ประชาชนเป็นผู้ร้าย
ใบตองแห้ง
ประชาชนไทยนี่แย่จริงๆ เบียร์ 3 ขวด 100 ยังซื้อได้ แต่ค่าสมาชิกพรรคการเมืองไม่ยอมจ่าย
หรือครับ อ้าวแล้วทีบริษัทเบียร์จ่าย ผบช.น.เดือนละ 5 หมื่นล่ะว่าไง ไม่ยักมีใครสนใจ ถ้าเป็นนักการเมืองละก็ …มึงตาย
อยากเป็นสมาชิกพรรคอยากเป็นนักการเมืองต้องเสียสละ พูดอีกก็ถูกอีก แต่ทำไมต้องเขียนกฎหมายบังคับ พรรคการเมืองอยากชนะเลือกตั้งย่อมแข่งขันกันเอง ลงขันกันเอง เพียงเขียนกฎหมายให้แข่งขันเป็นธรรม กำหนดกติกาการรับเงินใช้เงินต้องโปร่งใส
กฎหมายพรรคการเมืองในอารยประเทศจึงไม่มีที่ไหนบังคับให้จ่ายค่าสมาชิกขั้นต่ำ เป็นเรื่องของความสมัครใจ เขามีแต่กำหนดไม่ให้จ่ายเกิน เพื่อไม่ให้พรรคเป็นของนายทุนคนใด คนหนึ่ง
แล้วถ้ามีการจ่าย “ค่าที่ปรึกษา” ให้ผู้ดำรงตำแหน่ง ซึ่งมีอำนาจให้คุณให้โทษ ก็ต้องถูกไล่บี้หมด ไม่ว่านักการเมืองหรือข้าราชการ ไม่ใช่เขียนโทษประหารฐานซื้อขายตำแหน่งไว้ในพ.ร.บ.พรรคการเมือง ราวกับจะเอาผิดเฉพาะนักการเมือง ไม่ว่าใครซื้อขายตำแหน่งก็ต้องผิดหมดสิครับ และต้องไปเขียนในกฎหมายป.ป.ช.
ทำไมกรธ.ต้องร่างพ.ร.บ.พรรคการเมืองแบบเข้มงวดกวดขัน วางเป้าหมายเลอเลิศ ให้เกิดพรรคการเมืองอันดีงาม อยู่ในศีลในธรรม มาจากการมีส่วนร่วมของประชาชนผู้เสียสละ ไม่หวังผลประโยชน์ใดๆ ผิดไปจากนี้ถือเป็น “ผู้ร้าย” ให้อำนาจ กกต.ไว้อย่างกว้างขวาง สามารถยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความยุบพรรคได้ทุกเมื่อ
มองโลกแง่ดี กรธ.คงถือว่าพวกท่านเป็นผู้รู้ ผู้ดี มีคุณธรรม จริยธรรม ขณะที่ประชาชนยังเมาเบียร์อยู่ การสถาปนาระบอบประชาธิปไตย กลับไปสู่เลือกตั้ง ต้องเดินตามที่กำหนดให้ พวกท่านดีกว่า เก่งกว่า มองการณ์ไกลกว่า สูงส่งกว่า จึงปล่อยให้ประชาชนตัดสินใจเองเหมือนที่ผ่านมาไม่ได้ พ้นจากอ้อมอก ก็ต้องให้กกต.กำกับดูแล ประชาชนไทยยังไม่สามารถดูแลตัวเอง
เปรียบเทียบไปก็ไม่ได้ต่างกันเลย กับร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ ที่กลายเป็นกฎหมายเซ็นเซอร์โลกออนไลน์ เพราะเชื่อว่าประชาชนยังไร้วุฒิภาวะ ไม่สามารถใช้เสรีภาพได้
ตลกไหมล่ะที่กฎหมาย 2 ฉบับเขียนเหมือนกันโดยบังเอิญ (?) ร่างพ.ร.บ.พรรคการเมืองกำหนดโทษจำคุกถึงประหารชีวิต หากพรรคการเมือง “ก่อกวนคุกคามความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน” ขณะที่พ.ร.บ.คอมพ์บัญญัติว่าถ้ามีการเผยแพร่ข้อมูล “ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน” แม้ไม่ผิดกฎหมายอะไรเลย รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกบว. 5 คนก็ขอให้ศาลระงับหรือลบได้
ใครตัดสินศีลธรรมได้ครับ ศีลธรรม ความเหมาะสม ความสงบเรียบร้อย ตีความได้กว้างขวาง แม้แต่ปราชญ์หรือพระยังเถียงกันไม่จบ ท่านเขียนเป็นกฎหมายให้ 5 คน 7 คนตัดสินได้อย่างไร
กฎหมายพรรคการเมืองให้อำนาจกกต.กว้างขวาง มาตรา 23 โน่นไม่ทำ นี่ไม่ทำ ก็เป็นข้ออ้างยุบพรรคได้ กฎหมายคอมพิวเตอร์ให้อำนาจเจ้าหน้าที่เซ็นเซอร์ เพิ่มโทษ เพิ่มความผิด ไม่ใช่เฉพาะคนคิดต่างทางการเมือง แต่ไปถึงขั้น “จัดระเบียบสังคมออนไลน์” การวิพากษ์วิจารณ์ทางสังคมทั่วไป หรือการแสดงออกของคนรุ่นใหม่ที่คนหัวเก่ามองว่าไม่เหมาะสม ก็อาจถูกเซ็นเซอร์หรืออาจมีความผิดได้
ร้ายกว่านั้น พอมีการล่าชื่อผ่านเว็บ Change.org โฆษกรัฐบาลก็กล่าวหาว่ามี “กลุ่มผู้ไม่หวังดี” บิดเบือนสร้างความแตกแยก ในทำนอง “ผังล้มพ.ร.บ.คอมพ์” ขณะที่ ผอ.ศูนย์ไซเบอร์ กองทัพบก บอกว่าประชาชนควรอ่านกฎหมายให้ครบ อย่าหลงเชื่อกระแสบิดเบือนสร้างความแตกแยก ในช่วงเวลาที่คนไทยทั้งชาติอยู่ในความอาลัยในหลวง ร.9 ซึ่งต้องการความรักสามัคคี
นี่ท่านจะใช้ความอาลัยมาอ้างว่าช่วงนี้ใครเห็นต่างกับรัฐบาลเป็นพวกสร้างความแตกแยก ต้องปล่อยให้ใช้อำนาจตามที่สบายใจอย่างนั้นหรือ แล้วที่มีคนลงชื่อ 3 แสนกว่าคนล้วนเป็นพวกโง่ อ่านกฎหมายไม่เข้าใจเสียหมดใช่ไหม
ไม่พูดอย่างมีชัยเสียเลยล่ะ ว่าที่พรรคการเมืองรุมค้าน เพราะร่างกฎหมายมาดี กฎหมายยิ่งดี ยิ่งถูกพวกทำความผิดต่อต้าน
มองภาพกว้าง ทุกเรื่องแทบไม่ต่างกัน บ้านเมืองกำลังปกครองด้วยคนดี คนเก่ง มีคุณธรรมเหนือชาวบ้าน อันได้แก่ ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ ศาล องค์กรอิสระ พวกท่านกำลังสถาปนาระบอบที่จะนำประเทศมั่นคงวัฒนาสถาวร แต่ทุกอย่างต้องเป็นไปตามยุทธศาสตร์ชาติ ที่ประชาชนอาจฉลาดขึ้นใน 20 ปี
ระหว่างนี้เราต้องเดินหน้าประเทศไทยให้เป็น “ประเทศตามสั่ง” ออกกำลังกาย ซ้ายหันขวาหัน ราษฎรผู้เชื่อฟังสามารถเข้าร่วมประชารัฐ แต่ใครไม่อยู่ในโอวาท อาจเป็นผู้ร้าย ทำอะไรระวังตัวให้ดี เพราะประเทศนี้แค่ยืนเฉยๆ ก็ผิด กดไลก์กดแชร์ก็ผิด
ใบตองแห้ง
ประชาชนไทยนี่แย่จริงๆ เบียร์ 3 ขวด 100 ยังซื้อได้ แต่ค่าสมาชิกพรรคการเมืองไม่ยอมจ่าย
หรือครับ อ้าวแล้วทีบริษัทเบียร์จ่าย ผบช.น.เดือนละ 5 หมื่นล่ะว่าไง ไม่ยักมีใครสนใจ ถ้าเป็นนักการเมืองละก็ …มึงตาย
อยากเป็นสมาชิกพรรคอยากเป็นนักการเมืองต้องเสียสละ พูดอีกก็ถูกอีก แต่ทำไมต้องเขียนกฎหมายบังคับ พรรคการเมืองอยากชนะเลือกตั้งย่อมแข่งขันกันเอง ลงขันกันเอง เพียงเขียนกฎหมายให้แข่งขันเป็นธรรม กำหนดกติกาการรับเงินใช้เงินต้องโปร่งใส
กฎหมายพรรคการเมืองในอารยประเทศจึงไม่มีที่ไหนบังคับให้จ่ายค่าสมาชิกขั้นต่ำ เป็นเรื่องของความสมัครใจ เขามีแต่กำหนดไม่ให้จ่ายเกิน เพื่อไม่ให้พรรคเป็นของนายทุนคนใด คนหนึ่ง
แล้วถ้ามีการจ่าย “ค่าที่ปรึกษา” ให้ผู้ดำรงตำแหน่ง ซึ่งมีอำนาจให้คุณให้โทษ ก็ต้องถูกไล่บี้หมด ไม่ว่านักการเมืองหรือข้าราชการ ไม่ใช่เขียนโทษประหารฐานซื้อขายตำแหน่งไว้ในพ.ร.บ.พรรคการเมือง ราวกับจะเอาผิดเฉพาะนักการเมือง ไม่ว่าใครซื้อขายตำแหน่งก็ต้องผิดหมดสิครับ และต้องไปเขียนในกฎหมายป.ป.ช.
ทำไมกรธ.ต้องร่างพ.ร.บ.พรรคการเมืองแบบเข้มงวดกวดขัน วางเป้าหมายเลอเลิศ ให้เกิดพรรคการเมืองอันดีงาม อยู่ในศีลในธรรม มาจากการมีส่วนร่วมของประชาชนผู้เสียสละ ไม่หวังผลประโยชน์ใดๆ ผิดไปจากนี้ถือเป็น “ผู้ร้าย” ให้อำนาจ กกต.ไว้อย่างกว้างขวาง สามารถยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความยุบพรรคได้ทุกเมื่อ
มองโลกแง่ดี กรธ.คงถือว่าพวกท่านเป็นผู้รู้ ผู้ดี มีคุณธรรม จริยธรรม ขณะที่ประชาชนยังเมาเบียร์อยู่ การสถาปนาระบอบประชาธิปไตย กลับไปสู่เลือกตั้ง ต้องเดินตามที่กำหนดให้ พวกท่านดีกว่า เก่งกว่า มองการณ์ไกลกว่า สูงส่งกว่า จึงปล่อยให้ประชาชนตัดสินใจเองเหมือนที่ผ่านมาไม่ได้ พ้นจากอ้อมอก ก็ต้องให้กกต.กำกับดูแล ประชาชนไทยยังไม่สามารถดูแลตัวเอง
เปรียบเทียบไปก็ไม่ได้ต่างกันเลย กับร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ ที่กลายเป็นกฎหมายเซ็นเซอร์โลกออนไลน์ เพราะเชื่อว่าประชาชนยังไร้วุฒิภาวะ ไม่สามารถใช้เสรีภาพได้
ตลกไหมล่ะที่กฎหมาย 2 ฉบับเขียนเหมือนกันโดยบังเอิญ (?) ร่างพ.ร.บ.พรรคการเมืองกำหนดโทษจำคุกถึงประหารชีวิต หากพรรคการเมือง “ก่อกวนคุกคามความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน” ขณะที่พ.ร.บ.คอมพ์บัญญัติว่าถ้ามีการเผยแพร่ข้อมูล “ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน” แม้ไม่ผิดกฎหมายอะไรเลย รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกบว. 5 คนก็ขอให้ศาลระงับหรือลบได้
ใครตัดสินศีลธรรมได้ครับ ศีลธรรม ความเหมาะสม ความสงบเรียบร้อย ตีความได้กว้างขวาง แม้แต่ปราชญ์หรือพระยังเถียงกันไม่จบ ท่านเขียนเป็นกฎหมายให้ 5 คน 7 คนตัดสินได้อย่างไร
กฎหมายพรรคการเมืองให้อำนาจกกต.กว้างขวาง มาตรา 23 โน่นไม่ทำ นี่ไม่ทำ ก็เป็นข้ออ้างยุบพรรคได้ กฎหมายคอมพิวเตอร์ให้อำนาจเจ้าหน้าที่เซ็นเซอร์ เพิ่มโทษ เพิ่มความผิด ไม่ใช่เฉพาะคนคิดต่างทางการเมือง แต่ไปถึงขั้น “จัดระเบียบสังคมออนไลน์” การวิพากษ์วิจารณ์ทางสังคมทั่วไป หรือการแสดงออกของคนรุ่นใหม่ที่คนหัวเก่ามองว่าไม่เหมาะสม ก็อาจถูกเซ็นเซอร์หรืออาจมีความผิดได้
ร้ายกว่านั้น พอมีการล่าชื่อผ่านเว็บ Change.org โฆษกรัฐบาลก็กล่าวหาว่ามี “กลุ่มผู้ไม่หวังดี” บิดเบือนสร้างความแตกแยก ในทำนอง “ผังล้มพ.ร.บ.คอมพ์” ขณะที่ ผอ.ศูนย์ไซเบอร์ กองทัพบก บอกว่าประชาชนควรอ่านกฎหมายให้ครบ อย่าหลงเชื่อกระแสบิดเบือนสร้างความแตกแยก ในช่วงเวลาที่คนไทยทั้งชาติอยู่ในความอาลัยในหลวง ร.9 ซึ่งต้องการความรักสามัคคี
นี่ท่านจะใช้ความอาลัยมาอ้างว่าช่วงนี้ใครเห็นต่างกับรัฐบาลเป็นพวกสร้างความแตกแยก ต้องปล่อยให้ใช้อำนาจตามที่สบายใจอย่างนั้นหรือ แล้วที่มีคนลงชื่อ 3 แสนกว่าคนล้วนเป็นพวกโง่ อ่านกฎหมายไม่เข้าใจเสียหมดใช่ไหม
ไม่พูดอย่างมีชัยเสียเลยล่ะ ว่าที่พรรคการเมืองรุมค้าน เพราะร่างกฎหมายมาดี กฎหมายยิ่งดี ยิ่งถูกพวกทำความผิดต่อต้าน
มองภาพกว้าง ทุกเรื่องแทบไม่ต่างกัน บ้านเมืองกำลังปกครองด้วยคนดี คนเก่ง มีคุณธรรมเหนือชาวบ้าน อันได้แก่ ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ ศาล องค์กรอิสระ พวกท่านกำลังสถาปนาระบอบที่จะนำประเทศมั่นคงวัฒนาสถาวร แต่ทุกอย่างต้องเป็นไปตามยุทธศาสตร์ชาติ ที่ประชาชนอาจฉลาดขึ้นใน 20 ปี
ระหว่างนี้เราต้องเดินหน้าประเทศไทยให้เป็น “ประเทศตามสั่ง” ออกกำลังกาย ซ้ายหันขวาหัน ราษฎรผู้เชื่อฟังสามารถเข้าร่วมประชารัฐ แต่ใครไม่อยู่ในโอวาท อาจเป็นผู้ร้าย ทำอะไรระวังตัวให้ดี เพราะประเทศนี้แค่ยืนเฉยๆ ก็ผิด กดไลก์กดแชร์ก็ผิด
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar