มาแล้ว "แถลงการณ์คณะนิติราษฎร์ เรื่อง คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญกรณีรัฐสภาแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ เกี่ยวกับการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา"
ที่มา นิติราษฎร์
ศาลรัฐธรรมนูญซึ่งได้รับการจัดตั้งขึ้นโดยรัฐธรรมนูญนั้น เป็นองค์กรของรัฐที่จัดอยู่ในหมวดศาล ซึ่งหมายความว่าศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการเหมือนกับศาลอื่น ศาลรัฐธรรมนูญจะมีอานาจหน้าที่ในเรื่องใดนั้นย่อมเป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญ กำหนด ศาลรัฐธรรมนูญไม่สามารถก่อตั้งอำนาจของตนขึ้นด้วยตัวเองได้ ในการพิจารณาพิพากษาคดีศาลรัฐธรรมนูญต้องสำรวจตรวจสอบในเบื้องต้นเสียก่อน ว่าคดีที่มีผู้ร้องมานั้นอยู่ในเขตอำนาจที่ตนจะรับไว้พิจารณาหรือไม่ หากไม่มีบทบัญญัติใดของรัฐธรรมนูญให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญในการพิจารณาพิพากษา คดีในเรื่องนั้นแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญย่อมไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนั้น หากต้องการให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจเช่นนั้น ย่อมจะต้องแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจเสียก่อน หลักการดังกล่าวนี้มีขึ้นเพื่อให้เกิดการดุลและคานอำนาจตามหลักนิติรัฐและ หลักประชาธิปไตย
อย่างไรก็ตาม ในคำวินิจฉัยเมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ ศาลรัฐธรรมนูญหาได้วินิจฉัยอำนาจหน้าที่ของตนไปตามหลักการข้างต้นไม่ แต่กลับอ้างอิงหลักการคุ้มครองเสียงข้างน้อยและหลักการตรวจสอบถ่วงดุลอย่าง ผิดพลาดคลาดเคลื่อนเพื่อสร้างความชอบธรรมให้แก่ตนเอง และใช้การอ้างอิงที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อนดังกล่าวนั้นไปเชื่อมโยงกับ “หลักนิติธรรม” ตามมาตรา ๓ วรรคสองเพื่อสถาปนาอำนาจของตนเองในการตรวจสอบการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ผ่านบทบัญญัติมาตรา ๖๘ ซึ่งไม่ใช่เป็นบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญในอันที่จะ ตรวจสอบการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด
คณะนิติราษฎร์เห็นว่า สาระสาคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย คือ อำนาจสูงสุดของประเทศเป็นของประชาชน การแสดงออกซึ่งอำนาจของประชาชนนั้นอาจเป็นการใช้อำนาจโดยตรง การใช้อำนาจโดยผู้แทน และการใช้อำนาจผ่านองค์กรของรัฐซึ่งมีจุดเชื่อมโยงกับประชาชน อย่างไรก็ตามประชาชนประกอบด้วยบุคคลจำนวนมากซึ่งมีเจตจำนงทางการเมืองและ ความคิดเห็นตลอดจนผลประโยชน์ที่แตกต่างกันออกไป การค้นหาเจตจำนงของประชาชนเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อยุติโดยความเห็นพ้องต้องกัน ของทุกคนโดยเอกฉันท์ในทุกเรื่องย่อมเป็นไปไม่ได้ ระบอบประชาธิปไตยจึงจำเป็นต้องคิดค้นวิธีการให้ได้มาซึ่งข้อยุติ นั่นคือ การถือเอาเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ในการตัดสิน อย่างไรก็ตาม ระบอบประชาธิปไตยต้องคุ้มครองเสียงข้างน้อยด้วย เพื่อให้ข้อยุติที่ได้จากเสียงข้างมากนั้นเป็นไปอย่างมีเหตุมีผล ทั้งนี้ การคุ้มครองเสียงข้างน้อยหมายถึงการเปิดโอกาสให้เสียงข้างน้อยได้แสดงความ คิดเห็นโน้มน้าวใจให้บุคคลอื่นเห็นด้วยกับตน เพื่อที่ความเห็นของเสียงข้างน้อยที่มีเหตุมีผลจะได้มีโอกาสในการเป็นเสียง ข้างมากในวันใดวันหนึ่ง แต่ไม่ได้หมายความว่าเสียงข้างมากจะต้องยอมตามเสียงข้างน้อยตลอดเวลา
ศาลรัฐธรรมนูญเป็นกลไกหนึ่งที่สร้างหลักประกันให้เสียงข้างน้อยได้ใช้เป็น ช่องทางในการตรวจสอบเสียงข้างมาก แต่ในการปฏิบัติหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญนั้นไม่ได้หมายความว่าศาลรัฐธรรมนูญ จะต้องช่วยสนับสนุนให้เสียงข้างน้อยบรรลุเป้าหมายตามที่ต้องการเสมอ ตามหลักของการจัดโครงสร้างองค์กรของรัฐตามรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้มีฐานะเป็น “ผู้แทน” ของเสียงข้างน้อย แต่ศาลรัฐธรรมนูญเป็น “คนกลาง” ซึ่งมีหน้าที่ต้องคุ้มครองเจตจำนงของเสียงข้างมากและประกันเสรีภาพของเสียง ข้างน้อย ทั้งนี้ตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติมอบอำนาจไว้ อย่างไรก็ดี เมื่อพิเคราะห์คำวินิจฉัยนี้แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญได้พรรณนาหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย การตรวจสอบถ่วงดุล และการคุ้มครองเสียงน้อยอย่างยืดยาว และสรุปอย่างง่าย ๆ โดยนัยว่าเสียงข้างน้อย “ไม่มีที่อยู่ที่ยืน” โดยไม่ได้ยกข้อเท็จจริงใดมาสนับสนุนว่าในขณะนี้ไม่มีการตรวจสอบถ่วงดุลเสียง ข้างมากหรือไม่คุ้มครองเสียงข้างน้อยจน “ไม่มีที่อยู่ที่ยืน” อย่างไร กล่าวโดยจำเพาะเจาะจงกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนี้ หากเสียงข้างมากได้แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญให้สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือก ตั้งแล้วเสียงข้างน้อยไม่เห็นด้วย เสียงข้างน้อยก็ยังคงมีโอกาสในการรณรงค์ในการเลือกตั้งเพื่อให้ตนเป็นเสียง ข้างมากและกลับมาแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามความต้องการของตนที่ ต้องสอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตยได้ ไม่มีบทบัญญัติใดเลยที่บังคับว่าสมาชิกวุฒิสภาจะต้องมาจากการเลือกตั้งในรูป แบบที่ฝ่ายเสียงข้างมากได้ดำเนินการแก้ไขไปตลอดกาล
นอกจากที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญสมควรต้องตระหนักและสำนึกว่าการออกแบบโครงสร้างของสถาบันการ เมืองว่าจะมีลักษณะอย่างไรนั้นเป็นเรื่องของประชาชนและองค์กรทางการเมืองที่ มีความชอบธรรมทางประชาธิปไตย หาใช่หน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญในอันที่จะกำหนดโครงสร้างของสถาบันการเมืองให้ เป็นไปตามทัศนะของตนไม่
ในคำวินิจฉัยนี้ ที่ศาลรัฐธรรมนูญกล่าวอ้าง “หลักนิติธรรม” อย่างเลื่อนลอยเพื่อสร้างอำนาจให้ตนเองเข้าควบคุมขัดขวางเสียงข้างมากจนทา ให้ความต้องการของเสียงข้างน้อยบรรลุผล จึงมิใช่การปรับใช้ “หลักนิติธรรม” เพื่อคุ้มครองเสียงข้างน้อย แต่เป็นการช่วยเหลือเสียงข้างน้อย จนมีผลทำลายเจตจำนงของเสียงข้างมาก รังแกเสียงข้างมาก เบียดขับให้เสียงข้างมาก “ไม่มีที่อยู่ที่ยืน” และสถาปนา “เผด็จการของเสียงข้างน้อย” ขึ้นในที่สุด
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๖๘ วรรคสอง กำหนดให้บุคคลมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำ ร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย หมายความว่า บุคคลต้องเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดก่อน ภายหลังอัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วเห็นว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวมีมูล อัยการสูงสุดจึงยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตาม ในคดีนี้ไม่ได้มีการยื่นคำร้องผ่านอัยการสูงสุด แต่เป็นการยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญ และศาลรัฐธรรมนูญก็รับคำร้องไว้พิจารณาทั้ง ๆ ที่ตามข้อเท็จจริง ผู้ร้องไม่ได้เสนอเรื่องผ่านอัยการสูงสุดตามขั้นตอนที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ ไว้
ในคำวินิจฉัยนี้ ศาลรัฐธรรมนูญได้ตำหนิว่า รัฐสภาได้ดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเรื่องการได้มาซึ่งสมาชิก วุฒิสภาโดยไม่ชอบด้วยกระบวนการขั้นตอน แต่เมื่อพิจารณาการรับคำร้องในคดีนี้ของศาลรัฐธรรมนูญแล้ว จะเห็นได้ว่าเป็นศาลรัฐธรรมนูญเองต่างหากที่ไม่เคารพกระบวนการขั้นตอนก่อน การยื่นคำร้องดังที่บัญญัติไว้ตามมาตรา ๖๘ อีกทั้งคำร้องที่ศาลรัฐธรรมนูญรับไว้ยังเป็นเรื่องเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่ม เติมรัฐธรรมนูญซึ่งไม่ได้เป็นการใช้สิทธิและเสรีภาพกระทาการของบุคคลอันเป็น วัตถุแห่งคดีตามบทบัญญัติในมาตรา ๖๘ แต่ประการใด
ด้วยเหตุผลทั้งปวงที่กล่าวมาข้างต้น จึงเป็นที่ประจักษ์ชัดว่าศาลรัฐธรรมนูญจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดหรือแย้งกับ รัฐธรรมนูญสถาปนาอำนาจพิจารณาวินิจฉัยคดีนี้ขึ้นมาเอง โดยที่ไม่มีอานาจรับคำร้องดังกล่าวไว้ จึงเป็นการขยายแดนอำนาจออกไปจนศาลรัฐธรรมนูญกลายเป็นองค์กรที่อยู่เหนือรัฐ ธรรมนูญและอยู่เหนือองค์กรทั้งปวงของรัฐ มีผลเป็นการทาลายหลักนิติรัฐประชาธิปไตยลง ก่อให้เกิดสภาวการณ์ที่ศาลรัฐธรรมนูญมีอานาจสูงสุดเด็ดขาด ความร้ายแรงดังกล่าวย่อมส่งผลให้คาวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญนี้เสียเปล่าและไม่ มีผลใด ๆ ในทางกฎหมาย
นอกจากจะปรากฏปัญหาความบกพร่องในส่วนที่เกี่ยวกับองค์คณะที่รับคำร้องไว้ พิจารณาแล้ว ยังปรากฏว่าตุลาการอีกสามคน คือ นายนุรักษ์ มาประณีต นายจรัญ ภักดีธนากุล เคยดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญและกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ และนายสุพจน์ ไข่มุกด์ เคยดำรงตำแหน่งเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนายจรัญ ภักดีธนากุล ได้เคยอภิปรายในการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ ๓๐/๒๕๕๐ (เป็นพิเศษ) วันศุกร์ที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๐ แสดงความคิดเห็นสนับสนุนการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาโดยวิธีการสรรหา และแสดงทัศนะที่เป็นปฏิปักษ์อย่างชัดแจ้งต่อการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาโดย วิธีการเลือกตั้ง ดังนั้น จึงถือได้ว่า นายจรัญ ภักดีธนากุลมีเหตุซึ่งมีสภาพร้ายแรงอันอาจทำให้การพิจารณาคดีไม่เป็นกลาง นายจรัญ ภักดีธนากุลจึงไม่สามารถเข้าร่วมเป็นองค์คณะในการวินิจฉัยคดีนี้ได้ โดยสามัญสานึกของความเป็นตุลาการ และจริยธรรมแห่งวิชาชีพ นายจรัญ ภักดีธนากุลย่อมต้องถอนตัวออกจากการเข้าร่วมเป็นองค์คณะ ดังที่ได้กระทำมาแล้วในการพิจารณาคดีในคำวินิจฉัยที่ ๑๘-๒๒/๒๕๕๕
โดยเหตุที่นายทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ และนายจรัญ ภักดีธนากุล ได้ลงมติเป็นเสียงข้างมาก ๕ ต่อ ๔ เสียงในประเด็นที่ว่าเนื้อหาของการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเป็นการฝ่าฝืน มาตรา ๖๘ วรรค ๑ ดังนั้น หาก ๕ นายทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ และนายจรัญ ภักดีธนากุล ไม่สามารถเข้าร่วมเป็นองค์คณะในการพิจารณาคดีนี้ได้จึงย่อมทำให้มติเสียง ข้างมากดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปกลายเป็นเสียงข้างน้อยคือ ๓ ต่อ ๔ เสียง
ตามกระบวนการพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ หลังจากที่มีผู้ยื่นญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญต่อประธานรัฐสภาแล้ว จะมีการตรวจสอบความถูกต้องของร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมโดยสำนักงาน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งในชั้นนี้อาจมีการแก้ไขเพิ่มเติมได้ และเมื่อมีการแก้ไขเพิ่มเติมแล้วประธานรัฐสภาจะบรรจุร่างดังกล่าวเข้าสู่ วาระการประชุมของรัฐสภา ตามข้อเท็จจริงในคดีนี้ หลังจากที่ประธานรัฐสภาบรรจุร่างดังกล่าวเข้าสู่วาระการประชุมของรัฐสภาแล้ว ไม่ปรากฏว่ามีการแก้ไขหลังจากนั้นอีกแต่อย่างใด ทั้งนี้ประธานรัฐสภาได้ส่งร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวไปให้สมาชิก รัฐสภาทุกคนและสมาชิกรัฐสภาทุกคนก็ได้ใช้ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมดัง กล่าวเป็นฐานในการพิจารณาลงมติวาระที่ ๑ ขั้นรับหลักการ ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงใดที่แสดงให้เห็นว่าสมาชิกรัฐสภาคนใดใช้ร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติมฉบับอื่นนอกจากฉบับที่ประธานรัฐสภาได้ส่งไปให้ในการพิจารณาลง มติ และไม่ปรากฏข้อเท็จจริงอีกเช่นกันว่าสมาชิกรัฐสภาผู้เข้าชื่อยื่นญัตติแก้ไข เพิ่มเติมรัฐธรรมนูญโต้แย้งว่าร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมซึ่งเป็นฐานใน การพิจารณานั้นไม่ใช่ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมที่ตนร่วมเสนอ กรณีจึงถือไม่ได้ว่ากระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในส่วนนี้มีความ บกพร่อง
กรณีตามข้อเท็จจริงปรากฏว่าในการประชุมของรัฐสภาเมื่อวันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๕๖ ได้มีการลงมติให้ใช้กำหนดเวลาในการเสนอคำแปรญัตติภายใน ๑๕ วันตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๓ ข้อ ๙๖ ไม่ได้มีการลงมติให้กาหนดระยะเวลาในการแปรญัตติไว้เป็นอย่างอื่น ดังนั้นระยะเวลาในการเสนอคำแปรญัตติจึงเป็นไปตามที่ข้อบังคับการประชุมได้กา หนดเอาไว้ คือ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันถัดจากวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๖ ซึ่งเป็นวันที่รัฐสภารับหลักการแห่งร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม และสิ้นสุดในวันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๕๖ โดยระยะเวลาสิ้นสุดนั้นเป็นไปตามผลของข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๓ ข้อ ๙๖ ไม่ได้เกิดจากการใช้อำนาจของประธานรัฐสภาให้มีการนับเวลาย้อนหลังตามที่ศาล รัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยแต่อย่างใด นอกจากนี้สิทธิในการแปรญัตติของสมาชิกรัฐสภานั้นได้เริ่มขึ้นทันทีนับแต่วัน ถัดจากวันที่รัฐสภารับหลักการโดยผลแห่งข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งสมาชิกรัฐสภาสามารถที่จะเสนอคำแปรญัตติได้ตลอดเวลาจนถึงระยะเวลาสิ้นสุด ในวันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๕๖ เป็นระยะเวลาทั้งสิ้น ๑๕ วัน ไม่ใช่มีเวลาให้สมาชิกรัฐสภาเสนอคำแปรญัตติเพียง ๑ วันดังที่ศาลรัฐธรรมนูญได้กล่าวไว้ ทั้งตามข้อเท็จจริงยังปรากฏชัดเจนว่ามีสมาชิกรัฐสภาได้เสนอคำแปรญัตติเป็น จานวน ๒๐๒ คน อันแสดงให้เห็นว่าการนับระยะเวลาดังกล่าวนั้นไม่ได้มีผลกระทบต่อการทำ หน้าที่ของสมาชิกรัฐสภาแต่อย่างใด การใช้อำนาจของประธานรัฐสภาและประธานวุฒิสภาจึงเป็นการดำเนินกิจการไปตามข้อ บังคับ ซึ่งชอบด้วยรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๒๕ แล้ว
สำหรับการตัดสิทธิผู้ขอแปรญัตติ ผู้สงวนคำแปรญัตติ และผู้สงวนความเห็นในการอภิปรายวาระที่ ๒ เป็นจำนวน ๕๗ คนนั้น เมื่อพิจารณาเนื้อหาคำเสนอแปรญัตติของบรรดาสมาชิกรัฐสภาที่ถูกตัดสิทธินั้น เห็นได้ชัดเจนว่าขัดต่อหลักการแห่งร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมที่ผ่านความ เห็นชอบในวาระที่ ๑ มาแล้ว จึงเป็นการเสนอคำแปรญัตติที่ต้องห้ามตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๓ ข้อ ๙๖ วรรค ๓ การไม่ให้สิทธิแก่สมาชิกจานวน ๕๗ คนในกรณีนี้จึงมิใช่การกระทำที่ไม่ชอบด้วยข้อบังคับและรัฐธรรมนูญแต่อย่าง ใด
สมควรกล่าวด้วยว่า เมื่อพิจารณาคาวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในประเด็นนี้ พบว่ามีปัญหาในการหยิบยกข้อเท็จจริงและอ้างข้อกฎหมายอย่างยิ่ง ศาลรัฐธรรมนูญอ้างว่า “การนับระยะเวลาในการแปรญัตติย่อมไม่อาจนับเวลาย้อนหลังได้ แต่ต้องนับตั้งแต่วันที่ที่ประชุมมีมติเป็นต้นไป การเริ่มนับระยะเวลาย้อนหลังไปจนทำให้เหลือระยะเวลาขอแปรญัตติเพียง ๑ วัน เป็นการดำเนินที่ขัดต่อข้อบังคับการประชุมและไม่เป็นกลาง จึงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๒๕ วรรค ๑ และวรรค ๒ ทั้งขัดต่อหลักนิติธรรมตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๓ วรรค ๒ ด้วย”โดยศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้อธิบายว่าข้อบังคับการประชุมฯข้อใดที่กำหนดว่า การนับระยะเวลาในการแปรญัตติต้องนับตั้งแต่วันที่ที่ประชุมมีมติเป็นต้นไป ตรงกันข้าม ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๓ ข้อ ๙๖ วรรคแรก บัญญัติว่า “การพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไข ๗ เพิ่มเติมขั้นคณะกรรมาธิการ สมาชิกรัฐสภาผู้ใดเห็นควรแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ให้เสนอคำแปรญัตติล่วงหน้าเป็นหนังสือต่อประธานคณะกรรมาธิการภายในกำหนดเวลา สิบห้ำวันนับแต่วันถัดจากวันที่รัฐสภารับหลักการแห่งร่างรัฐธรรมนูญแก้ไข เพิ่มเติม เว้นแต่รัฐสภาจะได้กำหนดระยะเวลาในการแปรญัตติไว้เป็นอย่างอื่น” กรณีนี้ จะเห็นได้ว่ารัฐสภาได้ดำเนินการตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา แต่ศาลรัฐธรรมนูญกลับวินิจฉัยว่าการดำเนินการของรัฐสภาขัดกับข้อบังคับดัง กล่าว โดยที่ไม่ปรากฏข้อบังคับข้อใดเลยกำหนดให้นับระยะเวลาตามแบบที่ศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวอ้าง คำวินิจฉัยในประเด็นนี้จึงปราศจากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่ยกขึ้น อ้างอิง มีผลให้คำวินิจฉัยนี้ขัดกับรัฐธรรมนูญมาตรา ๒๑๖ วรรค ๔ เท่ากับว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาดคดีนี้ไปตามอำเภอใจ ไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดคดีนี้ไปตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายดังที่รัฐธรรมนูญ บัญญัติไว้ให้เป็นหน้าที่ของศาลตามมาตรา ๑๙๗ วรรคแรก
เห็นว่าในระบอบประชาธิปไตย การออกแบบโครงสร้างสถาบันทางการเมืองตลอดจนองค์กรตามรัฐธรรมนูญย่อมเป็น อำนาจขององค์กรผู้ทรงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ คือ ประชาชน ในแง่นี้ ประชาชนย่อมเป็นผู้แสดงเจตจำนงกำหนดที่มา คุณสมบัติ และลักษณะของสถาบันการเมืองและองค์กรตามรัฐธรรมนูญทั้งหลาย ซึ่งประชาชนอาจใช้อำนาจนั้นโดยตรงผ่านการออกเสียงประชามติ หรือผ่านผู้แทน เช่น สภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือรัฐสภา ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจใด ๆ ในการเข้ามาชี้นำหรือกำหนดโครงสร้างของสถาบันการเมืองและองค์กรตามรัฐ ธรรมนูญ กล่าวโดยเฉพาะกับกรณีนี้ ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีหน้าที่ในการกำหนดบังคับไว้ในคำวินิจฉัยว่าประเทศไทยควร มีวุฒิสภาหรือไม่ หรือหากมีวุฒิสภา การได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาจะเป็นไปด้วยวิธีการใด
การที่สภาร่างรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ มีเจตจำนงให้สมาชิกวุฒิสภาส่วนหนึ่งมาจากการสรรหานั้น แม้ขณะนั้น สภาร่างรัฐธรรมนูญจะมีฐานะเป็นองค์กรผู้จัดทารัฐธรรมนูญ แต่การกำหนดให้ที่มาของบุคคลผู้จะได้ชื่อว่า “เป็นผู้แทนของปวงชนชาวไทย” มาจากการแต่งตั้งนั้น โดยรากฐานย่อมขัดแย้งกับหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย ซึ่งถือว่าการเลือกตั้งผู้แทนประชาชนเป็นสาระสาคัญของระบอบประชาธิปไตย แม้ว่าศาลรัฐธรรมนูญจะอ้างว่าการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาโดยวิธีการเลือกตั้ง ตามรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ ก่อให้เกิดปัญหาเรื่องการตรวจสอบถ่วงดุลจึงทำให้รัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ ได้เข้ามาแก้ไขโดยกาหนดให้สมาชิกวุฒิสภาส่วนหนึ่งมาจากการสรรหา และศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า การกำหนดไว้เช่นนี้เป็นเจตนารมณ์สาคัญของรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ ซึ่งส่งผลให้ไม่อาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ก็ตาม การกล่าวอ้างเช่นนี้ก็เป็นการกล่าวอ้างที่ไม่มีฐานของบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ รองรับ เนื่องจากหากผู้ร่างรัฐธรรมนูญประสงค์จะให้วุฒิสภาประกอบไปด้วยสมาชิก วุฒิสภาที่มาจากการสรรหาจานวนหนึ่งไปตลอดกาล ก็ต้องบัญญัติห้ามมิให้แก้ไขรัฐธรรมนูญในส่วนวิธีการได้มาของสมาชิกวุฒิสภา แต่เมื่อพิจารณาบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ แล้วจะเห็นได้ว่า มาตรา ๒๙๑ (๑) วรรคสอง ห้ามมิให้มีการเสนอญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเฉพาะกรณีที่มีผลเป็นการ เปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและ การเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐเท่านั้น การที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การแก้ไขวิธีการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาไม่อาจกระทาได้เนื่องจากเป็นการกระทำ เพื่อให้ได้มาซึ่งอานาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งไม่เป็นไปตามวิถีทาง ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ จึงเป็นกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญกาหนดข้อห้ามมิให้แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญขึ้น เองตามอำเภอใจ หากปล่อยให้ศาลรัฐธรรมนูญกระทำการในลักษณะเช่นนี้ต่อไปได้ ย่อมส่งผลให้ศาลรัฐธรรมนูญกลายเป็นผู้มีอำนาจในการตัดสินใจว่าบทบัญญัติของ รัฐธรรมนูญเรื่องใดสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้และบทบัญญัติในเรื่องใดไม่ สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้
ถึงแม้ว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างมากจะเห็นว่า ควรคงรูปแบบของวุฒิสภาคงเดิมไว้คือ ให้มีสมาชิกวุฒิสภาส่วนหนึ่งมีที่มาจากการสรรหา ก็เป็นความคิดเห็นและรสนิยมทางการเมืองของตุลาการผู้นั้น ซึ่งอาจโต้แย้งถกเถียงกันได้ แต่ตุลาการศาลรัฐธรรมจะเอาความคิดเห็นและรสนิยมทางการเมืองของตน เข้าแทนที่บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแล้วนำมาวินิจฉัยชี้ขาดคดีไปตามความคิดเห็น และรสนิยมทางการเมืองของตนมิได้ หากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญต้องการปกป้องรูปแบบที่เป็นอยู่ของวุฒิสภา ก็ต้องละทิ้งสถานะความเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและไปรณรงค์ร่วมกับฝ่ายเสียง ข้างน้อยตามวิถีทางประชาธิปไตย
นอกจากนั้น ที่ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่ารัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๕๐ แก้ไขคุณสมบัติของสมาชิกวุฒิสภาโดยห้ามมิให้เป็นบุพการี คู่สมรสหรือบุตรของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ก็เพื่อให้สมาชิกวุฒิสภาเป็นอิสระจากการเมืองและพรรคการเมือง และเพื่อให้เกิดการตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎร อันเป็นข้อบกพร่องของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๔๐ การที่สมาชิกรัฐสภาตามคำร้องในคดีนี้แก้ไขคุณสมบัติของสมาชิกวุฒิสภาโดยตัด ลักษณะต้องห้ามดังกล่าวออกไป เป็นการทำให้วุฒิสภากลับกลายไปเป็นสภาญาติพี่น้อง สภาครอบครัว หรือสภาผัวเมีย สูญสิ้นสถานะและศักยภาพแห่งการเป็นสติปัญญาให้แก่สภาผู้แทนราษฎร ทำลายสาระสาคัญของการมีสองสภา เปิดช่องให้ผู้ร่วมกระทำการซึ่งถูกร้องในคดีนี้ได้อำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการที่ไม่ได้เป็นไปตามวิถีทางที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้นั้น เห็นว่าประเด็นคุณสมบัติของสมาชิกวุฒิสภาหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมิใช่หลัก การพื้นฐานของรัฐธรรมนูญอันจะแก้ไขมิได้เหมือนกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรูปของ รัฐหรือระบอบการปกครองของประเทศซึ่งต้องห้ามตามมาตรา ๒๙๑ (๑) วรรคสอง นอกจากนี้ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่วางอยู่บนเหตุผลข้างต้นก็ไม่อาจยืนยันได้ว่า ข้อเท็จจริงจะเป็นเช่นนั้นแน่นอนเสมอไป เพราะวุฒิสภาก็เป็นเช่นเดียวกับสภาผู้แทนราษฎรที่อาจจะมีบุพการี คู่สมรสหรือบุตรของสมาชิกต่างสภาหรือสภาเดียวกันลงสมัครแข่งขันรับเลือกตั้ง ในช่วงเวลาเดียวกันหรือไม่ก็ได้ และเมื่อการลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสิทธิเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ให้ แก่ประชาชนชาวไทย การที่ศาลรัฐธรรมนูญอาศัยการให้เหตุผลเช่นนี้มาเป็นฐานในการวินิจฉัยว่าการ แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไม่ชอบด้วยมาตรา ๖๘ วรรคหนึ่ง จึงเข้าลักษณะเป็นการใช้จินตนาการเรื่องราวที่อาจเกิดหรือไม่เกิดขึ้นใน อนาคตมากกว่าข้อเท็จจริงแห่งคดี นอกจากนี้ยังเป็นการคาดเดาล่วงหน้าว่าประชาชนจะเลือกบุคคลใดเป็นสมาชิก วุฒิสภาและดูหมิ่นเหยียดหยามประชาชนว่าไม่มีความรู้ความสามารถและวิจารณญาณ ในการเลือกบุคคลมาเป็นสมาชิกวุฒิสภา
นอกจากที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญยังได้วินิจฉัยว่าการที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญโดย กำหนดให้กระบวนการตรากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสภา ๑๐ ผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาที่จะบัญญัติขึ้นใหม่ เมื่อผ่านการพิจารณาของรัฐสภาแล้ว ให้ดาเนินการประกาศใช้บังคับต่อไปตามขั้นตอนของรัฐธรรมนูญโดยไม่ต้องส่งร่าง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าวไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาตรวจสอบ เสียก่อน เป็นการกระทำที่ขัดกับหลักการถ่วงดุลและคานอำนาจ ทำให้ฝ่ายการเมืองออกกฎหมายได้ตามชอบใจ
เห็นว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในส่วนนี้เป็นคำวินิจฉัยที่เห็นได้ชัดว่าขัดกับ รัฐธรรมนูญ เนื่องจากการที่รัฐสภาซึ่งทรงอำนาจแก้ไขรัฐธรรมนูญจะใช้อำนาจดังกล่าวกำหนด กฎเกณฑ์ให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา หรือไม่ อย่างไร ย่อมถือเป็นดุลพินิจของรัฐสภาผู้ทรงอำนาจแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ยิ่งไปกว่านั้นการวินิจฉัยในประเด็นนี้ก็เป็นการวินิจฉัยที่ศาลรัฐธรรมนูญมี ส่วนได้เสียโดยตรงอีกด้วย เพราะเป็นการวินิจฉัยการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับอำนาจ หน้าที่ของตนเอง
โดยเหตุที่คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในเรื่องนี้เป็นคำวินิจฉัยที่ขัดกับ รัฐธรรมนูญอย่างชัดแจ้ง เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยคดี คำวินิจฉัยนี้จึงเสียเปล่าและไม่มีผลทางกฎหมายผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐแต่อย่างใด
ในส่วนของร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมเรื่องการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งได้มีการนำขึ้นทูลเกล้าฯไปแล้วเพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และในขณะนี้อยู่ในระหว่างการรอลงพระปรมาภิไธยนั้น แม้ศาลรัฐธรรมนูญจะได้วินิจฉัยโดยปราศจาอำนาจว่าร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่ม เติมนี้มีปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการตราและเนื้อหา ในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญก็ไม่ปรากฏว่าศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยถึง สถานะของร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวไว้แต่อย่างใด ด้วยเหตุนี้ ในกรณีที่พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยในร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ดังกล่าว และเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ย่อมใช้บังคับเป็นกฎหมายได้ ในกรณีที่พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยและพระราชทานคืนมายังรัฐสภา หรือเมื่อพ้น ๙๐ วันแล้วไม่ได้พระราชทานคืนมา รัฐสภาต้องนำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมนั้นมาพิจารณาใหม่ ถ้ารัฐสภามีมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนไม่น้อยกว่า ๒ ใน ๓ ของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมนั้นขึ้นทูลเกล้าฯถวายอีก ครั้งหนึ่ง หากพระมหากษัตริย์ไม่ทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทานคืนมาภายใน ๓๐ วัน ให้นายกรัฐมนตรีนำรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมนั้นประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้
สมควรกล่าวด้วยว่า แม้คำวินิจฉัยนี้จะไม่มีผลทางกฎหมาย แต่เมื่อศาลรัฐธรรมนูญได้อ่าน “คำวินิจฉัย” ที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้ออกสู่สาธารณะแล้ว บรรดากลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ ทางการเมืองย่อมฉวยโอกาสนาคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าจะทั้งฉบับหรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใด ไปใช้เป็นเครื่องมือในการเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ที่ ตนต้องการได้
หากองค์กรของรัฐทั้งหลายยอมรับให้คำวินิจฉัยนี้มีผลในทางกฎหมาย ย่อมส่งผลกระทบต่อระบอบประชาธิปไตย การแบ่งแยกอำนาจอย่างมีดุลยภาพ ทำให้รัฐสภาไม่สามารถแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามเจตจำนงของ ประชาชนได้ ประการสาคัญ ย่อมมีผลทำให้ศาลรัฐธรรมนูญกลายเป็นผู้มีอำนาจในการอนุญาตว่าการแก้ไขเพิ่ม เติมรัฐธรรมนูญจะทำได้หรือไม่ เพียงใด ซึ่งเท่ากับศาลรัฐธรรมนูญได้สถาปนาตนเองขึ้นเป็นองค์กรที่มีอำนาจสูงสุดเด็ด ขาดเหนือองค์กรทั้งปวงของรัฐ และประเทศไทยจะกลายเป็น “รัฐตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ” ในที่สุด
คณะนิติราษฎร์เห็นว่า การกระทำทั้งหลายทั้งปวงของศาลรัฐธรรมนูญในคดีนี้ นอกจากจะไม่มีผลเป็นการช่วยยุติความขัดแย้งระหว่างเสียงข้างมากและเสียงข้าง น้อยในสังคมแล้ว ยังเป็นชนวนก่อให้เกิดวิกฤติในทางรัฐธรรมนูญ อันนามาซึ่งความปั่นป่วนวุ่นวายต่อระบบกฎหมายและสถาบันทางการเมือง จนยากแก่การเยียวยาให้กลับฟื้นคืนดีได้ในอนาคต
คณะนิติราษฎร์ : นิติศาสตร์เพื่อราษฎร
๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๖.
ภาพ: ประชาไท |
ภาพ: ประชาไท |
ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยเมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๖ กรณีรัฐสภาแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๑๑ มาตรา ๑๑๒ มาตรา ๑๑๕ มาตรา ๑๑๖ มาตรา ๑๑๗ มาตรา ๑๑๘ มาตรา ๑๒๐ มาตรา ๒๔๑ วรรคหนึ่ง และยกเลิกมาตรา ๑๑๓ และมาตรา ๑๑๔ ซึ่งเกี่ยวกับการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา และมีผู้ร้องมายังศาลรัฐธรรมนูญว่า การแก้ไขเพิ่มรัฐธรรมนูญดังกล่าวเป็นการกระทำการเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตาม วิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนั้น คณะนิติราษฎร์พิจารณาแล้ว มีความเห็นต่อคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าว ดังนี้
- ๑. -
ศาลรัฐธรรมนูญซึ่งได้รับการจัดตั้งขึ้นโดยรัฐธรรมนูญนั้น เป็นองค์กรของรัฐที่จัดอยู่ในหมวดศาล ซึ่งหมายความว่าศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการเหมือนกับศาลอื่น ศาลรัฐธรรมนูญจะมีอานาจหน้าที่ในเรื่องใดนั้นย่อมเป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญ กำหนด ศาลรัฐธรรมนูญไม่สามารถก่อตั้งอำนาจของตนขึ้นด้วยตัวเองได้ ในการพิจารณาพิพากษาคดีศาลรัฐธรรมนูญต้องสำรวจตรวจสอบในเบื้องต้นเสียก่อน ว่าคดีที่มีผู้ร้องมานั้นอยู่ในเขตอำนาจที่ตนจะรับไว้พิจารณาหรือไม่ หากไม่มีบทบัญญัติใดของรัฐธรรมนูญให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญในการพิจารณาพิพากษา คดีในเรื่องนั้นแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญย่อมไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนั้น หากต้องการให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจเช่นนั้น ย่อมจะต้องแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจเสียก่อน หลักการดังกล่าวนี้มีขึ้นเพื่อให้เกิดการดุลและคานอำนาจตามหลักนิติรัฐและ หลักประชาธิปไตย
อย่างไรก็ตาม ในคำวินิจฉัยเมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ ศาลรัฐธรรมนูญหาได้วินิจฉัยอำนาจหน้าที่ของตนไปตามหลักการข้างต้นไม่ แต่กลับอ้างอิงหลักการคุ้มครองเสียงข้างน้อยและหลักการตรวจสอบถ่วงดุลอย่าง ผิดพลาดคลาดเคลื่อนเพื่อสร้างความชอบธรรมให้แก่ตนเอง และใช้การอ้างอิงที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อนดังกล่าวนั้นไปเชื่อมโยงกับ “หลักนิติธรรม” ตามมาตรา ๓ วรรคสองเพื่อสถาปนาอำนาจของตนเองในการตรวจสอบการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ผ่านบทบัญญัติมาตรา ๖๘ ซึ่งไม่ใช่เป็นบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญในอันที่จะ ตรวจสอบการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด
คณะนิติราษฎร์เห็นว่า สาระสาคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย คือ อำนาจสูงสุดของประเทศเป็นของประชาชน การแสดงออกซึ่งอำนาจของประชาชนนั้นอาจเป็นการใช้อำนาจโดยตรง การใช้อำนาจโดยผู้แทน และการใช้อำนาจผ่านองค์กรของรัฐซึ่งมีจุดเชื่อมโยงกับประชาชน อย่างไรก็ตามประชาชนประกอบด้วยบุคคลจำนวนมากซึ่งมีเจตจำนงทางการเมืองและ ความคิดเห็นตลอดจนผลประโยชน์ที่แตกต่างกันออกไป การค้นหาเจตจำนงของประชาชนเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อยุติโดยความเห็นพ้องต้องกัน ของทุกคนโดยเอกฉันท์ในทุกเรื่องย่อมเป็นไปไม่ได้ ระบอบประชาธิปไตยจึงจำเป็นต้องคิดค้นวิธีการให้ได้มาซึ่งข้อยุติ นั่นคือ การถือเอาเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ในการตัดสิน อย่างไรก็ตาม ระบอบประชาธิปไตยต้องคุ้มครองเสียงข้างน้อยด้วย เพื่อให้ข้อยุติที่ได้จากเสียงข้างมากนั้นเป็นไปอย่างมีเหตุมีผล ทั้งนี้ การคุ้มครองเสียงข้างน้อยหมายถึงการเปิดโอกาสให้เสียงข้างน้อยได้แสดงความ คิดเห็นโน้มน้าวใจให้บุคคลอื่นเห็นด้วยกับตน เพื่อที่ความเห็นของเสียงข้างน้อยที่มีเหตุมีผลจะได้มีโอกาสในการเป็นเสียง ข้างมากในวันใดวันหนึ่ง แต่ไม่ได้หมายความว่าเสียงข้างมากจะต้องยอมตามเสียงข้างน้อยตลอดเวลา
ศาลรัฐธรรมนูญเป็นกลไกหนึ่งที่สร้างหลักประกันให้เสียงข้างน้อยได้ใช้เป็น ช่องทางในการตรวจสอบเสียงข้างมาก แต่ในการปฏิบัติหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญนั้นไม่ได้หมายความว่าศาลรัฐธรรมนูญ จะต้องช่วยสนับสนุนให้เสียงข้างน้อยบรรลุเป้าหมายตามที่ต้องการเสมอ ตามหลักของการจัดโครงสร้างองค์กรของรัฐตามรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้มีฐานะเป็น “ผู้แทน” ของเสียงข้างน้อย แต่ศาลรัฐธรรมนูญเป็น “คนกลาง” ซึ่งมีหน้าที่ต้องคุ้มครองเจตจำนงของเสียงข้างมากและประกันเสรีภาพของเสียง ข้างน้อย ทั้งนี้ตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติมอบอำนาจไว้ อย่างไรก็ดี เมื่อพิเคราะห์คำวินิจฉัยนี้แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญได้พรรณนาหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย การตรวจสอบถ่วงดุล และการคุ้มครองเสียงน้อยอย่างยืดยาว และสรุปอย่างง่าย ๆ โดยนัยว่าเสียงข้างน้อย “ไม่มีที่อยู่ที่ยืน” โดยไม่ได้ยกข้อเท็จจริงใดมาสนับสนุนว่าในขณะนี้ไม่มีการตรวจสอบถ่วงดุลเสียง ข้างมากหรือไม่คุ้มครองเสียงข้างน้อยจน “ไม่มีที่อยู่ที่ยืน” อย่างไร กล่าวโดยจำเพาะเจาะจงกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนี้ หากเสียงข้างมากได้แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญให้สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือก ตั้งแล้วเสียงข้างน้อยไม่เห็นด้วย เสียงข้างน้อยก็ยังคงมีโอกาสในการรณรงค์ในการเลือกตั้งเพื่อให้ตนเป็นเสียง ข้างมากและกลับมาแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามความต้องการของตนที่ ต้องสอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตยได้ ไม่มีบทบัญญัติใดเลยที่บังคับว่าสมาชิกวุฒิสภาจะต้องมาจากการเลือกตั้งในรูป แบบที่ฝ่ายเสียงข้างมากได้ดำเนินการแก้ไขไปตลอดกาล
นอกจากที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญสมควรต้องตระหนักและสำนึกว่าการออกแบบโครงสร้างของสถาบันการ เมืองว่าจะมีลักษณะอย่างไรนั้นเป็นเรื่องของประชาชนและองค์กรทางการเมืองที่ มีความชอบธรรมทางประชาธิปไตย หาใช่หน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญในอันที่จะกำหนดโครงสร้างของสถาบันการเมืองให้ เป็นไปตามทัศนะของตนไม่
ในคำวินิจฉัยนี้ ที่ศาลรัฐธรรมนูญกล่าวอ้าง “หลักนิติธรรม” อย่างเลื่อนลอยเพื่อสร้างอำนาจให้ตนเองเข้าควบคุมขัดขวางเสียงข้างมากจนทา ให้ความต้องการของเสียงข้างน้อยบรรลุผล จึงมิใช่การปรับใช้ “หลักนิติธรรม” เพื่อคุ้มครองเสียงข้างน้อย แต่เป็นการช่วยเหลือเสียงข้างน้อย จนมีผลทำลายเจตจำนงของเสียงข้างมาก รังแกเสียงข้างมาก เบียดขับให้เสียงข้างมาก “ไม่มีที่อยู่ที่ยืน” และสถาปนา “เผด็จการของเสียงข้างน้อย” ขึ้นในที่สุด
- ๒. -
ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญอ้าง “หลักนิติธรรม” ตามมาตรา ๓ วรรคสองเพื่อสถาปนาอำนาจของตนเองในการตรวจสอบการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ผ่านมาตรา ๖๘ นั้น หากพิจารณาจากถ้อยคำของบทบัญญัติในมาตรา ๖๘ แล้ว เห็นได้ว่า มาตรา ๖๘ เป็นกรณีที่มีบุคคลหรือพรรคการเมืองใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อ ล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐ ธรรมนูญหรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้ เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ หากมีผู้ทราบเรื่องดังกล่าว ผู้นั้นสามารถเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอ ให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว เหตุแห่งการเสนอคำร้องตามมาตรา ๖๘ จึงต้องเป็นกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใช้สิทธิและเสรีภาพกระทำการ แต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคดีนี้เป็นกรณีที่รัฐสภาใช้อำนาจแก้ไขเพิ่มเติมรัฐ ธรรมนูญในฐานะองค์กรผู้ทรงอำนาจแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มิใช่กรณีที่ “บุคคล” หรือ “พรรคการเมือง” ใช้ “สิทธิและเสรีภาพ” ตามที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้แต่อย่างใดรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๖๘ วรรคสอง กำหนดให้บุคคลมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำ ร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย หมายความว่า บุคคลต้องเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดก่อน ภายหลังอัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วเห็นว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวมีมูล อัยการสูงสุดจึงยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตาม ในคดีนี้ไม่ได้มีการยื่นคำร้องผ่านอัยการสูงสุด แต่เป็นการยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญ และศาลรัฐธรรมนูญก็รับคำร้องไว้พิจารณาทั้ง ๆ ที่ตามข้อเท็จจริง ผู้ร้องไม่ได้เสนอเรื่องผ่านอัยการสูงสุดตามขั้นตอนที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ ไว้
ในคำวินิจฉัยนี้ ศาลรัฐธรรมนูญได้ตำหนิว่า รัฐสภาได้ดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเรื่องการได้มาซึ่งสมาชิก วุฒิสภาโดยไม่ชอบด้วยกระบวนการขั้นตอน แต่เมื่อพิจารณาการรับคำร้องในคดีนี้ของศาลรัฐธรรมนูญแล้ว จะเห็นได้ว่าเป็นศาลรัฐธรรมนูญเองต่างหากที่ไม่เคารพกระบวนการขั้นตอนก่อน การยื่นคำร้องดังที่บัญญัติไว้ตามมาตรา ๖๘ อีกทั้งคำร้องที่ศาลรัฐธรรมนูญรับไว้ยังเป็นเรื่องเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่ม เติมรัฐธรรมนูญซึ่งไม่ได้เป็นการใช้สิทธิและเสรีภาพกระทาการของบุคคลอันเป็น วัตถุแห่งคดีตามบทบัญญัติในมาตรา ๖๘ แต่ประการใด
ด้วยเหตุผลทั้งปวงที่กล่าวมาข้างต้น จึงเป็นที่ประจักษ์ชัดว่าศาลรัฐธรรมนูญจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดหรือแย้งกับ รัฐธรรมนูญสถาปนาอำนาจพิจารณาวินิจฉัยคดีนี้ขึ้นมาเอง โดยที่ไม่มีอานาจรับคำร้องดังกล่าวไว้ จึงเป็นการขยายแดนอำนาจออกไปจนศาลรัฐธรรมนูญกลายเป็นองค์กรที่อยู่เหนือรัฐ ธรรมนูญและอยู่เหนือองค์กรทั้งปวงของรัฐ มีผลเป็นการทาลายหลักนิติรัฐประชาธิปไตยลง ก่อให้เกิดสภาวการณ์ที่ศาลรัฐธรรมนูญมีอานาจสูงสุดเด็ดขาด ความร้ายแรงดังกล่าวย่อมส่งผลให้คาวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญนี้เสียเปล่าและไม่ มีผลใด ๆ ในทางกฎหมาย
- ๓. -
นอกจากจะปรากฏว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้แล้ว ในการดำเนินกระบวนพิจารณายังปรากฏความบกพร่องในส่วนที่เกี่ยวกับองค์คณะของ ตุลาการผู้พิจารณาคดีอีกด้วย กล่าวคือ ในชั้นของการรับคำร้องไว้พิจารณานั้น นายทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ ตุลาการผู้หนึ่งที่นั่งพิจารณาคดียังไม่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรณีย่อมต้องถือว่านายทวีเกียรติไม่ได้เป็นตุลาการในองค์คณะที่รับคำร้องคดี นี้ไว้พิจารณา เมื่อนายทวีเกียรติไม่ได้เป็นตุลาการในองค์คณะที่รับคำร้องไว้ จึงย่อมไม่สามารถร่วมวินิจฉัยชี้ขาดคดีที่ได้เริ่มต้นไปแล้วก่อนที่ตนจะเป็น ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้ การออกเสียงลงในคะแนนในประเด็นแห่งคดีของนายทวีเกียรติจึงไม่ชอบด้วยหลัก กฎหมายวิธีพิจารณาคดีรัฐธรรมนูญ เนื่องจากหากยอมให้ตุลาการที่ไม่ได้เป็นองค์คณะในชั้นรับคำร้องไว้พิจารณา ได้เข้าร่วมเป็นองค์คณะในชั้นวินิจฉัยคดี กรณีอาจส่งผลให้มติในคดีเปลี่ยนแปลงไปได้นอกจากจะปรากฏปัญหาความบกพร่องในส่วนที่เกี่ยวกับองค์คณะที่รับคำร้องไว้ พิจารณาแล้ว ยังปรากฏว่าตุลาการอีกสามคน คือ นายนุรักษ์ มาประณีต นายจรัญ ภักดีธนากุล เคยดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญและกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ และนายสุพจน์ ไข่มุกด์ เคยดำรงตำแหน่งเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนายจรัญ ภักดีธนากุล ได้เคยอภิปรายในการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ ๓๐/๒๕๕๐ (เป็นพิเศษ) วันศุกร์ที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๐ แสดงความคิดเห็นสนับสนุนการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาโดยวิธีการสรรหา และแสดงทัศนะที่เป็นปฏิปักษ์อย่างชัดแจ้งต่อการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาโดย วิธีการเลือกตั้ง ดังนั้น จึงถือได้ว่า นายจรัญ ภักดีธนากุลมีเหตุซึ่งมีสภาพร้ายแรงอันอาจทำให้การพิจารณาคดีไม่เป็นกลาง นายจรัญ ภักดีธนากุลจึงไม่สามารถเข้าร่วมเป็นองค์คณะในการวินิจฉัยคดีนี้ได้ โดยสามัญสานึกของความเป็นตุลาการ และจริยธรรมแห่งวิชาชีพ นายจรัญ ภักดีธนากุลย่อมต้องถอนตัวออกจากการเข้าร่วมเป็นองค์คณะ ดังที่ได้กระทำมาแล้วในการพิจารณาคดีในคำวินิจฉัยที่ ๑๘-๒๒/๒๕๕๕
โดยเหตุที่นายทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ และนายจรัญ ภักดีธนากุล ได้ลงมติเป็นเสียงข้างมาก ๕ ต่อ ๔ เสียงในประเด็นที่ว่าเนื้อหาของการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเป็นการฝ่าฝืน มาตรา ๖๘ วรรค ๑ ดังนั้น หาก ๕ นายทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ และนายจรัญ ภักดีธนากุล ไม่สามารถเข้าร่วมเป็นองค์คณะในการพิจารณาคดีนี้ได้จึงย่อมทำให้มติเสียง ข้างมากดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปกลายเป็นเสียงข้างน้อยคือ ๓ ต่อ ๔ เสียง
- ๔. –
ในประเด็นที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การดำเนินการเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม เพื่อให้รัฐสภาพิจารณาในวาระที่ ๑ ขั้นรับหลักการ เป็นไปโดยมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๙๑ วรรคหนึ่ง เพราะเหตุที่ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมที่เสนอนั้น ไม่ใช่ร่างที่นายอุดมเดช รัตนเสถียร และคณะ ยื่นต่อสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๖ แต่เป็นร่างที่จัดทำขึ้นใหม่โดยมีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๑๙๖ วรรคสอง และมาตรา ๒๔๑ วรรคหนึ่ง จนมีผลให้ผู้เคยดารงตาแหน่งสมาชิกวุฒิสภาที่สมาชิกภาพสิ้นสุดลงสามารถสมัคร เป็นสมาชิกวุฒิสภาได้อีกโดยไม่ต้องรอให้พ้นระยะเวลา ๒ ปี ซึ่งถือเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงที่ขัดกับหลักการของร่างเดิม จึงจำเป็นต้องมีสมาชิกรัฐสภาร่วมลงชื่อเพื่อยื่นเสนอมาเป็นร่างใหม่ เมื่อการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในกรณีนี้ไม่มีการเสนอมาเป็นร่างใหม่ ย่อมส่งผลให้การเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมครั้งนี้ไม่ชอบด้วยรัฐ ธรรมนูญมาตรา ๒๙๑ วรรคหนึ่งนั้นตามกระบวนการพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ หลังจากที่มีผู้ยื่นญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญต่อประธานรัฐสภาแล้ว จะมีการตรวจสอบความถูกต้องของร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมโดยสำนักงาน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งในชั้นนี้อาจมีการแก้ไขเพิ่มเติมได้ และเมื่อมีการแก้ไขเพิ่มเติมแล้วประธานรัฐสภาจะบรรจุร่างดังกล่าวเข้าสู่ วาระการประชุมของรัฐสภา ตามข้อเท็จจริงในคดีนี้ หลังจากที่ประธานรัฐสภาบรรจุร่างดังกล่าวเข้าสู่วาระการประชุมของรัฐสภาแล้ว ไม่ปรากฏว่ามีการแก้ไขหลังจากนั้นอีกแต่อย่างใด ทั้งนี้ประธานรัฐสภาได้ส่งร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวไปให้สมาชิก รัฐสภาทุกคนและสมาชิกรัฐสภาทุกคนก็ได้ใช้ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมดัง กล่าวเป็นฐานในการพิจารณาลงมติวาระที่ ๑ ขั้นรับหลักการ ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงใดที่แสดงให้เห็นว่าสมาชิกรัฐสภาคนใดใช้ร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติมฉบับอื่นนอกจากฉบับที่ประธานรัฐสภาได้ส่งไปให้ในการพิจารณาลง มติ และไม่ปรากฏข้อเท็จจริงอีกเช่นกันว่าสมาชิกรัฐสภาผู้เข้าชื่อยื่นญัตติแก้ไข เพิ่มเติมรัฐธรรมนูญโต้แย้งว่าร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมซึ่งเป็นฐานใน การพิจารณานั้นไม่ใช่ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมที่ตนร่วมเสนอ กรณีจึงถือไม่ได้ว่ากระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในส่วนนี้มีความ บกพร่อง
- ๕. -
ประเด็นการกำหนดวันในการแปรญัตติของสมาชิกรัฐสภาภายหลังการรับหลักการในวาระ ที่ ๑ นั้น เมื่อพิจารณาตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๓ ข้อ ๙๖ ได้กาหนดให้สมาชิกรัฐสภาที่เห็นควรแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่ม เติม ให้สมาชิกผู้นั้นเสนอคำแปรญัตติล่วงหน้าเป็นหนังสือต่อ ๖ ประธานคณะกรรมาธิการภายในกำหนดเวลาสิบห้าวันนับแต่วันถัดจากวันที่รัฐสภารับ หลักการแห่งร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม เว้นแต่รัฐสภาจะได้กำหนดระยะเวลาในการแปรญัตติไว้เป็นอย่างอื่นกรณีตามข้อเท็จจริงปรากฏว่าในการประชุมของรัฐสภาเมื่อวันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๕๖ ได้มีการลงมติให้ใช้กำหนดเวลาในการเสนอคำแปรญัตติภายใน ๑๕ วันตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๓ ข้อ ๙๖ ไม่ได้มีการลงมติให้กาหนดระยะเวลาในการแปรญัตติไว้เป็นอย่างอื่น ดังนั้นระยะเวลาในการเสนอคำแปรญัตติจึงเป็นไปตามที่ข้อบังคับการประชุมได้กา หนดเอาไว้ คือ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันถัดจากวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๖ ซึ่งเป็นวันที่รัฐสภารับหลักการแห่งร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม และสิ้นสุดในวันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๕๖ โดยระยะเวลาสิ้นสุดนั้นเป็นไปตามผลของข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๓ ข้อ ๙๖ ไม่ได้เกิดจากการใช้อำนาจของประธานรัฐสภาให้มีการนับเวลาย้อนหลังตามที่ศาล รัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยแต่อย่างใด นอกจากนี้สิทธิในการแปรญัตติของสมาชิกรัฐสภานั้นได้เริ่มขึ้นทันทีนับแต่วัน ถัดจากวันที่รัฐสภารับหลักการโดยผลแห่งข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งสมาชิกรัฐสภาสามารถที่จะเสนอคำแปรญัตติได้ตลอดเวลาจนถึงระยะเวลาสิ้นสุด ในวันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๕๖ เป็นระยะเวลาทั้งสิ้น ๑๕ วัน ไม่ใช่มีเวลาให้สมาชิกรัฐสภาเสนอคำแปรญัตติเพียง ๑ วันดังที่ศาลรัฐธรรมนูญได้กล่าวไว้ ทั้งตามข้อเท็จจริงยังปรากฏชัดเจนว่ามีสมาชิกรัฐสภาได้เสนอคำแปรญัตติเป็น จานวน ๒๐๒ คน อันแสดงให้เห็นว่าการนับระยะเวลาดังกล่าวนั้นไม่ได้มีผลกระทบต่อการทำ หน้าที่ของสมาชิกรัฐสภาแต่อย่างใด การใช้อำนาจของประธานรัฐสภาและประธานวุฒิสภาจึงเป็นการดำเนินกิจการไปตามข้อ บังคับ ซึ่งชอบด้วยรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๒๕ แล้ว
สำหรับการตัดสิทธิผู้ขอแปรญัตติ ผู้สงวนคำแปรญัตติ และผู้สงวนความเห็นในการอภิปรายวาระที่ ๒ เป็นจำนวน ๕๗ คนนั้น เมื่อพิจารณาเนื้อหาคำเสนอแปรญัตติของบรรดาสมาชิกรัฐสภาที่ถูกตัดสิทธินั้น เห็นได้ชัดเจนว่าขัดต่อหลักการแห่งร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมที่ผ่านความ เห็นชอบในวาระที่ ๑ มาแล้ว จึงเป็นการเสนอคำแปรญัตติที่ต้องห้ามตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๓ ข้อ ๙๖ วรรค ๓ การไม่ให้สิทธิแก่สมาชิกจานวน ๕๗ คนในกรณีนี้จึงมิใช่การกระทำที่ไม่ชอบด้วยข้อบังคับและรัฐธรรมนูญแต่อย่าง ใด
สมควรกล่าวด้วยว่า เมื่อพิจารณาคาวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในประเด็นนี้ พบว่ามีปัญหาในการหยิบยกข้อเท็จจริงและอ้างข้อกฎหมายอย่างยิ่ง ศาลรัฐธรรมนูญอ้างว่า “การนับระยะเวลาในการแปรญัตติย่อมไม่อาจนับเวลาย้อนหลังได้ แต่ต้องนับตั้งแต่วันที่ที่ประชุมมีมติเป็นต้นไป การเริ่มนับระยะเวลาย้อนหลังไปจนทำให้เหลือระยะเวลาขอแปรญัตติเพียง ๑ วัน เป็นการดำเนินที่ขัดต่อข้อบังคับการประชุมและไม่เป็นกลาง จึงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๒๕ วรรค ๑ และวรรค ๒ ทั้งขัดต่อหลักนิติธรรมตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๓ วรรค ๒ ด้วย”โดยศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้อธิบายว่าข้อบังคับการประชุมฯข้อใดที่กำหนดว่า การนับระยะเวลาในการแปรญัตติต้องนับตั้งแต่วันที่ที่ประชุมมีมติเป็นต้นไป ตรงกันข้าม ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๓ ข้อ ๙๖ วรรคแรก บัญญัติว่า “การพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไข ๗ เพิ่มเติมขั้นคณะกรรมาธิการ สมาชิกรัฐสภาผู้ใดเห็นควรแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ให้เสนอคำแปรญัตติล่วงหน้าเป็นหนังสือต่อประธานคณะกรรมาธิการภายในกำหนดเวลา สิบห้ำวันนับแต่วันถัดจากวันที่รัฐสภารับหลักการแห่งร่างรัฐธรรมนูญแก้ไข เพิ่มเติม เว้นแต่รัฐสภาจะได้กำหนดระยะเวลาในการแปรญัตติไว้เป็นอย่างอื่น” กรณีนี้ จะเห็นได้ว่ารัฐสภาได้ดำเนินการตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา แต่ศาลรัฐธรรมนูญกลับวินิจฉัยว่าการดำเนินการของรัฐสภาขัดกับข้อบังคับดัง กล่าว โดยที่ไม่ปรากฏข้อบังคับข้อใดเลยกำหนดให้นับระยะเวลาตามแบบที่ศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวอ้าง คำวินิจฉัยในประเด็นนี้จึงปราศจากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่ยกขึ้น อ้างอิง มีผลให้คำวินิจฉัยนี้ขัดกับรัฐธรรมนูญมาตรา ๒๑๖ วรรค ๔ เท่ากับว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาดคดีนี้ไปตามอำเภอใจ ไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดคดีนี้ไปตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายดังที่รัฐธรรมนูญ บัญญัติไว้ให้เป็นหน้าที่ของศาลตามมาตรา ๑๙๗ วรรคแรก
- ๖. -
ในประเด็นเรื่องการเสียบบัตรแทนกัน ศาลรัฐธรรมนูญได้กล่าวว่ามติของรัฐสภาในการพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐ ธรรมนูญนั้นเป็นมติที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ จากกรณีที่มีการสืบพยานของฝ่ายผู้ร้องว่ามีสมาชิกรัฐสภาผู้หนึ่งได้แสดงตน และลงมติในที่ประชุมรัฐสภามากกว่าหนึ่งครั้ง โดยเป็นการใช้สิทธิลงคะแนนแทนสมาชิกรัฐสภาผู้อื่นที่ไม่ได้อยู่ในที่ประชุม ดังนั้นจึงเป็นการดำเนินการที่ขัดต่อหลักการปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริต และขัดต่อหลักการที่ให้สมาชิกคนหนึ่งมีเพียงหนึ่งเสียงในการลงคะแนนตามที่ รัฐธรรมนูญได้บัญญัติไว้ สาหรับคำวินิจฉัยในส่วนนี้ สมควรชี้ให้เห็นเป็นข้อสังเกตว่า ข้อเท็จจริงที่ศาลรัฐธรรมนูญใช้เป็นฐานในการพิจารณานั้น เป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาจากผู้ร้อง และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับคดี โดยที่ไม่ได้มีการรับฟังข้อเท็จจริงจากผู้ถูกร้อง ทั้งนี้ เนื่องจากผู้ถูกร้องปฏิเสธอานาจในการพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญในคดีนี้ จึงไม่ได้เข้ามาในกระบวนพิจารณา ดังนั้น ข้อเท็จจริงที่ศาลฟังเป็นยุติดังกล่าวจึงเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ผ่านการ โต้แย้ง หรือถูกหักล้างจากผู้ถูกร้อง และอาจมีความคลาดเคลื่อนได้ อย่างไรก็ตาม แม้ข้อเท็จจริงจะเป็นไปตามที่ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยไว้จริง คือ มีการแสดงตนและเสียบบัตรแทนกันโดยสมาชิกรัฐสภา ศาลรัฐธรรมนูญก็ยังคงมีหน้าที่ต้องพิสูจน์ว่าบุคคลที่ไม่อยู่ในที่ประชุม รัฐสภา ณ ขณะนั้นและให้ผู้อื่นลงมติแทนโดยการเสียบบัตรเป็นบุคคลใด และมีจำนวนเท่าใด ซึ่งย่อมทำให้การลงมติเฉพาะในนามของบุคคลนั้นมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญและไม่มีผล ทางกฎหมาย ส่วนบุคคลที่ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่าลงมติแทนผู้อื่นก็ย่อมต้องมีความรับผิด เป็นส่วนตัวตามกฎหมายต่อไป อย่างไรก็ดี การกระทำผิดของสมาชิกรัฐสภาเพียงบางคนย่อมไม่สามารถทำลายการแสดงเจตนาลงมติ โดยชอบด้วยรัฐธรรมนูญของสมาชิกรัฐสภาคนอื่น ๆ ที่ได้กระทำการไปในนามของผู้แทนปวงชนชาวไทย จนถึงขนาดทำให้กระบวนการลงมติของรัฐสภาในกรณีนี้กลายเป็นกระบวนการที่ไม่ชอบ ด้วยรัฐธรรมนูญได้ การที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้การกระทำผิดของสมาชิกรัฐสภาจำนวนเพียงเล็ก น้อยมีผลเป็นการทำลายการลงมติของสมาชิก ๘ รัฐสภาส่วนใหญ่ที่กระทำการโดยชอบเช่นนี้ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญจึงมีผลเป็นการทำลายการปฏิบัติหน้าที่โดยซื่อ สัตย์สุจริตของสมาชิกรัฐสภาคนอื่นซึ่งได้ดำเนินการตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๒๒ ลงในที่สุด- ๗. -
ในประเด็นที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การแก้ไขเรื่องที่มาและคุณสมบัติของสมาชิกวุฒิสภามีลักษณะเป็นการกระทำเพื่อ ให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่ บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนั้นเห็นว่าในระบอบประชาธิปไตย การออกแบบโครงสร้างสถาบันทางการเมืองตลอดจนองค์กรตามรัฐธรรมนูญย่อมเป็น อำนาจขององค์กรผู้ทรงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ คือ ประชาชน ในแง่นี้ ประชาชนย่อมเป็นผู้แสดงเจตจำนงกำหนดที่มา คุณสมบัติ และลักษณะของสถาบันการเมืองและองค์กรตามรัฐธรรมนูญทั้งหลาย ซึ่งประชาชนอาจใช้อำนาจนั้นโดยตรงผ่านการออกเสียงประชามติ หรือผ่านผู้แทน เช่น สภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือรัฐสภา ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจใด ๆ ในการเข้ามาชี้นำหรือกำหนดโครงสร้างของสถาบันการเมืองและองค์กรตามรัฐ ธรรมนูญ กล่าวโดยเฉพาะกับกรณีนี้ ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีหน้าที่ในการกำหนดบังคับไว้ในคำวินิจฉัยว่าประเทศไทยควร มีวุฒิสภาหรือไม่ หรือหากมีวุฒิสภา การได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาจะเป็นไปด้วยวิธีการใด
การที่สภาร่างรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ มีเจตจำนงให้สมาชิกวุฒิสภาส่วนหนึ่งมาจากการสรรหานั้น แม้ขณะนั้น สภาร่างรัฐธรรมนูญจะมีฐานะเป็นองค์กรผู้จัดทารัฐธรรมนูญ แต่การกำหนดให้ที่มาของบุคคลผู้จะได้ชื่อว่า “เป็นผู้แทนของปวงชนชาวไทย” มาจากการแต่งตั้งนั้น โดยรากฐานย่อมขัดแย้งกับหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย ซึ่งถือว่าการเลือกตั้งผู้แทนประชาชนเป็นสาระสาคัญของระบอบประชาธิปไตย แม้ว่าศาลรัฐธรรมนูญจะอ้างว่าการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาโดยวิธีการเลือกตั้ง ตามรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ ก่อให้เกิดปัญหาเรื่องการตรวจสอบถ่วงดุลจึงทำให้รัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ ได้เข้ามาแก้ไขโดยกาหนดให้สมาชิกวุฒิสภาส่วนหนึ่งมาจากการสรรหา และศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า การกำหนดไว้เช่นนี้เป็นเจตนารมณ์สาคัญของรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ ซึ่งส่งผลให้ไม่อาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ก็ตาม การกล่าวอ้างเช่นนี้ก็เป็นการกล่าวอ้างที่ไม่มีฐานของบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ รองรับ เนื่องจากหากผู้ร่างรัฐธรรมนูญประสงค์จะให้วุฒิสภาประกอบไปด้วยสมาชิก วุฒิสภาที่มาจากการสรรหาจานวนหนึ่งไปตลอดกาล ก็ต้องบัญญัติห้ามมิให้แก้ไขรัฐธรรมนูญในส่วนวิธีการได้มาของสมาชิกวุฒิสภา แต่เมื่อพิจารณาบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ แล้วจะเห็นได้ว่า มาตรา ๒๙๑ (๑) วรรคสอง ห้ามมิให้มีการเสนอญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเฉพาะกรณีที่มีผลเป็นการ เปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและ การเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐเท่านั้น การที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การแก้ไขวิธีการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาไม่อาจกระทาได้เนื่องจากเป็นการกระทำ เพื่อให้ได้มาซึ่งอานาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งไม่เป็นไปตามวิถีทาง ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ จึงเป็นกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญกาหนดข้อห้ามมิให้แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญขึ้น เองตามอำเภอใจ หากปล่อยให้ศาลรัฐธรรมนูญกระทำการในลักษณะเช่นนี้ต่อไปได้ ย่อมส่งผลให้ศาลรัฐธรรมนูญกลายเป็นผู้มีอำนาจในการตัดสินใจว่าบทบัญญัติของ รัฐธรรมนูญเรื่องใดสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้และบทบัญญัติในเรื่องใดไม่ สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้
ถึงแม้ว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างมากจะเห็นว่า ควรคงรูปแบบของวุฒิสภาคงเดิมไว้คือ ให้มีสมาชิกวุฒิสภาส่วนหนึ่งมีที่มาจากการสรรหา ก็เป็นความคิดเห็นและรสนิยมทางการเมืองของตุลาการผู้นั้น ซึ่งอาจโต้แย้งถกเถียงกันได้ แต่ตุลาการศาลรัฐธรรมจะเอาความคิดเห็นและรสนิยมทางการเมืองของตน เข้าแทนที่บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแล้วนำมาวินิจฉัยชี้ขาดคดีไปตามความคิดเห็น และรสนิยมทางการเมืองของตนมิได้ หากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญต้องการปกป้องรูปแบบที่เป็นอยู่ของวุฒิสภา ก็ต้องละทิ้งสถานะความเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและไปรณรงค์ร่วมกับฝ่ายเสียง ข้างน้อยตามวิถีทางประชาธิปไตย
นอกจากนั้น ที่ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่ารัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๕๐ แก้ไขคุณสมบัติของสมาชิกวุฒิสภาโดยห้ามมิให้เป็นบุพการี คู่สมรสหรือบุตรของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ก็เพื่อให้สมาชิกวุฒิสภาเป็นอิสระจากการเมืองและพรรคการเมือง และเพื่อให้เกิดการตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎร อันเป็นข้อบกพร่องของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๔๐ การที่สมาชิกรัฐสภาตามคำร้องในคดีนี้แก้ไขคุณสมบัติของสมาชิกวุฒิสภาโดยตัด ลักษณะต้องห้ามดังกล่าวออกไป เป็นการทำให้วุฒิสภากลับกลายไปเป็นสภาญาติพี่น้อง สภาครอบครัว หรือสภาผัวเมีย สูญสิ้นสถานะและศักยภาพแห่งการเป็นสติปัญญาให้แก่สภาผู้แทนราษฎร ทำลายสาระสาคัญของการมีสองสภา เปิดช่องให้ผู้ร่วมกระทำการซึ่งถูกร้องในคดีนี้ได้อำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการที่ไม่ได้เป็นไปตามวิถีทางที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้นั้น เห็นว่าประเด็นคุณสมบัติของสมาชิกวุฒิสภาหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมิใช่หลัก การพื้นฐานของรัฐธรรมนูญอันจะแก้ไขมิได้เหมือนกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรูปของ รัฐหรือระบอบการปกครองของประเทศซึ่งต้องห้ามตามมาตรา ๒๙๑ (๑) วรรคสอง นอกจากนี้ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่วางอยู่บนเหตุผลข้างต้นก็ไม่อาจยืนยันได้ว่า ข้อเท็จจริงจะเป็นเช่นนั้นแน่นอนเสมอไป เพราะวุฒิสภาก็เป็นเช่นเดียวกับสภาผู้แทนราษฎรที่อาจจะมีบุพการี คู่สมรสหรือบุตรของสมาชิกต่างสภาหรือสภาเดียวกันลงสมัครแข่งขันรับเลือกตั้ง ในช่วงเวลาเดียวกันหรือไม่ก็ได้ และเมื่อการลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสิทธิเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ให้ แก่ประชาชนชาวไทย การที่ศาลรัฐธรรมนูญอาศัยการให้เหตุผลเช่นนี้มาเป็นฐานในการวินิจฉัยว่าการ แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไม่ชอบด้วยมาตรา ๖๘ วรรคหนึ่ง จึงเข้าลักษณะเป็นการใช้จินตนาการเรื่องราวที่อาจเกิดหรือไม่เกิดขึ้นใน อนาคตมากกว่าข้อเท็จจริงแห่งคดี นอกจากนี้ยังเป็นการคาดเดาล่วงหน้าว่าประชาชนจะเลือกบุคคลใดเป็นสมาชิก วุฒิสภาและดูหมิ่นเหยียดหยามประชาชนว่าไม่มีความรู้ความสามารถและวิจารณญาณ ในการเลือกบุคคลมาเป็นสมาชิกวุฒิสภา
นอกจากที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญยังได้วินิจฉัยว่าการที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญโดย กำหนดให้กระบวนการตรากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสภา ๑๐ ผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาที่จะบัญญัติขึ้นใหม่ เมื่อผ่านการพิจารณาของรัฐสภาแล้ว ให้ดาเนินการประกาศใช้บังคับต่อไปตามขั้นตอนของรัฐธรรมนูญโดยไม่ต้องส่งร่าง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าวไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาตรวจสอบ เสียก่อน เป็นการกระทำที่ขัดกับหลักการถ่วงดุลและคานอำนาจ ทำให้ฝ่ายการเมืองออกกฎหมายได้ตามชอบใจ
เห็นว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในส่วนนี้เป็นคำวินิจฉัยที่เห็นได้ชัดว่าขัดกับ รัฐธรรมนูญ เนื่องจากการที่รัฐสภาซึ่งทรงอำนาจแก้ไขรัฐธรรมนูญจะใช้อำนาจดังกล่าวกำหนด กฎเกณฑ์ให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา หรือไม่ อย่างไร ย่อมถือเป็นดุลพินิจของรัฐสภาผู้ทรงอำนาจแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ยิ่งไปกว่านั้นการวินิจฉัยในประเด็นนี้ก็เป็นการวินิจฉัยที่ศาลรัฐธรรมนูญมี ส่วนได้เสียโดยตรงอีกด้วย เพราะเป็นการวินิจฉัยการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับอำนาจ หน้าที่ของตนเอง
- ๘. -
สำหรับประเด็นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญมาตรา ๒๑๖ วรรค ๕ ซึ่งกำหนดให้คาวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเป็นเด็ดขาดมีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐนั้น เมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่าศาลรัฐธรรมนูญในฐานะที่เป็นองค์กรตุลาการต้อง พิจารณาพิพากษาคดีให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ และกฎหมาย ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๙๗ ดังนั้นคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่จะถือได้ว่ามีผลเป็นเด็ดขาดและผูกพัน องค์กรอื่นของรัฐนั้น ต้องเป็นคำวินิจฉัยที่ได้ตัดสินไปโดยชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมาย เป็นการใช้อำนาจหน้าที่ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบที่รัฐธรรมนูญกาหนด ไม่ใช่เป็นการใช้อำนาจหน้าที่ซึ่งขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือตามอา เภอใจ เมื่อกรณีนี้ปรากฏว่าศาลรัฐธรรมนูญได้รับคำร้องและทำการตัดสินไปโดยที่ไม่มี ฐานอำนาจตามรัฐธรรมนูญรองรับ จึงเป็นการใช้อำนาจที่ขัดต่อหลักนิติรัฐ นิติธรรม เป็นการใช้อำนาจซึ่งไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ดังนั้นจึงไม่สามารถอาศัยบทบัญญัติตามมาตราที่กล่าวมาข้างต้นเพื่อกล่าวอ้าง สร้าง “ความศักดิ์สิทธิ์” ให้แก่การใช้อำนาจที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญได้โดยเหตุที่คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในเรื่องนี้เป็นคำวินิจฉัยที่ขัดกับ รัฐธรรมนูญอย่างชัดแจ้ง เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยคดี คำวินิจฉัยนี้จึงเสียเปล่าและไม่มีผลทางกฎหมายผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐแต่อย่างใด
ในส่วนของร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมเรื่องการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งได้มีการนำขึ้นทูลเกล้าฯไปแล้วเพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และในขณะนี้อยู่ในระหว่างการรอลงพระปรมาภิไธยนั้น แม้ศาลรัฐธรรมนูญจะได้วินิจฉัยโดยปราศจาอำนาจว่าร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่ม เติมนี้มีปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการตราและเนื้อหา ในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญก็ไม่ปรากฏว่าศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยถึง สถานะของร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวไว้แต่อย่างใด ด้วยเหตุนี้ ในกรณีที่พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยในร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ดังกล่าว และเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ย่อมใช้บังคับเป็นกฎหมายได้ ในกรณีที่พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยและพระราชทานคืนมายังรัฐสภา หรือเมื่อพ้น ๙๐ วันแล้วไม่ได้พระราชทานคืนมา รัฐสภาต้องนำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมนั้นมาพิจารณาใหม่ ถ้ารัฐสภามีมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนไม่น้อยกว่า ๒ ใน ๓ ของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมนั้นขึ้นทูลเกล้าฯถวายอีก ครั้งหนึ่ง หากพระมหากษัตริย์ไม่ทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทานคืนมาภายใน ๓๐ วัน ให้นายกรัฐมนตรีนำรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมนั้นประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้
สมควรกล่าวด้วยว่า แม้คำวินิจฉัยนี้จะไม่มีผลทางกฎหมาย แต่เมื่อศาลรัฐธรรมนูญได้อ่าน “คำวินิจฉัย” ที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้ออกสู่สาธารณะแล้ว บรรดากลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ ทางการเมืองย่อมฉวยโอกาสนาคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าจะทั้งฉบับหรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใด ไปใช้เป็นเครื่องมือในการเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ที่ ตนต้องการได้
หากองค์กรของรัฐทั้งหลายยอมรับให้คำวินิจฉัยนี้มีผลในทางกฎหมาย ย่อมส่งผลกระทบต่อระบอบประชาธิปไตย การแบ่งแยกอำนาจอย่างมีดุลยภาพ ทำให้รัฐสภาไม่สามารถแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามเจตจำนงของ ประชาชนได้ ประการสาคัญ ย่อมมีผลทำให้ศาลรัฐธรรมนูญกลายเป็นผู้มีอำนาจในการอนุญาตว่าการแก้ไขเพิ่ม เติมรัฐธรรมนูญจะทำได้หรือไม่ เพียงใด ซึ่งเท่ากับศาลรัฐธรรมนูญได้สถาปนาตนเองขึ้นเป็นองค์กรที่มีอำนาจสูงสุดเด็ด ขาดเหนือองค์กรทั้งปวงของรัฐ และประเทศไทยจะกลายเป็น “รัฐตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ” ในที่สุด
คณะนิติราษฎร์เห็นว่า การกระทำทั้งหลายทั้งปวงของศาลรัฐธรรมนูญในคดีนี้ นอกจากจะไม่มีผลเป็นการช่วยยุติความขัดแย้งระหว่างเสียงข้างมากและเสียงข้าง น้อยในสังคมแล้ว ยังเป็นชนวนก่อให้เกิดวิกฤติในทางรัฐธรรมนูญ อันนามาซึ่งความปั่นป่วนวุ่นวายต่อระบบกฎหมายและสถาบันทางการเมือง จนยากแก่การเยียวยาให้กลับฟื้นคืนดีได้ในอนาคต
คณะนิติราษฎร์ : นิติศาสตร์เพื่อราษฎร
๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๖.
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar