http://www.youtube.com/watch?v=1fFitOM-BBM&feature=player_embedded
สมศักดิ์วิพากษ์ ส.ศิวรักษ์ วิพากษ์สถาบันจากจุดยืนศีลธรรม เสี่ยงสองมาตรฐาน
สมศักดิ์วิพากษ์ ส.ศิวรักษ์ วิพากษ์สถาบันจากจุดยืนศีลธรรม เสี่ยงสองมาตรฐาน
ข่าวจากประชาไทย
Sun, 2013-03-17 16:08
ชี้ หัวใจของการเมืองในระบอบประชาธิปไตยคือความยินยอมพร้อมใจจากผู้ถูกปกครองจากการเลือกตั้ง และการวิพากษ์วิจารณ์บนพื้นฐาของศีลธรรมเป็นปัญหาในสังคมสมัยใหม่ท้าไชยยันต์ฉีกบัตรเรียกร้องความเป็นธรรมให้ ชิต บุศย์ เฉลียว รื้อใครฆ่า ร. 8?
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวในเวทีเสวนา บทสามัคคีวิจารณ์ เพื่อก้าวต่อไปของสังคมไทย ในงานปาฐกถาปาจารยสาร “สังคมสยามตามทัศนะของปัญญาชนไทยหมายเลข ๑๐”
ที่ได้จัดขึ้นเมื่อ 17 มีนาคม 2556 ณ มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีปว่ า รายการตอบโจทย์ตอนที่5 ภิญโญ ไตรสุริยะธรรมา พิธีกรรายการ ได้ถามถึงประเด็นที่กว้างออกไปถึงการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ และเขาจึงได้สรุปข้อเสนอ 8 ข้อที่เคยเสนอไปแล้ว คือเลิกพระราชกรณียกิจต่างๆ เลิกข่าวภาคค่ำ เลิกสถาบันองคมนตรี ฯลฯ ตอนแรกก็รู้สึกดีใจที่การเสนอเรื่องนี้ได้ออกฟรีทีวี แต่เรื่องนี้การระงับมาจากภายในไทยพีบีเอสเอง และเป็นเรื่องน่าเศร้าน่าเสียใจว่าคนระดับ บ.ก. ไทยพีบีเอสไม่เข้าใจคอนเซปท์ของสังคมสมัยใหม่เลย
และกรณีนายเสริมสุข กษิติประดิษฐ์ ที่มุ่งเจาะจงมาที่เขาว่าถ้าเทียบต้นทุนระหว่างวศิษฐ์ และอาจารย์สุลักษณ์ว่าต่างกันราวฟ้ากับเหว แต่เขาบอกว่า การมีราคามันวัดกันง่ายๆ เพียงการตอบคำถามคือ คุณจะพิสูจน์ข้ออ้างเรื่องสถาบันกษัตริย์ ดีวิเศษที่โฆษณากันตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมงอย่างไร คุณพิสูจน์อย่างไร ข้อเสนอของผมง่ายๆ คือมันพิสูจน์ไม่ได้เพราะไม่ได้เปิดโอกาสให้พิสูจน์
น่าเสียดายที่คนทำงานสื่อระดับ บ.ก.ข่าวการเมือง ผมท้าเลยว่าคุณเสริมสุข คุณณาตยา คุณณัฎฐา ไปเปิดตำราเลย ว่าจะมีตำราเล่มไหนบอกว่าการโฆษณาสถาบันกษัตริย์ปัจจุบันนี้ไม่ใช่โฆษณาชวนเชื่อ แล้วคนทำสื่อที่ไม่รู้เรื่องนี้ไม่ควรจะทำสื่อเลย
เรื่องที่มันตลกร้ายคือคนที่มีการศึกษาสูงกลับเชื่อเรื่องพวกนี้ขณะที่ไปด่าชาวบ้านว่าโง่ อย่าง อ.ไชยันต์ ที่ไม่กี่ปี่ก่อนเขียนบทอาเศียรวาทเสียจนผมคิดว่า ใม่ต้องให้คนระดับด็อกเตอร์เขียน ให้เสมียนกรมประชาสัมพันธ์เขียนก็ได้ คนที่คิดว่าตัวเองฉลาดกลับอภิมหาบรมโง่เลย คือไปเชื่อโฆษณาล้างสมอง เวลาพูดถึงโครงการพระราชดำริทั้งหลายแหล่ มีการตรวจสอบไหม ไม่เคย บทบาทสถาบันกษัตริย์กรณีสวรรคต ร. 8 ,กรณี 6 ตุลา มีการตรวจสอบไหม ? ไม่เคย แต่คนมีการศึกษากลับเลือกจะเชื่อข้อมูลล้างสมอง ขณะที่ชาวบ้านกลับไม่เชื่อ เห็นว่านี่เป็นการโฆษณาล้างสมอง .
เขากล่าวย้ำว่านี่คือสาเหตุที่เขาเรียกร้องให้ปัญญาชนทั้งหลายแสดงบทบาทในการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ภายใต้ภาวะสังคมไทยเช่นนี้ต้องพยายามปลดล็อก
เขากล่าวว่า เขาเห็นว่าสุลักษณ์ยังเป็นปัญญาชนที่มีด้านที่ไม่เป็นประชาธิปไตย แอนตี้ประชาธิปไตยด้วยซ้ำ อาจจะเรียกได้ว่าเป็นฝ่ายปฏิกริยา และวิจารณ์เจ้าบนจุดยืนที่ต่างจากเขา คือปฏิรูปสถาบันกษํตริย์ให้เป็นประชาธิปไตย แต่เป็นจุดยืนด้าน Moral Fundamentalism คือการวิจารณ์จากคุณธรรมอะไรบางอย่าง เป็นภาพว่าเจ้าที่ดีต้องเป็นแบบนี้ (Ideal Type) แม้ว่าในรายละเอียดของการวิจารณ์เช่นสำนักงานทรัพย์สิน และประเด็นอื่นๆ คล้ายคลึงกัน
เขากล่าวว่า การวิจารณ์จากสุลักษณ์ส่วนใหญ่มาจากแนวทางนี้ และทำไมสุลักษณ์ถึงเกลียดทักษิณมาก เป็นคุณที่ไม่มีคุณธรรม แต่ปัญหาการวิจารณ์จากจุดยืนนี้เขาเห็นว่าเป็นปัญหาทั่วโลก แต่การวิจารณ์บนพื้นฐานศีลธรรมนั้นเป็นปัญหา และเป็นปัญหาเป็นพิเศษในกรณีของสังคมไทยคือ การวิจารณ์บนพื้นฐานศีลธรรมนั้นถึงที่สุดแล้วหลีกเลี่ยงความเป็นคนสองมาตรฐานได้ยาก
เขายืนยันว่าข้อเสนอ 8 ข้อของเขานั้นจะทำให้การปฏิรูปสถาบันกษัตริย์มั่นคงกว่า และเป็นการปกปักรักษาสถาบันมากกว่า แต่เขาไม่อยากพูดเรื่องการปกปักรักษาสถาบันเพราะไม่อยากให้พูดอยูในรูปแบบเดียว
สำหรับประเด็นเรื่องทักษิณ เรื่องที่ตลกร้ายเกี่ยวกับข้อกล่าวหาว่าทักษิณทำลายสถาบันกษัตริย์ คือการให้เครดิตทักษิณมากเกินไป การบอกว่าทักษิณต้องการล้มเจ้า คือการให้เครดิตมากเกินไป สิ่งที่ทักษิณต้องการคือต้องการกลับไปปี 2544-2548 คือช่วงเวลาที่สถาบันกษัตริย์ Friendly กับเขาและไม่มายุ่งกี่ยวกับการบริหารบ้านเมืองและการเมือง
การวิจารณ์จากมาตรฐานศีลธรรมนั้นหลีกเลี่ยงการเป็นคนสองมาตรฐานและตลบแตลงตอแหลไม่ได้ แต่ต่อให้ใช้บรรทัดฐานศีลธรรมเองก็ตาม สถาบันกษัตริย์....อันนี้ผมพูดไม่ได้แล้ว ต้องระวังและพูดช้าๆ ผมท้าเลยว่าถ้าใคร apply หลักการแบบนี้ อย่าง อ.ไชยันต์ ไปฉีกบัตรเลือกตั้ง แล้วมีคนบอกว่ามีคุณธรรมมากเลย แล้วทำไมไม่เรียกร้องให้คุณชิต บุศย์ เฉลียว ไม่เรียกร้องว่าใครฆ่า ร. 8
หัวใจของสังคมสมัยใหม่และสังคมประชาธิปไตย หัวใจของมันคือ อำนาจที่มาจากการยินยอมพร้อมใจของผู้ถูกปกครอง เวลาด่าทักษิณว่าเหี้ย คนเลือกทักษิณเหี้ยด้วยหรือเปล่า คนที่เลือกทักษิณเป็นควาย อย่างพันธมิตรฯ ด่าคนที่เลือกนักการเมืองเป็นควายอย่างคงเส้นคงวา แต่อย่างอาจารย์สุลักษณ์จะอธิบายยังไง คนจน ชาวบ้านไม่ได้มีแต่คนอย่าง เจริญ วัดอักษร นะ แต่คนจน ชาวบ้านจำนวนมากที่เลือกทักษิณ พวกนี้เป็นเหี้ย เป็นควายหรือ นี่คือปัญหาแหล่งที่มาของอำนาจ ในโลกสมัยใหม่ หัวใจไม่ได้อยู่ที่การอ้างศีลธรรม Morality ต้องยอมรับความเป็นจริงว่าในสังคมสมัยใหม่คนล้านคนอาจจะมีวิธีคิดเกี่ยวกับศีลธรรมล้านแบบก็ได้ แต่เขามีความยินยอมพร้อมใจเลือก และใครอยากด่าใคร ล้อเลียนใครก็ทำไป
คุณบอกไม่ได้หรอกว่าอำนาจสถาบันกษัตริย์เป็นอำนาจที่มาจากความยินยอมพร้อมใจของประชาชน แต่นักการเมืองที่ว่าเหี้ยๆ ทั้งหลายแหล่ เขามีจุดที่ชอบธรรมคือได้อำนาจมาจากความยินยอมพร้อมใจของคนที่เลือกเขามา
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวในเวทีเสวนา บทสามัคคีวิจารณ์ เพื่อก้าวต่อไปของสังคมไทย ในงานปาฐกถาปาจารยสาร “สังคมสยามตามทัศนะของปัญญาชนไทยหมายเลข ๑๐”
ที่ได้จัดขึ้นเมื่อ 17 มีนาคม 2556 ณ มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีปว่ า รายการตอบโจทย์ตอนที่5 ภิญโญ ไตรสุริยะธรรมา พิธีกรรายการ ได้ถามถึงประเด็นที่กว้างออกไปถึงการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ และเขาจึงได้สรุปข้อเสนอ 8 ข้อที่เคยเสนอไปแล้ว คือเลิกพระราชกรณียกิจต่างๆ เลิกข่าวภาคค่ำ เลิกสถาบันองคมนตรี ฯลฯ ตอนแรกก็รู้สึกดีใจที่การเสนอเรื่องนี้ได้ออกฟรีทีวี แต่เรื่องนี้การระงับมาจากภายในไทยพีบีเอสเอง และเป็นเรื่องน่าเศร้าน่าเสียใจว่าคนระดับ บ.ก. ไทยพีบีเอสไม่เข้าใจคอนเซปท์ของสังคมสมัยใหม่เลย
และกรณีนายเสริมสุข กษิติประดิษฐ์ ที่มุ่งเจาะจงมาที่เขาว่าถ้าเทียบต้นทุนระหว่างวศิษฐ์ และอาจารย์สุลักษณ์ว่าต่างกันราวฟ้ากับเหว แต่เขาบอกว่า การมีราคามันวัดกันง่ายๆ เพียงการตอบคำถามคือ คุณจะพิสูจน์ข้ออ้างเรื่องสถาบันกษัตริย์ ดีวิเศษที่โฆษณากันตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมงอย่างไร คุณพิสูจน์อย่างไร ข้อเสนอของผมง่ายๆ คือมันพิสูจน์ไม่ได้เพราะไม่ได้เปิดโอกาสให้พิสูจน์
น่าเสียดายที่คนทำงานสื่อระดับ บ.ก.ข่าวการเมือง ผมท้าเลยว่าคุณเสริมสุข คุณณาตยา คุณณัฎฐา ไปเปิดตำราเลย ว่าจะมีตำราเล่มไหนบอกว่าการโฆษณาสถาบันกษัตริย์ปัจจุบันนี้ไม่ใช่โฆษณาชวนเชื่อ แล้วคนทำสื่อที่ไม่รู้เรื่องนี้ไม่ควรจะทำสื่อเลย
เรื่องที่มันตลกร้ายคือคนที่มีการศึกษาสูงกลับเชื่อเรื่องพวกนี้ขณะที่ไปด่าชาวบ้านว่าโง่ อย่าง อ.ไชยันต์ ที่ไม่กี่ปี่ก่อนเขียนบทอาเศียรวาทเสียจนผมคิดว่า ใม่ต้องให้คนระดับด็อกเตอร์เขียน ให้เสมียนกรมประชาสัมพันธ์เขียนก็ได้ คนที่คิดว่าตัวเองฉลาดกลับอภิมหาบรมโง่เลย คือไปเชื่อโฆษณาล้างสมอง เวลาพูดถึงโครงการพระราชดำริทั้งหลายแหล่ มีการตรวจสอบไหม ไม่เคย บทบาทสถาบันกษัตริย์กรณีสวรรคต ร. 8 ,กรณี 6 ตุลา มีการตรวจสอบไหม ? ไม่เคย แต่คนมีการศึกษากลับเลือกจะเชื่อข้อมูลล้างสมอง ขณะที่ชาวบ้านกลับไม่เชื่อ เห็นว่านี่เป็นการโฆษณาล้างสมอง .
เขากล่าวย้ำว่านี่คือสาเหตุที่เขาเรียกร้องให้ปัญญาชนทั้งหลายแสดงบทบาทในการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ภายใต้ภาวะสังคมไทยเช่นนี้ต้องพยายามปลดล็อก
เขากล่าวว่า เขาเห็นว่าสุลักษณ์ยังเป็นปัญญาชนที่มีด้านที่ไม่เป็นประชาธิปไตย แอนตี้ประชาธิปไตยด้วยซ้ำ อาจจะเรียกได้ว่าเป็นฝ่ายปฏิกริยา และวิจารณ์เจ้าบนจุดยืนที่ต่างจากเขา คือปฏิรูปสถาบันกษํตริย์ให้เป็นประชาธิปไตย แต่เป็นจุดยืนด้าน Moral Fundamentalism คือการวิจารณ์จากคุณธรรมอะไรบางอย่าง เป็นภาพว่าเจ้าที่ดีต้องเป็นแบบนี้ (Ideal Type) แม้ว่าในรายละเอียดของการวิจารณ์เช่นสำนักงานทรัพย์สิน และประเด็นอื่นๆ คล้ายคลึงกัน
เขากล่าวว่า การวิจารณ์จากสุลักษณ์ส่วนใหญ่มาจากแนวทางนี้ และทำไมสุลักษณ์ถึงเกลียดทักษิณมาก เป็นคุณที่ไม่มีคุณธรรม แต่ปัญหาการวิจารณ์จากจุดยืนนี้เขาเห็นว่าเป็นปัญหาทั่วโลก แต่การวิจารณ์บนพื้นฐานศีลธรรมนั้นเป็นปัญหา และเป็นปัญหาเป็นพิเศษในกรณีของสังคมไทยคือ การวิจารณ์บนพื้นฐานศีลธรรมนั้นถึงที่สุดแล้วหลีกเลี่ยงความเป็นคนสองมาตรฐานได้ยาก
เขายืนยันว่าข้อเสนอ 8 ข้อของเขานั้นจะทำให้การปฏิรูปสถาบันกษัตริย์มั่นคงกว่า และเป็นการปกปักรักษาสถาบันมากกว่า แต่เขาไม่อยากพูดเรื่องการปกปักรักษาสถาบันเพราะไม่อยากให้พูดอยูในรูปแบบเดียว
สำหรับประเด็นเรื่องทักษิณ เรื่องที่ตลกร้ายเกี่ยวกับข้อกล่าวหาว่าทักษิณทำลายสถาบันกษัตริย์ คือการให้เครดิตทักษิณมากเกินไป การบอกว่าทักษิณต้องการล้มเจ้า คือการให้เครดิตมากเกินไป สิ่งที่ทักษิณต้องการคือต้องการกลับไปปี 2544-2548 คือช่วงเวลาที่สถาบันกษัตริย์ Friendly กับเขาและไม่มายุ่งกี่ยวกับการบริหารบ้านเมืองและการเมือง
การวิจารณ์จากมาตรฐานศีลธรรมนั้นหลีกเลี่ยงการเป็นคนสองมาตรฐานและตลบแตลงตอแหลไม่ได้ แต่ต่อให้ใช้บรรทัดฐานศีลธรรมเองก็ตาม สถาบันกษัตริย์....อันนี้ผมพูดไม่ได้แล้ว ต้องระวังและพูดช้าๆ ผมท้าเลยว่าถ้าใคร apply หลักการแบบนี้ อย่าง อ.ไชยันต์ ไปฉีกบัตรเลือกตั้ง แล้วมีคนบอกว่ามีคุณธรรมมากเลย แล้วทำไมไม่เรียกร้องให้คุณชิต บุศย์ เฉลียว ไม่เรียกร้องว่าใครฆ่า ร. 8
หัวใจของสังคมสมัยใหม่และสังคมประชาธิปไตย หัวใจของมันคือ อำนาจที่มาจากการยินยอมพร้อมใจของผู้ถูกปกครอง เวลาด่าทักษิณว่าเหี้ย คนเลือกทักษิณเหี้ยด้วยหรือเปล่า คนที่เลือกทักษิณเป็นควาย อย่างพันธมิตรฯ ด่าคนที่เลือกนักการเมืองเป็นควายอย่างคงเส้นคงวา แต่อย่างอาจารย์สุลักษณ์จะอธิบายยังไง คนจน ชาวบ้านไม่ได้มีแต่คนอย่าง เจริญ วัดอักษร นะ แต่คนจน ชาวบ้านจำนวนมากที่เลือกทักษิณ พวกนี้เป็นเหี้ย เป็นควายหรือ นี่คือปัญหาแหล่งที่มาของอำนาจ ในโลกสมัยใหม่ หัวใจไม่ได้อยู่ที่การอ้างศีลธรรม Morality ต้องยอมรับความเป็นจริงว่าในสังคมสมัยใหม่คนล้านคนอาจจะมีวิธีคิดเกี่ยวกับศีลธรรมล้านแบบก็ได้ แต่เขามีความยินยอมพร้อมใจเลือก และใครอยากด่าใคร ล้อเลียนใครก็ทำไป
คุณบอกไม่ได้หรอกว่าอำนาจสถาบันกษัตริย์เป็นอำนาจที่มาจากความยินยอมพร้อมใจของประชาชน แต่นักการเมืองที่ว่าเหี้ยๆ ทั้งหลายแหล่ เขามีจุดที่ชอบธรรมคือได้อำนาจมาจากความยินยอมพร้อมใจของคนที่เลือกเขามา
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar