fredag 15 mars 2013

.....โปรดระวังแผนชั่วของสมุนอำมาตย์....เกี่ยวกับการตัดสินยอมรับผลการเลือกตั้งผู้ว่ากทม. ....อย่ากระพริบตาเพราะจะใช้"กฎกูตัดสิน.".ตามใบสั่งที่ขอมา..ประชาชนจงใช้กฎหมู่ตรวจสอบตามสิทธิของกฎหมาย โดยควบคุมผู้ใช้กฎหมายให้ตัดสินด้วยความยุติธรรม อย่าปล่อยให้ผู้ทำผิดอยู่เหนือกฎหมายเหมือนในอดีตที่ผ่านมา.....ขอคารวะแด่ดวงวิญญาณ....ของท่านอดีตนายกสมัคร สุนทรเวช ผู้ล่วงลับท่านเป็นคนดีที่ประชาชนค่อนประเทศรักและศรัทธา... ความยุติธรรมจะต้องบังเกิดในแผ่นดินไทยอย่างแน่นอน ท่านจะเป็นเหยื่อคนสุดท้ายของ"กฎหมายอยุติธรรม"....คนทำผิดจะได้รับการประนามจากสังคมและถูกลงโทษ.......

ศาล รธน.ยอมรับคำวินิจฉัย"สมัคร"พ้นนายกฯผิดพลาด !!?

[IMG]

ปธ.ศาล รธน. ยอมรับคำวินิจฉัยคดี"สมัคร"ผิดพลาด เหตุเพราะรีบให้ทันวันตัดสินคดี
โอดทำงานยากต้องทำความเข้าใจมวลชนพรรคการเมือง คู่รักษากฎหมาย

[IMG]


วันนี้ ( 15 มี.ค.) ศาลรัฐธรรมนูญจัดสัมมนา เรื่อง "การรักษาดุลยภาพทางการเมืองของศาลรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตย" โดยนายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ ผู้อำนวยการสถาบันอิศรา เห็นว่า ที่ผ่านมาประชาชนยังคงสับสนและบางครั้งก็มีการต่อต้านการทำหน้าที่ของศาล อาทิคำวินิจฉัยที่ให้ นายสมัคร สุนทรเวช พ้นจากการเป็นนายกรัฐมนตรี โดยมีการอ้างถึงพจนานุกรมนั้น

นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ได้ชี้แจงว่า คำวินิจฉัยในคดีของนายสมัครนั้น เป็นคำวินิจฉัยที่ใช้ไม่ได้ เพราะนำข้อกฎหมายขึ้นก่อน ทั้งที่จริงแล้วการเขียนคำวินิจฉัย ต้องระบุก่อนว่านายสมัครรับจ้างจริงหรือไม่ ขณะที่การต้องรีบเร่งอ่านคำวินิจฉัยในวันตัดสินคดี ก็ทำให้การเขียนคำวินิจฉัยในคดีผิด พลาดได้ง่ายด้วย

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันได้วางกรอบคำวินิจฉัยที่เป็นไปได้ในคดีต่างๆ ไว้ก่อน และนำมาปรับใช้ในการเขียนคำวินิจฉัยจริง เพื่อให้อ่านคำวินิจฉัยได้ทันในวันตัดสินคดี ขณะที่ ศ.ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เห็นว่าการทำงานของศาลรัฐธรรมนูญเป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะต้องทำความเข้าใจกับมวลชนของพรรคการเมือง ควบคู่การทำหน้าที่รักษากฎหมาย

ที่มา
http://www.tnews.co.th/html/news/53233/ศาล-รธนยอมรับคำวินิจฉัยสมัครพ้นนายกฯผิดพลาด-!!.html

โอโห นี่มันเรื่องใหญ่นะ

ศาล รธน. ตัดสินคดีให้พ้นตำแหน่งนายกสมัครผิดพลาด

และคดียุบ 3 พรรคการเมืองเมื่อธันวาคม 2551 เพื่อเบิกทางให้อภิสิทธิ์เป็นนายกก็ผิดพลาดด้วยหรือไม่?

และจะชยเชยความเสียหายกันอย่างไร?

ศาล รธน. ไม่มีความจำเป็นและควรถูกหยุบไป


:mybad::mad::)

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar