“อยู่มาหมู่ข้าเฝ้า ก็หาเยาวนารี
ที่หน้าตาดีดี
ทำมโหรีที่เคหา
ค่ำเช้าเฝ้าสีซอ เข้าแต่หอล่อกามา”
รู้ทันราชวงค์จักรี รัชกาลที่ ๔ กษัตริย์ เฒ่าหัวงูผู้ไม่อิ่มในกามคุณ
รัชกาลที่
๔
กษัตริย์อดีตภิกษุ
รัชกาลที่ ๔
เฒ่าหัวงูผู้ไม่อิ่มในกามคุณ
รัชกาลที่ ๔ ทวดของรัชกาลองค์ปัจจุบัน เป็นผู้ที่มีประวัติโลดโผนมาก ก่อนเป็นกษัตริย์เคยบวชมานานและมีสาวกมาก เพราะเป็นผู้ริเริ่มเทศน์แบบปาฐกถา ซึ่งเร้าอารมณ์ ไม่ใช้การแสดงธรรมตามธรรมเนียมแบบเก่าตามคัมภีร์ซึ่งไม่มีชีวิตชีวา(๑) นอกจากนี้ยังเป็นผู้ที่รู้จักหาเสียงด้วยวิธีที่แหวกแนว โดยมีบรรดาสาวกคอยช่วยเหลือ เผยแพร่การโฆษณาอันเป็นเท็จ เช่น กระพือข่าวว่า ขณะที่เป็นสงฆ์นั้นเพียงแค่พระองค์ขอพระธาตุจากพระปฐมเจดีย์ในปี จศ.๑๑๙๓ พระบรมธาตุก็แสดงปาฏิหาริย์ตาม “เสด็จ” ถึงกรุงเทพฯ พอถึงปีจุลศักราช ๑๑๙๕ ภิกษุฟ้ามงกุฏุธุดงค์ไปถึงชัยนาท ก็มี “จระเข้ใหญ่ลอยขึ้นเหนือน้ำชื่นชมบารมี” ครั้นนั่งวอไปสวรรคโลก ก็พบเสือร้ายใหญ่เท่าโค นอนกระดิกหางชื่นชมบารมีห่างจาก “ทางเสด็จ” เพียง ๘ ศอก ครั้นไปถึงแก่งหลวง เมืองสวรรคโลก ซึ่งเป็นหน้าแล้งไม่เคยมีปลามาก่อน ก็บังเกิดมีปลาตะเพียนใหญามากมายเหลือประมาณ กระโดดขึ้นริมตลิ่ง ชื่นชมพระบารมี และพอพระองค์เล่าให้ญาติโยมที่เมืองสุโขทัยฟังว่า เมื่อคืนนี้ได้ฝันว่ามีชาวเมืองสุโขทัยมากมายมาขอให้อยู่ที่สุโขทัยนานๆหน่อยเท่านั้นเอง ก็ปรากฏว่ามีฝนตกใหญ่ จนน้ำท่วมแผ่นดินถึง ๒ วันซ้อนในฤดูแล้ง เป็นปาฏิหาริย์ (๒)
นอกจากนี้ภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎ
ยังรู้จักวิธีการที่จะทำให้ประชาชนศรัทธาตนด้วยวิธีการแปลกๆไม่ต่างจากที่กล่าวไปแล้ว
พระองค์ถึงกับหลอกลวงให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็น “ภิกษุยิ่งกว่าภิกษุอื่น”
ด้วยการบวชซ้ำบวชซากถึง ๖ ครั้ง ทั้งที่ตามพุทธบัญญัตินั้น
ทรงอนุญาตให้ทำอุปสมบทกรรมด้วยญัตติจตตุถกรรมวาจาเพียงคราวเดียว (๓)
ก็สำเร็จเป็นสงฆ์ ภาษิตไทยที่ว่าชายสามโบสถ์นั้นคบไม่ได้ แต่พระองค์เป็นถึงชาย ๖
โบสถ์จะน่าคบหาสมาคมด้วยเพียงใด
ท่านผู้อ่านก็ลองใช้สติปัญญาตรองดูเอาเถิด
โดยพื้นฐานแล้ว ภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎอยากเป็นกษัตริย์มากกว่าเป็นพระ
ตามสิทธิแห่งการเป็นโอรสของราชินี และตามความปรารถนาของบิดา
ซึ่งพระยาตรังรัตนกวีแห่งรัตนโกสินทร์ตอนต้น บอกให้เรารู้ว่ารัชกาลที่ ๒
นั้นประกาศตั้งแต่ยังไม่สวรรคตว่า จะให้เจ้าฟ้ามงกุฎเป็นกษัตริย์(๔)
แต่ด้วยสติปัญญาของเจ้าฟ้ามงกุฎเองก็รู้ว่า ถ้าตนสึกเมื่อใด ก็หัวขาดเมื่อนั้น
จึงทนอดเปรี้ยวไว้กินหวานเพื่อสะสมกำลัง
โดยหวังที่จะเอาอย่างบุตรของพระเอกาทศรถผู้หนึ่ง
ซึ่งบวชจนได้เป็นพระพิมลธรรมและมีญาติโยมมากกระทั่งสามารถยกกำลังเข้าไปในวัง
และจับกษัตริย์ศรีเสาวภาคปลงพระชนม์
แล้วสถาปนาตนเองเป็นพระเจ้าทรงธรรมสมัยอยุธยา
การสะสมกำลังของภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎนั้น ใช้วิธีการที่น่าเกลียดไม่แพ้รัชกาลที่ ๑ ปู่ของตนเอง ซึ่งใส่ร้ายป้ายสีพระภิกษุทั่วทั้งแผ่นดิน ดังจะเห็นได้ว่า พอพระองค์บวชอยู่ที่วัดมหาธาตุได้ไม่ถึงปี ก็วิจารณ์พระภิกษุไทยว่า “สมณะเหล่านั้น ไม่เป็นที่นำมาซึ่งความเลื่อมใสศรัทธา เปรียบเหมือนต้นไม้ที่ไม่มีรากเหง้าอันเน่าผุพัง” ครั้นไปถามปัญหาต่างๆกับท่านที่เป็นอาจารย์ “ก็งุบงิบอ้อมแอ้ม ไม่อธิบายให้กระจ่างสว่างได้” จึงต้องไปศึกษาพระธรรมวินัยกับภิกษุมอญ (๕) หลังจากนั้นอีก ๕ ปี ก็ใส่ไคล้ว่าสงฆ์หลายร้อยรูปในวัดมหาธาตุที่สถิตย์ของพระสังฆราช อุปัชฌาย์ของพระองค์เอง เต็มไปด้วยภิกษุลามกอลัชชี (๖) จึงหนีไปตั้งธรรมยุตินิกายที่วัดสมอราย (๗)
การสะสมกำลังของภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎนั้น ใช้วิธีการที่น่าเกลียดไม่แพ้รัชกาลที่ ๑ ปู่ของตนเอง ซึ่งใส่ร้ายป้ายสีพระภิกษุทั่วทั้งแผ่นดิน ดังจะเห็นได้ว่า พอพระองค์บวชอยู่ที่วัดมหาธาตุได้ไม่ถึงปี ก็วิจารณ์พระภิกษุไทยว่า “สมณะเหล่านั้น ไม่เป็นที่นำมาซึ่งความเลื่อมใสศรัทธา เปรียบเหมือนต้นไม้ที่ไม่มีรากเหง้าอันเน่าผุพัง” ครั้นไปถามปัญหาต่างๆกับท่านที่เป็นอาจารย์ “ก็งุบงิบอ้อมแอ้ม ไม่อธิบายให้กระจ่างสว่างได้” จึงต้องไปศึกษาพระธรรมวินัยกับภิกษุมอญ (๕) หลังจากนั้นอีก ๕ ปี ก็ใส่ไคล้ว่าสงฆ์หลายร้อยรูปในวัดมหาธาตุที่สถิตย์ของพระสังฆราช อุปัชฌาย์ของพระองค์เอง เต็มไปด้วยภิกษุลามกอลัชชี (๖) จึงหนีไปตั้งธรรมยุตินิกายที่วัดสมอราย (๗)
การที่ภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎคุยเขื่องถึงเพียงนี้ นับเป็นเรื่องที่น่าตลกมาก
เพราะเมื่อพระองค์บวชไม่ถึง ๑๒ เดือน ยังเป็นนวภิกขุ แปลบาลีก็ไม่ได้
กลับเพ้อเจ้อว่าพระมอญรู้วินัยดีกว่าพระไทย
และยังมีสติปัญญาแก่กล้าถึงขนาดที่ถามปัญหาธรรม ไล่ต้อนจนอาจารย์จนแต้มได้
พึงทราบว่าอุปัชฌาย์ของพระองค์ สมเด็จพระสังฆราช(ต่วน) ธรรมดานั้น
ภิกษุใหม่มีปัญหาอะไร ย่อมต้องศึกษาหาความรู้กับอุปัชฌาย์
ในกรณีของภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎนี้เป็นไปได้หรือที่ พระสังฆราชประมุขของสงฆ์ทั่วราชอาณา
ถึงกับจนแต้มศิษย์น้อยจอมกระล่อนที่บวชพระได้ไม่ถึงปี?
ถ้าไม่เรียกว่าเป็นการโป้ปดมดเท็จแล้วจะเรียกว่าอะไร?
แน่นอนการที่ภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎ ยกตนข่มครูโดยปราศจากความเคารพด้วยการอุตริมนุสธรรมเช่นนี้ ก็เพื่อเหตุผลประการเดียว คือการโฆษณาหาเสียง สร้างความนิยมในหมู่สาวก เพื่อเตรียมการเป็นกษัตริย์ในวันหน้า
แน่นอนการที่ภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎ ยกตนข่มครูโดยปราศจากความเคารพด้วยการอุตริมนุสธรรมเช่นนี้ ก็เพื่อเหตุผลประการเดียว คือการโฆษณาหาเสียง สร้างความนิยมในหมู่สาวก เพื่อเตรียมการเป็นกษัตริย์ในวันหน้า
การดึงเอาพระศาสนามาแปดเปื้อนการเมืองของภิกษุมงกุฎนั้น
มิใช่จะไม่มีผู้ใดจับได้ไล่ทัน คุณ ส.ธรรมยศ นักปรัชญาคนสำคัญวิจารณ์ว่า
ธรรมยุติและมหานิกายมีวัตรปฏิบัติต่างกันเพียงเล็กน้อย เช่น วิธีการครองผ้า
วิธีสวดมนต์ และวิธีลงอุโบสถสังฆกรรม
ซึ่งเป็นความแตกต่างเพียงเศษหนึ่งแห่งเสี้ยวธุลีดิน
ไม่เหมือนกับนิกายแคทอลิคและโปรแตสแตนในคริสต์ศาสนา ซึ่งแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
ตั้งแต่ วัด คัมภีร์ ชีวิตของพระและการแต่งกาย
จึงไม่มีเหตุผลเพียงพอที่พระองค์จะแยกธรรมยุติเป็นอีกนิกายหนึ่งต่างหากจากมหานิกาย
เหมือนกับที่โปรแตสแตนแยกตัวออกจากแคธอลิค(๘)
หากจะกล่าวถึงสาเหตุที่ภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎ
แยกตนมาตั้งธรรมยุตินิกาย
และรังเกียจไม่ให้คณะมหานิกายซึ่งเป็นสงฆ์ส่วนใหญ่ของประเทศร่วมสังฆกรรมกับตน
โดยไม่ยอมรับว่าการอุปสมบถกรรมของฝ่ายมหานิกายบริสุทธิ์พอ
คือไม่ถือว่าคณะภิกษุฝ่ายมหานิกายเสื่อมถอยไปเสียจากพระธรรมวินัย
จึงยังไม่นับว่ามีเหตุผล เพราะใครจะกล้าอวดอ้างว่า
โดยพื้นฐานแล้วมหานิกายตกต่ำกว่าธรรมยุติ ดูเอาแต่ประมุขของแต่ละคณะเถิด
ใครจะกล้ายืนยันว่าสมเด็จปาวัดโพธิ์พระสังฆราชองค์ก่อนฝ่ายมหานิกาย
มีวัตรปฏิบัติอ่อนด้อยกว่าสมเด็จวัดมงกุฎ สังฆราชองค์ก่อนหน้าท่าน
และอ่อนด้อยกว่าสมเด็จวัดราชบพิธ สังฆราชองค์ปัจจุบันซึ่งเป็นฝ่ายธรรมยุตินิกาย
หากย้อนไปสู่อดีตใครเลยจะกล้ารับรองว่าภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎ
มีศีลบริสุทธิ์และสันโดษเสมอด้วยพระเถระฝ่ายมหานิกาย
ซึ่งมีอยู่ในยุคสมัยใกล้เคียงกับพระองค์ เช่น
สมเด็จพุฒาจารย์(โต)และสมเด็จพระสังฆราช(สุก)
ซึ่งเชี่ยวชาญในวิปัสสนาธุระจนทำให้ไก่ป่าเชื่องได้
ด้วยเหตุนี้ คุณ ส.ธรรมยศ จึงวิจารณ์ว่า
การที่ภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎตั้งนิกายธรรมยุตินั้น
“ไม่ใช่เนื่องจากแต่ความเสื่อมโทรมของศาสนา กล่าวให้ชัดก็คือ
ทรงตั้งธรรมยุติกะขึ้นมาในนามของพระพุทธศาสนา เพื่อการเมือง
คือเอาพระพุทธศาสนามาเป็นโล่ เป็นเครื่องมือของพระองค์เพื่อชิงเอาราชสมบัติ” (๙)
ในที่สุดเจ้าฟ้ามงกุฎก็เล่นการเมืองเต็มที่
ด้วยการคบหากับขุนนางตระกูลบุนนาคขณะที่ยังอยู่ในสมณเพศ
เพื่อสร้างหนทางทอดไปสู่ความเป็นกษัตริย์
สำหรับจุดเริ่มต้นแห่งสัมพันธภาพดังกล่าวนั้น
กรมฯดำรงราชานุภาพเล่าไว้ในหนังสือประวัติเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ว่า
เมื่อจวนสิ้นรัชกาลที่ ๓ นั้นพวกบุนนาคอยากให้ภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎเป็นกษัตริย์
จึงปฏิสังขรณ์วัดบุปผารามเป็นวัดธรรมยุติ
จนสามารถสนิทสนมกับพระองค์ตั้งแต่คราวนั้น(๑๐)
ในที่สุดพอถึงปลายรัชกาลที่ ๓
ภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎก็กำลังกล้าแข็งมาก ในวันอังคารเดือน ๓ ขึ้น ๑๐ ค่ำ
เป็นวันที่รัชกาลที่ ๓ มีอาการทรุดหนัก สุดวิสัยที่จะรักษาได้ ในวันพุธ เดือน ๔
แปดค่ำเจ้าพระยาพระคลัง หัวหน้าพวกบุนนาคจึงเชิญภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎขึ้นเป็นกษัตริย์
ทั้งที่รัชกาลที่ ๓ ยังมาสวรรคต(๑๑)
ในคราวที่รัชกาลที่ ๒ สวรรคตนั้น
ภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎเที่ยวถามใครต่อใคร เช่น น้าชายของตนเอง
และกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรสว่า
ควรสึกเพื่อเรียกร้องสิทธิที่จะได้รับสมบัติหรือไม่ จนได้ข้อสรุปว่าไม่ควรสึก
แต่เมื่อเวลาล่วงเลยมาถึงคราวรัชกาลที่ ๓ จะสิ้นแล้ว
พระองค์ไม่พักต้องไปถามใครทั้งสิ้น
ยินยอมตกลงตามข้อเสนอของเจ้าพระยาพระคลังด้วยความยินดี
โดยไม่ได้อาลัยอาวรณ์ผ้ากาสาวพัสตร์และตำแหน่งประมุขแห่งธรรมยุตินิกายแม้แต่น้อย
ในที่สุดภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎก็ได้เป็นกษัตริย์ ทั้งที่รัชกาลที่ ๓
ไม่ได้ปรารถนาที่จะให้เป็นเช่นนี้เลย เซอร์ แฮรี่ ออด
เจ้าเมืองสิงคโปร์สมัยรัชกาลที่ ๔ เขียนจดหมายเหตุเล่าว่า รัชกาลที่ ๓
อยากให้ราชสมบัติตกอยู่กับลูกชายตนเอง(๑๒) ซึ่งก็ได้แก่พระองค์เจ้าอรรณพ
เพราะพระองค์เคยมอบแหวนและเครื่องประคำของรัชกาลที่ ๑ อันเป็นของสำหรับกษัตริย์
ให้แก่ลูกชายคนนี้ก่อนสวรรคต(๑๓)
แต่โชคร้ายที่พระองค์เจ้าอรรณพไม่ได้สิ่งของดังกล่าวตามสิทธิ(๑๔)
เพราะถูกกีดกันจากฝ่ายภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎ ซึ่งต่อมาเป็นรัชกาลที่ ๔
และได้มอบประคำและแหวนดังกล่าวให้แก่รัชกาลที่ ๕ ต่อไป(๑๕)
ในภายหลังไม่มีใครรู้เรื่องราวของพระองค์เจ้าอรรณพอีกเลย(๑๖)
สำหรับภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎนั้นพอเป็นพระเจ้าแผ่นดิน
พระองค์ก็หลงใหลปลาบปลื้มอยู่กับกามารมณ์ไม่รู้สร่าง
พวกขุนนางที่รู้ว่ากษัตริย์พอใจในเรื่องพรรค์นี้
ได้กวาดต้อนเอาผู้หญิงมาบำรุงบำเรอเจ้าชีวิตของตนเต็มที่
เหมือนกับที่สุนทรภู่สะท้อนภาพศักดินาใหญ่ไว้ในกาพย์พระไชยสุริยาว่า
“อยู่มาหมู่ข้าเฝ้า ก็หาเยาวนารี
ที่หน้าตาดีดี ทำมโหรีที่เคหา
ค่ำเช้าเฝ้าสีซอ เข้าแต่หอล่อกามา”
ที่หน้าตาดีดี ทำมโหรีที่เคหา
ค่ำเช้าเฝ้าสีซอ เข้าแต่หอล่อกามา”
บางคนถึงกับฉุดคร่าตัวเด็กสาวๆจากบิดา มารดามา”กราบ”รัชกาลที่ ๔
อดีตสมภารนักการเมือง “ต้นตระกูลกิตติวุฒโท” แห่งจิตตภาวันในปัจจุบัน เช่น
ในกรณีของพระยาพิพิธฤทธิเดช เจ้าเมืองตราด คร่ากุมเอาลูกสาวชาวบ้าน ๓ คนไป
“ถวายตัวให้กษัตริย์” เมื่อพ่อแม่เด็กยื่นถวายฎีกา รัชกาลที่ ๔
ที่มัวเมาโมหะกลับหาว่าพระยาพิพิธฤทธิเดชไม่ผิด ผู้ที่ผิดคือพ่อแม่เด็กที่
“เป็นคนนอกกรุง ไม่รู้อะไรจะงาม ไม่งาม” แถมยกย่องว่าพระยาพิพิธฤทธิเดช
“ถือน้ำพิพัฒน์สัตยา อยู่ในพระนามพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก็ควรเห็นว่าเป็นอันเหมือนขนทรายเข้าวัด
มิใช่เกาะกรองเร่งรัดลงเอาเบี้ยหอยเงินทองอะไรฤา จะเอาไปถวายเจ้าอื่นนายอื่น
ประจบประแจงผู้ใดก็หาไม่ ไม่ควรจะเอาโทษ” (๑๗)
การที่รัชกาลที่ ๔
สะสมนางในไว้ในฮาเร็มมากมายนั้น ถึงกับทำให้ข้าราชการฝ่ายในกับวังจน
แทบไม่มีที่อยู่ที่กิน พระองค์เองก็หลงๆลืมๆจำชื่อคนเหล่านั้นไม่ได้หมด (๑๘)
ภายในระยะเวลาเพียงสิบกว่าปี แม้ว่าพระองค์จะเฒ่าชะแลแก่ชราเต็มที
ก็ยังสามารถผลิตลูกได้ถึง ๘๒ คน(๑๙) เพราะหมกมุ่นอยู่กับอิสตรีไม่มีวันหน่าย
ซึ่งนับว่าไม่มีกษัตริย์อื่นใดในกรุงรัตนโกสินทร์จะสู้ได้ เพราะรัชกาลที่ ๕
แชมป์ลูกดกอันดับที่ ๒ ก็ยังมีลูกเพียง ๗๖ คน
เมื่อกล่าวถึงความมีเมียมากของรัชกาลที่ ๔ แล้ว
ก็อดพูดถึงชีวิตของบรรดาเจ้าจอมหม่อมห้ามของกษัตริย์ไม่ได้ว่ามีชีวิตที่น่าเวทนาเพียงใด
เพราะนางสนมทั้งหมดเพิ่งจะพ้นจากวัยเด็ก ไม่ทันพบกับความสดชื่นของชีวิตในวัยสาว
ก็ต้องตกไปอยู่ในมือของโคแก่กระหายสวาท
ผู้ที่น่าสงสารที่สุดคือ เจ้าจอมทับทิม เด็กสาวที่มีอายุเพียง ๑๕ ปี ถูกพ่อ “กราบ” เป็นนางบำเรอรัชกาลที่ ๔ อายุ ๖๐ ปี ฟันฟางหักหมดปากตั้งแต่ขณะที่เป็นสงฆ์(๒๐) เหมือนโฉมหน้าท้าวสันนุราช(เฒ่าราคะ)ที่ปรากฏอยู่ในเรื่องคาวีที่ว่า
ผู้ที่น่าสงสารที่สุดคือ เจ้าจอมทับทิม เด็กสาวที่มีอายุเพียง ๑๕ ปี ถูกพ่อ “กราบ” เป็นนางบำเรอรัชกาลที่ ๔ อายุ ๖๐ ปี ฟันฟางหักหมดปากตั้งแต่ขณะที่เป็นสงฆ์(๒๐) เหมือนโฉมหน้าท้าวสันนุราช(เฒ่าราคะ)ที่ปรากฏอยู่ในเรื่องคาวีที่ว่า
“...หน้าพระทนต์บนล่างห่างหัก ดวงพระพักตร์เหี่ยวเห็นเส้นสาย...”
เจ้าจอมทับทิมนั้นชอบพอกับพระครูปลัดใบฎีกา
ฐานานุกรมของสมเด็จพระสังฆราช(สา)อยู่แล้ว
ย่อมไม่ยอมทนอยู่กับตาเฒ่าฟันฟางหักหมดปาก จึงหนีไปกับคู่รัก แต่หนีไม่พ้น
ถูกรัชกาลที่ ๔ จับฆ่าทั้งคู่ เหตุการณ์นี้นางแอนนา เลียวโนเวนส์เขียนเอาไว้
มีคนจำนวนมากไม่เชื่อว่าจริง แต่ก็ไม่เห็นมีใครยกหลักฐานมาพิสูจน์ว่าไม่จริงอย่างไร
ส. ธรรมยศ นักคิดที่สำคัญคนหนึ่งวิจารณ์ว่า
นางแอนนาเขียนหนังสือเกี่ยวกับพระจอมเกล้าไว้ ๘๐,๐๐๐ กว่าคำ
แต่ผู้คัดค้านทั้งหลายเขียนหนังสือเกี่ยวกับเรื่องนี้ไม่ถึง ๒,๐๐๐ คำ
ทั้งไม่มีสาระเพียงพอที่จะลบล้างถ้อยคำของนางเลียวโนแวนส์เลย
ความจริงแล้วมีนางสนมกำนัลเอาใจออกห่างจากกษัตริย์ตลอดมามากมาย
ในสมัยก่อนรัชกาลที่ ๔ เอง ก็มีการฆ่าฟันเจ้าจอมที่เป็นชู้
รวมทั้งชายชู้อีกหลายครั้ง เช่น ในกรณีของพระยากลาโหมราชเสนา(ทองอิน)
เป็นชู้กับเจ้าจอมวันทา ของวังหน้ารัชกาลที่ ๑ (๒๑)
หรือกรณีของบุตรชายเสนาบดีผู้ใหญ่แห่งตระกูลบุนนาคในรัชกาลที่ ๓
และกรณีของพระอินทรอภัย ฯลฯ เป็นต้น
ส่วนในช่วงหลังรัชกาลที่ ๔ นั้น
การฆ่าสตรีในวังก็ยังไม่หมดไป เพียงแต่คราวนี้ผู้ตายมิใช่สนม
หากเป็นพระองค์หญิงเยาวลักษณ์ธิดาองค์โตของพระองค์
เพราะไปรักใคร่กับสามเณรรูปหนึ่งของวัดราชประดิษฐ์(๒๒) ชื่อโต
ทำให้ฝ่ายชายต้องถูกประหารชีวิต และฝ่ายหญิงถูกเผาทั้งที่ยังไม่ทันตายสนิท
ก็ถูกเผาทั้งเป็นเสียแล้ว
เหตุที่นางสนมมีชู้กันมากเช่นนี้
ก็เพราะไม่อาจทนมีชีวิตอยู่ในวังหลวงหรือฮาเร็มของกษัตริย์ที่เต็มไปด้วยสิ่งที่กดดัน
ไม่มีเสรีภาพ จะไปไหนมาไหนโดยอิสระก็ไม่ได้ แม้กระทั่งนางกำนัลของพระสนม
ถ้าหนีออกจากวังจะต้องได้รับโทษอย่างหนัก(๒๓)
นอกจากนี้ยังต้องตกอยู่ในภาวะที่เก็บกดในเรื่องเพศ ซึ่งปุถุชนทั่วไปจะต้องมีอีก
นางสนมกำนัลจำนวนมากต้อง “เล่นเพื่อน” เพื่อระบายอารมณ์
ดังจะศึกษาได้จากวรรณกรรมเรื่องหม่อมเบ็ดสวรรค์ ที่แต่งโดยคุณสุวรรณ์
กวีหญิงผู้โด่งดังในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ซึ่งได้สะท้อนภาพของราชสำนักแห่งจักรีวงศ์
อันน่าเกลียดออกมาให้ประชาชนเห็นอย่างกะจะแจ้ง
น่าสังเกตว่าการ “เล่นเพื่อน”
ในวังมีมากจนรัชกาลที่ ๔ ก็กลัวว่าลูกสาวของตนจะเล่นเพื่อน
ทั้งนี้น่าจะเพราะรู้ดีว่า สตรีชั้นสูงในวังมักไม่มีผัว
ด้วยสตรีสูงศักดิ์จะแต่งงานกับชายที่ต่ำศักดิ์กว่าไม่ได้ (๒๔)
จึงถึงกับอุตส่าห์เขียนจดหมายสั่งลูกสาวทุกคนไม่ให้”เล่นเพื่อน”
เมื่อกล่าวถึงเพียงนี้ ขอย้อนถามผู้ที่ปกป้องรัชกาลที่ ๔ จนเกินขอบเขตว่า ก็ในเมื่อมีการฆ่าเจ้าจอมที่เอาใจออกห่างกษัตริย์แก่ ตลอดมาเช่นนี้แล้ว ทำไมการฆ่าเจ้าจอมทับทิมจะเกิดขึ้นไม่ได้เล่า
เมื่อกล่าวถึงเพียงนี้ ขอย้อนถามผู้ที่ปกป้องรัชกาลที่ ๔ จนเกินขอบเขตว่า ก็ในเมื่อมีการฆ่าเจ้าจอมที่เอาใจออกห่างกษัตริย์แก่ ตลอดมาเช่นนี้แล้ว ทำไมการฆ่าเจ้าจอมทับทิมจะเกิดขึ้นไม่ได้เล่า
เมื่อกล่าวถึงบรรดาสนมนางกำนัลรุ่นเด็กแล้ว
ไม่กล่าวถึงบรรดาเจ้าจอมที่มีอายุมากบ้างก็จะมองดูชีวิตแต่งงานของรัชกาลที่ ๔
ไม่ครบทุกด้าน ปกติแล้วเจ้าจอมที่มีอายุมากของพระองค์นั้นจะถูกมองเป็นของเก่าแก่
ที่เขรอะไปด้วยสนิม ต้องถูกทอดทิ้งให้อยู่ตามลำพัง
จึงมีความรู้สึกเก็บกดไม่ต่างไปจากเจ้าจอมวัยรุ่นทั้งหลาย
ชีวิตของเจ้าจอมมารดาน้อยที่อยู่กินกับรัชกาลที่ ๔ ตั้งแต่ขณะที่มิได้บวชเป็นพระ
นับเป็นตัวอย่างของเรื่องนี้ การที่เจ้าจอมมารดาน้อยเห็นรัชกาลที่ ๔
หมกมุ่นอยู่เฉพาะกับเจ้าจอมหม่อมห้ามสาวๆ
ทำให้เจ้าจอมมารดาน้อยได้รับความขมขื่นและน้อยอกน้อยใจมาก ดังนั้น
วันหนึ่งเจ้าจอมมารดาน้อยจึงลงเรือเก๋งสั่งให้นายท้ายเรือ
พายเรือไปเทียบกับเรือพระที่นั่งของรัชกาลที่ ๔ หน้าวัดเขมา นนทบุรี
จนได้เห็นพระองค์ห้อมล้อมไปด้วยนางสนมเด็กเสนอหน้าราวดอกเห็ด
ก็เลยให้ข้าหลวงที่ไปด้วย หัวเราะฮาๆเย้ยหยัน รัชกาลที่ ๔ กลับโกรธ
หาว่าเจ้าจอมมารดาน้อย “ตามมาล้อต่อหน้านางสนมใหม่ๆสาวๆ” (๒๖)
จึงให้จับเอาตัวไปขังไว้ในวังหลวง เจ้าจอมมารดาน้อยอ้างว่า “จะตามไปกรุงเก่าด้วย”
(๒๗) พระองค์ไม่ฟังเสียง กลับนึก อยากจะใคร่ให้เอาไปตัดหัวเสียตามสกุลพ่อมัน...”
(๒๘) (เจ้าจอมมารดาน้อยเป็นหลานพระเจ้าตากสิน) จึงไม่ยอมยกโทษให้
เจ้าจอมมารดาน้อยผู้นั้นต้องติดคุกสนมจนตาย แล้วถูกนำศพไปเผาที่วัดตรีทศเทพ
ไม่ได้เข้าเมรุกลางกรุงเหมือนเขา (๒๙)
ซึ่งก็นับว่าเป็นเรื่องที่น่าสังเวชใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะขณะที่รัชกาลที่ ๔ บวชอยู่
ไร้อำนาจ เจ้าจอมมารดาน้อยเป็นผู้อุปัฏฐากส่งสำรับเช้าเพลด้วยความซื่อสัตย์
แม้ว่าทั้งตัวเองและลูกๆถูกกลั่นแกล้งรังแกโดยศักดินาที่เป็นศัตรูของรัชกาลที่ ๔
อย่างไรก็ยอมทน (๓๐) พระองค์กลับไม่ยอมคิดถึงคุณงามความดีเลย
ด้วยเหตุนี้คุณกี ฐานิสสร อดีตสมาชิกสภาจังหวัดนครศรีธรรมราช
จึงแต่งหนังสือวิจารณ์รัชกาลที่ ๔ ว่า
“มิใช่ลักษณะบุรุษอาชาไนยหรือนารายณ์อวตารแบ่งภาคมาเกิด...
ความจริงเป็นบุคลิกลักษณะของทศกรรฐ์อวตารแบ่งภาคมาเกิด หรือเป็นพระเจ้าเสือทีเดียว
อันที่จริงละม้ายคล้ายจมื่นราชามาตย์ เผาวังทั้งเป็นเพื่อปรุงเป็นอาหาร สุนทรภู่
(ความจริงพระมหามนตรี (ทรัพย์)-ผู้แต่ง) แต่งกลอนเยาะเย้ยว่า
มีบุญเหมือนเจ้าคุณราชามาตย์ ร้ายกาจเหมือนยักษ์มักกะสัน ฉะนั้น” (๓๑)
บางท่านอาจเห็นว่าคุณกี ฐานิสสร พูดจารุนแรงเกินไป
แต่ข้าพเจ้าเห็นว่าไม่รุนแรงเลย
ท่านผู้นี้เคยถูกพนักงานสอบสวนฟ้องในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
เนื่องจากการวิจารณ์ดังกล่าว แต่ศาลก็ยกฟ้อง แสดงว่าทัศนะของคุณกี ฐานิสสรถูกเป้า
ตรงประเด็น เป็นความจริงทุกอย่าง แม้แต่ศาลก็ไม่เห็นผิด
ผู้ที่มองเห็นเบื้องหลังของรัชกาลที่ ๔ อย่างทะลุปรุโปร่ง
ไม่ได้มีเฉพาะคนอย่างคุณกี ฐานิสสร ซึ่งมีชีวิตในยุคหลังเท่านั้น
แม้แต่สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) แห่งวัดระฆังยอดสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ในรัชกาลที่ ๔
ที่มีชื่อเสียงในเรื่องความมักน้อย(สมถะ) ก็ยังเคยเดินถือไต้ดวงใหญ่
เข้าวังหลวงในเวลาเที่ยงวัน ปากก็บ่นว่า “...มืดนัก....ในนี้มืดนัก มืดนัก...” (๓๒)
เมื่อพูดถึงรัชกาลที่ ๔ แล้ว
ถ้าไม่พูดถึงความขัดแย้งระหว่างพระองค์กับพระปิ่นเกล้าน้องชายเลย
ย่อมไม่อาจจะเห็นภาพของราชสำนักที่เต็มไปด้วยการชิงดีชิงเด่นได้
ปรากฏความตามจดหมายของรัชกาลที่ ๕ ถึงเจ้าฟ้าวชิรุณหิศเล่าว่า รัชกาลที่ ๔
กับพระปิ่นเกล้าไม่ค่อยจะกินเส้นกันเท่าใดนัก
เพราะพระองค์ระแวงที่พระปิ่นเกล้ามีผู้นิยมมาก
ทั้งพระปิ่นเกล้าเองก็มักจะกระทำการที่มองดูเกินเลยมาก(๓๓)
พระปิ่นเกล้าไม่ค่อยยำเกรงรัชกาลที่ ๔ กรมดำรงฯเล่าว่า
พระปิ่นเกล้ามักจะล้อรัชกาลที่ ๔ ว่า “พี่หิตบ้าง พี่เถรบ้างและตรัสค่อนว่า แก่วัด”
(๓๔) ส่วนรัชกาลที่ ๔ เองแม้ไม่อยากยกน้องชายขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินองค์ที่ ๒
แต่ก็จำเป็นต้องทำ ทั้งนี้เพราะรู้ดีว่า
มีผู้ยำเกรงพระปิ่นเกล้ากันมากว่าเป็นผู้มีวิชา มีลิ้นดำเหมือนพระเจ้าหงสาวดีลิ้นดำ
มิหนำซ้ำยังเหยียบเรือรบฝรั่งเอียง นอกจากนี้ยังมีทหารในกำมือมาก(๓๕)
และพระองค์รู้ดีว่า น้องชายก็อยากเป็นกษัตริย์เพราะว่า ขณะเมื่อรัชกาลที่ ๓
ป่วยหนักนั้น พระปิ่นเกล้าได้เข้าหาพี่ชายถามว่า “พี่เถร จะเอาสมบัติหรือไม่เอา
ถ้าเอาก็รีบสึกไปเถอะ ถ้าไม่เอาหม่อมฉันจะเอา...” (๓๖)
พระองค์จึงตั้งพระปิ่นเกล้าเป็นกษัตริย์องค์ที่ ๒
เพื่อระงับความทะเยอทะยานของน้องชาย
แต่นานวันความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้องทั้งสองคนก็ห่างเหินกันมากขึ้นทุกที
รัชกาลที่ ๔ นั้นไม่พอใจเป็นอย่างยิ่งที่มีเสียงเล่าลือไปในหมู่คนไทย ลาว อังกฤษ
ว่าตนเองเป็นผู้ที่ “...ชรา คร่ำเคร่ง ผอมโซ เอาราชการไม่ได้ ไม่แข็งแรง โง่เขลา”
(๓๗) จนกษัตริย์ทนฟังไม่ได้ ต้องออกกฎหมาย
ห้ามประชาชนวิพากษ์วิจารณ์พระกายของกษัตริย์ว่า อ้วน ว่าผอม ว่าดำ ว่าขาว
ห้ามว่างามหรือไม่งาม (๓๘)
ในขณะที่มีเสียงเล่าลือเกี่ยวกับพระปิ่นเกล้าในทางตรงข้าม เช่น
มีผู้เล่าลือกันทั่วไปว่า “...วังหน้าหนุ่มแข็งแรง.....ชอบการทหารมาก
มีวิทยาอาคมดี....” (๓๙)
ข้อที่สร้างความชอกช้ำระกำใจให้กับพระองค์ที่สุดคือการที่พระปิ่นเกล้าไปไหนก็
“ได้ลูกสาวเจ้าบ้านผ่านเมืองแลกรมการมาทุกที” แต่พระองค์มิเป็นเช่นนั้นเลย
จึงริษยาและบ่นเอากับคนที่ไว้ใจว่า “...ข้าพเจ้าไปไหนมันก็ว่า ชรา
ไม่มีใครให้ลูกสาวเลย ต้องกลับมาแพลงรัง....” (๔๐)
ต่อมาพระปิ่นเกล้าก็สวรรคต
แต่การสวรรคตของพระปิ่นเกล้ามีเบื้องหลังมาก ส.ธรรมยศ
เขียนไว้ว่า
“ที่พระปิ่นเกล้าทรงสวรรคตด้วยยาพิษโดยพระเจ้ากรุงสยาม (รัชกาลที่ ๔) ทรงจ้างหมอให้ทำ..... ส.ธรรมยศอ้างหนังสือ An English Governor and the Siamese Court ที่เขียนโดยมิสซิสแอนนาเลขานุการของรัชกาลที่ ๔ ว่า เป็นพฤติการณ์ที่รู้เห็นกันทั่วไป และนางใช้คำว่า พระเจ้ากรุงสยามเป็นกษัตริย์ที่โหดร้ายชั่วช้ามาก และที่ร้ายแรงกว่าความชั่วช้าคือ ความผูกอาฆาต พยาบาทอย่างรุนแรง และทรงเป็นกษัตริย์ที่มีพระนิสัยอิจฉาริษยาอย่างมาก โดยยกตัวอย่างไว้มากมาย” (พระเจ้ากรุงสยาม, หน้า ๘๑, ๑๗๘)
และหลังจากที่พระปิ่นเกล้าสวรรคต รัชกาลที่ ๔ ก็ได้แก้แค้นคนทั้งปวงที่นิยมพระปิ่นเกล้า ด้วยการบังคับให้พระนางสุนาถวิสมิตรา ลูกสาวของเจ้าชายแห่งเมืองเชียงใหม่มเหสีของพระปิ่นเกล้า ให้มาเป็นเจ้าจอมของตน แต่พระนางสุนาถวิสมิตราไม่ยอม จึงถูกจับกุมขังไว้ในวังหลวง แต่โชคดีที่หนีไปเมืองพม่าได้ในภายหลัง(๔๑)
“ที่พระปิ่นเกล้าทรงสวรรคตด้วยยาพิษโดยพระเจ้ากรุงสยาม (รัชกาลที่ ๔) ทรงจ้างหมอให้ทำ..... ส.ธรรมยศอ้างหนังสือ An English Governor and the Siamese Court ที่เขียนโดยมิสซิสแอนนาเลขานุการของรัชกาลที่ ๔ ว่า เป็นพฤติการณ์ที่รู้เห็นกันทั่วไป และนางใช้คำว่า พระเจ้ากรุงสยามเป็นกษัตริย์ที่โหดร้ายชั่วช้ามาก และที่ร้ายแรงกว่าความชั่วช้าคือ ความผูกอาฆาต พยาบาทอย่างรุนแรง และทรงเป็นกษัตริย์ที่มีพระนิสัยอิจฉาริษยาอย่างมาก โดยยกตัวอย่างไว้มากมาย” (พระเจ้ากรุงสยาม, หน้า ๘๑, ๑๗๘)
และหลังจากที่พระปิ่นเกล้าสวรรคต รัชกาลที่ ๔ ก็ได้แก้แค้นคนทั้งปวงที่นิยมพระปิ่นเกล้า ด้วยการบังคับให้พระนางสุนาถวิสมิตรา ลูกสาวของเจ้าชายแห่งเมืองเชียงใหม่มเหสีของพระปิ่นเกล้า ให้มาเป็นเจ้าจอมของตน แต่พระนางสุนาถวิสมิตราไม่ยอม จึงถูกจับกุมขังไว้ในวังหลวง แต่โชคดีที่หนีไปเมืองพม่าได้ในภายหลัง(๔๑)
หลักฐานอ้างอิง
๑. ส. ธรรมยศ พระเจ้ากรุงสยาม (โรงพิมพ์ ส.สง่า,๒๔๙๕) หน้า ๙๖-๙๗
๒. สมเด็จพระมหาสมณะเจ้า กรมพระยาปวเรศอริยาลงกรณ์ “พระราชประวัติในรัชกาลที่ ๔” (สิริ เปรมจิตต์ รวบรวม) พระบรมราชจักรีวงศ์ (โรงพิมพ์เสาวภาค,๒๕๑๔) หน้า ๒๙๓-๓๐๒
๓. กี ฐานิสสร ประวัติคณะสงฆ์ไทยกับธรรมยุติกประหาร (มณีกรวิทยาการพิมพ์, ๒๕๑๘) หน้า ๙๖-๙๗
๔. หนังสือโคลงดั้นเฉลิมพระเกียรติ ร.๒ ของพระยาตรัง พรรณนาพิธีโสกันต์เจ้าฟ้ามงกุฎก่อน ร.๒ตายว่า
“ปางองค์อิศรราชเจ้า จอมกษัตริย์
หวังหน่อนฤบดินทร์ ธเรศท้าว
ให้สืบสิริพัฒว์ ทรราช
เรืองพระยศอกร้าว ครอบครอง”
๕. พระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เรื่องเดิม หน้า ๒๘๔-๒๘๕
๖. เรื่องเดิม หน้า ๒๙๕
๗. เรื่องเดิม หน้า ๒๙๕
๘. ส. ธรรมยศ เรื่องเดิม หน้า ๑๑๐ และ ๑๑๕
๙. เรื่องเดิม หน้า ๑๐๓-๑๐๔
๑๐. ธงไทย หลอมนิกาย (สีหะพันธ์การพิมพ์ ๒๕๑๘) หน้า ๖๖-๖๗
๑๑. สิริ เปรมจิตต์ เรื่องเดิม หน้า ๒๓๖
๑๒. ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม เรื่องเดิม หน้า ๓๕๒-๓๕๓
๑๓. ส. ธรรมยศ เรื่องเดิม หน้า ๑๔๙
๑๔. โสมทัต เทเวศร์ เรื่องเดิม หน้า ๑๓๔
๑๕. เรื่องเดิม หน้า ๑๓๔
๑๖. ส. ธรรมยศ เรื่องเดิม หน้า ๑๕๗
๑๗. ประกาศเรื่องพระยาพิพิธฤทธิเดช ผู้สำเร็จราชการเมืองตราดส่งหญิงเข้ามาถวาย ๓ คน ปีมะเมีย จศ.๑๒๒๐ ในประชุมกฎหมายประจำศกเล่ม ๖
๑๘. พระจอมเกล้า “ประกาศพระราชทานอนุญาตให้ข้าราชการฝ่ายในทูลลาออกนอกราชการได้ ประชุมประกาศ ร.๕ พ.ศ.๒๔๐๕-๒๔๐๘ (คุรุสภา ๒๕๐๕) หน้า ๑๒๕
๑๙. เรื่องเดิม หน้า (ท) ท.ทหาร
๒๐. ส. ธรรมยศ เรื่องเดิม หน้า ๓๖๐
๒๑. พระจุลจอมเกล้า “พระบรมราโชวาทประทานเจ้าฟ้าวชิรุณหิศ” พระราชนิพนธ์ มูลนิธิพิพิธภัณฑ์วังวรดิศ พระญาติและนิกรของมจ.พูนพิสมัย ดิศกุล(รวบรวม) (ชวนพิมพ์, ๒๕๒๓) หน้า ๕
๒๒. ส. ธรรมยศ เรื่องเดิม หน้า ๒๘๗
๒๓. “พระราชกำหนดใหม่ เรื่อง โทษลักพาคนในพระราชวัง” กฎหมายตราสามดวง เล่ม ๕ (คุรุสภา, ๒๕๐๖) หน้า ๒๕๑-๒๕๔
๒๔. พระจอมเกล้า “ประกาศพรบ.ลักษณะลักพาปีฉลูศัปตศก” ประชุมประกาศ ร.๔ พ.ศ.๒๔๐๕-๒๔๐๘ (คุรุสภา ๒๕๐๔) หน้า ๓๐๗
๒๕. พระจอมเกล้า “พระบรมราโชวาท” พระราชทานในพระเจ้าลูกเธอพระราชหัตถเลขา(มงกุฎราชวิทยาลัย, ๒๕๒๑)หน้า ๖
๒๖. พระจอมเกล้า “พระราชหัตถเลขาถึงเจ้าจอมมารดาผึ้ง ปีเถาะ พ.ศ.๒๓๙๘” พระราชหัตถเลขา (มหามงกุฎฯ ๒๕๒๑) หน้า ๒๙๔-๒๙๖
๒๗. เรื่องเดิม หน้า ๒๙๖
๒๘. เรื่องเดิม หน้า ๒๙๕
๒๙. กี ฐานิสสร เรื่องเดิม หน้า (ท)
๓๐. พระจอมเกล้า “จดหมายถึงกรมหมื่นมเหศวรศิววิลาศ” (ลูกหม่อมน้อย-ผู้เขียน) พระราชหัตถเลขา เรื่องเดิม หน้า ๒๐๔
๓๑. กี ฐานิสสร เรื่องเดิม หน้า (น)
๓๒. ส. ธรรมยศ เรื่องเดิม หน้า ๑๒๒ ดู ฉันทิชัย สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) เล่ม ๑ (คุรุสภา, ๒๕๐๗) หน้า ๑๓
๓๓. พระจุลจอมเกล้า “พระบรมราโชวาทถึงเจ้าฟ้าวชิรุณหิศ” เรื่องเดิม หน้า ๒๖
๓๔. โสมทัต เทเวศร์ เรื่องเดิม หน้า ๑๘๓
๓๕. เรื่องเดิม หน้า ๑๖๕
๓๖. เรื่องเดิม หน้า ๑๗๐
๓๗. พระจอมเกล้า “จดหมายถึงพระยามนตรีสุริยวงศ์” พระราชหัตถเลขา เรื่องเดิม หน้า ๕๘๒
๓๘. พระจอมเกล้า “ประกาศห้ามมิให้กราบบังคมทูลทัก อ้วน ผอม ดำ ขาว” ประชุมประกาศ ร.๔ (คุรุสภา, ๒๕๒๔) หน้า ๑๔
๓๙. พระจอมเกล้า “จดหมายถึงพระยามนตรีสุริยวงศ์” พระราชหัตถเลขา เรื่องเดิม หน้า ๕๘๒
๔๐. เรื่องเดิม หน้า ๕๘๒
๔๑. กี ฐานิสสร เรื่องเดิม หน้า (ฌ)
๒. สมเด็จพระมหาสมณะเจ้า กรมพระยาปวเรศอริยาลงกรณ์ “พระราชประวัติในรัชกาลที่ ๔” (สิริ เปรมจิตต์ รวบรวม) พระบรมราชจักรีวงศ์ (โรงพิมพ์เสาวภาค,๒๕๑๔) หน้า ๒๙๓-๓๐๒
๓. กี ฐานิสสร ประวัติคณะสงฆ์ไทยกับธรรมยุติกประหาร (มณีกรวิทยาการพิมพ์, ๒๕๑๘) หน้า ๙๖-๙๗
๔. หนังสือโคลงดั้นเฉลิมพระเกียรติ ร.๒ ของพระยาตรัง พรรณนาพิธีโสกันต์เจ้าฟ้ามงกุฎก่อน ร.๒ตายว่า
“ปางองค์อิศรราชเจ้า จอมกษัตริย์
หวังหน่อนฤบดินทร์ ธเรศท้าว
ให้สืบสิริพัฒว์ ทรราช
เรืองพระยศอกร้าว ครอบครอง”
๕. พระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เรื่องเดิม หน้า ๒๘๔-๒๘๕
๖. เรื่องเดิม หน้า ๒๙๕
๗. เรื่องเดิม หน้า ๒๙๕
๘. ส. ธรรมยศ เรื่องเดิม หน้า ๑๑๐ และ ๑๑๕
๙. เรื่องเดิม หน้า ๑๐๓-๑๐๔
๑๐. ธงไทย หลอมนิกาย (สีหะพันธ์การพิมพ์ ๒๕๑๘) หน้า ๖๖-๖๗
๑๑. สิริ เปรมจิตต์ เรื่องเดิม หน้า ๒๓๖
๑๒. ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม เรื่องเดิม หน้า ๓๕๒-๓๕๓
๑๓. ส. ธรรมยศ เรื่องเดิม หน้า ๑๔๙
๑๔. โสมทัต เทเวศร์ เรื่องเดิม หน้า ๑๓๔
๑๕. เรื่องเดิม หน้า ๑๓๔
๑๖. ส. ธรรมยศ เรื่องเดิม หน้า ๑๕๗
๑๗. ประกาศเรื่องพระยาพิพิธฤทธิเดช ผู้สำเร็จราชการเมืองตราดส่งหญิงเข้ามาถวาย ๓ คน ปีมะเมีย จศ.๑๒๒๐ ในประชุมกฎหมายประจำศกเล่ม ๖
๑๘. พระจอมเกล้า “ประกาศพระราชทานอนุญาตให้ข้าราชการฝ่ายในทูลลาออกนอกราชการได้ ประชุมประกาศ ร.๕ พ.ศ.๒๔๐๕-๒๔๐๘ (คุรุสภา ๒๕๐๕) หน้า ๑๒๕
๑๙. เรื่องเดิม หน้า (ท) ท.ทหาร
๒๐. ส. ธรรมยศ เรื่องเดิม หน้า ๓๖๐
๒๑. พระจุลจอมเกล้า “พระบรมราโชวาทประทานเจ้าฟ้าวชิรุณหิศ” พระราชนิพนธ์ มูลนิธิพิพิธภัณฑ์วังวรดิศ พระญาติและนิกรของมจ.พูนพิสมัย ดิศกุล(รวบรวม) (ชวนพิมพ์, ๒๕๒๓) หน้า ๕
๒๒. ส. ธรรมยศ เรื่องเดิม หน้า ๒๘๗
๒๓. “พระราชกำหนดใหม่ เรื่อง โทษลักพาคนในพระราชวัง” กฎหมายตราสามดวง เล่ม ๕ (คุรุสภา, ๒๕๐๖) หน้า ๒๕๑-๒๕๔
๒๔. พระจอมเกล้า “ประกาศพรบ.ลักษณะลักพาปีฉลูศัปตศก” ประชุมประกาศ ร.๔ พ.ศ.๒๔๐๕-๒๔๐๘ (คุรุสภา ๒๕๐๔) หน้า ๓๐๗
๒๕. พระจอมเกล้า “พระบรมราโชวาท” พระราชทานในพระเจ้าลูกเธอพระราชหัตถเลขา(มงกุฎราชวิทยาลัย, ๒๕๒๑)หน้า ๖
๒๖. พระจอมเกล้า “พระราชหัตถเลขาถึงเจ้าจอมมารดาผึ้ง ปีเถาะ พ.ศ.๒๓๙๘” พระราชหัตถเลขา (มหามงกุฎฯ ๒๕๒๑) หน้า ๒๙๔-๒๙๖
๒๗. เรื่องเดิม หน้า ๒๙๖
๒๘. เรื่องเดิม หน้า ๒๙๕
๒๙. กี ฐานิสสร เรื่องเดิม หน้า (ท)
๓๐. พระจอมเกล้า “จดหมายถึงกรมหมื่นมเหศวรศิววิลาศ” (ลูกหม่อมน้อย-ผู้เขียน) พระราชหัตถเลขา เรื่องเดิม หน้า ๒๐๔
๓๑. กี ฐานิสสร เรื่องเดิม หน้า (น)
๓๒. ส. ธรรมยศ เรื่องเดิม หน้า ๑๒๒ ดู ฉันทิชัย สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) เล่ม ๑ (คุรุสภา, ๒๕๐๗) หน้า ๑๓
๓๓. พระจุลจอมเกล้า “พระบรมราโชวาทถึงเจ้าฟ้าวชิรุณหิศ” เรื่องเดิม หน้า ๒๖
๓๔. โสมทัต เทเวศร์ เรื่องเดิม หน้า ๑๘๓
๓๕. เรื่องเดิม หน้า ๑๖๕
๓๖. เรื่องเดิม หน้า ๑๗๐
๓๗. พระจอมเกล้า “จดหมายถึงพระยามนตรีสุริยวงศ์” พระราชหัตถเลขา เรื่องเดิม หน้า ๕๘๒
๓๘. พระจอมเกล้า “ประกาศห้ามมิให้กราบบังคมทูลทัก อ้วน ผอม ดำ ขาว” ประชุมประกาศ ร.๔ (คุรุสภา, ๒๕๒๔) หน้า ๑๔
๓๙. พระจอมเกล้า “จดหมายถึงพระยามนตรีสุริยวงศ์” พระราชหัตถเลขา เรื่องเดิม หน้า ๕๘๒
๔๐. เรื่องเดิม หน้า ๕๘๒
๔๑. กี ฐานิสสร เรื่องเดิม หน้า (ฌ)
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar