fredag 30 oktober 2020

อดีต-ปัจจุบันของความพยายาม "ปรองดอง-สมานฉันท์" เพื่อยื้ออำนาจระบอบเผด็จการทรราชย์.

สถาบันพระปกเกล้านัดประชุมวันนี้ (30 ต.ค.) หลังได้รับมอบหมายจากชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ให้วางโครงสร้างคณะกรรมการปรองดองสมานฉันท์หาทางออกให้ประเทศ ก่อนนำเสนอรูปแบบต่อนายชวนในวันที่ 2 พ.ย.

...................................................

Somsak Jeamteerasakul har uppdaterat sin status.

ในขณะที่ยังไม่มีรายละเอียดว่า "ปรองดอง" ของ คสช จะออกมาอย่างเป็นรูปธรรมอย่างไรบ้าง ผมคิดว่า จากที่เห็นและเป็นอยู่ เราอาจจะสรุปได้กว้างๆว่า

"กรอบ" ของไอเดีย "ปรองดอง" ของ คสช คือ

"อย่าทะเลาะกัน" #ในระดับระหว่างพรรคการเมืองและฐานมวลชน คือในระดับระหว่าง ปชป-พท, นปช-กปปส/พันธมิตร

แต่การไม่ทะเลาะกันในระดับที่ว่า หมายความด้วยว่า "ทุกฝ่าย" ในระดับดังกล่าวที่ไม่ทะเลาะกันนั้น #จะต้องยอมรับอำนาจของสถาบัน, #องค์กร ฯลฯ #ที่ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมตรวจสอบของสังคมโดยรวมด้วย ได้แก่ สถาบันกษัตริย์, กองทัพ, ตุลาการภิวัฒน์ (ศาล, องค์กรอิสระ ฯลฯ) - นั่นคือ #ยอมรับการจัดสรรอำนาจตามที่วางไว้ในรัฐธรรมนูญ คสช (เพียงแต่ "อย่าทะเลาะกัน" ในระดับพรรคการเมืองและฐานมวลชน)

การ "ปรองดอง" ภายใต้ "กรอบ" หรือแนวคิดแบบนี้ จะไม่แก้ปัญหารากฐานของวิกฤติสิบปีได้ ยิ่งไม่ใช่การนำไปสู่ประชาธิปไตยที่แท้จริงและยั่งยืน

 

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar