torsdag 30 april 2015

30 เมษา 58 วันครบรอบ 4 ปี ที่ สมยศ พฤกษาเกษมสุข ผู้ถูกยัดเยียดข้อหาความผิดคดี ม.112 โดนจับขังคุก โดยไม่มีโอกาสได้สู้คดีทั้งๆไม่ได้ทำผิดตามข้อกล่าวหาและไม่ให้ประกันตัว ..สมยศคือหนึ่งของประชาชนไทยหลายร้อยหลายพันราย.นับจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ที่ตกเป็น.."เหยื่อ" ม.112 โดยที่ไม่มีโอกาสได้สู้คดีพิสูจน์ความจริง โดย "เหยื่อ"ถูกแจ้งข้อหาว่าไม่จงรักภักดีดูหมิ่นครอบครัวกษัตริย์ภูมิพล คำถามตามมาถ้าครอบครัวของกษัตริย์ภูมิพลเป็นครอบครัวที่ดีจริงวางตัวเป็นที่เคารพรักของประชาชนไทย ก็ไม่จำเป็นต้องมีม.112 ไว้คุ้มครอง ปล่อยให้ประชาชนไทยวิพากวิจารณ์ได้เหมือนกับครอบครัวกษัตริย์ที่ยังเหลืออยู่ทั่วโลก และการบังคับใช้ ม.112 ในประเทศไทย ทำให้ประชาชนไทยตื่นตัวรู้ความจริงว่าครอบครัวกษัตริย์ภูมิพลไม่ดีจริงเต็มไปด้วยเรื่องราวเสื่อมสุดๆ เป็นเหลือบศักดินาเผด็จการทรราชกัดกินเลือดเนื้อประชาชนไทยและผูกขาดกอบโกยผลประโยชน์จากทรัพยากรของประเทศชาติ ประชาชนไทยจึงหมดรักเสื่อมศรัทธาเลิกงมงายกราบไหว้บูชาเทวดาเดินดินครอบครัวหัวหน้ามาเฟียใหญ่ที่เสพสุขบนความทุกข์ยากของประชาชน...ท้ายนี้ขอเป็นกำลังใจให้คุณสมยศผู้ทรนง จงเข้มแข็งอดทน มีสุขภาพกายที่แข็งแรง สุขภาพจิตที่เข้มแข็ง รอวันเวลาที่จะมาถึงซึ่ก็ใกล้เข้ามาทุกวันทุกวัน กับสถานการณ์ของประเทศไทยวันนี้ที่ "ปิดประเทศ" ปิดหู ปิดตา ปิดปาก ประชาชน ภายใต้ยาแรง "คสช.ม.44" ไม่ต่างอะไรกับคุกใหญ่ใช้ขังคนไทยทั้งประเทศ ดังนั้นจะอยู่ข้างนอกหรือติดอยู่ข้างใน สภาพชีวิตก็ไม่ต่างอะไรกันมากนัก ..ทุกคนอึดอัด อดทน อยู่อย่างมีสติเตรียมพร้อมรอๆๆ วันเวลาและโอกาสอันเหมาะสมที่มาถึง.....ด้วยความห่วงใยและปราถนาดี...

สรุปย่อคดีของนายสมยศ พฤกษาเกษมสุ : Somyot case briefing and update:

สรุปย่อคดีของนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ภายใต้ข้อกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
 
สมยศ พฤกษาเกษมสุข (ปัจจุบันอายุ 50 ปี) เป็นบรรณาธิการบริหารนิตยสารวอยซ์ ออฟ ทักษิณและนักกิจกรรมด้านสิทธิแรงงานผู้มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการเคลื่อนไหวและการก่อตั้งสหภาพแรงงานไทย ในปี พ.ศ. 2550   สมยศรับหน้าที่เป็นบรรณาธิการนิตยสารวอยซ์ ออฟ ทักษิณ ซึ่งนำเสนอและวิเคราะห์ประเด็นทางการเมืองภายในประเทศ
 
ด้านการสนับสนุนประชาธิปไตย สมยศคือประธานสหภาพพันธมิตรแรงงานประชาธิปไตยและแกนนำกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย โดยก่อนที่จะถูกจับกุมด้วยข้อกล่าวหาว่ากระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 สมยศได้ทำการเคลื่อนไหวให้มีการยกเลิกประมวลกฎหมายอาญามาตราดังกล่าว นอกจากนี้ สมยศยังเคยถูกควบคุมตัวภายใต้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน พ.ศ. 2553 รวมระยะเวลา 21 วัน
 
สมยศถูกจับกุมเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2553 ที่อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ด้วยข้อกล่าวหาว่ากระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ซึ่งมีใจความว่า “ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี“    สืบเนื่องจากคำฟ้องของอัยการ สมยศมีความผิดฐานอนุญาตให้มีการตีพิมพ์บทความสองชิ้นลงในนิตยสารวอยซ์ ออฟ ทักษิณ กล่าวพาดพิงสถาบันพระมหากษัตริย์ในทางลบ บทความทั้งสองชิ้นเขียนขึ้นโดยบุคคลซึ่งใช้ชื่อว่า “จิตร พลจันทร์” อันเป็นนามแฝงที่เกิดจากการผสมชื่อและสกุลของนักคิดฝั่งซ้ายคนสำคัญในประเทศไทยสองคน คือ จิตร ภูมิศักดิ์และอัสนี พลจันทร์           หากศาลตัดสินว่ามีความผิด สมยศอาจได้รับโทษจำคุกสูงสุดนาน 30 ปี
 
เป็นที่น่าสังเกตว่าการจับกุมตัวนายสมยศเกิดขึ้นหลังจากเครือข่ายประชาธิปไตยที่เขามีส่วนร่วมประกาศแคมเปญรณรงค์ล่า 10,000 รายชื่อเพื่อเสนอให้รัฐสภาทบทวนประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เพียงห้าวัน นอกจากนี้ ชื่อของสมยศยังถูกบรรจุอยู่ใน “ผังล้มเจ้า” ซึ่งจัดทำโดยศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) และประกาศสู่สาธารณะโดยพันเอกสรรเสริญ แก้วกำเนิดในวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2553 แผนผังฉบับนี้ประกอบไปด้วยรายชื่อบุคคลที่ศอฉ.กล่าวหาว่า       กระทำการการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ อย่างไรก็ตาม ข้อกล่าวหาดังกล่าวได้รับการพิสูจน์ว่าขาดพยานหลักฐานที่น่าเชื่อถือรองรับในเวลาต่อมา
 
ปัจจุบัน สมยศถูกควบคุมตัวตลอดระยะเวลา 15 เดือนหลังการจับกุม โดยศาลได้ปฏิเสธคำร้องยื่นขอประกันตัวชั่วคราวทุกครั้ง การปฏิเสธคำร้องเพื่อยื่นขอประกันตัวครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 โดยเป็นความพยายามครั้งที่สิบ อย่างไรก็ตาม แม้การไม่อนุญาตให้ประกันตัวจะเป็นวิธีปฏิบัติอันปกติของศาลไทยต่อผู้ถูกกล่าวหาในคดีหมิ่น                    พระบรมราชานุภาพ แต่การกระทำดังกล่าวถือเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพหลายประการภายใต้หลักกฎหมายไทยและสากลที่ไทยให้การรับรอง อันได้แก่ สิทธิที่จะได้รับการประกันตัวตามมาตรา 40 (7) ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550,  สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีที่เป็นธรรมตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ที่ประเทศไทยให้การรับรองตั้งแต่ปีพ.ศ. 2539 และสิทธิตามข้อ36-39 ภายใต้หลักการเพื่อคุ้มครองบุคคลทุกคนที่ถูกคุมขังหรือจำคุก ค.ศ. 1988 (Body of Principles for the Protection of All Persons under Any Form of Detention or Imprisonment (1988)) นอกจากนี้ การถูกคุมขังก่อนการพิจารณาคดียังเป็นการละเมิดสิทธิตามรัฐธรรมนูญไทยและ ICCPR  ซึ่งระบุให้ผู้ถูกกล่าวหามีสิทธิที่จะได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่ามีความผิดตามกฎหมายในการพิจารณาคดีที่เปิดเผย การถูกคุมขังก่อนการพิจารณาคดียังกระทบต่อความสามารถในการเตรียมตัวสู้คดีของสมยศและทนายด้วย
การสืบพยานโจทก์ในคดีของสมยศถูกกำหนดขึ้นในหลายจังหวัดทั่วประเทศไทย ได้แก่ สระแก้ว (21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554), เพชรบูรณ์ (19 ธันวาคม พ.ศ. 2554), นครสวรรค์ (16 มกราคม พ.ศ. 2555) และสงขลา (13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555)           การสืบพยานโจทก์ในครั้งหลังสุดต้องเลื่อนการสืบพยานมาที่กรุงเทพฯ ในนาทีสุดท้ายแม้ว่าสมยศจะเดินทางถึงจังหวัดสงขลาแล้วเนื่องจากพยานไม่มาศาลตามหมายนัด ตามข้อเท็จจริงพยานโจทก์ในคดีนี้ทำงานและอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ แต่การนัดสืบพยานของศาลยังคงยึดตามภูมิลำเนาของพยานที่ระบุในทะเบียนบ้าน คำสั่งศาลดังกล่าวถูกตั้งคำถามถึงเจตนาที่จะขัดขวางการเข้าร่วมสังเกตการณ์คดีของสาธารณะ, ตัวแทนทางการทูตและสื่อมวลชน  ซึ่งถือเป็นการละเมิดสิทธิของสมยศที่จะได้รับการพิจารณาคดีที่เป็นธรรม
 
สมยศป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเกาต์ ระหว่างการสืบพยานโจทก์ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ถึงกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 สมยศต้องเดินทางย้ายเรือนจำด้วยการยืนบนรถบรรทุกที่แออัด ถูกล่ามข้อเท้าด้วยตรวนหนักกว่า 10 กิโลกรัม   และไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าห้องน้ำตลอดการเดินทางรวม 4,000 กิโลเมตรทั่วประเทศไทย ปัจจุบัน สมยศถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ซึ่งมีสภาพแออัดและไม่มีบริการสาธารณสุขที่เพียงพอ การเดินทางไกลและการถูกคุมขังก่อนการพิจารณาคดีที่ยาวนานบั่นทอนสุขภาพของสมยศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่องดเว้นไม่ได้รับยารักษาโรคความดันโลหิตสูงและโรคเกาต์
 
การสืบพยานทั้งหมดเสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 และศาลยังไม่มีกำหนดอ่านคำพิพากษา ในวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2555 ทนายความของสมยศได้ยื่นคำร้องต่อศาลอาญาให้ยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาว่า ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ขัดต่อหลักการสิทธิเสรีภาพตามที่กำหนดในรัฐธรรมนูญหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ศาลอาญาไม่ได้ดำเนินการดังกล่าวโดยทันที ทนายความจึงได้ยื่นเรื่องขอพิจารณาไปยังศาลรัฐธรรมนูญโดยตรง ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญได้ปฏิเสธคำร้องในวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 โดยให้เหตุผลว่า สมยศยังไม่ได้ใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญมาตรา 245 (1) และมาตรา 257 วรรคหนึ่ง (2) ก่อนทำการยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ จึงไม่ใช่บุคคลที่ไม่อาจใช้สิทธิด้วยวิธีการอื่นได้แล้ว และไม่ต้องหลักเกณฑ์ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 212 ประกอบข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัย พ.ศ. 2550 ข้อ 21  ที่ศาลรัฐธรรมนูญจะรับวินิจฉัยได้ อย่างไรก็ตาม ศาลอาญาได้ตัดสินใจส่งคำร้องของทนายความที่ดำเนินการในครั้งแรกไปยังศาลรัฐธรรมนูญในวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2555 ซึ่งในเวลาต่อมา ศาลรัฐธรรมนูญได้ส่งจดหมายตอบกลับทนายความว่ารับทราบคำร้องทั้งสองครั้ง พร้อมแนบคำสั่งศาลเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคมมาในวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555  ทั้งนี้ ศาลอาญาจะไม่ประกาศวันอ่านคำพิพากษาคดีสมยศจนกระทั่งวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555 เพื่อรอคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญซึ่งยื่นเรื่องโดยศาลอาญา


ในปีที่ผ่านมา สหประชาชาติได้แสดงความวิตกกังวลต่อกรณีผู้ถูกกล่าวหาในคดีหมิ่นพระบรมราชานุภาพถูกจองจำก่อน     การพิจารณาคดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของสมยศ ในวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2554 Ravina Shamdasani โฆษกประจำสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ได้กล่าวว่า “สำนักงานข้าหลวงใหญ่ฯ มีความกังวลต่อการยืดเวลาคุมขังผู้ถูกกล่าวหาในคดีหมิ่นพระบรมราชานุภาพก่อนการพิจารณาคดีของศาล”
เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2554, El Hadji Malick Sow, ประธานคณะทำงานสหประชาชาติว่าด้วยการกักขังที่ไม่มีกฎเกณฑ์, Gabriela Knaul, ผู้ตรวจการพิเศษสหประชาชาติด้านความเป็นอิสระของศาลและนักกฎหมาย, Frank La Rue, ผู้ตรวจการพิเศษสหประชาชาติด้านเสรีภาพการแสดงออก และ Margaret Sekkagya ผู้ตรวจการพิเศษสหประชาชาติว่าด้วยสถานการณ์ของผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน ได้ร่วมกันส่งจดหมายถึงรัฐบาลไทยเพื่อแสดงความวิตกกังวลต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต      ของสมยศระหว่างถูกคุมขัง รวมถึงความเป็นไปได้ที่สมยศถูกควบคุมตัวจากการพิทักษ์หลักการสิทธิมนุษยชนและใช้สิทธิ      อันชอบธรรมของตนเองในการแสดงออกและแสดงความคิดเห็น
 
สมยศยังเป็นหนึ่งในห้านักปกป้องสิทธิมนุษยชนไทย ผู้ได้รับการคัดเลือกให้รับรางวัลสมชาย นีละไพจิตร จากกองทุนรางวัลสมชาย นีละไพจิตรในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555 ทั้งนี้ รางวัลดังกล่าวมีขึ้นเพื่อเชิดชูเกียรตินักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้ต่อสู้เพื่อพิทักษ์หลักการสากลของความเป็นมนุษย์อย่างกล้าหาญ ขันแข็ง แม้ต้องเผชิญกับอันตรายนานาประการระหว่างการปกป้องหลักการสิทธิมนุษยชนเช่นเดียวกับทนายนักปกป้องสิทธิมนุษยชน สมชาย นีละไพจิตร
-----------------------------------------------------------------------
ปรับปรุงแก้ไขครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่:  28 สิงหาคม 2555

 


 


Inga kommentarer:

Skicka en kommentar