måndag 18 maj 2015

ข้อคิดมุมมอง เรื่อง "โรฮิงยา".. ฝากถึงนายกฯ "หัวหน้าคสช.ม44." มันคือขบวนการการค้ามนุษย์สากลไม่ใช่ภัยจากสงครามต้องจัดการกับประเทศต้นเหตุที่ทำให้เกิดปัญหา .ขอร้องเถอะอย่ายุ่ง ปล่อยให้เป็นหน้าที่ขององค์กรสากลเขาจัดการกันเอง...อย่าแบกรับภาระโดยไม่จำเป็น ควรตอบปฏิเสธเพราะแค่เป็นรัฐบาลชั่วคราวเท่านั้น อีกทั้งภาวะสถานการณ์บ้านเมืองของประเทศก็ยังไม่เข้าที่เข้าทางไม่สงบ ร่างรัฐธรรมนูญยังไม่เสร็จ สิ่งเร่งด่วนที่รัฐบาลคสชควรทำคือหาทางแก้ไขปัญหาความวุ่นวายภายในประเทศให้สำเร็จนำความสงบสุขคืนสู่สังคม ร่างรัฐธรรมนูญที่ประชาชนยอมรับ แก้ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ แก้ไขปัญหาสังคมเสื่อมโทรมวิปริตใกล้ล่มสลาย แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนไร้อนาคตให้ประชาชน ..แก้ปัญหาเหล่านี้ให้ลุล่วงก่อนที่จะไปแบกภาระแทนประชาคมโลกตามคำสั่งอเมริกามหาอำนาจและUN เสือกระดาษไร้น้ำยา ด้วยความปราถนาดี...


นายกฯยันเมียนมาพร้อมแก้โรฮิงยา คาดถก 15 ประเทศได้มติร่วม “ยูเอ็น” รอฟังผลก่อนยื่นมือช่วย

รูปภาพของ จเด็จ สิบเอ็ดทิศ

บันคีมูน แห่งยูเอ็นก็โทรหาตู่ จอห์น เคอรี่ แห่งสหรัฐฯ ก็โทรหาตู่.. อีโมติคอน upset
‪#‎ยกการ์ดให้ดีนะครับท่าน‬ ..เพราะ..
- ไม่มีเหตุผลที่ทั้งยูเอ็นและสหรัฐฯ จะม...าอ้อนวอนเราเรื่องโรฮินญา เพราะจริงๆต้องไปอ้อนวอนพม่ากับบังคลาเทศนู่นน ..
- ทำไมยูเอ็น ไม่ล๊อปบี้อาเซียน ให้บีบพม่า?? เรื่องง่ายแบบนี้ บันคีมูน ทำไมต้องทำให้มันยาก ?? ด้วยการมาขอร้องไทย ..ทำไมไม่ขอมาเลย์-อินโดฯบ้าง ??
- ทำไมยูเอ็น ไม่บรรจุเรื่องโรงฮินญาเป็นวาระพิเศษแล้วเรียกประชุมมนตรีถาวรฯ ถ้ายูเอ็นคิดว่า เรื่องนี้ร้ายแรงและเร่งด่วน ??เหมือนที่บอกกับตู่ ??
- มหาอำนาจทั้ง5 จีน สหรัฐฯ อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย ในฐานะสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ.. เงียบกริ๊บบบ .. ทำไมไม่ล๊อบบี้ OIC ให้ช่วยโรฮินญา ???

สิ่งที่ยูเอ็นกับสหรัฐฯ อยากให้เราทำคือ ‪#‎รับโรฮินญาขึ้นบก‬ ตั้งค่าย ‪#‎ชั่วคราว‬ เพื่อดูแลและคัดกรองตามหลักสากล ..
มาอีหรอบเดียว รอยเกวียนเดียวกับเมื่อ30ปีที่แล้วเลย กรณีผู้อพยพอินโดจีน สมัยนั้นเลขาธิการ สหประชาชาติ และ ปธน.สหรัฐฯ ก็พูดแบบเนี๊ยกับไอ้ไทย ชั่วคราว ชั่วคราว แค่ชั่วคราวเอ๊งง .. สุดท้ายเป็นไง ?? ยาวเลยมึง.. ไซต์วัน ไซต์ ทู เขาอีโต้ เขาอีด่าง เขานู่นนั่นนี่ สุดท้ายคือ เขาก็บัวแล้งน้ำ.. ทิ้งให้ไอ้ไทยงอมพระรามสองดาวคะนองอยู่คนเดียว
..กับผู้อพยพกว่า4-5แสนคนรวมทุกล๊อต ยุโรป/อเมริกา/ชาติอารยะ มาคัดผู้อพยพเอาไปเลี้ยงดู แม่ง!!เลือกเน้นๆแต่กระทิไปทั้งนั้น..เหลือแต่กากๆตกค้างไว้ให้ไอ้ไทยมันเลี้ยงต่อ..
ท่านเกิดท่านนี่ครับ ยุคนั้นน่ะครับท่านผู้นำครับ.. ท่านก็อยู่ ร.21ตอนนั้น ท่านก็เห็นกับตาตัวเองมาแล้วนะครับ ว่าอะไรเป็นอะไร ..และบทสุดท้ายเป็นยังไง..
‪#‎ผมเชื่อว่าคนไทยเกินค่อนประเทศไม่เห็นด้วยแน่นอนกับการตั้งค่ายโรฮิงญา‬ .. ท่านคิดให้ดีนะครับ นี่ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ มันมีผลต่อความมั่นคงในอนาคต ลูกหลานเราจะได้ยากวันหน้า ถ้าผู้ใหญ่ในวันนี้เสือกหลงกลฝรั่งและไม่ทันเกมส์นานาชาติ....
ใครโลกสวย เน้นมนุษยธรรม ไม่ต้องมาดราม่าใส่ผมนะครับ ผมมันคนใจร้าย ต่อให้โรฮินญา2ล้านคนถูกพม่าไล่ลงทะเลมาให้ตายในทะเลทั้ง2ล้าน ผมก็เลือกที่จะเอาไทย60กว่าล้านไว้ก่อนครับ ประเทศเราไม่พร้อมจะะช่วยใครตอนนี้ เอาตัวเองยังแทบไม่รอด.. ยกทัพใหญ่ทัพน้อยรบกับแขกมา10กว่าปีแล้วยังไม่ชนะเลย หากจะเอาแขกมาเพิ่มอีก ‪#‎ถามคนในประเทศบ้างครับ‬ ..








อินโดฯ ร้องนานาชาติร่วมแก้ปม "โรฮิงยา" อัด เมียนมา-บังคลาเทศ อย่าหนีความรับผิดชอบ
คลิกอ่าน- อินโดฯ ร้องนานาชาติร่วมแก้ปม "โรฮิงยา" อัด เมียนมา-บังคลาเทศ อย่าหนีความรับผิดชอบ

เมื่อวานนี้ (17 พ.ค.) นางออง ซาน ซู จี แกนนำพรรคฝ่ายค้านของเมียนมาร์ได้เดินทางไปเยี่ยมสุสานสงครามในเมืองตันบูซายัต ในรัฐมอญ ซึ่งเป็นที่ฝังศพของกองกำลังพันธมิตร 3,771 คน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของผู้เสียชีวิตระหว่างก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายมรณะ เชื่อมจากไทยไปเมียนมาร์ เพื่อใช้ขนส่งอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพญี่ปุ่น ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
ขณะนี้เริ่มมีการตั้งคำถามอีกครั้งถึงท่าทีที่นิ่งเฉยนางออง ซาน ซู จี เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ต่อปัญหาที่เกิดกับผู้อพยพชาวโรฮิงญาที่เคยอาศัยอยู่...ในเมียนมาร์
ข้อมูลของสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ ระบุว่ามีชาวโรฮิงญาประมาณ 25,000 คนจากพม่าและบังคลาเทศถูกทอดทิ้งอยู่ในเรือในอ่าวเบงกอลระหว่างเดือนมกราคม-มีนาคมปีนี้
ทั้งนี้ ในช่วงที่มีการปะทะกันระหว่างชาวพุทธกับมุสลิมโรฮิงญาในรัฐยะไข่ เมื่อสามปีที่แล้ว ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตหลายสิบรายและไร้ที่อยู่อาศัยหลายหมื่นคน นางซู จี ก็สงวนท่าทีต่อเหตุการณ์ดังกล่าวมาแล้วครั้งหนึ่ง ในครั้งนั้น นางซู จี ถูกวิจารณ์ว่าเพิกเฉยต่อความขัดแย้งทางเชื้อชาติและการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นในเมียนมาร์ก็เพราะเหตุผลทางการเมือง
ดูเพิ่มเติม












Inga kommentarer:

Skicka en kommentar