-ข่าวสดออนไลน์
"ร้อยประเด็น" บทบรรณาธิการ นสพ.ข่าวสด
วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เวลา 15:24 น.
ข้อเสนอจากคณะรัฐมนตรีที่ส่งถึงคณะกรรมา ธิการยกร่างรัฐธรรมนูญให้พิจารณาแก้ไขใหม่นั้นระบุว่า มีประมาณ 100 ประเด็น
รองนายกรัฐมนตรีวิษณุ เครืองาม ย้ำว่า ข้อเสนอแนะดังกล่าวเป็นประเด็น ไม่ใช่มาตรา
ครึ่งหนึ่งในร้อยประเด็นเป็นเพียงการแก้ถ้อยคำให้ถูกต้อง ส่วนอีกครึ่งเป็นเรื่องกระทบหลักการ
หากหมายความตามนี้ แปลว่า 50 เรื่องคงแก้ไขไม่ยาก ส่วนอีก 50 เรื่องอาจแก้ไขยาก
แต่เรื่องที่แก้ไขยาก อาจแก้ไขง่ายขึ้น ถ้ายึดหลักการที่เป็นประชาธิปไตย
มี ความเห็นของนักวิชาการและนักธุรกิจในงานเสวนา 1 ปีเศรษฐกิจ ความหวังและอนาคต ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ย้ำถึงความเห็นของคนทั่วไปว่า ด้วยสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังไม่กลับเข้าสู่ภาวะที่เป็นประชาธิปไตย ส่งผลด้านลบต่อเศรษฐกิจ
เพราะทำให้นักลงทุนและนักธุรกิจโดยเฉพาะชาว ต่างชาติตัดสินใจไม่ถูกว่า อนาคตของประเทศไทยจะเป็นไปในทิศทางใด หรือจะยืดเยื้ออีกนานเท่าใด
ยิ่งเมื่อย้อนกลับไปในเหตุรัฐประหาร 2549 เป็นต้นมา พบว่าอายุรัฐบาลที่แสนสั้นไม่อาจผลักดันนโยบายสำคัญๆ หรือโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นการลงทุนในระยะยาวออกมาได้
เหตุการณ์เปลี่ยนแปลงทางการเมืองปัจจุบันแม้ไม่ทำให้เกิดการชุมนุม ไม่เกิดการโต้แย้ง แต่ไม่ได้รับประกันว่าทำให้การเมืองมีเสถียรภาพ
เพราะประเด็นสำคัญที่ว่า ผู้ครองความได้เปรียบทางอำนาจจะเคารพหลักการและระบบของระบอบประชาธิปไตยได้หรือยัง ก็เป็นเรื่องคาดหวังได้ยาก
สถานการณ์ที่คาดได้ว่าจะเกิดในอนาคตคือความขัดแย้งของคนกลุ่มต่างๆ อันเป็นเรื่องปกติในสังคมโลก เพราะในแต่ละเรื่องแต่ละประเด็นย่อมมีผู้ได้เปรียบและเสียเปรียบต่างกันและต้องต่อรองกัน
ดังนั้น กติกาที่ทำให้สังคมดำเนินไปได้คือประชาธิปไตยคือการมีส่วนร่วมของคนทั้งประเทศในการตัดสินใจและเลือกทางออก เป็นไปไม่ได้ที่คนกลุ่มหนึ่งที่อ้างตัวเป็นผู้เชี่ยวชาญจะตัดสินใจแทนคนทั้งหมด ในเมื่อไม่ได้รับฉันทานุมัติ
ประเด็นทั้ง 100 ประเด็นที่เสนอแก้ไขในร่างรัฐธรรมนูญนั้นอาจร้อยให้เหลือเพียงไม่กี่ประเด็น หากยึดหลักการความเท่าเทียมกันของประชาชน
รองนายกรัฐมนตรีวิษณุ เครืองาม ย้ำว่า ข้อเสนอแนะดังกล่าวเป็นประเด็น ไม่ใช่มาตรา
ครึ่งหนึ่งในร้อยประเด็นเป็นเพียงการแก้ถ้อยคำให้ถูกต้อง ส่วนอีกครึ่งเป็นเรื่องกระทบหลักการ
หากหมายความตามนี้ แปลว่า 50 เรื่องคงแก้ไขไม่ยาก ส่วนอีก 50 เรื่องอาจแก้ไขยาก
แต่เรื่องที่แก้ไขยาก อาจแก้ไขง่ายขึ้น ถ้ายึดหลักการที่เป็นประชาธิปไตย
มี ความเห็นของนักวิชาการและนักธุรกิจในงานเสวนา 1 ปีเศรษฐกิจ ความหวังและอนาคต ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ย้ำถึงความเห็นของคนทั่วไปว่า ด้วยสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังไม่กลับเข้าสู่ภาวะที่เป็นประชาธิปไตย ส่งผลด้านลบต่อเศรษฐกิจ
เพราะทำให้นักลงทุนและนักธุรกิจโดยเฉพาะชาว ต่างชาติตัดสินใจไม่ถูกว่า อนาคตของประเทศไทยจะเป็นไปในทิศทางใด หรือจะยืดเยื้ออีกนานเท่าใด
ยิ่งเมื่อย้อนกลับไปในเหตุรัฐประหาร 2549 เป็นต้นมา พบว่าอายุรัฐบาลที่แสนสั้นไม่อาจผลักดันนโยบายสำคัญๆ หรือโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นการลงทุนในระยะยาวออกมาได้
เหตุการณ์เปลี่ยนแปลงทางการเมืองปัจจุบันแม้ไม่ทำให้เกิดการชุมนุม ไม่เกิดการโต้แย้ง แต่ไม่ได้รับประกันว่าทำให้การเมืองมีเสถียรภาพ
เพราะประเด็นสำคัญที่ว่า ผู้ครองความได้เปรียบทางอำนาจจะเคารพหลักการและระบบของระบอบประชาธิปไตยได้หรือยัง ก็เป็นเรื่องคาดหวังได้ยาก
สถานการณ์ที่คาดได้ว่าจะเกิดในอนาคตคือความขัดแย้งของคนกลุ่มต่างๆ อันเป็นเรื่องปกติในสังคมโลก เพราะในแต่ละเรื่องแต่ละประเด็นย่อมมีผู้ได้เปรียบและเสียเปรียบต่างกันและต้องต่อรองกัน
ดังนั้น กติกาที่ทำให้สังคมดำเนินไปได้คือประชาธิปไตยคือการมีส่วนร่วมของคนทั้งประเทศในการตัดสินใจและเลือกทางออก เป็นไปไม่ได้ที่คนกลุ่มหนึ่งที่อ้างตัวเป็นผู้เชี่ยวชาญจะตัดสินใจแทนคนทั้งหมด ในเมื่อไม่ได้รับฉันทานุมัติ
ประเด็นทั้ง 100 ประเด็นที่เสนอแก้ไขในร่างรัฐธรรมนูญนั้นอาจร้อยให้เหลือเพียงไม่กี่ประเด็น หากยึดหลักการความเท่าเทียมกันของประชาชน
-มติชนออนไลน์
สื่อสิงคโปร์รายงาน "บิ๊กตู่"เคาะเลือกตั้งก.ย.ปี′59
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar