คืนความยุติธรรม คือคืนความสุข
ประเทศมีปัญหาความขัดแย้งมาตลอดอย่างยาวนานตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง ปี ๒๔๗๕ จนถึงปัจจุบันไม่เคยหยุด มีแต่เบาบางลงในบางช่วงที่ประชาชนได้มีโอกาสร่วมปกครองประเทศผ่านการใช้อำนาจของตัวแทน เป็นการกวาดปัญหาเข้าใต้พรมเป็นการชั่วคราว รอวันปะทุ เพราะอำนาจการปกครองไม่เคยอยู่ในมือประชาชนอย่างแท้จริง
ประเทศนี้ดำรงอยู่ด้วยความเหลื่อมล้ำในสังคม ผ่านการวางโครงสร้างทางสังคมและองค์ประกอบอื่นเพื่อรองรับการปกครองแบบเฉพาะของกลุ่มคนที่ไม่เคยปล่อยวางอำนาจให้ประชาชนได้ปกครองตนเอง
การผ่องถ่ายและดึงดูดทรัพยากรของชนชั้นนำ เพื่อบำรุงบำเรอกลุ่มชนชั้นสูง และกดชนชั้นต่ำให้เป็นมดงานเพื่อสร้างรายได้ส่งต่อมาหาชนชั้นสูงและกลุ่มทุนในเครือข่ายยังคงดำเนินมาอย่างต่อเนื่องไม่เคยหยุดหรือขาดตอน
มีการผ่อนสายเบ็ดบ้างในบางครั้ง เพื่อไม่ให้ตึงจนสายเบ็ดขาด หากเหยื่อได้ใจมีทีท่าว่าจะดิ้นรน ก็ตวัดสายเสียหนึ่งครั้งเพื่อเก็บเหยื่อขึ้นจากน้ำ เอาปลาที่จะว่ายทวนหนีขึ้นไปต้มยำทำแกงเสีย และทำมาแล้วสิบกว่าครั้ง
ละครเก่าบทเดิมที่เล่นซ้ำๆอยู่แบบนี้ยังคงเล่นอยู่ ไม่เคยเปลี่ยนแปลงและไม่เคยเปลี่ยนบท ปลาตัวแล้วตัวเล่ายังงับเหยื่ออยู่เหมือนเดิม เพราะสีสันและความยั่วยวนของเหยื่อที่เรียกว่า "อำนาจ"แม้จะเพียงชั่วครั้งชั่วคราว แต่มันหอมหวลจนทำให้เหยื่อติดเบ็ดทุกรายไป
ส่วนประชาชนในปกครองก็ไม่มีตัวเลือก เพราะปลาในบ่อถูกป้ายสีจนเป็นปลาเน่าปลาเลวไปทั้งหมด ไม่มีผู้นำของฝูงปลาตัวใดที่หาญกล้าพอที่จะไม่กินเหยื่อ
วันใดที่ประชาชนหาญกล้าและขัดขืน ก็เป็นต้องมีการตายเกิดขึ้นทุกรอบ และแต่ละรอบคือการตายฟรี แม้กระทั่งรอบสุดท้ายวันเวลาผ่านมาห้าปี ความยุติธรรมแม้กระทั่งถูกพรากชีวิตก็ยังไม่ได้รับ คดีเลื่อนแล้วเลื่อนอีก เครือข่ายและกลไกคืนความเป็นธรรมชี้เป็นชี้ตาย ล้วนแต่อยู่ในมือกลุ่มอำนาจ และไม่เคยที่จะรับใช้ความเป็นธรรมให้กับประชาชน
"รอให้มันตาย" จึงไม่ใช่คำตอบ เพราะระบบยังคงอยู่ เครือข่ายยังแข็งแรง ร่างแหอำนาจและความหวาดกลัวยังคงปกคลุมประเทศนี้ ผ่านกฏหมายหลายรูปแบบที่ควบคุมประชาชน
มองยังไม่เห็นทางออก เพราะอำนาจยังไม่เป็นของประชาชน การต่อสู้แล้วออกมาตายเปล่าเกิดขึ้นหลายรอบ และหลายครั้ง เป็นบทเรียนที่ต้องจดจำ ยุทธศาสตร์ต้องเปลี่ยนไม่ให้เลือดเนื้อของประชาชนต้องมาทาแผ่นดินแล้วไร้ค่า ไม่ได้เกิดโภชน์ผลใดๆ ได้เพิ่มเพียงวีระชนที่ไม่มีชีวิต และลูกกำพร้าที่เดินคว้างในสังคม
ในวันที่ประชาชนยังไม่แข็งแกร่งและอำนาจปืนยังกดหัวความเป็นธรรมยังไม่เกิด ประชาชนทำอะไรได้โดยไม่เสียเลือดเนื้อคือคำถามที่ต้องการคำตอบอยู่ในใจของทุกคน
ในเมื่อ"รอให้มันตาย"ไม่ใช่คำตอบแล้วคำตอบคืออะไร? สิ่งที่สังคมประเทศนี้ต้องการคือ "ความเป็นธรรม"ไม่ใช่"ความสุข"จอมปลอมที่ยัดเยียด การต่อสู้ด้วยปัญญาและถนอมชีวิตคือหนทางที่เราท่านต้องเลือก บ่อนเซาะความแข็งแกร่งของแหแห่งอำนาจที่ห่อคลุมประเทศนี้อยู่
ลดการจับจ่าย เพื่อลดท่อน้ำเลี้ยงของภาษีทางอ้อมยังต้องทำต่อไป งดเข้าร่วมกิจกรรมของภาครัฐ งดให้ความร่วมมือไม่ร่วมกิจกรรมใดๆที่รัฐจัด ใช้สื่อในมือโพสท์ต่อต้านเผด็จการในโอกาสต่างๆ สื่อสารและเผยแพร่ข้อเท็จจริง ให้คนไตร่ตรองใคร่ครวญ ห้ามหลงเชื่อเผด็จการอย่างไม่ลืมหูลืมตา เมื่อถึงเวลาอันสมควร ท่านจะรู้เองว่า เวลาไหนที่ท่านจะออกจากบ้านออกมาเดินบนถนน เรียกร้องหาความเป็นธรรมด้วยตัวท่านเอง
ช่วยกันปลูกปัญญา เริ่มต้นด้วยโพสท์นี้ใช้อำนาจในมือท่านแชร์ไปสิ มัวรออะไรอยู่
...................................................
ช่วง #กูก๊อปเค้ามา
เรื่อง บวชการเมืองแห่งสยาม
ข้อมูลจาก สุจิตต์ วงษ์เทศ
พระรามาธิบดี (อู่ทอง) เป็นพระเจ้าแผ่นดินรัฐอยุธยา [สืบจากรัฐละโว้-อโยธยา (พูดภาษาเขมร) ซึ่งมีมาก่อนรัฐสุโขทัยหลายร้อยปี]
ขุนหลวงพะงั่ว เป็นพระเจ้าแผ่นดินรัฐสุพรรณภูมิ [สืบจากรัฐอู่ทอง (สุวรรณภูมิ) ซึ่งมีมาก่อนรัฐสุโขทัย หลายร้อยปี]
พระรามาธิบดี ร่วมกับขุนหลวงพะงั่ว ยกกำลังยึดได้เมืองพิษณุโลก รัฐสุโขทัย [สถาปนาโดยรัฐละโว้-อโยธยาสนับสนุน]
พญาลิไทย พระเจ้าแผ่นดินรัฐสุโขทัย ยอมอ่อนน้อม ต้องบวชการเมืองไปอยู่พิษณุโลกแล้วยกเมืองสุโขทัยให้น้องสาวขึ้นครองแทน ตามความต้องการของอยุธยาและสุพรรณ
นับแต่นั้นรัฐสุโขทัยตกอยู่ในอำนาจของรัฐอยุธยาและรัฐสุพรรณภูมิ
ยุคต่อมาพระบรมไตรโลกนาถ จากอยุธยา ขึ้นไปอยู่เมืองพิษณุโลก เพื่อรับศึกพระเจ้าติโลกราชจากเมืองเชียงใหม่ ยกทัพลงมายึดเมืองเชลียง (หรือเชียงชื่น, หรือศรีสัชนาลัย)
รับศึกไม่สำเร็จ พระบรมไตรโลกนาถออกบวชการเมือง อยู่พิษณุโลก เพื่อขอบิณฑบาตเมืองเชลียงคืนจากพระเจ้าติโลกราช
ก็ไม่สำเร็จอีก เพราะพระเจ้าติโลกราชไม่ยอมคืนเมืองเชลียงตามที่พระบรมไตรโลกนาถขอบิณฑบาต
ยุคหลังจากนั้นรัฐอยุธยาเมื่อพระไชยราชา (มีสนมเอกนามตำแหน่งว่าท้าวศรีสุดาจันทร์) ได้เสวยราชย์เป็นพระเจ้าแผ่นดิน
พระเทียรราชา (น้องชายพระไชยราชา) ต้องออกบวชการเมือง ให้พ้นราชภัย ว่าจะไม่ชิงราชสมบัติ ครั้นพระไชยราชาสวรรคต ท้าวศรีสุดาจันทร์กับขุนวรวงษาธิราช ได้อำนาจครองรัฐอยุธยา
พระเทียรราชาก็สึกจากบวชพระ ไปร่วมกับเจ้านายและขุนนางอื่นๆ [เช่น ขุนพิเรนทรเทพ (คือบิดาพระนเรศวรฯ) วงศ์สุโขทัย] กำจัดแล้วยึดอำนาจ ขึ้นเสวยราชย์เป็นพระมหาจักรพรรดิ
เจ้าฟ้ากุ้ง เคยออกบวชหนีราชภัยการเมืองภายในราชสำนักอยุธยา
คราวนี้เองได้แต่งฉันท์เรื่องนันโทปนันทสูตร เป็นวรรณกรรมสำคัญของยุคนี้ด้วย
ท้ายสุด พระเจ้าอุทุมพรออกบวช หลีกเลี่ยงการเมือง จนคนสมัยหลังเรียกขุนหลวงหาวัด เปิดทางให้พระเจ้าเอกทัศเป็นพระเจ้าแผ่นดิน จนกรุงแตก พ.ศ. 2310
19 กันยายน พ.ศ. 2519 จอมพล ถนอม กิตติขจร อดีตนายกรัฐมนตรีมือเปื้อนเลือด เดินทางจากกลับเข้าเข้าประเทศไทย ด้วยการบวชเป็นสามเณรมาจากประเทศสิงคโปร์ มาอุปสมบทเป็นเป็นภิกษุที่วัดบวรนิเวศวิหาร โดยมีสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒนมหาเถร) เป็นพระอุปัชฌาย์ โดยอ้างว่าต้องการบวชให้บิดาที่กำลังจะเสียชีวิต หลังจากเดินทางออกนอกประเทศหลังเหตุการณ์ "14 ตุลา 16” การกลับมาคราวนี้ ส่งผลให้กลุ่มนิสิตนักศึกษาและประชาชนได้ออกมาชุมนุม เพื่อขับไล่จอมพลถนอมกลับนอกประเทศ และประท้วงคณะสงฆ์วัดบวรฯ
จากนั้นกลุ่มฝ่ายขวาที่ต่อต้านนักศึกษา เช่น กลุ่มกระทิงแดง, กลุ่มนวพล, กลุ่มลูกเสือชาวบ้าน, กลุ่มพิทักษ์ชาติไทย ก็ออกมาประณามกลุ่มนักศึกษาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ต้องการทำลายสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ในที่สุดก็ยกกำลังมาปิดล้อมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ฝ่ายทหาร ตำรวจ ตำรวจตระเวณชายแดนก็เข้ามาปิดล้อมและทำการปราบปรามนักศึกษากลายเป็นเหตุการณ์นองเลือด "6 ตุลา 19” ทางการระบุว่ามีผู้เสียชีวิต 39 ศพ แต่เจ้าหน้าที่มูลนิธิร่วมกตัญญู ระบุว่า 530 บาดเจ็บอีกจำนวนมาก ถูกจับกุมข้อหากบฎ 3,094 คน กลายเป็นบาดแผลในประวัติศาสตร์ชาติไทยมาจนปัจจุบันนี้
ทุกวันนี้มีนักการเมืองกลุ่มหนึ่ง พากันไปบวชที่วัดแห่งหนึ่งทางภาคใต้ของประเทศ เป็นคำถามว่า พากันไปบวชทำอะไร???
คลิกดูเพิ่มเติม
(ขอบคุณคลิก-เพจกูต้องได้ 100 ล้าน จากทักษิณแน่ๆ กับ สิงห์ ไทรโยก)เรื่อง บวชการเมืองแห่งสยาม
ข้อมูลจาก สุจิตต์ วงษ์เทศ
พระรามาธิบดี (อู่ทอง) เป็นพระเจ้าแผ่นดินรัฐอยุธยา [สืบจากรัฐละโว้-อโยธยา (พูดภาษาเขมร) ซึ่งมีมาก่อนรัฐสุโขทัยหลายร้อยปี]
ขุนหลวงพะงั่ว เป็นพระเจ้าแผ่นดินรัฐสุพรรณภูมิ [สืบจากรัฐอู่ทอง (สุวรรณภูมิ) ซึ่งมีมาก่อนรัฐสุโขทัย หลายร้อยปี]
พระรามาธิบดี ร่วมกับขุนหลวงพะงั่ว ยกกำลังยึดได้เมืองพิษณุโลก รัฐสุโขทัย [สถาปนาโดยรัฐละโว้-อโยธยาสนับสนุน]
พญาลิไทย พระเจ้าแผ่นดินรัฐสุโขทัย ยอมอ่อนน้อม ต้องบวชการเมืองไปอยู่พิษณุโลกแล้วยกเมืองสุโขทัยให้น้องสาวขึ้นครองแทน ตามความต้องการของอยุธยาและสุพรรณ
นับแต่นั้นรัฐสุโขทัยตกอยู่ในอำนาจของรัฐอยุธยาและรัฐสุพรรณภูมิ
ยุคต่อมาพระบรมไตรโลกนาถ จากอยุธยา ขึ้นไปอยู่เมืองพิษณุโลก เพื่อรับศึกพระเจ้าติโลกราชจากเมืองเชียงใหม่ ยกทัพลงมายึดเมืองเชลียง (หรือเชียงชื่น, หรือศรีสัชนาลัย)
รับศึกไม่สำเร็จ พระบรมไตรโลกนาถออกบวชการเมือง อยู่พิษณุโลก เพื่อขอบิณฑบาตเมืองเชลียงคืนจากพระเจ้าติโลกราช
ก็ไม่สำเร็จอีก เพราะพระเจ้าติโลกราชไม่ยอมคืนเมืองเชลียงตามที่พระบรมไตรโลกนาถขอบิณฑบาต
ยุคหลังจากนั้นรัฐอยุธยาเมื่อพระไชยราชา (มีสนมเอกนามตำแหน่งว่าท้าวศรีสุดาจันทร์) ได้เสวยราชย์เป็นพระเจ้าแผ่นดิน
พระเทียรราชา (น้องชายพระไชยราชา) ต้องออกบวชการเมือง ให้พ้นราชภัย ว่าจะไม่ชิงราชสมบัติ ครั้นพระไชยราชาสวรรคต ท้าวศรีสุดาจันทร์กับขุนวรวงษาธิราช ได้อำนาจครองรัฐอยุธยา
พระเทียรราชาก็สึกจากบวชพระ ไปร่วมกับเจ้านายและขุนนางอื่นๆ [เช่น ขุนพิเรนทรเทพ (คือบิดาพระนเรศวรฯ) วงศ์สุโขทัย] กำจัดแล้วยึดอำนาจ ขึ้นเสวยราชย์เป็นพระมหาจักรพรรดิ
เจ้าฟ้ากุ้ง เคยออกบวชหนีราชภัยการเมืองภายในราชสำนักอยุธยา
คราวนี้เองได้แต่งฉันท์เรื่องนันโทปนันทสูตร เป็นวรรณกรรมสำคัญของยุคนี้ด้วย
ท้ายสุด พระเจ้าอุทุมพรออกบวช หลีกเลี่ยงการเมือง จนคนสมัยหลังเรียกขุนหลวงหาวัด เปิดทางให้พระเจ้าเอกทัศเป็นพระเจ้าแผ่นดิน จนกรุงแตก พ.ศ. 2310
19 กันยายน พ.ศ. 2519 จอมพล ถนอม กิตติขจร อดีตนายกรัฐมนตรีมือเปื้อนเลือด เดินทางจากกลับเข้าเข้าประเทศไทย ด้วยการบวชเป็นสามเณรมาจากประเทศสิงคโปร์ มาอุปสมบทเป็นเป็นภิกษุที่วัดบวรนิเวศวิหาร โดยมีสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒนมหาเถร) เป็นพระอุปัชฌาย์ โดยอ้างว่าต้องการบวชให้บิดาที่กำลังจะเสียชีวิต หลังจากเดินทางออกนอกประเทศหลังเหตุการณ์ "14 ตุลา 16” การกลับมาคราวนี้ ส่งผลให้กลุ่มนิสิตนักศึกษาและประชาชนได้ออกมาชุมนุม เพื่อขับไล่จอมพลถนอมกลับนอกประเทศ และประท้วงคณะสงฆ์วัดบวรฯ
จากนั้นกลุ่มฝ่ายขวาที่ต่อต้านนักศึกษา เช่น กลุ่มกระทิงแดง, กลุ่มนวพล, กลุ่มลูกเสือชาวบ้าน, กลุ่มพิทักษ์ชาติไทย ก็ออกมาประณามกลุ่มนักศึกษาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ต้องการทำลายสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ในที่สุดก็ยกกำลังมาปิดล้อมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ฝ่ายทหาร ตำรวจ ตำรวจตระเวณชายแดนก็เข้ามาปิดล้อมและทำการปราบปรามนักศึกษากลายเป็นเหตุการณ์นองเลือด "6 ตุลา 19” ทางการระบุว่ามีผู้เสียชีวิต 39 ศพ แต่เจ้าหน้าที่มูลนิธิร่วมกตัญญู ระบุว่า 530 บาดเจ็บอีกจำนวนมาก ถูกจับกุมข้อหากบฎ 3,094 คน กลายเป็นบาดแผลในประวัติศาสตร์ชาติไทยมาจนปัจจุบันนี้
ทุกวันนี้มีนักการเมืองกลุ่มหนึ่ง พากันไปบวชที่วัดแห่งหนึ่งทางภาคใต้ของประเทศ เป็นคำถามว่า พากันไปบวชทำอะไร???
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar