อภิปราย "สถาบันกษัตริย์ รัฐธรรมนูญ ประชาธิปไตย" เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2553
คลิกฟัง-สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อภิปราย "สถาบันกษัตริย์ รัฐธรรมนูญ ประชาธิปไตย" 10 ธันวาคม 2553
คลิปวีดีโอ อภิปรายเรื่องสถาบันกษัตริย์ วันนี้ เมื่อ 6 ปีก่อน พร้อมเล่าประวัติความเป็นมาของการอภิปราย - ดูที่นี่ครับ http://goo.gl/i1Sq5m
.................
ผมเพิ่งอัพโหลดคลิปการอภิปรายของผม วันนี้เมื่อ 6 ปีก่อน (ความยาว 51 นาที) ขึ้นช่อง YouTube ของผม เพื่อเก็บไว้และเผื่อสำหรับใครที่ยังไม่มีโอกาสได้ดูหรืออยากดูอีก จะได้ใช้สะดวก (ขอบคุณ "มือกล้อง" และผู้ผลิตคลิป)
https://www.youtube.com/watch?v=OagPmA-GC70
สำหรับใครที่สนใจหรือเข้าร่วมทางการเมืองมาตั้งแต่ 6 ปีก่อนหรือกว่านั้น น่าจะรู้จักการอภิปรายครั้งนั้น ซึ่งแม้จะไม่ได้รับการรายงานเลยในสื่อกระแสหลัก แต่ได้กลายเป็นที่สนใจอย่างกว้างขวางในหมู่ผู้สนใจหรือมีส่วนร่วมใน "สงครามสีเสื้อ" ในขณะนั้น แผ่นซีดีของการอภิปรายครั้งนั้น ถูกผลิตขายและแจก เฉพาะเท่าที่ผมทราบแน่นอน กว่าหมื่นแผ่น (จำนวนจริงน่าจะมากกว่านั้นเยอะ) ผมคิดว่า คงไม่เกินเลยที่จะกล่าวว่า การอภิปรายครั้งนั้นเป็นหลักหมาย (landmark) สำคัญของการอภิปรายเชิงวิจารณ์สถาบันกษัตริย์อย่างเปิดเผยทางสาธารณะ
ข้อเขียนข้่างล่าง ซึ่งค่อนข้างยาว ผมเขียนไว้ในปีต่อมา (2554) และบางส่วนเคยโพสต์ทางเฟซบุ๊คเมื่อ 5 ปีก่อน (สมัยที่กระทู้ผมมียอด "ไลค์" 200 ผมก็ถือว่าเยอะมากแล้ว) แต่ในที่นี้ ผมได้ปรับปรุงแก้ไขใหม่และนำมาลงทั้งหมด สำหรับใครที่สนใจอยากรู้ "แบ๊คกราวน์" ความเป็นมาของการอภิปรายครั้งนั้น (อย่างที่บอกว่า ค่อนข้างยาว อันที่จริง ใครที่ยังไม่เคยดูการสัมมนาปี 2553 เลย และไม่อยากเสียเวลามาก ขอเสนอให้ดูตัวคลิปการสัมมนาเอาดีกว่า เรื่องประวัติของมัน ไม่ได้สำคัญหรือไม่ได้น่าสนใจเท่า)
...............
ผมมีความเห็นมาหลายปีแล้วว่า ปัญหาสถาบันกษัตริย์นั้น เป็นเรื่องที่มีผลกระทบกว้างขวาง ระดับทั่วประเทศ และที่สำคัญ เกี่ยวข้องกับเรื่องของระบบความเชื่อ (ideology) ซึ่งครอบงำคนทั้งสังคมอยู่ ดังนั้น หากต้องการจะให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอะไรในทางที่ทำให้เกิดการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ในลักษณะเป็นประชาธิปไตย ก็มีความจำเป็นที่จะต้องทำให้ประเด็นนี้ กลายเป็นเรื่องสาธารณะ ที่มีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง
ผมจึงเห็นมาตลอดว่า ต้องพยายามผลักดันให้เรื่องนี้ กลายเป็นเรื่องที่สามารถอภิปรายกันอย่างเปิดเผย ในลักษณะ mainstream (กระแสหลัก) ไม่ใช่เพียงแค่จำกัดอยู่ในหมู่คนกลุ่มเล็กๆ
ที่สำคัญ ผมมองว่า การอภิปรายเรื่องนี้ จำเป็นต้องทำกันอย่างเปิดเผย ถ้าจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความคิดของคนจำนวนมาก การอภิปรายในลักษณะที่เรียกกันว่า "สัญลักษณ์" ไม่สามารถที่จะทำให้บรรลุผลดังกล่าวได้อย่างแท้จริง
ผมได้พยายามเสนอไอเดียนี้มาหลายปี โดยส่วนตัวเอง ก็พยายามผลักดัน "พรมแดน" หรือขอบเขต ของเรื่องที่สามารถพูดได้ เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ ให้กว้างขึ้นเรื่อยๆ และเรียกร้องชักชวนให้ ผู้รักประชาธิปไตย และเห็นความสำคัญของเรื่องนี้ ช่วยกันผลักดันให้การอภิปรายเรื่องนี้ ไปในทิศทางนี้ (เปิดเผย ตรงไปตรงมา ให้มากขึ้นๆเรื่อยๆ)
ในช่วงปี 2552 ผมได้เขียนและพูดถึงไอเดียนี้หลายครั้ง จนเป็นที่รู้กันในหมู่คนจำนวนหนึ่ง ที่ติดตามอ่านข้อเขียน หรือฟังการอภิปรายของผม
ในช่วงต้นปี ระหว่างการเคลื่อนไหวของ นปช ที่ตอนนั้น ชูประเด็น "ไล่เปรม" จากตำแหน่งองคมนตรี ผมยังเคยพูดคุยกับแกนนำ นปช บางคนที่เป็นอดีตผู้นำนักศึกษา ที่ผมเคยรู้จักในสมัยก่อน ว่า แทนที่ นปช จะเอาแต่ "ด่าเปรม" (อย่างสาดเสียเทเสีย) ควรที่จะอาศัย "โอกาสทางประวัติศาสตร์" (historic opportunity) นั้น นำเสนอประเด็นให้มีการเลิกตำแหน่งองคมนตรีอย่างเป็นทางการ จะดีกว่า แต่ข้อเสนอแบบนี้ ไม่เป็นที่ยอมรับ จากคนที่ผมคุยด้วย
ปลายปีนั้น ในวันที่ 6 ตุลาคม ระหว่างการสัมมนา "ปาฐกถา 6 ตุลา" ประจำปีนั้นที่ธรรมศาสตร์ ผมได้อภิปรายเสนอไอเดียนี้ในที่สัมมนาที่มีนักเคลื่อนไหวหลายคน รวมทั้งคุณสุรชัย แซ่ด่าน อยู่ด้วย ซึ่งคุณสุรชัยก็ปฏิเสธว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะอภิปรายเรื่องสถาบันกษัตริย์ตรงๆ แม้ผมจะพยายามชี้แจงว่า แม้ภายใต้ข้อจำกัดของกฎหมายที่มีอยู่ ก็มี "ช่องว่าง" พอที่จะสามารถพูดได้ และน่าจะพยายามผลักดัน ให้สังคมวงกว้างสามารถยอมรับกับการพูดเรื่องสถาบันกษัตริย์แบบตรงไปตรงมา มากขึ้นทีละน้อยๆ
ประมาณ 1 สัปดาห์ต่อมา ในวันที่ 14 ตุลาคม กลุ่มนักกิจกรรมบางคน ที่เห็นด้วยกับไอเดียเรื่องพยายามผลักดันให้มีการอภิปรายเรื่องสถาบันกษัตริย์ในที่สาธารณะอย่างเปิดเผยบางคน ได้นัดแนะผมและนักวิชาการ โดยเฉพาะที่เป็นนักวิชาการด้านกฎหมายที่สนใจในเรื่องนี้ราว 4-5 คน มาพบกันที่สำนักงานหนังสือแห่งหนึ่ง เพื่อให้ผมได้ลองเสนอเรื่องการจัดอภิปรายหรือสัมมนาสถาบันกษัตริย์ - ผมจำวันที่พบกัน ได้แม่น เพราะนอกจากจะเป็นวันสำคัญ (14 ตุลา) แล้ว ด้วยความบังเอิญมากๆ ที่วันนั้น มี "ข่าวลือ" แพร่สะพัด ที่ทำให้เกิด "หุ้นตก" ข่าวนี้เกิดขึ้น ขณะที่เรากำลังนั่งคุยกันอยู่
แต่ปรากฏว่า นักวิชาการคนอื่นที่เข้าร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนในวันนั้นเห็นว่า ข้อเสนอของผมยังไม่พร้อมจะปฏิบัติได้ ยังมีความ "เสี่ยง" เกินไป ฯลฯ ตกลงว่า ความคิดที่จะจัดให้มีการอภิปรายหรือสัมมนาเรืองสถาบันกษัตริย์ จึงต้อง "ชะลอ" ไปก่อน
อย่างไรก็ตาม ผมยังพยายามนำเสนอไอเดียเรื่องนี้ในต้นปี ต่อมา ในเดือนกุมภาพันธ์ ผมเขียนบทความเรื่องหนึ่ง วิจารณ์แลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้กับคุณจักรภพ เพ็ญแข ซึ่งผมไม่รู้จักเป็นการส่วนตัวหรือติดต่ออะไรด้วยเลยมาก่อน คุณจักรภพ มีคอลัมภ์ประจำทางหน้านิตยสารบางฉบับอยู่ในตอนนั้น ผมก็เพียงแต่เขียนในลักษณะวิจารณ์แลกเปลี่ยนกับคุณจักรภพ ผ่านทางสาธารณะสำหรับคนทั่วไปมากกว่า แต่ปรากฏว่า คุณจักรภพ ได้เขียน "ตอบ" ข้อเสนอของผม ในลักษณะ "แบ่งรับแบ่งสู้" คือ ไม่ถึงกับเห็นด้วย หรือแสดงความพร้อมที่จะทำตามที่ผมเสนอทั้งหมด แต่ก็ยอมรับว่าเป็นข้อเสนอที่ดี
ในช่วงต้นปี 2553 นี้เอง มีนักกิจกรรมบางคนที่ติดต่ออยู่กับคุณสมยศ พฤกษาเกษมสุข ได้นัดผม และนักวิชาบางคนที่เคยคุยกันในวันที่ 14 ตุลาคม ข้างต้น และนักวิชาการอีกบางคนที่ใกล้ชิดกับเสื้อแดง มาคุยกัน บอกว่าคุณสมยศ อยากจะขอร้องให้นักวิชาการที่สนับสนุนการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ช่วยกันร่างหรือจัดทำ "รัฐธรรมนูญต้นแบบ" สำหรับให้คนเสื้อแดงได้มองเห็นว่า ถ้าจะทำให้ประเทศเป็นประชาธิปไตย ลักษณะของกฎหมายรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย ควรมีลักษณะอย่างไรอย่างเป็นรูปธรรม (เช่น ปัญหา องคมนตรี, ปัญหาหมวดพระมหากษัตริย์ ฯลฯ) ผมเองไมได้เป็นคนที่รับปากว่าจะลองไปทำ เพราะตัวเองไม่ใช่ผู้ถนัดในการร่างออกมาเป็นกฎหมาย แต่นักวิชาการบางท่านในที่นั้น บอกว่าจะลองไปคิดกันดูว่า จะทำออกมาได้หรือไม่
หลังจากนั้น เรื่องก็เงียบหายไป ผมก็ไม่ได้ติดต่อกับนักกิจกรรมกลุ่มที่ชักชวนมาคุยอะไรกันอีก รวมทั้งกับนักวิชาการคนอื่นที่มาคุยกัน ก็แทบไม่ได้พบปะหรือคุยอะไรกันอีก เท่าที่ผมทราบ ก็ดูเหมือน จะไม่ได้มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอันขึ้นมาจากการคุยครั้งนั้น
ส่วนหนึ่ง เพราะสถานการณ์ทางการเมืองที่มีการชุมนุมของ นปช ติดต่อกัน 2 เดือน พร้อมกันการปราบและการนองเลือด ก็ทำให้ ความสนใจของทุกคนรวมทั้งผมเอง พุ่งเป้าไปที่สถานการณ์เรื่องนั้นมากกว่า
หลังเหตุการณ์นั้นเริ่มสงบลง แต่การต่อสู้ของคนเสื้อแดง ไม่ได้หมดไป กลับมีการปะทุขึ้นมาอีก โดยเฉพาะมีบทบาทที่เพิ่มขึ้นของ "กลุ่มย่อย" ของคนเสื้อ รวมทั้ง “กลุ่ม 24 มิถุนา ประชาธิปไตย” ของคุณสมยศด้วย
ในราวเดือนตุลาคม ช่วงครึ่งหลังของเดือน หรือต้นเดือนพฤศจิกายน 2553 คนที่ทำงานร่วมกับคุณสมยศ ในกลุ่ม "24 มิถุนา ประชาธิปไตย" คนหนึ่ง (ผมยินดีจะเอ่ยชื่อเขา แต่ไม่แน่ใจว่าจะเป็นคุณหรือโทษต่อเขา) ซึ่งผมรู้จักมาระยะหนึ่ง และเคยพูดคุยแลกเปลี่ยนด้วยในหลายปีที่ผ่านมาเป็นระยะๆ โดยที่เรามีแนวโน้ม ที่จะมองสถานการณ์การเมืองหลายเรื่องไปในทิศทางเดียวกัน
เขาได้โทรศัพท์มาบอกผมว่า เขาคิดว่า จะพยายามผลักดันทำให้ไอเดียที่ผมเคยพูดในที่ต่างๆมาก่อน เรื่องผู้เรียกร้องต้องการประชาธิปไตยควรพยายามให้มีการอภิปรายเรื่องสถาบันกษัตริย์ทางสาธารณะอย่างเปิดเผยตรงๆ ปรากฏเป็นจริงขึ้นมา เขาได้ไปพูดคุยกับคุณสมยศ และเสนอให้ กลุ่ม "24 มิถนา ประชาธิปไตย" เป็นเจ้าภาพจัดขึ้น ปรากฏว่าคุณสมยศเห็นชอบด้วย โดยจะจัดเนื่องในวันรัฐธรรมนูญ 10 ธันวาคม
นักกิจกรรมที่เป็นผู้ช่วยคุณสมยศคนนี้ได้บอกผมว่า เขาได้ทำการติดต่อทาบทามนักวิชาการที่จะมาเป็นผู้อภิปรายร่วมกับผมไว้แล้ว คือ อ.ณัฐพล ใจจริง, อ.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ โดยจะมี อ.เกษม เพ็ญภินันท์ เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย ซึ่งทุกคนได้ตอบรับแล้ว (รวมทั้งผมเอง เมื่อเขาบอกเรื่องนี้) แต่เขาอยากได้ อ.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ มาร่วมด้วยอีกคนหนึ่ง (ขณะนั้น อ.วรเจตน์กับคณะ เพิ่งประกาศตั้งเป็นกลุ่ม "นิติราษฎร์" ได้ราวเดือนเดียว) โดยจะจัดที่โรงแรมรัตนโกสินทร์ ซึ่งเขาได้ติดต่อขอจองไว้แล้วเช่นกัน
ปัญหาคือ เขาไม่มีเบอร์โทรศัพท์จะติดต่อกับ อ.วรเจตน์ ได้ ผมจึงบอกเขาไปว่า ผมสามารถติดต่อกับ อ.ปิยบุตร แสงกนกกุลได้ และจะลองถามให้ เรายังคุยกันว่า ถ้า อ.วรเจตน์ ไม่สะดวก ก็ขอให้ อ.ปิยบุตร เป็นผู้อภิปรายก็ได้
ผมจึงโทรศัพท์ไปบอกเรื่องนี้กับ อ.ปิยบุตร ซึ่ง อ.ปิยบุตร ก็รับว่า จะลองไปถาม อ.วรเจตน์ และคนอื่นๆในกลุ่มดู ผมเองได้เสนอ อ.ปิยบุตรไปว่า จริงๆ ถ้าทั้ง อ.ปิยบุตร และ อ.วรเจตน์ จะเป็นคนร่วมอภิปรายทั้งคู่ ทางคุณสมยศที่เป็นเจ้าภาพก็น่าจะไม่ขัดข้อง หรือถ้า อ.ปิยบุตร ไม่อยากเป็นผู้อภิปรายเอง จะเป็นผู้ดำเนินการก็น่าจะได้ ผมจะไปคุยกับผู้ช่วยคุณสมยศ ไปขอให้ทำความเข้าใจ กับ อ.เกษม ที่ทาบทามให้เป็นผู้ดำเนินการอภิปรายไว้แล้ว
ทั้งผมและนักกิจกรรมที่ทำงานกับคุณสมยศ และตัวคุณสมยศเองตามที่เขาบอก (ถึงจุดนี้ ผมยังไม่เคยรู้จัก หรือเจอตัวคุณสมยศเลย เคยเห็นคุณสมยศจากคลิปวีดีโอ หรือการถ่ายทอดเวทีปราศรัยเทานั้น) ต่างเข้าใจตรงกันว่า นี่จะเป็นการอภิปรายที่สำคัญ ในแง่ที่ จะเป็นครั้งแรกที่มีการอภิปรายเรื่องสถาบันกษัตริย์ตรงๆ (เราทราบดีว่า ก่อนหน้านี้มีการจัดสัมมนาวิชาการ ในประเด็นเรื่อง กฎหมายหมิ่นฯมาก่อน 2-3 ครั้ง รวมทั้งครั้งหนึ่ง ที่จัดที่นิติศาตร์ ธรรมศาตร์ ที่มีกลุ่มของ อ.วรเจตน์ ที่ตอนนั้นยังไม่ได้ประกาศเป็น “นิติราษฎร์” ร่วมจัดด้วย แต่ไอเดียที่ผมคุยกับผู้ช่วยคุณสมยศคนนี้คือ ครั้งนี้ ต้องการให้จัดอภิปรายเป็นเรื่องสถาบันกษัตริย์กับประชาธิปไตยในภาพรวม แบบตรงๆ เลย)
หลังจากนั้น ไม่กี่วัน อ.ปิยบุตร ได้ติดต่อผมกลับมา และได้แจ้งให้ทราบว่า พวกเขาได้คุยกันแล้ว ทาง อ.วรเจตน์ ยินดีจะมาร่วมเป็นผู้อภิปรายด้วย แต่อยากขอให้มีการเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่าง คือ (1) ทางกลุ่มพวกเขาที่เพิ่งประกาศเป็น "นิติราษฎร์" จะขอเป็น "เจ้าภาพ" จัดในนาม "นิติราษฎร์" เอง และ (2) ขอเปลี่ยนสถานที่มาเป็นที่มหาวิทยาลัยแทน โดยพวกเขาจะติดต่อขอสถานที่ให้ และ (3) นอกจาก อ.วรเจตน์ ที่จะเป็นผู้ร่วมอภิปรายแล้ว ทาง "นิติราษฎร์" จะให้อาจารย์อีกคนหนึ่งในกลุ่ม อาจจะเป็น อ.ปิยบุตร หรือ อ.ธีระ เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย ทั้งหมดนี้ ก็เพราะทาง "นิติราษฎร์" ไม่อยากจะให้การอภิปรายมีลักษณะ "การเมือง" มากไป อยากให้เป็นงานในลักษณะ "วิชาการ" มากกว่า เพราะถ้าจัดโดยกลุ่ม "24 มิถุนา" ซึ่งเป็นกลุ่มเสื้อแดงกลุ่มหนึ่ง และจัดที่ รร.รัตนโกสินทร์ด้วย ภาพรวมก็จะออกมาในลักษณะเป็นส่วนหนึ่งของการเคลือนไหวการเมือง (ของเสื้อแดง) อย่างมาก (หลังจากนั้น ไม่นาน ผมมีโอกาสได้คุยกับ อ.ณัฐพล อ.ณัฐพลก็บอกว่า ความจริง ตอนที่รับปากไปอภิปรายครั้งแรก ที่ผู้ช่วยคุณสมยศติดต่อมานั้น เขาเองก็มีความลังเล ไม่สบายใจอยู่บ้างเรื่องสถานที่จัด ที่จะเป็น รร.รัตนโกสินทร์) อ.ปิยบุตร เองบอกว่า รู้สึกเกรงใจกลุ่มคุณสมยศ เหมือนกัน ที่จะขอดึงเอางานที่กลุ่มคุณสมยศ ริเริ่มเตรียมไว้แล้ว มาเป็นผู้จัดในนาม "นิติราษฎร์" เอง
ผมเอง เมื่อผมได้ฟังที่ อ.ปิยบุตร ขอมาในตอนแรก ก็รู้สึกลำบากใจอยู่เหมือนกัน เพราะรู้สึกว่า เรื่องนี้ ทางกลุ่มคุณสมยศเป็นผู้ริเริ่มและได้เตรียมการไปบ้างแล้ว มิหนำซ้ำ ถึงตอนนั้น คุณสมยศได้ประกาศบนเวทีชุมนุมของกลุ่ม "24 มิถุนา" ครั้งหนึ่งในช่วงนั้นไปแล้วด้วยว่า กลุ่ม "24 มิถุนา" จะจัดการอภิปรายสำคัญเรื่องสถาบันกษัตริย์
แต่ผมก็ได้ถ่ายทอดที่ อ.ปิยบุตรบอกมา ต่อไปยังผู้ช่วยคุณสมยศ ปรากฏว่า เขาขอกลับไปบอกคุณสมยศก่อน และติดต่อกลับมาโดยรวดเร็วมากว่า คุณสมยศไม่ขัดข้องเลย "ยก" ให้ทางกลุ่ม อ.วรเจตน์ จัดในนามกลุ่มของ อ.วรเจตน์ ได้ ตามที่ผู้ช่วยคุณสมยศบอกคือ คุณสมยศอยากให้มีการอภิปรายเรื่องนี้ จะจัดในนามใครไม่สำคัญ
ผมฟังแล้ว นอกจากโล่งใจ ก็ยังรู้สึกทึ่งในความใจกว้างของคุณสมยศ (ที่ผมยังไม่เคยเจอตัว) มาก . . . .
ถึงวันงานจริงๆ คุณสมยศเอง ได้เข้ามาในห้องประชุมนั่งฟังการอภิปรายด้วยตัวเองโดยตลอด (เรื่องนี้ อาจจะดู "เล็ก" แต่สำหรับผม รู้สึกทึ่งไม่น้อย เพราะที่ผ่านมา ผมแทบไม่เคยเห็นบรรดา "ผู้นำมวลชน" ดังๆทั้งหลาย ถ้าไมใช่เป็นผู้พูดเอง จะยอมหรือมีเวลามานั่งฟังการอภิปรายอะไร) ยิ่งกว่านั้น ปรากฏว่า คุณสมยศ และกลุ่ม "24 มิถุนา" ยังได้ระดมมวลชนในเครือข่ายมาร่วมฟังจำนวนมาก จนห้องประชุมที่เตรียมไว้ ไม่เพียงพอ ล้นออกไปภายนอก มีคนเข้ามาในห้องประชุมไม่ได้จำนวนมาก
เรื่องจำนวนคนที่มาฟังมากขนาดนี้ เป็นสิ่งที่ผมคาดไม่ถึงจริงๆ และผมจำได้่ว่า ผู้ร่วมอภิปรายคนอื่นและผู้ที่ตอนนี้เป็นเจ้าภาพจัด คือ กลุ่ม "นิติราษฎร์" เอง ก็คาดไม่ถึง แต่ที่มีคนมากขนาดนี้ ผมคิดว่า ต้องยกให้เป็นผลงานของคุณสมยศและกลุ่ม "24 มิถุนา" มากกว่า เพราะปกติ การจัดสัมมนาโดยนักวิชาการในมหาวิทยาลัย ไม่เคยมีคนมากขนาดนี้
ผมมาทราบภายหลังว่า คุณสมยศไม่เพียงแต่ระดมคนมาฟัง ปรากฏว่า เมื่อห้องประชุมจุคนไม่พอ และมีคนจำนวนมากไม่สามารถเข้ามาฟังได้ คุณสมยศได้ให้สต๊าฟของกลุ่ม "24 มิถุนา" เอาเครื่องขยายเสียงเคลื่อนที่ ที่กลุ่ม "24 มิถุนา" เตรียมไว้สำหรับใช้ในการชุมนุมที่ราชดำเนิน ที่กลุ่ม "24 มิถุนา" จะจัดในค่ำนั้น ออกมาติดตั้ง ถ่ายทอดเสียงจากในห้องประชุมออกไปที่ลานภายนอก จนกระทั่งไฟของเครื่องเสียงเคลื่อนที่ที่เตรียมไว้หมด วันนั้น นปช เอง ก็นัดชุมนุมที่ราชดำเนินเช่นกัน ตอนนั้น เวทีใหญ่ยังตั้งไม่ได้ เพราะยังอยู่ในประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ถ้าตามหมายกำหนดการเดิม ทั้งกลุ่ม "24 มิถุนา" และ นปช ก็จะต่างตั้งเป็นเวทีเล็กของแต่ละกลุ่ม แต่พอ คุณสมยศ ให้เอาเครื่องเสียงที่เตรียมมาใช้กับงานอภิปราย จนไฟหมดเสียแล้ว ค่ำนั้น กลุ่มคุณสมยศ เลยไม่ได้ตั้งเวทีของตัวเองที่ราชดำเนิน (หลังการอภิปราย ผมเดินไปดูการชุมนุมที่ราชดำเนิน ไม่เห็นเวทีของกลุ่ม "24 มิถุนา" สอบถามภายหลัง จึงทราบเรื่องนี้)
การอภิปรายในวันนั้น เป็นอย่างไร คงพอเป็นที่ทราบกันดีแล้ว เนื้อหาการพูดของผม ผมเตรียมเอง ไม่ได้คุยกับใคร คุณสมยศหรือ "เจ้าภาพ" ในวันนั้น คือ "นิติราษฎร์" ไม่ได้เกี่ยวข้อง ผู้อภิปรายคนอื่นก็ต่างคนต่างเตรียมมากันเอง ในกรณีของผมนั้น เนื่องจากผมรู้ตัวว่า การพูดครั้งนี้มีความเสี่ยงในแง่กฎหมายอยู่ เพราะตั้งใจว่าจะพูดในลักษณะที่ไม่เคยมีการพูดเรื่องนี้ในที่สาธารณะมาก่อน เพื่อพยายาม "เปิดพื้นที่" สำหรับการอภิปรายเรื่องนี้ ผมเองก็ "ใจคอ ตุ้มๆต่อมๆ" อยู่ไม่น้อย ก็ได้คุยกับเพื่อน 2-3 คน ในแง่ปรับทุกข์ ขอกำลังใจ หรือขอให้ช่วยประเมินกว้างๆในแง่ว่า จะพูดได้ "แรง" แค่ไหน ซึ่งผมก็ต้องขอบคุณท่านเหล่านี้ มีโอกาสคงได้ระบุชื่อในอนาคต
หากการอภิปรายครั้งนั้น จะพอมีคุณูปการหรือผลสะเทือนในแง่บวกต่อการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตย โดยเฉพาะในประเด็นสถาบันกษัตริย์ ผมคิดว่าเครดิตสำคัญส่วนหนึ่ง ต้องให้คุณสมยศและผู้ช่วยในกลุ่ม "24 มิถุนา" ที่เป็นผู้ริเริ่มในตอนต้น ดังที่เล่ามา
คลิปวีดีโอ อภิปรายเรื่องสถาบันกษัตริย์ วันนี้ เมื่อ 6 ปีก่อน พร้อมเล่าประวัติความเป็นมาของการอภิปราย - ดูที่นี่ครับ http://goo.gl/i1Sq5m
.................
ผมเพิ่งอัพโหลดคลิปการอภิปรายของผม วันนี้เมื่อ 6 ปีก่อน (ความยาว 51 นาที) ขึ้นช่อง YouTube ของผม เพื่อเก็บไว้และเผื่อสำหรับใครที่ยังไม่มีโอกาสได้ดูหรืออยากดูอีก จะได้ใช้สะดวก (ขอบคุณ "มือกล้อง" และผู้ผลิตคลิป)
https://www.youtube.com/watch?v=OagPmA-GC70
สำหรับใครที่สนใจหรือเข้าร่วมทางการเมืองมาตั้งแต่ 6 ปีก่อนหรือกว่านั้น น่าจะรู้จักการอภิปรายครั้งนั้น ซึ่งแม้จะไม่ได้รับการรายงานเลยในสื่อกระแสหลัก แต่ได้กลายเป็นที่สนใจอย่างกว้างขวางในหมู่ผู้สนใจหรือมีส่วนร่วมใน "สงครามสีเสื้อ" ในขณะนั้น แผ่นซีดีของการอภิปรายครั้งนั้น ถูกผลิตขายและแจก เฉพาะเท่าที่ผมทราบแน่นอน กว่าหมื่นแผ่น (จำนวนจริงน่าจะมากกว่านั้นเยอะ) ผมคิดว่า คงไม่เกินเลยที่จะกล่าวว่า การอภิปรายครั้งนั้นเป็นหลักหมาย (landmark) สำคัญของการอภิปรายเชิงวิจารณ์สถาบันกษัตริย์อย่างเปิดเผยทางสาธารณะ
ข้อเขียนข้่างล่าง ซึ่งค่อนข้างยาว ผมเขียนไว้ในปีต่อมา (2554) และบางส่วนเคยโพสต์ทางเฟซบุ๊คเมื่อ 5 ปีก่อน (สมัยที่กระทู้ผมมียอด "ไลค์" 200 ผมก็ถือว่าเยอะมากแล้ว) แต่ในที่นี้ ผมได้ปรับปรุงแก้ไขใหม่และนำมาลงทั้งหมด สำหรับใครที่สนใจอยากรู้ "แบ๊คกราวน์" ความเป็นมาของการอภิปรายครั้งนั้น (อย่างที่บอกว่า ค่อนข้างยาว อันที่จริง ใครที่ยังไม่เคยดูการสัมมนาปี 2553 เลย และไม่อยากเสียเวลามาก ขอเสนอให้ดูตัวคลิปการสัมมนาเอาดีกว่า เรื่องประวัติของมัน ไม่ได้สำคัญหรือไม่ได้น่าสนใจเท่า)
...............
ผมมีความเห็นมาหลายปีแล้วว่า ปัญหาสถาบันกษัตริย์นั้น เป็นเรื่องที่มีผลกระทบกว้างขวาง ระดับทั่วประเทศ และที่สำคัญ เกี่ยวข้องกับเรื่องของระบบความเชื่อ (ideology) ซึ่งครอบงำคนทั้งสังคมอยู่ ดังนั้น หากต้องการจะให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอะไรในทางที่ทำให้เกิดการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ในลักษณะเป็นประชาธิปไตย ก็มีความจำเป็นที่จะต้องทำให้ประเด็นนี้ กลายเป็นเรื่องสาธารณะ ที่มีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง
ผมจึงเห็นมาตลอดว่า ต้องพยายามผลักดันให้เรื่องนี้ กลายเป็นเรื่องที่สามารถอภิปรายกันอย่างเปิดเผย ในลักษณะ mainstream (กระแสหลัก) ไม่ใช่เพียงแค่จำกัดอยู่ในหมู่คนกลุ่มเล็กๆ
ที่สำคัญ ผมมองว่า การอภิปรายเรื่องนี้ จำเป็นต้องทำกันอย่างเปิดเผย ถ้าจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความคิดของคนจำนวนมาก การอภิปรายในลักษณะที่เรียกกันว่า "สัญลักษณ์" ไม่สามารถที่จะทำให้บรรลุผลดังกล่าวได้อย่างแท้จริง
ผมได้พยายามเสนอไอเดียนี้มาหลายปี โดยส่วนตัวเอง ก็พยายามผลักดัน "พรมแดน" หรือขอบเขต ของเรื่องที่สามารถพูดได้ เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ ให้กว้างขึ้นเรื่อยๆ และเรียกร้องชักชวนให้ ผู้รักประชาธิปไตย และเห็นความสำคัญของเรื่องนี้ ช่วยกันผลักดันให้การอภิปรายเรื่องนี้ ไปในทิศทางนี้ (เปิดเผย ตรงไปตรงมา ให้มากขึ้นๆเรื่อยๆ)
ในช่วงปี 2552 ผมได้เขียนและพูดถึงไอเดียนี้หลายครั้ง จนเป็นที่รู้กันในหมู่คนจำนวนหนึ่ง ที่ติดตามอ่านข้อเขียน หรือฟังการอภิปรายของผม
ในช่วงต้นปี ระหว่างการเคลื่อนไหวของ นปช ที่ตอนนั้น ชูประเด็น "ไล่เปรม" จากตำแหน่งองคมนตรี ผมยังเคยพูดคุยกับแกนนำ นปช บางคนที่เป็นอดีตผู้นำนักศึกษา ที่ผมเคยรู้จักในสมัยก่อน ว่า แทนที่ นปช จะเอาแต่ "ด่าเปรม" (อย่างสาดเสียเทเสีย) ควรที่จะอาศัย "โอกาสทางประวัติศาสตร์" (historic opportunity) นั้น นำเสนอประเด็นให้มีการเลิกตำแหน่งองคมนตรีอย่างเป็นทางการ จะดีกว่า แต่ข้อเสนอแบบนี้ ไม่เป็นที่ยอมรับ จากคนที่ผมคุยด้วย
ปลายปีนั้น ในวันที่ 6 ตุลาคม ระหว่างการสัมมนา "ปาฐกถา 6 ตุลา" ประจำปีนั้นที่ธรรมศาสตร์ ผมได้อภิปรายเสนอไอเดียนี้ในที่สัมมนาที่มีนักเคลื่อนไหวหลายคน รวมทั้งคุณสุรชัย แซ่ด่าน อยู่ด้วย ซึ่งคุณสุรชัยก็ปฏิเสธว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะอภิปรายเรื่องสถาบันกษัตริย์ตรงๆ แม้ผมจะพยายามชี้แจงว่า แม้ภายใต้ข้อจำกัดของกฎหมายที่มีอยู่ ก็มี "ช่องว่าง" พอที่จะสามารถพูดได้ และน่าจะพยายามผลักดัน ให้สังคมวงกว้างสามารถยอมรับกับการพูดเรื่องสถาบันกษัตริย์แบบตรงไปตรงมา มากขึ้นทีละน้อยๆ
ประมาณ 1 สัปดาห์ต่อมา ในวันที่ 14 ตุลาคม กลุ่มนักกิจกรรมบางคน ที่เห็นด้วยกับไอเดียเรื่องพยายามผลักดันให้มีการอภิปรายเรื่องสถาบันกษัตริย์ในที่สาธารณะอย่างเปิดเผยบางคน ได้นัดแนะผมและนักวิชาการ โดยเฉพาะที่เป็นนักวิชาการด้านกฎหมายที่สนใจในเรื่องนี้ราว 4-5 คน มาพบกันที่สำนักงานหนังสือแห่งหนึ่ง เพื่อให้ผมได้ลองเสนอเรื่องการจัดอภิปรายหรือสัมมนาสถาบันกษัตริย์ - ผมจำวันที่พบกัน ได้แม่น เพราะนอกจากจะเป็นวันสำคัญ (14 ตุลา) แล้ว ด้วยความบังเอิญมากๆ ที่วันนั้น มี "ข่าวลือ" แพร่สะพัด ที่ทำให้เกิด "หุ้นตก" ข่าวนี้เกิดขึ้น ขณะที่เรากำลังนั่งคุยกันอยู่
แต่ปรากฏว่า นักวิชาการคนอื่นที่เข้าร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนในวันนั้นเห็นว่า ข้อเสนอของผมยังไม่พร้อมจะปฏิบัติได้ ยังมีความ "เสี่ยง" เกินไป ฯลฯ ตกลงว่า ความคิดที่จะจัดให้มีการอภิปรายหรือสัมมนาเรืองสถาบันกษัตริย์ จึงต้อง "ชะลอ" ไปก่อน
อย่างไรก็ตาม ผมยังพยายามนำเสนอไอเดียเรื่องนี้ในต้นปี ต่อมา ในเดือนกุมภาพันธ์ ผมเขียนบทความเรื่องหนึ่ง วิจารณ์แลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้กับคุณจักรภพ เพ็ญแข ซึ่งผมไม่รู้จักเป็นการส่วนตัวหรือติดต่ออะไรด้วยเลยมาก่อน คุณจักรภพ มีคอลัมภ์ประจำทางหน้านิตยสารบางฉบับอยู่ในตอนนั้น ผมก็เพียงแต่เขียนในลักษณะวิจารณ์แลกเปลี่ยนกับคุณจักรภพ ผ่านทางสาธารณะสำหรับคนทั่วไปมากกว่า แต่ปรากฏว่า คุณจักรภพ ได้เขียน "ตอบ" ข้อเสนอของผม ในลักษณะ "แบ่งรับแบ่งสู้" คือ ไม่ถึงกับเห็นด้วย หรือแสดงความพร้อมที่จะทำตามที่ผมเสนอทั้งหมด แต่ก็ยอมรับว่าเป็นข้อเสนอที่ดี
ในช่วงต้นปี 2553 นี้เอง มีนักกิจกรรมบางคนที่ติดต่ออยู่กับคุณสมยศ พฤกษาเกษมสุข ได้นัดผม และนักวิชาบางคนที่เคยคุยกันในวันที่ 14 ตุลาคม ข้างต้น และนักวิชาการอีกบางคนที่ใกล้ชิดกับเสื้อแดง มาคุยกัน บอกว่าคุณสมยศ อยากจะขอร้องให้นักวิชาการที่สนับสนุนการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ช่วยกันร่างหรือจัดทำ "รัฐธรรมนูญต้นแบบ" สำหรับให้คนเสื้อแดงได้มองเห็นว่า ถ้าจะทำให้ประเทศเป็นประชาธิปไตย ลักษณะของกฎหมายรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย ควรมีลักษณะอย่างไรอย่างเป็นรูปธรรม (เช่น ปัญหา องคมนตรี, ปัญหาหมวดพระมหากษัตริย์ ฯลฯ) ผมเองไมได้เป็นคนที่รับปากว่าจะลองไปทำ เพราะตัวเองไม่ใช่ผู้ถนัดในการร่างออกมาเป็นกฎหมาย แต่นักวิชาการบางท่านในที่นั้น บอกว่าจะลองไปคิดกันดูว่า จะทำออกมาได้หรือไม่
หลังจากนั้น เรื่องก็เงียบหายไป ผมก็ไม่ได้ติดต่อกับนักกิจกรรมกลุ่มที่ชักชวนมาคุยอะไรกันอีก รวมทั้งกับนักวิชาการคนอื่นที่มาคุยกัน ก็แทบไม่ได้พบปะหรือคุยอะไรกันอีก เท่าที่ผมทราบ ก็ดูเหมือน จะไม่ได้มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอันขึ้นมาจากการคุยครั้งนั้น
ส่วนหนึ่ง เพราะสถานการณ์ทางการเมืองที่มีการชุมนุมของ นปช ติดต่อกัน 2 เดือน พร้อมกันการปราบและการนองเลือด ก็ทำให้ ความสนใจของทุกคนรวมทั้งผมเอง พุ่งเป้าไปที่สถานการณ์เรื่องนั้นมากกว่า
หลังเหตุการณ์นั้นเริ่มสงบลง แต่การต่อสู้ของคนเสื้อแดง ไม่ได้หมดไป กลับมีการปะทุขึ้นมาอีก โดยเฉพาะมีบทบาทที่เพิ่มขึ้นของ "กลุ่มย่อย" ของคนเสื้อ รวมทั้ง “กลุ่ม 24 มิถุนา ประชาธิปไตย” ของคุณสมยศด้วย
ในราวเดือนตุลาคม ช่วงครึ่งหลังของเดือน หรือต้นเดือนพฤศจิกายน 2553 คนที่ทำงานร่วมกับคุณสมยศ ในกลุ่ม "24 มิถุนา ประชาธิปไตย" คนหนึ่ง (ผมยินดีจะเอ่ยชื่อเขา แต่ไม่แน่ใจว่าจะเป็นคุณหรือโทษต่อเขา) ซึ่งผมรู้จักมาระยะหนึ่ง และเคยพูดคุยแลกเปลี่ยนด้วยในหลายปีที่ผ่านมาเป็นระยะๆ โดยที่เรามีแนวโน้ม ที่จะมองสถานการณ์การเมืองหลายเรื่องไปในทิศทางเดียวกัน
เขาได้โทรศัพท์มาบอกผมว่า เขาคิดว่า จะพยายามผลักดันทำให้ไอเดียที่ผมเคยพูดในที่ต่างๆมาก่อน เรื่องผู้เรียกร้องต้องการประชาธิปไตยควรพยายามให้มีการอภิปรายเรื่องสถาบันกษัตริย์ทางสาธารณะอย่างเปิดเผยตรงๆ ปรากฏเป็นจริงขึ้นมา เขาได้ไปพูดคุยกับคุณสมยศ และเสนอให้ กลุ่ม "24 มิถนา ประชาธิปไตย" เป็นเจ้าภาพจัดขึ้น ปรากฏว่าคุณสมยศเห็นชอบด้วย โดยจะจัดเนื่องในวันรัฐธรรมนูญ 10 ธันวาคม
นักกิจกรรมที่เป็นผู้ช่วยคุณสมยศคนนี้ได้บอกผมว่า เขาได้ทำการติดต่อทาบทามนักวิชาการที่จะมาเป็นผู้อภิปรายร่วมกับผมไว้แล้ว คือ อ.ณัฐพล ใจจริง, อ.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ โดยจะมี อ.เกษม เพ็ญภินันท์ เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย ซึ่งทุกคนได้ตอบรับแล้ว (รวมทั้งผมเอง เมื่อเขาบอกเรื่องนี้) แต่เขาอยากได้ อ.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ มาร่วมด้วยอีกคนหนึ่ง (ขณะนั้น อ.วรเจตน์กับคณะ เพิ่งประกาศตั้งเป็นกลุ่ม "นิติราษฎร์" ได้ราวเดือนเดียว) โดยจะจัดที่โรงแรมรัตนโกสินทร์ ซึ่งเขาได้ติดต่อขอจองไว้แล้วเช่นกัน
ปัญหาคือ เขาไม่มีเบอร์โทรศัพท์จะติดต่อกับ อ.วรเจตน์ ได้ ผมจึงบอกเขาไปว่า ผมสามารถติดต่อกับ อ.ปิยบุตร แสงกนกกุลได้ และจะลองถามให้ เรายังคุยกันว่า ถ้า อ.วรเจตน์ ไม่สะดวก ก็ขอให้ อ.ปิยบุตร เป็นผู้อภิปรายก็ได้
ผมจึงโทรศัพท์ไปบอกเรื่องนี้กับ อ.ปิยบุตร ซึ่ง อ.ปิยบุตร ก็รับว่า จะลองไปถาม อ.วรเจตน์ และคนอื่นๆในกลุ่มดู ผมเองได้เสนอ อ.ปิยบุตรไปว่า จริงๆ ถ้าทั้ง อ.ปิยบุตร และ อ.วรเจตน์ จะเป็นคนร่วมอภิปรายทั้งคู่ ทางคุณสมยศที่เป็นเจ้าภาพก็น่าจะไม่ขัดข้อง หรือถ้า อ.ปิยบุตร ไม่อยากเป็นผู้อภิปรายเอง จะเป็นผู้ดำเนินการก็น่าจะได้ ผมจะไปคุยกับผู้ช่วยคุณสมยศ ไปขอให้ทำความเข้าใจ กับ อ.เกษม ที่ทาบทามให้เป็นผู้ดำเนินการอภิปรายไว้แล้ว
ทั้งผมและนักกิจกรรมที่ทำงานกับคุณสมยศ และตัวคุณสมยศเองตามที่เขาบอก (ถึงจุดนี้ ผมยังไม่เคยรู้จัก หรือเจอตัวคุณสมยศเลย เคยเห็นคุณสมยศจากคลิปวีดีโอ หรือการถ่ายทอดเวทีปราศรัยเทานั้น) ต่างเข้าใจตรงกันว่า นี่จะเป็นการอภิปรายที่สำคัญ ในแง่ที่ จะเป็นครั้งแรกที่มีการอภิปรายเรื่องสถาบันกษัตริย์ตรงๆ (เราทราบดีว่า ก่อนหน้านี้มีการจัดสัมมนาวิชาการ ในประเด็นเรื่อง กฎหมายหมิ่นฯมาก่อน 2-3 ครั้ง รวมทั้งครั้งหนึ่ง ที่จัดที่นิติศาตร์ ธรรมศาตร์ ที่มีกลุ่มของ อ.วรเจตน์ ที่ตอนนั้นยังไม่ได้ประกาศเป็น “นิติราษฎร์” ร่วมจัดด้วย แต่ไอเดียที่ผมคุยกับผู้ช่วยคุณสมยศคนนี้คือ ครั้งนี้ ต้องการให้จัดอภิปรายเป็นเรื่องสถาบันกษัตริย์กับประชาธิปไตยในภาพรวม แบบตรงๆ เลย)
หลังจากนั้น ไม่กี่วัน อ.ปิยบุตร ได้ติดต่อผมกลับมา และได้แจ้งให้ทราบว่า พวกเขาได้คุยกันแล้ว ทาง อ.วรเจตน์ ยินดีจะมาร่วมเป็นผู้อภิปรายด้วย แต่อยากขอให้มีการเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่าง คือ (1) ทางกลุ่มพวกเขาที่เพิ่งประกาศเป็น "นิติราษฎร์" จะขอเป็น "เจ้าภาพ" จัดในนาม "นิติราษฎร์" เอง และ (2) ขอเปลี่ยนสถานที่มาเป็นที่มหาวิทยาลัยแทน โดยพวกเขาจะติดต่อขอสถานที่ให้ และ (3) นอกจาก อ.วรเจตน์ ที่จะเป็นผู้ร่วมอภิปรายแล้ว ทาง "นิติราษฎร์" จะให้อาจารย์อีกคนหนึ่งในกลุ่ม อาจจะเป็น อ.ปิยบุตร หรือ อ.ธีระ เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย ทั้งหมดนี้ ก็เพราะทาง "นิติราษฎร์" ไม่อยากจะให้การอภิปรายมีลักษณะ "การเมือง" มากไป อยากให้เป็นงานในลักษณะ "วิชาการ" มากกว่า เพราะถ้าจัดโดยกลุ่ม "24 มิถุนา" ซึ่งเป็นกลุ่มเสื้อแดงกลุ่มหนึ่ง และจัดที่ รร.รัตนโกสินทร์ด้วย ภาพรวมก็จะออกมาในลักษณะเป็นส่วนหนึ่งของการเคลือนไหวการเมือง (ของเสื้อแดง) อย่างมาก (หลังจากนั้น ไม่นาน ผมมีโอกาสได้คุยกับ อ.ณัฐพล อ.ณัฐพลก็บอกว่า ความจริง ตอนที่รับปากไปอภิปรายครั้งแรก ที่ผู้ช่วยคุณสมยศติดต่อมานั้น เขาเองก็มีความลังเล ไม่สบายใจอยู่บ้างเรื่องสถานที่จัด ที่จะเป็น รร.รัตนโกสินทร์) อ.ปิยบุตร เองบอกว่า รู้สึกเกรงใจกลุ่มคุณสมยศ เหมือนกัน ที่จะขอดึงเอางานที่กลุ่มคุณสมยศ ริเริ่มเตรียมไว้แล้ว มาเป็นผู้จัดในนาม "นิติราษฎร์" เอง
ผมเอง เมื่อผมได้ฟังที่ อ.ปิยบุตร ขอมาในตอนแรก ก็รู้สึกลำบากใจอยู่เหมือนกัน เพราะรู้สึกว่า เรื่องนี้ ทางกลุ่มคุณสมยศเป็นผู้ริเริ่มและได้เตรียมการไปบ้างแล้ว มิหนำซ้ำ ถึงตอนนั้น คุณสมยศได้ประกาศบนเวทีชุมนุมของกลุ่ม "24 มิถุนา" ครั้งหนึ่งในช่วงนั้นไปแล้วด้วยว่า กลุ่ม "24 มิถุนา" จะจัดการอภิปรายสำคัญเรื่องสถาบันกษัตริย์
แต่ผมก็ได้ถ่ายทอดที่ อ.ปิยบุตรบอกมา ต่อไปยังผู้ช่วยคุณสมยศ ปรากฏว่า เขาขอกลับไปบอกคุณสมยศก่อน และติดต่อกลับมาโดยรวดเร็วมากว่า คุณสมยศไม่ขัดข้องเลย "ยก" ให้ทางกลุ่ม อ.วรเจตน์ จัดในนามกลุ่มของ อ.วรเจตน์ ได้ ตามที่ผู้ช่วยคุณสมยศบอกคือ คุณสมยศอยากให้มีการอภิปรายเรื่องนี้ จะจัดในนามใครไม่สำคัญ
ผมฟังแล้ว นอกจากโล่งใจ ก็ยังรู้สึกทึ่งในความใจกว้างของคุณสมยศ (ที่ผมยังไม่เคยเจอตัว) มาก . . . .
ถึงวันงานจริงๆ คุณสมยศเอง ได้เข้ามาในห้องประชุมนั่งฟังการอภิปรายด้วยตัวเองโดยตลอด (เรื่องนี้ อาจจะดู "เล็ก" แต่สำหรับผม รู้สึกทึ่งไม่น้อย เพราะที่ผ่านมา ผมแทบไม่เคยเห็นบรรดา "ผู้นำมวลชน" ดังๆทั้งหลาย ถ้าไมใช่เป็นผู้พูดเอง จะยอมหรือมีเวลามานั่งฟังการอภิปรายอะไร) ยิ่งกว่านั้น ปรากฏว่า คุณสมยศ และกลุ่ม "24 มิถุนา" ยังได้ระดมมวลชนในเครือข่ายมาร่วมฟังจำนวนมาก จนห้องประชุมที่เตรียมไว้ ไม่เพียงพอ ล้นออกไปภายนอก มีคนเข้ามาในห้องประชุมไม่ได้จำนวนมาก
เรื่องจำนวนคนที่มาฟังมากขนาดนี้ เป็นสิ่งที่ผมคาดไม่ถึงจริงๆ และผมจำได้่ว่า ผู้ร่วมอภิปรายคนอื่นและผู้ที่ตอนนี้เป็นเจ้าภาพจัด คือ กลุ่ม "นิติราษฎร์" เอง ก็คาดไม่ถึง แต่ที่มีคนมากขนาดนี้ ผมคิดว่า ต้องยกให้เป็นผลงานของคุณสมยศและกลุ่ม "24 มิถุนา" มากกว่า เพราะปกติ การจัดสัมมนาโดยนักวิชาการในมหาวิทยาลัย ไม่เคยมีคนมากขนาดนี้
ผมมาทราบภายหลังว่า คุณสมยศไม่เพียงแต่ระดมคนมาฟัง ปรากฏว่า เมื่อห้องประชุมจุคนไม่พอ และมีคนจำนวนมากไม่สามารถเข้ามาฟังได้ คุณสมยศได้ให้สต๊าฟของกลุ่ม "24 มิถุนา" เอาเครื่องขยายเสียงเคลื่อนที่ ที่กลุ่ม "24 มิถุนา" เตรียมไว้สำหรับใช้ในการชุมนุมที่ราชดำเนิน ที่กลุ่ม "24 มิถุนา" จะจัดในค่ำนั้น ออกมาติดตั้ง ถ่ายทอดเสียงจากในห้องประชุมออกไปที่ลานภายนอก จนกระทั่งไฟของเครื่องเสียงเคลื่อนที่ที่เตรียมไว้หมด วันนั้น นปช เอง ก็นัดชุมนุมที่ราชดำเนินเช่นกัน ตอนนั้น เวทีใหญ่ยังตั้งไม่ได้ เพราะยังอยู่ในประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ถ้าตามหมายกำหนดการเดิม ทั้งกลุ่ม "24 มิถุนา" และ นปช ก็จะต่างตั้งเป็นเวทีเล็กของแต่ละกลุ่ม แต่พอ คุณสมยศ ให้เอาเครื่องเสียงที่เตรียมมาใช้กับงานอภิปราย จนไฟหมดเสียแล้ว ค่ำนั้น กลุ่มคุณสมยศ เลยไม่ได้ตั้งเวทีของตัวเองที่ราชดำเนิน (หลังการอภิปราย ผมเดินไปดูการชุมนุมที่ราชดำเนิน ไม่เห็นเวทีของกลุ่ม "24 มิถุนา" สอบถามภายหลัง จึงทราบเรื่องนี้)
การอภิปรายในวันนั้น เป็นอย่างไร คงพอเป็นที่ทราบกันดีแล้ว เนื้อหาการพูดของผม ผมเตรียมเอง ไม่ได้คุยกับใคร คุณสมยศหรือ "เจ้าภาพ" ในวันนั้น คือ "นิติราษฎร์" ไม่ได้เกี่ยวข้อง ผู้อภิปรายคนอื่นก็ต่างคนต่างเตรียมมากันเอง ในกรณีของผมนั้น เนื่องจากผมรู้ตัวว่า การพูดครั้งนี้มีความเสี่ยงในแง่กฎหมายอยู่ เพราะตั้งใจว่าจะพูดในลักษณะที่ไม่เคยมีการพูดเรื่องนี้ในที่สาธารณะมาก่อน เพื่อพยายาม "เปิดพื้นที่" สำหรับการอภิปรายเรื่องนี้ ผมเองก็ "ใจคอ ตุ้มๆต่อมๆ" อยู่ไม่น้อย ก็ได้คุยกับเพื่อน 2-3 คน ในแง่ปรับทุกข์ ขอกำลังใจ หรือขอให้ช่วยประเมินกว้างๆในแง่ว่า จะพูดได้ "แรง" แค่ไหน ซึ่งผมก็ต้องขอบคุณท่านเหล่านี้ มีโอกาสคงได้ระบุชื่อในอนาคต
หากการอภิปรายครั้งนั้น จะพอมีคุณูปการหรือผลสะเทือนในแง่บวกต่อการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตย โดยเฉพาะในประเด็นสถาบันกษัตริย์ ผมคิดว่าเครดิตสำคัญส่วนหนึ่ง ต้องให้คุณสมยศและผู้ช่วยในกลุ่ม "24 มิถุนา" ที่เป็นผู้ริเริ่มในตอนต้น ดังที่เล่ามา
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar