tisdag 20 januari 2015

ระบบผูกขาดเศรษฐกิจและเคลือข่ายของกษัตริย์และพวกบริวาร ... ฝากให้ทุกคนอ่านเพื่อจะได้เข้าใจที่มาที่ไปของพวก ชนชั้นเหลือบศักดินา นายทุน ขุนศึก ข้าราชการ นักการเมือง ที่ทำมาหากินร่วมกันเป็นระบบ ช่วยเหลือเกื้อกูลกันซึ่งกันและกัน เพื่อรักษาอำนาจและผลประโยขน์สร้างความร่ำรวยให้แต่ละฝ่ายเท่านั้นเองไม่ใช่เพื่อประเทศชาติและประชาชน...

รูปภาพของ ตาสว่าง

คนของพระเจ้าอยู่หัวที่ทำงานอยู่เบื้องหลังธุรกิจของพระองค์ก็
กำลังทำการกอบกู้ธุรกิจของวังที่ล้มลงไปอย่างขนานใหญ่
โดยใช้งบประมาณมหาศาลจากรัฐบาลที่กำลังแห้งเหือดอยู่แล้ว
นิตยสารฟอร์บ (Forbes)ประมาณว่าทรัพย์สินของพระเจ้าอยู่หัวมีอยู่ราวแปดหมื่นล้านบาท โดยที่วังยังคงเหนียวแน่นกอดหุ้น 37 เปอร์เซ็นต์ ในเครือซีเมนต์ไทยไว้
กระทรวงการคลังถูกบีบให้อัดฉีดเงินกว่าสี่หมื่นล้านบาทให้ธนาคารไทยพาณิชย์ ทำให้รัฐบาลเสียเปรียบ แต่วังยังคงถือหุ้น 26 เปอร์เซ็นต์

กระทรวงการคลังที่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ก็มอบอำนาจการบริหารให้วัง
และยังต้องขายหุ้นคืนแก่สำนักงานทรัพย์สินฯในภายหลัง
นิตยสารฟอร์บส์ประเมินว่าพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลทรงมีทรัพย์สินในปี 2540
ราวหนึ่งแสนล้านบาท
พอปี 2548 ดร.พอพันธ์ อุยยานนท์ ประเมินว่าทรงมีพระราชทรัพย์เพิ่ม
เป็น 1.4 ล้านล้านบาท พอๆกับงบประมาณของประเทศทั้งปี หรือมากกว่า พตท.ทักษิณที่มี 75,000 ล้านบาท ราว 20 เท่า
สำนักข่าวบลูมเบิร์กที่มีชื่อเสียงที่สุดเรื่องการลงทุนทั่วโลก
ได้จัดให้ในหลวงภูมิพล ทรงครองตำแหน่งนักลงทุนอันดับ1 ในตลาดหุ้นของไทย ด้วยมูลค่าหุ้นมากกว่า 150,000 ล้านบาท เฉพาะแค่บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด มหาชน (SCC) ทรงถือหุ้น 360 ล้านหุ้นหรือร่วม 6 หมื่นล้านบาท และธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด มหาชน(SCB)ทรงถือหุ้นกว่า 723 ล้านหุ้น หรือกว่า 56,000 ล้านบาท

(มูลค่าในตอนนั้น)
โดยมีการโอนสินทรัพย์ไปให้บริษัททุนลดาวัลย์ จัดการดูแลในการบริหาร
การลงทุนทั่วไป รวมทั้งให้บริษัทวังสินทรัพย์จัดการบริหารที่ดินและอสังหาริมทรัพย์โดยมีนายยศ เอื้อชูเกียรติ เป็นประธานกรรมการทั้งสองบริษัท
การกอบกู้สถานการณ์วิกฤตของธนาคารไทยพาณิชย์ ตามโครงการ 14 สิงหา
ต้องเพิ่มทุนอีก 32,500 ล้านบาท
แต่สำนักงานทรัพย์สินฯ ได้นำที่ดินย่านทุ่งพญาไท บริเวณถนนราชวิถี
ซึ่งเป็นที่ดินให้หน่วยงานราชการเช่า จำนวน 484.5 ไร่ มูลค่าประมาณ 16,500 ล้านบาท แลกกับหุ้นของธนาคารไทยพาณิชย์ที่กระทรวงการคลังถืออยู่
และในที่สุด สำนักงานทรัพย์สินฯก็กลับมาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ราว 25%
โดยกระทรวงการคลังต้องออกพันธบัตรดอกเบี้ย 4.25 % ต่อปี จนถึงปี 2552
เมื่อค่าเงินบาทไทยลดลงหลังวิกฤตการณ์ ปี 2540 ทำให้ยอดส่งออกผลิตภัณฑ์
เครือซิเมนต์ไทย ทั้งธุรกิจปิโตรเคมี ซีเมนต์ และกระดาษ ขยายตัวในระดับสูง

มีการขยายการลงทุนไปต่างประเทศ ทั้งใน กัมพูชา เวียดนาม อินโดนีเซีย อิหร่าน และได้ขยายการลงทุนภายในประเทศ ขณะที่สำนักงานทรัพย์สินได้ลงทุนกับกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมี และกลุ่มพลังงานอื่นๆ เช่น ปตท.
แล้วยังมีความสัมพันธ์กับกลุ่มทุนชั้นนำคือกลุ่มทุนเทมาเส็ก (Temasek)
ซึ่งรัฐบาลสิงคโปร์เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ โดยธนาคารไทยพาณิชย์ปล่อยเงินกู้
ร่วมกับธนาคารกรุงเทพ 3 หมื่นล้านบาท เพื่อซื้อหุ้นของชินคอร์ป
กรรมการของธนาคารไทยพาณิชย์ก็มีตัวแทนจากกลุ่มเทมาเส็กอยู่ด้วย
คือนายปีเตอร์ เซียะ ลิมฮวท (Peter Seah Lim Huat)
ธนาคารไทยพาณิชย์และทุนลดาวัลย์ร่วมทุนกับเครือ Capital Land ของเทมาเส็ก ตั้งบริษัท พรีมัส เข้ามาจัดการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเครือทรัพย์สินฯ
รวมถึงธุรกิจอื่นๆ ด้วย
ในช่วงรัฐบาลทักษิณอัตราดอกเบี้ยต่ำ และราคาของหุ้นสูงขึ้น
บริษัททุนลดาวัลย์ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ของกษัตริย์ภูมิพล
มีกำไรจากการขายหลักทรัพย์สูงถึง 8,257 ล้านบาทในปี 2547
โดยมีรายได้ทั้งหมดกว่าสี่หมื่นล้านบาท
สำนักงานทรัพย์สินฯ ได้ปรับนโยบายค่าเช่า รวมทั้งการนำอสังหาริมทรัพย์
มาแสวงหารายได้ในเชิงพาณิชย์มากขึ้น เช่น
ที่ดินบริเวณโรงเรียนเตรียมทหารเดิม จำนวน 120ไร่ เป็นสวนลุม ไนท์บาซาร์
และ โครงการพัฒนาบริเวณถนนราชดำเนินกลางทำเป็นถนนชองป์สเอลิเซ่ส์ (Champs Elysees)ในกรุงปารีส ฝรั่งเศส
ทำสัญญาให้บริษัทวังเพชรบูรณ์ของเตชะไพบูลย์ พัฒนาโครงการเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์บนที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินฯบริเวณวังสระปทุม

ต่อมามีปัญหาการเงินจนถูกถอดถอนสิทธิต้องจ่ายค่าเสียหายกว่า 6 พันล้านบาท
และได้เซ็นสัญญาใหม่กับ บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา (Central Pattana Plc)
ของจิราธิวัฒน์ อายุสัญญา 30 ปีค่าเช่าระยะยาว 2,000 ล้านบาท
พัฒนาให้เป็นคอมเพล็กซ์ สำนักงานให้เช่า 45 ชั้น ชื่อ เซนทรัลเวิร์ลพลาซ่า (Central World Plaza) มีการต่อสัญญาเช่าที่ดินโรงแรมดุสิตธานีอีก 15 ปี
มูลค่า 1,100 ล้านบาท
สำนักงานทรัพย์สินฯมีที่ดิน 8,835 ไร่ ในกรุงเทพมหานครหรือราว 1 ใน 3
ของพื้นที่ย่านธุรกิจในกรุงเทพ และ 31,270 ไร่ในต่างจังหวัด
มีผู้เช่าอยู่ในกรุงเทพฯ 22,000 ราย และผู้เช่าในเขตต่างจังหวัด 13,000 ราย
ใน 9 จังหวัด คือ อยุธยา สุพรรณบุรี นครสวรรค์ พิษณุโลก พิจิตร ลำปาง ราชบุรี เพชรบุรี และสงขลา
มีชุมชนแออัดที่อยู่ในที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินฯ 73 ชุมชนที่ดินของทรัพย์สินฯราว 30% ในกรุงเทพฯ ให้ราชการเช่าโดยค่าเช่าต่ำมากและมักอยู่ในทำเล
ย่านธุรกิจ เช่น
ถนนพระราม 6 (บริเวณ องค์การเภสัชกรรม ) ถนนราชวิถี (ทุ่งพญาไท)
ถนนพระราม 1 (ที่ตั้งของสำนักงานตำรวจแห่งชาติใกล้สยามสแควร์) ฯลฯ

ส่งผลให้ผู้เช่าอยู่อย่างแออัด เนื่องจากได้ค่าเช่าราคาถูก เมื่อต้องการนำที่ดิน
มาทำธุรกิจ ก็ต้องไล่ที่ผู้เช่าหรือผู้อยู่อาศัยเดิม เช่น
บริเวณราชวิถีใกล้อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
เขตเทพประทาน คลองเตย
และชุมชนแออัด ตรงข้ามศูนย์ประชุม แห่งชาติสิริกิตต์
ทำให้การพัฒนาเมืองและการใช้ที่ดินเพื่อประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจในกรุงเทพฯ
ถูกปล่อยไปตามยถากรรม และยังมีที่ดินกระจายไปในย่านธุรกิจทั่วกรุงเทพ เช่น
ย่านสะพานขาว
ย่านเฉลิมโลก ตรงข้ามศูนย์การค้าราชประสงค์
ถนนวรจักร แขวงจักรวรรดิ
ถนนพระราม4 แขวงสีลม
ถนนจักรพรรดิพงษ์ แขวงบ้านบาตรป้อมปราบ
ถนนเจริญกรุง แขวงป้อมปราบ
ถนนสีลม แขวงสีลม
ซอยหลังสวน ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี
ถนนพิษณุโลก แขวงสวนจิตรลดา
ซอยต้นสน ถนนเพลินจิต
ซอยพิพัฒน์ ถนนสีลม ซอย 3
ถนนวิสุทธิ์กษัตริย์ บางขุนพรหม
ซอยสนามคลี หรือซอยโปโล ถนนวิทยุ
ถนนสามเสน แขวงวชิรพยาบาล
สำนักงานทรัพย์สินฯ ได้ถือหุ้นโรงแรมหลายแห่ง เช่น
โรงแรมโฟร์ซีซั่น

สยามอินเตอร์คอนติเนนตัล
( ปัจจุบันได้รื้อ และสร้างใหม่เป็นศูนย์การค้าสยามพาราก้อน )
ฮิลตัน (Hilton) ถนนวิทยุ
โรยัล ปรินเซส (Royal Princess) หลานหลวง
แอร์พอร์ต หรือ อมารีดอนเมือง (Amari Airport)
รอยัลออคิดเชอราตัน (Royal Orchid Sheraton)
บางกอกอินเตอร์ คอนติเนนตัล (Intercontinental Bangkok หัวลำโพง)
โอเรียลเต็ล Oriental
โรงแรมดุสิตธานี (Dusit Thani)ได้ขยายกิจการทั้งในรูปของบริษัทย่อย
และบริษัทร่วมเป็นกลุ่มดุสิตธานีและรีสอร์ท กลุ่มโรงแรมธานีและรีสอร์ท
มีเครือข่าย Franchise และได้ร่วมทุนกับโรงแรมต่างประเทศและในประเทศ

เข้าซื้อกิจการโรงแรมเคมพินสกี้ Kempinski 23 แห่ง ในประเทศต่างๆ
ตั้งบริษัทฟิลลิปปินโฮเตลไลเออร์ Philippine Hotelier Inc.
เป็นเจ้าของโรงแรมดุสิตธานีนิคโก้ที่มนิลา (Dusit Hotel Nikko Manila)
ประเทศฟิลลิปปินส์ ถือหุ้นในดุสิตแปซิฟิค Dusit pacific NV
ถือหุ้นบริษัทโรงแรมเมลโรสที่อเมริกา Melrose USA
บริษัท ดีพีเอ็มเอ็น อินดัสตรี จำกัด ประกอบธุรกิจรับซักรีด
และบริษัท เวิลด์ คลาส เรนท์ อะคาร์ จำกัด ( World class Rent a Car หรือ Budget ) ให้ธุรกิจเช่ารถ

// Nadier



Inga kommentarer:

Skicka en kommentar