tisdag 17 februari 2015

ส่งข่าวจาก...จาตุรนต์ ฉายแสง...

Chaturon Chaisang ได้เพิ่มรูปภาพใหม่
 



-เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ผมไปฟังคำสั่งศาลทหารกรุงเทพมา มีการเสนอข่าวโดยสื่อมวลชนไปบ้างแล้ว แต่ก็ยังมีการสอบถามเรื่องนี้มาพอสมควร จึงขอให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกครั้งโดยย่อครับ
ที่ผ่านมา ผมได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลพิจารณาเพิ่มเติมใน 2 ประเด็น คือ
1. คดีดังกล่าวไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลทหาร เนื่องจากการไม่รายงานตัว ซึ่งเป็นข้อหาที่หนึ่ง ได้เกิดขึ้นในวันที่ 23 และ 24 พฤษภาคม 2557 ก่อนที่จะมีคำสั่งของ คสช.ให้คดีประเภทนี้ต้องขึ้นศาลทหารลงวันที่ 25 พฤษภาคม 2557
คลิกอ่านเพิ่ม Visa mer..



-ถ้าเลือกตั้งแล้วตีกันอีก จะโทษใคร ?
เห็นข่าวที่ไม่มีความชัดเจนว่า พล.อ.ประยุทธ์ไปพูดที่ญี่ปุ่นทำนองว่าถ้าเลือกตั้งแล้วมีปัญหาอีก ทหารก็ต้องเข้ามาอีก สร้างความสนใจให้กับใครต่อใครไม่น้อยทีเดียว
ผมยังไม่สามารถหาข้อมูลที่ชัดเจนว่าพล.อ.ประยุทธ์พูดว่าอย่างไรแน่ จึงยังไม่ขอแสดงความเห็นในเรื่องนี้ เพียงแต่รู้สึกว่า เรื่องแบบนี้เป็นที่สนใจของรัฐบาลหลายประเทศ องค์กรระหว่างประเทศและสื่อมวลชนจำนวนมาก โดยเฉพาะที่เขาคาดหวังจะเห็นประเทศไทยกลับคืนสู่ความเป็นประชาธิปไตยตามโรดแม็ปที่ได้ประกาศ...ไว้
เมื่อพล.อ.ประยุทธ์ กลับมาเมืองไทยแล้ว ผู้สื่อข่าวได้ถามในประเด็นที่ต่อเนื่องกับเรื่องดังกล่าวนี้ว่า หากรัฐบาลต่อไปไม่สามารถบริหารประเทศได้ ทหารจะกลับเข้ามาอีกใช่หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า "ผมถึงได้บอกให้ทุกคนช่วยกัน อย่าให้มีเหตุการณ์แบบนั้น ท่านบอกให้ผมต้องเดินตามโรดแม็ป วันหน้าผมก็ส่งให้มีการเลือกตั้ง หากจะขัดแย้งกันอีกก็เป็นสิ่งที่พวกท่านทำให้เกิดขึ้นเอง ผมหยุดความขัดแย้งที่ผ่านมาเพื่อให้เกิดความสงบ ถือว่าผมได้ทำไปแล้ว หากทำแล้วไม่สำเร็จจะมาโทษผมอีกก็ไม่ถูก เมื่ออยากเลือกตั้งก็ไปหาทางทำให้ได้ ถ้าเลือกตั้งแล้วตีกันอีก ผมก็ไม่รู้ รัฐบาลต่อไปต้องแก้ปัญหากันให้ได้ ส่วนผมไม่เอาแล้ว …..”
ผมคิดว่าผู้ที่คาดหวังจะเห็นประเทศไทยเรากลับคืนสู่ประชาธิปไตยและก้าวพ้นจากวิกฤตความขัดแย้งทางการเมืองอย่างที่ผ่านมาฟังแล้วก็คงรู้สึกวังเวงไปตามๆกัน
วังเวงเพราะผู้ที่ทำรัฐประหารและมีบทบาทอย่างสำคัญในการสร้างกฎกติกาใหม่ไม่ได้แสดงให้เห็นเลยว่าจะป้องกันไม่ให้เกิดความขัดแย้งขึ้นอีกได้อย่างไร
ที่เป็นปัญหามากกว่านั้นก็คือท่านไม่ได้แสดงให้เห็นเลยว่า มีความเข้าใจหรือมองเห็นว่าความขัดแย้งหรือวิกฤตที่เกิดขึ้นในหลายปีมานี้มีความเกี่ยวข้องกับกฎกติกาและการใช้กฎกติกาทั้งหลายอย่างไร
ผมอยากจะให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่าที่ “เลือกตั้งแล้วตีกัน” หรือ “ตีกันเพื่อ(ไม่)ให้มีการเลือกตั้ง” ไม่ใช่อยู่ดีๆก็บังเอิญเกิดขึ้น หรือเป็นเพราะคนไทยมีนิสัยเกเรชอบตีชอบต่อยกันกว่าคนชาติอื่น แต่เกิดขึ้นก็เพราะสังคมไทยเรายังไม่สามารถแก้ปัญหาความแตกต่างทางความคิดโดยอาศัยกฎกติกาที่เป็นธรรม สังคมไทยเราสร้างกฎกติกาขึ้นมาด้วยกระบวนการที่ไม่ถูกต้อง กฎกติกาจึงไม่ชอบธรรม การบังคับใช้กฎกติกาก็ไม่ยุติธรรม ครั้นจะแก้กฎกติกาให้ถูกต้องเป็นธรรมก็ทำไม่ได้ หนักเข้าๆบ้านเมืองก็อยู่ในสภาพบังคับใช้กฎหมายไม่ได้แล้วก็เลยเกิดการใช้กำลังความรุนแรงเข้าจัดการกับปัญหา
จะพ้นจากสภาพนี้ได้ จำเป็นต้องมีการสร้างกฎกติกาที่เป็นธรรมและทำให้เกิดการบังคับใช้กฎหมายอย่างยุติธรรมกับทุกฝ่ายอย่างเท่าเทียมกัน แล้วให้สังคมแก้ปัญหาการมีความคิดที่แตกต่างโดยอาศัยกฎกติกาที่เป็นธรรมนั้น
กฎกติกาที่เป็นธรรมที่ว่านี้ก็คือการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่ประเทศส่วนใหญ่ในโลกเขาใช้กันอยู่นั่นเอง
อันที่จริง เลือกตั้งแล้วตีกันหรือไม่ตีกัน ไม่ได้ขึ้นอยู่กับคู่ขัดแย้งจะตกลงกันได้หรือไม่ แตย่อมขึ้นอยู่กับกฎกติกาและความพร้อมที่จะอยู่กันด้วยกฎกติกาของคนในสังคมมากกว่า
เลือกตั้งแล้วตีกันหรือไม่ตีกันจึงเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความสำเร็จหรือล้มเหลวของกระบวนการที่ต่อเนื่องจากการรัฐประหาร ซึ่งได้แก่การยกร่างรัฐธรรมนูญและการปฏิรูปต่างๆนานาที่กำลังทำกันอยู่นั่นเอง
ดังนั้น หาก “เลือกตั้งแล้วตีกัน” พล.อ.ประยุทธ์จะบอกว่า “ผมไม่รู้” และ “ผมไม่เอาแล้ว” คงจะไม่ได้
ส่วนจะทำอย่างไรให้เลือกตั้งแล้วไม่ตีกันนั้น “ไม่รู้" แก้ไม่ยาก เปิดโอกาสให้มีการแสดงความคิดเห็นให้มากๆก็รู้ไปเอง



Inga kommentarer:

Skicka en kommentar