torsdag 30 april 2015

"จาตุรนต์" มองข้ามไหล่ 36 อรหันต์ อ่านเกมชนชั้นนำ ล็อก รธน.สู่รัฐประหารซ้ำ !!

มติชนออนไลน์
สัมภาษณ์พิเศษ


"จาตุรนต์" มองข้ามไหล่ 36 อรหันต์ อ่านเกมชนชั้นนำ ล็อก รธน.สู่รัฐประหารซ้ำ !!


หลังการรัฐประหารได้เพียง 5 วัน "จาตุรนต์ ฉายแสง" อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ถูกทหารเข้าควบคุมตัว ฐานขัดขืนคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพราะไม่ยอมมารายงานตัว

เขาถูกนำตัวขึ้นศาลทหารและถูกฝากขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ

เขาถูกสั่งระงับธุรกรรมทางการเงิน พร้อม ๆ กับ จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ อดีต รมว.มหาดไทย และ
สมบัติ บุญงามอนงค์ล่าสุดยังถูก "พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา" นายกรัฐมนตรี สั่งห้ามออกนอกประเทศ

แม้ความเคลื่อนไหวทุกอิริยาบถจะถูกล็อกจาก คสช. แต่ชื่อของ "จาตุรนต์" ยังคงโดดเด่น วิพากษ์เนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญอย่างเผ็ดร้อน "ประชาชาติธุรกิจ" สนทนากับเขาถึงเบื้องหลังการถูกเชิญตัวไปคุยเรื่องปรองดอง และทรรศนะของ "จาตุรนต์" ต่อรัฐธรรมนูญร่างแรก

- อารมณ์ที่ คสช.เรียกกลุ่มการเมือง และนักวิชาการ ไปพูดคุยเป็นอย่างไร

วิธีเชิญให้คนที่คอยเชิญมาปรับทัศนคติมาเชิญ ไม่ใช่ศูนย์ปรองดองให้เจ้าหน้าที่ติดต่อมา เพราะฉะนั้น จุดประสงค์หลักของเขา คือ ขอให้ไม่ต้องแสดงความเห็นข้างนอก แต่ฝ่ายการเมืองเห็นว่าไม่ได้ ต้องเสนอความเห็น เขาก็ปรับเป็นว่าให้เสนอความเห็นอย่างสร้างสรรค์ ฉะนั้นจุดประสงค์หลักของเขาไม่บรรลุ เรื่องปรองดองเขาไม่ได้หวังอะไรมาก เขาไม่เข้าใจเรื่องปรองดอง ไม่ได้มีคอนเซ็ปต์ที่เชิญหลาย ๆ ฝ่ายมาคุยเรื่องต้นเหตุความขัดแย้ง ปัญหาอยู่ที่ไหนอย่างไร จะแก้อย่างไร มันเลยได้เรื่องรัฐธรรมนูญ ผมบอกว่าเรื่องปรองดองกับเรื่องรัฐธรรมนูญมันเกี่ยวกันมาก เพราะรัฐธรรมนูญทำให้เกิดความขัดแย้งไม่สิ้นสุด พรรคการเมืองก็พูดตรงกันหมด
- คสช.เข้าใจคำว่าปรองดองต่างจากฝ่ายการเมืองเข้าใจ
ของเขาคือทำอย่างไรจะเลิกทะเลาะกัน ซึ่งเขาไม่รู้ว่าใครทะเลาะกับใคร ไม่เห็นความขัดแย้งในเชิงระบบ เชิงโครงสร้างว่ามันได้สร้างความขัดแย้งที่ผ่านมา ถ้าเห็นแตกต่างกันเมื่อไหร่จะแก้ปัญหานั้นอย่างไรไม่มีข้อเสนอ จะแก้กฎหมายที่ไม่เป็นกฎหมายได้อย่างไรมันไม่มี เราก็บอกว่ามันไม่ใช่เรื่องทะเลาะ ส่วนเรื่องเลือกตั้งช้าไม่เป็นไร พูดในความหมายว่า ถ้ารัฐธรรมนูญอย่างนี้จะทำให้เกิดความขัดแย้งไม่สิ้นสุด ถ้าจะคว่ำเสียแล้วร่างใหม่ ก็ยังดีกว่าใช้รัฐธรรมนูญนี้ แต่ไม่ได้พูดในความหมายว่าเราอยากให้เลื่อนการเลือกตั้งออกไป
- การที่ คสช.เรียกคนที่มีรายชื่อวิจารณ์ คสช. สะท้อนว่า คสช.รู้สึกไม่มั่นคงในสถานะของตัวเอง
คอนเซ็ปต์ของเขามีอย่างนี้ตลอด ตั้งแต่เรียกเป็นคน ๆ พวกท่านอย่าเพิ่งพูดอะไรเดี๋ยวมันสะดุด ไม่อยากให้สิ่งที่ คสช.ทำสะดุด เขาก็มีความคิดอย่างนี้ ที่เรียกทั้งหมดก็คือฝ่ายเห็นต่าง พอนั่งปั๊บ ผมก็บอกว่า อ้าว..นี่เชิญพวกที่วิจารณ์อยู่ เรารู้ทางเขา
- คสช.รู้ว่าหลัง สปช. อภิปรายร่างรัฐธรรมนูญจบลงจะมีการโต้แย้งหนักกว่านี้
ก็อาจเป็นไปได้ที่เสียงวิจารณ์มันดัง กลัวจะยิ่งไปกันใหญ่ แต่ผลที่ได้มันตรงข้ามนะ ที่เขาฟังความเห็นเรื่องรัฐธรรมนูญชัด ๆ ขนาดนี้ แล้วมันตรงกันหมด พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พูดแบบเดียวกันหมดว่า รัฐธรรมนูญ 2550 มันทำลายล้างฝ่ายเดียว โทนก็ไปทางเดียวกันหมด
- แรงกดดันจะอยู่ที่ คสช. หรือฝ่ายการเมือง
จากนี้ไปแรงกดดันอยู่ฝ่าย คสช.มากกว่า
- แรงกดไปอยู่ที่ คสช. ยังมีทางถอยหรือไม่
ยังมี เรื่องรัฐธรรมนูญเขาก็ให้แก้ให้ได้ กระซิบกัน เพราะตอนนี้มันอยู่ในช่วงแก้ได้ แนวโน้มที่ห่วงคือแก้บางส่วนแล้วอ้างว่าแก้เยอะแล้ว แล้วก็ใช้ไปมันเสียหายมากอยู่ดี
- เรื่องไหนที่ไม่แก้ จะเป็นจุดเสี่ยงของ คสช.
ไม่ใช่ประเด็นไหนเป็นจุดเสี่ยงของ คสช. ร่างรัฐธรรมนูญนี้เป็นร่างที่ไม่เป็นประชาธิปไตยอย่างมาก เป็นรัฐธรรมนูญที่จะสร้างเผด็จการถาวร ทำให้ผู้แทนราษฎร และรัฐบาล หลังการเลือกตั้งไม่สามารถบริหารประเทศได้ ไม่สามารถกำหนดนโยบายอะไรได้ และไม่มีเสถียรภาพ ไม่มีกลไกอะไรไปตอบสนองความต้องการของประชาชน เนื่องจากประชาชนกำหนดไปแล้วก็จะถูกหักล้างโดยองค์กรต่าง ๆ ที่มีมากมายเต็มไปหมด ไม่ได้มาจากประชาชนเลย มันจะเป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมากอย่างรวดเร็ว ถ้าไปถึงจุดนั้นเท่ากับเป็นความล้มเหลวของกระบวนการที่อ้างว่าต้องรัฐประหารและเข้ามาจัดการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง



คลิกอ่านข่าวทั้งหมด ที่นี่ - http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1430383618




"...ร่างรัฐธรรมนูญนี้เป็นร่างที่ไม่เป็นประชาธิปไตยอย่างมาก เป็นรัฐธรรมนูญที่จะสร้างเผด็จการถาวร ทำให้ผู้แทนราษฎร และรัฐบาล หลังการเลือกตั้งไม่สามารถบริหารประเทศได้ ไม่สามารถกำหนดนโยบายอะไรได้ และไม่มีเสถียรภาพ".
จาตุรนต์ ฉายแสง
๒๙ เมษายน ๒๕๕๗
ประชาชาติธุรกิจ





Inga kommentarer:

Skicka en kommentar