tisdag 27 oktober 2020

“กษตริย์ไทยกลายเป็นเรื่องท้าทายทางการทูตของเยอรมนี”

 

ร.10 : วอลสตรีตเจอร์นัล พาดหัว “กษตริย์ไทยกลายเป็นเรื่องท้าทายทางการทูตของเยอรมนี”

Pro-democracy demonstrators protest outside the German Embassy in Bangkok, Thailand October 26, 2020.

วอลสตรีตเจอร์นัล (WSJ) เผยแพร่รายงานความยาวราว 1,000 คำ เมื่อ 26 ต.ค. ว่า ผู้ประท้วงที่สนับสนุนประชาธิปไตยในประเทศไทยซึ่งกำลังเผชิญหน้ากับสถาบันกษัตริย์ที่ทรงอิทธิพลและเร้นลับของประเทศกำลังมุ่งหน้าไปที่เยอรมนีเพื่อหาคำตอบ

หนังสือพิมพ์ด้านเศรษฐกิจและธุรกิจที่ทรงอิทธิพลของสหรัฐฯ รายงานว่า ผู้ชุนนุม "หลายพันคน" ไปชุมนุมที่หน้าสถานทูตเยอรมนีในกรุงเทพฯ เมื่อค่ำวันจันทร์ เรียกร้องให้ รัฐบาลของนางอังเกลา แมร์เคิล ตรวจสอบพระมหากษัตริย์ของพวกเขา ที่ทรงใช้เวลาหลายช่วงในรัฐบาวาเรีย (บาเยิร์น ในภาษาเยอรมัน) ทางตอนใต้ของประเทศ

ผู้สื่อข่าวของ WSJ ในสิงคโปร์ และเบอร์ลิน รายงานว่านักเคลื่อนไหวเยาวชนไทยมองว่าสถาบันกษัตริย์เป็นอุปสรรคต่อพัฒนาการประชาธิปไตยของประเทศ พวกเขายื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลเยอรมนีหลายข้อ เช่น ให้เปิดเผยบันทึกการเสด็จพระราชดำเนินในเยอรมนี บันทึกการเสียภาษี ให้พิสูจน์ว่าพระจริยาวัตรของพระองค์ในต่างแดนมีผลกระทบต่อเหตุการณ์การเมืองในไทย และตรวจสอบว่าพระองค์ทรงพระเกษมสำราญในต่างแดนขณะที่คนไทยกำลังเผชิญกับความทุกข์ยากทางเศรษฐกิจเนื่องมาจากวิกฤตโควิด-19

Leaders of pro-democracy protesters Jatupat Boonpattararaksa, aka Pai Dao Din (L) and Patsaravalee Tanakitvibulpon (C) flash the three-finger salute as they hold controversial petition letter over Thai King"s alleged violation of German sovereignty at the German embassy in Bangkok, Thailand, 26 October 2020

ด้านนายไฮโก มาส รมว. ต่างประเทศของเยอรมนี ตอบคำถามในการแถลงข่าวเมื่อ 26 ต.ค. ว่า รัฐบาลเยอรมนีกำลังติดตามอย่างใกล้ชิดทั้งเรื่องการชุมนุมในไทยและพระราชจริยาวัตรของกษัตริย์ไทยในเยอรมนี

"ถ้ามีสิ่งใดที่เราคิดว่าผิดกฎหมาย จะต้องมีการดำเนินการตามมาในทันที"

ก่อนหน้านี้ เมื่อ 7 ต.ค. นายมาส ตอบกระทู้ในรัฐสภาในเรื่องนี้ว่า "เราอธิบายไว้ชัดเจนว่าการดำเนินการทางการเมืองที่เกี่ยวกับประเทศไทยไม่ควรมาจากดินแดนของเยอรมนี"

กระทรวงการต่างประเทศไทยชี้แจงอย่างไร

WSJ รายงานคำชี้แจงของโฆษกหญิงของกระทรวงการต่างประเทศไทย ที่ไม่ระบุชื่อว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระประมุขของประเทศ "ทรงปกเกล้าแต่ไม่ปกครอง" และทรงประกอบพระราชกรณียกิจในพิธีต่าง ๆ พระองค์ "ไม่ทรงยุ่งเกี่ยวในการเมืองและการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งถือเป็นความรับผิดชอบของนายกรัฐมนตรีและรัฐบาล"

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ ถวายผ้าพระกฐิน วัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี

แต่ WSJ รายงานว่า ผู้ประท้วง นักวิเคราะห์การเมือง และนักประวัติศาสตร์หลายคนให้ความเห็นว่า สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นส่วนหนึ่งของบรรดาผู้นำกองทัพและฝ่ายนิยมเจ้าชั้นสูงที่ควบคุมกลไกของอำนาจที่แท้จริง กองทัพกระทำการรัฐประหารหลายครั้งในอดีตโดยอ้างว่าเพื่อปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ ที่ให้การรับรองการโค่นอำนาจเหล่านั้น

บีบีซีไทย ติดต่อไปที่กระทรวงการต่างประเทศไทย เพื่อขอคำชี้แจงเรื่องนี้เพิ่ม แต่ไม่ได้รับคำตอบ

หนังสือพิมพ์ ไฟแนนเชียล์ไทมส์ (FT) รายงานวันเดียวกันว่า ชาวไทยหลายพันคนเดินขบวนไปไปชุมนุมที่หน้าสถานทูตเยอรมนีในกรุงเทพฯ เพื่อกดดันให้รัฐบาลในกรุงเบอร์ลินเริ่มการสอบข้อเท็จจริงว่าพระมหากษัตริย์ของไทยทรงบริหารราชการแผ่นดินจากเยอรมนี

FT ระบุว่า การเสด็จประทับในเยอรมนีกลายเป็น "ปัญหาทางการทูต" ของ รัฐบาลในเบอร์ลิน โดยเมื่อวันจันทร์ นายมาส ต้องออกมาแถลงว่า พระราชจริยาวัตรของพระองค์ตกอยู่ใต้การจับตา "อย่างต่อเนื่อง"

Pro-democracy demonstrators stand in front of a banner reading: "Reform the monarchy" during a protest, in Bangkok, Thailand October 26, 2020.

FT หนังสือพิมพ์ด้านเศรษฐกิจและธุรกิจที่ได้รับความเชื่อถือในอังกฤษ แปลคำพูดของนายมาสจากภาษาเยอรมันเป็นภาษาอังกฤษว่า "ผมกำลังจับตาดูอยู่ถึงพระจริยาวัตรของกษัตริย์ไทยในเยอรมนี... ถ้ามีสิ่งใดที่เราเห็นว่าผิดกฎหมาย จะต้องมีการดำเนินการตามมาในทันที" แต่นายมาสไม่ได้ระบุว่า "การดำเนินการที่ตามมา" คืออะไร

FT รายงานว่ากษัตริย์ทรงใช้เวลาส่วนใหญ่ในรอบปีที่ผ่านมาในเยอรมนี แต่สื่อไทยส่วนใหญ่หลีกเลี่ยงการรายงานข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ เนื่องจากการเซ็นเซอร์ตัวเอง เพื่อไม่ให้ต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar