fredag 3 augusti 2012

การต่อต้านการปรองดองเนื้อแท้มาจากไหน?


โดย กลุ่มเสียงประชาชนไทย (สปท.)
 การที่กลุ่ม พันธมิตร และ พรรคประชาธิปัตย์ ประสานเสียงอย่างเอาการเอางานต่อต้านการออก พรบ.ว่าด้วยการปรองดองแห่งชาติ  ว่าเป็นเป็นร่าง พรบ.เพื่อล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นเรื่องที่สร้างความสับสนงงงวยให้แก่พี่น้องประชาชนไทยเป็นอย่างมาก  เพราะในทุกวันนี้ไม่ว่าจะทำอะไรที่เกี่ยวกับความสามัคคีของคนในชาติหรือเพื่อพัฒนาประชาธิปไตย หากสิ่งเหล่านั้นจะเปิดโอกาสให้แก่ พ.ต.ท.ทักษิณ  ชินวัตร ให้ได้รับความเป็นธรรมแล้วก็จะถูกให้เหตุผลว่าเป็นการล้มล้างสถาบันกษัตริย์ทุกเรื่องไป 
 แท้จริงเนื้อแท้ของปัญหาคือเรื่องอะไรกันแน่?
ท่านผู้สนใจทางการเมืองทั้งหลายสงสัยหรือไม่คะว่า ทำไมตัวองค์พระมหากษัตริย์ ผู้ที่ถูกกลุ่ม พธม. และ ปชป.กล่าวอ้างอยู่เสมอตลอดระยะเวลา 5ปี อย่างเสียๆ หายๆ  ไม่เคยออกมาพูดท้วงติงด้วยตัวเองเลย  หรือมอบหมายให้คนใกล้ชิดออกมาพูดห้ามปรามไดๆ เลยทั้งๆที่ในอดีตก็เคยออกมาท้วงติงหรือมีคนใกล้ชิดที่น่าเชื่อถือออกมาห้ามปราม?  รวมตลอดทั้งไม่มีเจ้าหน้าที่ออกมาดำเนินการทางกฎหมายไดๆ กับกลุ่ม พธม. และ ปชป. ในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญา มารตรา 112 เลย และยิ่งเห็นชัดเมื่อเปรียบเทียบกับการดำเนินคดีอย่างเอาเป็นเอาตายกับคนเสื้อแดงในเรื่อง ม.112  ยิ่งหากจะพิจารณาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองในช่วงระยะเวลา 5 ปีเศษ ของราชสำนักดังตัวอย่างดังต่อไปนี้ ก็จะยิ่งเห็นชัดว่าตัวพระมหากษัตริย์นั้นเองมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับวิกฤตการเมืองไทยตั้งแต่การรัฐประหาร 19 กันยายน 2006 และไม่อาจจะยุติได้ถึงทุกวันนี้ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎหมายการปรองดองหรือการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย  ด้วยเหตุผลดังนี้
1. ถึงวันนี้หลักฐานปรากฏชัดอย่างไม่มีข้อโต้เถียงแล้วว่าผู้ที่แสดงตัวเป็นหัวหน้าคณะรัฐประหารตัวจริงคือ พล.อ.เปรม  ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี  ไม่ใช่ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน  เพราะวันนี้อำนาจของคณะรัฐประหารยังดำรงอยู่ทั้งที่ตัว พล.อ.สนธิ พ้นจากอำนาจแล้ว
2.การจัดตั้งคณะรัฐบาลหลังการรัฐประหารก็นำ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ในฐานะองคมนตรี มาเป็นนายกรัฐมนตรี  และเมื่อรัฐบาลหมดอายุแล้ว พล.อ.สุรยุทธ์  ก็กลับไปเป็นองคมนตรีใหม่ได้เหมือนเดิม
3.การใช้สถาบันศาลเข้าร่วมการรัฐประหารอย่างเปิดเผยอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน อธิเช่น ใช้นายชาญชัย  ลิขิตจิตถะ ประธานศาลฏีกา(ซึ่งมีฐานะเป็นหนึ่งในสามอำนาจอธิปไตย) และนายอักขราทร จุฬารัตน ประธานศาลปกครองสูงสุด และบรรดาผู้พิพากษาอีกหลายคนเข้าร่วมรัฐประหารดังจะเห็นได้จากการเข้าดำรงตำแหน่งในรัฐบาล สมาชิกสภานิติบัญญัติ และสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญจนส่งผลให้ผู้พิพากษาจำนวนมากเข้ามาเป็นผู้พิพากษาในศาลรัฐธรรมนูญและในองค์กรอิสระที่มีอำนาจสูงสุดในโครงสร้างรัฐธรรมนูญฉบับเผด็จการปี 50 และกลายเป็นวิกฤตจนถึงทุกวันนี้  คนที่จะใช้ผูพิพากษาเข้าร่วมทางการเมืองได้มากขนาดนี้ พล.อ.สนธิ และ พล.อ.เปรม ไม่อาจจะทำได้
4.หลังรัฐประหารและรัฐบาลจากการรัฐประหารหมดวาระแล้วมีข้อน่าสังเกตว่ามีการแต่งตั้งองคมนตรีใหม่หลายคน  ในกลุ่มคนเหล่านั้นมีนายชาญชัย  ลิขิตจิตถะ อดีตประธานศาลฎีกาและรัฐมนตรียุติธรรม ในรัฐบาลเผด็จการ  กับ พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข อดีต ผบ.ทอ. ซึ่งเป็นแกนนำผู้ยึดอำนาจได้เป็นองคมนตรีด้วย
5.การล้มรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช และรัฐบาลนายสมชาย วงค์สวัสดิ์ ซึ่งเพียงเพราะมีความใกล้ชิดกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ด้วยวิธีการที่รุนแรงที่สุดเสียหายต่อประเทศชาติที่สุดด้วยการยึดทำเนียบรัฐบาลและยึดสนามบินอย่างยาวนานและไม่เคยปรากฏในประเทศไทยมาเลย ก็สามาถกระทำได้โดยจนถึงวันนี้ก็ยังดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดไม่ได้แม้แต่คนเดียวโดยราชสำนักก็นิ่งเฉยต่อการกระทำที่เสียหายต่อบ้านเมืองเช่นนี้ ก็ยิ่งชัดเจนว่าราชสำนักน่าจะมีส่วนรับรู้เรื่องเหล่านี้ด้วย
6.การอุ้มรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เข้ามามีอำนาจ  จนถึงการสั่งฆ่าประชาชนด้วยอาวุธสงครามและทหารโดยความนิ่งเฉยของราชสำนักทั้งๆที่มีประชาชนตายเก้าสิบกว่าศพบาดเจ็บสองพันกว่าคนโดยเป็นที่เปิดเผยไปทั้งโลก  แต่จนถึงทุกวันนี้ยังไม่อาจจะสืบสวนดำเนินคดีกับนายอภิสิทธิ์ นายกรัฐมนตรีผู้ออกคำสั่งรวมถึงตัวการที่เป็นทหารผู้ปฏิบัติ  ก็ยิ่งแสดงให้เห็นถึงความนิ่งเฉยของราชสำนักที่มีความผิดปกติอย่างยิ่ง
7.ความเจ้าคิดเจ้าแค้นของ พระมหากษัตริย์ก็เป็นประเด็นสำคัญที่ทำให้ไม่ยอมเปลี่ยนความคิดอะไรได้ง่ายๆดังตัวอย่างเช่น ไม่ยอมคืนฐานันดรให้แก่ลูกสาวคนโตคือนางอุบลรัตน์  แจนเซน ที่ไปแต่งงานกับคนอเมริกัน  จนถึงทุกวันนี้ ก็เป็นบทพิสูจน์ทางธรรมชาติทางความคิดว่าเป็นเจ้าคิดเจ้าแค้นอย่างไร ดังนั้นนับประสาอะไรกับคนชื่อทักษิณ  ที่เป็นเป้าหมายของการรัฐประหารจะถูกลืมเลือนไปจากความคิดได้

การปรองดองของคนในชาติที่ไม่อาจจะดำเนินการได้ดังกล่าวข้างต้นทั้งๆที่เป็นเรื่องดี จึงน่าเชื่อได้ว่าน่าจะต้องมีส่วนเกี่ยวข้อง      กับเรื่องราวในราชสำนักที่มีความขัดแย้ง ที่คนไทยรู้ดีแต่ต้องนิ่งเงียบด้วยเหตุนี้ความเป็นคนไทยในประเทศไทยในภาวะขณะนี้จึงเป็นที่น่าสงสารมาก  เพราะคนไทยทุกคนต้องได้รับผลร้ายจากวิกฤตการเมืองที่ตนไม่อาจจะพูดถึงความจริงเพื่อการแก้ปัญหาที่มีผลกระทบต่อตัวเองได้  ทั้งๆที่ปัญหาวิกฤตการเมืองไทยวันนี้สามารถแก้ได้ด้วยเหตุและผลอย่างสันติไม่เกินความสามารถของคนไทยภายในประเทศ เพียงแต่ถ้ามีสิทธิ์พูดถึงความจริงข้างต้นได้เท่านั้นยิ่งภาวะปัจจุบันเกิดภาวะวิกฤตโลกที่มีผลกระทบต่อพลโลกแล้ว  คนไทยก็ยิ่งน่าสงสารมากขึ้นเพราะพวกเขาจะต้องได้รับความเดือดร้อนหนักกว่าชนชาติอื่นเพราะวิกฤตเศรษฐกิจโลกจะโถมทับร่วมกับวิกฤตการเมืองภายในประเทศจนไม่อาจจะแก้ไขปัญหาได้  จึงขอให้พี่น้องคนไทยในต่างประเทศจงรวมตัวกันทำภารกิจสำคัญร่วมกันที่ถูกต้องเป็นธรรมคือช่วยกันเร่งเปิดเผยความจริงให้ปรากฏทั้งต่อคนไทยด้วยกันเอง และต่อคนต่างประเทศทุกชาติทุกภาษาที่ท่านรู้จักและมีเงื่อนไขที่จะบอกกล่าว  เพื่อให้เกิดพลังร่วมกันในการแก้ไขปัญหานำคนผิดมาลงโทษเพื่อให้คนตายและบาดเจ็บได้รับความเป็นธรรม และนำไปสู่การปรองดองที่เป็นจริงของคนในชาติ (กลุ่ม สปท.ไม่สงวนลิขสิทธิ์ที่จะนำข้อมูลในบทความนี้ไปเผยแพร่ต่อไป)

ข่าวต่อต้านการปรองดอง ของ กลุ่มพันธมิตรฯ ที่ผิดปกติที่ใช้ประกอบ

บทความนี้

พธม. แถลงบุกสภาทันทีหาก 8 ส.ค. ลักไก่ถกปรองดอง (ไอเอ็นเอ็น)ปานเทพ ชี้รัฐบาล เลื่อนร่างพ.ร.บ.ปรองดอง แค่ถ่วงเวลา พร้อมระบุ หากลักไก่ดำเนินการออกชุมนุมคัดค้านทันที
วันนี้ (2 สิงหาคม) นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ แกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย แถลงว่า การที่สภาผู้แทนราษฎร เลื่อนการพิจารณา พ.ร.บ.ปรองดอง ไปเป็นลำดับที่ 11 นั้น เป็นการถ่วงเวลา โดย พันธมิตรฯ จะชะลอการชุมนุม ในวันที่ 8 สิงหาคม 2555 ออกไปก่อน แต่หาก นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร บรรจุในระเบียบวาระการประชุม และสภาผู้แทนราษฎร แอบพิจารณา พ.ร.บ.ปรองดอง กลุ่มพันธมิตร จะออกมาชุมนุมคัดค้านทันที

อย่างไรก็ตาม การที่ร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง ยังค้างอยู่ในสภานั้น แสดงให้เห็นว่า รัฐบาลไม่มีความจริง โดยจุดยืนของพันธมิตร คือเรียกร้องให้ถอนร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง ออกจากสภาเท่านั้น

ด้าน พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวว่า พระราชบัญญัติปรองดองนั้น เป็นการทำลายชาติและสถาบัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ ทั้งนี้ ส่วนตัวเห็นว่า พ.ร.บ.ปรองดอง ไม่ได้เป็นการล้างผิดเฉพาะ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี แต่เป็นการล้างผิดให้นักการเมืองทุกคน ทั้งในและนอกสภา จึงไม่ใช่ความปรองดอง ซึ่งการจะเกิดความปรองดองได้นั้น ทุกคนต้องเคารพกฎหมาย รัฐบาลเคร่งครัดในการบังคับใช้กฎหมาย และตัดสินด้วยความเป็นธรรม อย่างไรก็ตามยืนยันว่า กลุ่มพันธมิตร จะไม่เข้าร่วมการเป็นคณะกรรมการทุกชุดที่เกี่ยวกับความปรองดอง ถ้าหากมีการติดต่อมา

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar