ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 17.55 น. วันที่ 9 กุมภาพันธ์ ตามเวลาท้องถิ่น ซึ่งเร็วกว่าประเทศไทย 2 ชั่วโมง ที่ทำเนียบรัฐบาลญี่ปุ่น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้หารือทวิภาคีกับนายชินโซะ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น
จากนั้น เวลา 18.45 น. นายกรัฐมนตรีทั้ง 2 ได้ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีแลกเปลี่ยนและลงนามเอกสารความร่วมมือ 2 ฉบับ ได้แก่
1.บันทึกแสดงเจตจำนง (MOI) ความร่วมมือในการพัฒนาระบบราง ระหว่างกระทรวงคมนาคมไทย – ญี่ปุ่น และ
2. บันทึกความร่วมมือ (MOC) ในการส่งเสริมการทำธุรกิจและการลงทุนของไทยในญี่ปุ่น เพื่อผลักดันความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกันให้มีความมั่นคงยั่งยืน พร้อมแถลงข่าวร่วมกัน
โดยนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ได้กล่าวแสดงความยินดีกับความร่วมมือระหว่างของทั้ง 2 ประเทศ พร้อมชื่นชม พล.อ.ประยุทธ์ ที่ได้ทุ่มเทเพื่อนำประเทศกลับเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยอย่างสุดความสามารถ ญี่ปุ่นมีความหวังว่า ความปรองดองจะกลับมาสู่ประชาชนคนไทยในเร็ววัน และไทยยังเป็นความหวังในภูมิภาคอาเซียน และเป็นศูนย์กลางประชาคมอาเซียน
ด้านพล.อ.ประยุทธ์ ได้กล่าวขอบคุณนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลญี่ปุ่น ที่ให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น และกล่าวว่า การเดินทางมาญี่ปุ่นในครั้งนี้ เพื่อย้ำความสำคัญของการเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่น ซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญที่สุดของการดำเนินบทบาทของทั้ง 2 ประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง และอาเซียน
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า โครงการระบบราง ที่ทั้ง 2 ฝ่ายได้ลงนามเจตจำนงระหว่างกัน ที่จะศึกษาและพัฒนา 3 เส้นทางเร่งด่วนในไทย จะเชื่อมโยงระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก – ตะวันตก ทั้งด้านบนและด้านล่าง และโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายในเมียนมาร์ ซึ่งจะเป็นโครงการเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชียอาคเนย์ เชื่อมอนุภูมิภาคแม่น้ำโขงและเอเชียใต้เข้าไว้ด้วยกัน รวมถึง เรื่องการหารือในแนวคิดของไทย ที่จะพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษตามแนวชายแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้าน
“ทั้งหมดนี้เป็นการส่งเสริมโอกาสทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาลให้กับเอกชนญี่ปุ่น โดยมีไทยเป็นฐานการผลิต จุดเชื่อมโยง และศูนย์กลางการกระจายสินค้าในภูมิภาค” นายกรัฐมนตรี กล่าว
ทั้งนี้นายกรัฐมนตรี กล่าวชี้แจงถึงความคืบหน้าในการกลับคืนสู่ประชาธิปไตยโดยเร็วของประเทศไทยว่า อีกไม่นานการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรจะแล้วเสร็จ และคาดว่าจะจัดการเลือกตั้งได้ในช่วงต้นปี 2559
“ผมเข้ามาทำหน้าที่บริหารราชการให้ประเทศไทยเดินหน้าได้ในช่วงเปลี่ยนผ่านสั้น ๆ นี้ ที่มีความสำคัญยิ่งต่ออนาคตของคนไทยทุกคน จึงขอให้ชาวญี่ปุ่นมีความมั่นใจได้ว่า ประเทศไทยกำลังพยายามอย่างเต็มที่ ในการแก้ไขปัญหารอบด้านในทุกเรื่อง และผมขอให้สัญญาว่า ไทยจะกลับมาเป็นประชาธิปไตยที่เข้มแข็งและยั่นยืน ผมเชื่อว่า เราเดินมาถูกทางแล้ว” นายกรัฐมนตรี กล่าว
มติชนออนไลน์
matichon.co.th|โดย บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน)
คำกล่าวในพิธีเปิดการฝึกคอบร้าโกลด์ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2558 ของนายดับเบิลยู. แพทริค เมอร์ฟี อุปทูตรักษาการแทน เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย
จากรายงานของรอยเตอร์ส การฝีกซ้อมรบคอบร้าโกล์ดในเมืองไทยซึ่งจัดมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 30 ปี โดยถือเป็นการซ้อมรบที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค แต่ในปีนี้สหรัฐฯได้ลดระดับการฝึกลง โดยเน้นไปที่การฝึกซ้อมในภารกิจด้านบรรเทาสาธารณภัยและการช่วยเหลือด้านสิทธิมนุษยชนเป็นหลัก หลังรัฐบาลพลเรือนของไทยถูกแทนที่ด้วยกองทัพเมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว
การเข้าควบคุมอำนาจของกองทัพเกิดขึ้นหลังการประท้วงอย่างยาวนาน ทางสหรัฐฯได้ตอบโต้การกระทำดังกล่าวด้วยการประกาศระงับเงินช่วยเหลือทางการทหารจำนวน 4.7 ล้านดอลลาร์ให้กับรัฐบาลไทย และยกเลิกความร่วมมือในภารกิจด้านความมั่นคงบางส่วน
ในพิธีเปิดการซ้อมรบวันนี้อุปทูตสหรัฐฯ นายดับเบิลยู แพทริค เมอร์ฟีย์ กล่าวว่า "เราปฏิเสธไม่ได้ว่าช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่ท้าทายสำหรับพวกเราทุกฝ่ายและส่งผลให้จำต้องมีการปรับเปลี่ยนการฝึกคอบร้าโกลด์ปีนี้ในยามที่ประเทศไทยกำลังดำเนินการกลับสู่การปกครองโดยรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้ง"
ตัวแทนทางการทูตสหรัฐฯนายแดเนียล รัสเซล ที่เดินทางเยือนประเทศไทยเมื่อเดือนที่ผ่านมา ได้เรียกร้องให้ยกเลิกการใช้กฎอัยการศึกโดยทันที หลังจากที่ประเทศไทยตกอยู่ภายใต้กฎอัยการศึกนับแต่เดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว ซึ่งสร้างความบาดหมางต่อความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศ เมื่อเจ้าหน้าที่ระดับสูงของไทยประกาศให้สหรัฐฯ เลิกยุ่งกับกิจการภายในของไทย
ปีนี้กองทัพสหรัฐฯได้ส่งทหารเข้าร่วมการฝึก 3,600 นาย น้อยกว่าปีที่แล้วที่มีกำลังเข้าร่วมฝึกซ้อมถึง 4,300นาย
คำกล่าวในพิธีเปิดการฝึกคอบร้าโกลด์ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2558 ของนายดับเบิลยู. แพทริค เมอร์ฟี อุปทูตรักษาการแทน เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย
จากรายงานของรอยเตอร์ส การฝีกซ้อมรบคอบร้าโกล์ดในเมืองไทยซึ่งจัดมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 30 ปี โดยถือเป็นการซ้อมรบที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค แต่ในปีนี้สหรัฐฯได้ลดระดับการฝึกลง โดยเน้นไปที่การฝึกซ้อมในภารกิจด้านบรรเทาสาธารณภัยและการช่วยเหลือด้านสิทธิมนุษยชนเป็นหลัก หลังรัฐบาลพลเรือนของไทยถูกแทนที่ด้วยกองทัพเมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว
การเข้าควบคุมอำนาจของกองทัพเกิดขึ้นหลังการประท้วงอย่างยาวนาน ทางสหรัฐฯได้ตอบโต้การกระทำดังกล่าวด้วยการประกาศระงับเงินช่วยเหลือทางการทหารจำนวน 4.7 ล้านดอลลาร์ให้กับรัฐบาลไทย และยกเลิกความร่วมมือในภารกิจด้านความมั่นคงบางส่วน
ในพิธีเปิดการซ้อมรบวันนี้อุปทูตสหรัฐฯ นายดับเบิลยู แพทริค เมอร์ฟีย์ กล่าวว่า "เราปฏิเสธไม่ได้ว่าช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่ท้าทายสำหรับพวกเราทุกฝ่ายและส่งผลให้จำต้องมีการปรับเปลี่ยนการฝึกคอบร้าโกลด์ปีนี้ในยามที่ประเทศไทยกำลังดำเนินการกลับสู่การปกครองโดยรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้ง"
ตัวแทนทางการทูตสหรัฐฯนายแดเนียล รัสเซล ที่เดินทางเยือนประเทศไทยเมื่อเดือนที่ผ่านมา ได้เรียกร้องให้ยกเลิกการใช้กฎอัยการศึกโดยทันที หลังจากที่ประเทศไทยตกอยู่ภายใต้กฎอัยการศึกนับแต่เดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว ซึ่งสร้างความบาดหมางต่อความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศ เมื่อเจ้าหน้าที่ระดับสูงของไทยประกาศให้สหรัฐฯ เลิกยุ่งกับกิจการภายในของไทย
ปีนี้กองทัพสหรัฐฯได้ส่งทหารเข้าร่วมการฝึก 3,600 นาย น้อยกว่าปีที่แล้วที่มีกำลังเข้าร่วมฝึกซ้อมถึง 4,300นาย
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar