söndag 8 februari 2015

กำลังใจจากครูส่งถึงศิษย์ "พูดในฐานะคนแก่และมีอาชีพครู ผมก็รู้สึกซาบซึ้ง ตื้นตัน ตื่นเต้นดีใจมากๆ ทุกครั้งที่เห็นนักศึกษาออกมาแสดงออกซึ่งความเป็นเสรีชน"




Somsak Jeamteerasakul
8กุมภาพันธ์2558 อ.สมศักดิ์ เจียม
การแสดงความไม่พอใจต่อ คสช ในงานบอลล์ประเพณีเมื่อวานนี้ เกิดขึ้นในปริบทของการ "แข่งขัน" (ฟุตบอล) ระหว่าง "มหาวิทยาลัย" (ธรรมศาสตร์-จุฬา) ก็เลยพลอยทำให้ทั้งกองเชียร์และกองด่าจำนวนมาก (อาจจะเป็นส่วนหลักด้วยซ้ำเท่าที่ผมอ่านจาก ฟบ) พลอยตกอยู่ในลักษณะที่เรียกว่าแสดงออกในสปิริตทำนองการแข่งขัน และในลักษณะมองเป็นเรื่อง "มหาวิทยาลัย" ไปด้วย เช่น
ในส่วนกองเชียร์ เราได้เห็นหลายคน "ภูมิใจในความเป็นธรรมศาสตร์" (เขียนในลักษณะซึ้งๆแบบนี้เยอะมาก) หรือแม้แต่บางท่าน (ที่ผมแปลกใจ) ก็พูดเลยไปถึงว่า ธรรมศาสตร์ "เป็นเสี้ยนหนามสำคัญของเผด็จการทุกยุคทุกสมัย" (แหะๆ สงสัยจะคนละธรรมศาสตร์ที่ผมรู้จักแฮะ)
ในส่วนกองด่า เราก็ได้เห็นการด่ารวบยอดมหาวิทยาลัย ด่าไปถึง "ไอ้พวก นศ. ธรรมศาสตร์" "สมควรยกเลิกไม่ให้มี ม.ธรรมศาสตร์" (อิอิ ดังที่หลายท่านชี้ให้เห็น คนเขียนคงลืมไปว่า "พระองค์ภาฯ" ทรงจบ มธ.เหมือนกัน) ...
ในแง่นึง ก็พอจะเข้าใจได้ เพราะอย่างที่ผมเพิ่งเขียนไป เหตุการณ์มันเกิดในปริบทของการแข่งขันฟุต
บอลล์ระหว่างมหาวิทยาลัย คือเป็นอะไรที่ทำในนามมหาวิทยาลัย ขบวนล้อเลียนและแปรอักษร ก็เดินและทำในนาม "ธรรมศาสตร์" อะไรแบบนั้น ทั้งกองเชียร์ กองด่า ก็เลย "อิน" ไปกับสปิริตของเหตุการณ์ไปด้วย ..
แม้แต่สปิริตในเชิง "การแข่งขัน" ก็พลอยแทรกมาในปฏิกิริยาที่แสดงออกด้วย ในส่วนกองเชียร์ นอกจากประเภทที่เขียน "ธรรมศาสตร์ชนะจุฬา" (ไม่ใช่ในแง่ฟุตบอลนะ) ก็ยังเกิดคำถามแปลกๆ เช่น ทำไม "จุฬา" ไม่มีบ้าง ร้อนไปจนถึง อ.สาวสวยท่านหนึ่งที่จบจุฬา แต่ตอนนี้สอนธรรมศาสตร์หมาดๆ ต้องรีบไปสืบหามาว่า ทำไมจุฬาจึงไม่มีบ้าง เด็กกิจกรรมที่อยู่จุฬา ก็ต้องรู้สึกร้อนใจที่ต้องพยายามอธิบายว่า ทำไม ( การเซ็นเซ่อร์ของผู้บริหาร ฯลฯ)
- ความจริง ผมคิดว่า ผลสำเร็จที่น่ายกย่องชื่นชมของการแสดงออกดังกล่าว เป็นเรื่องของนักศึกษากลุ่มหนึ่งที่กำลังเรียนธรรมศาสตร์ ในแง่ของความเป็น "มหาวิทยาลัย" โดยรวม ผมไม่คิดว่า "ธรรมศาสตร์" เป็นอะไรที่เปลี่ยนไปมากนัก ไม่ว่าในเชิงฝ่ายบริหาร (ที่ในแง่ความเป็นองค์กร ยังคงอำนาจในการทำอะไรในนามมหาวิทยาลัย) หรือแม้แต่ในแง่นักศึกษาทั้งหมด แน่นอน สิ่งหนึ่งทีน่ายินดีมากๆ คือดูเหมือนจะมีนักศึกษามากขึ้นๆ ทีเริ่มตั้งคำถามกับ คสช - แต่อันนี้ ก็ยังเป็นอะไรที่ต้องใจเย็นๆสักหน่อย ไม่ควรรีบตื่นเต้นเกินจริงไป ในแง่จำนวนที่เพิ่มมากขึ้น ผมคิดว่า ในจุฬาเองก็อาจจะมีไม่น้อย แต่กลุ่มกิจกรรมในจุฬา ขาดเงื่อนไข ในการแสดงออกมาให้คนเห็นในปริบทเมื่อวาน เลยพลอยทำให้รู้สึกราวกับว่า เป็นเรื่อง "ธรรมศาสตร์" "ตื่นตัว" (กว่า) อะไรแบบนั้นก็ได้ (ผมเห็นบางคนเขียนเกินไปถึงกับว่า จุฬาเป็นมหาวิทยาลัยศักดินา นักศึกษาเลยไม่ตื่นตัวอะไรแบบนั้น .. ปัญหาความแตกต่างระหว่างสภาพแวดล้อมที่ธรรมศาสตร์ จุฬา หรือแม้แต่ความแตกต่างในบางระดับระหว่าง "นิสิตจุฬา" กับ "นักศึกษาธรรมศาสตร์" ถ้าพูดแบบวัฒนธรรมรวมๆ ผมตระหนักดีอยู่ แต่มันไม่ง่ายๆอย่างที่เขียนๆกัน)
- พูดในฐานะคนแก่และมีอาชีพครู ผมก็รู้สึกซาบซึ้ง ตื้นตัน ตื่นเต้นดีใจมากๆ ทุกครั้งที่เห็นนักศึกษาออกมาแสดงออกซึ่งความเป็นเสรีชน (ดังที่ผมเคยเขียนทำนองนี้มาก่อน)
แต่นี่ก็เป็นความรู้สึกต่อนักศึกษาทุกคนทุกที่ กับนักศึกษาเมื่อวาน ผมก็รู้สึกแบบนี้ เหมือนที่รู้สึกต่อ "ดาวดิน" ที่ใส่เสื้อ "ไม่เอารัฐประหาร" และยืนขึ้นประท้วงต่อหน้าประยุทธ ตรงๆ เป็นต้น (ซึ่งกรณีนั้น ก็ไม่ยักกะมีคนพูดในฐานะ "มหาวิทยาลัยขอนแก่น") ไม่ได้รู้สึกเป็นพิเศษเพราะพวกเขาเป็น "ชาวธรรมศาสตร์" หรืออะไร (จริงๆ บางคนเมื่อวาน ผมพอรู้จัก พอจะเคยมาเรียนกับผมอยู่ ในแง่ส่วนตัว ก็ดีใจอยู่ แต่กับ "ดาวดิน" ที่ผมไม่รู้จักเลย ผมก็น้ำตาซึมกับความกล้าหาญของพวกเขานะ)
(จริงๆยังมีประเด็นที่อยากเขียน แต่เขียนๆไปชักยาว เอาแค่นี้ก่อง ก็แล้วกัน)

ที่มา facebook Somsak Jeamteerasakul
https://www.facebook.com/somsakjeam/posts/790568590996422



Inga kommentarer:

Skicka en kommentar