รัฐบาลควรจะรับฟังร่างนิรโทษกรรมผู้ชุมนุมของนิติราษฎร์
13 มกราคม พ.ศ. 2556
ที่มา มติชน " "นิติราษฎร์" เสนอร่างรธน.นิรโทษกรรมผู้ชุมนุม ชี้ถ้ารบ.จริงใจให้เดินหน้าได้เลย ย้ำทุกสี ทุกฝ่ายได้ปย."
วันนี้ (13 ม.ค.) ที่ห้องจิตติ ติงศภัทิย์ คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ คณะนิติราษฎร์ นำโดยนายวรเจตน์ ภาคีรัตน์, นายปิยะบุตร แสงกนกกุล, นางจันทจิรา เอี่ยมมยุรา อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แถลงข้อเสนอวิชาการ เรื่องร่างรัฐธรรมนูญว่าด้วยนิรโทษกรรมและการขจัดความขัดแย้ง
นายวรเจตน์ กล่าวว่า ปลายปี 2553 คณะนิติราษฎร์เสนอล้มล้างผลพวงรัฐประหารไปครั้งหนึ่งแล้ว เกี่ยวกับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง แต่ ร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับนี้เกี่ยวเฉพาะผู้ร่วมเดินขบวน ชุมนุมทางการเมือง เกี่ยวเนื่องกับการชิงอำนาจรัฐ หลังรัฐประหารเดือนกันยายน 2549 รวมทั้งบุคคลที่กระทำการโดยมีมูลเหตุจูงใจมาจากความขัดแย้งทางการเมืองหลัง รัฐประหาร ดังนั้น จึงไม่เกี่ยวกับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ส่วนการล้มล้างผลพวงรัฐประหาร ยกเลิกการดำเนินคดีทั้งหมด และประกาศให้ผู้ทำรัฐประหารเป็นโมฆะ จะเกิดในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่น่าจะได้ออกเสียงประชามติ ในอนาคต
ส่วนสาเหตุที่ เสนอร่างเป็น ร่างรธน. โดยไม่เสนอเป็นพ.ร.บ. หรือพ.ร.ก. นั้น เพราะมีความซับซ้อนเมื่อเทียบกับพ.ร.บ.ปรองดอง ฉบับอื่นๆ ที่เสนอก่อนหน้านี้ นายวรเจตน์มองว่าร่าง พ.ร.บ.ทั้งหมดนั้นไม่ครอบคุลมไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่สลับซับซ้อน และร่างรธน. นี้ ไม่ได้แยกแกนนำกับผู้ชุมนุมเพราะเป็นเรื่องที่ทำได้ลำบาก จึงเสนอรวมไปในครั้งเดียว โดยหวังให้ครอบคลุมผู้มี ความเห็นการเมืองทุกฝ่าย ทั้งเสื้อเหลือง เสื้อแดง และสีอื่นๆ ภายใต้เงื่อนไขที่รธน. กำหนดไว้
นาย วรเจตน์ยังกล่าวต่อว่านอกจากนี้การเสนอเป็นร่าง พ.ร.บ. อาจมีผู้ยื่นให้ ศาล รธน. ตีความ ซึ่งจะทำให้ช้ากว่าเดิม และเมื่อเป็น ร่าง รธน. จะไม่ถูกประธานรัฐสภาตีความ เหมือนกรณีข้อเสนอ แก้ไขกฎหมาย อาญา มาตรา 112 ที่ ประธานรัฐสภาตีความว่า ไม่เข้าหมวด 3 และหมวด 5 ของรัฐธรรมนูญ และปฏิเสธเสนอเป็นเข้าที่ประชุมสภาวาระ แต่ถ้าเป็น ร่าง รธน. ประธานสภาฯไม่บรรจุไม่ได้ เพียงแต่ต้องใช้เสียงของประชาชนเสนอร่างสูง 5 หมื่นคน อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาล หรือ ส.ส. เห็นด้วยก็อาจเข้าชื่อเสนอได้เลยทั้งนี้ ร่าง รธน.แก้ไขเพิ่มเติม ถ้าฝ่ายการเมืองแน่วแน่ ก็สามารถทำได้เร็วกว่า ร่าง พ.ร.บ. ที่ต้องเข้าสภาผู้แทนฯ 3 วาระ วุฒิสภาอีก 3 วาระ ทำให้เวลาเนิ่นช้าไป แต่ถ้าเป็น ร่าง รธน.แก้ไขเพิ่มเติม รัฐสภาพิจารณา 3 วาระไปได้เลย
อย่างไร ก็ตาม เหตุผลอีกประการ คือ ร่าง รธน.ฉบับนี้ มีการเสนอตั้ง "คณะกรรมการขจัดความขัดแย้ง" มีหน้าที่พิจารณามูลเหตุจูงใจผู้กระทำผิด ซึ่งการก่อตั้งอำนาจ ไม่สามารถก่อตั้งโดยองค์กร ระดับ พ.ร.บ.ได้ และการเสนอเป็น ร่าง รธน. ยังป้องกันรัฐบาลในอนาคตออก กฎหมายระดับ พ.ร.บ.มานิรโทษกรรมด้วย โดยถ้าจะทำต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญเพียงอย่างเดียว
นาย วรเจตน์ ยังระบุอีกว่า ปัญหาสำคัญที่ไม่ปล่อยให้เป็นอำนาจศาลมาวินิจฉัย แต่งตั้ง คณะกรรมการขจัดความขัดแย้ง คือ ขณะนี้หลายคนถูกขังอยู่ในศาล ซึ่งเป็นคนเสื้อแดงมากกว่า และศาลไม่ได้ดู"มูลเหตุจูงใจทางการเมือง" ไม่ได้ดูว่าอะไรเป็นแรงผลักดันให้เกิดขึ้น ศาลจะดูเฉพาะประเด็นที่เกิดขึ้น เท่านั้น จึงต้องตั้งกรรมการชุดนี้เข้ามา เพราะกระบวนการยุติธรรมปกติไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้ และสาเหตุที่ไม่นิรโทษกรรมให้เจ้าหน้าที่ ผู้ปฏิบัติการในระดับใด ทั้งสิ้น ก็เพื่อต่อไปเจ้าหน้าที่ต้องปฏิเสธการกระทำที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือการปฏิบัติตามอารมณ์ หรือเป็นคำสั่งที่ไม่ถูกต้องไม่ควรปฏิบัติตาม
นาย วรเจตน์ อธิบายว่า การนิรโทษกรรมมีการแบ่งกลุ่ม 2 กลุ่มใหญ่ๆ กลุ่มที่พ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง หลังประกาศใช้ รธน.ฉบับแก้ไขนี้ คือ ผู้ร่วมชุมนุมในระหว่างประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและอีกกลุ่มคือ กลุ่มที่ความผิดอัตราโทษสูง หรือ ไม่ได้ร่วมชุมนุม โดยตรง แต่แสดงความเห็นแล้วมีผลทางคดีอาญา ให้ระงับโทษชั่วคราว และปล่อยตัวโดยทันที หลังจากนั้น เรื่องไปที่คณะกรรมการขจัดความขัดแย้ง ถ้ากรรมการชี้ว่า ทำไปโดยมีมูลเหตุจูงใจทางการเมือง คดีสิ้นสุดลง แต่เงื่อนไข ต้องไม่ขัดกับพันธกรณีระหว่างประเทศอย่างไรก็ตามกรณีมีผู้ยื่นให้ศาล รัฐธรรมนูญตีความ จากการใช้ รธน.หมวดนี้ เพื่อขจัดปัญหา เสนอให้ รัฐสภาเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งสิทธิเด็ดขาดในการตีความ วินิจฉัย โดยการประชุมรัฐสภา คดีจะไม่ไปที่ศาล เพราะถือเป็นเรื่องทางการเมือง และผลการตีความของรัฐสภา จะมีผลผูกพันองค์กรของรัฐทุกองค์กร ผู้ไม่พอใจผลการตีความจะไม่สามารถนำไปฟ้องศาลได้
ขณะที่ระยะเวลา ที่มีผลตามกฎหมายนี้ คือ หลัง 19 กันยายน 2549 ถึง 9 พ.ค. 54 วันที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยุบสภา เพราะมีทั้ง ผู้ไปเดินขบวน ไปชุมนุม หรือแสดงความคิดเห็นผ่าน ช่องทางต่างๆ ซึ่งถือว่ามีมูลเหตุจูงใจทางการเมือง อันเนื่องมาจากการยึดอำนาจ กันยายน 2549 ความผิดหลังจากนี้ ไม่อยู่ในข่ายไป
นายวรเจตน์ ยังกล่าวต่อไปว่า ข้อเสนอนี้ไม่ดีที่สุด แต่ครอบคลุมที่สุด สาเหตุที่มาเสนอในช่วงนี้ เพราะ กระบวนการยุติธรรมธรรมดา ยังไม่เพียงพอ ผู้กระทำผิดหลายคนยังไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว รัฐบาลก็ไม่ได้ขยับทำอะไรอย่างที่ควรจะเป็น แต่หลังจากนี้ถ้ารัฐบาลเห็นความสำคัญ พรุ่งนี้ มะรืนนี้ สามารถเสนอเข้าสู่สภาได้ทันที ถ้าจะทำ อาจมีบางท่านเสนอปรับปรุงก็เป็นไปได้ แต่ไม่ควรปล่อยเวลาให้นานเกินไป สำหรับกรอบใหญ่ ที่นิติราษฎร์เสนอ 3 กรอบเรื่องใหญ่คือ 1.นิรโทษกรรม ขจัดความขัดแย้ง ตามร่างแก้ไข รธน. นี้ 2. ลบล้างผลของรัฐประหาร และ ยกเลิกคดี ซึ่งต้องทำใน รธน.ใหม่ และ3. จัดโครงสร้างความสัมพันธ์ขององค์กรทางการเมืองใหม่ ซึ่งต้องทำใน ร่าง รธน.ใหม่ ถ้าทำได้พาสังคมไทยพ้นจากความขัดแย้งไปได้
เมื่อผู้สื่อ ข่าวถามว่า กังวลไหมว่า ฝ่ายตรงข้ามจะบอกว่า เป็นกฎหมายล้างผิดให้คนเผาบ้านเผาเมือง นายวรเจตน์ตอบว่าไม่กังวล เพราะ เรื่องจะเข้าสู่ คณะกรรมการขจัดความขัดแย้ง ซึ่งจะมีการพิจารณาว่ามาจากแรงจูงใจใด คำว่า "คนเผาบ้านเผาเมือง" ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ โดยใส่ความรู้สึกเข้าไป สมัย ฮิตเลอร์ เคยมีการเผาสภาฯ แล้วกล่าวหาว่า ฝ่ายตรงข้ามเป็นคนทำ เป็นการ กล่าวหาโดยใช้สถานการทางการเมือง ถ้าเรื่องของการเผาไม่เกี่ยวกับมูลเหตุจูงใจทางการเมือง จะไม่ได้รับการนิรโทษกรรมอยู่แล้ว ดังนั้น ก่อนจะมีการวิจารณ์ ขอให้ทำความเข้าใจข้อเสนอก่อน อย่าเป็นเหมือนครั้งก่อน ที่กล่าวหากันว่า เสนอนิรโทษกรรมให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี
ด้านนาย ปิยบุตร เห็นว่า ข้อเสนอนี้ ทำเพื่อคนทุกสี เขียนโดยไม่ได้ดูสีเสื้อเป็นหลัก แต่ต้องยอมรับว่า คนเสื้อแดงจะได้ประโยชน์มากกว่า เพราะเป็นผู้ได้รับผลกระทบ ทั้งนี้ การที่ข้อเสนอไม่เกี่ยวกับนักการเมือง จะหาฉันทามติทางการเมืองได้ง่ายขึ้นไม่คิดว่าจะมีใครค้าน เพราะไม่เกี่ยวข้องกับรัฐบาล ฝ่ายค้าน ถ้าทำสำเร็จ พิสูจน์ให้เห็นว่า แม้จะเห็นต่างกัน อยู่ร่วมชาติกันได้ และเป็นการปูทางให้เกิดความปรองดองถ้าสำเร็จเจะกิดวัฒนธรรมทางการเมืองใหม่ๆ ในประเทศนี้
ขณะที่นางจันทจิรา กล่าวว่า ข้อเสนอร่างแก้ไข รธน.นี้ องค์กรตุลาการอาจจะกังวล แต่ยืนยันว่า คณะกรรมการขจัดความขัดแย้ง มีหน้าที่ขอบเขตจำกัด ทำเฉพาะกรณีความขัดแย้ง และผลกระทบที่เกิดขึ้น คือ การชุมนุม และสถานการณ์ที่ยึดโยงกัน โดยบทบาทหน้าที่กรรมการ สิ้นสุดลงทันทีที่กลุ่มคดีเหล่านี้สิ้นสุดลง ซึ่งมีผู้ศึกษาวิจัยจำนวนรวมไว้แล้ว
* * * * * * * * *
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar