söndag 1 februari 2015

เก้าเดือน.ผ่านไป สถานการณ์ประเทศไทยปัจจุบันย้อนยุคหมุนกลับสู่อดีตเมื่อสี่สิปปีที่ผ่านมา....ไม่ต่างอะไรกับสถานการณ์ของ ลาว เขมร เวียตนาม สามประเทศในอินโดจีนหลังสงครามเวียตนามสิ้นสุดลง .ประเทศชาติถูกทำลาย. บ้านเมืองเสียหาย .คนในสังคมแตกแยก อีกฝ่ายถูกไล่ล่าจับกุม ถูกเข่นฆ่าทำลาย อันตรายรอบด้าน สังคมอยู่บนความหวาดระแวง...



คลิกอ่านข่าวทั้งหมด-และวันนี้ ประเทศไทย แปลกต่างอะไร จากลาว ในสมัย 1975 ?





สงคราม?.เปรียบเทียบความเหมือนที่แตกต่างระหว่างกาลเวลา.๔๐ปี.".อดีต-ปัจจุบัน"
โดย  ราษฎรไทย
๑ ก.พ. ๕๗

เก้าเดือนผ่านไป  หลังจากอำมาตย์เผด็จการสั่งทหารให้ยึดอำนาจรัฐ  ทำการปิดประเทศเปลี่ยนเป็นรัฐเผด็จการทหารแบบเบ็ดเสร็จ ปกครองภายใต้กฎอัยการศึก โดยประชาชนถูก ปิดหู  ปิดตา  ปิดปาก   ห้ามคิดต่าง  ห้ามวิจารณ์  ทำให้ประเทศไทยย้อนยุคกลับสู่อดีตเมื่อสี่สิปปีที่ผ่านมา...  สภาพสังคมไทยไม่ต่างอะไรกับสถานการณ์ใน ลาว เขมร เวียตนาม  สามประเทศในอินโดจีนหลังสงครามเวียตนามสิ้นสุดลง .ประเทศชาติถูกทำลาย. บ้านเมืองเสียหาย .คนในสังคมแตกแยก  อีกฝ่ายถูกไล่ล่าจับกุม  ถูกเข่นฆ่าทำลาย อันตรายรอบด้าน  สังคมอยู่บนความหวาดระแวง...

ว่าด้วยเรื่องราวสถานการณ์แย่งชิงอำนาจของพวกอำมาตย์เผด็จการเหลือบศักดินาโบราณไดโนเสาร์ไทย...
ปัญหาแตกแยกร้าวลึกเกินกว่าจะปรองดองได้   ที่เกิดขึ้นในสังคมไทยเวลานี้ ไม่ใช่เกิดจากสงครามรบรากับข้าศึกจากต่างประเทศที่ไหน?  เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นเองจากภายในของประเทศไทย   โดยการแย่งชิงอำนาจแย่งผลประโยชน์ระหว่างคนสองกลุ่ม  คือเครือข่ายพวกนายทุนกับกลุ่มครอบครัวเผด็จการทรราชกษัตริย์ภูมิพลที่มัวเมาหลงไหลในอำนาจต้องการมีอำนาจชี้นำประเทศไทยและอำนาจเหนือประชาชนไทยทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว  โดยมองเห็นประชาชนไทย  ๖๕ ล้านคน  เป็นข้าศึกอริราชศัตรูสั่งทหาร ไล่ล่า เข่นฆ่า ปราบปราม  ปิดหูปิดตา ปิดปาก ...ทั้งๆที่ประชาชนไม่มีส่วนร่วมในการสร้างปัญหา...

สภาพการณ์ในประเทศไทยจึงแตกต่างจากสงครามในอินโดจีน  ซึ่งเป็นสงครามการที่สามประเทศอินโดจีนต้องต่อสู้เพื่อปลดปล่อยตัวเองให้เป็นเอกราชจากการเป็นเมืองขึ้น   โดยมีมหาอำนาจแต่ละฝ่ายเข้าแทรกแซงช่วยเหลือกลายเป็นสงคราม...

ที่ผลได้จากสงครามคือ...ประเทศชาติถูกทำลาย  บ้านเมืองเสียหาย  ประชาชนบาดเจ็บล้มตาย แตกแยกลี้ภัยไปคนละทิศละทางอพยพหนีภัยสงคราม 

ถาม...ใคร? ได้ประโยชน์จากสงคราม?

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar