fredag 10 juli 2015

รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม " ชาวอุยกูร์-คือใคร-ทำไมจึงเกิดความขัดแย้ง."




กระแสต่อต้านคนจีนเกิดขึ้นเมื่อ 10 วันที่แล้วในตุรกี หลังจากที่คนตุรกีเผาธงชาติจีน และ ทำลายร้านอาหารในจีน รวมถึงทำร้ายร่างกายคนที่ดูเหมือนคนจีน เมื่อมาดูว่าเหตุใดชาวตุรกี ถึงเป็นเดือดเป็นร้อนไปกับชาวอุยกูร์ ก็ต้องย้อนมาดูที่ความสัมพันธ์กันตั้งแต่สมัยก่อนชาวอุยกูร์ และ ชาวตุรกี พบว่ามีความเกี่ยวข้องกันมานาน เพราะเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีรากฐานมาจาก"เตอร์กิช"ซึ่งใช้ภาษาตุรกี
สำหรับชาวอุยกูร์ในตุรกีนั้น รัฐบาลตุรกี ระบุว่าไม่มีสถิติอย่างเป็นทางการ แต่คาดว่ามีชาวอุยกูร์ในตุรกีประมาณ 20,000 คน และ ชาวอุยกูร์จำนวนมากไม่เคยไปจีน ขณะที่ชาวอุยกูร์ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ที่เขตปกครองซินเจียง-อุยกูร์ ของจีน มีประชากรมากถึง 45% หรือ ประมาณ 10 ล้านคน ของประชากรในเขตปกครองซินเจียง-อุยกูร์ ซึ่งมีอยู่ประมาณ 21 ล้านคน และ เป็นกลุ่มคนที่นับถือศาสนาอิสลาม


ข้อมูลจากจุลสารความมั่นคงศึกษา ระบุว่าเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ในจีน อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือซินเจียง เป็นที่ตั้งของอาณาจักรโบราณ มาตั้งแต่เมื่อ 2,000 ปีก่อน เป็นจุดเชื่อมจีนเข้ากับเอเชียกลางและเอเชียใต้ ซึ่งความเจริญถึงขีดสุดในยุคที่การค้าบนเส้นทางสายไหมรุ่งเรือง และศาสนาอิสลาม ได้เผยแพร่เข้ามาผ่านพ่อค้ามุสลิมดินแดนแถบนี้ตกเป็นของจีนมาตั้งแต่ศตวรรษ ที่ 16 ในเวลานั้น ชาวฮั่นและชาวมุสลิมอยู่ร่วมกันอย่างสันติ แต่ต่อมาในศตวรรษที่ 18 จีนและรัสเซียแข่งขันกันแผ่อิทธิพลในเอเชีย จีนจึงมีนโยบายเพิ่มความเข้มข้นในการปกครองซินเจียง
ราชสำนักชิง มีนโยบายต่อชาวมุสลิมที่ต่อต้าน คือ การปราบปรามอย่างเฉียบขาด ทำให้ชาวมุสลิมล้มตายไปเป็นจำนวนมาก และ เมื่อ 5 ก.ค.2552 ชาวอุยกูร์ จำนวนมากได้ออกมาประท้วงทางการจีน เพราะถูกจำกัดสิทธิหลายเรื่อง
ซึ่งการประท้วงนี้ สุดท้ายแล้วมีผู้เสียชีวิตเกือบ 200 คน บาดเจ็บกว่า 1,700 คน และหลังจากนั้นก็เกิดความรุนแรงอีกหลายครั้ง จนล่าสุด เมื่อเดือนรอมฎอนเริ่มต้นขึ้น ในวันที่ 18 มิถุนายน ที่ผ่านมา ทางการจีนได้ออกมาตรการหลายอย่าง ที่สำคัญ คือ จำกัดการถือศีลอดของชาวมุสลิมในซินเจียง สั่งร้านอาหารให้เปิดบริการกลางวันปกติ ห้ามข้าราชการพลเรือน นักศึกษา และ ครู ถือศีลอด รวมไปถึงการจับกุมคุมขังผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามสิ่งที่รัฐกำหนด เช่น การจับกุมชาวอุยกูร์ที่ไม่ยอมเคารพธงชาติจีน ทำให้เพิ่มความตึงเครียดระหว่างชาวจีนและอุยกูร์ ซึ่งความขัดแย้งดำเนินมานานต่อเนื่อง ทำให้มีชาวอุยกูร์หลายคน อพยพออกนอกประเทศโดยหวังจะไปอาศัยอยู่ที่ประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม เช่น ตุรกี ปากีสถาน มาเลเซีย
ขณะที่ไทยนั้น อุยกูร์ใช้เป็นทางผ่านซึ่งที่เป็นประเด็น คือ ทางการของหลายประเทศตัดสินใจส่งชาวอุยกูร์กลับจีน จึงทำให้ชาวตุรกีบางส่วนไม่พอใจ เพราะคำนึงถึงความเป็นอยู่ของชาวอุยกูร์ เมื่อต้องกลับไปจีน
ที่มา: http://www.krobkruakao.com/ข่าวต่างประเทศ/131872/-ชาวอุยกูร์-คือใคร-ทำไมจึงเกิดความขัดแย้ง.html


...........................................................................


by เพจกู
รูปภาพของ กูต้องได้ 100 ล้าน จากทักษิณแน่ๆ
ภาพประกอบ -
การส่งต่อชาวอุยกูร์ ให้แก่จีนเป็นการกระทำที่ผิดหลักกฎหมายสากล

สภาพของชาวอุยกูร์ ในวันที่ถูกทางการไทยส่งกลับจีน เขาเหล่านั้นถูกปฏิบัติในลักษณะของนักโทษ และมีการกล่าวหาจากรัฐบาลจีนว่าชาวอุยกูร์ 13 คน "เป็นผู้ก่อการร้าย" ไม่ต่างจากการที่ คสช.จับพยาบาลที่เป็นพยาน ไปทำให้กลายเป็นผู้ต้องหาสักเท่าไหร่ ไม่ต้องนึกถึงชะตากรรมว่าเขาจะประสบกับอะไร อยากรู้ว่า คสช.ทำผิดอย่างไร เชิญอ่านเองเถิด ...
ข้อเขียน ของ Jon Ungphakorn
ขออีกครั้งครับ เพราะข่าวการส่งกลับชาวอุยกูร์ไปยังประเทศจีนทั้งๆที่ประเทศตุรกียินดีอ้าแขนรับ เป็นเรื่องที่สะเทือนใจผมมากทีเดียว
หลักการ Non-refoulement (นอนรีฟูลมอน) เป็นหลักการสำคัญของกฎหมายระหว่างประเทศ ที่ห้ามการส่งกลับผู้ลี้ภัยไปยังรัฐที่ไม่ปลอดภัยสำหรับพวกเขาที่ชีวิตหรือเสรีภาพของพวกเขาอาจถูกคุกคาม
ความหมายโดยทั่วไปคือหากผู้ลี้ภัยหนีออกมาจากประเทศหนึ่งด้วยเหตุแห่งการไม่รู้สึกปลอดภัยหรือ้สิทธิเสรีภาพถูกคุกคาม หากเหตุนั้นมีมูล จะส่งพวกเขากลับไปยังประเทศนั้นไม่ได้
กรณีของชาวอุยกูร์ที่หลบหนีจากประเทศจีนมาผ่านเมืองไทยมุ่งหน้ายังประเทศตุรกี ทั้งนี้โดยประเทศตุรกีอ้าแขนรับทั้งหมด แต่ผู้มีอำนาจไทยกลับส่งชาวอุยกูร์ส่วนหนึ่งกลับไปประเทศจีนตามคำขอของรัฐบาลจีน นอกจากเป็นการละเมิดหลักกฎหมายสำคัญระหว่างประเทศแล้ว ที่สำคัญเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของพวกเขาอย่างร้ายแรง อาจทำให้พวกเขาบางส่วนถึงตายได้ และยังเป็นการแยกครอบครัวด้วย โดยสามีส่งกลับจีน ส่วนภรรยาและลูกส่งต่อไปยังตุรกี ทั้งหมดนี้ทำไปเพื่อซื้อมิตรภาพของประเทศจีน เพราะประเทศจีนให้ผลประโยชน์ได้มากกว่าประเทศตุรกี
หากพวกเขาบางส่วนเป็นอาชญากรจริงก็ทำไมไม่ใช้ระบบการส่งผู้ร้ายข้ามแดนละ? ความจริงคือไม่มีหลักฐานชี้ใครได้ ส่วนคำอ้างว่าประเทศจีนสัญญาว่าจะไม่มีการลงโทษผู้กลับ ในทางสากลไม่ถือว่าเป็นเหตุที่จะส่งกลับได้ และไม่มีความน่าเชื่อถือแต่อย่างใด
Non-refoulement
A core principle of international Refugee Law that prohibits States from returning refugees in any manner whatsoever to countries or territories in which their lives or freedom may be threatened.
Note: The principle of non-refoulement is a part of customary international law and is therefore binding on all States, whether or not they are parties to the Geneva Convention. (European Database of Asylum Law)


คลิก.-.อ่านต่อทั้งหมด

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar