tisdag 1 december 2020

ทรัพย์สินพระมหากษัตริย์มาจากไหน? Pruay Saltihead เขียนยาวเลยเรื่องนี้

 

ทรัพย์สินพระมหากษัตริย์มาจากไหน? Pruay Saltihead เขียนยาวเลยเรื่องนี้


Pruay Saltihead
8h ·

ประมุขของประเทศควรนำภาษีจากประชาชนไปใช้แบบใด
ก. ทะนุบำรุงประเทศเพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนผู้จ่ายภาษี
ข. ใส่กระเป๋าประมุขของประเทศซิ เพราะถือว่าการจ่ายภาษีก็เหมือนจ่ายค่าคุ้มครอง
ค. เม้มไว้เข้ากระเป๋าตัวเองส่วนหนึ่ง ที่เหลือค่อยใช้จ่ายบำรุงประเทศและประชาชน
เงินที่ประมุขของประเทศเม้มเข้ากระเป๋าตัวเอง เมื่อนำไปลงทุนให้เกิดดอกผล กำไรส่วนที่เพิ่มมานั้น ควรเป็นของใคร
ก. ของประชาชนที่เสียภาษีไปซิ เพราะเงินลงทุนมาจากภาษีประชาชน
ข. ของประมุขซิ เพราะเม้มเอามาแล้วและเป็นผู้นำไปลงทุนให้เกิดดอกผลและกำไร
ค. แบ่งกันระหว่างประมุขกับประชาชนที่เสียภาษี
ประเทศควรยึดถือความต้องการของใครเป็นสำคัญที่สุด
ก. ประชาชน
ข. ประมุขของประเทศ
ค. แบ่งกันระหว่างประชาชนและประมุขของประเทศ
ขณะนี้ประเทศปกครองด้วยระบอบอะไร
ก. ประชาธิปไตย
ข. สมบูรณาญาสิทธิราชย์
ค. ไม่แน่ใจ
เห็นพวกรอยัลลิสต์ออกมาแก้ตัวให้กับ พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินฯ ที่ผ่านสภาเผด็จการทหารใน ปี 2560 และ 2561 ว่า ของๆท่านที่ไปยึดมา ท่านมาเอาคืนไปก็ถูกแล้ว ก็เลยสงสัยว่าไอ้ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ แล้วก็ทรัพย์สินส่วนพระองค์ เป็นของกษัตริย์แต่เพียงผู้เดียวจริงๆหรือ ตกลงทุกๆทรัพย์สิน เป็นของกษัตริย์หมด มันใช่หรือ? เพราะถ้าจะเป็นแบบนั้นได้ กษัตริย์ต้องเป็นเจ้าของบริษัท เริ่มต้นลงทุนทำกิจการเองแล้วจ่ายค่าจ้างให้ประชาชน ข้าราชการ ให้ทำงานให้ในตำแหน่งต่างๆ ด้วยเงินของตัวเอง จากนั้นเมื่อได้กำไรมา กำไรส่วนที่เพิ่มมานั้นจึงถือเป็นของกษัตริย์ ถ้าแบบนั้นจะนำไปใช้อย่างไรก็ได้
แต่ความจริงไม่ได้เป็นแบบนั้น เพราะไม่ว่าจะทรัพย์สินส่วนพระองค์หรือทรัพย์สิน(ส่วน)พระมหากษัตริย์ ก็ล้วนมาจากภาษีประชาชนทั้งนั้น
เริ่มต้นราชวงศ์จักรีมา นายทองด้วงหรือพระยามหากษัตริย์ศึกก็ไม่ได้มีทรัพย์สมบัติส่วนตัวมากมาย ไม่ได้มาจากราชวงศ์ไหนๆ ดังบทความนี้
"เพราะก่อนที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จะทรงปราบดาภิเษก เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัตินั้น แม้จะทรงเป็นเสนาบดีที่มีบรรดาศักดิ์สูงสุดในแผ่นดิน คือเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก แต่ก็มิได้ทรงสืบสายพระโลหิตจากพระราชวงศ์ใดทั้งสิ้น ดังนั้นเมื่อแรกเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ จึงต้องทรงปรับเปลี่ยนวิถีปฏิบัติในพระชนมชีพใหม่ จากสามัญชนมาสู่ความเป็นเจ้าแผ่นดิน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่พักอาศัย ซึ่งเปลี่ยนจากบ้านหรือจวนมาเป็นพระบรมมหาราชวัง ตำหนักบรรดาพระญาติวงศ์ทั้งหลาย ต่างก็ได้รับสถาปนาให้มีพระอิสริยยศตามโบราณราชประเพณี การกินอยู่ การพูดจา การวางตัวจึงเปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิง"
อ่าน “เราเกิดมาเป็นไพร่ ได้มาเป็นเจ้าเป็นนาย…เป็นเบื้องปลายอายุ” นัยแห่งพระราชดำรัส ร.1
https://www.silpa-mag.com/quotes-in-history/article_6722
เงินทองที่มีตอนตั้งต้นรัตนโกสินทร์ ก็มาจากการเก็บส่วยสาอากรมาจากประชาชนต่อมาจากราชวงศ์ก่อนอีกที เพราะมีการเก็บภาษีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้ว ลองดูภาษีที่จัดเก็บในสมัยกรุงธนบุรีและต้นรัตนโกสินทร์ มีการเก็บแม้กระทั่งภาษีกะทะ ภาษีเกลือ ฯลฯ จากเว็บไซต์กรมสรรพากรเอง
การจัดเก็บภาษีอากรในสมัยกรุงธนบุรี (พ.ศ. 2311 - พ.ศ. 2324) และสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ 1-รัชกาลที่ 3 ระหว่างพ.ศ. 2325-พ.ศ. 2394)
https://www.rd.go.th/publish/3458.0.html
การจัดเก็บภาษีอากรในสมัยรัชกาลที่ 4 (พ.ศ. 2394 - พ.ศ. 2411) มีการเก็บกระทั่ง ภาษีถัง หม้อหวด ภาษีปลาทู ฯลฯ
https://www.rd.go.th/publish/3457.0.html
สมัยรัชกาลที่ 1 ที่ 2 นั้นสถาบันกษัตริย์และเครือญาติผูกขาดการค้าขายกับต่างประเทศคนเดียว ขายได้เท่าไหร่เก็บเรียบ ส่วนค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างหรือพัฒนาประเทศ มาจากจังกอบ อากร ส่วย และฤชา ที่เรียกเก็บจากประชาชน
จนมาสมัยรัชกาลที่ 3 ที่ 4 ยกเลิกผูกขาด แต่ใช้วิธีเอกชนมาจัดเก็บภาษีส่งให้แทน เรียกว่า”เจ้าภาษี” โดยการประมูลว่าจะส่งให้เท่าไหร่ แล้วเจ้าภาษีก็ไปไล่เก็บจากประชาชนมาอีกที ภาษีที่เก็บได้ก็ไม่ได้เอาไปพัฒนาบำรุงประเทศทั้งหมด แต่เก็บเข้ากระเป๋าสถาบันกษัตริย์ 5% ที่เรียกว่า “เงินถุงแดง” บ้าง “เงินข้างที่” บ้าง
พอมาสมัยรัชกาลที่ 5 ก็จัดการบริหารใหม่แทนที่จะให้เจ้าภาษีมาประมูลแล้วไปเก็บกับประชาชนแทน ก็ไม่เอาแล้ว ตัวสถาบันกษัตริย์ก็ตั้ง “กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ” ขึ้นมาแทน ทำให้เก็บภาษีได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยมากขึ้น ก็แหงล่ะ ไม่ได้ถูกเม้มไประหว่างทางจากพวก “เจ้าภาษี” นี่ คราวนี้เก็บตรงเองจากประชาชนเลย แต่พอเก็บได้มากขึ้น สถาบันกษัตริย์ก็เม้มเข้ากระเป่าตัวเองมากขึ้นเช่นกัน จึงตั้ง “กรมพระคลังข้างที่” ขึ้นมาเป็นทางการ คราวนี้จากเม้มเข้าเงินข้างที่ ในสมัยรัชกาลที่ 3แค่ 5% คราวนี้ เม้มเข้า “พระคลังข้างที่” 15% เลย
“พระคลังข้างที่” นอกจากจะมีรายได้จากการเม้มภาษีจากประชาชน 15% เข้ากระเป๋าตัวเองแล้ว ยังมีรายได้จากส่วนอื่นๆอีกมาก เพราะเป็นผู้กำหนดเกมส์อยู่คนเดียว เช่นไปกว้านซื้อที่ดินล่วงหน้าไว้ก่อน เสร็จแล้วก็เอาเงินภาษีประชาชนนี่แหละตัดถนนผ่านไป ราคาที่ดินก็ขึ้น กำไรก็เอาเข้า “พระคลังข้างที่” การจะขุดคลองทำชลประทาน ก็ไม่ใช่นึกใจดีจะให้ประชาชนได้น้ำไปทำนา แต่พวกตัวเองได้จับจองที่ดินแถวนั้นไว้แล้วจึงขุดคลองไป ที่ดินก็มีราคาแพงขึ้น หรือก็เอาที่ดินให้ประชาชนเช่าทำนา เก็บเงินเข้ากระเป๋าอีกที
จะเห็นว่าต้นทุนการลงทุนก็เอามาจากภาษีประชาชน แล้วก็เอาภาษีประชาชนนี่แหละไปสร้างมูลค่าเพิ่มให้ทรัพย์สินตัวเองอีกที กำไรก็เอาเข้ากระเป๋าตัวเอง แล้วก็เอาไปลงทุนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โมเดลธุรกิจแบบนี้จะไม่รวยได้ไง (และใช้วิธีนี้มาจนถึงปัจจุบัน เช่นการสร้างรถไฟฟ้าในกรุงเทพ ที่แรกเริ่มกระจุกผ่านที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินในใจกลางเมืองเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม)
รายละเอียดช่วงนี้อ่านได้จากบทความ ทรัพย์สินพระมหากษัตริย์มาจากไหน? : การสะสมพระราชทรัพย์สมัยรัตนโกสินทร์
https://prachatai.com/journal/2020/11/90552
เรื่องการจับจองที่ดิน ขุดคลองทำนา ลองอ่านบางย่อหน้าอ่านจากหนังสือ โฉมหน้าศักดินาไทย จิตร ภูมิศักดิ์ เรื่อง ระบบศักดินาในประเทศไทย
“"สมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้ากรุงสยามซึ่งเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่ ๔ ในพระบรมวงศ์ปัจจุบันนี้ ขอประกาศแก่ชนที่ควรจะรู้คำประกาศนี้ว่า ที่ท้องทุ่งริมคลองขุดใหม่ตั้งแต่บางขวางออกไปบ้านงิ้วรายนั้น เป็นแขวงเมืองนนทบุรี นครไชยศรี เดิมรกร้างว่างเปล่าหาผู้เป็ นเจ้าของไม่ ครั้นขุดคลองไปตลอดแล้ว ข้าพเจ้าได้สั่งเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดีว่าที่พระคลัง ผู้เป็นแม่กองขุดคลอง ให้จับที่ว่างเปล่านั้นเป็นที่นา อยู่แขวงเมืองนนทบุรีฝั่งเหนือ ๑,๖๒๐ ไร่ อยู่ในแขวงเมืองนครไชยศรีฝั่งเหนือ ๙,๓๙๖ ไร่ ฝั่งใต้ ๕,๑๘๔ ไร่ รวมเป็นที่นา ๑๖,๒๐๐ ไร่ แบ่ง ๕๐ ส่วน ได้ส่วนละ ๓๒๔ ไร่ เป็นที่นายาว ๑๐ เส้น กว้าง ๕ เส้น ๘ วา ที่นาทั้งปวงนี้ เพราะไม่มีเจ้าของมาแต่เดิม เป็ นที่จับจองของข้าพเจ้าแล้วข้าพเจ้าขอยกส่วนที่ว่านั้นให้เป็นของบุตรชายข้าพเจ้าคนละส่วนบ้าง สองส่วนบ้าง ให้เป็นที่บ่าวไพร่ไปตั้งทำนา ฤๅจะให้ผู้อื่นเช่าทำก็ตาม"
หลักฐานนี้เป็นหลักฐานที่พวกศักดินาจะเถียงไม่ได้เลยว่าชนชั้นศักดินามิได้จับจองและแบ่งปันที่นากันและกันในหมู่ชนชั้นตนตามใจชอบ การแบ่งปันครั้งนี้ชนชั้นศักดินาทำอย่างแนบเนียนว่าตนได้ขุดคลองพบที่ดินว่างเปล่าจึงจับจอง แท้ที่จริงก็รู้อยู่แล้วว่าเป็นที่ร้างทิ้งอยู่จึงส่งแม่กองออกไปขุดคลอง ซึ่งจุดประสงค์ในการขุดก็หาใช่เพื่อระบายน้ำให้ประชาชนผู้ทำนาอื่นๆ ทั่วไปไม่ หากเพื่อระบายน้ำเข้าที่นาอันรกร้างนั้นสำหรับจะได้ทำให้มีค่าและทำนาได้ พอขุดเสร็จ พวกไพร่ยังไม่ทันได้จับจอง ชนชั้นศักดินาก็รีบจับจองแบ่งสรรปันส่วนกันเสียแล้ว! การทุกอย่างทำไปเพื่อรับใช้ชนชั้นศักดินาโดยเฉพาะวงศ์วานว่านเครือเนื้อหน่อของกษัตริย์ทั้งสิ้น!
ตกลงที่ดินดีมีคลองระบายน้ำก็ตกเป็นของชนชั้นศักดินาเสียทั้งสิ้นไม่มีเหลือไว้สำหรับทวยราษฎร์”
อ่านเต็มๆที่นี่ https://bit.ly/33oEMmP
ปีๆนึง สถาบันกษัตริย์เม้มเงินจากภาษีประชาชนเข้ากระเป๋าตัวเองเท่าไหร่?
ข้อมูลจากหนังสือ สํานักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริยกับบทบาทการลงทุนทางธุรกิจ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.พอพันธ์ อุยยานนท์ เขียนไว้ว่าบางปีเม้มเข้าพระคลังข้างที่ถึง 20% ทำให้มีรายได้มากขึ้น ในหนังสือหน้าที่ 9 มีการแสดงตารางในแต่ละช่วง 10 ปีที่ พระคลังข้างที่ เม้มเงินจากภาษีประชาชนไว้ดังนี้
พ.ศ. 2435 เม้มไว้ 1.49 ล้านบาท (ขอให้ท่านจำปี พ.ศ. แล้วจำนวนเงินนี้ไว้ดีๆ เดี๋ยวจะมีอะไรเฉลยให้ฟังอีกที)
พ.ศ. 2445 เม้มไว้ 6.1 ล้านบาท
พ.ศ. 2455 เม้มไว้ 8.7 ล้านบาท
พ.ศ. 2465 เม้มไว้ 9.0 ล้านบาท
ดาวน์โหลด: Thailand Crown Property and Its Investment สํานักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์กับบทบาทการลงทุนทางธุรกิจ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.พอพันธ์ อุยยานนท์
https://bit.ly/36fK6ei
เอาสมมติคิดว่าซะว่า เม้มไว้ 15% แสดงว่าปี พ.ศ. 2435 นั่นเก็บภาษีได้เกือบถึง 10 ล้านบาทในปีนั้น
ถึงตรงนี้จึงอยากเล่าแทรกนิดนึง เรื่องที่ชอบทวงบุญคุญเรื่องเงินถุงแดง ที่เอามาจ่ายให้ฝรั่งเศส 3,000,000 ฟรังค์ ในวิกฤติการณ์ รศ 112 นั้น ที่บอกว่าเป็นเงินถุงแดงของรัชกาลที่ 3 ถึงจะเป็นเงินของรัชกาลที่ 3 เงินพระคลังข้างที่ ก็เป็นเงินที่เม้มไปจากภาษีประชาชน เอาไปลงทุนเพิ่มแล้วดอกผลกำไรก็เอาเข้าพระคลังข้างที่นั่นแหละ ถึงจะจ่ายเป็นเงินเหรียญทองของเม็กซิโก แต่เมื่อคิดราคาเงินที่จ่ายให้ฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2436 3,000,000 ฟรังค์นั้น เทียบค่าเป็นเงินไทยในสมัยนั้นก็ตกราว “หนึ่งล้านหกแสนห้าพันกว่าบาท” ดังบทความที่คัดลอกมานี้
“เงินจำนวนนี้มันมีค่าสักกี่มากน้อยเมื่อคำนวณเป็นเงินบาท โชคดีที่ยังพอมีการยืนยันในเอกสารทางการไทยว่า สมเด็จฯ กรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ กราบทูลพระปิยมหาราช ว่าได้จ่ายเงินให้ฝรั่งเศสเมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๓๖ คิดเป็นเงินไทยรวม ๑,๖๐๕,๒๓๕ บาท กับอีก ๒ อัฐ ซึ่งใกล้เคียงกับที่พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ทรงบันทึกไว้ในหนังสือชื่อเจ้าชีวิตว่า “ไทยยอมเสียค่าปรับเป็นเงิน ๓,๐๐๐,๐๐๐ ฟรังก์เหรียญทอง” (เท่ากับราว ๑,๕๖๐,๐๐๐ บาทในสมัยนั้น) จึงขออนุมานว่าเงินบาทโดยประมาณซึ่งจ่ายเป็นค่าไถ่บ้านไถ่เมืองในครั้งนี้เป็นจำนวนเงิน “หนึ่งล้านหกแสนห้าพันกว่าบาท””
อ่าน “เงินถุงแดง” อิสรภาพไทยแลกด้วยค่าไถ่ 3 ล้านฟรังก์ ร.ศ. 112 หาเงินจากไหนให้ฝรั่งเศส
https://www.silpa-mag.com/history/article_10723
เพราะฉะนั้นจึงอยากให้เลิกทวงบุญคุญเรื่องเงินถุงแดงกันเสียที เพราะลำพังเงินที่เก็บภาษีจากประชาชนไปนั้นก็มากกว่าที่เอาเงินถุงแดงไปจ่ายแล้ว แถมยังเม้มเงินภาษีประชาชนเข้า กรมพระคลังข้างที่ ทุกปีๆอยู่แล้ว 15% จะมาทวงบุญคุญเรื่องเงินถุงแดงกันอยู่ทำไม
รายได้ของสถาบันกษัตริย์นั้น นอกจาก ส่วย อากร และ เก็บภาษีจากประชาชนแล้ว ยังมีการเก็บ “เงินค่าราชการ” ในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งต่อมาในรัชกาลที่ 6 เปลี่ยนเป็นเงิน “รัชชูปการ” โดยจัดเก็บเอาจากชายฉกรรจ์ (อายุตั้งแต่ 18-60 ปี) ทุกคนโดยเก็บในอัตราไม่เกินคนละ 6 บาทต่อปี คือเกิดมาเป็นคนไทยเพศชาย อายุถึงเกณฑ์ ไม่ว่าจะทำงานมีรายได้ไม่มีรายได้ ได้มากได้น้อย ก็มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินนี้ ให้รัฐบาลของสถาบันกษัตริย์
อ่าน เงินรัชชูปการ ภาษีซึ่งเก็บจากความเป็นราษฎร
https://pridi.or.th/en/node/470
จากที่ยกตัวอย่างมาก็จะเห็นว่า สถาบันกษัตริย์ พระคลังข้างที่ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ทรัพย์สินส่วนพระองค์ ทั้งหลายนั้น ไม่ได้เสกทรัพย์สมบัติขึ้นมาเอง ไม่ได้ทำงานเองตัวคนเดียว แล้วทำให้มีทรัพย์สะสมไว้มากมาย แต่ทรัพย์ที่สะสมไว้ที่ได้มาก็มาจากภาษี ส่วย อากร เงินต่างๆที่เรียกเก็บจากประชาชนในประเทศนั่นเอง เพราะฉะนั้นการจะเอาไปลงทุนต่อผลประโยชน์ให้มากขึ้น โดยพระคลังข้างที่ ไม่ว่าจะเป็นธนาคารไทยพาณิชย์ ปูนซีเมนต์ไทย หรือที่อื่นๆ กษัตริย์ในฐานะบุคคลที่อยู่ตำแหน่งหนึ่งในประเทศ ไม่ใช่เจ้าของประเทศทั้งหมด จะฮุบเอาไปเป็นของส่วนตัวคนเดียวได้ไง ลองนึกถึงว่าประเทศใดประเทศหนึ่ง มีประธานาธบดี นายกรัฐมนตรี เป็นผู้นำบริหารประเทศอยู่ในช่วงเวลาหนึ่ง ปรากฎว่าบริหารเสร็จประเทศมีรายได้ พอหมดวาระลง ก็โอนรายได้กำไรนั้นทั้งหมดนั้นไปเป็นของตัวเอง แบบนั้นทำได้หรือเปล่า
และเรื่องธนาคารไทยพาณิชย์ที่อ้างว่าเจ้าเอาเงินเจ้าตั้งขึ้นมานั้นก็ไม่จริง เพราะก็เอาเงินพระคลังข้างที่ และเงินจากกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ซึ่งมาจากภาษีประชาชนนั่นแหละ มาตั้งขึ้น โดยร่วมหุ้นกับคนอื่นๆ
อ่าน การก่อตั้งธนาคารไทยพาณิชย์และความช่วยเหลือของพระคลังข้างที่
https://www.facebook.com/quoteV2/posts/3215536935214857
รอยัลลิสต์อาจจะเถียงว่า ก็นั่นมันในสมัยก่อนนั้นนี่
ก็ถูก แต่ในโลกนี้มีหลายสิ่งต่างๆมากมาย ที่คนสมัยก่อนยอมรับว่าการกระทำแบบนั้นเป็นสิ่งดีเป็นเรื่องถูกต้อง แต่ต่อมาภายหลังมนุษย์ก็พัฒนาความคิด ปรับเปลี่ยนโลกให้ดีขึ้น สิ่งที่เคยยอมรับในอดีตก็เป็นเรื่องที่ไม่มีใครยอมรับในโลกปัจจุบัน เรื่องสิทธิมนุษยชนก็เป็นหนึ่งในนั้น เป็นเรื่องที่มนุษย์พัฒนาไปมาก จนบางสิ่งบางอย่างในประวัติศาสตร์ที่มนุษย์กระทำด้วยกันเอง ถ้าใครเอามาปฏิบัติต่อกันในวันนี้ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ และเป็นความคิดล้าหลัง เช่นการค้ามนุษย์ เอาเพื่อนมนุษย์มาใช้เป็นแรงงานทาส ความเป็นรัฐชาติก็เช่นกัน ความคิดที่ว่าใครคนใดคนหนึ่ง ครอบครัวใดครอบครัวหนึ่ง เป็นเจ้าของทรัพย์สมบัติทั้งหมดในประเทศแต่เพียงผู้เดียว เป็นสิ่งที่ไม่มีใครยอมรับแล้ว แม้ในประเทศไทยความคิดแบบนี้ก็ไม่เป็นที่ยอมรับแล้วหลังจากการปฏิวัติ 2475
เพราะฉะนั้น การแก้ไข พรบ ทรัพย์สิน(ส่วน)พระมหากษัตริย์ โดยสภาของเผด็จการทหารในปี 2560 2561 ที่นำทรัพย์สมบัติที่สร้างมาจากแรงงานและรายได้ของประชาชนในประเทศ กลับไปเป็นสมบัติส่วนตัวของกษัตริย์แต่เพียงผู้เดียว ย่อมเป็นเรื่องล้าหลัง ไม่เป็นที่ยอมรับ เหมือนพาประเทศกลับไปสู่ระบอบ ศักดินา ไพร่ ทาส อีกครั้ง

https://www.facebook.com/pruaysaltyhead2/posts/3518901748196495

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar