söndag 19 april 2015

ข้อแตกต่างระหว่างระบบเลือกตั้งเยอรมัน กับระบบที่เสนอในรัฐธรรมนูญทหารโจรไทย

ข้อแตกต่างระหว่างระบบเลือกตั้งเยอรมัน
กับระบบที่เสนอในรัฐธรรมนูญทหารโจร

ใจ อึ๊งภากรณ์

เนื่องจากมีนักวิชาการตอแหลที่รับใช้เผด็จการ อ้างว่าระบบการเลือกตั้งที่เสนอในร่างรัฐธรรมนูญโจร เป็นรูปแบบเดียวกับระบบเยอรมัน เราควรจะมาทำความเข้าใจว่าในความเป็นจริงมันแตกต่างกันอย่างไร
โดยทั่วไปเยอรมันเป็นสาธารณรัฐ แบบ สหรัฐคือรัฐท้องถิ่นต่างๆ ของเยอรมันมีสภาของตนเองที่มาจากการเลือกตั้ง และมีอำนาจของตนเอง พร้อมๆ กับการมีรัฐบาลและรัฐสภาส่วนกลางด้วย ตอนนี้ไทยเป็นรัฐรวมศูนย์ที่ฝ่ายเผด็จการยืนยันว่า แบ่งแยกไม่ได้ นอกจากนี้เยอรมันเป็นประเทศที่ยกเลิกระบบกษัตริย์ไปนานแล้ว และรัฐธรรมนูญเยอรมันถูกเขียนขึ้นเพื่อขยายพื้นที่ประชาธิปไตย ไม่ใช่ว่าถูกเขียนโดยเผด็จการ
แต่ในรายละเอียดของระบบเลือกตั้ง เราจะเห็นข้อแตกต่างต่อไปนี้ระหว่างไทยกับเยอรมัน

1) ในระบบเยอรมัน ที่นั่งในรัฐสภาแห่งชาติ ถูกแบ่งไว้ตามรัฐต่างๆ แต่ละรัฐจะมีที่นั่งตามสัดส่วนประชากรในรัฐนั้นเมื่อเทียบกับสัดส่วนประชากรทั้งประเทศ แต่ในไทย นอกจากจะไม่มี “รัฐ” ท้องถิ่นแล้วที่นั่งในรัฐสภาไทยไม่มีการแบ่งตามภาคเลย

2) ระบบบัญชีรายชื่อ หรือ “พาร์ตีลิสต์” ในเยอรมัน แยกตามแต่ละรัฐ และจำนวน สส. ที่แต่ละรัฐส่งไปนั่งในสภาแห่งชาติ จะขึ้นอยู่กับสัดส่วนคะแนนเสียงในบัญชีรายชื่อของรัฐนั้น คือจะมี สส. เขต แล้วอาจเสริมด้วย สส. ที่มาจากบัญชีรายชื่อ เพื่อให้สัดส่วน สส. ที่แต่ละรัฐส่งเข้าสภาแห่งชาติ ตรงกับสัดส่วนคะแนนเสียงในบัญชีรายชื่อของแต่ละรัฐ แต่ในไทย ทั้งๆ ที่มีบัญชีรายชื่อที่แยกตาม 6 ภาค แต่พอคำนวนสัดส่วน สส. ที่แต่ละพรรคควรจะได้ ก็จะมีการรวมคะแนนจากทั้ง 6 ภาคทั่วประเทศ และในการคำนวนว่าพรรคไหนควรจะเพิ่ม สส. จากบัญชีรายชื่อให้สูงขึ้น จะเฉลี่ยคะแนนจากภาคนั้นกับคะแนนทั่วประเทศ ในรูปธรรมมันจะลดอิทธิพลของคะแนนเสียงประชาชนในภาคเหนือกับภาคตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นภาคที่มีประชากรสูง

3) ระบบเยอรมันถูกออกแบบให้จำนวน สส. สอดคล้องกับคะแนนเสียงของประชาชน โดยคำนึงถึงการกระจายอำนาจไปสู่รัฐท้องถิ่น แต่ระบบไทยถูกออกแบบเพื่อให้ประโยชน์กับพรรคประชาธิปัตย์และพรรคเล็กๆ ที่เป็นแนวร่วมพรรคพวกเท่านั้น จะขออธิบายเพิ่มเติม
ถ้ามีการแบ่งภาคในประเทศไทย พรรคเพื่อไทยจะได้คะแนนเสียงท่วมท้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ซึ่งมีสัดส่วนประชากรสูงที่สุด ส่วนพรรคประชาธิปัตย์จะได้คะแนนเสียงสูงในภาคใต้เท่านั้น

ถ้าใช้ “ระบบเยอรมัน” พรรคเพื่อไทยจะได้ สส. ในส่วนของภาคเหนือกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือสูงมาก และพรรคประชาธิปัตย์จะได้แค่ไม่กี่ สส. จากภาคใต้และภาคกลางบางส่วน
แต่ถ้าใช้ระบบร่างรัฐธรรมนูญโจรเพื่อคำนวนสัดส่วน สส. ระดับชาติในรัฐสภา พรรคประชาธิปัตย์จะได้เสียงเสริม เพราะคะแนนเสียงจากภาคใต้ภาคเดียว จะมีผลต่อการนับคะแนนทั่วประเทศ แทนที่จะมีผลในแค่ส่วนของภาคใต้เท่านั้น พรรคเล็กๆ ที่เคยเป็นฝ่ายค้านก็จะได้ประโยชน์เช่นกัน และคะแนนของพรรคเพื่อไทยก็จะถูกดึงลงในส่วนอื่นของประเทศด้วย

4) ในระบบเยอรมัน พรรคฝ่ายซ้ายก้าวหน้าที่ได้คะแนนเสียงเกิน 5% ในรัฐท้องถิ่นหนึ่ง จะได้ที่นั่งในรัฐสภาแห่งชาติจากรัฐท้องถิ่นนั้น แต่ในระบบไทย ถ้าพรรคก้าวหน้าของคนจนได้รับความนิยมในท้องถิ่นหนึ่ง เมื่อรวมคะแนนระดับชาติ ก็จะมีแนวโน้มจะได้ที่นั่งยาก เพราะการคิดคะแนนคิดไปในระดับชาติ

อ้างอิง


--
Giles Ji Ungpakorn

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar