรับว่าไม่ผิดพ.ร.บ.ประชามติ แต่ท่านยังจะเอาผิด ซ้ำวิษณุ เครืองาม ก็บอกใช้ ม.44 ยุบพรรคได้
นี่ถ้าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า มาตรา 61 วรรค 2 ขัดรัฐธรรมนูญ จะทำอย่างไร คสช.จะใช้อำนาจมากขึ้นไหม แล้วการทำประชามติจะเหลือความชอบธรรมสักเพียงไร
หรือถ้าศาลวินิจฉัยว่าไม่ขัด แล้วกรธ. กกต. และกลไกรัฐฉวยโอกาสแจ้งจับขนานใหญ่ ทำให้คนหวาดกลัวทั่วไป ประชามติจะชอบธรรมได้ไง
เพราะตอนนี้ในสายตากรธ.ใครก็มีความผิดไปหมด ส่งครู ค.ไปชี้แจง ถ้าตั้งกล้องถ่ายวิดีโอก็หาว่าข่มขู่ เป็นอันธพาล รับจ้าง ไม่มีความเป็นมนุษย์ แค่ถ่ายวิดีโอเลวร้ายปานนั้น? ถ้าไม่ได้ทำผิดแล้วกลัวอะไร?
นับถอยหลัง 40 กว่าวัน สถานการณ์จะเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ การวิพากษ์วิจารณ์ การท้าทายอำนาจ จะร้อนแรงขึ้นทุกวัน ถ้ายอมผ่อน ท่านก็คงวิตกว่ากระแสไม่รับจะขยายกว้าง แต่ถ้ายิ่งใช้อำนาจปิดกั้น การทำประชามติก็ยิ่งสูญเสียความชอบธรรม
ระวังนะครับ อย่าให้ผลประชามติออกมา 2 อย่าง คือชนะแต่ไม่ชอบธรรม หรือแพ้ ซึ่งแค่คะแนนเดียวก็ยับเยิน
ณ วันนี้ถ้าดูโพลต่างๆ ก็ดูเหมือนฝ่ายรับชนะ คนไม่รับมีนิดเดียว แต่ถามจริง ถ้าคุณตั้งใจ “ไม่รับ” มีใครแปลกหน้ามาถาม คุณตอบตามตรงไหม จำนวนคนไม่รับจึงเป็นตัวเลขใต้น้ำที่ประเมินไม่ได้ คสช. กรธ.ก็รู้แก่ใจ จึงวิตกกังวลอย่างปิดไม่มิด
ถ้าดูคะแนนเลือกตั้งปี ?54 ผู้มาใช้สิทธิ 35 ล้าน เลือกเพื่อไทยเกือบ 16 ล้าน ประชาธิปัตย์ 11.5 ล้าน เพื่อไทยประกาศไม่รับ ปชป.ฟากกปปส.ประกาศรับ แต่พรรคยังแทงกั๊ก ที่แน่ๆ ไม่รับคำถามพ่วง ซึ่งถ้าร่างรัฐธรรมนูญผ่าน คำถามพ่วงไม่ผ่าน ก็ยุ่งนะครับ อุตส่าห์ตั้ง 6 ผบ.เหล่าทัพใน 250 ส.ว.แต่งตั้ง กลับมานั่งตบยุงเลือกนายกฯ ไม่ได้ จะทำไง
นี่ยังไม่พูดถึงเครือข่าย NGO ที่ประกาศไม่รับ ยังไม่พูดถึงคนได้รับผลกระทบจากการใช้อำนาจของคสช.อีกจำนวนไม่น้อย จะตัดสินใจอย่างไร
การลงประชามติในความเป็นจริงไม่ได้ขึ้นกับเห็นด้วย ไม่เห็นด้วยอย่างเดียว แต่ขึ้นกับปัจจัยทางการเมืองหลากหลาย เอาง่ายๆ เช่น เกลียดทักษิณ เกลียดนปช.ก็รับร่าง ไม่ชอบ คสช.ก็ไม่รับร่าง หรือบางคนไม่เข้าข้างใครแต่กลัวไม่สงบ ก็รับร่าง ฯลฯ
ถ้าย้อนดูประชามติ 2550 เราจะเห็นความแตกต่าง คมช.และรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ไม่ได้เอาตัวเข้ามาผูกกับร่างรัฐธรรมนูญมากเท่าคสช. ซึ่งตั้งกรธ.เองกับมือ ร่างไม่ถูกใจยังส่งจดหมายน้อย 5 ข้อ พอได้ไม่ครบ สนช.ก็ไปตั้งคำถามพ่วง แล้วแสดงท่าทีโดยเปิดเผยว่าอยากให้ผ่าน กระทั่งใช้อำนาจเข้ามาจัดการ
ถามว่าถ้าประชามติแพ้ คสช.ยังออกตัวได้ไหม ว่าไม่เกี่ยวกับท่าน เป็นเรื่องของกรธ. สนช. เหมือนเมื่อครั้งบวรศักดิ์
ท่านก็รู้แก่ใจนะครับว่าประชามติครั้งนี้ กลายเป็น “แพ้ไม่ได้” ถึงแม้แพ้แล้วไม่มีใครล้ม คสช.ได้หรอก เพราะกองทัพยังเป็นปึกแผ่น แต่ก็จะอยู่ในสถานะที่ทำอะไรลำบาก พลังอำนาจไม่เข้มขลังดังเดิม ต้องหาทางถอยโดยเร็ว
จุดนี้แหละที่ควรระวัง เพราะถ้าขั้วอำนาจต่างๆ พลังกลุ่มต่างๆ ไม่ว่าประชาชนหรือนักการเมือง หรือกระทั่งชนชั้นนำด้วยกัน มองเห็นว่าถ้าร่างไม่ผ่าน แล้วพวกเขาจะมีอำนาจต่อรองกับกองทัพสูงขึ้น ก็อาจรวมหัวกันโดยไม่ต้องนัดหมาย เสียสละปู่มีชัยเป็นเครื่องบูชายัญ
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar