söndag 17 juni 2018

รัฐธรรมนูญสหพันธรัฐไท

หลักการและเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญสหพันธรัฐไท

หลักการและเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญสหพันธรัฐไท
1.สหพันธรัฐไทปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย ประชาชนทุกคนมีสิทธิเสรีภาพ การจำกัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนจะกระทำมิได้ เว้นแต่มีบทบัญญัติของกฎหมายที่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา ด้วยมติที่มีคะแนนเสียงไม่ต่ำกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกรัฐสภา และมีเจตนารมณ์เพื่อความมั่นคงของรัฐ หรือ เพื่อความปลอดภัยของประชาชน หรือเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ การเงิน และการคลังของสหพันธรัฐไท ทั้งนี้จะใช้บังคับได้ไม่เกิน 2 ปี
ประชาชนทุกคนของสหพันธรัฐไทอยู่ภายใต้กฎหมายเท่าเทียมกัน การเลือกปฏิบัติหรือการให้สิทธิพิเศษแก่ผู้ใดผู้หนึ่งหรือบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งจะกระทำมิได้
มิให้สหพันธรัฐไทแต่งตั้งฐานันดรใดๆแก่บุคคลใดๆ และให้ออกกฎหมายยกเลิกฐานันดรที่มีอยู่ทั้งหมด
2. สหพันธรัฐไทประกอบด้วยรัฐจำนวน 10 รัฐ มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ ภายใต้เอกภาพของสหพันธรัฐ ห้ามรัฐที่เป็นสมาชิกของสหพันธรัฐไททำสัญญาเป็นสมาชิก หรือเป็นสมาชิกของสหพันธรัฐอื่น
3. อำนาจนิติบัญญัติทั้งปวงเป็นของรัฐสภาแห่งสหพันธรัฐไท ประกอบด้วย วุฒิสภา และสภาผู้แทนราษฎร
รัฐสภามีอำนาจในการกำหนดและจัดเก็บภาษีอากร ภาษีศุลกากร และภาษีสรรพสามิตรในรูปแบบเดียวกันทั่วประเทศ
รัฐสภามีอำนาจในการกู้ยืมเงิน ควบคุมจัดระเบียบพาณิชย์กับนานนาประเทศและระหว่างรัฐ กำหนดกฎเกณฑ์การแปลงสัญชาติ คดีล้มละลาย การผลิตเหรียญกษาปณ์ การรักษาค่าเงินทั้งในสหพันธรัฐไท และต่างประเทศ รวมทั้งการกำหนดมาตรฐานการชั่ง ตวง วัด
ให้รัฐสภามีอำนาจในการส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิทยาศาตร์ และศิลปะความรู้ที่มีคุณค่า
ให้รัฐสภามีอำนาจในการก่อตั้งศาลที่มีระดับรองจากศาลสูง
ให้รัฐสภามีอำนาจในการประกาศสงคราม การจัดตั้งสนับสนุนกองทัพ การจัดหาระดมกำลังอาสาสมัคร การรักษากฏหมายของรัฐ การปราบปรามความไม่สงบภายใน การขับไล่ศัตรูภายนอกและพวกติดอาวุธ
ให้รัฐสภามีอำนาจทางด้านนิติบัญญัติทุกกรณีในดินแดนอันเป็นที่ตั้งของสหพันธรัฐไท
ให้รัฐสภามีอำนาจในการตรากฎหมายที่จำเป็นและเหมาะสมเพื่อให้มีอำนาจในการปกครองประเทศ
4. สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกทีมาจากการเลือกตั้งของประชาชนในแต่ละรัฐทุก 2 ปี คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้ง ให้แต่ละรัฐออกรัฐบัญญัติกำหนด
5. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องกำหนดโดยรัฐบัญญัติของแต่ละรัฐ อัตราส่วนผู้แทนราษฎรหนึ่งคนต่อประชากรสามหมื่นคน และจะต้องกำหนดจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของแต่ละรัฐทุกสิบปี แต่ละรัฐจะต้องมีผู้แทนราษฎรอย่างน้อยหนึ่งคน หากตำแหน่งผู้แทนราษฎรในรัฐใดว่างลงให้ฝ่ายบริหารของรัฐนั้นจัดการเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่าง
6. ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้เลือกประธานสภาผู้แทนราษฎรและเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐสภา
7. รัฐสภาของแต่ละรัฐออกรัฐบัญญัติเลือกสมาชืกวุฒิสภารัฐละสองคน มีวาระการดำรงตำแหน่งหกปี สมาชิกวุฒิสภาของแต่ละรัฐมีสิทธิออกเสียงได้คนละหนึ่งเสียง
8. การประชุมรัฐสภาครั้งแรก สมาชิกวุฒิสภาจะถูกแบ่งเป็นสามกลุ่ม จำนวนเท่ากันทุกกลุ่ม สมาชิกวุฒิสภากลุ่มแรกจะหมดวาระลงในปีที่สอง กลุ่มที่สองจะหมดวาระลงในปีที่สี่ กลุ่มที่สามจะหมดวาระลงในปีที่หก เพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาจำนวนหนึ่งในสาม แทนตำแหน่งที่ว่างลงทุกสองปี หากมีตำแหน่งว่างลงด้วยเหตุอื่นที่มิใช่หมดวาระทุกสองปี และไม่อยู่ในสมัยประชุม ฝ่ายบริหารของรัฐนั้นต้องแต่งตั้งสมาชิกชั่วคราวให้ปฏิบัติหน้าที่ จนกว่ารัฐสภาจะเปิดสมัยประชุมครั้งต่อไป เพื่อเลือกสมาชิกวุฒิสภาแทนตำแหน่งที่ว่างลง
9. บุคคลที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่ได้คือ มีอายุไม่ถึง 18 ปี ไม่มีสัญชาติไทย และไม่ได้มีภูมิลำเนาในรัฐที่ตนเองได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
บุคคลที่เป็นสมาชิกวุฒิสภาไม่ได้คือ มีอายุไม่ถึง 30 ปี ไม่มีสัญชาติไทย และไม่ได้มีภูมิลำเนาในรัฐที่ตนเองได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาวุฒิสภา
10. รัฐสภาแต่ละรัฐต้องเปิดประชุมอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง สมัยประชุมจะเริ่มมีขึ้นในวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม แต่ละรัฐต้องกำหนดเวลา สถานที่และหลักกเณฑ์การเลือกตั้งวุฒิสมาชิกและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของรัฐนั้นๆ
องค์ประชุมของทั้งสองสภาให้ใช้เสียงข้างมาก
การตัดสินผลการเลือกตั้ง และคุณสมบัติของสมาชิกแต่ละสภาให้สภานั้นๆเป็นผู้กำหนด
ค่าตอบแทนในการปฏิบัติหน้าที่ของวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้เป็นไปตามกฎหมายที่สนอโดยกระทรวงการคลัง
การอภิปรายของสมาชิกรัฐสภาในระหว่างการประชุมย่อมได้รับการคุ้มครองทางกฎหมายมิให้ถูกฟ้องร้อง
12. ให้รองประธานาธิบดีสหพันธรัฐไทเป็นประธานวุฒิสภาโดยตำแหน่ง แต่ไม่มีสิทธิลงคะแนนเสียง เว้นแต่กรณีที่มีการลงคะแนนเสียงข้างละเท่ากัน
13. วุฒิสภามีอำนาจเลือกเจ้าหน้าที่ของวุฒิสภาเอง และเลือกประธานวุฒิสภาชั่วคราวในกรณีที่รองประธานาธิบดีปฏิบัติหน้าที่มิได้ หรือกรณีที่รองประธานาธิบดีต้องปฏิบัติหน้าที่ประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐไท
14.ให้วุฒิสภาเท่านั้นที่มีอำนาจในการพิจารณาคดีที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงถูกฟ้องร้องทางอาญา กรณีที่ประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐไทถูกพิจารณาคดี ให้ประธานศาลสูงทำหน้าที่ประธานในการพิจารณาคดี การพิพากษาลงโทษต้องใช้มติไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิก ที่เข้าร่วมพิจารณาลงคะแนนเสียงพิพากษา
15.ห้ามมิให้สมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรดำรงตำแหน่งใดๆหรือได้รับผลประโยชน์ใดๆอันเป็นการขัดกับการปฏิบัติหน้าที่ของตน และจะต้องไม่ดำรงตำแหน่งอื่นใดในสหพันธรัฐไท
16. ประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐไทต้องให้ความเห็นชอบและลงนามในร่างกฎหมายทุกฉบับที่ผ่านความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจึงจะมีผลบังคับใช้
กรณีที่ประธานาธิบดีไม่เห็นชอบ หรือไม่ลงนามรับรองภายในกำหนดเวลาอันสมควร ให้ส่งร่างกฎหมายนั้นกลับคืนสู่สภาผู้เป็นเจ้าของร่าง หากสภานั้นมีมติยืนยันตามร่างกฎหมายเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่ต่ำกว่าสองในสามของสมาชิกสภานั้น ให้ส่งร่างกฎหมายนั้นไปให้สมาชิกอีกสภาหนึ่งพิจารณา หากมีมติยืนยันด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสาม ให้ถือว่าร่างกฎหมายนั้นมีผลใช้บังคับเป็นกฎหมาย การลงคะแนนเสียงของทั้งสองสภาให้ทำโดยเปิดเผยโดยการขานชื่อและบันทึกไว้ในรายงานประชุมของแต่ละสภา กรณีที่ประธานาธิบดีไม่ลงนามส่งร่างกฎหมายนั้นกลับมาสู่สภาภายในสิบวันทำการ ให้ถือว่าร่างกฎหมายนั้นมีผลใช้บังคับเป็นกฎหมาย
กรณีที่รัฐสภาปิดสมัยประชุม และประธานาธิบดีไม่ลงนามรับรองร่างกฎหมาย ให้ถือว่าร่างกฎหมายนั้นตกไป
17. มติหรือการลงคะแนนเสียงที่ผ่านวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร ยกเว้นช่วงปิดสมัยประชุม จะต้องได้รับความเห็นชอบจากประธานาธิบดีจึงจะมีผลบังคับใช้ หากประธานาธิบดีไม่เห็นชอบ รัฐสภาจะต้องนำกลับพิจารณาใหม่ หากมีมติยืนยันไม่ต่ำกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกทั้งสองสภาจึงจะมีผลใช้บังคับเป็นกฏหมายได้
18.อำนาจบริหารสหพันธรัฐไทเป็นอำนาจของประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐ มีวาระการดำรงตำแหน่งสมัยละ 4 ปี และดำรงตำแหน่งต่อเนื่องกันเกิน 2 สมัยไม่ได้ รองประธานาธิบดี ซึ่งได้รับเลือกตั้งพร้อมกัน ดำรงตำแหน่งเวลาเดียวกัน
18.1 วิธีการเลือกตั้งประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดี
ฝ่ายนิติบัญญัติของแต่ละรัฐแต่งตั้งคณะผู้เลือกตั้งมีจำนวนเท่ากับสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่รัฐนั้นมีอยู่ คณะผู้เลือกตั้งต้องไม่เป็นสมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้น
ให้คณะผู้เลือกตั้งประชุมพร้อมกันในรัฐของตนเอง โดยลงคะแนนเสียงเลือกประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดี โดยหนึ่งในสองตำแหน่งนี้จะต้องไม่อาศัยอยู่ในรัฐเดียวกัน บัตรลงคะแนนต้องระบุชัดเจนเลือกใครเป็นประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดี
ให้คณะผู้เลือกตั้งลงนามรับรองผลการเลือกตั้ง แล้วส่งมอบโดยการปิดผนึกถึงประธานวุฒิสภา ซึ่งเป็นผู้เปิดเอกสารในการประชุมร่วมของวุฒิสภากับสภาผู้แทนราษฎรเพื่อนับคะแนนเสียง โดยให้บุคคลผู้มีคะแนนเสียงมากที่สุดเป็นประธานาธิบดี แต่ต้องเป็นคะแนนเสียงข้างมากของผู้เลือกตั้งทั้งหมด
กรณีที่บุคคลที่ได้รับคะแนนเสียงสูงสุดเท่ากัน ให้สภาผู้แทนราษฎรลงคะแนนเสียงด้วยบัตรเพื่อเลือกบุคคลเป็นประธานาธิบดีเพียงหนึ่งคน
ให้รัฐสภากำหนดวันเลือกคณะผู้เลือกตั้งและวันที่ประชาชนลงคะแนนเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดี โดยกำหนดให้เป็นวันเดียวกันทั่วดินแดนที่เป็นอาณาเขตของสหพันธรัฐไท
18.2 ประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐไทต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี มีสัญชาติไทยโดยกำเนิดหรือการแปลงสัญชาติ และมีภูมิลำเนาอยู่ในสหพันธรัฐไทเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 20 ปี
18.3 กรณีที่ประธานาธิบดี และ/หรือ รองประธานาธิบดี ถูกปลดจากตำแหน่ง ตาย ลาออก หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รัฐสภาแต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนจนกว่าจะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีขึ้นใหม่
18.4 ให้ประธานาธิบดีได้รับค่าตอบแทนจากการปฏิบัติหน้าที่ในระหว่างการดำรงตำแหน่ง ค่าตอบแทนดังกล่าวจะมีการเปลี่ยนแปลงในระหว่างการดำรงตำแหน่ง หรือจะได้รับรายได้อื่นจากสหพันธรัฐหรือรัฐใดอีกไม่ได้
18.5 ก่อนเข้าบริหารงานในตำแหน่งประธานาธิบดี จะต้องกล่าวคำสาบานว่า “ข้าพเจ้าขอสาบานว่าจะปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐไทอย่างซื่อสัตย์ และจะปฏิบัติหน้าที่อย่างดีที่สุดตามความสามารถของข้าพเจ้า เพื่อพิทักษ์รักษาและปกป้องรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธรัฐไท ”
18.6 ให้ประธานาธิบดีเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ รวมทั้งกำลังพลอาสาสมัครของรัฐต่างๆด้วย
และให้มีอำนาจในการออกคำสั่งบรรเทาโทษและนิรโทษกรรมต่อการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อสหพันธรัฐยกเว้นกรณีที่ถูกฟ้องบังคับให้ออกจากตำแหน่ง
19. อำนาจและหน้าที่ของประธานาธิบดี
ให้ประธานาธิบดีมีอำนาจในการทำสนธิสัญญาโดยได้รับคำแนะนำและยินยอมจากวุฒิสภาด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของสมาชิกวุฒิสภาที่อยู่ในที่ประชุม
ให้ประธานาธิบดีมีอำนาจในการเสนอชื่อเพื่อแต่งตั้งเอกอัครราชทูต อัครราชทูต กงสุล คณะผู้พิพากษาศาลสูง โดยได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภา ทั้งนี้รัฐสภาอาจตรากฎหมายให้ประธานาธิบดีมีอำนาจแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งในระดับรองลงไปได้หากเห็นสมควร และรัฐมนตรีมีอำนาจแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ระดับรองลงมาได้
19.1 ให้ประธานาธิบดีมีอำนาจแต่งตั้งบุคคลตามตำแหน่งที่ว่างลงทุกตำแหน่งทีอาจมีขึ้นในช่วงปิดสมัยประชุมวุฒิสภา
ให้ประธานาธิบดีเป็นผู้รับรองเอกอัครราชทูต อัครราชทูตของประเทศต่างๆ เป็นผู้รักษากฎหมายอย่างเคร่งครัดและเป็นผู้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของสหพันธรัฐทั้งหมด
19.2 ประธานาธิบดีต้องรายงานสถานการณ์ของประเทศต่อรัฐสภาตามระยะเวลาที่กำหนด และเสนอมาตรการต่างๆต่อรัฐสภา ประธานาธิบดีมีอำนาจต้ดสินใจเวลาที่เหมาะสมในการประชุมของทั้งสองสภา หรือสภาใดสภาหนึ่ง
19.3 การถอดถอนประธานาธิบดี รองประธานาธิบดี และเจ้าหน้าที่ของรัฐออกจากตำแหน่ง กระทำได้ในข้อหากระทำผิดทางอาญา
20. ในการพิจารณาคดีอาญาทุกคดี ยกเว้นคดีฟ้องให้ขับไล่ออกจากตำแหน่ง ให้พิจารณาโดยคณะลูกขุนตามระบบคอมมอนลอว์หรือถือเอาตามสามัญสำนึกของผู้คนคือคณะลูกขุน โดยให้ผู้พิพากษามีอำนาจหน้าที่ปรับใช้ตัวบทกฎหมายเพื่อการพิจารณาคดี
ให้รัฐสภาจัดตั้งศาลสูง หรือศาลระดับรองลงมา และให้ผู้พิพากษาศาลสูงหรือศาลระดับรองลงมาดำรงตำแหน่งตราบเท่าที่ความประพฤติไม่เสื่อมเสียและให้ได้รับค่าตอบแทนจากการทำงานในระหว่างการดำรงตำแหน่ง โดยค่าตอบแทนจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง
20.1 การพิจารณาคดีฟ้องร้องเจ้าหน้าที่ชั้นสูงของสหพันธรัฐไท เพื่อปลดผู้ถูกฟ้องออกจากตำแหน่งสามารถดำเนินการพิจารณาคดีต่อได้หลังจากผู้ถูกฟ้องร้องถูกปลดจากตำแหน่งแล้ว
20.2 คดีความที่เกี่ยวข้องกับเอกอัครราชทูต ราชทูต กงสุล และบรรดาบุคคลที่รัฐมีคดีด้วยให้เริ่มต้นที่ศาลสูง ส่วนคดีอื่นๆให้อุทธรณ์ต่อศาลสูงทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย เว้นแต่มีข้อยกเว้นตามกฎหมายที่ออกโดยรัฐสภาของสหพันธรัฐไท
20.3 การลงโทษบุคคลใดในความผิดฐานก่อการกบฏ ต้องมีพยานให้การยืนยันในการกระทำความผิดตั้งแต่สองคนขึ้นไป หรือผู้ที่ถูกล่าวหาเป็นกบฏจะรับสารภาพในศาลที่มีการพิจารณาคดีอย่างเปิดเผย
20.4 รัฐบัญญัติ บันทึกสำนวนคดี และการดำเนินคดีของศาลจะต้องได้รับความเชื่อถือจากรัฐอื่นๆ โดยเท่าเทียมกัน รัฐสภาสามารถตรากฏหมายเพื่อให้เครดิตความเชื่อถือระหว่างรัฐมีผลใช้บังคับได้
20.5 ให้พลเมืองของแต่ละรัฐมีเอกสิทธิ์และความคุ้มกันของความเป็นประชาชนแห่งสหพันธรัฐไทเหมือนกัน
บุคคลที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดทางอาญา หากหนีคดีอาญาไปยังรัฐอื่น ให้ฝ่ายบริหารรัฐของเจ้าของคดี ขอให้อีกรัฐหนึ่งส่งตัวผู้ร้ายข้ามมาดำเนินคดีในเขตอำนาจของศาลต่อไป
21. การรับรัฐใหม่ๆ เข้าเป็นสมาชิกสหพันธรัฐไทเป็นอำนาจของรัฐสภา แต่ไม่ให้มีรัฐใหม่ที่ตั้งซับซ้อนพื้นที่ที่เป็นเขตอำนาจของรัฐที่มีอยู่ เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากรัฐสภาของรัฐนั้นและของรัฐสภาสหพันธรัฐไท
21.1 ให้สหพันธรัฐไทค้ำประกันให้รูปแบของรัฐบาลทุกรัฐเป็นรูปแบบสาธารณรัฐ และสหพันธรัฐไทจะให้ความคุ้มครองแต่ละรัฐจากการถูกรุกราน รวมทั้งการถูกรุกราน รวมทั้งเมื่อฝ่ายนิติบัญญัติ หรือฝ่ายบริหารของรัฐร้องขอหากเกิดความไม่สงบภายในรัฐ
22. การแก้ไขรัฐธรรมนูญ กระทำได้เมื่อจำนวนสมาชิกของรัฐสภาจำนวนไม่ต่ำกว่าสองในสามของที่มีอยู่ เสนอให้มีการแก้ไขหรือเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจะมีผลบังคับใช้ได้ต้องดำเนินการตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ และรัฐสภาของรัฐสมาชิกจำนวนไม่ต่ำกว่าสามในสี่ของทั้งหมดให้สัตยาบัน หรือที่ประชุมของรัฐทั้งปวงให้สัตยาบันด้วยคะแนนเสียงไม่ต่ำกว่าสามในสี่ แต่จะกำหนดให้รัฐสมาชิกมีจำนวนสมาชิกวุฒิสภาไม่เท่ากันไม่ได้
23. รัฐธรรมนูญฉบับนี้รวมทั้งกฎหมายต่างๆของสหพันธรัฐไทที่จะตราออกมา รวมทั้งสนธิสัญญาทั้งหมดที่ได้เข้าร่วมเป็นภาคี ให้ถือเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ
ผู้พิพากษาของรัฐทุกรัฐต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายของรัฐ จะขัดหรือแย้งไม่ได้
สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกฝ่ายนิติบัญญัติของรัฐต่างๆ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารและตุลาการทั้งหมด และรัฐต่างๆของสหพันธรัฐไท จะต้องผูกมัดกับคำสาบานหรือคำยืนยันในการปฏิบัติตาม หรือสนับสนุนรัฐธรรมนูญฉบับนี้
สหพันธรัฐไทมีเจตน์จำนงค์ที่ชัดเจนที่จะให้พลเมืองทุกคนของแต่ละรัฐมีความเป็นอยู่ที่ดี ที่ได้รับความปลอดภัย โดยมุ่งจัดสวัสดิการพื้นฐานที่จำเป็นให้พลเมืองทุกคน
องค์การสหพันธรัฐไท
30 เมษายน 2561 1.01 น. ประเทศไทย

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar