เหตุการณ์พฤษภาทมิฬเมื่อ 24 ปีก่อน เป็นเหตุการณ์ทางการเมืองที่สืบเนื่องจากการรัฐประหารโดยคณะรสช.เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2534
หลังจากการรัฐประหารแล้วได้มีการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นท่ามกลางการคัดค้านร่าง รัฐธรรมนูญที่มีเนิ้อหาไม่เป็นประชาธิปไตย ประเด็นสำคัญที่คัดค้านกันมากในขณะนั้น คือ การกำหนดให้ผู้ที่ไม่เป็นสส.สามารถเป็นนายกรัฐมนตรีได้และส.ว.มาจากการแต่ง ตั้ง แต่ในที่สุดก็ได้มีการประกาศใช้ร่างรัฐธรรมนูญในปี 2534 นั้นเอง และได้มีการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นในเดือนมีนาคม 2535 และมีการจัดตั้งรัฐบาลขึ้นในเวลาต่อมา
คณะรสช.ได้อยู่เบื้องหลังการรวบรวมนักการเมืองจากพรรคต่างๆมาตั้งเป็นพรรค การเมืองขึ้นใหม่ พรรคการเมืองนี้ได้ที่นั่งส.ส.มากเป็นอันดับหนึ่ง จึงได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลขึ้น ผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นนายกรัฐมนตรี คือ พล.อ.สุจินดา คราประยูร ผบ.ทบ.ในขณะนั้นซึ่งมีฐานะเป็นแกนนำคนสำคัญของรสช.ด้วย
กระแสคัดค้านรัฐธรรมนูญมีอยู่อย่างต่อเนื่อง เมื่อรัฐธรรมนูญประกาศใช้แล้วไปจนหลังการเลือกตั้งทั่วไปก็มีการเรียกร้อง ให้แก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นสำคัญ คือ ให้นายกรัฐมนตรีมาจากส.ส.และให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภา การเรียกร้องนี้มีองค์กรสมาพันธ์ประชาธิปไตยเป็นแกนนำ มีองค์กรนักศึกษาและองค์กรภาคประชาสังคมเข้าร่วมอย่างแข็งขัน พรรคการเมืองฝ่ายค้านในขณะนั้นได้แก่พรรคประชาธิปัตย์ พรรคความหวังใหม่ พรรคพลังธรรมและพรรคกิจประชาคม ก็เข้าร่วมด้วย
ก่อนการจัดตั้งรัฐบาล พล.อ.สุจินดา คราประยูรประกาศอย่างหนักแน่นชัดเจนมาตลอดว่าจะไม่รับตำแหน่งใดๆในรัฐบาล แต่ต่อมากลับรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยให้เหตุผลว่าเป็นการ “เสียสัตย์เพื่อชาติ” ทำให้ผู้ที่ร่วมกันเรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญและประชาชน รวมทั้งสื่อมวลชนจำนวนมากมีความไม่พอใจอย่างมาก ไม่พอใจที่มีการสืบทอดอำนาจของคณะรัฐประหารและตระบัดสัตย์
เหตุการณ์ทางการเมืองจึงได้พัฒนาไปเป็นการเรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ควบคู่กันไปกับการขับไล่พล.อ.สุจินดา คราประยูร ออกจากตำแหน่ง มีประชาชนทั่วประเทศเข้าร่วมและสนับสนุนการเรียกร้องนี้อย่างกว้างขวาง ที่มีบทบาทมากเป็นพิเศษและมักถูกกล่าวถึงก็คือ ชนชั้นกลางในเมือง ซึ่งขณะนั้นเพิ่งนิยมใช้โทรศัพท์มือถือกันมากและสามารถสื่อสารถึงกันได้ อย่างรวดเร็ว ทำให้การชุมนุมในเดือนพฤษภาคม 2535 ถูกเรียกว่าเป็น "ม็อบมือถือ”
การชุมนุมที่เข้มแข็งมีพลังเกิดขึ้นในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม 2535 เมื่อสถานการณ์ตึงเครียดมากขึ้นๆ พรรคฝ่ายค้านในขณะนั้นได้เสนอให้มีการเปิดประชุมสภาผู้แทนขึ้นเพื่อประชุมหา ทางคลี่คลายสถานการณ์ แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ
ต่อมามีการจับผู้นำการชุมนุม ปราบผู้เข้าร่วมชุมนุมจนเหตุการณ์บานปลาย มีผู้บาดเจ็บล้มตายจำนวนมากและในที่สุดพล.อ.สุจินดา คราประยูรได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นการสิ้นสุดลงของการสืบทอดอำนาจคณะรัฐประหารเพียงเท่านั้น
มีการตั้งรัฐบาลใหม่ขึ้นแทนที่โดยรัฐบาลนั้นประกาศอย่างชัดเจนว่าจะอยู่ทำ หน้าที่เพียงระยะเวลาสั้นๆ เมื่อมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้วก็จะจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปขึ้น
ก่อนจะมีการเลือกตั้ง ได้มีการแก้รัฐธรรมนูญในประเด็นที่กำหนดให้นายกรัฐมนตรีต้องมาจากสส.และให้ ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภา แม้การแก้รัฐธรรมนูญในครั้งนั้นไม่ได้ครอบคลุมประเด็นกว้างขวางนัก แต่ก็ได้เป็นการเปลี่ยนแปลงก้าวใหญ่และเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการปฏิรูปการ เมืองที่ก่อให้เกิดรัฐธรรมนูญปี 2540 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้นโดยประชาชนมีส่วนร่วมมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา
เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ เป็นเหตุการณ์ที่ประชาชนหลายฝ่ายได้ร่วมกันเรียกร้องให้บ้านเมืองเป็น ประชาธิปไตยในประเด็นสำคัญ คือ ปฏิเสธการสืบทอดอำนาจของคณะรัฐประหาร ยืนยันว่านายกรัฐมนตรีต้องมาจากส.ส.หรือมักเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “นายกฯต้องมาจากการเลือกตั้ง” นั่นเอง มักมีการกล่าวอ้างกันว่าการกำหนดในรัฐธรรมนูญให้คนนอกสามารถเป็นนายก รัฐมนตรีได้นั้นไม่เป็นปัญหาอะไร เพราะหากพรรคการเมืองหรือนักการเมืองไม่เอาด้วยเสียอย่าง คนนอกก็ไม่อาจเป็นนายกรัฐมนตรีได้อยู่ดี
หากศึกษาทบทวนเหตุการณ์ทางการเมืองตั้งแต่การรัฐประหารโดยรสช.ในปี 2534 เรื่อยมาจนถึงเหตุการณ์พฤษภาทมิฬและสิ่งที่เกิดขึ้นตามมา ก็จะเห็นว่าที่การกล่าวอ้างเช่นนั้นไม่เป็นจริงเลย เมื่อมีการเปิดช่องแม้เพียงเล็กๆให้คนนอกสามารถเป็นนายกฯได้แล้ว สิ่งที่ตามมา ก็คือ การพยายามทุกวิถีทางเพื่อให้คนนอกได้เป็นนายกฯได้จริงๆ เช่น การตั้งคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน การอายัดทรัพย์สินที่ถูกใช้เป็นเงื่อนไขต่อรองให้นักการเมืองต้องยอมสยบร่วม มือ
การตั้งพรรคการเมืองโดยคณะรสช.บงการและสนับสนุน การใช้อำนาจรัฐและทุนมหาศาลแทรกแซงการเลือกตั้งอย่างโจ๋งครึ่ม และการบัญญัติในรัฐธรรมนูญเพื่อปิดทางนักการเมืองบางคน บางพรรคไม่ให้ประสบความสำเร็จในการเลือกตั้ง เหล่านี้เป็นต้น ได้เกิดขึ้นเพียงเพื่อทำให้การสืบทอดอำนาจของรสช.และให้แกนนำ
รสช.ที่ไม่ได้ มาจากการเลือกตั้งได้เป็นนายกฯสมใจตามแผนการที่วางไว้ล่วงหน้า
ในประเทศที่ประชาธิปไตยพัฒนาก้าวหน้าจนมั่นคงอยู่ตัวแล้ว จะกำหนดว่านายกฯต้องมาจากการเลือกตั้งหรือไม่ก็อาจไม่ต่างกัน เพราะสังคมทั้งสังคมเขาก็จะไม่ยินยอมให้ผู้ที่ไม่มาจากการเลือกตั้งมาเป็น นายกรัฐมนตรีได้ง่ายๆ รวมทั้งไม่ยอมให้เกิดการแทรกแซงทำลายความเป็นประชาธิปไตยของการเมืองการ ปกครองของเขาด้วย
แต่สำหรับประเทศไทย เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ และเหตุการณ์ทางการเมืองหลายครั้งทั้งก่อนหน้านั้นและหลังจากนั้น ได้สอนเราว่าเรื่องการกำหนดให้นายกฯต้องมาจากการเลือกตั้งนั้นเป็นแก่น แกนอย่างหนึ่งของความเป็นประชาธิปไตย หากไม่กำหนดให้ชัดเจนเสียแล้ว ความพยายามแทรกแซงบิดเบือนสารพัดก็อาจตามมา ทำให้เกิดความเสียหายมากมายขึ้นได้
ประชาชนต้องบาดเจ็บล้มตายไปไม่น้อยในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ เหตุการณ์นี้ได้ทำให้ประเทศไทยเป็นประชาธิปไตยมากขึ้นและพัฒนาก้าวหน้าต่อมา อีกเป็นสิบๆปี
ไม่น่าเชื่อว่า 24 ปีผ่านไป เราต้องมารำลึกเหตุการณ์เดือนพฤษภา 35 กัน ในขณะที่ประเด็นเรียกร้องเดิมๆกลับมาอีกและบ้านเมืองอยู่ในสภาพที่ถอย หลังยิ่งกว่าช่วงก่อนเหตุการณ์เดือนพฤษภาเสียอีก
เราจะเรียนรู้จากเหตุการณ์เดือนพฤษภา และใช้บทเรียนเหล่านั้นให้เป็นประโยชน์ต่อการสร้างอนาคตของบ้านเมืองเรา อย่างไร จึงเป็นโจทย์ที่เราต้องร่วมกันคิดในโอกาสรำลึกเหตุการณ์เดือนพฤษภา 2535 ในปีนี้
...........................
#รำลึกเหตุการณ์พฤษภา2535 #เรียนรู้เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ #รัฐประหาร #คัดค้านร่างรัฐธรรมนูญ
หลังจากการรัฐประหารแล้วได้มีการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นท่ามกลางการคัดค้านร่าง รัฐธรรมนูญที่มีเนิ้อหาไม่เป็นประชาธิปไตย ประเด็นสำคัญที่คัดค้านกันมากในขณะนั้น คือ การกำหนดให้ผู้ที่ไม่เป็นสส.สามารถเป็นนายกรัฐมนตรีได้และส.ว.มาจากการแต่ง ตั้ง แต่ในที่สุดก็ได้มีการประกาศใช้ร่างรัฐธรรมนูญในปี 2534 นั้นเอง และได้มีการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นในเดือนมีนาคม 2535 และมีการจัดตั้งรัฐบาลขึ้นในเวลาต่อมา
คณะรสช.ได้อยู่เบื้องหลังการรวบรวมนักการเมืองจากพรรคต่างๆมาตั้งเป็นพรรค การเมืองขึ้นใหม่ พรรคการเมืองนี้ได้ที่นั่งส.ส.มากเป็นอันดับหนึ่ง จึงได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลขึ้น ผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นนายกรัฐมนตรี คือ พล.อ.สุจินดา คราประยูร ผบ.ทบ.ในขณะนั้นซึ่งมีฐานะเป็นแกนนำคนสำคัญของรสช.ด้วย
กระแสคัดค้านรัฐธรรมนูญมีอยู่อย่างต่อเนื่อง เมื่อรัฐธรรมนูญประกาศใช้แล้วไปจนหลังการเลือกตั้งทั่วไปก็มีการเรียกร้อง ให้แก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นสำคัญ คือ ให้นายกรัฐมนตรีมาจากส.ส.และให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภา การเรียกร้องนี้มีองค์กรสมาพันธ์ประชาธิปไตยเป็นแกนนำ มีองค์กรนักศึกษาและองค์กรภาคประชาสังคมเข้าร่วมอย่างแข็งขัน พรรคการเมืองฝ่ายค้านในขณะนั้นได้แก่พรรคประชาธิปัตย์ พรรคความหวังใหม่ พรรคพลังธรรมและพรรคกิจประชาคม ก็เข้าร่วมด้วย
ก่อนการจัดตั้งรัฐบาล พล.อ.สุจินดา คราประยูรประกาศอย่างหนักแน่นชัดเจนมาตลอดว่าจะไม่รับตำแหน่งใดๆในรัฐบาล แต่ต่อมากลับรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยให้เหตุผลว่าเป็นการ “เสียสัตย์เพื่อชาติ” ทำให้ผู้ที่ร่วมกันเรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญและประชาชน รวมทั้งสื่อมวลชนจำนวนมากมีความไม่พอใจอย่างมาก ไม่พอใจที่มีการสืบทอดอำนาจของคณะรัฐประหารและตระบัดสัตย์
เหตุการณ์ทางการเมืองจึงได้พัฒนาไปเป็นการเรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ควบคู่กันไปกับการขับไล่พล.อ.สุจินดา คราประยูร ออกจากตำแหน่ง มีประชาชนทั่วประเทศเข้าร่วมและสนับสนุนการเรียกร้องนี้อย่างกว้างขวาง ที่มีบทบาทมากเป็นพิเศษและมักถูกกล่าวถึงก็คือ ชนชั้นกลางในเมือง ซึ่งขณะนั้นเพิ่งนิยมใช้โทรศัพท์มือถือกันมากและสามารถสื่อสารถึงกันได้ อย่างรวดเร็ว ทำให้การชุมนุมในเดือนพฤษภาคม 2535 ถูกเรียกว่าเป็น "ม็อบมือถือ”
การชุมนุมที่เข้มแข็งมีพลังเกิดขึ้นในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม 2535 เมื่อสถานการณ์ตึงเครียดมากขึ้นๆ พรรคฝ่ายค้านในขณะนั้นได้เสนอให้มีการเปิดประชุมสภาผู้แทนขึ้นเพื่อประชุมหา ทางคลี่คลายสถานการณ์ แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ
ต่อมามีการจับผู้นำการชุมนุม ปราบผู้เข้าร่วมชุมนุมจนเหตุการณ์บานปลาย มีผู้บาดเจ็บล้มตายจำนวนมากและในที่สุดพล.อ.สุจินดา คราประยูรได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นการสิ้นสุดลงของการสืบทอดอำนาจคณะรัฐประหารเพียงเท่านั้น
มีการตั้งรัฐบาลใหม่ขึ้นแทนที่โดยรัฐบาลนั้นประกาศอย่างชัดเจนว่าจะอยู่ทำ หน้าที่เพียงระยะเวลาสั้นๆ เมื่อมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้วก็จะจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปขึ้น
ก่อนจะมีการเลือกตั้ง ได้มีการแก้รัฐธรรมนูญในประเด็นที่กำหนดให้นายกรัฐมนตรีต้องมาจากสส.และให้ ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภา แม้การแก้รัฐธรรมนูญในครั้งนั้นไม่ได้ครอบคลุมประเด็นกว้างขวางนัก แต่ก็ได้เป็นการเปลี่ยนแปลงก้าวใหญ่และเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการปฏิรูปการ เมืองที่ก่อให้เกิดรัฐธรรมนูญปี 2540 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้นโดยประชาชนมีส่วนร่วมมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา
เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ เป็นเหตุการณ์ที่ประชาชนหลายฝ่ายได้ร่วมกันเรียกร้องให้บ้านเมืองเป็น ประชาธิปไตยในประเด็นสำคัญ คือ ปฏิเสธการสืบทอดอำนาจของคณะรัฐประหาร ยืนยันว่านายกรัฐมนตรีต้องมาจากส.ส.หรือมักเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “นายกฯต้องมาจากการเลือกตั้ง” นั่นเอง มักมีการกล่าวอ้างกันว่าการกำหนดในรัฐธรรมนูญให้คนนอกสามารถเป็นนายก รัฐมนตรีได้นั้นไม่เป็นปัญหาอะไร เพราะหากพรรคการเมืองหรือนักการเมืองไม่เอาด้วยเสียอย่าง คนนอกก็ไม่อาจเป็นนายกรัฐมนตรีได้อยู่ดี
หากศึกษาทบทวนเหตุการณ์ทางการเมืองตั้งแต่การรัฐประหารโดยรสช.ในปี 2534 เรื่อยมาจนถึงเหตุการณ์พฤษภาทมิฬและสิ่งที่เกิดขึ้นตามมา ก็จะเห็นว่าที่การกล่าวอ้างเช่นนั้นไม่เป็นจริงเลย เมื่อมีการเปิดช่องแม้เพียงเล็กๆให้คนนอกสามารถเป็นนายกฯได้แล้ว สิ่งที่ตามมา ก็คือ การพยายามทุกวิถีทางเพื่อให้คนนอกได้เป็นนายกฯได้จริงๆ เช่น การตั้งคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน การอายัดทรัพย์สินที่ถูกใช้เป็นเงื่อนไขต่อรองให้นักการเมืองต้องยอมสยบร่วม มือ
การตั้งพรรคการเมืองโดยคณะรสช.บงการและสนับสนุน การใช้อำนาจรัฐและทุนมหาศาลแทรกแซงการเลือกตั้งอย่างโจ๋งครึ่ม และการบัญญัติในรัฐธรรมนูญเพื่อปิดทางนักการเมืองบางคน บางพรรคไม่ให้ประสบความสำเร็จในการเลือกตั้ง เหล่านี้เป็นต้น ได้เกิดขึ้นเพียงเพื่อทำให้การสืบทอดอำนาจของรสช.และให้แกนนำ
รสช.ที่ไม่ได้ มาจากการเลือกตั้งได้เป็นนายกฯสมใจตามแผนการที่วางไว้ล่วงหน้า
ในประเทศที่ประชาธิปไตยพัฒนาก้าวหน้าจนมั่นคงอยู่ตัวแล้ว จะกำหนดว่านายกฯต้องมาจากการเลือกตั้งหรือไม่ก็อาจไม่ต่างกัน เพราะสังคมทั้งสังคมเขาก็จะไม่ยินยอมให้ผู้ที่ไม่มาจากการเลือกตั้งมาเป็น นายกรัฐมนตรีได้ง่ายๆ รวมทั้งไม่ยอมให้เกิดการแทรกแซงทำลายความเป็นประชาธิปไตยของการเมืองการ ปกครองของเขาด้วย
แต่สำหรับประเทศไทย เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ และเหตุการณ์ทางการเมืองหลายครั้งทั้งก่อนหน้านั้นและหลังจากนั้น ได้สอนเราว่าเรื่องการกำหนดให้นายกฯต้องมาจากการเลือกตั้งนั้นเป็นแก่น แกนอย่างหนึ่งของความเป็นประชาธิปไตย หากไม่กำหนดให้ชัดเจนเสียแล้ว ความพยายามแทรกแซงบิดเบือนสารพัดก็อาจตามมา ทำให้เกิดความเสียหายมากมายขึ้นได้
ประชาชนต้องบาดเจ็บล้มตายไปไม่น้อยในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ เหตุการณ์นี้ได้ทำให้ประเทศไทยเป็นประชาธิปไตยมากขึ้นและพัฒนาก้าวหน้าต่อมา อีกเป็นสิบๆปี
ไม่น่าเชื่อว่า 24 ปีผ่านไป เราต้องมารำลึกเหตุการณ์เดือนพฤษภา 35 กัน ในขณะที่ประเด็นเรียกร้องเดิมๆกลับมาอีกและบ้านเมืองอยู่ในสภาพที่ถอย หลังยิ่งกว่าช่วงก่อนเหตุการณ์เดือนพฤษภาเสียอีก
เราจะเรียนรู้จากเหตุการณ์เดือนพฤษภา และใช้บทเรียนเหล่านั้นให้เป็นประโยชน์ต่อการสร้างอนาคตของบ้านเมืองเรา อย่างไร จึงเป็นโจทย์ที่เราต้องร่วมกันคิดในโอกาสรำลึกเหตุการณ์เดือนพฤษภา 2535 ในปีนี้
...........................
#รำลึกเหตุการณ์พฤษภา2535 #เรียนรู้เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ #รัฐประหาร #คัดค้านร่างรัฐธรรมนูญ
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar