กษัตริย์ภูมิพลคือผู้ให้การสน้บสนุนจอมพลสฤษดิ์
โดย เกษียร เตชะพีระ
มติชนออนไลน์
วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2558
การเมืองวัฒนธรรม เกษียร เตชะพีระ "ม.17 : เครื่องประหารหัวสุนัขของจอมพลสฤษดิ์" มติชนสุดสัปดาห์
57 ปีก่อน เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2501 เกิดเพลิงไหม้ที่ย่านตลาดพลูในกรุงเทพฯ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ใช้อำนาจหัวหน้าคณะปฏิวัติขณะนั้นสั่งประหารชีวิต นายจำนงค์ แซ่ฉิ่น และ ซิวหยิ่น แซ่ฉิ่น สองพี่น้องในข้อหาวางเพลิง
ทหารเรือรับคำสั่งให้นำตัวไปประหารที่วัดอินทารามด้วยปืนกลแบล็กมัน 6 กระบอก ทั้งคู่ตะโกนตลอดเวลาว่า "ผมไม่ผิด ผมไม่ได้วางเพลิง" จนถูกยิงขาดใจตาย...
จากการประมวลเบื้องต้น ปรากฏว่าตลอดช่วงที่จอมพลสฤษดิ์ครองอำนาจสัมบูรณาญาสิทธิ์ (Absolute Power) เหนือร่างกาย ชีวิตและทรัพย์สินของปวงชนชาวไทยในฐานะหัวหน้าคณะปฏิวัติ พ.ศ.2501 แล้วต่อด้วยในฐานะนายกรัฐมนตรีผู้ใช้อำนาจตามมาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2502 ท่านได้สั่งประหารชีวิตผู้ต้องหาอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดรวบรัดโดยไม่ต้องฟ้อง ร้องขึ้นศาลไต่สวนพิจารณาคดีตามกระบวนการยุติธรรมปกติรวม 11 ราย (รวมทั้งกรณีสองพี่น้องแซ่ฉิ่นข้างต้น) ในข้อหาวางเพลิง, ค้ายาเสพติด และความผิดทางการเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์
ได้แก่ :-
-6พฤศจิกายน 2501 จอมพลสฤษดิ์ใช้อำนาจคณะปฏิวัติสั่งประหาร นายซ้ง แซ่ลิ้ม ข้อหาจ้างวานวางเพลิงที่ตำบลบางยี่เรือ กรุงเทพฯ
- 29 พฤศจิกายน 2501 จอมพลสฤษดิ์ใช้อำนาจคณะปฏิวัติสั่งประหาร นายฮ่อนซิ่น แซ่ฉิ่น ข้อหาวางเพลิงที่ตำบลวัดพระยาไกร กรุงเทพฯ
- 29 ธันวาคม 2501 จอมพลสฤษดิ์ใช้อำนาจคณะปฏิวัติสั่งประหาร นายอึ้ง ศิลปงาม ข้อหาวางเพลิงที่ตลาดท่าช้าง อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี
ต่อมาเมื่อประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2502 แล้ว จอมพลสฤษดิ์ในฐานะนายกรัฐมนตรีก็หันไปใช้อำนาจตาม ม.17 แห่งธรรมนูญฯ ฉบับดังกล่าวเพื่อประหารผู้ต้องหาแทน ได้แก่ :
- 26 มิถุนายน 2502 จอมพลสฤษดิ์ใช้อำนาจ ม.17 สั่งประหาร นายศิลา วงศ์สิน ข้อหากบฏผีบุญ ที่บ้านใหม่ไทยเจริญ ต.สารภี อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา
- 6 กรกฎาคม 2502 จอมพลสฤษดิ์ใช้อำนาจ ม.17 สั่งประหาร นายศุภชัย ศรีสติ ผู้นำสภาคนงานแห่งประเทศไทย ซึ่งต่อต้านการรัฐประหารและปฏิวัติของสฤษดิ์ต่อเนื่องมาตั้งแต่รัฐประหาร 16 กันยายน 2500
- 31 พฤษภาคม 2504 จอมพลสฤษดิ์ใช้อำนาจ ม.17 สั่งประหาร ครูทองพันธ์ สุทธิมาศ และ ครูครอง จันดาวงศ์ อดีตเสรีไทยสายอีสานภายใต้การนำของ นายเตียง ศิริขันธ์, อดีตกบฏสันติภาพ และอดีต ส.ส.สกลนคร ข้อหาคอมมิวนิสต์ ที่สนามบิน อ.สว่างแดนดิน จ. สกลนคร
- เดือนสิงหาคม 2504 จอมพลสฤษดิ์ใช้อำนาจ ม.17 สั่งประหาร นายเลี่ยงฮ้อ แซ่เล้า ข้อหาผลิตเฮโรอีน
- 24 เมษายน 2505 จอมพลสฤษดิ์ใช้อำนาจ ม.17 สั่งประหาร นายรวม วงศ์พันธ์ สมาชิกกรมการเมือง พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ข้อหาคอมมิวนิสต์
ประเด็นปัญหาของการใช้อำนาจรัฐเด็ดขาดสัมบูรณ์เอาชีวิตผู้ต้องหาว่ากระทำผิด กฎหมายโดยไม่ผ่านการไต่สวนต่อสู้คดีตามกระบวนการยุติธรรมเช่นนี้อยู่ที่ไหน?
เพื่อเข้าใจปมประเด็นนี้ เราควรต้องถามตัวเองว่า - ขอยกกรณีการสั่งประหารสองพี่น้องแซ่ฉิ่นข้อหาวางเพลิงที่ตลาดพลูข้างต้นเป็น ตัวอย่าง
เรารู้แน่รู้ทั่วชัวร์ป้าปหรือไม่ว่าสองพี่น้องแซ่ฉิ่นไม่ได้วางเพลิงจริงๆ?
คำตอบก็คือไม่, เราไม่รู้แน่
ในทางกลับกัน ถามอีกว่า เรารู้แน่รู้ทั่วชัวร์ป้าปหรือไม่ว่าสองพี่น้องแซ่ฉิ่นวางเพลิงจริงๆ?
คำตอบก็คือไม่, เราไม่รู้แน่อีกเหมือนกัน
แต่ทั้งที่เราไม่รู้แน่ทางใดทางหนึ่ง สองพี่น้องแซ่ฉิ่นก็ได้ตายไปแล้ว พวกเขาถูกประหารตายไปโดยที่เรายังไม่รู้แน่ไง
เราปล่อยให้รัฐของเราฆ่าคนตายโดยไม่รู้แน่ว่าเขาผิดได้อย่างไร?
เมื่อวานนี้ที่โดนอาจเป็นคนแปลกหน้าที่เราไม่รู้จัก แต่เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าสักวันหนึ่งข้างหน้าตัวเราเอง ญาติพี่น้อง คนรัก หรือเพื่อนมิตรของเราจะไม่โดนรัฐฆ่าตายไปโดยยังไม่รู้แน่ว่าผิดเข้าบ้าง?
การใช้อำนาจปฏิวัติ และ ม.17 เสมือนเครื่องประหารหัวสุนัขเพื่อเล่นงานผู้ต้องหาแบบรวบรัด ศาลเตี้ยข้างต้นเป็นนิทัศน์อุทาหรณ์ให้เราตระหนักคำนึงถึงธาตุแท้ของอำนาจ รัฐเมื่อปลดเปลื้องถนิมพิมพาภรณ์อันเลิศอลังการทิ้งไปหมดแล้วว่า...
ในความหมายดิบๆ ที่สุด, อำนาจรัฐคืออะไร?
ตอบ : อำนาจรัฐคืออำนาจที่มีสิทธิ์ฆ่าเราได้ภายใต้เงื่อนไขที่แน่นอน เช่น เราดันไปทำผิดกฎหมายข้อหาร้ายแรง อาทิ ปล้นฆ่าข่มขืน ก่อการร้ายฆ่าหมู่ผู้บริสุทธิ์ ฯลฯ
ในความหมายนี้ รัฐก็คือองค์กรนักฆ่าส่วนกลางของสังคม (public assassins) ผู้ทำหน้าที่อันสังคมส่วนรวมมอบหมายให้ ที่สำคัญได้แก่ :
- ปกป้องสิทธิในร่างกาย ชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลพลเมืองผู้เป็นสมาชิกสังคม และ
- ปกป้องสังคมจากศัตรูผู้รุกรานภายนอก
โดยเป็นไปตามเงื่อนไขข้อกำหนดของกฎหมายอันเป็นกติกาที่สังคมกำหนดไว้กำกับ นักฆ่าส่วนกลางที่สำคัญได้แก่ เงื่อนไขว่าด้วยลักษณะความผิด, กระบวนการวิธีพิจารณาสอบสวนพิสูจน์ความผิด และเกณฑ์การลงโทษตามความผิด
เมื่อรัฐมีอำนาจฉกาจฉกรรจ์อุกฤษฏ์เหนือชีวิตเราเช่นนี้ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราจะต้องควบคุมอำนาจรัฐให้ดี กล่าวคือ :
ควบคุมดูแลให้รัฐฆ่าถูกคน ฆ่าถูกเงื่อนไข ฆ่าถูกขั้นตอน ฆ่าเมื่อสมควรและจำเป็นต้องฆ่า
และในทางกลับกัน รัฐจักต้องฆ่าไม่ผิดคน ฆ่าไม่ผิดเงื่อนไข ฆ่าไม่ผิดขั้นตอน ห้ามฆ่าเมื่อไม่สมควรและไม่จำเป็นต้องฆ่า ภายใต้กติกาของกฎหมาย
กว่านักฆ่าของส่วนกลางจะฆ่าใครได้สักคนจึงต้องผ่านกระบวนการยุติธรรมที่ซับ ซ้อน ยืดเยื้อและอาจยาวนาน... ทั้งๆ ที่ถ้าใช้ศาลเตี้ยรุมประชาทัณฑ์กันเดี๋ยวนั้นเลยจะรวดเร็วทันใจมี ประสิทธิภาพกว่า
แต่นั่นแหละคือ อารยธรรม (civilization) ของการอยู่ร่วมกันเป็นสังคม
สังคมอารยะซึ่งเคารพหลักการที่ว่ากล่าวให้ถึงที่สุดแล้ว ชีวิตคุณเป็นของคุณ (self-ownership : You own yourself.) ไม่ใช่ชีวิตคุณเป็นของรัฐ ที่ผู้ปกครองจะต้มยำทำแกงเมื่อไหร่อย่างไรก็ได้ตามอำเภอใจอย่างในระบอบสัม บูรณาญาสิทธิ์ (Absolutism) ทั้งปวง
ในหลายปีที่ผ่านมา รัฐไทยได้ใช้เครื่องประหารหัวสุนัขภายใต้กฎหมายที่ให้อำนาจพิเศษต่างๆ อย่างค่อนข้างบ่อยครั้ง ฟุ่มเฟือย เพื่อรับมือแก้ไขภัยคุกคามความมั่นคง
ผลก็คือสังคมไทยบาดเจ็บบอบช้ำจากพิษภัยแห่งอำนาจพิเศษเหนือการกำกับควบคุม ของสังคมเองในกรณีต่างๆ เช่น ฆ่าตัดตอนผู้ต้องสงสัยค้ายาบ้า, อุ้มหายทนายสมชาย นีละไพจิตร, มัสยิดกรือเซะ, โรงพักตากใบ, เมษา-พฤษภาอำมหิตที่ราชประสงค์, อุ้มหายบิลลี่หรือพอละจี รักจงเจริญ และล่าสุดคือกรณีวิสามัญฯ 4 ศพที่ทุ่งยางแดง เป็นต้น
ถ้าจะว่าสังคมไทยเสพติดโหยหาการใช้อำนาจเด็ดขาดสัมบูรณ์มาแก้สารพัดปัญหา อย่างมักง่าย ก็ต้องสรุปคู่กันไปด้วยว่าสังคมไทยไม่มีปัญญาความสามารถจะกำกับควบคุมไม่ให้ การใช้อำนาจเด็ดขาดสัมบูรณ์นั้นออกไปนอกขอบเขต เกินกว่าเหตุ หรือแม้แต่ทุจริตฉ้อฉล บิดเบือนฉวยใช้อำนาจไปในทางมิชอบ จนประเทศชาติส่วนรวมและเพื่อนร่วมชาติร่วมสังคมของเราเองต้องประสบความเสีย หาย บาดเจ็บล้มตาย
และสุดท้ายแล้ว คนไทยก็ถูกร้องขอบอกกล่าวซ้ำแล้วซ้ำเล่าอยู่นั่นแหละ ว่าให้ไว้ใจวางใจและหวังพึ่ง "ความดี" ของผู้ที่เข้ามาใช้อำนาจ, ว่า "คนดีๆ" อย่างท่านจะไม่ใช้อำนาจสัมบูรณ์นั้นไปทำอะไรมิชอบ ชั่วช้า เสียหาย รังแกเข่นฆ่าใครต่อใครแน่นอน เชื่อเถอะ
แล้วไง? กี่ครั้งแล้ว? กี่ร้อยพันหมื่นแสนล้านบาทแล้ว? กี่ศพแล้ว? ยังไม่เห็นไม่เข็ดอีกหรือ?
สังคมที่ไม่ยอมสรุปเรียนรู้ และลุกขึ้นมาดูแลรับผิดชอบตัวเอง แก้ไขปัญหาเอง แทนที่จะหวังพึ่งอำนาจเด็ดขาดสัมบูรณ์ที่ตัวเองควบคุมไม่ได้ ก็เหมือนการจับตัวเองขังไว้ในสภาพไม่บรรลุวุฒิภาวะทางการเมืองตลอดไป ล่ามตัวเองผูกติดกับเครื่องประหารหัวสุนัข ไม่ว่ามันจะมาในยี่ห้อ ม.17, ม.21, ม.27, หรือ ม.44 ก็ตามที
โดย เกษียร เตชะพีระ
มติชนออนไลน์
วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2558
การเมืองวัฒนธรรม เกษียร เตชะพีระ "ม.17 : เครื่องประหารหัวสุนัขของจอมพลสฤษดิ์" มติชนสุดสัปดาห์
57 ปีก่อน เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2501 เกิดเพลิงไหม้ที่ย่านตลาดพลูในกรุงเทพฯ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ใช้อำนาจหัวหน้าคณะปฏิวัติขณะนั้นสั่งประหารชีวิต นายจำนงค์ แซ่ฉิ่น และ ซิวหยิ่น แซ่ฉิ่น สองพี่น้องในข้อหาวางเพลิง
ทหารเรือรับคำสั่งให้นำตัวไปประหารที่วัดอินทารามด้วยปืนกลแบล็กมัน 6 กระบอก ทั้งคู่ตะโกนตลอดเวลาว่า "ผมไม่ผิด ผมไม่ได้วางเพลิง" จนถูกยิงขาดใจตาย...
จากการประมวลเบื้องต้น ปรากฏว่าตลอดช่วงที่จอมพลสฤษดิ์ครองอำนาจสัมบูรณาญาสิทธิ์ (Absolute Power) เหนือร่างกาย ชีวิตและทรัพย์สินของปวงชนชาวไทยในฐานะหัวหน้าคณะปฏิวัติ พ.ศ.2501 แล้วต่อด้วยในฐานะนายกรัฐมนตรีผู้ใช้อำนาจตามมาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2502 ท่านได้สั่งประหารชีวิตผู้ต้องหาอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดรวบรัดโดยไม่ต้องฟ้อง ร้องขึ้นศาลไต่สวนพิจารณาคดีตามกระบวนการยุติธรรมปกติรวม 11 ราย (รวมทั้งกรณีสองพี่น้องแซ่ฉิ่นข้างต้น) ในข้อหาวางเพลิง, ค้ายาเสพติด และความผิดทางการเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์
ได้แก่ :-
-6พฤศจิกายน 2501 จอมพลสฤษดิ์ใช้อำนาจคณะปฏิวัติสั่งประหาร นายซ้ง แซ่ลิ้ม ข้อหาจ้างวานวางเพลิงที่ตำบลบางยี่เรือ กรุงเทพฯ
- 29 พฤศจิกายน 2501 จอมพลสฤษดิ์ใช้อำนาจคณะปฏิวัติสั่งประหาร นายฮ่อนซิ่น แซ่ฉิ่น ข้อหาวางเพลิงที่ตำบลวัดพระยาไกร กรุงเทพฯ
- 29 ธันวาคม 2501 จอมพลสฤษดิ์ใช้อำนาจคณะปฏิวัติสั่งประหาร นายอึ้ง ศิลปงาม ข้อหาวางเพลิงที่ตลาดท่าช้าง อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี
ต่อมาเมื่อประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2502 แล้ว จอมพลสฤษดิ์ในฐานะนายกรัฐมนตรีก็หันไปใช้อำนาจตาม ม.17 แห่งธรรมนูญฯ ฉบับดังกล่าวเพื่อประหารผู้ต้องหาแทน ได้แก่ :
- 26 มิถุนายน 2502 จอมพลสฤษดิ์ใช้อำนาจ ม.17 สั่งประหาร นายศิลา วงศ์สิน ข้อหากบฏผีบุญ ที่บ้านใหม่ไทยเจริญ ต.สารภี อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา
- 6 กรกฎาคม 2502 จอมพลสฤษดิ์ใช้อำนาจ ม.17 สั่งประหาร นายศุภชัย ศรีสติ ผู้นำสภาคนงานแห่งประเทศไทย ซึ่งต่อต้านการรัฐประหารและปฏิวัติของสฤษดิ์ต่อเนื่องมาตั้งแต่รัฐประหาร 16 กันยายน 2500
- 31 พฤษภาคม 2504 จอมพลสฤษดิ์ใช้อำนาจ ม.17 สั่งประหาร ครูทองพันธ์ สุทธิมาศ และ ครูครอง จันดาวงศ์ อดีตเสรีไทยสายอีสานภายใต้การนำของ นายเตียง ศิริขันธ์, อดีตกบฏสันติภาพ และอดีต ส.ส.สกลนคร ข้อหาคอมมิวนิสต์ ที่สนามบิน อ.สว่างแดนดิน จ. สกลนคร
- เดือนสิงหาคม 2504 จอมพลสฤษดิ์ใช้อำนาจ ม.17 สั่งประหาร นายเลี่ยงฮ้อ แซ่เล้า ข้อหาผลิตเฮโรอีน
- 24 เมษายน 2505 จอมพลสฤษดิ์ใช้อำนาจ ม.17 สั่งประหาร นายรวม วงศ์พันธ์ สมาชิกกรมการเมือง พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ข้อหาคอมมิวนิสต์
ประเด็นปัญหาของการใช้อำนาจรัฐเด็ดขาดสัมบูรณ์เอาชีวิตผู้ต้องหาว่ากระทำผิด กฎหมายโดยไม่ผ่านการไต่สวนต่อสู้คดีตามกระบวนการยุติธรรมเช่นนี้อยู่ที่ไหน?
เพื่อเข้าใจปมประเด็นนี้ เราควรต้องถามตัวเองว่า - ขอยกกรณีการสั่งประหารสองพี่น้องแซ่ฉิ่นข้อหาวางเพลิงที่ตลาดพลูข้างต้นเป็น ตัวอย่าง
เรารู้แน่รู้ทั่วชัวร์ป้าปหรือไม่ว่าสองพี่น้องแซ่ฉิ่นไม่ได้วางเพลิงจริงๆ?
คำตอบก็คือไม่, เราไม่รู้แน่
ในทางกลับกัน ถามอีกว่า เรารู้แน่รู้ทั่วชัวร์ป้าปหรือไม่ว่าสองพี่น้องแซ่ฉิ่นวางเพลิงจริงๆ?
คำตอบก็คือไม่, เราไม่รู้แน่อีกเหมือนกัน
แต่ทั้งที่เราไม่รู้แน่ทางใดทางหนึ่ง สองพี่น้องแซ่ฉิ่นก็ได้ตายไปแล้ว พวกเขาถูกประหารตายไปโดยที่เรายังไม่รู้แน่ไง
เราปล่อยให้รัฐของเราฆ่าคนตายโดยไม่รู้แน่ว่าเขาผิดได้อย่างไร?
เมื่อวานนี้ที่โดนอาจเป็นคนแปลกหน้าที่เราไม่รู้จัก แต่เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าสักวันหนึ่งข้างหน้าตัวเราเอง ญาติพี่น้อง คนรัก หรือเพื่อนมิตรของเราจะไม่โดนรัฐฆ่าตายไปโดยยังไม่รู้แน่ว่าผิดเข้าบ้าง?
การใช้อำนาจปฏิวัติ และ ม.17 เสมือนเครื่องประหารหัวสุนัขเพื่อเล่นงานผู้ต้องหาแบบรวบรัด ศาลเตี้ยข้างต้นเป็นนิทัศน์อุทาหรณ์ให้เราตระหนักคำนึงถึงธาตุแท้ของอำนาจ รัฐเมื่อปลดเปลื้องถนิมพิมพาภรณ์อันเลิศอลังการทิ้งไปหมดแล้วว่า...
ในความหมายดิบๆ ที่สุด, อำนาจรัฐคืออะไร?
ตอบ : อำนาจรัฐคืออำนาจที่มีสิทธิ์ฆ่าเราได้ภายใต้เงื่อนไขที่แน่นอน เช่น เราดันไปทำผิดกฎหมายข้อหาร้ายแรง อาทิ ปล้นฆ่าข่มขืน ก่อการร้ายฆ่าหมู่ผู้บริสุทธิ์ ฯลฯ
ในความหมายนี้ รัฐก็คือองค์กรนักฆ่าส่วนกลางของสังคม (public assassins) ผู้ทำหน้าที่อันสังคมส่วนรวมมอบหมายให้ ที่สำคัญได้แก่ :
- ปกป้องสิทธิในร่างกาย ชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลพลเมืองผู้เป็นสมาชิกสังคม และ
- ปกป้องสังคมจากศัตรูผู้รุกรานภายนอก
โดยเป็นไปตามเงื่อนไขข้อกำหนดของกฎหมายอันเป็นกติกาที่สังคมกำหนดไว้กำกับ นักฆ่าส่วนกลางที่สำคัญได้แก่ เงื่อนไขว่าด้วยลักษณะความผิด, กระบวนการวิธีพิจารณาสอบสวนพิสูจน์ความผิด และเกณฑ์การลงโทษตามความผิด
เมื่อรัฐมีอำนาจฉกาจฉกรรจ์อุกฤษฏ์เหนือชีวิตเราเช่นนี้ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราจะต้องควบคุมอำนาจรัฐให้ดี กล่าวคือ :
ควบคุมดูแลให้รัฐฆ่าถูกคน ฆ่าถูกเงื่อนไข ฆ่าถูกขั้นตอน ฆ่าเมื่อสมควรและจำเป็นต้องฆ่า
และในทางกลับกัน รัฐจักต้องฆ่าไม่ผิดคน ฆ่าไม่ผิดเงื่อนไข ฆ่าไม่ผิดขั้นตอน ห้ามฆ่าเมื่อไม่สมควรและไม่จำเป็นต้องฆ่า ภายใต้กติกาของกฎหมาย
กว่านักฆ่าของส่วนกลางจะฆ่าใครได้สักคนจึงต้องผ่านกระบวนการยุติธรรมที่ซับ ซ้อน ยืดเยื้อและอาจยาวนาน... ทั้งๆ ที่ถ้าใช้ศาลเตี้ยรุมประชาทัณฑ์กันเดี๋ยวนั้นเลยจะรวดเร็วทันใจมี ประสิทธิภาพกว่า
แต่นั่นแหละคือ อารยธรรม (civilization) ของการอยู่ร่วมกันเป็นสังคม
สังคมอารยะซึ่งเคารพหลักการที่ว่ากล่าวให้ถึงที่สุดแล้ว ชีวิตคุณเป็นของคุณ (self-ownership : You own yourself.) ไม่ใช่ชีวิตคุณเป็นของรัฐ ที่ผู้ปกครองจะต้มยำทำแกงเมื่อไหร่อย่างไรก็ได้ตามอำเภอใจอย่างในระบอบสัม บูรณาญาสิทธิ์ (Absolutism) ทั้งปวง
ในหลายปีที่ผ่านมา รัฐไทยได้ใช้เครื่องประหารหัวสุนัขภายใต้กฎหมายที่ให้อำนาจพิเศษต่างๆ อย่างค่อนข้างบ่อยครั้ง ฟุ่มเฟือย เพื่อรับมือแก้ไขภัยคุกคามความมั่นคง
ผลก็คือสังคมไทยบาดเจ็บบอบช้ำจากพิษภัยแห่งอำนาจพิเศษเหนือการกำกับควบคุม ของสังคมเองในกรณีต่างๆ เช่น ฆ่าตัดตอนผู้ต้องสงสัยค้ายาบ้า, อุ้มหายทนายสมชาย นีละไพจิตร, มัสยิดกรือเซะ, โรงพักตากใบ, เมษา-พฤษภาอำมหิตที่ราชประสงค์, อุ้มหายบิลลี่หรือพอละจี รักจงเจริญ และล่าสุดคือกรณีวิสามัญฯ 4 ศพที่ทุ่งยางแดง เป็นต้น
ถ้าจะว่าสังคมไทยเสพติดโหยหาการใช้อำนาจเด็ดขาดสัมบูรณ์มาแก้สารพัดปัญหา อย่างมักง่าย ก็ต้องสรุปคู่กันไปด้วยว่าสังคมไทยไม่มีปัญญาความสามารถจะกำกับควบคุมไม่ให้ การใช้อำนาจเด็ดขาดสัมบูรณ์นั้นออกไปนอกขอบเขต เกินกว่าเหตุ หรือแม้แต่ทุจริตฉ้อฉล บิดเบือนฉวยใช้อำนาจไปในทางมิชอบ จนประเทศชาติส่วนรวมและเพื่อนร่วมชาติร่วมสังคมของเราเองต้องประสบความเสีย หาย บาดเจ็บล้มตาย
และสุดท้ายแล้ว คนไทยก็ถูกร้องขอบอกกล่าวซ้ำแล้วซ้ำเล่าอยู่นั่นแหละ ว่าให้ไว้ใจวางใจและหวังพึ่ง "ความดี" ของผู้ที่เข้ามาใช้อำนาจ, ว่า "คนดีๆ" อย่างท่านจะไม่ใช้อำนาจสัมบูรณ์นั้นไปทำอะไรมิชอบ ชั่วช้า เสียหาย รังแกเข่นฆ่าใครต่อใครแน่นอน เชื่อเถอะ
แล้วไง? กี่ครั้งแล้ว? กี่ร้อยพันหมื่นแสนล้านบาทแล้ว? กี่ศพแล้ว? ยังไม่เห็นไม่เข็ดอีกหรือ?
สังคมที่ไม่ยอมสรุปเรียนรู้ และลุกขึ้นมาดูแลรับผิดชอบตัวเอง แก้ไขปัญหาเอง แทนที่จะหวังพึ่งอำนาจเด็ดขาดสัมบูรณ์ที่ตัวเองควบคุมไม่ได้ ก็เหมือนการจับตัวเองขังไว้ในสภาพไม่บรรลุวุฒิภาวะทางการเมืองตลอดไป ล่ามตัวเองผูกติดกับเครื่องประหารหัวสุนัข ไม่ว่ามันจะมาในยี่ห้อ ม.17, ม.21, ม.27, หรือ ม.44 ก็ตามที
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar