ข้อสังเกต: การประหารชีวิตเมื่อวาน น่าจะมีนัยยะมากกว่าที่เห็น
ต่อเนื่องจากกระทู้ก่อน ที่ผมถามว่า มีใครทราบไหมว่า นักโทษที่เพิ่งถูกประหาร ได้ทูลเกล้าฯขอพระราชทานอภัยโทษหรือไม่? ผมจะอธิบายเป็นขั้นๆให้ฟังเพิ่มเติมว่า คำถามนี้ (ซึ่งมีคนให้คำตอบมา และผมจะมารวมอธิบายข้างล่าง) มีนัยยะอย่างไร
(1) "จากข้อมูลของเดือน เม.ย. 2560 มีนักโทษต้องโทษประหารชีวิต ทั้งหมด 447 ราย"
ข้อมูลจากคำให้สัมภาษณ์ของ นายธวัชชัย ไทยเขียว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม และโฆษกกระทรวงยุติธรรม และได้รับการยืนยันตรงกันจากนายกอบเกียรติ กสิวิวัฒน์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เมื่อมิถุนายนปีกลาย
ในจำนวนนี้ ขณะนั้น (กลางปี 2560) มีนักโทษที่คดีถึงที่สุดแล้ว คือฎีกาตัดสินยืนยันโทษประหารชีวิตแล้ว 157 ราย ที่เหลือ (290) อยู่ในขั้นตอนอุทธรณ์หรือฎีกา (ผ่านมาอีกปี จำนวนที่สิ้นสุดแล้ว คงเพิ่มกว่านี้)
(2) การประหารชีวิตครั้งสุดท้าย มีขึ้นเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2552 คือเกือบ 9 ปีที่แล้ว
(3) ถ้าเอาเฉพาะ 157 รายที่คดีสิ้นสุดแล้ว(นับปีกลาย) เราสามารถอนุมาน (assume) ได้ว่า คงสิ้นสุดแล้วในระหว่าง 7-8 ปี (2552-ต้นปี 2560) ที่ไม่มีการประหารชีวิตแน่ๆ
ทำไมในเมื่อคดีสิ้นสุดไปแล้วเป็นร้อยกว่าราย จึงไม่มีการประหารชีวิตเลยตลอดช่วง 7-8 ปีนั้น?
(4) คำตอบคือ เพราะอยู่ระหว่างถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ
ผมคิดว่าเราสามารถอนุมานได้ว่า แทบทุกรายต้องถวายฎีกาขออภัยโทษ ที่สำคัญ เป็นไปไม่ได้เลยว่า ตลอด 7-8 ปี และมีคดีสิ้นสุดแล้วถึง 157 ราย ไม่มีการประหารชีวิตเลย ถ้าไม่ใช่เพราะว่าเรื่องไป "ค้าง" อยู่ที่วัง
ทีนี้ ขอให้สังเกตช่วงเวลาของสถิติ 157 รายที่สิ้นสุดแต่ไม่มีการประหารชีวิตตลอด 7-8 ปี คือเป็นช่วงที่ตกอยู่ในตอนท้ายรัชกาลที่ 9 ทั้งสิ้น (ข้อมูลเมษายน คือหลังสวรรคตตุลาคมไม่กี่เดือน)
(5) ผมจำได้ว่า หลายๆปีมาแล้ว บางกอกโพสต์ เคยพาดหัวตัวใหญ่ทำนองว่า "วังส่งสัญญาณไม่เห็นด้วยกับการประหารชีวิต" โดยอธิบายว่า คดีประหารต่างๆที่ถวายฎีกาขึ้นไป ไม่ได้รับการตอบกลับมา (พูดแบบภาษาบ้านๆคือ "ดองเรื่อง") คือตราบใดที่การถวายฎีกายัง "ค้าง" อยู่กับวัง ทางราชทัณฑ์ก็เอานักโทษไปประหารไม่ได้ จะเป็นการ "ก้าวล่วงพระราชอำนาจ" เพราะยังไม่ได้ทรงมีพระราชวินิจฉัยฎีกาที่ถวายนั้น (ไม่มีกำหนดว่าต้องมีพระราชวินิจฉัยในเวลาเท่าใด สามารถที่จะ "ยังไม่มีพระราชวินิจฉัย" เป็นสิบๆปีก็ได้) การที่วังไม่ส่งเรื่องกลับมา เป็นวิธีส่งสัญญาณยับยั้งการประหารโดยเลี่ยงไม่ต้องปฏิเสธคำตัดสินศาลและก็ไม่ต้องยืนยันด้วย (เสียดายผมไม่อยู่เมืองไทยจึงเช็คบางกอกโพสต์เก่าๆไม่ได้ แต่ผมว่า ถ้าดูจากสถิติคดีสิ้นสุด 157 รายตลอด 7 ปี มีความเป็นไปได้สูงที่จะเป็นแบบที่ว่า)*
(6) คดีที่มีการประหารชีวิตล่าสุดเป็นครั้งแรกในรอบ 8-9 ปีเมื่อวานนี้ มี "มิตรสหายท่านหนึ่ง" ยืนยันมาว่า นักโทษได้ยื่นถวายฎีกา แต่วัง "ส่งคืนมา" ซึ่งโดยธรรมเนียมปฏิบัติหมายถึงการปฏิเสธนั่นเอง (ภาษาทางการเรียกว่า "ยกฎีกา") การ "ส่งคืนมา" โดยไม่มีพระราชวินิจฉัยอะไร เท่ากับปฏิเสธฎีกานั้น จึงเกิดการประหารชีวิตที่เป็นข่าว
(เรื่องที่ว่านักโทษคนนี้ได้ยื่นถวายฎีกาหรือไม่ ไม่มีข่าวบอกชัดเจน ซึ่งนับว่าแปลกเหมือนกัน มีแต่ข่าวว่าทางราชทัณฑ์ได้ "บอกนักโทษว่ามีสิทธิ์ถวายฎีกา" ไม่ได้บอกว่านักโทษได้ถวายหรือไม่ แต่ผมนึกไม่ออกว่า จะเป็นไปได้อย่างไรที่นักโทษดังกล่าว จะไม่ยอมใช้สิทธิ์นี้)
(7) ถ้าเป็นไปตามที่ผมไล่เรียงมาตามลำดับนี้ โดยเฉพาะถ้าเป็นจริงดังที่ "มิตรสหาย" บอกว่า มีการยื่นถวายฎีกาจริงแต่ "ส่งคืนมา" ก็เป็นเป็นได้อย่างมากว่า นี่คือ "สัญญาณใหม่" ของรัชกาลใหม่ #ว่าโทษประหารชีวิตให้คงอยู่ #และให้ใช้ได้ ซึ่งถ้าเป็นไปตามนี้ เราอาจจะได้เห็นการทะยอยประหารชีวิตคดีใหม่ๆที่มาสิ้นสุดในรัชกาลนี้ (ผมเข้าใจว่า คดีเก่าๆเป็นร้อย ที่เคยถูก "ดอง" ไปแล้ว คงปล่อยตามเลยมากกว่า แต่อาจจะไม่ก็ได้)
...................
ปล.(1): ในคำสัมภาษณ์ปลัดยุติธรรมเมื่อกลางปีกลายที่ผมอ้างข้างต้น ตัวปลัดยุติธรรมก็พูดทำนองว่า การประหารชีวิตไม่ได้ช่วยในการยับยั้งอาชญากรรม นั่นคือ จนถึงปีที่แล้วนี้ วิธีคิดในหมู่เจ้าหน้าที่ยังออกไปในทิศทางที่เห็นว่าการประหารชีวิตไม่ได้แก้ปัญหาอาชญากรรม
*ปล.(2): มีคำอธิบายที่เป็นไปได้อีกอย่างหนึ่งว่า ทำไมในช่วง 2552 เป็นต้นมา จึงไม่มีการประหารชีวิตเลย ทั้งที่มีนักโทษคดีสิ้นสุดแล้วและคงถวายฎีกาไปถึง 157 ราย นั่นคือ ตั้งแต่ปี 2552 รัชกาลที่ 9 ทรงพระพลานามัยไม่สมบูรณ์เกินกว่าจะมีพระราชวินิจฉัยหรือลงพระปรมาภิไธยในเรื่องนี้ได้ เราจึงได้เห็น "ช่วงว่าง" ของการประหารชีวิตในช่วงปลายรัชกาลดังกล่าว โดยส่วนตัว ผมไม่คิดว่าคำอธิบายนี้จะใช่นะ แต่เขียนไว้ ณ ทีนี้ว่า เป็นไปได้อยู่เหมือนกันว่า "ช่วงว่าง" ดังกล่าว ไม่ใช่เรื่องการ "ส่งสัญญาณ" ไม่ให้ประหาร (ด้วยการ "ดองเรื่อง") แต่เป็นปัญหาเรื่องพระพลานามัย
ต่อเนื่องจากกระทู้ก่อน ที่ผมถามว่า มีใครทราบไหมว่า นักโทษที่เพิ่งถูกประหาร ได้ทูลเกล้าฯขอพระราชทานอภัยโทษหรือไม่? ผมจะอธิบายเป็นขั้นๆให้ฟังเพิ่มเติมว่า คำถามนี้ (ซึ่งมีคนให้คำตอบมา และผมจะมารวมอธิบายข้างล่าง) มีนัยยะอย่างไร
(1) "จากข้อมูลของเดือน เม.ย. 2560 มีนักโทษต้องโทษประหารชีวิต ทั้งหมด 447 ราย"
ข้อมูลจากคำให้สัมภาษณ์ของ นายธวัชชัย ไทยเขียว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม และโฆษกกระทรวงยุติธรรม และได้รับการยืนยันตรงกันจากนายกอบเกียรติ กสิวิวัฒน์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เมื่อมิถุนายนปีกลาย
ในจำนวนนี้ ขณะนั้น (กลางปี 2560) มีนักโทษที่คดีถึงที่สุดแล้ว คือฎีกาตัดสินยืนยันโทษประหารชีวิตแล้ว 157 ราย ที่เหลือ (290) อยู่ในขั้นตอนอุทธรณ์หรือฎีกา (ผ่านมาอีกปี จำนวนที่สิ้นสุดแล้ว คงเพิ่มกว่านี้)
(2) การประหารชีวิตครั้งสุดท้าย มีขึ้นเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2552 คือเกือบ 9 ปีที่แล้ว
(3) ถ้าเอาเฉพาะ 157 รายที่คดีสิ้นสุดแล้ว(นับปีกลาย) เราสามารถอนุมาน (assume) ได้ว่า คงสิ้นสุดแล้วในระหว่าง 7-8 ปี (2552-ต้นปี 2560) ที่ไม่มีการประหารชีวิตแน่ๆ
ทำไมในเมื่อคดีสิ้นสุดไปแล้วเป็นร้อยกว่าราย จึงไม่มีการประหารชีวิตเลยตลอดช่วง 7-8 ปีนั้น?
(4) คำตอบคือ เพราะอยู่ระหว่างถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ
ผมคิดว่าเราสามารถอนุมานได้ว่า แทบทุกรายต้องถวายฎีกาขออภัยโทษ ที่สำคัญ เป็นไปไม่ได้เลยว่า ตลอด 7-8 ปี และมีคดีสิ้นสุดแล้วถึง 157 ราย ไม่มีการประหารชีวิตเลย ถ้าไม่ใช่เพราะว่าเรื่องไป "ค้าง" อยู่ที่วัง
ทีนี้ ขอให้สังเกตช่วงเวลาของสถิติ 157 รายที่สิ้นสุดแต่ไม่มีการประหารชีวิตตลอด 7-8 ปี คือเป็นช่วงที่ตกอยู่ในตอนท้ายรัชกาลที่ 9 ทั้งสิ้น (ข้อมูลเมษายน คือหลังสวรรคตตุลาคมไม่กี่เดือน)
(5) ผมจำได้ว่า หลายๆปีมาแล้ว บางกอกโพสต์ เคยพาดหัวตัวใหญ่ทำนองว่า "วังส่งสัญญาณไม่เห็นด้วยกับการประหารชีวิต" โดยอธิบายว่า คดีประหารต่างๆที่ถวายฎีกาขึ้นไป ไม่ได้รับการตอบกลับมา (พูดแบบภาษาบ้านๆคือ "ดองเรื่อง") คือตราบใดที่การถวายฎีกายัง "ค้าง" อยู่กับวัง ทางราชทัณฑ์ก็เอานักโทษไปประหารไม่ได้ จะเป็นการ "ก้าวล่วงพระราชอำนาจ" เพราะยังไม่ได้ทรงมีพระราชวินิจฉัยฎีกาที่ถวายนั้น (ไม่มีกำหนดว่าต้องมีพระราชวินิจฉัยในเวลาเท่าใด สามารถที่จะ "ยังไม่มีพระราชวินิจฉัย" เป็นสิบๆปีก็ได้) การที่วังไม่ส่งเรื่องกลับมา เป็นวิธีส่งสัญญาณยับยั้งการประหารโดยเลี่ยงไม่ต้องปฏิเสธคำตัดสินศาลและก็ไม่ต้องยืนยันด้วย (เสียดายผมไม่อยู่เมืองไทยจึงเช็คบางกอกโพสต์เก่าๆไม่ได้ แต่ผมว่า ถ้าดูจากสถิติคดีสิ้นสุด 157 รายตลอด 7 ปี มีความเป็นไปได้สูงที่จะเป็นแบบที่ว่า)*
(6) คดีที่มีการประหารชีวิตล่าสุดเป็นครั้งแรกในรอบ 8-9 ปีเมื่อวานนี้ มี "มิตรสหายท่านหนึ่ง" ยืนยันมาว่า นักโทษได้ยื่นถวายฎีกา แต่วัง "ส่งคืนมา" ซึ่งโดยธรรมเนียมปฏิบัติหมายถึงการปฏิเสธนั่นเอง (ภาษาทางการเรียกว่า "ยกฎีกา") การ "ส่งคืนมา" โดยไม่มีพระราชวินิจฉัยอะไร เท่ากับปฏิเสธฎีกานั้น จึงเกิดการประหารชีวิตที่เป็นข่าว
(เรื่องที่ว่านักโทษคนนี้ได้ยื่นถวายฎีกาหรือไม่ ไม่มีข่าวบอกชัดเจน ซึ่งนับว่าแปลกเหมือนกัน มีแต่ข่าวว่าทางราชทัณฑ์ได้ "บอกนักโทษว่ามีสิทธิ์ถวายฎีกา" ไม่ได้บอกว่านักโทษได้ถวายหรือไม่ แต่ผมนึกไม่ออกว่า จะเป็นไปได้อย่างไรที่นักโทษดังกล่าว จะไม่ยอมใช้สิทธิ์นี้)
(7) ถ้าเป็นไปตามที่ผมไล่เรียงมาตามลำดับนี้ โดยเฉพาะถ้าเป็นจริงดังที่ "มิตรสหาย" บอกว่า มีการยื่นถวายฎีกาจริงแต่ "ส่งคืนมา" ก็เป็นเป็นได้อย่างมากว่า นี่คือ "สัญญาณใหม่" ของรัชกาลใหม่ #ว่าโทษประหารชีวิตให้คงอยู่ #และให้ใช้ได้ ซึ่งถ้าเป็นไปตามนี้ เราอาจจะได้เห็นการทะยอยประหารชีวิตคดีใหม่ๆที่มาสิ้นสุดในรัชกาลนี้ (ผมเข้าใจว่า คดีเก่าๆเป็นร้อย ที่เคยถูก "ดอง" ไปแล้ว คงปล่อยตามเลยมากกว่า แต่อาจจะไม่ก็ได้)
...................
ปล.(1): ในคำสัมภาษณ์ปลัดยุติธรรมเมื่อกลางปีกลายที่ผมอ้างข้างต้น ตัวปลัดยุติธรรมก็พูดทำนองว่า การประหารชีวิตไม่ได้ช่วยในการยับยั้งอาชญากรรม นั่นคือ จนถึงปีที่แล้วนี้ วิธีคิดในหมู่เจ้าหน้าที่ยังออกไปในทิศทางที่เห็นว่าการประหารชีวิตไม่ได้แก้ปัญหาอาชญากรรม
*ปล.(2): มีคำอธิบายที่เป็นไปได้อีกอย่างหนึ่งว่า ทำไมในช่วง 2552 เป็นต้นมา จึงไม่มีการประหารชีวิตเลย ทั้งที่มีนักโทษคดีสิ้นสุดแล้วและคงถวายฎีกาไปถึง 157 ราย นั่นคือ ตั้งแต่ปี 2552 รัชกาลที่ 9 ทรงพระพลานามัยไม่สมบูรณ์เกินกว่าจะมีพระราชวินิจฉัยหรือลงพระปรมาภิไธยในเรื่องนี้ได้ เราจึงได้เห็น "ช่วงว่าง" ของการประหารชีวิตในช่วงปลายรัชกาลดังกล่าว โดยส่วนตัว ผมไม่คิดว่าคำอธิบายนี้จะใช่นะ แต่เขียนไว้ ณ ทีนี้ว่า เป็นไปได้อยู่เหมือนกันว่า "ช่วงว่าง" ดังกล่าว ไม่ใช่เรื่องการ "ส่งสัญญาณ" ไม่ให้ประหาร (ด้วยการ "ดองเรื่อง") แต่เป็นปัญหาเรื่องพระพลานามัย
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar